สอบถามเรื่องการดูลมหายใจครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ppmtm15, 17 ธันวาคม 2014.

  1. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    - ผมอ่านท่านที่มาโพสตอบหลายท่านแรก รู้สึกว่าท่านเป็นผู้รู้เรื่องนี้และได้ทำด้วยตนเอง ขอยกย่องจากใจครับ

    - ผมขอเสริมจากที่หลายท่านได้อธิบายมานะครับ ว่า การที่เรารู้ว่านี้คือลมหายใจเข้า นี้ลมหายใจออก เรียกว่าสติ ส่วนรู้สั้น รู้ยาว รู้ตัวทั่วพร้อม เรียกว่า สัมปชัญญะ
    - เป้าหมายก็คือให้รู้สึกตัวอยู่ตลอด คือรู้สัมปชัญญะ การพวักพวง เครียด กับลมจะสั้น ลมจะยาว หรือจะบังคับลม อย่าไปสนใจ สนใจแต่ สัมปชัญญะ รู้สึกตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ว่าเรากำลังนั่งหายใจอยู่ รู้สึกตัวว่าลมมันผ่านรูจมูกอยู่ พยายาม ให้รู้สึกตัวอันนี้ต้องไปสัมผัสเอาเอง มีบางท่านบอกว่า รู้สึกตัวที่เรียกว่าสัมปชัญญะ มันสอนยากกว่า สติ แต่ถ้าไม่มีสติก็จะไม่มีสัมปชัญญะ
    - มีสติอย่างเดียวไม่มีสัมปชัญญะ บางคนเรียกว่า มิจฉาสมาธิ ต้องมีสติตามด้วย สัมปชัญญะ จึงเรียกว่า สัมมาสติ
    - ลองทำอย่างผมว่านะครับ เราถอดความรู้สึกออกมา แล้วดูลมหายใจเข้าออก ดูจิตที่เวลามันฟุ้ง ดึงจิตมาที่ลมหายใจ เอาสัมปชัญญะดู ก็จะครบตามที่ในพระสูตร คือรู้กองลมทั้งปวง
    - ประโยชน์ เมื่อจิตเป็นสมาธิ อ่อน เพื่อน้อมไปยังการพิจารณา ความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า จิตที่เป็นสมาธิ ตัวสัมปชัญญะก็จะต่อเนื่อง
    - ผมก็ไม่ได้ทำอะไรได้มากมาย แต่รู้ว่าจิตมันทำงานของมันเอง มันเป็นอนัตตา ผมรู้จักสัมปชัญญะ มันแค่แวบเดียวสั้นมากๆที่เกิดในแต่ละครั้ง
    - สัมปชัญญะ มันคิดไม่ได้ เพราะ ตัวสัมปชัญญะก็คือนิพานธาตุ ไม่เหมือนตัวจิต เพราะตัวจิต สามารถร่วมกับ สัญญา สังขาร จิตจึงคิดได้ปรุงแต่งได้

    - สติปัฏฐานสี่ หลักการเดียวกันหมด มีสติ ตามด้วยสัมปชัญญะ เสมอ
    - เพียงแต่ ตัวสติ เราจะเอาอะไรเป็นตัวสร้าง กาย เวทนา จิต หรือการพิจารณาธรรม ล้วนแต่เป็นผัสสะ อย่าพวักพวงว่า ตัวสติมันจะล้มลุกคลุกคลานอย่างไร พุ่งตรงประคองให้เกิดสัมปชัญญะต่อเนื่อง ก็จะเห็นอย่างต่อเนื่องคือเห็น ขันธ์ห้าหรือ ที่เรียกว่า กายและใจ เป็นแค่ สิ่งที่ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของสูญ ไม่มีสาระแก่นสาร พิจารณาตามพระสูตรเลยครับ
     
  2. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    อ้างอิงท่านธรรมชาติ:

    +++ จากนั้น "หากอยู่" ในสภาพที่ "รู้ทั้งตัว หรือ รู้สึกทั้งตัว" ได้ ไม่ว่าจะ "ขยับแขน-ขา ดื่มกิน-ขับถ่าย" ต่าง ๆ ก็จะ "รู้ทั้งหมด" ได้เอง ซึ่งจะได้ "ผลลัพธ์ที่ ตรงกับ กายานุปัสสนา หรือ เวทนานุปัสสนา" ที่มีมาเอง เป็นมาเอง ทุกประการ

    +++ หาก "ทำ" ตรงนี้ได้เป็น "นิสัย" ก็จะ "รู้" รวมไปถึง "การ เหลีอบซ้าย แลขวา ของ อาการดู" เมื่อ "รู้" อาการของ "กาย+ความรู้สึกกาย" ทั้งหมด แล้วไม่นาน

    +++ ยามใดที่มีการ "เหลือบซ้าย แลขวา" ก็จะ "สำเหนียก" ถึง "การส่งออก" ของจิตตน "ไปตามกระแสการ ดู" ได้ ตรงนี้เป็น "จิตตานุปัสสนา" จากนั้นอีกไม่นาน

    +++ ก็จะสำเหนียกได้ว่า "จิตส่งออก ไปข้างนอก" แต่ "อารมณ์ทั้งหมด" กลับเกิด "ข้างใน" ตรงนี้เป็น "ธรรมานุปัสสนา"

    +++ หาก "อยู่ตรงนี้ได้จนเป็นนิสัย" ก็จะ "รู้ชัด" ได้ว่า "จิตตา และ ธรรมา" หรืออีกนัยหนึ่งคือ "จิต กับ อารมณ์" มันเกิดกัน "คนละที่" มันจึง "เป็นคนละตัว"

    +++ และใน "ขั้นตอนระดับนี้" หาก "ดูที่จิต ก็เป็นการ เพ่งจิต" หาก "ดูที่อารมณ์ ก็เป็นการ เพ่งอารมณ์" ตรงนี้ "เป็นการใช้ภาษา ให้ตรงกับอาการ ที่คนไทยธรรมดาเข้าใจได้"

    +++ และหากยามใดที่ "ตัด" การ ดู ทิ้งไป (บางท่านอาจเรียกว่า "เพิก ถอน วาง ละ ปล่อย" ก็แล้วแต่ความสะดวกของภาษาที่ท่านใช้) ทุกอย่างก็จะ "รู้" อยู่ดี

    +++ ยามใดที่ทำ "รู้" ตรงนี้ให้เป็น "นิสัย" ได้ ก็จะเข้าใจได้เองว่า คำว่า "อยู่กับรู้" ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล คือ อาการอย่างไร

    +++ และอยู่ตรงนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ "เรียนรู้" ได้เองว่า "ทุกสิ่งที่ ถูกรู้" ล้วนมีอาการ "แปรปรวน เกิด-ดับ" เป็นธรรมดา

    +++ และไม่นานก็จะเกิด "เบื่อ" สรรพสิ่งที่ "เกิด-ดับ" ไปเอง รวมทั้ง อุปจาระสมาธิ (กามาวจร) รูปฌาน 4 (ถอดกายใน รูปาวจร) และ สภาวะธรรมารมณ์ที่ ตนเสพอยู่ (อรูปาวจร อรูปฌาน) ต่าง ๆ

    +++ เมื่อถึงเวลาก็จะ "วาง" เรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไปได้เองตามธรรมชาติ หลงเหลือแต่ "การอยู่กับสภาวะต่าง ๆ ตามความเป็นจริงที่ มีอยู่ เป็นอยู่" เท่านั้น

    +++ ต้นเหตุทั้งหมด อยู่ที่การทำ "อานาปานสติ" ได้ถูกต้อง เท่านั้นเอง ส่วนใครทำได้เท่าไรก็ถือว่า "ทำได้เท่านั้น" ก็แล้วกัน

    +++ ให้ถือว่าเป็นการ "มอบของขวัญปีใหม่ 2558" นี้ จากผม ทั้งหมดก็เท่านั้น นะครับ[/QUOTE]



    ยอดเยี่ยมคะ:cool:

    อาการรู้ที่เราทุกคนต้องรู้ทุกอาการกันอยู่แล้ว แต่ไม่ได้รู้สึกทั้ตัว เป็นมิจฉาสติใช่ไหมคะ

    เรารู้ลมหายใจ เรารู้แค่ลมหายใจ แต่ก็ไม่ทำความรู้สึกทั้งตัวไปด้วย เรียกว่าอะไร
    ใช่มิจฉาสมาธิหรือเปล่าคะ

    การฝึกสติถ้าต้องฝึกตลอดเวลา เวลาลืมตาเพื่อรู้ลมหายใจ และทำความรู้สึกตัวไปด้วย
    ก็ต้องใช้ตัวดูช่วย หรือ ตั้งใจดู เพราะตัวดู นั่นก็คือ ตัวสติ แล้วการวางตัวดูเพื่อไป
    อยู่กับรู้อย่างเดียว เป็นการวางโดยธรรมชาติ หรือวางตัวมันเองโดยอัตโนมัติ หรือ
    พยายามอยู่กับรู้อย่างเดียว แล้วที่เรียกว่า ตัวรู้ครอบคลุมตัวดู แต่มันก็ยังมีการดูอยู่
    หรือ ตัวสติร่วมด้วยตลอดหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ วางตัวดูอย่างไรคะ

    อยู่ข้างนอกก็รู้ อยู่ข้างในก็รู้ เหมือนจะรู้ตัว แต่ไม่ค่อยรู้สึกทั้งตัว พอมากลับมารู้ตัว
    แล้วเหนื่อยล้าสติวิปลาสหรือเปล่า เบื่อตัวเองจังเลยคะ
     
  3. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    - ขออัญเชิญพุทธพจน์นี้ว่า .... [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้ง
    ไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มี
    ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการ
    เจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก...
    - จะเห็นได้ว่า การตั้งใจใว้ให้ถูกจึงเป็นหลักการแรกก่อนปฏิบัติ การตั้งใจถูกก็ต้องเข้าใจหลักการตาม หลัก อริยสัจสี่
    - สติปัฏฐานสี่ เป็นวิธีเดินไป อาจจะเจอปัญหาอะไร ก็ต้องหลบ โดยไม่สนใจ มุ่งหน้าต่อไปประมาณนั้น
    - ผู้ที่เข้าใจธรรมะได้ถูก ผมว่านะ ต้องฟังพระใตรปิฏกนั้นแหละ หลายๆรอบอย่าดูถูกภูมิความรู้ของตนเอง นั้นแหละ ผมเข้าใจอย่างนี้นะครับ
     
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    มันเยี่ยมตรงไหนครับนั่น ทำอะไร ต้องเอา สิ่งที่ตนเห็นมีรสนำหน้าซี่คร้าบ

    ภาวนาได้ดีกว่าเขา ไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ ดันไป เห็น ธรรมที่กล่าวผิดว่า เยี่ยมยอด

    ธรรมของเขา กล่าวผิด คุณเห็นไหม ....ดูจาก การตั้งคำถาม ก็เห็นๆอยู่
    ว่า คุณก็รู้ว่า เขา อธิบายธรรมผิดแบบฟ้ากับเหว แล้วจะไป ก่อกวนให้เขา
    แสดงธรรมเพิ่ม อันนี้ เขาเรียกว่า ไม่อนุเคราะห์เพื่อนที่ล่วงเวรกรรม ไปทำ
    ให้เขาพูดเพิ่ม เขาก็จะยิ่งมีเวรกรรมเพิ่ม ตกนรกหนักเข้าไปอีก

    ดังนั้น คนที่มีแนวโน้ม แสดงธรรมผิด แล้ว ไม่มีทางเลิก ให้ดี เราไม่ต้อง
    เอาไม้ไปรันอี้ มันจะกลายเป็น ส่งเวรกรรมมายัง คนไปที่คุ้ยเขี่ยด้วย



    อานาปานสตินั้น จะไม่ลงไปรู้ที่กาย ที่มีระยาง เด็ดขาด

    อานาปานสติ จะเลย กายเนื้อขึ้นมา เป็น มหาภูตรูป

    เน้นนะว่า เลยขึ้นมาเห็น มหาภูตรูป เลยกายไปไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่

    และ มหาภูตรูปนั้น หากถลำลงไป เราจะเรียกว่า ตกจาก อานาปานสติ ด้วยซ้ำ
    เพราะ.................

    เพราะ อานาปานสติ จะอาศัย ญาณสัมปยุตในขณะระลึกความแปรปรวนของลมทั้งปวง

    งง ไหม

    อานาปานสติ คือ การระลึกความแปรปรวนของลม ดังนั้น มันไม่ใช่ กรรมฐาน
    เข้าไปแนบกับ ลม

    คนตามเห็นความแปรปรวนของลม ไม่มีหรอกจะเป็นเรื่องการ จับลมจนแนบ

    เหมือนเปิด พัดลมแรงเบอร์สาม แล้ว คุณเอา นิ้วเข้าไปแตะ ใบพัด มันมีที่ไหน
    ที่จะไปแนบกับ ลม จับใบพัด อย่างมาก ก็เอาแค่ " อาศัยสัมผัสห่างๆ " ไม่มีทาง
    "เข้าไปหา"ลม ดังนั้น จึง ล่วส่วนจากมหาภูตรูปอยู่ แต่ ความที่อาศัย
    ระลึกเห็นความแปรปรวน จึงไม่ชื่อว่า ห่างจากบัญญัติอารมณ์นั้นๆ

    ดังนั้น กายคตาสติ หรือ กายานปุสนาของ อานาปานสติ ไม่ใช่ กายเนื้อเน่าๆ
    1000% และ ไม่ใช่ ลมเน่าๆ ด้วย (แต่ไม่ระบุ % ว่า 0 หรือ 100 ฮะเอ่อ )

    ************


    สังเกตนะ โดยเฉพาะ พวกติดยิ้ม ติดผู้รู้เที่ยง เนี่ยะ จะเห็น ปิติ กับ สุข ที่ ดับ วิตก วิจาร

    ปิติ สุข ของนักภาวนาที่ไม่รู้มรรค ไม่รู้สมาธิที่ถูกต้อง ปิติ สุข เหล่านั้น จะอาศัย กายเน่าๆ ตั้งขึ้น

    ปิติ สุข ของคนที่ รูปราคะไม่มี (สัมมาสมาธิ ) เขาจะไม่เห็นว่า ปิติ และ สุข อาศัยกายเน่าๆ
    ตั้งขึ้น แต่ จะเห็นเลยว่า มันอาศัย สิ่งที่เรียกว่า มหาภตรูป ( เนื่องจาก จิต ยังไม่ละ สุขสัญญา นานัตสัญญา )

    ดังนั้น นักกรรมฐานที่ไม่ใช่พุทธ พระพุทธองค์จะ กระแซะว่า เป็นพวกไม่รู้ธรรมชาติที่ไม่มีมหาภตรูปตั้งอยู่

    พูดอีกแง่คือ พวกนักกรรมฐานฤาษี ชีไพร ง๊อกแง๊กๆ จะไม่ทราบ ญาณสัมปยุติ หรือ ไตรลักษณ์ญาณ ที่ถูกต้อง



    *********

    ปล.ลิง อาการที่ไม่ระบุ % ว่า 0 หรือ 100 ก็คือ กายคตาสติที่ถูกส่วนของ อานาปานสติ จะมี อำนาจ ตัดทิฏฐิ ทั้งปวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2014
  5. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ส่วนการภาวนา ที่ มีสิ่งหนึ่งเที่ยง มีสุข เห็น ตัวรู้เที่ยง อย่างอื่นแปรปรวนหมด
    เขาก็เรียกว่า ภาวนาไปติดภพ

    ซึ่งมีหลายเหตุ

    1. เหตุที่มาจาก ทิฏฐิ สำคัญว่า จิตเที่ยง ผู้รู้เที่ยง นี้ก็เป็น ทิฏฐิ อย่างหนึ่งที่
    ตั้งปัญญาลำหน้า " สัมมาสมาธิ " ทำให้ จิตไม่เสพ ฌาณ ทำให้ ขาดกำลัง

    2. เหตุที่ไปย่ำยี พวกนักภาวนาทำฌาณ ไปกระแซะเขา โดยที่ ตัวเองก็ยังไม่
    ทราบมรรคที่ชัดเจน อันนี้ เขาเรียกว่า เกิดเวรกรรมต่อกัน ทำให้ " ห้ามจิต "
    เวลา จิตจะจวนเจียนได้ฌาณมาเป็นกำลัง กรรมจะตามมาทัน แล้ว ตัดรากความดี นั้นออก
    ทำให้ ภาวนาให้ตาย ต่อให้มี สัมมาทิฏฐิ แต่ ทะลึ่งไป บริภาษนักเล่นฌาณ ความดี ก็ถูก
    ขุดออกให้ตายเปล่าได้

    3. เหตุที่ละเมอ กล่าวสัจจ ที่ไม่จริง เช่น ไปเที่ยวกล่าวบรรยาย โยนิโสมนสิการ ที่ตน
    ยังไม่รู้จริงให้ผู้อื่นเขา สำคัญผิด จนกลายเป็นพวก " ก๊าบก๊าบ อิอิ แงวแงว " อาการละเมอ
    รู้ไม่จริงนี้ ก็จะเป็น " เวรกรรมตัดขาดมรรคผล " ขุดตน ได้อีกอย่างหนึ่ง

    ไม่เชื่อลองพิจารณาสิ " ปัญญาเนี่ยะ มีหน้าที่ตัด " แต่ มันมีที่ไหน ที่ปัญญาไปตัด
    สิ่งที่เป็นกุศล การเสพสมาธิ เสพฌาณ มันเป็นกุศล แต่ ปัญญาที่โยนิโสมนสิการผิดๆ
    แล้ว ไปแนะนำคนอื่นให้เขาเดินผิด ปัญญาที่ตัดกุศลเห็นกันจะๆ กลับ ไม่ เอะใจ
    โยนิโสมนสิการไม่จริง กลับไม่เห็น

    4.

    5. .....( บระศรี5 จอง )..........

    6.

    ฯลฯ
     
  6. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ขออภัยนะครับ..

    เท่าที่อ่านดู เป็นผลมาจากความหมกมุ่น เอาจริงเอาจังมากเกินไปนั่นเอง
    อย่าไปถอดบทเรียนอะไรกับมันมากนัก จะกลายเป็นไม่ทันตัวสังขารไปเสีย
    กลับมามีสติรู้ทันความหมกมุ่น ความหลงในสังขารจะดีกว่า
    แล้วจะค่อย ๆ เห็นทุกข์โทษภัยในส่วนนี้ได้เองครับ
     
  7. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ "สติ" คือ การระลึกมาที่ "อาการรู้" ไม่ว่า "อาการรู้นั้นจะแฝงอยู่กับ กาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์" หรือ ลมหายใจ ก็ตาม

    +++ หากการระลึกใด ๆ ที่ไม่สามารถลงมาที่ "รู้" ตรงนี้ได้ การระลึกนั้นมันก็เป็นได้แค่ "สัญญา" เท่านั้้น

    +++ เรียกว่า "รู้ลมหายใจ" ตามอาการของมันก็แล้วกัน

    +++ มิจฉาสมาธิ หรือ สมาธิผิดทาง คือ "สมาธิที่ไม่มีสติ เป็นประธาน"

    +++ "สติ" คือ การระลึกมาที่ "อาการรู้" ไม่ว่า "อาการรู้นั้นจะแฝงอยู่กับ กาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์" หรือ ลมหายใจ ก็ตาม แล้ว "อยู่" อย่างนั้น

    +++ อาการ "อยู่" ตรงนี้ คือ "การทำสติ ให้เป็นสมาธิ" หากทำได้ "ไม่นาน" บางคนก็ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงด้วยซ้ำ ขันธ์ที่สติแฝงอยู่ จะแยกตัวออกไปเอง (แยกขันธ์)

    +++ "ตัวดู" คือ "ตัวกำหนดจิต" เมื่อมี "การกำหนดเกิดขึ้น" สิ่งหนึ่งที่ตามมา คือ "อาการวูป" ตรงนี้เป็น "อากัปกิริยาอาการ ของ การทำงานของจิต" เรียกตรงนี้อย่างสั้น ๆ ได้ว่า "กิริยาจิต" ซึ่ง มีแต่อาการเท่านั้น ตัวกิริยาจิตนั้น "ไม่มีความหมาย มีแต่อาการล้วน ๆ"

    +++ ยามใดที่ "ตัวดู" กำหนดมาที่ "กาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์" ตรงนี้ถือว่าเป็น "การกำหนดฝึก" ของ มหาสติปัฏฐาน 4 แล้ว "อยู่" กับมันจนกว่า "มหาสติ" แยกตัวออกจาก "ฐาน" ตรงนี้เป็นเบื้องต้น

    +++ เมื่อรู้ตรงนี้จน "ได้นิสัย" แล้ว ไม่นาน "การกำหนดจิตทุกชนิด" จะ "ถูกรู้" และจะรู้อย่างชัดเจนว่า "สิ่งที่เรียกว่า ขณะจิต หรือ วาระจิต" นั้นมันมีหลักฐานร่องรอยอยู่ที่ "กิริยาจิต" นั่นเอง

    +++ ตัวดู "ไม่ใช่" สติ แต่มันเป็นผู้ กำหนดเรียก "สติซึ่งเป็นสภาวะรู้" นั่นเอง

    *** วิธีสร้าง "ความคุ้นเคย" ในการตรวจจับ "กิริยาจิต" ***

    1. ให้กำหนด "รู้ตัว" หรือ "รู้สึกตัว" ก็ได้ แล้วให้ "อยู่" อย่างนั้น
    2. ให้กำหนด "ซ้ำ" โดยที่ "ยังอยู่" กับ "รู้ตัว หรือ รู้สึกตัว" ก็ได้

    +++ หากทำได้ ก็จะรู้ว่า "อาการของกิริยาจิต" เป็นอย่างไร การขยับตัว วูป ต่าง ๆ ทั้ง หยาบกลางละเอียด ตรงนี้คือ "รู้วาระจิตตนเอง"

    +++ เมื่อทำจนได้ อุปนิสัย แล้ว (2-3 วัน) ก็จะรู้ชัดเจนได้เองว่า "การขยับตัวของจิตทุกครั้ง จะมีกิริยาจิตเสมอ" จากนั้นก็จะค่อย ๆ สำเหนียกรู้ได้เองว่า "ตัวจิตที่สร้างกิริยาจิต" ตัวนี้ก็คือ "ตัวดู" นั่นเอง

    +++ และจะค่อย ๆ รู้ได้เองว่า "ยามใดที่ ตัวดูถูกรู้" ยามนั้น "ความเป็นตน ไม่ปรากฏ" และยามใดที่ "ไม่รู้ตัวดู" ยามนั้น "เราเป็นตัวดูเสียเอง" ตรงนี้เท่านั้น ที่เป็นจุดสังเกตุว่า "ในปัจจุบันขณะ ณ ขณะนั้้น ๆ" ตัวเราเอง "อยู่กับดู หรือ อยู่กับรู้"

    +++ เมื่อ "อยู่กับรู้" ตัวดู จะถูกวางไปเอง จากนั้นก็จะเหลืออยู่แต่ "สภาวะรู้" ที่เป็น "อสังขตะธรรม" เท่านั้น วิธีเดินจิตอย่างละเอียด อยู่ในลิงค์ข้างล่างนี้ ให้ฝึกฝนเอาเอง ด้วยตนเอง ก็แล้วกัน

    http://palungjit.org/9349562-post836.html

    +++ ให้ทำตรง "เหนื่อยล้าสติวิปลาสหรือเปล่า รวมทั้ง เบื่อตัวเองจังเลย" ตรงนี้ให้ "ถูกรู้" อีกทีก็แล้วกัน อีก 1-2 วันนี้ ผมจะมีธุระ และ อาจจะเข้าหรือไม่เข้ามาในนี้ นะครับ
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ขออภัยเช่นกันครับ..

    +++ เท่าที่อ่านของคุณ Tboon มาทั้งหมดนั้น ยังไม่เคยเจออะไร "ที่เป็นประโยชน์" แม้สักนิดเดียว

    +++ ถ้าคุณ Tboon "รู้จริง" ก็ให้บอกตรง ๆ ที่ "วิธีทำ" มาจะดีกว่า ว่า step 1 2 3 4 5 ทำมาเป็นขั้นตอน "อย่างไร"

    +++ หากยัง "ทำไม่ได้" หรือ "ยังไม่รู้วิธีจริง ๆ" ผมว่า "อยู่เฉย ๆ" จะดีกว่า อย่าได้เที่ยว "วิ่งเพ่นพ่าน" เที่ยวตำหนิส่งเดช "ในสิ่งที่ตนยังทำไม่ได้" จะดีที่สุด

    +++ หากทำได้จริงก็ "ให้บอกวิธีทำมาแบบ ตรงไปตรงมา" ก็จะเป็นประโยชน์ "ต่อส่วนรวม" เป็นอย่างยิ่ง หากมีแต่ตำหนิอย่างเดียว โดยไม่เคย บอกวิธีทำอะไรที่เป็นประโยชน์ออกมาเลย นั่นเป็นการแสดง "ความเห็นแก่ตัว" เป็นอย่างยิ่ง นะครับ
     
  9. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    พระพุทธองค์ให้เห็นการเกิดดับ กิจอื่นยิ่งไปกว่านี้ไม่มี. แค่นี้น่าจะเข้าใจนะ
     
  10. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ธรรมเบื้องต้นคือ ให้รู้จักเปิดใจยอมรับความจริงให้ได้ก่อน
    ถ้าการเปิดใจยอมรับความจริงยังไม่มี ปล่อยให้ทิฏฐิบดบังความจริงเสียแล้ว
    ก็ยากที่จะรู้ทั่วถึงธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งกว่านี้ไปอีกได้นะ
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ นั่นหนะซิ "ให้รู้จักเปิดใจยอมรับความจริงให้ได้ก่อน" ตรงนี้คุณ Tboon "ยังทำไม่ได้เลย" แล้วจะไปรู้ "ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งกว่านี้" ไปได้อย่างไร

    +++ ส่วนที่ผม "บอกวิธีเดินจิต" ให้กับคุณ jityim ไปนั้น "คุณ Tboon" ยังไปไม่ถึง จึง "หมดขีดความสามารถที่จะรู้ได้" ตรงนี้ผม "เห็นมานานแล้ว"

    +++ อีกสิ่งหนึ่งที่คุณ Tboon ยังติดอยู่ คือ "ความรู้สึกหลอน" ที่จิตของคุณ Tboon ผลิตมันขึ้นมาเอง แล้วนึกเอาเองว่า "เป็นจิตของผม" ตรงนี้ "ข้ามความหลอนของตนเอง" ให้หลุดพ้นเสียก่อนจะดีกว่า คราวที่แล้วผมก็บอกไว้ว่า "ตามจิตตนให้ทันเสียก่อน" ก็แล้วกัน

    +++ ถ้าคุณ Tboon ปล่อยให้ "ความคิด" มันปิดบังตาอยู่อย่างนั้น "ก็ไปเรื่อย ๆ ก่อนก็แล้วกัน"

    +++ ส่วนวิธีที่ผมบอก "คุณ jityim" นั้นเป็นเรื่อง "แนะนำส่วนตัว" (เรื่องส่วนบุคคล) ในเรื่องของ "อานาปานสติ" ดังนั้น "อย่าลากไปเพ่นพ่านที่อื่น" อันเป็น "เรื่องเพ้อเจ้อ" ก็แล้วกัน

    +++ คุณ Tboon ควรเลิกนิสัยที่ "ชอบตัดสินผู้อื่น" ให้ได้เสียก่อนจะดีกว่า และควร "โพสท์อะไรที่ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมบ้าง"

    +++ อีกประการหนึ่งคือ "ยังไม่เคยเห็น การโพสท์ที่เป็นประโยชน์" ที่ออกมาจากปากของคุณ Tboon เลยสักนิดเดียว

    +++ คุณ Tboon จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ผมไม่เสียเวลากับคุณแล้วละนะ ขอให้โชคดีก็แล้วกัน
     
  12. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204

    ขอชี้แจงคะ
    1. ไม่ใช่เห็นว่า จิตเที่ยง ผู้รู้เที่ยงคะ เพราะทราบว่าทุกสิ่งในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเที่ยง
    ไร้แก่นสาร แม้แต่ธรรมชาติที่เราเห็นก็ไม่มีล้วนเกิดดับ แม้แต่ร่างกายของเราก็เซลล์
    อวัยวะในร่างกายเราที่เป็นธาตุพลังงานต่าง ๆ ก็ล้วนเกิดดับ ก็นำไปสู่ความเสื่อมสลาย
    ไม่มีข้อยกเว้น และที่เข้าใจว่าการเกิดดับทีเห็นคือ อาการของจิต ที่เห็นเป็นตัวตน
    โดยการสืบต่อของสันตติ แค่จินตามยปัญญาว่า แล้วอะไรเป็นตัวสั่งสมกรรมที่ทำให้
    พระองค์ทรงกล่าวว่า จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป แค่นั้นเอง ยังไม่มีทิฏฐิว่าสิ่งใดเที่ยงเลย
    แล้วที่ว่าปัญญาล้ำหน้าสมาธิจนไม่มีกำลัง เนื่องจากจิตไม่เสพฌาณก็ใช่นะคะ

    2.อันนี้ก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งก็อาจเป็นไปได้ หรือเป็นเพราะ......
    เคยได้ยินคำนี้ไหมงะ สภาวะ วิตก วิจาร ด้วยโยโสมนสิการ เกิดญาณสัมปยุตได้
    เป็นกระบวนการคิดชั้นสูง วิวัฒนาการไปสู่ญาณสัมปยุตได้ ทักษะความชำนาญ
    การคล่องแคล่วที่เกิดขึ้นกับการเจริญฌาณ เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลเป็นปัตตลักษณะ
    เป็นฉันทะวิริยะฝ่ายกุศล อันประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่หลงงมงาย ไม่มีสติสัมปชัญญะ
    ไปอ่านเจอมาน่ะ ถูกจริตมากเลย

    3.อันนี้ค้านคะเพราะประสบมาด้วยตนเอง เป็นเรื่องที่รู้ได้เฉาะตน ก็นำมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น

    5.อะไรเหรอคะ ขยายความหน่อย

    ส่วนที่ท่านแย้งมาก็นำไปอ่านในพระไตรปิฏก็เข้าใจในสิ่งที่ท่านต้องการสื่อก็เห็นด้วย
    กับเรื่อง ญาณสัมปยุติ และเรื่อง นานัตตสัญญาที่ต้องมนสิการ แต่

    ของท่านธรรมชาติ ก็ได้พิสูจน์และนำออกมาถาม ก็มาจาก กายใจ โดยเฉพาะเกี่ยว
    กับเรื่องกิริยาจิต จะเกิดขึ้นร่วมด้วยทุกครั้งที่มีอาการ ถ้าสติรู้ทันจะเห็นได้ และ
    ข้อความนี้น่าสนใจ ยามใดที่ตัวดูถูกรู้ ความเป็นตนจะไม่ปรากฏ ยามใดที่ไม่รู้ตัวดู
    เราเป็นผู้ดูเสียเอง ถ้าแยกรู้แยกดูได้ชัดเจน ก็คงจะเห็นการสร้างตัวตน เพื่อจะ
    ไม่หลงไปกับมันนะ

    เคยลองเอาการดูไปอยู่กับการรู้ตัวอย่างนั้น จะเห็นอาการวูบลง เอากระแสความรู้สึก
    ทั้งหมดเข้าไปในร่างกาย เหมือนกับควันไฟที่อยู่ปากขวด กระจายไปทั่วปากขวด
    ไม่รวมตัว ไม่มีกำลัง แต่มีอาการวูบเข้าไป เหมือนควันไฟที่โดนดูดเข้าไปในปากขวด
    รวมตัวกันนิ่งอยู่ อยู่กับรู้ สงบ ตั้งมั่น มีกำลัง ออกจากสมาธิใช้ชีวิตตามปกติ
    เกิดกระทบกับอารมณ์ใด จะมีอาการวูบและไหวขึ้นมาก่อนให้รู้ ก่อนจะคิด
    พอเห็นและรู้ก็วางได้ เป็นอาการที่เคยประสบมาจากการรู้ตัวคะ

    เห็นว่าถ้าเกิดสติ และสัมปชัญญะได้ ไม่ว่าจะฝึกแบบไหน วิธีใด ก็น่าจะไม่หลงทางนะคะ
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    กลุ้ม !!!

    ตกลง อยากภาวนาแบบคนโง่ๆ ที่กล่าวธรรมผิด ภาวนาผิด

    " แยกตัวรู้ตัวดู ตัวดูถูกรู้ " ....อะไรนั่น นั่นมันธรรมก๊อปปี้ เอามาปะผุ โดยที่
    ไปสร้างสภาวะขึ้นมา .....


    การที่ปรักปรำว่า ไปสร้างสภาวะมาสมอ้าง เขาจะดูจาก ประโยคอื่น มรรคอื่น หาก
    มันไม่มีร่องรอย เหตผล การยกกล่าว จะผิดลำดับ เหมือนคน " พูดลอยๆ "

    ซึ่ง สภาวะแบบนี้ มันสร้างได้ สำหรับคนที่ ทำสมาธิมาพอสมควร พอฟังธรรมคนอื่น
    ก็ ดันไม่เหยียบคำเหล่านั้นไว้ ไปสร้าง อาการจิตนำหน้า แล้วก็ สมอ้างอย่าง คนเมาธรรม

    ซึ่ง แน่นอนว่า คุณก็ต้อง ทุกคนมี และ ผ่าน อาการอย่างนี้มาก่อน ทำให้ พอมีคนพูด
    ก็จะ ระลึกได้ว่า กูก็มี

    พอได้ยินธรรม กูก็มี เรียบร้อยเลย สภาวะปัจุบันเนี่ย อาการอย่างนี้ ไม่เห็น จะกล่าว
    ลำเลิกสมัยอดีต ตายเปล่าทันที การภาวนาที่ควักอารมณ์อดีตมายกก้น ว่ากูเคย กูเป็น
    กูรู้ กูเห็น

    หลังจากนั้น ก็จะแสดง วิบากจิต โน้นนนน ไปจับคำไปกระเดียด อ่านมั่วๆ ซั่วๆ เทียบไป
    มา

    เช่น

    พอคุณถลำ ทิ้งกรรมฐาน ไปลำเลิกอดีต โน้น นานัตตสัญญา กลายเป็นว่า ต้อง นมสิการ

    คุณคร้าบ นานัตตสัญญา เป็น อกุศลธรรม ขวางกั้นสมาธิ จะไป นมสิการทำ ดอก อะไรมิทราบ!!!!

    อาการ นานัตสัญญา คืออะไร ก็ไอ้ โง่ๆ บ้าๆ วู๊บๆ ว๊าบๆ รวมแหล่ ไม่รวมแหล่ ที่มันขยับ
    หลอก เพราะ สติไม่มี ( เน้นนะว่า สติไม่มี มันอ่อนตัว กำลังไม่พอ สันตตติไม่ขาด มันก็
    วูบๆ ว๊าบๆ รวมแหล่ ไม่รวมแหล่ อะไรก็ไม่รู้ ไม่สามารถบรรยายเป็น ภาษาได้ ...แต่พระ
    บางท่านกล่าวว่า มันกำลังเป็นลม ....เออ ก็พอใช้ ) ....คือ ถ้า ทะลึ่งไป จดๆจ้องๆ คิดว่า
    นานัตตสัญญา จะมีดีมาให้ แล้วเกิด สลบเหมือดเอาตอนนั้น พอ ตื่นขึ้นมา ....ร้อยละร้อย
    จะบอกว่า ตัวเองสำเร็จธรรมชั้นโน้น ชั้นนี้ ..................ตาเถรตกใต้ถุน หละไม่ว่า

    นะ ในเมื่อ อยากติดอยู่แค่นั้น ไม่สนใจ " ญาณสัมปยุต "(เห็นจิตดับ ก็พอแล้ว) ไม่ต้อง
    ไปเดาสุ่มส่งสวด เอาตัวดูมาถูกรู้ เอาตัวรู้ แยกไปจาก ตัวดู .......

    ก็ตามสบาย ธรรมะ จะกลายเป็น ธรรมก๊อปปี้ อยู่อย่างนั้น ใครพูดอะไร ก็ลอก แล้วก็เอา
    เรื่องราววูบๆ ว๊าบๆ เข้ามาเทียบ ตามหลัง มันจะได้แค่นั้น

    คือ มันจะได้เฉพาะที่เขากล่าวผ่านหู เห็นวูบๆวาบๆ ในชีวิตประจำวันแล้ว ได้อะไร แล้ว
    ยังไง ภาวนายังไงต่อ ( เขาไม่ได้พูดเอาไว้ เพราะ คนพูดเป็น เขาจะละไว้ ) ก็เลย ไบ้รับทานไปด้วย

    พอ ธรรมมาถึงจุดใบ้รับทาน ก็เอาหละ ไม่ว่างละ อธิบายแค่นี้นะ อ้างโน้น อ้างนี้ ยกโทษโน้น โทษนี ปะเอาไว้

    จริงๆ ใครมาถึงตรงนี้ได้ มันต้องหยอด ดูการล่อ การชน มันจะต้อง หิวกรรมฐาน แล้วไงต่อ

    ถ้าไม่หิว พอใจจะ ก๊อปปี้เหมือนเขา ก็จะ จบ ( คนภาวนาเป็นจะดูออกทันทีว่า ลอกการบ้านเขามาพูด)


    ก็ ก๊อปปี้ได้เหมือนเขา ก็ไม่น่าจะหลงทาง นะคะ !!! ตายเปล่า แน่นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2014
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เนี่ยะ

    กับเนี่ยะ

    สองอันนี้คือ ทิฏฐิเห็นว่าจิตเที่ยง


    พระพุทธองค์กล่าวอยู่ซ้ำๆ

    ให้ พิจารณาว่า วิญญาณ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ก็เพราะ มันมี ปัจจัย
    เว้นจาก ปัจจัยแล้ว วิญญาณ ก็ตั้งขึ้นไม่ได้ !!!

    สภาวะรู้ จะมีได้ก็เพราะว่า ปัจจัย มันมี
    แล้วถ้า ปัจจัยไม่มี สภาวะรู้ก็ตั้งขึ้นไมได้

    การสะสม ไม่มี ธรรมใดเป็นเรื่องการสะสม ธรรมนั้นไม่ใช่ คำสอนของ ตถาคต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2014
  15. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ไม่มีธรรมใดเกิดแล้วไม่ดับ ผู้รู้ก็ดับไปพร้อมกับสิ่งที่ถูกรู้นั้นแหล่ะ
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    สุสสูสัง ละภะเต ปัญญัง - ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา.

    ถ้าไม่มีอคติ ไม่มีทิฏฐิ ไม่งอแง ไม่ถูกพยาบาทขวางกั้น ท่านคงเข้าใจในสิ่งที่ผมกล่าวได้ไม่ยากนัก
    ตอนนี้อัตตามันยังเยอะอยู่ ต่อไปวันข้างหน้าถ้าอัตตาเบาบางแล้วก็จะเข้าใจได้เอง

    ก็ขอให้โชคดีเช่นกันครับ
     
  17. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    อานาปานสติ คือ มีสติรู้ลมหายใจ
    ที่เจ้าของกระทู้ กระทำอยู่ คือ บังคับลมหายใจเข้าออก ก็เลยเป็นแบบนี้ ลมหายใจเบาจนถึงหยุดนี้ถูกต้องแล้ว แต่ท่านเจ้าของกระทู้ไม่สามารถหาความเป็นปกติของการรู้ลมหายจนเข้าออกได้ท่านก็อึดอัดแบบนี้


    กลับไปปฏิบัติหาความปกติของการรู้ลมหายใจเข้าออกว่าอยู่ตรงไหน แล้วท่านจะไม่อึดอัดแบบนี้
    อานาปานสติ นี้หลายๆท่านเข้าใจว่าง่าย จริงๆไม่ง่ายอย่างที่คิดเลย แบบนี้เราก็เคยเป็นมาก่อนมานานแล้ว


    อะไร คือ ความปกติ เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติเข้าใจได้ยากยิ่ง ผู้ที่ปฏิบัติได้ถูกต้องตามพระพุทธะวจนะ เป็นผู้ที่ทำความปกติให้เกิดขึ้นแก่ใจ เป็นผู้ที่เดินตามทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา และเป็นผู้เข้าถึงธรรมที่เป็น ปฏิสัมภิทา
     
  18. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204



    เรื่องนานัตตสัญญาที่ต้องมนสิการ นำลงมาให้อ่านคะ ลองไปหาอ่านดูเต็มได้คะ
    จะพิมพ์ทั้งหมดยาวมาก พิมพ์ไม่ถนัดต้องใช้เวลา coppy มาให้อ่านก็ไม่ได้คะ
    อยู่ในพระอภิธรรมปิฏก ธรรมสังคี เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 551 ลองหาอ่านดูคะ

    สัญญาที่พรั่งพร้อมด้วยมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ของผู้ที่ไม่เข้าสมาบัติ
    ย่อมเป็นไปในอารมณ์ที่มความแตกต่างกัน และสภาวะที่แตกต่างกันด้วยรูปและ
    เสียงเป็นต้น อนึ่งสัญญาเหล่านี้ แม้ทั้ง 44 อย่างนี้คือ กามาวจรกุศลสัญญา 8
    อกุศลสัญญา 12 กามาวจรกุศลวิปากสัญญา 11 อกุศลวิปากสัญญา 2
    กามาวจรกิริยสัญญา 11 มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน ไม่เหมือนกัน
    พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า นานัตตสัญญา เพราะไม่มนสิการ เพราะไม่ใคร่ครวญ
    เพราะไม่พิจารณาสัญญาเหล่านั้น ก็เพราะในอากาสานัญจยตนะ รูปสัญญา
    ปฏิฆสัญญา ข้างต้น ย่อมไม่มีในภพ แม้ที่เกิดด้วยฌาณนี้......
    เมื่อพระโยคาวจรเข้าฌาณอยู่นี้ ก็เข้าฌาณไม่มนสิการสัญญาเหล่านี้เลย*****
    เมื่อมนสิการสัญญาเหล่านี้ก็ย่อมไม่เป็นอันเข้า**** ดังนี้ว่าโดยย่อในสัญญาเหล่านั้น
    ตรัสการละรูปวจรธรรมทั้งปวง

    เอามาโดยย่อนะ ให้หมายความว่าอย่างไร ทรงตรัสกล่าวไว้ดังนี้ ที่ว่า นานัตตสัญญา
    ที่ต้องมนสิการ แล้วคืออะไร ที่ท่านกล่าวไว้ไม่ต้องมนสิการ

    ส่วนอาการวูบวาบ ที่ว่าเป็นกิริยาของจิต ที่เป็นการวูบ มีสองลักษณะที่ประสบมา
    ขณะทำสมาธิ เป็นการรวมของความรู้สึกทั้งหมดที่อยู่ภายนอกตัว ถูกดึงเข้าไปไว้ภายใน
    ร่างกายโดยความรู้สึกทั้งหมดมารวมรับรู้อยู่ภายใน สุข สงบ ตั้งมั่นอยู่ภายใน

    ขณะที่ออกจากสมาธิขณะลืมตา ความสงบของใจ จะทำให้เห็นการวูบ ที่มีอาการ
    ไหวของจิต คือ จะมีอาการวูบและตามด้วยการไหวของจิตมาให้รู้สึกก่อน ที่จะตาม
    มาด้วยการนึก การคิด ก่อนเสมอ ถ้ามีสติรู้ทัน ถ้ารู้สึกตัวก่อน ความวูบไหวนั้นหายไป
    ไม่เกิดความนึกคิดตามมา แต่ถ้าเกิดการกระทบแล้วมีอาการวูบไหวของจิตเกิดขึ้น
    สติรู้และจับได้ ความนึกคิดเกิดขี้นมาก็รู้และปล่อยวางได้ เพราะมันรู้ว่ามันไม่ได้คิด

    เพื่อพิจารณาคะ
     
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204

    ส่วนกรณีนี้ เป็นแค่เพียงอยากรู้ว่าทำไม ไม่ใช่มีทิฐิเห็นว่าเที่ยง

    แล้วที่ว่าการสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว ไว้ในจิต แล้วไปนำไปเกิดจุติตามภพต่าง ๆ ร้อยรัดท่วมทับทวี
    เป็นสังโยชน์ เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ที่หมักดองเป็นสันดาร เป็นกิเลสที่ท่วมทับ
    ที่ติดอยู่ในจิตไม่ให้หลุดพ้น คือสิ่งใด และถ้าหากวิญญาณ เป็นเหตุให้เกิดนามรูป
    และอะไรเป็นเหตุให้เกิดอวิชชา เพราะความไม่รู้ แล้วและอละ! เป็นสิงที่ทำให้ไม่รู้ ก็
    ต้องมีเหตุที่มาที่ไป เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ทุกสิ่งมีปัจจัยสืบเนื่องกัน
    แม้อวิชชาก็คงมีเหตุเช่นกัน ก็เลยเข้าใจว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ

    อย่าบอกอีกนะคะว่า สงสัยแล้วจะทำให้เป็นบ้า เพราะมันมีเหตุผลคะ
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอ้า ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ
    และ เหตุทั้งหลายเหล่านั้นดับ อะเป่า

    พระพุทธองค์มีปรกติ กล่าวอย่างไรหละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...