พระบรมราโชวาทพระเจ้าอยู่หัว แนวทางการปฏิบัติซึ่งผู้หวังพุทธมิอย่างแท้จริง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย อุดรธานี, 27 ตุลาคม 2014.

  1. อุดรธานี

    อุดรธานี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +69
    พระธรรมคำสอนของพระองค์ที่10
    ใจความตอนหนึ่งมีอยู่ว่า เพราะคนเราหวังในสิ่งที่ตนเองหวังและการตั้งความหวังย่อมมีหนทางในการปฏิบัติให้เข้าถึงสิ่งที่ต้องการหวังได้
    ข้าพขออ้างคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายขอให้ทุกท่านที่หวังพุทธมิอย่างแท้จริงสำเร็จดังหวังทุกประการเทอญ

    “หลักของคุณธรรม คือการคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ก่อนจะพูดจะทำสิ่งไร จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อน
    เพื่อรวบรวมสติให้ตั้งมั่น และให้จิตสว่างแจ่มใส ซึ่งเมื่อฝึกหัดจนคุ้นเคยชำนาญแล้ว จะกระทำได้คล่องแคล่ว
    ช่วยให้สามารถแสดงความรู้ ความคิด ในเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย ได้ชัด ไม่ผิดทั้งหลักวิชาทั้งหลักคุณธรรม”
    “การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญนั้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น
    ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้
    จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อมๆกันได้”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๓
     
  2. อุดรธานี

    อุดรธานี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +69
    “การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญนั้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น
    ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้
    จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อมๆกันได้”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๓

    “ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคน
    ทั้งชาติ ถือได้ว่าทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ
    และเกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๓

    “การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระ
    กันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖

    “คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้
    ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒
    .ความกตัญญูกตเวทีคือสภาพจิตที่รับรู้ความดี และยินดีที่จะกระทำความดี โดยศรัทธามั่นใจ. คนมีกตัญญูจึงไม่ลบล้างทำลายความดี และไม่ลบหลู่ผู้ที่ได้ทำความดีมาก่อน หากเพียรพยายามรักษาความดีทั้งปวงไว้ให้เป็นพื้นฐาน ในความประพฤติปฏิบัติทุกอย่างของตนเอง. เมื่อเต็มใจและจงใจกระทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความดีดังนี้ ก็ย่อมมีแต่ความเจริญมั่นคงและรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น. จึงอาจกล่าวได้ว่าความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งสำหรับนักพัฒนา และผู้ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าทุกคน. . . .
    พระบรมราโชวาท
    พระราชทานแก่คณะกรรมการวันกตัญญูกตเวที
    สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย เพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกวันกตัญญูกตเวที
    และ เชิญออกเผยแพร่แก่ประชาชนเป็นแนวทางปฏิบัติ
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันศุกร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๒๖
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2014
  3. อุดรธานี

    อุดรธานี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +69
    ความจริงใจต่อผู้อื่นเป็นคุณธรรมสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการความสำเร็จและความเจริญ
    เพราะช่วยให้สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอันเกิดจากความกินแหนงแคลงใจ
    และเอารัดเอาเปรียบกัน นอกจากนั้น ยังทำให้ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ และความร่วมมือสนับสนุนจากทุกคนทุกฝ่าย
    ที่ถือมั่นในเหตุผลและความดี ผู้มีความจริงใจจะทำการสิ่งใดก็มักสำเร็จได้โดยราบรื่น”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๕

    “การศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมเป็นการศึกษาที่สำคัญ และควรจะดำเนินควบคู่กันไปกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
    เพราะความเจริญของบุคคล ตลอดจนถึงความเจริญของประเทศและของโลกโดยส่วนรวมด้วยนั้น
    มีทั้งทางวัตถุและจิตใจ ความเจริญทั้งสองทางนี้ จะต้องมีประกอบกัน เกื้อกูลและส่งเสริมกันพร้อมมูล
    จึงจะเกิดความเจริญที่แท้จริงได้ ประเทศทั้งหลายจึงต่างพยายามส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะวัฒนธรรมนี้
    พร้อมกันไปกับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๕

    “งานทุกอย่างมีบุคคลซึ่งมีชีวิตจิตใจ มีความนึกคิดเป็นผู้กระทำ ถ้าผู้ทำมีจิตใจไม่พร้อมจะทำงานเช่น
    ไม่ศรัทธาในงาน ไม่สนใจผูกพันกับงาน ผลงานที่ทำก็ย่อมบกพร่อง ไม่คงที่ ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติมีศรัทธา
    เข้าใจซึ้งถึงประโยชน์ของงาน พร้อมใจและพอใจที่จะขวนขวายปฏิบัติงานโดยเต็มกำลังความสามารถ
    งานจึงจะดำเนินไปได้โดยราบรื่น และบรรลุผลตามที่มุ่งหมาย”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๖
     
  4. อุดรธานี

    อุดรธานี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +69


    “ความคิดนั้นสำคัญมาก ถือได้ว่าเป็นแม่บทใหญ่ของคำพูดและการกระทำทั้งปวง กล่าวคือ ถ้าคนเราคิดดี คิดถูกต้อง
    ทั้งตามหลักวิชาและคุณธรรม คำพูดและการกระทำก็เป็นไปในทางที่ดีที่เจริญ แต่ถ้าคิดไม่ดีไม่ถูกต้องคำพูด
    และการกระทำก็อาจก่อความเสียหาย ทั้งแก่ตัวเองและส่วนรวมได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่บุคคลจะพูดจะทำสิ่งใด
    จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนว่า กิจที่จะทำ คำที่จะพูด ผิดหรือถูก เป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหาย
    เป็นสิ่งที่ควรพูด ควรกระทำ หรือควรงดเว้น เมื่อคิดพิจารณาได้ดังนี้ ก็จะสามารถยับยั้งคำพูดที่สมควรหยุดยั้ง
    การกระทำที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผลเป็นคุณ เป็นประโยชน์ และเป็นความเจริญ”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๐

    “ความคิดนั้นเป็นแม่บทใหญ่ของการพูดและการกระทำ เพราะกิจที่จะทำคำที่จะพูดทุกอย่างล้วนสำเร็จมาจากความคิด
    การคิดก่อนพูดและก่อนทำจึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐

    “ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ
    และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญ
    ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐

    “การรู้จักประมาณตน ได้แก่ การรู้จักและยอมรับว่าตนเองมีภูมิปัญญาและความสามารถด้านไหน เพียงใด
    และควรจะทำงานด้านไหน อย่างไร การรู้จักประมาณตนนี้ จะทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้อง
    เหมาะสมกับงาน และได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้
    และเพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น”
    พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2014
  5. อุดรธานี

    อุดรธานี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +69
    คนดี
    ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี
    ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
    การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย
    จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
    หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง
    และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ
    ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้
    อนาคตทำนายได้
    ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้
    ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับคือ ผล
    และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้
    จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก
    คือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้
    แล้วการทำงานของท่าน ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ
    ต่อเนื่องกันไปอีก ไม่หยุดยั้ง
    ดังนั้นที่พูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น
    กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
    ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเอง
    คนเราโดยมากมักนึกว่า
    อนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้
    แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกัน
    เพราอนาคต ก็คือ ผลของการกระทำในปัจจุบัน
    พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519

    ความดี
    การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ
    เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่
    และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ซโดยไม่ทันรู้สึกตัว
    แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลัง
    ในการสร้างเสริมและสะสมความดี
    พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร 14 สิงหาคม 2525
    .....

    การทำงาน
    เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ
    ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้
    หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง
    คนที่ทำงานได้จริงๆนั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด
    ย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่
    มีความขยัน และ ความซื่อสัตย์สุจริต
    ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น
    พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
    วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530
    .....
    คุณธรรมของคน
    ประการแรก คือ ความซื่อสัตย์
    ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจฝึกใจตนเอง
    ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
    ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม
    ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต
    ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต
    และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    คุณธรรมสี่ประการนี้
    ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงาม
    จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น
    และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไป
    พระบรมราโชวาท ในพิธีบรวงสรวง
    สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า 5 เมษายน 2535

    ความเพียร
    ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรม และพึงประสงค์นั้น
    คือความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป
    และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง
    กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีงาม
    ให้บังเกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง
    ความเพียรทั้งสองประการนี้
    เป็นอุปการะอย่างสำคัญ ต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน
    ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว
    ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อม
    ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม

    ก้ปัญหาด้วยปัญญา
    ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้
    ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก
    การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล
    เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม
    ก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด
    สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
    การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา
    คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ
    เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด
    และอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้น
    ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ
    เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกัน
    เป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน
    พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 สิงหาคม 2539

    ความพอเพียง
    คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า พอมีกิน
    เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้
    ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง
    แปลจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาของตัวเอง
    หมายความว่า สองขาของเรายืนบนพื้นให้อยู่ได้
    ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมของคนอื่นเพื่อที่จะยืนอยู่
    คำว่า พอ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย
    เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
    พอเพียง อาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้
    แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
    พระราชดำรัสพระราชทานอในโอกาสที่คณะบุคคลเข้าเฝ้า
    ถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
     
  6. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    "ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์.”
    จากพระราชปรารภเรื่อง พระมหาชนก
    พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช
     

แชร์หน้านี้

Loading...