พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เด็กแรกคลอด หมอสูฯเอามือตบก้นให้ร้อง เพื่อหายใจเอาอากาศฮืดดดแรกเข้าไป ครั้งต่อๆไปหายใจได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่เห็นจะต้องไปฝึกหายใจกันอีก พระกรุนี้ บ้างว่าไม่มี.. บ้างว่ามี..แต่...ข้อมูลคลาดเคลื่อน บ้างว่ามี..และมีข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงมาก ก็ค่อยๆศึกษาไปครับ รุ่นหลังๆที่เพิ่งเข้ามาในช่วงปี ๒ ปีนี้ ได้วัตถุมงคลแท้ๆรวดเร็วกว่ารุ่นแรกๆมาก เป็นเพราะวาสนาที่สั่งสมไว้นั่นเอง ฐานความรู้ใครจะแข็งไม่สำคัญ แต่ฐานความรู้ของเราต้องแข็งไว้ก่อนครับ ถูกเจาะยางบ่อยๆ จะเก่งเอง ขอเป็นกำลังใจในการอ่านครับ...:d
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    อย่างนี้ต้องขอ...แล้วครับ
    ขอชมครับ
    .
     
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    เรื่องของ ในหลวง ที่คุณอาจไม่เคยรู้

    เมื่อทรงพระเยาว์

    1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.

    2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์

    3.พระนาม "ภูมิพล" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

    4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช

    5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก

    6.ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol"หมายเลขประจำตัว 449

    7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า "แม่"

    8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง

    9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม

    10.สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต

    11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า"บ๊อบบี้"

    12.ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ

    13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ที มากเกินไป 2 ทีพอแล้ว

    14.ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ

    15.ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก "การให้" โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า "กระป๋องคนจน" เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก "เก็บภาษี" หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน

    16.ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า "ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"

    17.กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา

    18.ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง

    พระอัจฉริยภาพ

    19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก "การเล่น" สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง

    20.สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์

    21.ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)

    22.ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้

    23.ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส

    24.ทรงพระราชนิพนธ์พลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ "แสงเทียน" จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง

    25.ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง "เราสู้"

    26. รู้ไหม...? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5

    27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย

    28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "นายอินทร์" และ "ติโต" ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ "พระมหาชนก" ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

    29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"กีฬาซีเกมส์") ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510

    30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน

    31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เมื่อปี 2536

    33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว

    34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง



    เรื่องส่วนพระองค์

    35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

    36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า"น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง

    37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท

    37. หลังอภิเษกสมรส ทรง"ฮันนีมูน"ที่หัวหิน

    38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน

    39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

    40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น

    41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา

    42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ

    43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม

    44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้า แม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ เมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง


    งานของในหลวง

    45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ

    46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ

    47.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน

    48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน

    49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน

    50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห้นกันทุกวันนี้

    51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด

    52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า "ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ

    53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน

    ของทรงโปรด

    54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา

    55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย

    56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก

    57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง

    58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง

    59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก

    60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที ่ จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง

    61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก

    62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว

    63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ

    64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว

    รู้หรือไม่ ?

    65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "นายหลวง" ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง

    66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน

    67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า "ทำราชการ"

    68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี

    69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า"อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก"

    70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด

    71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี

    72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์

    73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6ล้านคน

    74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน

    75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง

    76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง

    77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด


    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระเกษมสำราญ มีพระพลานมัยแข็งแรงสมบูรณ์ มีพระชนม์ยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ตลอดกาลนานเทอญ. ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ...

    ที่มา - เวปลานธรรม โดย ฐานิโย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
     
  4. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่ะย้อนเกล็ดกลับเหรอท่าน ปา-ทานครับ55555.
     
  5. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    เง้ย...ไหนดีดกลับมาบ้านนี้อีกหละ ผีหลอก แหง๋ม ๆๆ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://palungjit.org/showthread.php?t=109112

    ออมบุญสร้างพระผง

    <TABLE class=tborder id=post918320 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 10:27 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>ลัก...ยิ้ม<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_918320", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 05:45 PM
    วันที่สมัคร: Apr 2005
    ข้อความ: 1,318 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 1,410 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 7,542 ครั้ง ใน 1,242 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 917 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_918320 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->[​IMG] ออมบุญสร้างพระผง
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->โปรดอ่านและพิจารณาให้ละเอียดค่ะ

    ในรอบการเป่ายันต์เกราะเพชรที่ 12 มกราคม 2551 ที่วัดท่าขนุน ที่ผ่านมานี้ ยิ้มได้นำข้าวสารและน้ำผึ้งจำนวน 2 ขวด เข้าไปทำการพุทธาภิเษกด้วย พิจารณาแล้วจะเก็บไว้ทานคนเดียวก็เห็นว่าหลายท่านก็มีความสนใจ จึงขอเปิดเป็นสาธารณะเพื่อส่วนรวม แต่เนื่องจากข้าวสารมีอายุสั้น ขึ้นมอดเมื่อไหร่ ยิ้มขอหยุดและเก็บไว้ทานคนเดียว


    และสืบเนื่องจากยิ้มมีอีกโครงการณ์ข้างหน้ารออยู่ นั้นคือโครงการณ์สร้างพระผงจำนวน 10,000 องค์ (ซึ่งยังไม่สรุปว่าผลสิ้นสุดว่าจะมีมวลสารอะไร และองค์พระเป็นเนื้อพระอะไร)


    ดังนั้น ท่านใดสนใจต้องการข้าวสารและน้ำผึ้งดังกล่าวไปบูชาหรือเพื่อประโยชข์สุขแก่ตน เชิญร่วมทำบุญด้วยกันได้ค่ะ โดยไม่กำหนดปัจจัย แต่กรุณาช่วยค่าจัดส่งด้วยค่ะ


    เงินที่ร่วมบุญส่วนนี้จะเป็นเงินออมไว้ล่วงหน้าเพื่อโครงการณ์สร้างพระผง ซึ่งยิ้มว่าโครงการณ์ไว้ในอนาคตข้างหน้าไม่เกินกลางปีน่าจะได้ผลสรุปกัน


    ส่วนบัญชีไว้จะแจ้งมาสำหรับท่านที่สนใจอีกครั้ง

    หมายเหตุ ข้าวสารข้างต้นเป็นข้าวกล้องซ้อมมือ การทานให้ผสมน้ำ 1ต่อ 3 หรือไปหุงข้าวต้มทาน น่าจะสะดวกค่ะ ข้าวสารนี้หาซื้อได้ตามร้านโครงการหลวง และโกลด์เด้นท์เพลสจ๊ะ

    ลืมบอกไปว่า ข้าวสารมีเพียง 2 กก. และการแบ่งบูชา ยิ้มจะนำใส่ซองคลิปเล็ก ๆ ให้นะค่ะ ไว้จะทำเป็นตัวอย่างให้พิจารณา


    ทั้งน้ำผึ้งและข้าวสาร เป็นของโครงการในหลวงท่านค่ะ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- attachments --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center bgColor=#e2e2e2 border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>ญาณพล เตือนส่ง Forward Mail หมิ่นเหม่ มีสิทธิ์ติดคุก </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#728dac cellPadding=0 width=725 align=center border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#cccccc><TD vAlign=center></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=center bgColor=#f5f5f5 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ออกโรงเอง ส่งเมลเตือนนักเผยแพร่ภาพ-ข่าว ทาง Forward Mail ให้ใช้วิจารณญาณก่อนส่งต่อ ไม่งั้นมีสิทธิ์เข้าคุกถึง 5 ปี


    พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศออกโรงเอง ส่งเมลเตือนนักเผยแพร่ภาพ-ข่าว ทาง Forward Mail ให้ใช้วิจารณญาณก่อนส่งต่อ ไม่งั้นมีสิทธิ์เข้าคุกถึง 5 ปี เมื่อเช้าวันที่ 15 มกราคมนี้ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI กระทรวงยุติธรรม ได้ส่งเมลไปยังเว็บมาสเตอร์ ผู้ใช้และผู้ให้บริการอินเตอร์เนตจำนวนมากเพื่อแจ้งคำเตือนเรื่อง การส่งต่อ Forward Mail มีข้อความดังนี้

    เรียนท่านผู้ใช้ อีเมล์ และ อินเทอร์เน็ต ที่เคารพทุกท่าน ทุกครั้งที่ท่าน รับ-ส่ง อีเมล์ กรุณาใช้วิจารณญาณด้วยว่า ข้อความ หรือ ภาพ นั้น จะเท็จ จะจริง หรือไม่ อย่างไรก็แล้วแต่

    1. อาจก่อความเสียหายให้ ผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่
    2. อาจสร้างความตื่นตระหนก ตกใจกลัว แก่คนทั่วไปหรือไม่
    3. อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ สถาบัน หรือเป็นความผิดด้านการก่อการร้าย หรือไม่ 4. มีเนื้อหา ภาพ อันเป็นลามก หรือไม่

    หากท่านคิดว่าใช่ แต่ก็ยัง เผยแพร่ ส่งต่อ(Forward) ยังไปพรรคพวก เพื่อนฝูง ญาติมิตร ด้วยกลัวว่า บุคคลเหล่านั้น อาจตกข่าว และท่านเองอาจคิด ภูมิใจ ไปว่าเป็นคนแรกๆที่รู้ข่าว และเอื้อเฟื้อต่อ ญาติมิตร หรือท่านอาจนำ ข้อความ หรือ ภาพ ที่ได้รับมานั้น นำไปเผยแพร่ลงใน เว็บบอร์ด ในเว็บไซต์ต่างๆ นั้น

    ท่านทราบหรือไม่ว่า ท่านอาจทำผิดกฎหมาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการ และด้วยความไม่รู้ทางเทคนิค อาจนำภัย ไปสู่ พรรคพวก เพื่อนฝูง ที่ได้ส่งข้อความ ภาพ นั้น มายังท่านด้วย เพราะสามารถตรวจสอบได้ว่าง่ายว่า ใครส่งต่อไปหาใคร ใครได้รับ แล้วส่งต่อไปหาใครต่อ.... อาจต้องรับโทษ จำคุก ไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะ ตามกฎหมายใหม่ " พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ " ได้กำหนดโทษเกี่ยวกับ การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ไว้ดังนี้
    -------------------
    มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
    หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
    หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
    (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
    โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
    (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ
    อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
    (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก
    และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
    (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
    -------------------
    สรุป
    -------------------
    ดังนั้น ทุกครั้งที่ท่านได้รับ อีเมล์ ข่าว เนื้อความ หรือ ภาพ มาจากอินเทอร์เน็ต ก่อนที่ท่าน จะ เผยแพร่ ส่งต่อ(Forward) ยังไปพรรคพวก เพื่อนฝูง ญาติมิตร หรือท่านจะนำ ข้อความ หรือ ภาพ ที่ได้รับมานั้น ไปเผยแพร่ลงใน เว็บบอร์ด ในเว็บไซต์ต่างๆ นั้น กรุณาใช้วิจารณญาณ ก่อนด้วยว่า ไม่ว่า ข้อความ/ ภาพ นั้น จะเท็จ จะจริง หรือไม่อย่างไรก็ตาม

    1. อาจก่อความเสียหายให้ ผู้หนึ่งผู้ใดหรือไม่
    2. อาจสร้างความตื่นตระหนก ตกใจกลัว แก่คนทั่วไปหรือไม่
    3. อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ สถาบัน หรือเป็นความผิดด้านการก่อการร้าย หรือไม่ 4. มี เนื้อหา/ภาพ อันเป็นลามก หรือไม่

    ถ้าคิดแล้ว เห็นท่าจะไม่ค่อยดี ก็อย่า Forward ไปเลยครับ ไม่เช่นนั้นแล้ว ท่านและพรรคพวก เพื่อนฝูง ของท่าน อาจกระทำความผิดโดย รู้เท่าไม่ถึงการ ตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา 14 (5)

    ด้วยความเคารพ
    พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน
    ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ
    กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI กระทรวงยุติธรรม
    ---------------------
    ถ้าท่านคิดว่า คำเตือนนี้ มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ไม่มีโทษ
    กรุณา ส่งต่อ (Forward) ไปต่อๆ กันด้วยครับ ...ขอบพระคุณมากครับ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><CENTER>ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน
    [​IMG]</CENTER>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โดย :พังจูดี้ (สมาชิก) โพสเมื่อ [ วันอังคาร ที่ 15 มกราคม 2551 เวลา 13:30 น.]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พรุ่งนี้ วันพุธที่ 16 มกราคม 2551 เป็นวันที่สำคัญอีกวันหนึ่งของคนไทย เนื่องจากวันพรุ่งนี้ เป็นวันครู เป็นวันที่ผู้ที่เล่าเรียนหนังสือหรือเล่าเรียนวิชาต่างๆมา ควรจะไหว้ครูบาอาจารย์ อย่าลืมนะครับ

    การไหว้ครู
    http://www.culture.go.th/k_day.php?F=teacher&FF=file0


    การไหว้ เป็นการแสดงถึงความ สำนึกที่ดีงาม โดยเฉพาะเรามักจะกระทำแก่สิ่งของ หรือบุคคลที่มีความสำคัญแทบทั้งสิ้น เช่นนักเรียนประกอบพิธีไหว้ครู ก็เพราะนักเรียนเห็นว่า ครูเป็นบุคคลที่สำคัญในชีวิตของเขา คือเป็นผู้ ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้และเป็นปูชนียบุคคล ครูอาจารย์จึงเป็นบุคคลที่คู่ควรแก่การได้รับการไหว้เป็นอย่างยิ่ง และคนไทยเราปกติเคารพนับถือครูมาก ถือว่าครูเป็นคู่ใจจะไปทางไหนหรือทำอะไรก็ตาม ถ้ามีครูเป็นคู่คิดแล้วเป็นสบายใจและอุ่นใจได้ มีประโยคภาษาไทยแสดงคุณค่า ของครู อยู่ประโยคหนึ่ง นั่นคือคำว่า
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สวัสดี
    http://www.culture.go.th/k_day.php?F=teacher&FF=file01

    ความหมาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ สวัสดี หมายถึงความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง คำทักทายหรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน
    สวัสดี ในส่วนที่นำมาใช้เป็นคำทักทายนั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เล่าถึงต้นเหตุเดิมไว้ว่าเจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงได้ใช้คำ "ราตรีสวัสดิ์" ลงท้ายคำพูดเมื่อจบการกระจายเสียงตอนกลางคืนโดยอนุโลมตามคำว่า "กู๊ดไนต์" (Goodnight) ของอังกฤษ แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง จึงขอให้กรรมการชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการในสมัยนั้นช่วยคิดหาคำให้ ตกลงได้คำว่า"สวัสดี" ไปใช้และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้นำไปเผยแพร่ให้นิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นคำทักทายเมื่อพบกัน จึงได้แพร่หลายใช้กันต่อมา
    ครั้นต่อมาในยุคบำรุงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชาติ รัฐบาลในสมัยนั้นก็เห็นชอบกับการใช้คำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่ได้พบกัน ได้มอบให้กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ออกข่าวประกาศเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๘๖ ดังต่อไปนี้ (ตัวสะกดและการันต์ในสมัยนั้น)


    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD> "ด้วยพนะท่านนายกรัถมนตรีได้พิจารนาเห็นว่าเพื่อเปนการส่งเสริมเกียรติแก่ตนและแก่ชาติ ให้สมกับที่เราได้รับความยกย่องว่าคนไทยเปนอารยะชน คำพูดจึงเปนสิ่งหนึ่งที่สแดงภูมิของจิตใจว่าสูงต่ำเพียงใด ฉะนั้นจึงมีคำสั่งให้กำชับบันดาข้าราชการทุกคนกล่าวคำ "สวัสดี"ต่อกันไนโอกาสที่พบกันครั้งแรกของวันเพื่อเป็นการผูกไมตรีต่อกัน และฝึกนิสัยไห้กล่าวแต่คำที่เปนมงคล ว่าอะไรว่าตามกัน กับขอไห้ข้าราชการช่วยแนะนำแก่ผู้ที่อยู่ไนครอบครัวของตนไห้รู้จักกล่าวคำ "สวัสดี" เช่นเดียวกันด้วย "
    นี่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ทางราชการในสมัยนั้นได้กำหนดให้ใช้คำว่าสวัสดี ไว้แล้วตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๘๖
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD></TD><TD> แต่ปัจจุบันนี้เยาวชนไทยเมื่อพบกันแทนที่จะใช้คำว่า "สวัสดี" กลับนำเอาคำผรุสวาทมาใช้แทน ซึ่งล้วนแต่ไม่เป็นมงคลแก่ตนเองทั้งสิ้น นับเป็นความเสื่อมทางวัฒนธรรมด้านภาษาและจิตใจอย่างมากที่สุด
    ในปัจจุบันนี้มีชาวต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทยจำนวนมาก ได้พยายามยกมือไหว้และกล่าวคำว่า "สวัสดี-Sawasdee " เพราะเข้าใจวัฒนธรรมของไทยดีขึ้น นับเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยได้ประการหนึ่ง คำว่า สวัสดี ได้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นคำของ "ชาตินิยม" เป็นวัฒนธรรม อันหยั่งรากฝังลึกลงในจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ อากัปกิริยาของการ "สวัสดี" ผนวกกับ ความมีน้ำใจไมตรีของคนไทย และรอยยิ้มแห่งมิตรภาพ ทำให้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำที่มีความหมายมากมายนัก คนไทยควรจะมาร่วมกันดำรงความเป็น "ไทย"ด้วยรอยยิ้มแจ่มใสและคำทักทาย "สวัสดีค่ะ " "สวัสดีครับ "
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ดอกไม้ไหว้ครู
    http://www.culture.go.th/k_day.php?F=teacher&FF=file02

    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>คนโบราณ ( ยุคก่อนราว 100 ปีมาแล้ว ) จะสอนจะเตือนคนด้วยกันเอง เพื่อให้อยู่ในสังคมของยุคนั้นได้อย่างเป็นสุขมีวิธีสอนอยู่หลายวิธี เช่น การสอนโดยการบอกตรง ๆ แต่มักจะถูกปฏิเสธหรือดื้อไม่ยอมรับคำสอน ก็จะเปลี่ยนเป็นการสอนโดยการเล่านิทานให้เป็นคติเตือนใจ จึงจะเห็นได้ว่านิทานไทย หรือที่เรียกกันว่านิทานพื้นบ้าน จะมีหลายประเภทหลายระดับของของผู้ฟังที่ต้องการสอนหรือเตือนสติว่า ควรทำ ไม่ควรทำ หรือระมัดระวัง ถ้าจะกระทำ
    ถ้าเป็นเด็ก ๆ ก็จะใช้นิทานที่เกี่ยวกับสัตว์ เกี่ยวกับการสามัคคีการเสียสละ การมีความมานะพยายามและการมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตาต่อสัตว์ เกี่ยวกับการสามัคคี การเสียสละ มีความมานะพยายามและการมีจิใจอ่อนโยน มีเมตตาต่อสัตว์และต่อเพื่อน ๆ ด้วยกัน ตลอดจนความซื่อสัตย์ สุจริต
    เมื่อถึงวัยหนุ่มสาว มีเหย้ามีเรือนแล้วก็จะเป็นนิทานอีกลักษณะหนึ่ง โดยมุ่งสอนให้ระมัดระวังเรื่องการครองรัก ครองเรือน การคบชู้สู่ชาย การล่วงเกินทางเพศกับ พี่เมีย น้องเมีย ตลอดจนแม่ยายหรือบุคคลอื่น ๆ ในบ้าน
    นิทานไทย ไม่เว้นแม้กระทั้ง พระสงฆ์องค์เจ้า ตาเถร ยายชี ก็มีเรื่องเล่าไว้เป็นเครื่องเติอนสติเป็นการควบคุมพระธรรมวินัยอีกชั้นหนึ่ง นอกจากการอาบัติทางสงฆ์
    การสอนในลักษณะที่สามได้แก่ การใช้คำคล้องจอง สุภาษิต หรือคำพังเพย ผูกไว้เตือนใจเตือนสติ เช่น
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>" น้ำขึ้นให้รีบตัก "

    " ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม "
    " มือไม่พายอย่าเอาเท้า ราน้ำ "
    " รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา "
    " รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง "
    " รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี "
    " รักยาวให้ปั่น รักสั้นให้ต่อ "
    " เห็นช้างขี้อย่าขี้ตามช้าง "
    " อย่าขี่ช้างจับตั๊กแตน "
    " ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ "
    " ไม่เห็นน้ำอย่าตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกอย่าโก่งหน้าไม้ "
    " เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมือแก่ "
    " ดูช้างให้ดูที่หาง ดูนางให้ดูที่แม่ ดูให้แน่ต้องดูถึงยาย "
    ฯลฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>คำสุภาษิตมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ถ้าทำตามแล้วจะได้ดีตามนั้นส่วนคำพังเพยให้เกิดการเปรียบเทียบ เตือนสติจะทำหรือไม่ทำ ที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นส่วนย่อย ๆ เท่านั้น มีอีกมากมาย ที่คนโบราณท่านคิดไว้เป็นเรื่องน่าแปลกอย่างหนึ่งว่าในยุคปัจจุบันนี้ไม่มีใครแต่ง สุภาษิต หรือคำพังเพยเพิ่มเติมอีกเลย มีแต่คำขวัญ ลม ๆแล้ง ๆ ท่องกันแจ้ว ๆ แต่ไม่ได้นำมาประพฤติปฏิบัติ
    การสอนของคนโบราณในประการที่สี่ได้แก่การใช้คุณลักษณะพิเศษของใบไม้ ดอกไม้ ต้นไม้ผลไม้ ก้อนหิน อาหาร ขนม โดยดุจากลักษณะ คุณสมบัติ ชื่อ มาเป็นเครื่องประกอบการเรียนการสอนหรือเรียกว่า อุปกรณ์การสอนคงไม่ผิด ( แสดงว่าคนโบราณเก่ง รู้จักการใช้อุปกรณ์การสอนมานมนาน ก่อนครูในยุคปัจจุบันเสียอีก )
    อุปกรณ์การสอนที่ว่ามีมากมาย ขอยกตัวอย่างอีก 2-3 ชนิด เช่น เวลาจะให้เจ้าบ่าวขึ้นเรือนหอ ให้เจ้าบ่าวยืนบนก้อนหินลับมีด ( เป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนฟ้า ยาว 12 นิ้ว ด้านกว้างราย 4-5 นิ้ว เป็นหินทรายเนื้อละเอียด ) บนก้อนหินมีหญ้าแพรกปูทับอยู่ แล้วญาติพี่น้องของฝ่ายเจ้าสาวก็จะราดน้ำล้างเท้าให้ ก็เป็นการสอนโดยใช้อุปกรณ์การสอนให้เจ้าบ่าวตระหนักว่า มาเป็นบ่าวจะต้องใจคอหนักแน่นเหมือนหิน และขยันทำมาหากินให้เจริญรุ่งเรืองดุจหญ้าแพรก ( เป็นหญ้าที่ทนน้ำทนฝนทนแดดทนไฟ )
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>ปลูกต้นไม้ไว้หน้าบ้านต้องเป็นต้นมะยม หลังบ้านต้องเป็นต้นขนุน ก็เป็นการสอนให้รู้จักทำตัวให้เป็นที่รักใคร่นิยมชมชอบของเพื่อนบ้าน ( มะยม ) และรู้จักอุดหนุนจุนเจอเครือญาติพี่น้องตลอดจนคนบ้านใกล้เรือนเคียง ( ขนุน ) ใช้เป็นการสอนและใช้ต้นไม้เป็นอุปกรณ์การสอน
    อาหารหรือขนมในสำรับกับข้าวก็จะใช้เป็นอุปกรณ์การสอนได้หมด เช่น ขนมจีน จะต้องจับให้ยาว ๆ ( เส้นยาว ) เพื่อให้รักกันยืดยาว ใช้ขนมจีนสอนขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองก็สอนให้รู้จักทำมาหากินให้มั่งมีเงินทอง ใช้ชื่อขนมสอน ใช้ขนมเป็นอุปกรณ์การสอน ฯลฯ
    ดอกไม้ก็ต้องเป็นดอกรักดอกบานไม่รู้โรย ดอกบานชื่นดอกทานตะวัน ใช้ชื่อดอกไม้เป็นมงคลและใช้ดอกไม้เป็นอุปกรณ์การสอน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>" ดอกมะเขือ " เป็นอุปกรณ์การสอนที่แยบคาย ใช้สอนให้คนรู้จักการอ่อนน้อมถ่อมตน เช่น ในการไหว้ครู จะเป็นครูดนตรี ปีพาทย์ ครูมวย ครูสอนหนังสือครูอะไรก็แล้วแต่คนโบราณจะใช้ดอกมะเขือ เป็นอุปกรณ์การสอนโดยถือว่าดอกมะเขือ เป็นดอกไม้แทนความอ่อนน้อมถ่อมตน การจะฝากตัวเป็นศิษย์ต้องรู้จักกราบไหว้บูชาครู มีกิริยามารยาทที่ดีสุภาพอ่อนโยน เมื่อมาสมัครเป็นศิษย์ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>คุณสมบัติที่กล่าวข้างต้นใช้ดอกมะเขือสอน เพราะดอกมะเขือทุกดอกจะโน้มดอก ค้อมกลีบลงต่ำเสมอ เป็นการสอนให้ศิษย์รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้เป็นครู
    นอกจากการใช้ดอกมะเขือแล้ว ยังมีหญ้าแพรก ดอกเข้มมัดรวมกันไว้อีกด้วย นอกเหนือจากธูปเทียนและข้าวตอก ก็เป็นอุปกรณ์การสอนผู้เป็นศิษย์อีกเช่น กัน หญ้าแพรกหมายถึง ความเจริญงอกงามทนต่อลมฟ้าอากาศแพร่กระจายรวดเร็ว
    ดอกเข็มก็ให้มีปัญญาเฉียบแหลมราวเข็ม คือฉลาดนั่นเองส่วนข้าวตอกก็ให้ปัญญาเฉลียวฉลาดคิดได้แตกฉานราวข้าวตอกที่แตกเมื่อคั่วในกระทะใบบัว
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>ผู้เขียนเองนับถือในภูมิปัญญาของคนโบราณอย่างยิ่งและรำลึกถึงบุญคูณอยู่ตลอดเมื่อไหร่ที่ทำบุญก็จะอุทิศส่วนกุศลไปให้อยู่เสมอมิได้ขาด คนโบราณช่างชาญฉลาดที่จะสอนด้วยกลวิธีต่าง ๆ แม้กระทั่งการใช้ดอกไม้ต้นไม้ ฯลฯ เป็นอุปกรณ์การสอนทำให้ลูกศิษย์ให้ยุคก่อน เก่า และรู้จักกตัญญูรู้คุณผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์อยู่ตลอดไป แม้จะเป็นครูที่มีแต่จิตวิญญาณ ตามความเชื่อและครูที่มีตัวตน </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ที่คุยนักหนาว่าเก่งเป็นเลิศกว่าคนโบราณ จะรู้เท่าทัน ภูมิปัญญาของท่านเหล่านั้นบ้างหรือเปล่าปัจจุบันเวลาไหว้ครู เห็นแต่พานพุ่มมีดอกไม้จากต่างประเทศนำมาบูชาครู แล้วก็คอยฟังผลการประกวดพานว่าใครจะได้ที่หนึ่งเก็กกับครูในปัจจุบันจุงไม่ต่างอะไรกับคนบอกหนังสือกับคนมารู้หนังสือการเคารพนับถือการอ่อนน้อมถ่อมตนหายไปไหนตกเย็นครู ( บางคน ) เป็นนักธุรกิจเปิดสอนพิเศษ ให้กับนักเรียนของตน เก็บค่าเรียนเป็นชั่วโมง จึงไม่ต่างอะไรกับผู้รับจ้างสอนหนังสือกับเด็กจ้างครูสอน การเคารพนับถือ การอ่อนน้อมถ่อมตนจึงไม่เกิดขึ้น น่าเวทนา หญ้าแพรกดอกมะเขือ เสียจริง ที่ไม่มีโอกาสเป็นอุปกรณ์การสอนแบบโบราณอีกต่อไปแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>

     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขนบประเพณี - สักวา ไหว้ครู
    http://www.culture.go.th/k_day.php?F=teacher&FF=file03

    สาธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา
    พ่อแม่แลครูบา เทวดาในราศี
    ข้าเจ้าเอากอขอ เข้ามาต่อกอกา
    มีใส่ไว้ในเท่านี้ ขออย่ามีที่โทษา
    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> นี่เป็นบทไหว้ครูที่เราคุ้นกันมากจากกาพย์พระไชยสุริยาของพระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่เราเรียกท่านตามฉายาที่ชาวบ้านเรียก ๆ กันว่า "สุนทรภู่" กวีสี่แผ่นดินต้นรัตนโกสินทรสมัย หนังสือซึ่งถือเป็นหนังสือเรียนได้ เพราะสอนวิธีการเรียนหนังสือไทยอย่างสนุก โดยเอาคำประพันธ์มาล่อ ซึ่งก็จะทำให้จำได้ง่าย ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๖ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้นำมาเป็นตัวอย่างการประสมอักษรในตำราเรียนของท่านที่เรียกว่า "มูลบทบรรพกิจ"</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> การกระทำอะไรต่าง ๆ ของคนไทยนั้น โดยเฉพาะในกิจกรรมพิธีกรรมต่าง ๆ มักจะเริ่มด้วยการไหว้ครูก่อนเพราะถือว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีครู ถ้าได้คารวะครูบาอาจารย์แล้ว จะเป็นมลคลทำอะไรก็ไม่ติดขัด ตรงกันข้ามกับการทำอะไรอย่างไม่คารวะ คนไทยจะรู้สึกไม่ค่อยปลอดโปร่ง โดยเฉพาะในการศิลปะแล้ว จะมีการเคารพครูเป็นอย่างสูง และถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จริงจังมาก จะทำอย่างสุกเอาเผากินหรือลือเลียนไม่ เยาวชนจึงได้รับการสอนให้รู้จัก มาตั้งแต่เยาว์วัยและนับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งที่กวีเก่า ๆ ท่านได้กรุณาแต่งบทไหว้ครูให้อนุชนได้ท่องจำได้ใช้เป็นเครื่องพลี บทไหว้ครูใคร ๆ ก็ต้องผ่านและมักจะจำกันได้นั้นคือ</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> ปาเจรา จริยา โหนติ คุณุตรานุสาสกา
    ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ
    ปัญญาวุฒิ กเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง
    (เพื่อสะดวกแก่การอ่าน ขออนุญาตเขียนเป็นการสะกดการันต์แบบไทย โดยเฉพาะภาษาบาลีที่กำกับตอนต้นและตอนท้าย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> กาพย์ฉบัง ๑๖ ที่เราสวดในวันไหว้ครูทุก ๆ ปีนี้มีคุณค่าทางจิตใจแก่เราเป็นอันมาก จะทำการใดต่อ ๆ ไปรู้สึกอบอุ่นใจว่าเป็นศิษย์มีครู มีผู้คอยสอดส่องดูแลให้เราทำได้ดีถูกต้อง
    ในวงการศิลปะไม่ว่าจะเป็นดนตรี นาฏศิลป์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม วิศวกรรม ฯลฯ ล้วนมีการไหว้ครูก่อนแสดงทั้ง พวกดนตรี นาฏศิลป์ จึงมักจะมีพิธีไหว้ครู ครอบศีรษะก่อนจะแสดงหรือออกไปประกอบกิจกรรมเสมอ มักมีพิธีใหญ่โตเป็นประจำทุกปี ครูของช่างทั้งหลายทั้งปวงนั้น มักจะเป็นพระพิฆเณศร หรือพระวิษณุกรรม พระประโคนธรรพ ครูของวรรณศิลป์จะเป็นพระสุรัสวดี เป็นต้น
    ในวงการศิลปะทั้งมวล ผู้ประกอบการศิลปะมักจะแสดงความเคารพทุกครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ แม้แต่ ครูพักลำจำคือ จำเอาจากที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังมาก็ถือเป็นครู ผู้ใดลบหลู่ดูหมิ่น ไม่เคารพครูบาอาจารย์มักไม่ค่อยเจริญ ในการแสดงทางศิลปะ การไหว้ครูจึงเป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้ พิธีกรรมในการจัดไหว้ครูนั้น เป็นสิ่งที่ควรรู้และระลึกไว้เสมอว่า ผู้หวังเจริญในการประกอบศิลปะทั้งหลายทั้งปวง การไหว้ครูเป็นสิ่งที่ขาดมิได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> การไหว้ครูของการแสดงต่าง ๆ มักจะมีลักษณาการใกล้เคียงกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง การไหว้ครูในการแสดงสักวามาเป็นเครื่องรำลึกพอควรแก่กรณี ในหนังสือ ประชุมบทสักวาที่เล่นถวายในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งสมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดพิมพ์เป็นครั้งที่สามใน พ.ศ. ๒๕๓๔ มีบทไหว้ครูที่ขอยกมาเป็นตัวอย่าง บทไหว้ครูของอาลักษณ์ เล่นถวายที่พระที่นั่งสนามจันทร์ เมื่อวันพุธ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก จัตวาศก ๑๒๓๔ มีว่า </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD> สักวาขอบังคมประนมน้อม พระจุลจอมเกล้าเกษกษัตริย์ฉัตรเฉลิม
    วงอาลักษณ์จักสนองร้องประเดิม เป็นบทเริ่มเพิ่มพระบารมี
    แม้กล่าวคำลำพองคะนองจิต มิได้คิดสอบสวนดูถ้วนถี่
    ขอพระคุณมุลิกาฝ่าธุลี อย่าได้มีโทษาแก่ข้าเอย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> บทนี้ถือว่า องค์ประธานคือ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นประมุขสูงสุดในที่นั้น จึงมิต้องไหว้ครูอื่น ๆ เหมือนที่ผู้ใหญ่สั่งสอนว่า ถ้าไปในงานใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับ ณ ที่นั้น เราจะต้องไม่ไปยกมือไหว้คนอื่นใดในบริเวณนั้นอีก นี่คือวัตรที่ถูกต้อง แต่คนเราออกจะรู้สึกว่าตนจะไม่เป็นที่น่าดู ถ้าไม่แสดงควมเคารพคนที่รู้จักกัน กลัวจะถูกตำหนิได้
    ส่วนวง “ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์” ทรงบทไหว้ครูว่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> สักรวามาบังคมประนมบาท บรมไทธิราชนรังสรรค์
    มิ่งมงกุฏอยุธยาทั่วสามัญ ดังฉัตรแก้วกางกั้นสยามภพ
    ทรงปัญญาดังมหากระแสสินธุ์ มิรู้สิ้นไหลหลั่นพลั่งตระหลบ
    บำรุงเมืองเรืองรองอร่ามครบ ขจรจบเกียรติยศปรากฏเอย
    ในยุคปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเคยทรงบทไหว้ครูไว้ อย่างครั้งที่ทรงสักวาครั้งแรกของพระองค์ ณ ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม เมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๐ ดังนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> สักวาไหว้ครูผู้สอนสั่ง ไหว้ทุกท่านที่นั่งอยู่ที่นี่
    ล้วนแต่เป็นนักปราชญ์จอมกวี อาวุโสศักดิ์ศรีเป็นอาจารย์
    ไม่เคยเล่นสักวาข้าอ่อนหัด กลอนติดขัดจงช่วยด้วยสงสาร
    มาวันนี้หวังใจให้เบิกบาน คุณครูท่านโปรดสงเคราะห์ให้เหมาะเอย
    ครั้งที่สองเมื่อทรงสักวาที่วังบ้านปลายเนิน ๒๖ กันยายน ๒๕๓๑ พระองค์ทรงไหว้ครูว่า
    สักวาน้อมเบญจางคประดิษฐ์ ไหว้ไตรรัตน์ประสิทธิ์ประเสริฐผล
    ดุลแสงสูรย์ส่องสว่างกระจ่ายมน เชิดชูชนพ้นวิสัยแห่งภัยพาล
    ไหว้คุณครูอาจารย์ชาญวิชา ศิลปะทุกสาขารู้แตกฉาน
    เพียรสอนสั่งด้วยเมตตามาก็นาน ขอให้ท่านช่วยวันนี้กลอนดีเอย

    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> นักกลอนชั้นครูในยุคปัจจุบันหลายท่านที่เคยแต่งบทสักวาไหว้ครูได้น่าฟัง ม ร ว ศึกฤทธิ์ ปราโมช เคยแสดง ณ สังคีตศาลา เมื่อ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๒ ในการเล่นสักวาเรื่องสังข์ทอง ไว้ว่า สักวาประนมนิ้วขึ้นเหนือเศียร ต่างธูปเทียนดอกไม้ทองของถวาย
    ไหว้พระแก้วทั้งสามอร่ามราย ที่ส่องสายทางเลิศเกิดปัญญา
    ไม่ไหว้ครูอื่นใดในพิภพ ผู้แจ้งจบเกินพระพุทธสุดจักหา
    ไม่มีศาสตร์ใดล้ำพระธรรมา พระสงฆ์สาวกวิมุติสุดเปรียบเอย

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> นับเป็นบทไหว้ครูชั้นครูทีเดียว บทนี้ร้องด้วยเพลงพระทอง อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ – ดนตรี กรมศิลปากร เคยบอกบทไหว้ครูในการแสดงสักวาเรื่องขุนช้างขุนแผน ทีหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวาระถวายพระพรปีใหม่ ๑๒ มกราคม ๒๕๐๓ ว่า สักวาถวายบังคมบรมบาท ภูวนาถนฤบดินทร์ปิ่นเกศี
    ทั้งสมเด็จพระบรมราชินี พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าสักวา
    ขอถวายพระพรทวีในปีใหม่ ให้สองไท้ทรงเกษมสุขหรรษา
    พระชนม์ธำรงรัฐวัฒนา ปกประชาไทยระรื่นฉ่ำชื่นเอย

    เมื่อ ๒๒ เมษายน ๒๕๐๒ ผู้เขียนและเพื่อน (โกวิท สีตลายัน , วินัย ภู่ระหงษ์และมาเนาะ ยูเด็น) ไปเล่น “ ลับแลกลอนสด ” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม เราช่วยกันแต่งบทไหว้ครูที่จดจำมาได้จนวันนี้ว่า
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>(โกวิท) บังคมคัลอัญชลีกวีเอก ซึ่งสรรค์เสกสวนสวรรค์วรรณศิลป์
    (ประยอม) หยาดน้ำแก้วแจ้วจำเรียงเพียงเพลงพิณ ราวฝนรินจากสวรรค์จรรโลงใจ
    (วินัย) โปรดช่วยดลกลกานท์ที่ขานขับ ใครสดับให้พระวงเผ้าหลงใหล
    (มะเนาะ) แม้โลกลาญกานท์กลอนขจรไกร จำหลักในห้วงจิตเป็นนิจเอย
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> ส่วนนักกลอนปัจจุบันอย่างชาวสโมสรวรรณศิลป์จะมีลีลาไหว้ครูกันไปต่าง ๆ ซึ่งเราจะสังเกตว่า นอกจากไหว้พระคุณครูบาอาจารย์ บิดามารดา ครูกลอน ครูดนตรี ครูศิลปะ ต่าง ๆ แล้ว ก็จะรำลึกพระมหากรุณาธิคุณในพระมหากษัตราธิราชทั้งอดีต – ปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำแห่งที่เราไปเล่นสักวานั้น ๆ ด้วย อย่างของรองศาสตราจารย์วันเนาว์ ยูเด็น ไหว้ครูที่เวทีสักวาคราวสมาคมนักเขียนจัดวรรณกรรมสัญจรนครศรีธรรมราช ( ๑๔ กรกฏาคม ๒๕๓๓ ) นั้นว่า สักวาบังคมบรมธาตุ ไหว้ศรีปราชญ์ครูกวีศรีอักษร
    ครูโนราครูหนังฝากฝังกลอน เอื้ออวยพรเพียงมนต์เมื่อยลยิน
    ให้กลอนกายท์หลายคำดั่งน้ำอ้อย ซาบซึ้งสร้อยสักวาภาษาศิลป์
    โปรยคำหอมกล่อมแดนกลบแผ่นดิน ไหลหลั่งรินมธุรสบทกลอนเอย

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> ซึ่งเมื่อนักร้องร้องเพลงช้าปี่ในและปีนตลิ่งก็ให้ความรู้สึกขรึมขลังอย่างบอกไม่ถูก เมื่อไปเล่นกลอนสดในรายการ “ เวที - วาที ” ที่คุณกรรณิการ์ ธรรมเกษร เป็นผู้จัด ณ วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙ ผู้เขียนรับหน้าที่ไหว้ครูไว้ดังนี้ (มีลีลากลอน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และทวีสุข ทองถาวรปนด้วย ) กราบดวงแก้วทั้งสามงามคุ้มเกล้า กราบผงเถ้าบาทบงสุ์พระทรงศักดิ์
    กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ภิบาลรัก กราบทุกวรรคบทกลอนสุนทรครู
    ประเพณีดีงามความเป็นไทย จรรโลงไว้ให้บรรเจิดงามเลิศหรู
    เป็นคนไทยชูชาติไทยให้ตราตรู ดำรงอยู่ชั่วกัปกัลป์นิรันดร์เทอญ

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> อาจารย์สมประสงค์ ปิ่นจินดา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของวิทยาลัยครูสวนดุสิต เรียงร้อยบทไหว้ครูวันถวายสักวาแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเรือ “ ประพาสอุทยาน ” ณ อุทยาน ร. ๒ เมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ไว้น่าฟังอย่างยิ่งว่า สักวาพระบารมีปกกระหม่อม ข้าพระบาทนมัสน้อมจำนงถวิล
    บุหลันเลื่อนลอยฟ้ามาโลมดิน ชุบชีวินซาบซ่านหวานกานท์กวี
    เป็นบุญเกล้าที่ได้เฝ้ายุคลบาท วโรกาสประพาสท่องนทีศรี
    ประมวลใจถวายใจโดยภักดี กรองวจีกล่อมพระทัยให้ชื่นเอย

    บทนี้เมื่อขับร้องเพลงเวสสุกรรมจึงน่าฟังนัก
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> อาจารย์วินัย ภู่ระหงษ์ แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรเคยว่าบทไหว้ครูในวันนักเขียน ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๒ ไว้น่าฟังไม่น้อยเหมือนกัน สักวาถวายบังคมบรมกษัตริย์ นับแต่วันเถลิงฉัตรสโมสร
    เป็นร่มโพธิ์คุ้มเกล้าเหล่านาคร ได้ครองสุขสถาวรสวัสดี
    วโรกาสบรรจบวันเฉลิมฉัตร ฉัตรมงคลมงคลรัตน์เฉลิมศรี
    ขอฉัตรเมืองคู่รัฐป้องปฐพี จบวจีถวายชัยไหว้ครูเอย

    ทวีสุข ทองถาวร นักกลอนมือทองของธรรมศาสตร์เป็นคนหนึ่งที่ไหว้ครูได้อารมณืและตรงตามสถานการณ์ เคยไหว้ครู “ งานนักเขียน - หนังสือ ” ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้จัดเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ไว้ดังนี้
    สักวาไหว้แม่โดมโคมศักดิ์ศรี น้อมใจกราบท่านปรีดีที่สร้างสรรค์
    ธรรมศาสตร์งามสง่าสถาบัน ช่วยยืนยันเราเทิดค่าภาษาไทย
    วันนักเขียน - หนังสือสื่อความคิด สร้างชีวิตสร้างความหวังสร้างนิสัย
    โลกทัศน์พัฒนาก้าวหน้าไกล เพราะเราได้หนังสือดีมีค่าเอย

    เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ปี ๒๕๓๓ ศิลปินแห่งชาติปี ๒๕๓๖ นับเป็นคนที่เราอยากฟังกลอนไหว้ครู บทเล่นหรือบทลาทุกประเภทของเขามาก เพราะเขาจะให้อะไรใหม่ ๆ ไม่ซ้ำซากอย่างเช่นครั้งเราไปเล่นกลอนที่ช่อง ๕ ในรายการ “ เวที – วาที " อีกครั้งหนึ่งที่เขาไหว้ครูได้งดงามเหลือเกินว่า
    สักวาครูวาทีเป็นศรีสง่า ครูช่องห้าสถานีเป็นศรีช่อง
    ครูพระจันทร์วันเพ็ญเป็นสีทอง ครูจำลองคนดีเป็นศรีเมือง
    กระทงถ้อยคำร้อยคำเรียบความคิด แม่น้ำใจใสสนิทบูชิตเบื้อง
    กระทงน้อยลอยน้ำรำไรเรือง มาเป็นเครื่องบูชาครูทุกผู้เอย

    เมื่อร้องด้วยเพลงนกกระจอกทองจึงไม่ต้องสงสัยว่าจะไพเราะเพียงไร ทั้งให้ภาพและความรู้แก่ผู้อ่านว่า วันนั้นเราเล่นกลอนคืนวันลอยกระทง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครู
    http://www.culture.go.th/k_day.php?F=teacher&FF=file04

    ครู เป็นผู้มีพระคุณควรแก่การเคารพบูชา เป็นปูชนียบุคคล มีความสำคัญเป็นลำดับที่สอง รองบิดามารดา วิธีแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อครูที่เห็นได้ชัดก็คือ การแสดงความเคารพ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "การไหว้ครู"
    การไหว้ครูจัดเป็นพิธีใหญ่ถือเป็นประเพณีที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกปีสืบทอดกันมาช้านาน โดยเฉพาะวิชาศิลปะ โขน ละครดนตรีปี่พาทย์ มีการประกอบพิธีเป็นตอน กระทั่งยึดถือเป็นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบัน
    การบรรเลงปีพาทย์ในพิธีไหว้ครูก็เช่นกัน โบราณาจารย์ท่านได้กำหนดเพลงและระเบียบวิธีบรรเลงไว้แล้วอย่างเหมาะสมมีหลักมีเกณฑ์ เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตของศิษย์ ซึ่งได้รักษาและสืบทอดกันต่อ ๆมา
    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>เพลงหน้าพาทย์ เพลงที่กำหนดใช้ในพิธีไหว้ครูเรียกว่า " เพลงหน้าพาทย์ " ในวงการโขนละครดนตรีปีพาทย์เขามักจะทำการคารวะด้วยความนอบน้อมก่อนทุกครั้งไป เทพแต่ละองค์จะมีเพลงประจำองค์เทพนั้น ๆ และกำหนดหมายรู้จากเพลงที่กำลังบรรเลงว่าองค์เทพนั้น ๆ กำลังเสด็จมา ณ บริเวณพิธีแล้ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> เมื่อมาวิเคราะห์โครงสร้างของเพลงหน้าพาทย์แต่ละเพลงอย่างถ่องแท้จะพบว่า ท่านผู้รจนาเพลงได้สร้างสรรค์ทำนองเพลงเพื่อบทเฉพาะกาล จากแรงบันดาลใจด้วยความสำนึกในความกตัญญูเป็นพื้นฐานเพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครูจึงมีท่วงทำนองที่ไพเราะ มีลีลาแช่มช้อยเนิบนาบแต่เต็มไปด้วยความสำนึกในความโอ่อ่า องอาจ สง่างาม เหมาะกับสภาวะแห่งเทพ แห่งครู
    พิธีไหว้ครูโขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์นั้น วงปี่พาทย์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่ง แม้จะมีกล่าวไว้ในตำราบางเล่มว่า พิธีไหว้ครูดนตรี ไม่ต้องมีวงปี่พาทย์ก็ได้ แต่เท่าที่ปฏิบัติกันมาก็เห็นมีวงปี่พาทย์เป็นแกนสำคัญทุกครั้ง ที่เป็นเช่นนี้พอจะอนุมานมูลเหตุสำคัญได้ว่า น่าจะมาจากต้องการให้เสียงดนตรีปี่พาทย์ช่วยประกาศให้ทราบทั่วกันว่า เวลานั้น ณ สถานที่นั้นกำลังกระทำพิธีไหว้ครูอยู่ อีกประการหนึ่งคงเพื่อน้อมเป็นเครื่องบูชาครูผลที่ตามมาของการที่มีปี่พาทย์ประโคมคือ ทำให้พิธีความศักด์สิทธิ์ดูโอ่อ่าภาคภูมิ สมกับเป็นพิธีที่สำคัญ
    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ศิลปินผู้บรรเลงปี่พาทย์ในพิธีไหว้ครูจึงรับบทบาท และหน้าที่สำคัญเพราะต้องเป็นผู้ที่แสดงออก ซึ่งความสามารถในการใช้เสียงเพื่อสื่อความหมายให้ตรงจุดประสงค์และบังเกิดประสิทธิภาพสมตามเจตนารมณ์ของพิธีกรรม</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> มีคำกล่าวว่า " ฟังเพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครูแล้วขนลุกและมีความรู้สึกที่บอกไม่ถูก แต่ชอบฟังจริง ๆ บางเพลงฟังแล้วรู้สึกเหมือนว่า ตนเองอยู่ในสถานที่ที่โอ่อ่า มีเสาใหญ่ ๆ ดุจท้องพระโรงมีผู้คนมากมายแต่ทว่าเงียบกริบ " นั่นแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะของท่านผู้รจนาเพลง เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมและสมบูรณ์ควรแก่การดำรงรักษาไว้ให้คงสภาพเหมือนเช่นเดิม โบราณาจารย์ของเราท่านตระหนักในเรื่องนี้เป็นอ่างดี จึงได้พยายามรักษาทำนองเนื้อเพลงของเดิมไว้ โดยการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เคารพทำนองเพลงเป็นครู ทั้งได้กำหนดลักษณะวิธีการบรรเลงไว้เป็นพิเศษซึ่งแตกต่างจากการบรรเลงในรูปแบบอื่นโดยสิ้นเชิง
    โดยทั่วไปแล้ว วิธีการบรรเลงของไทยนั้น ผู้บรรเลงแต่ละเครื่องมือทุกคนจะต้องเรียนรู้และจดจำทำนองฆ้องนั้นมาเป็นทางของตน (เรื่องนี้ย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วในวงการของผู้สนใจดนตรีไทย) โบราณาจารย์ท่านได้กำหนดลักษณะวิธีการบรรเลงการแปรทำนองของเพลงประเภทต่าง ๆ ไว้แล้วอย่างครบครัน ควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จะยกตัวอย่างเพลงประเภทที่ได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ คือเพลงประเภทเพลงเถาหรือเพลงสามชั้น เพลงประเภทนี้ผู้บรรเลงสามารถดำเนินทำนองไว้ได้อย่างอิสระเสรีจะใช้สำนวนพลิกแพลง ยอกย้อนลูกสะบัดขยี้ หรือจะใส่อารมณ์ความรู้สึกของผู้บรรเลงไปในทำนองเพลงและกาลเทศะด้วย สิ่งที่ต้องระวังก็คือต้องระวังเสียงลูกตกให้ตรงกับเสียงลูกตกของลูกฆ้อง ( ใหญ่ ) เป็นสำคัญ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> ถ้าเป็นประเภทเพลงบังคับทาง หรือที่เรียกกันว่า ทางกรอ ทางหว่าน เช่น เพลงเขมรไทรโยคผู้บรรเลงเพลงอาจตกแต่งทำนองเพลงได้บ้างเล็กน้อย ต้องยึดทางฆ้องไว้เป็นสำคัญ ถ้าเป็นเพลงประเภทเพลงเรื่อง เช่น เรื่องเพลงพระฉัน ซึ่งเป็นประเภทเพลงโบราณ มีทำนองลูกฆ้องห่าง ๆ เป็นเพลงประเภทความคิดผู้บรรเลงมีโอกาสใช้ความสามารถทั้งในด้านความคิดและฝีมือที่มีอยู่ได้อย่างกว้างขวางและมีอิสระเต็มที่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงลูกตกของเสียงลูกฆ้อง เช่น ถ้าลูกฆ้องแตกเสียงสูงผู้ดำเนินทำนองอาจดำเนินทำนองไปตกที่ลูกฆ้องเสียงต่ำก็ได้ ( แต่ต้องเป็นคู่เสียงเดียวกัน) เพลงประเภทนี้ ถ้าเป็นระนาดเอกด้วยแล้ว ผู้บรรเลงต้องใช้ความคิดอย่างมาก เพราะต้องพยายามที่จะร้อยกลอนให้สัมผัสผูกพันกันเป็นลูกโซ่ ทั้งผู้ฟังก็ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องเพลงอยู่บ้างพอสมควรจึงจะฟังอย่างมองเห็นความคิดความสามารถของผู้บรรเลงได้ เพราะการบรรเลงประเภทนี้เป็นเพลงที่นักดนตรีเขาบรรเลงอวดฝีมือ อวดความคิดอวดความรู้กัน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า เพลงหน้าพาทย์นั้นแต่งเพื่อบทเฉพาะกาลเพื่อบูชาครูท่านผู้รจนาเพลงจึงบรรจงแต่งอย่างพิเศษ ได้เลือกเฟ้นท่วงทำนองเพลงที่ดีที่สุด ไพเราะที่สุด โอ่อ่าที่สุด เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์เป็นศิริมงคลทั้งแก่ตนและผู้ฟัง จึงเคารพว่าเป็นเพลงครูสำหรับวิธีการบรรเลงนั้นกำหนดให้ดำเนินทำนองโดยรักษาโครงสร้างของลูกฆ้องใหญ่เป็นสำคัญความสง่างามของเพลงอยู่ที่การวางแนวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลุกลน แต่ก้ไม่ช้าจนอืดอาดถ้าจะเปรียบให้เกิดมโนภาพจะเหมือนอยู่ในท้องพระโรงที่มีเสาต้นใหญ่ ๆ ตั้งเรียงรายมีระยะห่างเท่า ๆ กัน มีระเบียบ มั่นคง ทั้งโอ่อ่าและสวยงาม ผู้ที่จะบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ต้องตั้งสมาธิจัดให้แน่วแน่สำรวมกาย วาจา ใจ แล้วกำหนดกระแสแห่งความคารวะ ความสำรวมให้กระจายไปในท่วงทำนองของเพลง ไม่ว่าจะเป็นเสียงหรือสำนวนกลอนจะบ่งบอกถึงความเรียบร้อยนุ่มนวล แต่ทว่ามีพลังหนักแน่น และเต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งศัพท์ทางดนตรี เรียกว่า " ตีให้เรียบ " ท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง) ท่านใช้คำว่า " พื้น" ทางพื้นของท่านคือบรรเลงโดยรักษาท่วงทำนองให้เดินไปอย่างเรียบร้อย จะไม่มีสะบัด ขยี้ ฉลัดเฉวียน ฯลฯ เข้ามาสอดแทรกไม่ว่าจะเป็นแนวในการบรรเลงเสียงที่สื่อออกมา ต้องรักษาให้สม่ำเสมอตั้งแต่ต้นจนจบ ฉะนั้นในการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครู จึงไม่เป็นการบังควรที่จะใส่อารมณ์ส่วนตัวของผู้บรรเลง เช่น กระซิบกระซาบ เดี๋ยวค่อย เดี๋ยวดัง หรือสอดแทรกลุกสะบัด ขยี้ โครมครามแผลงอิทธิฤทธิ์ หรืออวดความมีน้ำอดน้ำทน (ปัจจุบันมักจะได้พบได้เห็นการบรรเลงเช่นนี้กันมาก เห็นได้ชัดในเพลงบาทสกุณี เพลงพราหมณ์เข้า และเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ)</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> การบรรเลงโดยรักษาโครงสร้างของเพลง คือการพยายามหาวิธีการดำเนินทำนองให้เห็นทำนองฆ้องเด่นชัด แต่ในขณะเดียวกันก็รักษาหน้าที่ของเครื่องดนตรีด้วย ยกตัวอย่าง ระนาดเอกตามลักษณะวิธีการบรรเลงกำหนดไว้ว่าต้องตีสองมือพร้อมกันเป็นคู่แปด มีหน้าที่แปรทำนองร้อยเป็นกลอนที่เรียกเป็นศัพท์สังคีตรู้จักกันทั่วไปว่า " ตีเก็บ " ฉะนั้นในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินทำนองตามลูกฆ้องได้ (เสียงที่ตีลูกระนาดซ้ำกัน คือ การรักษาเนื่องฆ้องตามศัพท์เรียกว่า กลอนสับ) เนื่องจากมีระยะห่างมากก็อนุโลมให้ดำเนินทำนองตีเก็บเป็นกลอนได้บ้าง เพื่ออาศัยเป็นสะพานเชื่อมโยงไปสู่เสียงตกของลูกฆ้อง มิใช่นำมือฆ้องมาบรรเลงเสียเลยอย่างที่ทำกันทุกวันนี้
    ด้วยเหตุที่เกรงว่าศิษย์รุ่นหลังจะปฏิบัติได้ไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ปรมาจารย์ทางดนตรีไทยท่านจึงได้กำหนดไว้ว่า " ผู้ที่จะต่อเพลงหน้าพาทย์สำคัญในพิธีไหว้ครู ต้องเป็นผู้ที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนาแล้ว หรือมิเช่นนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป " ข้อกำหนดนี้วิเคราะห์ได้ว่า เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเป็นผู้ใหญ่พอ มีสติ รู้ผิด รู้ถูก นั้นเอง
    อีกเพลงหนึ่งที่ยากจะขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้ คือเพลงสาธุการ ซึ่งเป็นเพลงที่บรรเลงเป็นพุทธบูชา เพื่อแสดงความคารวะต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้บรรเลงต้องปฏิบัติด้วยความสำรวมทั้งกาย วาจา ใจ ซึ่งสื่อออกมาให้สัมผัสได้ทางเสียงและสำนวนกลอนที่นุ่มนวลเรียบร้อย มีสง่าเป็นระเบียบเหมือนกันหมดทุกเครื่องมือ แต่ในปัจจุบันนี้เท่าที่สังเกตเห็น ดูเหมือนว่านักดนตรีจะพาลละเลย ขาดความสำรวมเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะเนื่องมากจากความไม่รู้เพราะเคยได้ยินได้เห็นมาอย่างนั้นก็เลยปฏิบัติตาม ๆ กันไป โดยไม่ทราบว่าถูกที่ควรนั้นเป็นอย่างไร จึงได้ถือแบบแผนทางดนตรีไทยที่ท่านปรมาจารย์ได้กำหนดไว้แล้วให้สืบทอดต่อไปสมตามเจตนารมณ์ของท่าน ทั้งยังจะเกิดศิริมงคลต่อตัวของผู้ปฏิบัติตนเข้าถึงหลักมงคลในพุทธศาสนาถึง 3 ข้อได้แก่
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD> ข้อหนึ่ง พาหุสัจจะ คือความใฝ่หาความรู้ ความเป็นผู้คงแก่เรียน ข้อสอง คือ ศิลปะ หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกถึงความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาและนำไปใช้ได้อยางถูกต้องสมควรแก่กาลเทศะ
    ข้อสาม คือ วินัย หมายถึงการบังคับตนให้อยู่ในระเบียบไม่แสดงออกนอกลู่นอกทาง( หลักธรรมเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ได้จากการสนทนาธรรมกับท่านเจ้าคุณพระเมธีวราลังการวัดชนะสงคราม เรื่องมงคล คือเหตุที่ทำให้เจริญก้าวหน้า)
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    ครูย่อมปรารถนาเห็นศิษย์เจริญก้าวหน้า จึงได้อบรมสั่งสอนศิษย์ ให้ทั้งวิชาการและแนวปฏิบัติตนล้วนแล้วแต่เป็นศิริมงคลจึงหวังว่า ศิษย์ทั้งหลายจะบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครูได้ไพเราะสมตามเจตนารมณ์ของท่านผู้รจนาเพลง เพื่อถวายเป็นเครื่องบูชาครู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://travel.sanook.com/bangkok/bangkok_06908.php


    16 มกราคม วันครู
    <SCRIPT language=JavaScript src="/global_js/global_function.js"></SCRIPT><!--START-->ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา

    ปญญาวุฑฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิห

    <DD>ครูนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากในการให้การศึกษาเรียนรู้ทั้งในด้านวิชาการและประสบการณ์ ตลอดจนเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันจะเป็นหนทางในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งการนำพาสังคมประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
    [​IMG]
    <DD>ด้วยเห็นความสำคัญของครูดังกล่าวมาแล้วนั้นจึงได้กำหนดให้มีวันครูขึ้นในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และให้ครูเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูในสังคม



    ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู


    <DD>ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครูและเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป
    <DD>ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
    <DD>วันครูได้จัดให้มีในครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครูจัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู




    การจัดงานวันครูในส่วนกลาง

    <DD>มีการจัดงานวันครูขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ปัจจุบันในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน พิธีจะเริ่มขึ้นในตอนเช้า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์ และประชาชนทั่วไปร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ หลังจากนั้นจึงเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา
    <DD>นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีกระทรวงศึกษากล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วมีพิธีบูชาบูรพจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ จากนั้นประธานจัดงานวันครูจะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ นำผู้ร่วมประชุมกล่าวปฎิญาน
    </DD>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.zabzaa.com/event/teacher.htm

    วันครู ประวัติวันครู ความเป็นมาวันครู ความหมายวันครู การจัดงานวันครู คำปฏิญาณตนของครู

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=775 bgColor=#edf6ff border=0><TBODY><TR><TD>ความหมาย</TD></TR><TR><TD background=../freebg/bg/b119.GIF bgColor=#ffffff>ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff></TD></TR><TR><TD>ความเป็นมา</TD></TR><TR><TD background=../freebg/bg/b150.GIF bgColor=#ffffff>วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ง่ำๆเข้าไม่ได้อีกล่ะ ไม่เป็นไรครับ
    ขอกราบ ระลึกถึงครูบาอาจารย์ทุกท่านที่สอนสั่งครับ...
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=1 width="95%" align=left border=0><TBODY><TR><TD style="WHITE-SPACE: nowrap" vAlign=top align=left width="1%">[วันนี้ 09:22 PM] MBNY: </TD><TD align=left width="100%">ขอแจ้งเตือนให้ระมัดระวัง </TD><TR><TD style="WHITE-SPACE: nowrap" vAlign=top align=left width="1%">[วันนี้ 09:23 PM] MBNY: </TD><TD align=left width="100%">สมาชิกที่เป็นผู้หญิงที่เว็บพลังจิต ส่วนใหญ่น่ารักนิสัยดี ใจบุญ และมองโลกในแง่ดี.. จึงน่าห่วงมากๆ ..ทางเว็บพลังจิต จะมีประกาศเรื่องจริงที่ขอให้ช่วยกันระมัดระวัง เรื่องการคบมิตร..เพราะมี บางกลุ่มที่เป็นมิจฉาทิฐิ คอยแอบอ้างอดีตชาติจีบสาว..พูดจาธรรมะ ดูน่าเชื่อถือ </TD><TR><TD style="WHITE-SPACE: nowrap" vAlign=top align=left width="1%">[วันนี้ 09:23 PM] MBNY: </TD><TD align=left width="100%">..เล่นมนต์เป่าให้เคลิ้มจิต..หลอกนัดไปเจอ..สอนสมาธิต่างๆ ...ขอได้โปรดเพื่อนสตรีจงระมัดระวังตัวนะคะ ได้โปรดอย่าไว้ใจใครง่ายๆ..เพราะว่ามีข่าวภัยแนวนี้เข้ามาแจ้งพอสมควร </TD><TR><TD style="WHITE-SPACE: nowrap" vAlign=top align=left width="1%">[วันนี้ 09:24 PM] MBNY: </TD><TD align=left width="100%">แต่ไม่เคยออกมาประกาศให้ทราบ.. และซักวันถ้าได้หลักฐานครบเมื่อไหร่ ทางเว็บมาสเตอร์จะออกมาประกาศนะคะ.</TD></TR></TBODY></TABLE>






















    .
    ******************************************
     
  19. drmetta

    drmetta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +752
    ผมเห็นด้วย กับการตั้ง "ชมรมพระแก้ววังหน้า และวังหลวง" นี้ขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำการค้นคว้าหาความถูกต้องขอประวัติ ของพระตระกูลนี้ และเผยแพร่ใประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบประวัติให้มากที่สุดเท่าที่ เรา ท่าน จักพึงกระทำได้ ผมขอร่วม เป็นสมาชิกด้วย โมทนาสาธุด้วยนะครับ
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมชอบการเรียนรู้ในลักษณะแบบคุณ kittipongc ครับ เพราะถือว่าใช้หลัก"ปัญญา และศรัทธา"ควบคู่กัน หากใช้ปัญญามากเกินไป ก็เกิดข้อสงสัยมาก และหากใช้ศรัทธามากๆ ก็ถูกหลอกชักจูงได้ง่าย หากได้ใช้ทั้ง ๒ ส่วนนี้ให้สมดุลกัน จะเปรียบดัง"ศาสตร์คู่ศิลป์" บางท่านใช้ศรัทธาก่อนปัญญา บางท่านก็ใช้ปัญญาก่อนศรัทธา แล้วแต่จริตของแต่ละคนที่บำเพ็ญมา ท้ายสุดก็ต้องใช้ทั้ง ๒ ส่วนนี้อยู่ดี ดังนั้นจึงขอชื่นชมความพยายาม และความตั้งใจครับ แม้บางครั้งอาจจะพบกับอารมณ์อันไม่ปรารถนาบ้างในบางความเห็น ก็ขอให้อภัยกับ"หัวหมู่ทะลวงฟัน"บ้างนะครับ ต่างก็ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข"วิธีการ"กัน เป้าหมายเปลี่ยนไม่ได้ แต่วิธีการสามารถปรับเปลี่ยนกันได้

    พูดคุยกันตรงจุดที่ผม highlight ไว้ครับ น่าจะครอบคลุมสาระทั้งหมดแล้ว ท่านอื่นช่วยด้วยนะครับ

    คุณได้ใช้ศรัทธานำปัญญา และสร้างให้สมดุลกัน เนื่องจากความศรัทธาในหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรนั้นมีมาก่อน แต่ข้อมูลในการขยายขอบเขตความรู้ข้อนี้ยังมีน้อยอยู่ ประจวบกับพบกระทู้พระวังหน้านี้ไปเกี่ยวโยงกับหลวงปู่ฯได้อย่างไร ก็ใช้ปัญญา และความพยายาม+ความตั้งใจอ่านไปก่อน โดยเก็บความสงสัยเอาไว้ก่อน ค่อยๆอ่านไปก็ได้พบข้อมูล คำตอบ และขณะเดียวกันก็พิจารณาเจตนาของกลุ่มคณะนี้ไปด้วยว่าทำเพื่อตนเอง หรือส่วนรวม จนเมื่อ"วาระ"มาถึง ก็พร้อมจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะนี้แล้วครับ โดยที่คุณเองก็ไม่ทราบว่าตัวคุณเองนั้นกำลังอยู่ในกระแสของโลกอุดรแล้ว..เป็นแบบธรรมชาติมากๆครับ เพราะขณะนี้คุณได้ใช้ศรัทธามากกว่าปัญญาแล้วนั่นเอง (ได้ผ่านการพิสูจน์ด้านปัญญามาแล้ว) และการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้าคืองานของพระธรรมฑูตในคณะของหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรนั่นเองครับ เหตุที่ผมบอกว่าขณะนี้คุณได้ใช้ศรัทธามากกว่าปัญญาแล้วนั้น ผมพิจารณาจาก highlight สีแดง ที่ผมป้ายๆเอาไว้ข้างต้น และปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆ ซึ่งต่อไปคุณจะทราบเองว่าพระพิมพ์ที่หลวงปู่ฯเสกนั้นมากมายอย่างไร และมีอะไรบ้าง จะทราบทั้ง"รูป และนาม"ไปพร้อมๆกัน พระที่เป็น"เณร"หากเราพบ เราก็มีวิธีการทำให้เป็น"พระ" และเก็บไว้ใช้เอง หรือจะบรรจุกรุ แต่ไม่มีให้บูชา หรือทำบุญครับ จะเสียความรู้สึก หากคนตั้งใจทำบุญ แล้วภายหลังนำพระเครื่องไปตรวจสอบที่อื่นแล้วมาทราบว่าเป็นเณรเครื่อง กำลังใจ หรือกำลังบุญจะไม่ครบ ๓ เหมือนเดิม คือ ทรัพย์ที่ทำได้มาด้วยความบริสุทธิ์(มองด้านผู้ทำบุญ)/พระที่มอบเป็นพระที่ถูกต้อง(มองด้านผู้บอกบุญ)-ผู้ทำมีเจตนาทั้งก่อน และหลังทำบุญนั้น-ผู้รับมีเจตนาทั้งก่อน และหลังบุญนั้น หลวงพ่อฤาษีฯท่านเคยสอนว่า บุญ คือกำลังใจ กำลังบุญ คือกำลังใจเต็ม ไม่เกี่ยวกับทำมาก หรือทำน้อย ขึ้นกับว่าใจขณะนั้นรู้สึกเต็มขนาดไหน...

    มาร่วมกันเรียนรู้-ทดสอบ-ประเมินผล-ปรับปรุง-ถ่ายทอด นะครับ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...