เรื่องเด่น ฌาน สมาธิ กัมมัฏฐาน ๔๐ โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 8 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    [​IMG]

    จงละอารมณ์ที่ยังมาไม่ถึงนั้นเสีย เพราะสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นอนาคต อารมณ์ที่ล่วงไปแล้วก็เป็นอดีตไป
    อารมณ์ที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนี้ก็ไม่ควรยึดถือเอา ดังนี้”


    เรื่องกัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น ในตำราท่านไม่ได้แยกออกว่า อันนั้นเป็นอารมณ์ของฌาน อันนั้นเป็น อารมณ์ของสมาธิ หรือท่านแยกไว้แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นตำราก็เป็นได้ ฉะนั้น เทศนากัณฑ์นี้จะรวม กัมมัฏฐาน ๔๐ นั้นไว้เสียก่อนว่า กัมมัฏฐานใดควรเป็นอารมณ์ของฌาน และกัมมัฏฐานใดควรเป็น อารมณ์ของสมาธิ ต่อไปถ้ามีโอกาสจะเทศน์เรื่อง อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ ให้ฟัง

    กัมมัฏฐาน ๔๐ นั้น
    พวกที่เป็นอารมณ์ของฌาน ได้แก่ กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อรูปฌาน ๔ รวมเป็น ๒๔

    ส่วนพวกที่เป็นอารมณ์ของสมาธิ ได้แก่ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ รวมเป็น ๑๖

    อนุสสติ ๑๐ ได้แสดงแล้ว ยังเหลือแต่ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุววตฺถาน ๑ นี่แล เรื่องบัญญัติจำเป็นจะต้องจดจำหน่อย ความจำเรียกว่า สัญญา ถ้ามีสัญญาอยู่สมาธิก็จะไม่รวมลงได้ ถ้าสมาธิรวมได้แล้ว กัมมัฏฐาน ๔๐ เป็นอันว่าทำถูกต้องแล้ว ถึงอย่างไรบัญญัติก็ต้องเป็นบัญญัติ อยู่ดี ๆ นี่แหละ

    ทีนี้จะอธิบายถึงเรื่อง ฌาน ก่อน ฌาน แปลว่า เพ่ง เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาที่ตนประสงค์ไว้แล้ว เช่น เพ่งกสิณ หรือ เพ่งอสุภ เป็นต้น ให้เป็นไปตามประสงค์ของตน เช่น อยากจะให้เป็นไฟ แล้วก็เพ่งว่า ไฟ ๆ จนกว่าจิตนั้นจะรวมลงสู่ไฟ เกิดความร้อนขึ้นมา เป็นต้น หรือเพ่งคนให้เป็นอสุภ จนจิตรวมลงในคนนั้น แล้วเกิดอสุภขึ้นมาในบุคคลนั้นจริง ๆ ดังนี้ เป็นต้น

    รวมความว่า จิต กับ สังขาร ไปปรุงแต่งหลอกลวงตนเอง แล้วตนเองก็เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น จริง ๆ เกิดความสลดสังเวชถึงกับร้องไห้ร้องห่ม ทั้ง ๆ ที่ตัวของเราก็ยังดี ๆ อยู่ไม่เป็นอสุภเปื่อยเน่า อะไรเลย เพราะจิตรวมแล้วมัน ส่งใน คุมจิตของตัวเองไม่ได้ จึงร้องไห้ร้องห่มและเห็นเป็นอย่างนั้น จริง ๆ ก็ดีเหมือนกัน ถ้าไม่เห็นอสุภด้วยใจของตนแล้ว ก็จะประมาทมัวเมาอยู่ว่า ตัวของเรานี้สวยสด งดงาม จะไม่แก่ไม่เฒ่าไม่ตาย

    ฌาน มีองค์ห้า คือ
    วิตก จิตไปกำหนดเอาอารมณ์ของกัมมัฏฐานนั้น ๆ มาเป็นอารมณ์ ๑
    วิจารณ์ จิตนึกคิดตรึกตรองว่า ทำอย่างไรจิตเราจะละอารมณ์นั้น ๆ แล้วรวมเข้ามาเป็นฌานได้ ๑
    เมื่อจิตละอารมณ์นั้น ๆ แล้ว ก็เข้าสู่ภวังค์ เกิด ปีติ ซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย หรือเบากายเบาใจ ๑
    แล้วเกิดความ สุข สงบอย่างยิ่ง ๑ จิตก็เป็นอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ ๑ อันนี้เรียกว่าได้ ปฐมฌาน

    ด้วยความคล่องตัวของการกระทำเช่นนั้นจึงไม่ต้องมีวิตก มีแต่ วิจารณ์ สุข เอกัคคตา เรียกว่า ทุติยฌาน

    ด้วยความคล่องตัวยิ่งขึ้น ตติยฌาน จึงไม่ต้องมีวิจารณ์ มีแต่ สุข กับ เอกัคคตา เท่านั้น

    จตุตฺถฌาน จิตมันแน่วแน่ใน เอกัคคตา จนสุขก็ไม่ปรากฏ จะปรากฏแต่ เอกัคคตา กับ อุเบกขา วางเฉยเท่านั้น

    ฌาน เป็นเพียงแต่ข่มนิวรณ์ห้าได้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะฌานไม่ได้ใช้ปัญญา ใช้แต่จิตสงบ อย่างเดียว จึงเป็นแต่ข่มนิวรณ์ห้าได้

    นิวรณ์ห้า คือ

    กามฉันทะ ความรักใคร่พอใจในกามคุณห้า มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ เมื่อจิตสงบแล้วไม่ต้องเกี่ยวข้องกันกับสิ่งเหล่านี้ ๑

    พยาบาท จิตคิดปองร้ายอยากให้ได้ตามความปรารถนาของตน ไม่ว่ากามนั้นจะอยู่ ในสภาพเช่นไร และอาการอย่างไร โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบเลย เปรียบเหมือนคนคิดจะทำลายคนอื่น โดยเขาไม่ทันรู้ตัวเลย ฉะนั้น ๑

    ถีนะมิทธะ จิตเมื่อคิดฉะนั้นแล้วก็หมกมุ่นอยู่แต่ในอารมณ์นั้น และไม่กล้าบอกแก่ ใคร จนกระทั่งซึมเซ่อและมึนงงไปหมด ๑

    อุทธัจจะกุกกุจจะ จิตที่ฟุ้งซ่านส่งไปในอารมณ์ของกามนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ๑

    วิจิกิจฉา จิตที่ลังเล ไม่แน่ใจว่ากามนั้นจะสำเร็จลงได้เมื่อใดหนอ ๑

    ทั้ง ๕ นี้ เมื่อจิตสงบเข้าถึงฌานแล้วก็จะไม่ปรากฏ เมื่อออกจากฌานก็จะปรากฏอีกตามเดิม

    จิตของฌานมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับกัน คือ


    ๑. ภวังคุบาท

    ๒. ภวังคจารณะ

    ๓. ภวังคุปัจเฉทะ

    ภวังคุบาท จิตจะรวมเป็นครั้งคราว รวมแล้วถอนออกมาจะตั้งหลักไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าจิตของ เรารวม มีได้ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย เช่น เมื่อเห็นคนหรือสัตว์ตกทุกข์ได้ยาก เป็นต้นว่า ถูกเขาฆ่าหรือ ทรมานด้วยประการต่าง ๆ จิตจะสลดสังเวชแล้วรวมลงขณะหนึ่ง ถ้าไม่รวมก็จะไม่ สลดสังเวช เรียกว่า ภวังคุบาท

    ภวังคจารณะ เมื่อผู้ฝึกหัดจิตแล้วจึงจะเกิด เมื่อเกิดมีอาการให้พิจารณาอารมณ์ภายใน หรือที่ เรียกว่า ส่งใน เช่น เห็นสีแสงต่าง ๆ นานา แล้วจิตจะจดจ้องมองแต่สิ่งนั้น หรืออารมณ์อื่น ๆ ก็ เหมือนกัน เป็นต้นว่า รูปพระปฏิมากร หรือพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย ตลอดถึง เทวดา อินทร์ พรหม เป็นต้น แม้จะพิจารณาในธรรมนั้น ๆ ก็เรียกว่า ภวังคจารณะ ทั้งสิ้น

    ภวังคุปัจเฉทะ นั้นตัดขาดเสียซึ่งอารมณ์ทั้งปวงไม่มีเหลือแม้แต่ ผู้รู้ (คือใจเดิม) ก็ไม่ปรากฏ บางท่านที่สติอ่อนย่อมนอนหลับไปเลยก็มี

    ภวังคุบาท ได้แก่ผู้ได้ ปฐมฌาน

    ภวังคจารณะ ได้แก่ผู้ได้ ทุติยฌาน และ ตติยฌาน

    ภวังคุปัจเฉทะ ได้แก่ผู้ได้ จตุตฺถฌาน

    ฌาน แปลว่า เพ่ง คือ เพ่งอารมณ์กัมมัฏฐานที่ตนต้องการอยากจะให้เป็นไปตามปรารถนา ของตน ดังอธิบายแล้วเบื้องต้น นี้เรียกว่า กสิณ ไม่ต้องพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงก้ได้


    สมาธิ คือ ทำจิตให้สงบแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียวเหมือนกับฌาน แต่มีการพิจารณาให้เห็น ตามเป็นจริง มันเป็นจริงอย่างไรก็ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น ไม่ต้องให้เกิดปฏิภาค (คือแปรสภาพ จากของเดิม) เช่น นึกคำบริกรรมว่า พุทโธ ๆ เป็นต้น เพื่อให้จิตรวมเข้ามาอยู่ในที่เดียว แล้วพิจารณา พุทโธนั้นให้เห็นว่ามีคุณวิเศษอย่างไร และใครเป็นผู้ว่าพุทโธนั้น และอยู่ ณ ที่ไหน ให้เห็นชัดลงไปตามเป็นจริง เมื่อเห็นชัดลงไปแล้วจะเกิดความอิ่มเอิบในใจ เพลินอยู่กับความรู้ของตนนั้น ใจจะไม่ส่งออกไปภายนอก และใจจะนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว สมาธินี้จิตจะไม่ปรุงแต่งให้เป็นอสุภเหมือนกับฌานหรือกสิณ แต่เห็นตามเป็นจริงในสิ่งนั้น ๆ จิตรวมลงได้เหมือนกัน แต่ไม่ ส่งใน คงที่อยู่ที่ใจแห่งเดียว

    สมาธิ ท่านไม่แสดงไว้ว่า ผู้ได้ ขณิกะ อุปจาระ และ อัปปนาสมาธิ ได้ขั้นนั้นขั้นนี้ จึงจะได้ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และ พระอรหันต์ เห็นแต่แสดงไว้ว่า องค์ของพระโสดาบันมี ๖ ดังนี้คือ


    ถึงพระพุทธเจ้า ๑

    ถึงพระธรรม ๑

    ถึงพระสงฆ์ ๑

    ไม่ถือมงคลตื่นข่าว (คือถือโชคชะตาและเครื่องรางของขลัง เป็นต้น) เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ด้วยตนเอง ๑

    ไม่ถือลัทธินอกจากพุทธศาสนา ๑

    มีศีลห้าเป็นนิจศีล ๑

    ผู้ประกอบด้วยคุณลักษณะครบ ๖ อย่างนั้นนับว่าเป็นพระโสดาบันบุคคล ส่วนสมาธิไม่ได้ กล่าวถึง แต่ สมาธิ เป็นการเดินมรรค ฌาน มิใช่เดินมรรค ถึงจะได้ฌานขั้นสูงสุด คือ นิโรธสมาบัติ ท่านก็เรียกว่า ฌานโลกิย อยู่นั่นเอง

    พระโสดาบัน แปลว่า ผู้ตกกระแสพระนิพพานแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงพระนิพพาน เหมือนกับคน เดินทางไปสู่พระนครอันสุขเกษมถึงต้นทางแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงพระนครฉะนั้น และเมื่อถึงพระ โสดาบันแล้ว กิเลสทั้ง ๓ กองนี้จะต้องละได้ด้วยตนเอง คือ

    สักกายทิฏฐิ ถือว่าอันนี้เป็นของตัวเที่ยงแท้แน่นอนถือรั้นจนเกิดทิฐิ ๑

    วิจิกิจฉา ลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย ไม่แน่นอนว่าเป็นที่พึ่งอันแท้จริง ๑

    สีลัพพตปรามาส ลูบคลำในสิ่งที่ไร้สาระประโยชน์เชื่อสิ่งอื่นโดยไม่ตรึกตรองให้ถี่ถ้วน ๑


    กิเลสทั้ง ๓ กองนี้ ผู้ทำสมาธิให้มั่นคงแล้ว ย่อมเกิดปัญญาเห็นชัดในพระไตรลักษณญาณ เห็นแจ้งด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งสามนั้นเป็นของไร้สาระประโยชน์ไม่มีแก่นสาร แล้วละได้

    ท่านไม่ได้กล่าวถึงว่าสมาธิมีเท่านั้นเท่านี้ เพราะมิใช่การเพ่งอย่างฌาน จะจับเอาอะไรมา พิจารณาก็ได้ แม้ที่สุดนำอารมณ์ของฌานมาพิจารณาก็ได้ ขอแต่ให้พิจารณาเป็น พระไตรลักษณญาณ ก็แล้วกัน จิตจะรวมลงถึงสมาธิได้เหมือนกัน

    จิตของผู้ที่ได้สมาธิแล้วมี ๓ ภูมิ หยาบและละเอียดโดยลำดับ แต่ท่านไม่ได้เรียกว่า ภวังค์ เหมือนกับฌาน ท่านเรียกว่า สมาธิ เพราะพิจารณาเห็นตามเป็นจริงในอารมณ์ที่ตนพิจารณาแล้วนั้น คือ

    ๑. ขณิกสมาธิ เมื่อนักปฏิบัติกำหนดเอาอารมณ์ของสมาธิอันใดอันหนึ่งมาเป็นอารมณ์ กัมมัฏฐาน เป็นต้นว่า พุทโธ ๆ อยู่นั้น จิตส่วนหนึ่งจะแวบเข้าไปเห็น ผู้รู้ ที่ว่า พุทโธ ๆ นั้นชัดเจน เหมือนกับมีผู้มาบอกให้ฉะนั้น พร้อมกับจิตรวมเป็นสมาธิขณะหนึ่ง แล้วก็หายไป แต่จิตไม่ได้ลืมสติ รู้ตัวอยู่ดี ๆ นี่เอง เรียกว่า ขณิกสมาธิ ขณิกสมาธินี้นักปฏิบัติทั้งหลายเป็นไม่เหมือนกัน แต่ขอให้ สังเกตไว้ว่า ขณะที่จิตรวมมีสติรู้ตัวอยู่เรียกว่า สมาธิ ถ้าลืมตัวส่งไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า ฌาน

    ๒. อุปจารสมาธิ นักปฏิบัติมากำหนดเอาอารมณ์ของขณิกสมาธิเช่นนั้นเหมือนกัน หรือ อารมณ์อันใดที่ตนชำนิชำนาญแล้วติดอยู่ในใจของตนก็ได้ พิจารณาอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว ไม่ส่ง ไปจากอารมณ์อันนั้นตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน แต่ไม่รวมลงเป็น อัปปนา เรียกว่า อุปจารสมาธิ

    ก่อนจะเข้าถึง อัปนาสมาธิ หรือเมื่อถึงอัปนาแล้ว จิตถอนออกมาอยู่ใน อุปจาระ ก็มีอาการ เช่นเดียวกัน แต่นุ่มนวลและละเอียดกว่า ตอนนี้จะทำให้เกิดปัญญาและความรู้ต่าง ๆ ที่เรียกว่า อภิญญา มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น เช่น พระโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงมาจากภูเขาคิชกูฏ เห็นเปรตตัว หนึ่งมีร่างกายยาว ๓๐๐ เส้น มีปากเล็กเท่ารูเข็ม แล้วท่านหัวเราะในลำคอฮึ ๆ ลูกศิษย์ผู้ติดตามเห็น ดังนั้น เข้าใจว่าท่านเห็นนางเทพธิดา จึงถามท่าน ท่านก็ไม่บอก พอมาถึงสำนักพระพุทธเจ้า ลูกศิษย์ก็กราบทูลเหตุนั้นถวายพระองค์ให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสถามพระโมคคัลลานะ พระ โมคคัลลานะก็กราบทูลพระองค์ดังกล่าวข้างต้น พระองค์ตรัสว่า “จริงอย่างโมคคัลลานะว่า เราได้เห็น แล้วแต่แรกได้ตรัสรู้ใหม่ ๆ แต่ไม่มีใครเป็นพยาน นี่โมคคัลลานะเป็นพยานของเรา”

    แต่ถ้าควบคุมจิตไว้ไม่ได้จะเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่ นักปฏิบัติทั้งหลายจะเสียก็ตรงนี้เอง ถ้าควบ คุมจิตของตนไว้ไม่ได้

    เมื่อเกิดความรู้และปัญญาต่าง ๆ แล้วรวมเข้ามาเป็นอัปปนาสมาธิ เพราะพิจารณาเห็นว่า ความรู้และปัญญาเหล่านั้นก็เป็น อนิจฺจํ ไม่เที่ยง รู้แล้วก็หายไป ทุกฺขํ เป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้ ประเดี๋ยวก็รู้ ประเดี๋ยวก็ไม่รู้ ถึงรู้และไม่รู้ สิ่งที่เราไปรู้ไปเห็นนั้น มันหากเป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหน แต่ไรมา รู้และไม่รู้มันก็ไม่ว่าอะไรกับใคร อนตฺตา ไม่ใช่เป็นของ ๆ เรา มันเป็นจริงอย่างไร มันก็เป็นจริงของมันอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะทั้งหมด ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว บาปหรือบุญ ธรรมะเป็นผู้แต่ง มาทั้งนั้น

    เมื่อจิตรวมเข้ามาเป็น อัปปนาสมาธิ อยู่พักหนึ่ง แล้วก็จะถอนออกไปเป็น อุปจาระ ออก ๆ เข้า ๆ อยู่อย่างนี้ จิตของท่านผู้นั้นจะมีพลังแก่กล้า เดินก้าวหน้าได้อย่างดีที่สุด

    ๓. อัปปนาสมาธิ จิตจะรวมเข้าอย่างสนิท จนถอนอารมณ์ภายนอกออกหมด ไปอยู่อันหนึ่ง ของมันต่างหาก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติจะไม่มี ณ ที่นั้นเลย ยังเหลือ แต่ผู้รู้อันเดียว บางทีมีคนมาเรียกได้ยินเสียง (เพราะประสาทหรือเซลล์ยังมีอยู่) แต่ไม่รู้ว่าเป็นเสียง อะไร เมื่อออกจาก อัปปนาสมาธิ แล้ว ในขณะนั้นมองดูคนและสิ่งต่าง ๆ จะเห็นเป็นสักแต่ว่าเท่านั้น ไม่มีสมมุติบัญญัติว่าคนหรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ อาการเช่นนี้จะเป็นอยู่สักห้านาที สิบนาที แล้วจึงจะค่อย จางลง ๆ จนเป็นปกติสมมุติบัญญัติตามเคย

    ฌาน และ สมาธิ เป็นอันเดียวกันและต่างกัน ฌาน ได้แก่การเพ่งในอารมณ์นั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลงในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไป ตามปรารถนาของตน ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่า ฌาน

    สมาธิ ได้แก่การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมันตามความเป็นจริงจนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่นึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้ เรียกว่า สมาธิ

    ฌาน และ สมาธิ นี้จิตรวมเหมือนกัน ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน มีแปลก ต่างกันที่ ฌาน นั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสติอยู่ แต่ไป เพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียก ว่าความเห็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน ส่วน สมาธิ นั้น เมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ

    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้น หรือพิจารณาอารมณ์อันใด ก็ตาม จนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์อันนั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่ แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญาณ เสีย จิตไม่รวมลงเป็น ภวังค์ เรียกว่า ฌานกลับมาเป็นสมาธิ

    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่ หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าไปสู่ ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมาเป็นฌาน

    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติ ไม่เป็นการเสีย หายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิ อย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆ ก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว แล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้ พระบรมศาสดาเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณา ฌาน นี้เป็น วิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่าน ธรรมดาจิตจำเป็นจะต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อ วัฏฏะ เพราะฉะนั้นท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็น ฌาน เสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ใน ทิฏฐธรรม ของท่าน

    ฌาน และ สมาธิ นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มี สมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอวํ ฯ.

    นั่งสมาธิ

    (ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน)

    อธิบายเรื่อง สัญญา มามากแล้ว คราวนี้นั่งสมาธิเพื่อลบสัญญากันเถิด ความจริงนั้นสัญญามี ประโยชน์มากถ้าใช้เป็น ถ้าใช้ไม่เป็นก็ยุ่งมากเหมือนกัน ความจดจำของเก่าหรือเรื่องเก่าไว้ได้นาน เรียกว่า สัญญา เช่น จดจำอารมณ์แต่ก่อนเก่าที่ตนได้ทำไว้นานแล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่ว เอามาเป็นอารมณ์ ถ้าอารมณ์นั้นเป็นของดี ก็เอามาปรุงแต่งให้เป็นของดียิ่งขึ้น แล้วก็เพลิดเพลินติดอยู่ในอารมณ์นั้น ถ้า อารมณ์นั้นเป็นของชั่ว ก็ทำใจให้เศร้าหมองเดือดร้อน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    จงละอารมณ์ที่ยังไม่มาถึงนั้นเสีย เพราะสิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็เป็นอนาคต อารมณ์ที่ล่วงไปแล้วก็ เป็นอดีตไป อารมณ์ที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนี้ก็ไม่ควรยึดถือเอา ดังนี้

    สัญญาเป็นของละเอียดมาก บางทีเราอยู่ดี ๆ ก็โผล่ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้งที่เป็นของดีและไม่ดี ถ้าใช้ เป็นก็เป็นของดี เราจดจำเอามาเทียบเคียงกับความประพฤติของตนในเดี๋ยวนี้ เราควรทำในสิ่งที่ดี หรือจะสอนคนอื่นก็ได้ให้ทำแต่สิ่งที่ดี เพราะความชั่วเราได้ทำมาแล้ว ได้รับความเดือดร้อนอย่างนั้น ๆ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายท่านก็ได้ตรัสรู้มาแล้ว เพราะสัญญานี้เอง รู้ว่าตัวของพระองค์เองและสัตว์ ทั้งหลายในโลกนี้ ได้เคยทำกรรมดีและกรรมชั่วมาแล้วอย่างนั้น ๆ ตายไปแล้วได้เสวยกรรมอย่างนั้น ๆ ในอดีตล่วงมาแล้วนานแสนนาน เรียกว่า อดีตญาณ

    สัตว์มนุษย์ทั้งหลายที่จะเกิดมาในโลกนี้ จะต้องทำกรรมดีและกรรมชั่วด้วยกันทั้งนั้น เมื่อ ตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่ตนกระทำนั้นทั้งดีและชั่ว ถ้าดีก็ได้ไปเกิดในสุคติภพ ถ้าชั่วก็จะได้ ไปเกิดในทุคติภพอย่างนั้น ๆ เรียกว่า อนาคตญาณ

    พระองค์ทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว จึงทรงกลัวภพกลัวชาตินี้หนักหนา แล้วจึงทรงละสัญญาทั้ง อดีตและอนาคต พร้อมด้วยสัญญาในปัจจุบันเสียได้ เรียกว่า อาสวกฺขยญาณ

    พวกเราทั้งหลายจะให้ได้ ญาณ ๓ อย่างพระพุทธเจ้า แล้วจึงจะละไม่ได้หรอก ญาณของพวก เราก็เห็นแล้วมิใช่หรือ สัญญาความจดจำว่า นั้นลูกกูหลานกู ภรรยาสามีของกู ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของทั้งปวงเป็นของกู แล้วก็ปรุงแต่งให้เป็นไปตามความปรารถนาของตน นี้เป็นญาณปุถุชนของ พวกเราทั้งหลาย ซึ่งเห็นอยู่เฉพาะหน้า

    จงพากันมาทำความสงบเพื่อลบล้างสัญญาเหล่านั้นเสีย อย่าให้ติดอยู่ในใจของตน ถึงแม้จะ ไม่ได้นาน ในชั่วขณะที่เราภาวนาอยู่นี้ก็เอา เมื่อถึงความสงบสุขแล้ว มันจะชอบใจ ภายหลังมันจะทำ เองของมันหรอก ไม่ต้องไปบังคับให้มันทำก็ได้.

    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thes/lp-thes_18.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    [​IMG]


    เมื่ออยู่ใน “สมาธิ” นั้นเล่า ก็มิใช่ว่าจิตจะโง่เง่าซึมเซอะ แต่มันมีความผ่องใส พิจารณาธรรมอันใด ก็ปรุโปร่งเบิกบาน “ฌาน” ต่างหาก ที่ทำให้จิตสงบแล้วซึมอยู่กับสุขเอกัคคตาของฌาน ขออย่าได้เข้าใจว่า “ฌาน” กับ “สมาธิ” เป็นอันเดียวกัน ลากับม้าเป็นสัตว์ประเภทเดียวกัน แต่ตระกูลต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ความโง่อันสงบจากนิวรณ์ทั้ง 5 ยังดีกว่าความกล้าหลงเข้าไปจมอยู่ในกามทั้งหลายเป็นไหนๆ

    ... หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. Tewadhama

    Tewadhama เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +188
    สาธุ...กราบนมัสการหลวงปู่
     
  4. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    กราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้า ขอบคุณ จขกท สำหรับธรรมะอันงดงาม สาธุ
     
  5. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ..

    ขอข้าพเจ้าจงสำเร็จฤทธิ์อภิญญาในเร็วพลันนี้เทอญ
     
  6. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    ขออนุโมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้ และผู้ที่ได้อ่านได้ฟัง ธรรมของหลวงปู่
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
    ฌาน และ สมาธิ นี้ จิตรวมเหมือนกัน

    ถ้าจิตไม่รวมก็ไม่เรียกว่า สมาธิ และ ฌาน

    มีแปลกต่างกันที่ฌานนั้น เมื่อจิตรวมเข้าแล้วจะลืมสติ เพ่งพิจารณาแต่อารมณ์อันเดียว หรือมีสมาธิอยู่ แต่ไปเพลินหลงอยู่กับภาพนิมิตและความสุขอันนั้นเสีย ไม่พิจารณาพระไตรลักษณญาณต่อไป หรือที่เรียกว่าความเห็นเป็นไปหน้าเดียว นี่เรียกว่า ฌาน


    ส่วนสมาธินั้นเมื่อจิตรวมหรือไม่รวมก็มีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่ในสภาพเช่นไร พิจารณาอะไร หยาบหรือละเอียดแค่ไหน เรียกว่า สมาธิ


    บางทีเมื่อจิตถอนออกมาจากฌานแล้ว มาพิจารณาองค์ฌานนั้นหรือพิจารณาอารมณ์อันใดก็ตามจนจิตแน่วแน่อยู่เฉพาะอารมณ์นั้น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานอยู่แต่กลับไปพิจารณา พระไตรลักษณญานเสีย จิตไม่รวมเป็นภวังค์เรียกว่า ฌานกลับเป็นสมาธิ


    เมื่อพิจารณาอารมณ์ของสมาธิอยู่หรือออกจากสมาธิแล้วก็ตาม จิตไปยินดีน้อมเข้าสู่ความสงบสุข เลยไม่พิจารณาเอาอารมณ์ของสมาธินั้น จิตรวมเข้าไปเป็น ภวังค์ เรียกว่า สมาธิกลับมาเป็นฌาน

    ฌานและสมาธินี้กลับเปลี่ยนกันไปกันมาอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติไม่เป็นการเสียหายอะไร ขอแต่ให้รู้เรื่องของมันว่า อันนี้เป็น ฌาน อันนี้เป็น สมาธิอย่าไปติดในอารมณ์นั้น ๆก็แล้วกัน ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่วแล้วจะอยู่ในอารมณ์อันใดก็ได้

    พระบรมศาสดาเมื่อทรงพระชนม์อยู่ หรือพระสาวกทั้งหลายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ต้องเพ่งพิจารณาฌานนี้เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของท่าน ธรรมดาจิตจำเป็นต้องมีความคิดความนึกอยู่เสมอ ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้น ๆ ว่าเป็นไปเพื่อวัฏฏะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็นฌานเสีย เพื่อเป็นเครื่องอยู่ในทิฏฐธรรมของท่าน
    ฌาน และ สมาธินี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ไม่มีฌานก็ไม่มีสมาธิ ผู้ไม่มีสมาธิก็ไม่มีฌาน ดังนี้ เอว
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,471
     

แชร์หน้านี้

Loading...