การพิจารณาอสุภะตัวเราถือว่า เป็นการวิปัสสนารึยังครับ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 12 มกราคม 2015.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,011
    สวัสดีครับ มีอะไรอยากจะถามหน่อยเกี่ยวกับเรื่องของการวิปัสสนาครับ คือเวลาผมนั่งสมาธิ ผมจะนึกว่า ตัวของผมเป็นโครงกระดูก ไม่ก็นึกว่าตัวของเรามีหนอนไต่ยั้วเยี้ยบนร่างกายที่เน่าแล้วของเรา คือประมาณว่าพิจารณาตัวเราเป็นซากศพ เกิดมาแล้วก็ต้องดับไป การพิจารณาแบบนี้ในระหว่างที่ผมนั่งสมาธิอยู่นั้นถือว่า ผมวิปัสสนารึยังครับ ? ช่วยแนะนําด้วยครับ อนุโมทนาครับ ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2015
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ถ้าเราคิดแล้วรู้ว่าคิดก็เป็นวิปัสสนาครับ รู้ว่าฟุ้งซ่านก็ดึงกลับมาเมื่อรู้ว่าฟุ้งซ่านครับ วิปัสสนาจะเป็นแนวรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รู้ความรู้สึก
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เป็นภายนอก สุตมยปัญญา +จินตามยปัญญา ครับ ลองอ่านทำความเข้าใจดูครับ

    ถ้าจะให้เป็นภายใน ก็ต้อง ทำสมาธิ เข้าสมาธิ แล้วเรียกนิมิต ขึ้นมา แล้วก็ พิจารณา วิปัสสนา ถึงจะเกิดเป็นปัญญาภายใน ในจิตใจเราเองครับ

    ปัญญา

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <table class="toccolours" id="WSerie_Buddhism" style="float: right; margin: 0 0 1em 1em; text-align:center; border: 1px solid #060;" cellpadding="1" cellspacing="0" width="170px"> <tbody><tr> <td colspan="2" style="font-size: 100%"> <small>ส่วนหนึ่งของ</small>
    ศาสนาพุทธ

    [​IMG] สถานีย่อย
    <hr> [​IMG]
    ประวัติศาสนาพุทธ
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">ศาสดา</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;"> พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">จุดมุ่งหมาย</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">นิพพาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">พระรัตนตรัย</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;"> พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">ความเชื่อและการปฏิบัติ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">คัมภีร์และหนังสือ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">หลักธรรมที่น่าสนใจ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">ไตรลักษณ์ · อริยสัจ ๔ · มรรค ๘
    · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล ๓๘</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">นิกาย</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">สังคมศาสนาพุทธ</td> </tr> <tr> <td style="font-size: 90%;">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">การจาริกแสวงบุญ</td> </tr> <tr> <td style="font-size: 90%;">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 95%; color:#ffffff; background-color:#8A9E49;">ดูเพิ่มเติม</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="font-size: 90%;">อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
    หมวดหมู่ศาสนาพุทธ</td> </tr> </tbody></table> ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย
    ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ

    1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
    2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
    3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้าไม่เข้าใจ ไม่ได้ว่าจขกทนะ แต่จะบอกแนะนำว่าว่า ก็จะบอกสั้นๆ ว่าเป็น วิปัสสนึก นึกเองเออเอง อะไรแบบนั้นละคับ

    เพราะไม่มีฐาน ฐานก็คือ กรรมฐาน ฐานของสมาธิ นั้นเองครับ

    ไม่มี สมถะ สมาธิ ฌาน กรรมฐาน ฐานที่เป็น ฐาน ฐานที่รองรับการปฏิบัติ การวิปัสสนา ครับ

    ok นะ ^^
     
  5. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863

    เป็นสมถะครับ แต่ถ้าคิดเลยไปอีกนิด หรือพิจรณาลึกลงไปอีก

    จับเอาอริยสัจสี่ เข้ามาพิจราณาร่วม ก็จะได้ มรรค ได้อารมณ์วิปัสสนาครับผม

    หรือ ต้อง พิจราณาลงไปที่ไตรลักษณ์ นั้นละ อารมณ์วิปปัสสนาญาณ ใช่เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2015
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ต้องดูสภาวะของจิตด้วยครับ..ถ้าจิตเรายังไม่อยู่ในสภาวะที่พอมีความเป็นทิพย์
    การที่คุณทำอย่างนั้น.ยังไม่ถือว่าเป็นวิปัสสนาครับ เพราะมันยังไม่ใช่
    ตัวจิตจริงๆที่เห็นครับ มันยังไม่ได้แยกระหว่างตัวจิต ไม่ได้แยกความคิด
    และไม่ได้แยกขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมด้วยครับ. เพราะยังมีความคิดที่เกิด
    จากจิตมันปรุงร่วมอยู่มีความคิดที่เป็นฝ่ายอารมย์ปรุงร่วมอยู่ด้วยครับ
    ตรงนี้ถ้าเราไม่เจริญสติเข้าไปสังเกตุจริงๆเราจะแยกไม่ออกครับ.
    และจะเผลอเข้าใจว่าเรารู้ เราเห็นได้ แต่พอออกมาสู่โลกภายนอกจะพบ
    ว่าสภาวะนั้นมันไม่ช่วยให้จิตเราคลายกิเลสเรื่องนั้นๆได้จริงๆครับ..
    เพราะตรงนี้มันจะกลายเป็นกระแสคลื่นที่วิ่งวนภายใน
    กระโหลกศรีษะเราได้ส่งผลให้ความสามารถในการ
    เชื่อมต่อกับครูบาร์อาจารย์ข้างบนของเราลดน้อยลง
    ตลอดผลการปฏิบัติของเราไม่เดินหน้าต่อไป

    รวมทั้งความสามารถต่างๆ การรับรู้ต่างๆเราก็ไม่ดีขึ้น
    อย่างที่เราคาดไม่ถึงเพราะกระแสความคิดที่รวมกับจิตตรงนี้
    มันจะไปดึงกระแสที่จะเชื่อมกับข้างบนไว้ครับ..
    แต่เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับบุคคลที่ยังต้อง
    ทำหน้าที่การงาน ยังต้องรับผิดชอบคนอื่นๆอยู่หรือ หาเลี้ยงชีพตนอยู่ครับ
    แต่ก็มีประโยชน์ก็คือในเรื่องที่โน้มเพื่อให้จิตใช้เป็นแนวทางเดินได้.
    แต่เราจะใช้ก็ต่อเมื่อ จิตมันรวมกับความคิดจากจิต รวมกับความคิด
    ที่เกิดจากขันธ์ ๕ นามธรรมไปแล้วเท่านั้นเพื่อให้มันวางเรื่องนั้นเฉยๆ
    แต่ยังไม่ใช่ตัวจิตที่วางครับ...ยกตัวอย่างนะครับเราเห็นสุนัขพูดว่ามัน
    สวยนะและเรารู้สึกชอบ
    นี่คือมันรวมกับขันธ์ ๕ นามธรรมไปแล้วครับ เพราะเรามีสัญญา
    ว่าตัวนี้เรียกว่าสุนัข รับรู้มาจากวิญญานตาหรือหูในอดีต และก็สังขาร
    ปรุงแต่งไปว่ามันมีสีดำ ทำให้เรารู้สึกชอบคือเวทนา (ถ้าเราชอบสีดำ)
    และคุณก็นึกๆไปว่ามันน่าจะเป็นพันธ์ A พันธ์ B พันธ์ C
    นี่ก็คือมันรวมกับความคิดที่เกิดจากจิตไปแล้ว..เป็นต้นครับ.
    .การวิปัสสนาที่คุณเข้าใจก็จะประมาณนี้หละครับตามที่ถาม
    มานะครับ...
    ..

    ถ้าสามารถอยู่ในสภาวะที่จิตมีความเป็นทิพย์ได้ ในระดับอุปจารสมาธิ
    ที่เราสามารถเห็นนามธรรมต่างๆได้นั้น..และเราสามารถยกเรื่องนั้นหรือ
    เรื่องอะไรก็ตามเพื่อที่จะขึ้นมาพิจารณาได้นั้น
    จะต้องต้องรู้จักเรื่องการวางอารมย์
    เรื่องที่จะพิจารณานั้นๆในระหว่างวันเอาไว้ก่อน
    คือคิดๆไว้แล้วก็ลืมๆมันไป พอถึงช่วงที่จิตเรามี
    ความเป็นทิพย์ ถ้ากำลังสมาธิและกำลังสติเรามีมากพอ
    ที่จะรักษาอารมย์ความเป็นทิพย์ไว้ได้ เรื่องที่คิดๆไว้
    ระหว่างวันถึงจะผุดขึ้นมาให้เราพิจารณาได้ โดยที่
    ไม่กลายเป็นนิวรณ์ที่จะทำให้จิตเราหลุดจากอารมย์
    ตรงนั้นทันทีภายในเสี้ยววินาทีและกลับสู่ร่างกายปกติ
    เพราะอารมย์สมาธิระดับนี้จิตกับกายแยกกันก็จริงอยู่
    แต่ยังโยงระบบประสาทร่างกายไว้ด้วยอีกเล็กน้อย
    คนที่โดนผีอำแม้ว่ามีความคิดจะขยับตัวถึงขยับร่างกาย
    ไม่ได้นั่นหละครับ เพราะต้องใช้การกระตุ้นสัมผัสระบบ
    ประสาทถึงจะกลับมารวมกับร่างกาย เพราะกายกับจิต
    มันแยกกันอยู่บางส่วนในระดับที่ยังไม่ทิ้งระบบควบคุม
    ร่างกายเสียทีเดียวนั่นเองครับ...

    และถ้ามาคิดต่อก็จะกลายเป็นเหมือนๆประเด็นแรกที่เล่าให้ฟังมาครับ..
    และถ้าทำได้.ก็ต้องอาศัยการเข้าไปถึงจุดที่พิจารณาเรื่องนั้นๆ
    ให้ได้บ่อยๆ เนื่องจากกำลังตรงนี้ยังไม่มากพอที่จะตัดเรื่อง
    ที่พิจารณาให้ถึงขั้นละเอียดได้ หากเคยทำได้จะพบว่า
    เมื่ออยู่ในสภาวะปกติ เรื่องที่เคยพิจารณาก็จะยังผุดขึ้นมารบ
    กวนจิตใจเราได้อยู่ แต่หลักๆคือ ทำบ่อยๆให้ได้ก็จะถึงขั้นละเอียดได้เอง...
    และกำลังสมาธิตรงนี้ไม่มีผลต่อกำลังจิตอะไร ไม่มีผลต่อเครื่องรู้พิเศษอะไร
    มีแต่ด้านความชำนาญในการ
    เข้าถึงอารมย์ทิพย์เท่านั้นครับ.

    วิธีสุดท้ายเหนื่อยหน่อยต้องว่างๆ และไม่มีภาระกวนใจจริงๆและมีเวลาให้ตรงนี้
    ก็คือการยกระดับไปถึงกำลังสมาธิระดับสูง ในระดับที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
    ชั่วคราว และที่สำคัญต้องมีกำลังสติเพียงพอ ที่จะบังคับให้ตัวจิตอยู่ในร่างกาย
    ได้นิ่งๆจริงๆ..ปกติถ้าเข้าถึงอารมย์นี้ได้จริงครั้งแรกจะเอาตัวจิตไม่อยู่ เนื่องจากนิสัยเดิมของ
    จิตมันจะชอบท่องเที่ยว ต้องมาเจริญสติเพิ่มให้มากๆประมาณครั้งที่ ๓ และ ๔
    ถึงจะพอควบคุมตัวจิตให้นิ่งๆได้...
    ตรงนี้การวางอารมย์คล้ายๆระดับอุปจารสมาธิ ถ้าผุดเรื่องขึ้นมาได้ ตัวจิตจะวิ่ง
    ไปพิจารณาในเรื่องนั้นๆเองโดยที่เราจะได้แค่ตามดู เค้าจะพิจารณาของเค้าได้เอง
    จนสุดท้ายถึงขั้นที่ย่อยสลายเกิดการระเบิดได้..ถ้าทำตรงนี้ได้จะได้ผลทางด้านนี้
    ถึงขั้นในระดับละเอียดที่จะไม่ผุดเรื่องนั้นๆขึ้นมากวนใจเราได้อีกครับ..

    แต่บางดวงจิตก็วิ่งเข้าไปดูในจิตเรื่อยๆก็มี
    และจะได้ในเรื่องความสามารถพิเศษที่สามารถ
    ใช้งานได้ในสภาวะลืมตาปกติครับ..ขึ้นอยู่กับการสะสม
    บารมีมาของดวงจิตนั้นๆครับ..

    ปล.ประมาณนี้ครับ
     
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014





    การนึกว่าตัวเองเป็นโครงกระดูก
    นิ่งๆ อยู่อย่างนั้น
    ไม่มีอารมณ์อื่นมาเจือปน
    อันนี้ยังเป็นสมถะครับ
    ยังไม่ล่วงไปวิปัสสนา


    ให้พิจารณาจนกระดูกใสเป็นแก้ว
    อันนี้จะตรงถูกหลักสมถะ
    ย่อ ขยาย ให้เล็กให้ใหญ่
    เมื่อทำได้ชำนาญ
    สามารถรักษาโรคกระดูก
    ในร่างกายเราได้
    เกิดอภิญญาต่างๆ ได้
    แต่ยังไม่บรรลุธรรม


    หากเพิ่มวิปัสสนาลงไป
    คือพิจารณาไตรลักษณ์
    ควบคู่กับร่างกายไปด้วย
    จะเป็นวิปัสสนาควบสมถะทันที
    เช่น พิจารณาว่า กายของเรานี้เป็นเพียงแค่กระดูกเท่านั้น
    เมื่อเรากำหนดว่า กระดูก ก็ให้เราพิจารณาควบไปด้วยทันที
    จะเข้าญานหรือไม่เข้า
    แล้วทำ ก็มีค่าเท่ากัน
    นี้คือหลักของมหาสติสี่
    คือ หลักการพิจารณากายในกาย


    การนึกบ่อยๆ ว่า
    ตัวเรามีหนอนยั๊วเยี๊ย บนร่างกาย
    หากนึกอย่างเดียว ยังจัดเป็นสมถะ
    หากพิจารณาควบคู่กับ ความตาย
    อันนี้ ถูกหลักตามหลัก วิปัสสนา
    เช่น นึกว่า หนอนๆๆๆๆ
    ให้พิจารณาควบ มรนัสสติ
    คือ เราต้องตายๆๆๆๆๆ
    พอภาพหนอนเกิดขึ้น
    ก็ให้นึกว่า เราต้องตายๆๆๆๆๆๆ ทันที

    การนึกว่า ตัวเราเป็นซากศพ
    หากนึกอยู่อย่างเดียว
    จนเกิดอารมณ์นิ่ง สุขๆ เกิดขึ้น
    หรือ นึกจนกระทั่งศพลุกขึ้นเดินได้
    หรือ เกิดเหตุการณ์แปลกๆ กับศพ
    อันนี้เป็นแค่เพียงสมถะ มิใช่ปัสสนา


    ต้องพิจารณาควบเข้าไป
    เช่น นึกว่า ศพๆๆๆๆ
    หรือ ซากศพ
    ต้องพิจารณาควบว่า
    ตัวเราก็เป็นศพ
    หรือ เราต้องตายเป็นศพ


    ทั้งหมดที่กล่าวมา
    ยังรวมอยู่ในข้อ กายในกาย อยู่


    ส่วนการพิจารณา
    แบบที่คุณทำอยู่นั้น
    คือ การพิจารณาว่า
    เกิดมาแล้วก็ต้องดับไปๆๆๆๆๆๆ
    อันนี้ถูกต้องตามหลักไตรลักษณ์
    ข้อที่ว่า ไม่เที่ยงนั่นเอง
    แต่คุณต้องทำบ่อยๆ
    ทำจนชิน แทนการทำสมาธิไปเลย
    หากทำได้ทั้งวัน คุณบรรลุอรหันต์
    หากนึกได้ค่อนวัน คุณบรรลุอนาคา
    หากทำได้ครึ่งวัน คุณบรรลุสกิทาคา
    หากทำได้ 6 ชม ต่อวัน คุณบรรลุโสดาบันแน่ๆ


    สรุปก็คือ ที่คุณทำมาถูกต้องแล้ว
    แต่ให้ขัดเกาแนวทางอีกนิดหน่อย ก็ใช้ได้
    หากคุณนึกแล้ว พิจารณาควบลงไป
    อันนี้จะถูกตามหลักวิปัสสนา
    คือ กายในกาย หรือ กายไม่เที่ยง ทันที
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    หากทำอย่างที่เล่ามานั้น อย่างต่อเนื่อง
    เนืองๆ ไม่หยุดๆทำๆ แต่ ฝึกสม่ำเสมอ ไม่ขาดอย่างนั้น ซ้ำๆๆ

    จะเป็นกรรมฐาน ที่เป็นทั้งสมถะ และวิปัสนา

    ฉะนั้นแล้ว อย่าไปกังวลกับ คำว่า สมถะและวิปัสนา

    ผลที่ได้หากคุณ จขกท ชำนาญ

    1 ตาทิพย์
    2 มโนมยิทธิ
    3 เจโตปริญาญาณ

    จะเกิดขึ้นเป็นลำดับๆ

    ขอให้ต่อเนื่องมั่นคงแล้วกัน อาสวะขยญาณ พึงหวังได้


    เว้นเสียแต่ ว่าจะทำกรรมย้าย ไม่ได้กรรมฐานเสียก่อน ก็จบข่าวครับ^^
     
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ตัวเอง ตอบได้ดีที่สุด ครับ

    ปฏิบัติมานานขนาดไหนที่ผ่านมา ผลของการปฏิบัติในปัจจุบัน เป็นอย่างไร ^^

    ึิึิคือผล ให้ดูปัจจุบัน ว่าก้าวหน้า หรือ อย่างไร ครับ^^
     
  10. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    อสุภะกรรมฐาน ไม่ใช่ วิปัสสนา แต่ อสุภะกรรมฐาน สามารถเป็นพื้นฐานของ วิปัสสนา ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติว่าปฏิบัติวิปัสสนาได้ถูกหรือไม่

    วิปัสสนา ผู้ที่จะสามารถรู้ได้เอง คือ ผู้ที่มีบุญและบารมีเต็มสมบูรณ์ เคยเข้าถึงวิปัสสนา มาก่อนแล้วเมื่อชาติก่อนๆ เท่านั้น จึงจะสามารถรู้เองได้ นอกเหนือจากนี้ จะไม่สามารถรู้ได้เอง ปฏิบัติให้ตายหรือจนขาดใจตายก็รู้ไม่ได้ด้วยตนเอง


    ผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกับผู้ที่มีความสามารถรู้ได้เอง ภูมิธรรมนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
     

แชร์หน้านี้

Loading...