ใจท่านผู้สิ้นกิเลสแล้วเที่ยง ถ้ายังไม่สิ้นไม่เที่ยง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รามเมืองลพ, 8 พฤศจิกายน 2014.

  1. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200


    55 ร้อง กั๊กๆ เลยเว้ยเห้ย ฟังธง :boo:

    ความฉลาดคือปัญญาและปฏิภาณ

    อริยสาวกฆ์ผู้สำเร็จธรรมวิมุติ ล้วนไม่มีหน้าไหน

    แต่ล้วนเป็นผู้ฉลาด มีปัญญาในอริยมรรค ของพระศาสดา ทุกๆท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    คนแต่ละคน กว่าจะเกิดเป็น คนนันแสนลำบาก

    คนที่เกิดมาเป็นคน แล้ว ยังมีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนา
    นี่ มัน มีวาสนา มหาศาล อยู่แล้ว

    ย่อมบอกได้อยู่แล้วว่า เคย ทำบุญกับ ผู้สิ้นกิเลส มาแล้ว

    แต่.......


    คนโง่ ไม่ฉลาดในมรรค มันก็ มองว่า คนที่เกิดมาเป็นคน มาพบพระพุทธศาสนา
    นั้น ยังพร่องอยู่ ยังต้อง ทำโน้น ทำนี้ เป็นเสบียง เลี้ยง มะอึง สร้างวัด มะอึง ไง
    เป็น งานการคลุกคลี ของ มะอึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  3. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ก็เรื่องของเขาสิครับ เราทำตนเองให้ดี ให้ถึงพร้อม นั่นแหละควรน่าสรรเสริญ

    นี่แหละคนๆนั้น เรียกได้ว่า ฉลาดในมรรค ของพระศาสดา ผู้ชี้ทาง
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กั๊กๆ

    ตราบใดที สำคัญตัว หรือ หยิบบัญญัติว่า ตนคือ ผู้ฉลาดในมรรค

    ทั้งๆที่ อาศัยฟังจากผู้อื่น แล้ว ยังะเออะว่า ฉลาดในมรรค

    คุณ คร้าบ คุณ ไม่ใช่ คนมี สัททาอินทรีย์ แน่นอน


    เพราะ บัญยัติคำว่า "ผู้ฉลาดในมรรค ไม่ต้องฟังจากคนอื่น " ตรงนี้เป็น คุณสมบัติ
    ของ พระสัพพัญญู


    สาวก จึงฉลาดในมรรคไม่ได้ ไม่มีทางเป็นไปได้
     
  5. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    สงสัยจะคุยกันไม่รู้เรื่องนะครับ

    ผู้ในฉลาดในมรรค ที่กระผมกำลังกล่าวถึง นั่นหมายถึง ผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา (มรรค8)

    จะรวมทานด้วยก็ได้นะ (อภัยทาน การสละ สลัด)

    คุณนิวรณ์ กับพาลากไปถึงการบัญญัติพระสัทธรรม ในเรื่องของพระไตรปิฏก พุทธวจนะ

    ปุถุชน แลพระสาวก ย่อมมีความฉลาดในมรรคของพระพุทธองค์

    เพื่อสะสางกิเลส ตามภูมิกำลังแห่งอำนาจวาสนา สติปัญญา หรือภูมิวิปัสสนา ของคนๆนั้น

    จึงมีความเป็นไปได้ ล้านเปอร์เซ้นต์
     
  6. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    เพื่อความปิติ ปราโมทย์ ในธรรม ขอยกพระไตรปิฏกมาท่อนหนึ่งในสิ่งที่กำลังกล่าวถึง

     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กั๊กๆ

    แล้วคำว่า ผู้ฉลาดเหล่าใดเนี่ยะ หมายถึง สาวก หรือเปล่า มีคำไหน จำกัดเฉพาะ
    สาวกหรือเปล่า มีคำใดหากยกแล้วย่อมหมายถึง พระสัพพัญญ เท่านั้น หรือเปล่า

    หรือว่า ผู้ฉลาดเหล่าใด ที่ยกมา สุ่มสี่สุ่มห้าเนี่ยะ หมายถึง สาวก ร้อยรัดเอาไว้อย่างเดียว หรือไง ครับท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ขอโทษนะ

    คุณอ้างตัวว่า ฉลาดในมรรค แน่นอน...

    คนฉลาดในมรรค ที่ไหนหว่า ต้องค่อยๆ ทำไปตามภูมิ ตามกำลัง

    ตามกำลังสติ ยังพอโอ นะ นี่ไป อ้างว่า ตามกำลังวาสนา ...ชักแหม่งๆ
    แล้วโน้น ควักภูมิวิปัสสนามาอีก ตกลง จะเอาตัวไหน

    จะฉลาดในมรรค หรือ จะใช้สติ หรือ รอวาสนา หรือ งง สงสัยต้อง
    ภูมิวิปัสสนา มาปะผุ อีก ทั้งที่ ฉลาดในมรรค แล้ว


    สาวก ทุกรูป ทุกนาม ไม่ใช่ ผู้ฉลาดในมรรค เป็นเพียงผู้เดินตามมรรค ที่พระ
    พุทธองค์ ประทาน ไว้ให้ อะไรแบบนี้ เคยสำเนียกไว้เป็น มหาสติ หรือเปล่าหละ

    สาวก ทุกรูป ทุกนาม อาศัย ทำตามมรรคที่พระพุทธองค์ ประทานไว้ให้ เพื่อ
    อยู่สุข เพื่อสมาทานสิกขา

    แต่ ตอนบรรลุธรรมเนี่ยะ ไม่ใช่เรื่อง ฉลาดในมรรค หรือ เดินตามมรรค หน่าคร้าบ

    สาวก ทุกท่าน สามารถประกาศได้ถึงการเป็น พระพุทธเจ้า (ตรัสรู้เองโดยชอบ ด้วยตนเอง )

    เพียงแต่ กาลนี้ พระพุทธเจ้าที่เป็น ผู้ประกาศมรรค มีองค์เดียว นอกนั้นถือ
    เสียว่า ปรากฏภายหลัง จึงเรียก อนุพุทธะบ้าง สาวกบ้าง แล้วแต่ ความชอบ
    ใจที่จะเรียก

    ทีนี้

    ขออนุญาติให้ไป เอาคำว่า " รู้ในฐานะ กับ อฐานะ " เอามา ใช้แทน ฉลาดในมรรค

    ไม่มีหรอก สาวกที่ไหน จะไปกล่าวว่า ตนเอง ฉลาดในมรรค ทั้งๆที่ ทำตามการชี้ มาแท้ๆ

    แต่เรื่อง " ฐานะ อฐานะ " ซึ่งเป็นเรื่อง รูปกับนาม ปัจจัยการ อิปทัปจัยยตา เนี่ยะ
    พอทราบได้ ตามที่ปรากฏ แต่ก็ใช่ว่า จะรู้ทั้งหมด

    ความที่ สาวกรู้ไม่หมด เนี่ยะ เป็น ความฉลาดในฐานะ อฐานะ ของท่าน อย่างหนึ่ง

    แต่ คนทีมีกิเลส อฐานะ ก็บอกว่า เป็น ฐานะ เรื่อยเปื่อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  9. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    เอามาลงใหม่ ใครต้องการจะทบทวน ว่าทำไมหลวงตามหาบัวจึงกล่าวเช่นนี้

     
  10. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ตรงนี้ หลวงพ่อสงบ ท่านได้ แจงไว้ให้แล้ว

     
  11. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    นี่เวลาเมื่อก่อนนะท่านบอกว่าจิตบริสุทธิ์เป็นอย่างนั้น ภาวนาไปแล้วจิตมันจะพ้นทุกข์ จิตเป็นหนึ่ง นี่ท่านบอกว่านิพพานเป็นอนิจจังก็ได้ คือเป็นที่มีอยู่ เหมือนกับเป็นอัตตา ท่านเคยพูด แต่ตอนพูดสมัยนั้น คือว่าสังคมยังจับต้นชนปลายไม่ถูก คือเรายังก้าวเดินกันไม่เป็น เราขยับตัวกันไม่ได้เลย ท่านถึงบอกแนวทาง บอกร่องรอยเราไว้ใช่ไหม? แล้วพอพวกเรารู้แนวทาง รู้ร่องรอยแล้วนะท่านก็ตบอีกทีหนึ่ง นิพพานเป็นธรรมธาตุ จบเลย ไอ้จิตบริสุทธิ์หายไปแล้ว เพราะเราโตขึ้นมา วุฒิภาวะเราโตขึ้นมา เห็นไหม จิตบริสุทธิ์ไม่มี

    ช่วงท้ายๆ ชีวิตหลวงตาท่านไม่พูดถึงจิตบริสุทธิ์อีกเลย ท่านพูดแต่ธรรมธาตุ ธาตุของธรรม มันเป็นธรรมไปทั้งหมด เป็นธรรมไปแล้ว ไม่มีอะไรตกค้าง นี่เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดสิ่งใด ถ้าเราตามทันนะเราจะตามทันว่าท่านพูดด้วยเหตุใด? ประสงค์สิ่งใด? ประโยชน์กับโลก ประโยชน์เพื่อสื่อความจริงกัน ทีนี้พอเรานี่ เราเป็นนักวิชาการใช่ไหม? เราศึกษาแล้วเราก็จะเอาคำพูดของท่านมาชนกัน อ้าว ทำไมมันไม่ตรงกันล่ะ? ทำไมไม่ตรงกัน?

    เราต้องดู ดูที่มาที่ไป เวลาอ่านพระไตรปิฎกนะ เวลาพระไตรปิฎก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดกับพวกฆราวาส เห็นไหม พูดถึงอนุปุพพิกถา พูดถึงระดับของทาน ต้องพูดจนจิตใจของเขามั่นคงแล้วท่านถึงเทศน์อริยสัจ ฉะนั้น บอกว่าพระพุทธเจ้าพูด พระพุทธเจ้าพูด ใช่ พระพุทธเจ้าพูด แต่พูดกับชาวประมง พูดกับพวกพ่อค้า ไม่ได้พูดกับพระสารีบุตร ไม่ได้พูดกับผู้ปฏิบัติจะเข้าสู่นิพพาน เวลาจะพูดกับผู้ปฏิบัติที่จะเข้าสู่นิพพาน ท่านจะพูดถึงอริยสัจเลย แต่ถ้าเวลาไปพูดกับพวกชาวประมง นี่พูดกับเขาให้เขาได้สร้างบุญของเขา นี่พุทธพจน์เป็นแบบนั้น เราต้องดูที่มาที่ไป แล้วเราจะเข้าใจว่าคำพูดมันเป็นอย่างใด?

    ฉะนั้น สิ่งที่เราพูด เหมือนกับเราปฏิเสธหมดเลย แต่เราปฏิเสธแล้ว เราก็อธิบายอย่างที่เราอธิบายนี่แหละ ว่า

    จิตเป็นของเรา เทศน์เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2555
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ต้องอ้างอิง เอาจาก ข้ออรรถ ข้อธรรม ที่คุณยกมา

    อาศัย อำนาจของธรรม นี้กล่าว อธิบายต่อ

    ( อย่ามองว่า เป็นการปรักปรำ หลวงอะไร ต่อมิอะไร หน่าคร้าบ ท่าน !! )


    คนฉลาด ที่ พระสูตรกล่าว ก็ กล่าวว่า คนฉลาด จะ กล่าวแต่ ทัศนะ
    ที่เป็นไปเพื่อการ สละ สลัด วาง แม้นแต่ตัว " ทัศนะ " ( ความสามารถใน
    การเห็นธรรมใดๆ ) ก็ตาม หากมันเป็นเครื่องร้อยรัด ก็ต้อง ชี้บอกกล่าวว่า
    มันคือ สิ่งร้อยรัด

    ทีนี้

    อะไรเล่าเป็นสิ่งร้อยรัด

    ก็อาศัย อำนาจแห่งธรรม ว่าด้วยเรื่อง " คนมีความเห็นจิตเที่ยง กับ คนมีความเห็นว่ากายเที่ยง "

    พระพุทธองค์ ปรารภอย่างอ่อนเพลีย เหนือยจิตเหนื่อยใจว่า คนที่ กล่าวว่าจิตเที่ยง
    แสดงทัศนะว่าจิตเที่ยง โอกาสบรรลุธรรม จะมี น้อมกว่า คนที่ยึดว่า กายเที่ยง ไม่รู้
    เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่

    ในสำนวนธรรมนั้น พระพุทธองค์จึง สรุปว่า " พวกที่มีมิจฉาทิฏฐิว่ากายเที่ยง ยังมีโอกาส
    บรรลุธรรมเสียยิ่งกว่าพวกปรารภว่าจิตเที่ยง "

    ดังนั้น "ทัศนะว่าด้วยจิตเที่ยง ย่อมเป็น สิ่งร้อยรัด "

    ถ้าจะให้กล่าว ทัศนะว่า " จิตเที่ยง จิตเป็นเรา จิตคือเรา " พระพุทธองค์ก็
    ทรงถอนหายใจแล้วว่า สอนผิดๆให้ยึดว่า กายเที่ยง ยังมีโอกาสสอนให้พวก
    นี้บรรลุธรรมได้ เพราะว่า ตอนตาย มัน จะรู้สึกตัว !!( โอกาสตรัสรู้เอง ยังมีแก่ คนนั้นได้ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2014
  13. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    5555 มาม่า :boo:
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ลองเอาไปสังเกตดูนะ

    เวลา ยึดว่า จิตเที่ยง เป็น ทัศนคติ ตั้งไว้

    เวลาทำดี บริกรรมได้ดี อะไรมัน มา ฉวยผลงานไป

    ความดีนั้น มันไป เซริฟ อะไรให้ พอกพูล

    แล้ว สังเกตเลย เอะอะๆ ก่อนจะ เอวัง ก็จะกล่าวว่า " เพื่อดวงจิต ดวงใจ ดวงนี้ "

    ฮะเอ่อ

    จะจบยังไงหละ ในเมื่อ มันมี สิ่งหนึ่ง มารองรับ สิ่งที่คาดว่าจะ หยั่งลง ให้ไพบูลย์

    จะ จบเหรอ แน่ใจเหรอว่า สอนให้สิ้น อุปทาน เป็นใหญ่
     
  15. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    เช่นกันๆ
     
  16. yellowdog01

    yellowdog01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +25
    ขอตอบ ความเห็นหัวข้อจากหน้าแรกสุด นี้ก็จากองค์หลวงตาเหมือนกัน ท่านบอกว่านิพพานก็คือนิพพานนั่นแหละ

    "เพราะฉะนั้นคำว่าอัตตาอนัตตาจึงหมด แต่ ก่อนเข้าไปแทรกไปแอบไปเป็นนิพพาน อัตตาก็แอบ ไปเป็นนิพพาน อนัตตาก็แอบไปเป็นนิพพานเข้าใจ ไหม ใครก็แอบเป็นนิพพาน พอตีลงผางทีนี้นิพพานคือ นิพพานเป็นอื่นไปไม่ได้ แล้วอัตตาอนัตตาจะเข้าถึงได้ ยังไง เป็นอื่นไปไม่ได้ อัตตาอนัตตามันก็เป็นอื่นใช่ไหม ล่ะ มันก็เข้าไม่ถึงได้ นั่น ถอดออกจากนี้ซิ (ธรรมกาย เขาบอกเป็นอัตตา ท่านเจ้าคุณประยุทธ์บอกเป็น อนัตตา) เอ๊ ใคร ๙ ประโยคก็ไปหาเรา พอเราตอบอันนี้เสร็จ ประกาศลั่นออกไปไม่กี่วัน พอดีเจ้าคุณ ๙ ประโยคนี้ ไปหาเราแสดงมารยาทว่ายอมรับเข้าใจไหม แต่พอดี ไม่เจอเราเสีย ไม่เจอก็ไม่เป็นไร นิพพานคือนิพพาน เป็นอื่นไปไม่ได้ก็พูดแล้วนี่ เจ้าของอยู่เจ้าของไปมี ปัญหาอะไรเข้าใจเหรอ ไปละ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤศจิกายน 2014
  17. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    แก้ไขความเข้าใจผิดของ ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว

    พระพรหมคุณภรณ์ (ท่านเจ้าคุณ ปยุต ปยุตโต)

    ได้ชี้แจงเรื่องเข้าใจผิดของ ลูกศิษย์หลวงตามหาบัวที่ แอบอ้างว่า เจ้าคุณประยุทธ ไปหาหลวงตามหาบัว ในหนังสือ พระไทยใช่เขาใช่เรา นิพพาน อนัตตา ดังนี้
    ---------
    ๒. ลูกศิษย์ควรรักษาพระอาจารย์ตามธรรม

    ทีนี้ ที่ว่าเขียนความนี้ไว้เพียงเพื่อเป็นการไม่ประมาทนั้น ก็ดังที่กล่าวแล้ว คือ จะต้องไม่ละเลยการส่งเสริมและรักษาประโยชน์ทางธรรมทางปัญญาของประชาชน อย่างน้อยก็ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดที่จะทำให้เขวในการศึกษาปฏิบัติธรรม

    ความเข้าใจผิดตามข้อเขียนที่กล่าวถึงพระพรหมคุณาภรณ์โดยโยงไปถึงหลักธรรมนั้น ก็ยังเป็นเรื่องกว้าง* แต่ในกรณีนี้ มีความเข้าใจผิดที่จำเพาะเจาะจงกว่านั้น

    เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ขอเล่าเรื่องให้รู้และตระหนักกันไว้

    เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๙ วันหนึ่ง ได้รับเอกสารส่งมาทางไปรษณีย์ (คงสอดใส่มาในซองจดหมาย) เป็นใบบันทึก "เทศน์อบรมฆราวาส ที่วัดป่าบ้านตาด" มีเพียงใบบันทึกคำเทศน์นั้น ไม่บอกว่าใครส่งมา แต่แน่ใจว่าเป็นผู้หวังดีส่งมาเพื่อให้ทราบเรื่อง

    ใบบันทึกนั้น ซึ่งมีข้อความ ที่แสดงว่าเป็นเอกสารของวัดหรือองค์กรที่สนองงานของหลวงตามหาบัวนั่นเอง (เช่นบอกสถานีวิทยุ และ web site ที่จะชมจะฟังพระธรรมเทศนาของหลวงตา) ดังที่บอกแล้วว่า เป็นบันทึก "เทศน์อบรมฆราวาส ที่วัดป่าบ้านตาด" มีคำเล่าของหลวงตา พร้อมทั้งคำแทรกเสริมของผู้ฟัง



    ในบันทึกเทศน์นั้น ตอนหนึ่ง (ท่านที่ส่ง ปณ. มา ทำเครื่องหมายไว้เป็นพิเศษ) บอกความทำนองว่าพระพรหมคุณาภรณ์ได้ไปหาที่วัดหลวงตา และไปยอมรับคำเทศน์ของหลวงตาที่ว่านิพพานเป็นนิพพาน ไม่เป็นอัตตา ไม่เป็นอนัตตา

    เนื่องจากข้อความในบันทึกเทศน์นั้น บอกเรื่องราวที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง

    ที่ว่า "เจ้าคุณประยุทธ์" ไปหาที่วัดหลวงตา ในปี ๔๙ ก็ไม่เป็นจริง

    และที่ว่า "เจ้าคุณประยุทธ์" ยอมรับตามที่หลวงตากล่าว ก็ไม่เป็นความจริง

    แต่ความผิดพลาดนี้คงเกิดจากลูกศิษย์ของหลวงตา

    (ตั้งแต่ปีถัดจากรับการผ่าตัดใหญ่ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ แล้ว พระพรหมคุณาภรณ์ มีสภาพร่างกายที่ทำให้ไม่ได้ไปในสถานที่สำคัญนอกวัดเลย แม้แต่พระมหาเถระที่เคารพนับถือ ซึ่งเคยไปนมัสการอย่างน้อยเมื่อเข้าสู่เทศกาลพรรษาทุกปี ก็หยุดหมดตั้งแต่นั้นมา จึงไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะไปหาที่วัดหลวงตามหาบัว หรือไปหาหลวงตามหาบัวในที่ไหนๆ)

    เพื่อไม่ประมาท ไม่ควรปล่อยให้คนเข้าใจผิด ถึงจะไม่ต้องการให้เป็นเรื่องราวเอะอะไป อย่างน้อยก็ควรทำอะไรให้มีเป็นหลักฐานแสดงความจริงไว้

    จึงตกลงว่าให้ทำคำ "ชี้แจงข่าว" พิมพ์ไว้ใน ข่าวสารญาณเวศก์ ซึ่งเผยแพร่อยู่ในวงแคบๆ ดังความในเอกสารนั้น ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๗ (มกราคม ๒๕๔๙) ดังนี้
     
  18. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    แก้ไขความเข้าใจผิดของ ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว 2

    ชี้แจงข่าว



    มีผู้ส่งคำเทศน์ของหลวงตามหาบัวทางไปรษณีย์ (แต่ไม่ได้บอกชื่อที่อยู่ของผู้ส่ง คงจะส่งด้วยความหวังดีให้ทราบข่าว) เป็นคำเทศน์เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๙ นี้เอง ในตอนท้ายมีความตอนหนึ่งว่าดังนี้



    "เพราะฉะนั้นคำว่าอัตตาอนัตตาจึงหมด แต่ก่อนเข้าไปแทรกไปแอบไปเป็นนิพพาน อัตตาก็แอบไปเป็นนิพพาน อนัตตาก็แอบไปเป็นนิพพานเข้าใจไหม ใครก็แอบเป็นนิพพาน พอตีลงผางทีนี้นิพพานคือนิพพานเป็นอื่นไปไม่ได้ แล้วอัตตาอนัตตาจะเข้าถึงได้ยังไง เป็นอื่นไปไม่ได้ อัตตาอนัตตามันก็เป็นอื่นใช่ไหมล่ะ มันก็เข้าไม่ถึงได้ นั่น ถอดออกจากนี้ซิ (ธรรมกายเขาบอกเป็นอัตตา ท่านเจ้าคุณประยุทธ์บอกเป็นอนัตตา) เอ๊ ใคร ๙ ประโยคก็ไปหาเรา (เจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตฺโต นี่ละครับ) พอเราตอบอันนี้เสร็จประกาศลั่นออกไปไม่กี่วัน พอดีเจ้าคุณ ๙ ประโยคนี้ไปหาเรา แสดงมารยาทว่ายอมรับเข้าใจไหม แต่พอดีไม่เจอเราเสีย ไม่เจอก็ไม่เป็นไร นิพพานคือนิพพานเป็นอื่นไปไม่ได้ก็พูดแล้วนี่ เจ้าของอยู่เจ้าของไปมีปัญหาอะไรเข้าใจเหรอ ไปละ"



    แต่ตามความเป็นจริง ท่านเจ้าคุณไม่ได้ไปหาหลวงตามหาบัว ตามข้อความที่คัดมาข้างต้นนี้ เมื่ออ่านดูก็เห็นได้ว่า คงเป็นเสียงของลูกศิษย์ พูดแทรกบอกหลวงตา (สังเกตจากข้อความที่ใส่ในเครื่องหมายวงเล็บ) หลวงตาท่านก็คงเชื่อ หรือว่าไปตามลูกศิษย์ อย่าเพิ่งไปด่วนว่าท่าน

    เรื่องนิพพานไม่เป็นอัตตานั้น ท่านเจ้าคุณบอกว่าเอาหลักที่เป็นของกลางมาบอกให้ทราบไว้ หลักว่าอย่างไร ก็ว่าไปตามนั้น ไม่ใช่เป็นความเห็นส่วนตัวของท่านเจ้าคุณเอง จึงไม่ต้องไปที่ไหนหรือรอฟังใครอีก


    จบคำชี้แจงใน ข่าวสารญาณเวศก์ แค่นี้ คราวนี้ก็ควรนำคำชี้แจงนั้นมาลงไว้ที่นี่ด้วย เพราะ ข่าวสารญาณเวศก์ นั้นอยู่ในวงจำกัด เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่พระคึกฤทธิ์พูดเรื่องนิพพาน - อัตตา - อนัตตา ขึ้น โดยโยงไปถึงทั้งหลวงตามหาบัว และพระพรหมคุณาภรณ์ ก็อาจจะมีลูกศิษย์ของหลวงตา หรือใครที่ไม่ได้อ่าน ข่าวสารญาณเวศก์ นั้น และตั้งแต่ฟังหรืออ่านคำเทศน์ของหลวงตาคราวนั้น ก็ไม่ได้ทราบอะไรที่จะแก้ความเข้าใจผิด ยังคงเข้าใจผิดอยู่ ก็จะยกเอาคำเทศน์ของหลวงตาคราวนั้นขึ้นมารับสมอ้าง ก็จะขยายความเข้าใจผิดไปกันใหญ่ จึงต้องนำมาลงไว้

    อย่างที่ว่าแล้ว อย่างน้อยก็เพื่อความไม่ประมาท พร้อมกันนั้นก็ขออภัยท่านด้วยที่กลายเป็นการพาดพิงไปถึงหลวงตา ด้วยเหตุผลที่เป็นความสมควรอันจำเป็น

    อย่างที่บอกแล้วว่า ตามบันทึกเทศน์ของท่านนั้น หลวงตามหาบัวก็คงเชื่อหรือว่าไปตามลูกศิษย์ คือพูดไปตามเสียงของลูกศิษย์ ที่พูดแทรกหรือแซงขึ้นมา จึงไม่ควรไปด่วนว่าท่าน เป็นปัญหาจากลูกศิษย์ของท่านที่ว่า จะด้วยการพูดโดยไม่ดูให้ชัด พูดเรื่อยเปื่อย หรือเจตนาพูดเท็จก็ตาม ก็เป็นการทำความผิดความเสียหาย ซึ่งถ้าไม่ระวังให้ดี ก็จะทำให้หลวงตาเสียได้ (สำคัญที่ลูกศิษย์)

    หลวงตาท่านเป็นพระมหาเถระผู้เฒ่าปูนนี้แล้ว ควรช่วยกันถนอมรักษาท่านไว้ให้ดี เมื่อเคารพรักท่านจริง ก็ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง

    อย่างในกรณีนี้ ก็ต้องบอกว่าหลวงตาพูดไปตามเสียงที่ลูกศิษย์บอกว่าอย่างนั้นๆ เมื่อท่านพูดเผลอพูดพลาดไป ก็ควรจะให้อภัย แต่ถ้าพูดว่า หลวงตามหาบัวบอกว่าเจ้าคุณประยุทธ์ไปยอมรับกับท่าน หรือแม้แต่ว่าไปหาหลวงตา ก็จะกลายเป็นว่าหลวงตาพูดไม่จริง นี่ก็คือการที่ลูกศิษย์กลายเป็นผู้ประทุษร้ายหลวงตาเสียเอง

    เพราะฉะนั้น จึงควรถือเป็นหน้าที่อันสำคัญ ที่จะต้องช่วยกันทะนุถนอมรักษาท่านไว้ให้ถูกต้องตามวิถีทางแห่งธรรม ตั้งแต่ไม่นำท่านไปอ้างอย่างไม่ระมัดระวัง อย่างที่กล่าวมาแล้ว
     
  19. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    แมวเป็นช้างก็ไม่ใช่ ไม่เป็นช้าง ก็ไม่ใช่?

    ๓. แมวเป็นช้างก็ไม่ใช่ ไม่เป็นช้าง ก็ไม่ใช่?ถ้าไม่เล่น ก็หลงภาษา วนไปเวียนมา ก็อยู่แค่อนัตตานี่เอง

    ทีนี้ ในข้อศึกษาว่า นิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตานี้ เมื่อเกิดมีคำกล่าวขึ้นมาว่า "นิพพานเป็นนิพพาน ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อนัตตา" ก็ให้รู้กันว่า คำพูดนี้เกิดจากความหลงภาษา หรือเป็นการเล่นภาษาเท่านั้น

    เป็นการหลงภาษา หรือเล่นภาษาอย่างไร

    ขอพูดให้เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ คือในภาษาบาลีนั้น พอพูดว่า "นิพพานไม่ใช่อัตตา" ก็คือบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"

    เพราะอะไร ก็เพราะว่า คำว่า "ไม่ใช่อัตตา" หรือ "ไม่เป็นอัตตา" นั้น พูดเป็นคำภาษาบาลีว่า "อนัตตา"

    คำบาลีว่า "อนัตตา" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ไม่ใช่อัตตา" หรือ "ไม่เป็นอัตตา" (ไม่ใช่.., ไม่เป็น-, ไม่มี- ได้ทั้งนั้น)

    เหมือนคำว่า "อนิจจัง" ที่คนไทยรู้จักกันดี แปลว่า "ไม่เที่ยง" เรารู้กันดีว่า เป็นการปฏิเสธ "นิจจัง" ที่แปลว่า "เที่ยง" เมื่อมัน "ไม่เที่ยง" ก็คือมัน "ไม่เป็นนิจจัง" และก็คือมัน "เป็นอนิจจัง"

    พูดอย่างไทยว่า "ไม่เป็นนิจจัง" คือพูดแบบบาลีว่า "เป็นอนิจจัง"

    พูดอย่างไทยว่า "ไม่เป็นอัตตา" คือพูดแบบบาลีว่า "เป็นอนัตตา"

    ถ้าเขาถามว่า "สังขารเป็นนิจจัง" (เที่ยง) ไหม?" ถ้ามันไม่เที่ยง ก็ตอบเขาไปว่า "สังขารเป็นอนิจจัง" หรือจะว่า "สังขารไม่เป็นนิจจัง (ไม่เที่ยง)" ก็ได้ มีความหมายเท่ากัน

    แต่ถ้าตอบไปแล้วว่า "สังขารไม่เป็นนิจจัง (ไม่เที่ยง)" คือบอกไปแล้วว่า "สังขารเป็นอนิจจัง" ก็หมดสิทธิที่จะบอกว่า "สังขารไม่เป็นอนิจจัง" เพราะตัวเองบอกไปแล้วว่า "สังขารเป็นอนิจจัง"

    เพราะฉะนั้น ใครจะพูดขึ้นมาว่า "สังขารก็เป็นสังขาร ไม่เป็นนิจจัง ไม่เป็นอนิจจัง" ก็พูดขัดกับคำของตัวเอง คือพูดกลับไปกลับมา ก็เห็นอยู่ชัดๆ บอกว่าสังขารเป็นอนิจจัง แล้วก็บอกว่าไม่เป็นอนิจจัง

    พอพูดว่า "สังขารไม่เป็นนิจจัง" ก็หมดสิทธิที่จะพูดว่า "สังขารไม่เป็นอนิจจัง" เพราะตัวเองบอกไปแล้วว่า เป็นอนิจจัง

    พอพูดว่า "นิพพานไม่เป็นอัตตา" ก็คือบอกตามคำบาลีว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" ก็เลยหมดสิทธิที่จะพูดว่า "นิพพานไม่เป็นอนัตตา"

    เพราะฉะนั้น ท่านผู้ใดจะพูดว่า "นิพพานก็เป็นนิพพาน ไม่เป็นอัตตา ไม่เป็นอนัตตา" ก็พูดขัดกับคำของตัวเอง ก็เห็นอยู่ชัดๆ พูดออกมาแล้วว่า นิพพานเป็นอนัตตา แล้วก็บอกว่าไม่เป็นอนัตตา

    ตามปกติ หรือจะให้ถูก เขาไม่ถามว่า "นิพพานเป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตา" แต่เขาถามว่า "นิพพานเป็นอัตตาไหม?" แล้วทีนี้ก็ตอบมาซิ ถ้าเห็นว่าเป็น ก็บอกว่า "นิพพานเป็นอัตตา" ถ้าว่าไม่เป็น ก็บอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" ก็คือหรือเท่ากับบอกว่า "นิพพานไม่เป็นอัตตา" นั่นเอง

    เป็นอันว่า พอพูดขึ้นมาว่า "นิพพานไม่เป็นอัตตา" เท่านี้แหละ ก็พูดต่อไปไม่ได้ว่า "นิพพานไม่เป็นอนัตตา" เพราะตัวเองบอกไปแล้วชัดๆว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"

    ดูง่ายๆในภาษาไทยนี่แหละ จะเข้าใจดี

    ถ้าใครมาถามว่า "แมวเป็นช้างไหม?" หรือถามว่า "แมวเป็นช้าง หรือไม่เป็นช้าง?" เราก็ตอบว่า "แมวไม่เป็นช้าง" หรือพูดเลียนภาษาบาลีว่า "แมวเป็น อช้าง" แค่นี้ก็จบ พอแล้ว

    ทีนี้ ถ้าถูกถามว่า "แมวเป็นช้างไหม?" ใครตอบว่า "แมวไม่เป็นช้าง ไม่เป็น อช้าง" คือพูดอย่างไทยแท้ว่า "แมวไม่เป็นช้าง ไม่ใช่ไม่เป็นช้าง" หรือ "แมวเป็นช้าง ก็ไม่ใช่ ไม่เป็นช้าง ก็ไม่ใช่" เราก็คงนึกว่านี่จะเอาไงกัน

    เรื่องนี้ ถ้าไม่ใช่ว่าทั้งที่รู้อยู่ ก็ทำเป็นเล่นภาษา ก็เป็นเพราะหลงภาษาอย่างที่ว่าแล้ว คือ หลายคนทีเดียว เพราะไม่รู้ภาษาบาลี ไม่รู้ไม่เข้าใจคำที่มาจากบาลี ก็เลยนึกว่า "อัตตา" เป็นอะไรอย่างหนึ่ง และ "อนัตตา" ก็เป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง ก็เลยต้องมาเลือก หรือมาตัดสินว่า เป็นอย่างไหน หรือไม่ใช่ทั้งสองอย่าง

    แต่ที่แท้ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ไม่ใช่มาตัดสินว่า นี่เป็นอะไรที่เรียกว่า "อัตตา" หรือเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า "อนัตตา"

    ไม่ใช่มาตัดสินว่า "แมวเป็นช้าง หรือเป็นนกฮูก?"

    อย่างนั้นจึงตอบว่า "แมวเป็นแมว ไม่เป็นช้าง ไม่เป็นนกฮูก"

    แต่นี่ เขาถามว่า "แมวเป็นช้างไหม?" - "แมวเป็นช้าง หรือไม่เป็นช้าง?"

    ก็ตอบว่า "แมว ไม่เป็นช้าง" ก็จบ

    ไม่ใช่บอกว่า "แมวเป็นแมว ไม่เป็นช้าง ไม่ใช่ไม่เป็นช้าง"

    คราวนี้ เขาถามว่า "นิพพานเป็นอัตตาไหม?" หรือว่า "นิพพานเป็นอัตตา หรือไม่เป็นอัตตา/เป็นอนัตตา"

    ก็ทำนองเดียวกับที่ถามว่า "แมวเป็นช้างไหม?" หรือว่า "แมวเป็นช้าง หรือไม่เป็นช้าง / เป็น อช้าง?"
     
  20. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    ใช่หรือไม่ใช่ เป็นหรือไม่เป็น ก็ตอบมาได้ตรงๆ ทีเดียวเสร็จท่อนเดียวจบ

    ย้ำไว้อีกทีว่า เรื่องนี้เป็นเพียงความสับสนทางภาษา

    มิใช่ว่าอัตตาเป็นอะไรอย่างหนึ่ง และอนัตตาเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง แต่อนัตตาเป็นเพียงคำปฏิเสธอัตตา

    ใครพูดว่า "นิพพานไม่เป็นอัตตา" ก็คือบอกหรือยอมรับว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" จบแค่นี้

    ท่านที่บอกว่า "นิพพานเป็นนิพพาน ไม่เป็นอัตตา ไม่เป็นอนัตตา" นั้น เมื่อพูดตามคำบาลี ก็คือท่านบอกว่า "นิพพานเป็นนิพพาน เป็นอนัตตา ไม่เป็นอนัตตา" (= "นิพพานเป็นนิพพาน ทั้งเป็นอนัตตา ทั้งไม่เป็นอนัตตา" หรือ "นิพพานเป็นนิพพาน เป็นทั้งอนัตตา เป็นทั้งไม่อนัตตา")

    เท่ากับพูดว่า "นิพพานเป็นนิพพาน ไม่เป็นอัตตา ไม่ใช่ไม่เป็นอัตตา"

    เรื่องของภาษาไทยที่มีบาลีเข้ามาปน ก็อย่างนี้แหละ ถ้าจับจุดได้แล้ว ก็ไม่มีอะไรมาซับซ้อนที่จะต้องมาคิดอะไรไปไกลมากมาย

    ข้อเขียนหรือข้อความที่ท่านเจ้าของคอลัมน์ "ธรรมวิจัย" (พระคึกฤทธิ์) พูดไว้ในนิตยสาร เนชันสุดสัปดาห์ นั้น ผู้ที่รู้ภาษาบาลีอ่านแล้ว ก็เห็นได้ว่า ส่วนมากเป็นการอธิบายว่านิพพานไม่เป็นอัตตา คือเป็นอนัตตานั่นเอง (พร้อมกับบางแห่งก็กลับตรงข้าม กลายเป็นว่าท่านประกาศลัทธิอัตตาเสียเองด้วย)

    (พึงสังเกตว่า ในกรณีนี้ การพูดว่า "นิพพานไม่เป็นอัตตา คือ เป็นอนัตตา" กับ "นิพพานไม่เป็นอัตตา แต่เป็นอนัตตา" มีความหมายเท่านั้น เป็นวิถีของภาษา ซึ่งเมื่อเข้าใจถ้อยคำแล้ว ก็ไม่ต้องงง เพียงอาจจะตินิดหน่อยว่าพูดจาซ้ำแล้วซ้ำเล่า)

    นี่ก็หมายความว่า ท่านเจ้า­ของคอลัมน์ "ธรรมวิจัย" (ท่านพระคึกฤทธิ์) ได้มาร่วมอธิบายตามหลักที่ว่า นิพพานไม่เป็นอัตตา คือท่านมาร่วมชี้แจงให้เห็นว่านิพพานเป็นอนัตตานั่นเอง

    ที่ว่านี้ ท่านเจ้าของข้อเขียนจะเข้าใจอย่างไร ก็เป็นความเข้าใจส่วนตัวของท่าน แต่ภาษาไม่ใช่เป็นเรื่องส่วนตัว หากเป็นเครื่องสื่อสารระหว่างมนุษย์ ซึ่งรู้เข้าใจกันด้วยถ้อยคำที่สมมุติเพียงเป็นบัญญัติ แต่ก็เป็นไปตามความตกลงอย่างเป็รนหลักเป็นเกณฑ์

    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "(นิพพาน) ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ฯลฯ" พระองค์ไม่ตรัสว่า "(นิพพาน) ไม่มีดิน ไม่ใช่ไม่มีดิน, ไม่มีน้ำ ไม่ใช่ไม่มีน้ำ, ฯลฯ"

    ที่นี่ เมื่อท่านบอกว่า นิพพานไม่ใช่อัตตา ไม่เป็นอัตตา คือบอกตามคำบาลีว่าเป็นอนัตตาแล้ว ท่านจะพูดต่อไปว่า ไม่เป็นอนัตตา ก็เป็นอันเลยเขตที่ผู้ร่วมใช้ภาษาจะพึงตามไปร่วมพิจารณา



    ว่า "นิพพานเป็นอัตตา" ไม่ใช่แค่ผิด แต่ถึงขั้นเพริด เตลิดไปไกล

    แท้จริงนั้น เรื่องนิพพาน ที่เกิดปัญหาขึ้นมาว่าเป็นอัตตาหรือไม่เป็นอัตตา หรือทั้งไม่เป็นอัตตา และไม่ใช่ไม่เป็นอัตตา อะไรเหล่านี้ ไม่มีอะไรมาก ก็มาจากความไม่เข้าใจภาษา หรือเป็นเพราะเข้าใจคำพูดผิดไปเท่านั้นเอง (ท่านผู้หนึ่งเข้าใจคำนี้ผิด แล้วยกเป็นเรื่องขึ้นมา ก็เลยกลายเป็นเรื่อง)

    "อัตตา" เป็นคำบาลี แปลเป็นไทยว่า ตัวตน ตัวเรา ตัวฉัน ตัวเอง หรือจะว่า "ตัวกู" ก็แล้วแต่

    อัตตา คือ ตัวตน ตัวฉัน ตัวกู นี้ เป็นคำจำพวกเดียวกับสัตว์ คน บุคคล เขา เรา ฉัน เธอ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ไม่มีสภาวะที่เป็นจริง แต่มีขึ้นตามสมมติ เป็นบัญญัติที่จะพึงรู้เข้าใจใช้สื่อสารกัน

    ในภาษาบาลีนั้น พวกเจ้าของภาษาเอง เขาเถียงกันว่า อัตตามีจริงไหม? อะไรเป็นอัตตา? มีอัตตาคือตัวข้า ตัวกู ที่เป็นเจ้ากี้เจ้าการ หรือเป็นเจ้าของครอบครองสิ่งนั้นสิ่งนี้ไหม?

    ครั้งพุทธกาล ไม่มีใครถามว่า "นิพพานเป็นอัตตาไหม(นิพพานเป็นตัวเราไหม)?" มีแต่คนที่สงสัยว่า "มีอัตตา (ตัวเรา) ที่บรรลุนิพพานไหม?"

    เขาสงสัยว่า "มีอัตตา (ตัวกู) ที่ได้ ที่เป็นเจ้าของนิพพานไหม

    ถ้าเข้าใจตรง คำตอบก็มีอยู่แล้ว ในพุทธพจน์จากมูลปริยายสูตร ที่ท่านเจ้าของบทความใน เนชันฯ นั่นเอง ยกมาอ้าง ที่ว่า

    ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน ... สำคัญมั่นหมายว่า "นิพพานของเรา" (นิพฺพานมฺเมติ มญฺญติ); ผู้เสขะ... ไม่ยอมมั่นหมายว่า "นิพพานของเรา" (นิพพานมฺเมติ มามญฺญิ) พระอรหันต์ ... ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายว่า "นิพพานของเรา" (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ) (ม. มู. ๑๒ / ๒-๔ /๑-๗)

    บอกแล้วว่า ครั้งพุทธกาล ไม่มีใครถามว่า "นิพพานเป็นอัตตาไหม (นิพพานเป็นตัวเราไหม?)" มีแต่สงสัยว่า "มีอัตตา (ตัวกู) ที่เป็นเจ้าของนิพพานไหม?"

    นอกจากตรัสว่า พระอรหันต์ไม่สำคัญหมายคิดเข้าใจไปว่า "นิพพานของเรา" แล้ว พระพุทธเจ้ายังตรัสด้วยว่า พึงศึกษา "นิพพานของตน" หรือ นิพพานของอัตตา"

    อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าอัตตาเป็นเจ้าของนิพพาน

    พุทธพจน์นี้มาในอัตตทัณฑสูตร (ขุ.สุ. ๒๕/ ๒๕/๔๒๒/๕๑๗) พระพุทธเจ้าตรัสเตือนให้มองดูสังคมมนุษย์นี้ ที่แย่งชิงเบียดเบียนฆ่าฟันกัน เกิดทุกข์ภัยปัญหาสารพัน จาก อัตตทัณฑ์ คือ โทษทัณฑ์ของอัตตา แปลง่ายๆว่า "เอาตัวกูมาตีกัน" ได้แก่การยึดถือมั่นหมายติดอยู่กับ ตัวตน ถูกความยึดมั่นอัตตาครอบงำ ทำให้วิวาทขัดแย้งก่อเวรภัยแก่กัน จึงตรัสสอนให้รู้จักนิพพานอัตตาเสีย ตามคำบาลีว่า "สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน" แปลตรงๆว่า "พึงศึกษานิพพานของอัตตา"

    แปลให้ชัดอีกหน่อย นิพพานของอัตตา ก็คือ ความดับของอัตตา ไขความออกไป ก็ได้ความหมายว่า ความสงบระงับดับเย็นมอดไปของไฟกิเลสที่ทำให้ถือมั่นอัตตาหรือทำให้ยึดถือติดคาอยู่กับตัวตนนั่นเอง

    หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ศึกษาฝึกหัดขัดเกลาตัวเองให้รู้เข้าใจ สงบหายเร่าร้อนจากความยึดติดถือมั่นอัตตา ให้อัตตานิพพาน หมดฤทธิ์พิษร้ายที่จะครอบงำ ไม่มีเรื่องตัวตนที่จะวุ่นวายอีกต่อไป เหลือแต่อัตตาตัวตนที่เป็นสมมติบัญญัติอันโล่งเบา ที่อยู่กับมัน และใช้มันให้เป็นประโยชน์อย่างรู้เข้าใจเท่าทัน ไม่มีพิษภัย

    พระอรหันต์บรรลุนิพพานแล้ว ไม่สำคัญหมายว่านิพพานของเรา ส่วนปะถุชนและทุกคนที่ยังไม่ถึงนิพพาน ก็ศึกษาปฏิบัติกันไปให้ตัวเรานิพพาน คือให้หมดกิเลสที่ทำให้ยึดถืออัตตาหลงผิดติดคาอยู่แค่ตัวเรา เลิกเอาตัวกูมาตีกัน



    (จากหนังสือเรื่อง พระไทย ใช่เขาใช่เรา : นิพพาน - อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ - หน้าที่ ๑๐ -๒๐ )

    ศึกษาเนื้อความเต็มๆจากหนังสือเล่มนี้ได้ที่ http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/thai_monks_nibhan-anatta.pdf
     

แชร์หน้านี้

Loading...