พุทธวจน : วิธีดับกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย เลขโนนสูง, 13 กรกฎาคม 2014.

  1. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825

    ครับ ต้องขออภัยด้วยนะครับที่มาตอบช้า


    เหตุผลที่ได้ตั้งกระทู้ขึ้นมา เนื่องมาจาก พุทธวนจน ดังจะได้อ่านนี้ครับ

    ภิกษุทั้งหลาย !
    กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ....

    คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น
    เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย !

    เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคล
    เจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด
    พร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย
    คือ ผัสสะ.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ)
    แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนา
    ในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิด
    เดรัจฉาน มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย
    มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่,
    กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย !
    นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่ง
    กรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
    ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
    หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบาก
    ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุทั้งหลาย !
    นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือ
    แห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย
    ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.

    ภิกษุทั้งหลาย !

    กัม ม นิโ ร ธ ค า มินีป ฏิป ท า
    (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค
    มีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา;
    ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
    สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
    สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
    สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
    สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
    สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
    สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
    สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
    รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้;
    อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่า
    เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า
    “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
    กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”
    ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
    ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.
     
  2. DELLTAFORCE

    DELLTAFORCE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +121

    ขอบคุณที่ช่วยหาบทขยายมาลงให้ครับ

    รายละเอียดที่เหลือ ก็แล้วแต่ผู้ปฏิบัติที่จะนำไปใช้
     

แชร์หน้านี้

Loading...