พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 17 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 16 คน ) </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อยู่คนเดียวครับตอนนี้

    คิคิคิ

    .
     
  2. dpongpun

    dpongpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2007
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +144
    เรียน คุณsithiphong
    ผมได้อ่านกระทู้นี้วันแรก มีถึง 681 หน้า
    ผมจะค่อยๆอ่าน ศึกษาไปเรื่อยๆ
    ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้วครับ..(good)
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://watpanya.com/board/forum_posts.asp?TID=916&PN=1

    โดย **วรรณ**

    ความมุ่งหมายของการฟังธรรม
    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)


    ความมุ่งหมายของการฟังธรรมนั้น มีอยู่ 5 ประการ คือ

    ฟังธรรมเอาบุญ
    ฟังธรรมเอาความรู้
    ฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย
    ฟังธรรมเพื่อปฏิบัติ
    ฟังธรรมเพื่ออุทิศส่วนบุญ

    1. ฟังธรรมเอาบุญ หมายความว่า ฟังธรรมแล้วได้บุญ บุญแปลว่า ชำระ คือ ชำระกายวาจาใจให้สะอาด เพราะกายวาจาใจของคนเราเปื้อนบาป จึงจำเป็นต้องชำระด้วยน้ำ คือ บุญ ดุจชำระเสื้อผ้าที่สกปรกด้วยผงซักฟอกฉะนั้น

    บาปนั้นมีอยู่ 3 ขั้น คือ บาปอย่างหยาบ 1 บาปอย่างกลาง 1 บาปอย่างละเอียด 1

    บาปอย่างหยาบ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ล่วงออกมาทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดประเวณี และล่วงออกมาทางวาจา เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เป็นต้น ต้องชำระด้วยบุญขั้นต้นคือ ศีล

    บาปอย่างกลาง คือ นิวรณ์ทั้ง 5 ได้แก่ กามฉันทะ พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ 1 พยาบาท ใจโกรธ ใจขุ่น 1 ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน 1 อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านรำคาญ 1 วิจิกิจฉา สงสัยลังเลใจ 1 บาปทั้ง 5 นี้ ต้องชำระด้วยบุญอย่างกลาง คือ สมาธิ

    บาปอย่างละเอียด คือ อนุสัย ได้แก่กิเลสที่นอนดองอยู่ในใจ ดุจขี้ตะกอนอยู่ก้นตุ่มฉะนั้น มีอยู่ 12 ตัว คือโลภะ 8 โทสะ 2 โมหะ 2 อันเป็นส่วนละเอียดติดมาแต่ภพก่อนชาติก่อน ต้องชำระด้วยบุญขั้นละเอียด คือ วิปัสสนาปัญญา

    ในขณะที่ท่านทั้งหลายกำลังฟังธรรมอยู่ในขณะนี้ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 ของแต่ละท่านก็บริสุทธิ์เพราะอำนาจแห่งศีล ศีลแปลว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อย ศีลนี่แหละเป็นบุญขั้นต้น เป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นแม่ของคุณงามความดีทั้งหลาย และเป็นประมุขของกุศลธรรมทั้งปวง จะฟังรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ตาม ถ้าตั้งใจฟังแล้วได้บุญทั้งนั้น

    เพราะจิตดวงนี้เป็นมหากุศล ถ้าตายลงในขณะนี้ก็มีผลให้ไปมนุษย์ก็ได้ ไปเกิดสวรรค์ก็ได้ เช่น แม่ไก่ฟังธรรมถูกฆ่าตาย ได้ไปเกิดเป็นพระราชธิดา กบฟังธรรมถูกฆ่าตายได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อว่า มัณฑูกเทพบุตร ค้างคาว 500 ตัว ฟังพระอภิธรรม ตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ ผลสุดท้ายได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ออกบวชเป็นพระ ได้ฟังพระอภิธรรม ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด อย่างนี้เรียกว่า ฟังเอาบุญ

    2. ฟังธรรมเอาความรู้ หมายความว่า ฟังแล้วต้องจำได้ ใครจำได้มากเท่าไร ก็เป็นความรู้ของคนนั้น ถ้าจำไม่ได้ต้องจดไว้ บันทึกไว้ หรืออัดใส่เทปไว้ เปิดฟังบ่อยๆ ฟังจนจำได้ สมดังคำโบราณท่านสอนลูกหลานไว้ว่า

    เห็นแล้วจดไว้
    ทำให้แม่นยำ
    เหมือนทราบแล้วจำ
    ไว้ได้ทั้งมวล
    เมื่อหลงลืมไป
    จักได้สอบสวน
    คงไม่แปรปรวน
    จากที่จดลง

    3. ฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย หมายความว่า ในขณะที่ฟังอยู่นั้น ได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง มีเสียงอื่นรบกวน ทำให้หนวกหูบ้าง ง่วงนอนบ้าง กำลังทำกิจอย่างอื่น เช่น ล้างถ้วยล้างชามบ้าง โขลกหมากบ้าง ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นบุญอยู่ ตัวอย่าง ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ งูเหลือมตัวหนึ่งได้ยินเสียงพระนักอภิธรรมกำลังท่องอายตนะกถาอยู่ ถือเอานิมิตในเสียงนั้น ตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระพุทธเจ้าของเราปรินิพพานแล้ว ได้มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ออกบวชเป็นอาชีวกชื่อว่า ชนะโสณะ ได้ฟังธรรมย่อๆในหัวข้อว่า "อายตนะ" จากพระอุปคุตตเถระ ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างแก่กล้า ขอบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา เรียนพระกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์

    4. ฟังธรรมเพื่อปฏิบัติ หมายความได้ 2 อย่าง คือ ฟังแล้วจำไว้ มีโอกาสเมื่อใดก็นำไปปฏิบัติได้เมื่อนั้น นี้อย่างหนึ่ง ถ้าเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนา สามารถฟังไปปฏิบัติไปพร้อมกันได้เลย เพราะในขณะที่ได้ยินเสียงพระแสดงธรรมอยู่นั้น ขันธ์ 5 เกิดแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาเกิดแล้ว คือเสียงกับหูเป็นรูปขันธ์ ได้ยินเสียงธรรมะแล้วสบายใจ เป็นเวทนาขันธ์ จำได้เป็นสัญญาขันธ์ แต่งให้เห็นว่าดีหรือไม่ดีเป็นสังขารขันธ์ ได้ยินเป็นวิญญาณขันธ์ ย่อให้สั้นๆก็ได้แก่รูปกับนาม รูปนามนี้แหละเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ดังนั้น นักปฏิบัติวิปัสสนาจึงลงมือปฏิบัติได้ทันที โดยตั้งสติไว้ที่หู ตัวอย่าง พาหิยะทารุจีริยะ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า "ได้ยินก็สักว่าแค่ได้ยิน" ไม่ช้าท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    5. ฟังธรรมเพื่ออุทิศส่วนบุญ หมายความว่า เราตั้งใจฟังธรรมได้บุญแล้ว ก็อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ บิดามารดา ครู อาจารย์ ท่านผู้มีบุญคุณ ท่านผู้มีพระคุณ



    พระธรรมเทศนา อริยธนกถา โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร 2524 อนุสรณ์....คุณหญิงเจือ นครราชเสนี

     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.watkoh.com/forum/printer_friendly_posts.asp?TID=963

    โพสต์โดย: **wan**
    วันที่โพสต์: 14 ธ.ค. 2007 เวลา 17:06

    แม่ไก่ฟังธรรม
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:

    จากหนังสือธรรมะของ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ท่านนำออกมาจากพระไตรปิฏกอีกทีหนึ่ง และชี้ให้เห็นว่าผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานไปเกิดอยู่ในพรหมโลกแล้ว เมื่อหมดบุญก็สามารถกลับมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้อีก

    มีเรื่องเล่าไว้ว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ มีแม่ไก่ตัวหนึ่งอยู่ในที่ใกล้อาสนะศาลา แม่ไก่ตัวนั้นได้ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุ ผู้เป็นนักปฏิบัติธรรมรูปหนึ่ง กำลังสาธยายเรื่องวิปัสสนากรรมฐานอยู่ ขณะนั้นเอง เหยี่ยวตัวหนึ่งบินมาโฉบเอาแม่ไก่ไปกินเสีย พอแม่ไก่ตัวนี้ตายไปในขณะที่ฟังธรรมอยู่ จึงได้เกิดมาเป็นพระราชธิดานามว่า อุพพรี และได้ออกบวชในสำนักของปริพาชิกาทั้งหลาย

    วันหนึ่งนางได้เข้าไปสู่ในเว็จกุฎี (ห้องส้วม) ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้วได้เจริญสมถกรรมฐานโดยเอาหนอนเป็นอารมณ์ เรียกว่า ปุฬุวกสัญญา ได้บรรลุปฐมฌาน เพราะสามารถฝึกสมาธิจนได้ฌาน

    ตายจากชาตินั้นจึงได้ไปเกิดในพรหมโลก อยู่บนนั้นเสียนาน ตายแล้วมาเกิดในตระกูลเศรษฐี จากนั้นก็ตายไปเกิดเป็นลูกนางสุกรในกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นกาลแห่งพระพุทธเจ้าของเรานี้ พระบรมศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นลูกนาง<?:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:pERSoNNAME w:st="on" ProductID="สุกรตัวนั้น จึงทรงแย้มพระโอษฐ์">สุกรตัวนั้น จึงทรงแย้มพระโอษฐ์</ST1:pERSoNNAME> พระอานนท์เถระจึงได้ทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสตอบข้อความนั้นทั้งหมด (คือเล่าตั้งแต่แม่ไก่มาถึงลูกนางสุกร)

    ภิกษุทั้งหลายมีพระอานนท์เป็นประมุขได้สดับเรื่องนั้นแล้ว ต่างพากันสังเวชสลดใจเป็นอันมาก พระศาสดายังความสังเวชสลดใจให้เกิดแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงประกาศโทษแห่งราคะตัณหา ทั้งๆ ที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนนนั่นเอง ท่านตรัสเป็นพระคาถาแปลเป็นใจความว่า
     
  6. ลัก...ยิ้ม

    ลัก...ยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3,409
    ค่าพลัง:
    +15,762
    <!-- / start content table --><!-- controls below postbits --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=smallfont>[​IMG]</TD><TD align=right>
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=3 border=0><TBODY><TR><TD class=vbmenu_control style="FONT-WEIGHT: normal">หน้าที่ 681 จากทั้งหมด 681 หน้า</TD><TD class=alt1>« แรก</TD><TD class=alt1><</TD><TD class=alt1><!---500-->181</TD><TD class=alt1><!---100-->581</TD><TD class=alt1><!---50-->631</TD><TD class=alt1>667</TD><TD class=alt1>668</TD><TD class=alt1>669</TD><TD class=alt1>670</TD><TD class=alt1>671</TD><TD class=alt1>672</TD><TD class=alt1>673</TD><TD class=alt1>674</TD><TD class=alt1>675</TD><TD class=alt1>676</TD><TD class=alt1>677</TD><TD class=alt1>678</TD><TD class=alt1>679</TD><TD class=alt1>680</TD><TD class=alt2>681</TD><TD class=vbmenu_control id=pagenav.401 title="" style="CURSOR: hand" state="false" unselectable="true">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ไอ้หยยา.....สงสัยต้องอ่านนนนนนนนนนนนนานเล๊ย ท่าน 12 กพ.นี้ไปรึป่าวค่ะ ไว้ว่าง ๆ จะเข้ามาแอบอ่านใหม่
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sati&month=05-2006&date=14&group=4&gblog=1



    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 17 พฤษภาคม 2549 15:44:30 น.-->อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมวด ๑



    <!--Main-->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]
    [SIZE=-1]<CENTER>หมวดที่ ๑ ครูบาอาจารย์</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]๑.๑ หลวงพ่อดำ หรือ หลวงพ่อในป่า[/SIZE]

    [SIZE=-1]หลังจากที่คิดจะสึกแล้วไม่ได้สึก จนได้ของดีจากหลวงพ่อเดิมติดตัวมา อยู่ต่อมาทราบว่า มีพระเก่งสามารถยืดเหรียญได้ ก็ดั้นต้นไปหาถึงขอนแก่น ให้ผู้ใหญ่บ้านแถวนั้นพาไปพบพระธุดงค์รูปหนึ่ง ซึ่งแขวนกลดอยู่ใต้ต้นไทร ไม่ทราบอายุอานามท่าน เพียงแต่คุณลุงผู้ใหญ่บ้านเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า ท่านเห็นหลวงพ่อในป่ามาปักกลดที่นี่ทุกปี ๆ ละครั้ง ครั้งละประมาณหนึ่งเดือนแล้วก็ไป ตั้งแต่คุณลุงผู้ใหญ่ยังเป็นเด็กแก้ผ้า จนถึงวันนี้ (วันที่เล่า) คุณลุงผู้ใหญ่ อายุแปดสิบกว่า หน้าตา ผิวพรรณของหลวงพ่อดำก็ยังเหมือนเดิม[/SIZE]

    [SIZE=-1]เมื่อหลวงพ่อจรัญได้ตอบคำถามหลวงพ่อในป่าแล้ว หลวงพ่อดำก็พูดต่อว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1147543208.jpg
      1147543208.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.1 KB
      เปิดดู:
      722
    • chodok.jpg
      chodok.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14.6 KB
      เปิดดู:
      26
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ๑.๔ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)

    หลวงพ่อได้มาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดมหาธาตุ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์ฯ ราวปี พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นเวลาหลายเดือน จนได้รับ ฟังเทศน์ลำดับญาณ และประสบการณ์ การสอบอารมณ์ นอกจากนั้น หลวงพ่อยังจดจำคำสอนมาเผยแผ่อีกหลายอย่าง อาทิเช่น

    ๑. บูชาวงศ์ตระกูล บูชาทรัพย์ บูชาชื่อเสียง บูชาความรัก
    ๒. พี่น้องอย่าทะเลาะกัน อย่าแย่งสมบัติกัน ต้องเคารพพ่อแม่ เคารพผู้ใหญ่ เคารพครูอุปัชฌาย์อาจารย์
    ๓. สามีภรรยาอย่าทะเลาะกัน บ้านไหน สามีภรรยาทะเลาะกัน บ้านนั้นเป็นบ้านอัปมงคล สร้างกุศลไม่ได้
    ๔. คุณหนูหมั่นจำ หมั่นจด สิ่งใดงามอย่าได้งด คุณหนูหมั่นจด หมั่นจำ
    ๕. สร้างความดีกันเถิด จะเกิดผล เป็นมหามงคลในชีวิต ด้วยการเจริญพระกรรมฐาน
    ๖. พวกที่มาบวชนะ ถ้าเขาไม่มีศรัทธาอย่าบวชให้นะ ถ้าเขามีศรัทธาบวชให้เลย
    ๗. นี่เจ้าคุณเอาตำราใช้ให้ถูกต้องนะ จะมีความรู้มากน้อยไม่สำคัญ ปฏิบัติและสอนตามที่รู้มาก็แล้วกัน
    ๘. เราทั้งหลายเจริญวัยชันษามาได้ เพราะพ่อแม่ชุบเลี้ยงเรามา เราได้รับ เรือน ๓ น้ำ ๔ ของพ่อแม่ มาทุกคน

    เรือน ๓ คือ
    เรือนครรภ์
    เรือนตัก ที่แม่อุ้มใส่ตัก และ
    เรือนที่อยู่อาศัย ที่พ่อแม่หาไว้ให้

    น้ำ ๔ คือ
    น้ำนม
    น้ำคำ ลูกจ๋าแม่ให้พร
    น้ำพักน้ำแรง ที่พ่อแม่หาเลี้ยงเรา และ
    น้ำใจ ที่ไม่มีอะไร เทียบได้เลย

    ๙. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของวัด และศาสนพิธี



    <CENTER>**********************************</CENTER>

    หมายเหตุ
    ในยุคแรก ๆ หลวงพ่อยังเกี่ยวข้องกับอิทธิปาฏิหาริย์ และก่อนจะข้ามพ้นจุดนี้มาได้นั้น หลวงพ่อท่านพบครูบาอาจารย์มากมาย เช่น
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก (หุงน้ำมันมนต์)
    หลวงพ่ออินทร์ (เข้าใจว่าคงเป็นวัดเกาะหงส์ นครสวรรค์ องค์นี้ผมรู้จัก ท่านเก่งเรื่องน้ำมันรักษากระดูก พี่สาวผมตกสะพานแขนหักก็ได้ท่านรักษา)
    หลวงพ่อเรือง (เข้าใจว่าคงเป็นพระอธิการเรือง วัดปากคลองบางคู้)
    หลวงพ่อจาด จังหวัดปราจีนบุรี
    หลวงพ่อลี วัดอโศการาม (เรียนวิชาสะเดาะกุญแจ)
    นอกจากนั้นท่านยังเอ่ยถึง
    หลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เรื่องเสกใบมะขามเป็นตัวต่อ (หลวงพ่อท่านเสกผ้าอาบเป็นกระต่ายวิ่งได้) ถ้าจำไม่ผิด กระจกวิเศษที่หลวงพ่อใช้ดู หมอดูให้กับญาติโยม ซึ่งญาติโยมสามารถมองเห็นได้ด้วยตาของตนเอง ก็เป็นของหลวงพ่อศุข (ตกทอดมาถึงหลวงพ่อจรัญ) แต่หลวงพ่อจรัญท่านโยนทิ้งลงสระน้ำหน้าวัดพรหมบุรีไปแล้ว ด้วยเหตุผล มีคนได้ คนเสีย
    ท่านเจ้าคุณอุบาลีสิริจันโท วัดบรมนิวาส เรื่องการฝากโรคภัยไข้เจ็บไว้ก่อน หลวงพ่อเองก็เคยเล่าไว้ เมื่อคราวท่านรับนิมนต์ไปเทศน์ที่ค่ายจิรประวัติ นครสวรรค์ ท่านอาพาธเมื่อถึงเวลานัด จำเป็นต้องไป (หลวงพ่อไม่เคยเสียสัจจะ) ท่านก็ฝากไข้ไว้
    ท่านครูบาศรีวิชัย เรื่องปืนยิงไม่ออก พลุยิงไม่ได้

    ทุกวันนี้ แม้เราท่านจะไม่ค่อยได้ยินได้ฟังเรื่องเหล่านี้ ก็มิได้หมายความว่า ท่านลืม เพียงแต่ท่านวางไว้ และจะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ก็ขนาดท่านเน้น เฉพาะกรรมฐาน และสอนญาติโยม คนก็ยังล้นวัดจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ถ้าไปเน้นเครื่องรางของขลังอีก วันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมงคงไม่พอ : ผู้รวบรวมหนังสือ


    หมายเหตุ :
    หนังสือ "อนุสาสนีปาฏิหาริย์" ตั้งแต่ หมวดที่ ๑ ถึง ๕
    บล็อกเดิมได้พิมพ์ลงไว้
    ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๘
    <!--End Main-->


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[SIZE=-1]Last Update : 17 พฤษภาคม 2549 15:44:30 น. [/SIZE]</TD><TD><TD>
    [SIZE=-1]0 comments[/SIZE] ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[SIZE=-1]Counter :<SCRIPT src="http://fastwebcounter.com/secure.php?s= bloggang134063 "></SCRIPT> 29 Pageviews. [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sati&month=05-2006&date=14&group=4&gblog=1
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-070518231411073

    มหากุศล 8 ประการ


    บุญ แปลว่า กุศล

    มหากุศล 8 ประการ นำสรรพสัตว์ไปเกิดในสวรรค์ 6 ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง
    มหากุศล แปลว่า บุญหลายอย่าง เช่น ให้ทาน ฟังธรรม เรียนธรรม เจริญกรรมฐาน ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างศาลาการเปรียญ สร้างพระพุทธรูป สร้างโต๊ะหมู่บูชา สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล สร้างกุฎี ขุดบ่อน้ำ ตักบาตร บูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน ของหอม เครื่องอาภรณ์ และบูชาด้วยปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ ยาแก้โรค เป็นต้น จนไม่สามารถจะนับได้ เรียกว่า มหากุศล ทั้งนั้น

    มหากุศล มี 8 ประการ คือ

    1. เวลาทำบุญมีความดีใจ ปรารถนาให้ได้มรรค ผล นิพพาน คิดทำบุญเอง ไม่มีใครมาชักชวนให้ทำ ผู้ที่ทำบุญเช่นนี้ ได้ผลดีมาก คือ ผลบุญนี้สามารถจะนำไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ นำไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์จะมั่งคั่งสมบูรณ์ ร่ำรวย ไม่อดไม่อยาก ไม่ทุกข์ไม่ยาก และมีปัญญามาก หากออกเจริญสมถกรรมฐาน ก็จะได้บรรลุฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น หากออกเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ในชาตินั้น

    2. เวลาทำบุญมีความดีใจ ปรารถนาให้ได้มรรค ผล นิพพาน ไม่ได้คิดทำบุญเอง มีผู้มีชักชวนจึงทำบุญ ผู้ที่ทำบุญเช่นนี้ได้ผลเป็นที่ 2 สามารถจะนำไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ นำไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์จะร่ำรวยมั่งมีศรีสุข และจะมีปัญญาดี แต่เป็นที่ 2 เพราะยังมีคนเก่งกว่าฉลาดกว่า หากออกเจริญสมถกรรมฐานก็จะได้บรรลุฌานในชาตินั้น หากออกเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ในชาตินั้น

    3. เวลาทำบุญมีใจเฉยๆ ปรารถนาให้ได้มรรค ผล นิพพาน คิดทำบุญเอง ไม่มีใครมาชักชวนให้ทำบุญ ผู้ที่ทำบุญเช่นนี้ได้ผลเป็นที่ 3 สามารถจะนำไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ นำไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์จะร่ำรวย มั่งคั่งสมบูรณ์ มั่งมีศรีสุข และจะมีสติปัญญาดีเป็นที่ 3 เพราะยังมีคนดีกว่า เก่งกว่า เฉียบแหลมกว่า หากออกเจริญสมถกรรมฐาน จะได้ฌาน หากออกเจริญวิปัสสนากรรมฐานจะได้มรรค ผล นิพพาน ในชาตินั้น

    4. เวลาทำบุญ มีใจเฉยๆ ปรารถนาให้ได้มรรค ผล นิพพาน มีผู้ชักชวนจึงทำบุญ ผู้ที่ทำบุญเช่นนี้ได้ผลเป็นที่ 4 สามารถนำไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์จะร่ำรวย มั่งคั่งสมบูรณ์ และมีสติปัญญาดี เป็นที่ 4 ถ้าออกเจริญสมถกรรมฐานจะได้ฌาน ถ้าออกเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะได้มรรค ผล นิพพาน ในชาตินั้น
    |
    5. ในเวลาทำบุญ มีความดีใจ ไม่ปรารถนามรรค ผล นิพพาน คิดทำบุญเอง ไม่มีใครมาชักชวนให้ทำบุญ ผู้ที่ทำบุญเช่นนี้ ขาดปัญญา ได้ผลเป็นที่ 5 สามารถจะนำไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์จะร่ำรวย มั่งมีศรีสุข แต่ขาดปัญญา คือ ไม่มีปัญญาที่จะได้ฌาน ได้มรรค ผล นิพพาน หมายความว่า ถ้าออกเจริญสมถกรรมฐานก็จะไม่ได้ฌาน ถ้าออกเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ในชาตินั้น แต่จะเป็นปัจจัยให้ได้ฌาน ให้ได้มรรค ผล นิพพานในชาติต่อไปได้

    6. เวลาทำบุญ มีความดีใจ ไม่ปรารถนามรรค ผล นิพพาน มีผู้ชักชวนจึงทำบุญ ผู้ที่ทำบุญเช่นนี้ ขาดปัญญา ได้ผลเป็นที่ 6 สามารถจะไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ก็จะร่ำรวย มั่งคั่งสมบูรณ์ มั่งมีศรีสุข แต่ขาดปัญญา คือ ไม่มีปัญญาที่จะให้ได้ฌาน ได้มรรค ผล นิพพาน ในชาตินั้น แต่จะเป็นปัจจัยให้ได้มรรค ผล นิพพานหรือได้ฌานในชาติต่อๆไป

    7. เวลาทำบุญ มีใจเฉยๆ ไม่ปรารถนามรรค ผล นิพพาน ทำบุญเอง ไม่มีใครมาชักชวนให้ทำบุญ ผู้ที่ทำบุญเช่นนี้ได้ผลเป็นที่ 7 ขาดปัญญา แต่สามารถนำไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็ได้ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะร่ำรวย มั่งมีศรีสุข แต่ไม่มีปัญญาพอที่จะได้บรรลุฌาน ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานในชาตินั้น แต่จะเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุฌาน มรรค ผล นิพพานในชาติต่อๆไป

    8. เวลาทำบุญ มีใจเฉยๆ ไม่ปรารถนานิพพาน มีผู้ชักชวนจึงทำบุญ ผู้ที่ทำบุญเช่นนี้ได้ผลเป็นที่ 8 สามารถนำไปเกิดในสวรรค์เป็นเทวดาก็ได้ เป็นมนุษย์ก็ได้ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะมั่งมีศรีสุข ร่ำรวย ไม่อดไม่อยาก ไม่ทุกข์ไม่ยาก แต่ขาดปัญญาที่จะนำพาให้ได้ฌาน ให้ได้มรรค ผล นิพพาน ในชาตินั้น แต่เป็นปัจจัยในภพต่อๆไปได้

    จาก หนังสือ ทาง 7 สาย โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.9)
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.geocities.com/easydharma/dm005022.html


    พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์ - พระศรีอาริย์ (พระศรีอริยเมตไตรย)


    <CENTER>+ + + + + + + + + +</CENTER>

    พระพุทธเจ้า - พุทธวงศ์
    (คำแปล มาจากบทสวดมนต์ "อุปปาตะสันติ")
    ในภัททกัปป์นี้ ๕ พระองค์ (ผ่านไปแล้ว ๓ พระองค์) คือ
    ๑.พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ทรงมีพระวรกายสูง สี่สิบศอก พระรัศมีจากพระวรกายแผ่ซ่านไปสิบสองโยชน์ ทรงมี พระชนมายุสี่หมื่นปี
    ๒.พระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระวรกายสูงสามสิบศอก ทรงมีพระชนมายุสามหมื่นปี
    ๓.พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ทรงมีพระรัศมี ทรงมี พระวรกายสูงยี่สิบศอก ทรงมีพระชนมายุสองหมื่นปี
    ๔.พระพุทธเจ้าของเรา พระโคตมะ ทรงมีพระวรกายสูงสิบแปดศอก (ในพุทธวงศ์บาลีทรงแสดงไว้ว่า ทรงมีพระวรกายสูง ๑๖ ศอก)
    ๕.พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เมตเตยยะ ทรงมีฤทธิ์มาก
    (ข้อความต่อจากนี้ คัดจากหนังสือรู้สึกจะชื่อ "พระมาลัยโปรดสัตว์" โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ์ ป.ธ. ๙)
    ___________________________________

    ครั้งเมื่อพระมาลัยเทวเถระผู้มีบุญญาธิการมาก มีปรีชาญาณ เฉลียวฉลาดหลักแหลมมาก มียศมาก มีจิตสงบระงับจากราคาทิ กิเลสเป็นสมุทเฉทประหารปรากฏด้วยอิทธิฤทธิศักดาเดช ได้เสด็จ ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและสนทนา ธรรมกับเทพยดาผู้จะทรงมาตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ในอนาคตกาลซึ่ง ณ บัดนี้ทรงเสวยสุขสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต วันนั้นทรงเสด็จลงมาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อถวายความเคารพ พระบรมธาตุที่ประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ ในวันปัณณรสี อุโบสถ หลังจากได้สนทนาอยู่นานสมควรแก่เวลา ก่อนจบพระ มาลัยเทวเถระจึงกราบถามคำถามสุดท้าย ดังนี้
    "สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ขอถวายพระพร อาตมภาพได้สั่งสนทนา กับมหาบพิตรมาก็เป็นเวลาอันนานพอสมควรแล้ว มหาบพิตร ประสงค์จะฝากหลักธรรมคำสั่งสอนอันเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ซึ่งเป็น ประโยชน์เกื้อกูลอันยิ่งใหญ่ไพศาล แก่มหาชนชาวชมพูทวีป ก็ ขอถวายพระพร ณ โอกาสบัดนี้"
    "ภันเต ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพระคุณเจ้ากลับลงไปสู่ มนุสสโลกแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้โปรดบอกแก่มหาชนชาว ชมพูทวีป (หมายถึงโลก- deedi) ด้วยว่า ถ้ามหาชนชาวชมพู ทวีปอยากจะพบโยม พบศาสนาของโยม ขอให้พากันปฏิบัติ อย่างนี้
    ๑.อย่าพากันทำปัญจเวรทั้ง ๕ ประการ คือ ปาณาติปาตา เวรมณี ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่ มีชีวิตให้ตกล่วงไป
    อทินนาทานา เวรมณี ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้โดยอาการแห่งขโมย กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี ให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม มุสาวาทา เวรมณี ให้งดเว้นการการพูดปด คือไม่ เจรจาล่อลวงโกหกผู้อื่น
    สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี ให้งดเว้นจาก การดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท สรุปใจความแล้ว ก็ได้แก่ให้พากันตั้งอยู่ในศีล ๕ ให้พากัน รักษาศีล ๕ ให้เคร่งครัด เพราะศีล ๕ นี้เป็นมนุษยธรรม เป็นธรรมะที่ทำให้คนเป็นคน ให้ดีกว่าคน ให้เด่นกว่าคน ให้เลิศกว่าคน ให้ประเสริฐกว่าคน นิยมเรียกว่า "อริยธรรม" แปลว่า ธรรมะที่ประเสริฐ ธรรมะของพระอริยเจ้า

    ๒.ให้พากันสมาทานอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ

    ๓.ให้งดเว้นเด็ดขาดจากอนันตริยกรรมทั้ง ๕ (ไม่ฆ่าพ่อ ไม่ฆ่าแม่ ไม่ทำร้ายพระอรหันต์ ไม่ทำร้ายพระพุทธเจ้า ไม่ทำให้สงฆ์แตกกัน - deedi)

    ๔.ให้พากันก่อสร้างกองการกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา อย่าให้ขาด อย่าได้ประมาท

    ๕.ให้ยึดมั่นอยู่ในกตเวทิตาธรรม

    ถ้ามหาชนชาวชมพูทวีปพากันประพฤติปฏิบัติได้ดังนี้ ก็จะได้ประสบพบกับโยมเป็นแน่ๆ เมื่อโยมได้ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมดังความปรารถนา ยถากถิตัง ขอพระคุณเจ้าจงบอกเล่าประพฤติเหตุแก่ มหาชนชาวชมพูทวีปตามถ้อยคำของโยมสั่งจงทุกประการเถิด"

    ****************************

    ครั้งเมื่อพระมาลัยเทวเถระผู้มีบุญญาธิการมาก มีปรีชาญาณ เฉลียวฉลาดหลักแหลมมาก มียศมาก มีจิตสงบระงับจากราคาทิ กิเลสเป็นสมุทเฉทประหารปรากฏด้วยอิทธิฤทธิศักดาเดช ได้เสด็จ ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและสนทนา ธรรมกับเทพยดาผู้จะทรงมาตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้า ในอนาคตกาลซึ่ง ณ บัดนี้ทรงเสวยสุขสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต วันนั้นทรงเสด็จลงมาสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อถวายความเคารพ พระบรมธาตุที่ประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ ในวันปัณณรสี อุโบสถ พระมาลัยเทวเถระได้กราบทูลถามดังนี้
    "ดูกรมหาบพิตร สำหรับมหาบพิตร ทั้งเทวดาและมนุษย์ย่อม พากันเรียกว่า พระโพธิสัตว์ทั้งนั้น อาตมภาพสงสัยว่า พระโพธิสัตว์นั้น มีอยู่กี่จำพวกมหาบพิตร"
    "มีอยู่ ๓ จำพวกเท่านั้น พระคุณเจ้าผู้เจริญ นั้นคือ
    ๑.ปัญญาธิกโพธิสัตว์
    ๒.สัทธาธิกโพธิสัตว์
    ๓.วิริยาธิกโพธิสัตว์

    ปัญญาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยปัญญา อธิบายว่ามี ปัญญายิ่งกว่าคุณธรรมอย่างอื่นทั้งสิ้น ส่วนคุณธรรมอย่างอื่น เช่น สัทธา หรือวิริยะเป็นต้นก็มีอยู่พร้อมแต่น้อยกว่า หรืออ่อน กว่าปัญญา

    สัทธาธิกะ แปลว่า ยิ่งด้วยศรัทธา คือมีศรัทธาแก่ กล้าแข็งกว่าคุณธรรมอย่างอื่นๆ เช่น ปัญญา หรือ วิริยะ ก็มี อยู่พร้อมมูล แต่อ่อนกว่าหรือน้อยกว่าศรัทธา

    วิริยาธิกะ แปลว่า ผู้ยิ่งด้วยวิริยะ คือ ยิ่งด้วยความ เพียร ความกล้าหาญ พระโพธิสัตว์ประเภทนี้มีวิริยะมากกว่า หรือ เข้มแข็งกว่าคุณธรรมหรือคุณสมบัติอย่างอื่นทั้งหมด ส่วนคุณสมบัติอย่างอื่นๆ เช่น ปัญญาและสัทธาก็มีอยู่แต่ น้อยกว่า หรืออ่อนกว่าฯ หมายความต่างกันอย่างนี้แหละ พระคุณเจ้าผู้เจริญฯ"

    "พระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกนี้ จะได้ตรัสรู้หมดทุกจำพวกไหม มหาบพิตร"
    "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ไม่ได้ ต้องย่น ๓ ลงเป็น ๒ ก่อนคือ
    เป็นนิยตะ แปลว่า แน่ ๑ เป็น อนิยตะ แปลว่า ไม่แน่ ๑
    พระโพธิสัตว์ทั้ง ๓ ประเภทนั้น ถ้าได้รับพยากรณ์แล้วเรียกว่า นิยตโพธิสัตว์ แปลว่า แน่ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ถ้า ไม่ได้รับพยากรณ์คือคำยืนยันหรือรับรองจากพระพุทธเจ้าว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าเรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์ เพราะยังไม่แน่ ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ อาจกลับกลายเป็นพระปัจเจก หรือเป็นพระสาวกไปก็ได้ ขอพระคุณเจ้าจงเข้าพระทัยโดยนัย ดังโยมได้วิสัชนาถวายมานี้"
    "ต่อเมื่อไรเล่าจึงจะได้พยากรณ์ มหาบพิตร"
    "ต่อเมื่อพร้อมด้วยธรรมสโมธาน ๘ ประการ จึงจะได้รับ พยากรณ์ พระคุณเจ้า ธรรมสโมธาน แปลว่า ธรรมที่ ประชุมกัน หรือ ธรรมที่รวมกัน คือประชุมกัน ครบองค์ หรือ รวมกันครบองค์ ถ้าถือตามคำแปลหรือคำ อธิบายนี้ต้องเห็นว่าเป็นกลางๆ ไม่จำกัดธรรมชนิดไร และไม่ จำกัดองค์เท่าไร โดยเหตุนี้ท่านจึงจำกัดลงไปเพื่อตัดความ เห็นต่างๆ เสีย คือมีหลักธรรมอยู่ว่า ผู้จะได้รับตัดสินหรือ ชี้ขาดจากผู้อื่นว่า จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องมีอะไร สักอย่างหรือหลายอย่างเป็นเครื่องวินิจฉัย ต้องมีองค์คุณ ๘ เต็มที่ไม่ขาดวิ่นแม้แต่ข้อเดียว
    ธรรมสโมธาน ๘ ประการนั้น คือ
    ๑.มนุสสัตตัง
    ต้องเป็นมนุษย์ เป็นอย่างอื่นไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๒.สิงคสัมปัตติ
    ต้องสมบูรณ์ด้วยเพศ คือเป็นบุรุษ
    พร้อมทุกส่วน จะเป็นเพศหญิง หรือบุรุษที่ไม่สมประกอบ เช่น เป็นกะเทย หรือเป็นคน ๒ เพศ ไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๓.เหตุ
    ต้องมีอุปนิสัยสามารถสำเร็จพระอรหันต์ ได้ เช่น สุเมธดาบส (พระพุทธเจ้าของเราปัจจุบัน- deedi) เป็นตัวอย่าง คือถ้าต้องการเป็นพระอรหันต์เมื่อใด ก็เป็นได้ เมื่อนั้น
    ๔.สัตถารทัสสน
    ต้องได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใด องค์หนึ่ง และได้ทำความดีถวายแด่พระพุทธเจ้าองค์นั้น เช่น สุเมธดาบส ที่ได้ทอดตัวอย่างสะพานถวายแด่พระทีปังกร พุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง
    ๕.ปัพพัชชา
    ต้องเป็นบรรพชิตประเภทใดๆ ก็ตาม แต่ให้เป็นประเภทถือถูก จะเป็นดาบสหรือปริพพาชิกก็ได้ ไม่ขัดกับข้อนี้
    ๖.คุณสัมปัตติ
    ต้องสมบูรณ์ด้วยคุณ คือ อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘
    ๗.อธิกาโร
    ต้องได้ทำความดียิ่ง คือได้ให้ชีวิตและ ลูกเมียเป็นทาน โดยเจตนาหวังโพธิญาณมาแล้ว
    ๘.ฉันทตา
    ต้องมีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการ เป็นพระพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ คือ ไม่ต้องการสิ่งอื่น และถึงจะ ต้องทนเหนื่อยยากลำบากเท่าไร ในการที่จะต้องสร้างบารมี อยู่นานก็ตาม เป็นไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเปลี่ยนความคิดไป ทางอื่นเป็นอันขาด
    เมื่อองค์คุณเหล่านี้ครบทั้ง ๘ ในชาติใดแล้ว ชาตินั้นแหละจึง ได้รับพยากรณ์ว่า เป็นนิตยโพธิสัตว์คือเป็นผู้แน่ที่จะได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า

    รวมองค์ ๘ หรือ ธรรมสโมทาน ๘
    มนุสสัตตัง สิงคสัมปัตติ เหตุ สัตถารทัสสนัง ปัพพัชชา คุณสัมปัตติ อธิกาโร ฉันทตา
    ๑.ต้องเป็นมนุษย์ เป็นอย่างอื่นไม่นับเข้าในข้อนี้
    ๒.สมบูรณ์ด้วยเพศ คือเป็นบุรุษพร้อมทุกส่วน
    ๓.ต้องมีอุปนิสัยสำเร็จพระอรหันต์ได้
    ๔.ต้องได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
    ๕.ต้องเป็นบรรพชิตประเภทที่ถือถูก
    ๖.ต้องสมบูรณ์ด้วยคุณคืออภิญญา-สมาบัติ
    ๗.ต้องได้ทำความดียิ่งเช่นได้ให้ชีวิต ลูกเมียเป็นทานเป็นต้น
    ๘.ต้องมีความพอใจอย่างแรงกล้าอย่างเต็มที่ในการเป็น พระพุทธเจ้า
    ธรรมสโมธาน ๘ ประการ มีอรรถาธิบายเป็นอย่างนี้แหละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ" ****************************
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.geocities.com/easydharma/dm005022.html


    พระศรีอริยเมตไตรย
    (ความต่อจากข้างบนที่เล่ากันถึงเรื่องพระมาลัยเถระผู้ทรงเป็น พระอรหันต์ ขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและ สนทนาธรรมกับเทพบุตรผู้ต่อไปจะลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า นามว่า พระศรีอริยเมตไตรย ขณะนี้ทรงสถิตย์อยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต แต่เสด็จ ลงมากราบพระจุฬามณีเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นนี้ ความต่อไปนี้เป็นการ สนทนากันระหว่างพระมาลัยเถรเจ้ากับพระศรีอาริยเมตไตรย)

    ********************************************

    สาธุ สาธุ ดีแล้วๆ มหาบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เมื่อไรพระองค์ จึงจะเสด็จลงไปบังเกิดในมนุสสโลก โปรดเวไนยสัตว์ ตรัสเป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเล่า มหาบพิตร
    ภันเต ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ในเมื่อครบถ้วน ๕๐๐๐ พระวรรษา สิ้นศาสนาแห่งพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลใด ในกาลนั้นหมู่สัตว์ ทั้งหลายก็จะพากันมืดมนนัก ไม่รู้จักทำบุญทำกุศล มีแต่จะพากันทำบาป หยาบช้าทารุณ หาหิริโอตตัปปะมิได้ ดุจหนึ่งว่าไก่ แพะ แกะและสุนัข ทั้งหลาย ลูกกับแม่ก็จะอยู่กินเป็นสามีภรรยากัน พี่สาวน้องชาย พี่ชาย น้องหญิง ตลอดถึงพี่ป้าน้าอาว์ ลุงกับหลานต่างก็พากันสมัครสังวาสอยู่ ด้วยกัน กิเลส คือโลภะ โทสะ โมหะ ของหมู่สรรพสัตว์ก็จะหนาแน่นขึ้น ทุกเวลา อายุก็จะน้อยถอยลงไปตราบเท่าอายุไขย์ได้ ๑๐ ปี แม้ทารกมี อายุเพียง ๕ ปีก็จะทำการวิวาหะอยู่กินด้วยกัน ในกาลนั้นคนทั้งหลาย เห็นกันก็จะสำคัญว่าเป็นเนื้อเป็นปลา จับสิ่งใดได้เป็นต้นว่า กิ่งไม้ก็กลาย เป็นศาสตราวุธ ครั้นแล้วต่างก็จะไล่ฆ่าฟันทิ่มแทงกันและกัน ให้ถึงแก่ ความตายสุดที่จะประมาณได้ ฝ่ายชนทั้งหลาย ผู้มีบุญวาสนา มีปัญญา ครั้นทราบเหตุการณ์ว่า ถึงคืนนั้น วันนั้นจะเกิดฆ่าฟันกันวุ่นวายเป็นหนัก หนา ก็พากันหนีไปซุกซ่อนอยู่ตามซอกห้วยและภูเขาตามเหว ตามถ้ำ แต่ผู้เดียว เมื่อคนทั้งหลายฆ่าฟันกันล้มตามภายใน ๘ วันแล้ว ผู้มีบุญ วาสนาก็ออกจากที่ซ่อนเร้นเมื่อเห็นกันพบกัน ต่างก็สวมกอดซึ่งกันและกัน สมัครสมานปรึกษากันว่า มาริสา ดูกรชาวเราทั้งหลายเอ๋ย ความพินาศ เกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นเหตุด้วยคนทั้งหลายมัวเมาประมาท ประกอบแต่ กรรมอันหยาบช้า หาเมตตาปราณีต่อกันมิได้
    อิโต ปัฏฐายะ จำเดิมแต่นี้ไป ชาวเราทั้งหลายจงหมั่นประกอบการกุศล งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม กล่าวมุสาวาท ดื่ม สุราเมรัย และงดเว้นจากอภิชฌา-พยาบาท-มิจฉาทิฏฐิเถิด เมื่อปรึกษา กัน ฉะนี้แล้ว ต่างก็ตั้งหน้าอุตส่าห์บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตา ภาวนา เมื่อคนเหล่านั้นมีลูก ลูกก็มีอายุยืนไป ๒๐ ปี หลานอายุยืนขึ้นไป ๓๐ ปี เหลนอายุยืนขึ้นไป ๔๐ ปี โดยนัยนี้ เจริญขึ้นไปจนตราบเท่าถึง อสงไขยหนึ่ง กาลครั้งนั้น ความไข้ ความตายดูเหมือนจะไม่ปรากฏแก่ สัตว์ทั้งหลาย ต่อแต่นั้น คนทั้งหลายก็เกิดความประมาท เมื่อเกิดความ ประมาทแล้ว อายุก็พลันน้อยถอยลงมาตั้งอยู่ ๘ หมื่นปี สมัยนั้น ฝนตกทุกกึ่งเดือน ถึง ๑๕ วัน ตกคราวหนึ่ง เมื่อจะตกก็ตกในมัชฌิมยาม ยังพื้นแผ่นดินให้ชุ่มชื่นน่ารื่นรมย์ ประชาชนต่างก็พากันมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำใหญ่ไหลขึ้นทางฟากหนึ่ง ไหลลงทางฟากหนึ่ง มีน้ำอันเต็มเปี่ยม เสมอฝั่งตั้งอยู่เป็นนิตยกาล บรรดาพฤกษาชาติใหญ่น้อยก็ผลิดอกออกผล ตามฤดูกาลเสมอเป็นนิรันดร์ ทั้งบ้านเรือนนิคมนั้นก็มิไกลกัน ตั้งอยู่เพียง ระยะไก่บินถึง อันตรายซึ่งจะกวน เช่น โจรผู้ร้ายก็ไม่มี สมบูรณ์พูลสุข เป็นอย่างดีด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดทั้งแก้วแหวนเงินทอง สามี และภรรยาต่างก็ประคับประคองทนุถนอมน้ำใจกัน มิได้ทะเลาะวิวาท ทำร้ายกันเลย หญิงชายทั้งหลาย ต่างก็จะพากันเสวยโภคสมบัติอัน เป็นทิพย์ ไม่ต้องทำสวน ทำไร่ ทำนา ค้าขาย หญิงทั้งหลายมิต้องทอหูก ปั่นฝ้าย จะนุ่งห่มผ้าผ่อนสะไปแต่ล้วนเป็นของทิพย์ เหล่าเสนาราชอำมาตย์ ก็ย่อมตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมประเพณี มิได้เบียดเบียนบีฑาประชาราษฎร์ ให้เดือดร้อน มีความเอ็นดูกรุณาเป็นอย่างดี สัตว์ทั้งหลาย เช่น กากับนกเค้า แมวกับหนู งูกับพังพอน เสือกับเนื้อต่างก็มีไมตรีจิตสนิทสนมมิได้ประทุษร้าย กัน คนในยุคนั้นแต่ล้วนตั้งอยู่ในศีลธรรม เลี้ยงชนม์ชีพด้วยอาหารอันเป็น ทิพย์ มั่งมีศรีสุขสนุกสำราญ พื้นแผ่นดินก็ราบเรียบดูจหนึ่งหน้ากลองชัยเภรี ปราศจากตอเสี้ยนหนามอันจะทำให้เป็นบาดแผลและคนทั้งหลายก็จะ งดงามสะอาด คนวิกล วิกาล ใบ้บ้า บอด หนวก เสียขา หรือเตี้ยค่อม ชนิดใดชนิดหนึ่งมิได้มี เมื่อชนทั้งหลายแลเห็นกันแล้วก็มีแต่ความเมตตา ปราณีรักใคร่กัน พลันแต่ประสบสุข นิราศทุกข์ นิราศโรค นิราศโศก นิราศภัย
    ภันเต ข้าแต่พระมาลัยผู้เจริญ ในยุคนั้นนั่นแล โยมจักไปอุบัติบังเกิดใน มนุสสโลก ตรัสเป็นองค์พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วและเทศน์ โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย คนสมัยนั้น ก็ล้วนแต่พื้นมีสันโดษ ชายจะพอใจ อยู่แต่ในภรรยาของตน มิได้ร่วมประเวณีหญิงซึ่งเป็นภรรยาของคนอื่น แม้ฝ่ายหญิงเล่าก็มิได้เอาใจออกห่างจากสามีของตน คนทุกคนล้วนแต่ ประสบสุขสำราญ มิต้องประกอบการอาชีพ เช่น ทำนา ทำสวน เมื่อ บริโภคของอันเป็นทิพย์แล้ว ก็มีแต่จะนั่งนอนเล่น ฟังเสียงทิพยดนตรี ตามความปรารถนาของตน กษัตริย์ พราหมณ์ เศรษฐี คฤหบดี ไพร่กุดุมพี นั้นมิได้มี แต่ล้วนมีทรัพย์สินเสมอเหมือนกัน อันจะหาคนเข็ญใจยากไร้ นั้นมิได้มี การวิวาทกันด้วยแย่งชิงที่บ้านเรือน เรือกสวน ไร่นา และทาส ทาษี และสัตว์ ช้าง ม้า โค กระบือ ของกันและกันนั้นย่อมไม่มี ครั้งนั้น พืชข้าวสาลีแม้แต่เมล็ดเดียว ถ้าตกลงบนแผ่นดินแล้ว ก็จะงอกขึ้นแตก ออกไปได้ร้อยส่วนพันส่วนทวีคูณขึ้นไปทีเดียวละพระคุณท่านผู้เจริญ

    ********************************************
    ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภาร ศาสนาของพระองค์ หาคนเป็นใบ้บ้า เป็นต้นมิได้นั้น เป็นเพราะเหตุผลแห่งอะไร ขอถวายพระพร
    ศาสนาของโยมหาคนใบ้บ้ามิได้นั้น เป็นเพราะเหตุที่โยมมิได้เจรจามุสา ล่อลวงคนทั้งหลายฯ หาคนตาบอดมิได้นั้น เป็นเพราะเหตุที่โยมเหลียว แลดูสมณะพราหมณาจารย์ ผู้มีศีลมีสัตย์ทั้งปวงด้วยตาอันเป็นที่รักฯ หาคนเตี้ยค่อมิได้นั้น ด้วยเหตุที่โยมทำกายให้ตรง คือว่าประพฤติสุจริต รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนาฯ หาคนเป็นโรคภัยไข้เจ็บมิได้ เพราะเหตุที่ โยมให้ยาเป็นทาน และช่วยกันบรรเทาทุกข์ภัยของสัตว์ทั้งปวงฯ คนใน ศาสนาของโยมมีความสุขสบายดีเสมอกันนั้น ด้วยว่าโยมให้ข้าวน้ำ ผ้าผ่อนท่อนสะไบ เรือแพนาวา ของหอม เป็นทานฯ ศาสนาของโยมไม่มี มารมาผจญ ด้วยเหตุที่โยมมิได้ทำสัตว์ให้สดุ้งตกใจกลัวฯ คนในศาสนา ของโยมล้วนแต่มีรูปร่างงามๆ นั้น เป็นผลที่โยมให้ของรักเป็นทานแก่ สมณพราหมณาจารย์และยาจกวณิพกคนกำพร้าอนาถาฯ คนในศาสนา ของโยมนั้น ได้ไปสวรรค์ทั้งสิ้น คือได้ไปหมดทุกคน ด้วยเหตุที่โยมให้ช้าง ม้า ราชรถ ยวดยาน คานหาม เป็นทานฯ ศาสนาของโยม มีพื้นแผ่นดิน เรียบราบเสมอกันนั้น เป็นผลที่โยมแผ่เมตตาจิตไปในสัตว์ทั้งหลาย เสมอหน้ากันฯ คนในศาสนาของโยมที่มั่งคั่งสมบูรณ์มีความสุขร่าเริงนั้น เป็นด้วยเหตุที่โยมยังจิตยาจก ให้ชุ่มชื่นด้วยทรัพย์สิ่งของเงินทองตามความ ปรารถนาตามชอบใจ ขอท่านอรหันตมาลัยจงเข้าพระทัยโดยนัยดังที่โยม ได้เล่าถวายมานี้เถิดฯ

    ********************************************
    ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภารพระองค์ มหาบพิตรทรงบำเพ็ญบารมีมา กี่อสงไขย์และจะลงไปเกิดในตระกูลไหน พระชนกชนนี สาวกสาวิกา ตลอดจนไม้ที่จะได้ไปตรัสรู้ชื่อว่าอย่างไร ขอจงได้กรุณาบอกไป ณ บัดนี้เถิด ขอถวายพระพร
    ข้าแต่พระคุณเจ้าอรหันตมาลัย โยมได้บำเพ็ญบารมีมาช้านานถึง ๑๖ อสงไขย์แสนมหากัลป์ สมตึงสบารมี ๓๐ ทัศนั้น โยมก็ได้ลำเพ็ญมาเป็น อย่างดี ถ้าโยมให้ทานแล้วโยมจะได้ระวังหน้าระวังหลังนั้นหามิได้ฯ โยมจะลงไปเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล มั่งมีทรัพย์สมบัติพร้อม ทุกสิ่งฯ พระชนกนามว่า สุพรหมพราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระเจ้า สังขจักรพรรดิ์ฯ พระชนนีนั้นนามว่า นางพรหมวดีพราหมณีฯ พระอัคร สาวกเบื้องขวานามว่า อโสกเถระฯ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายนามว่า สุพรหมเทวเถรฯ พระสีหเถระ เป็นพุทธอุปฐากฯ อัครสาวิกา ชื่อว่า สุมนาภิกษุณี ปทุมาภิกษุณีฯ อุบาสกพุทธอุปฐาก ๒ คน คือ สุทัตตคฤหบดีคน ๑ สังฆคฤหบดีคน ๑ฯ และอุบาสิกาเป็นพุทธอุปฐาก อีก ๒ คน คือ สวดีอุบาสิกาคน๑ สังฆอุบาสิกาคน ๑ฯ อัครมเหษีชื่อ นางจันทมุขีฯ โอรสชื่อ พรหมวดีกุมารฯ จะได้ตรัสรู้ที่ ไม้กากะทิง แต่พื้นดิน ถึงค่าคบ ๑๒๐ ศอก แต่คาคบถึงยอด ๑๒๐ มีกิ่งใหญ่ ๔ กิ่ง ทอดออกไป ในทิศทั้ง ๔ ยาวได้ ๑๒๐ ศอก ดอกโตเท่ากงจักรรถ แต่ละดอกมีเกษรได้ ทะนาน ๑ มีกลิ่นหอมขจรไปในทิศานุทิศได้ ๑๐๐ โยชน์ฯ ส่วนโยมนั้น มีกายสูง ๘๘ ศอก แต่พระนาภีถึงพระรากขวัญ ๒๒ ศอก แต่พื้นพระบาท ถึงพระชานุ ๒๒ ศอก แต่พื้นพระชานุถึงพื้นพระนาภี ๒๒ ศอก แต่พระ รากขวัญถึคงพระอุณหิส ๒๒ ศอก พระชนมายุยืนได้ ๘๐๐๐๐ ปี (แปด หมื่นปี- deedi) ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญโปรดทราบตามนี้เถิด

    ********************************************
    ดูกรมหาบพิตร นิยตโพธิสัตว์ ที่ว่าต้องประกอบด้วย "พุทธภูมิ" นั้น อยาก ทราบว่า คำว่า "พุทธภูมิ" แปลและหมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร อะไรบ้าง ขอถวายพระพร
    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นักปราชญ์นิยมเรียกกันว่า "พุทธภูมิธรรม" คำว่า "พุทธภูมิธรรม" แปลว่าธรรมอันเป็นชั้นของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ธรรมซึ่งจัดเป็นชั้นของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้า อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จำเป็นต้องมีภูมิชั้นเชิงดีกว่า คนอื่นๆ มาก เพื่อเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่า แปลกจากคนอื่นๆ อย่างไร และธรรมซึ่งเป็นภูมิ หรือ เป็นชั้นเชิงของผู้จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พุทธภูมิธรรม มีอยู่ ๔ ประการ คือ
    ๑.อุสสาโห
    ความองอาจกล้าหาญในการทำดี ไม่ยอ่ท้อต่อสิ่งอะไรทั้งหมด เป็นต้นว่า การงานที่ทำ ความเมื่อยล้า หิวกระหาย ใกล้ ไกล
    ๒.อุมมัคโค
    มีปัญญาแก่กล้าเชี่ยวชาญ ความรู้อันแก่กล้า ได้แก่ความรู้ใน เหตุผลของการกระทำ นิยตโพธิสัตว์ต้องมีความรู้ในเหตุผลต้นปลายของ การกระทำต่างๆ ว่าอย่างไหนจะมีเหตุผลดีชั่วอย่างไร แล้วเลือกไม่ทำสิ่งที่ มีผลชั่ว เลือกทำแต่สิ่งที่มีผลดี
    ๓.วะวัตถานัง
    มีอธิษฐานมั่นคง คือมีใจคอหนักแน่นมั่นคง มีความมั่นใจ นิยตโพธิสัตว์ย่อมมีใจคอมั่นคง หนักแน่น ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เมื่อทำ สิ่งใดต้องทำให้สำเร็จ เป็นอันไม่ทอดทิ้ง
    ๔.หิตจริยา
    ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ นิยตโพธิสัตว์ย่อมทำแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น
    ในคุณธรรม ๔ ข้อนี้ ถ้าลำดับตามวิธีใช้ ต้องลำดับอย่างนี้ คือ
    อุมมัคคะ- หิตจริยา-อวัตถานะ-อุสสาหะ
    อธิบายว่า ก่อนจะทำสิ่งใดลงไป ต้องใช้อุมมัคคะ คือ ปัญญาพิจารณาดู เสียก่อน แล้วจึงใช้หิตจริยา คือทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ใช้วัตถานะ คือ ความมั่นใจเป็นที่ ๓ ใช้อุตสาหะคือความไม่ย่อท้อเป็นที่ ๔
    ส่วนพวกเราที่ไม่ใช่โพธิสัตว์ประเภทนิยตโพธิสัตว์ หรือสักว่าโพธิสัตว์ ก็ควรพยายามทำตนให้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เมื่อสามารถ เลื่อนตนไปถึงภูมิธรรมทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว จึงจะเรียกว่า "ปณีตบุคคล" คือ บุคคลชั้นดี และได้ชื่อว่า เป็นผู้มีภูมิดี ********************************************
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.geocities.com/easydharma/dm005022.html


    ดูกร มหาบพิตรพระราชสมภาร คำว่า "อัชฌาสัย" ซึ่งเป็นธรรมประจำ นิยตโพธิสัตว์นั้น แปลและหมายความว่าอย่างไร
    แปลว่า "สิ่งที่นอนทับ" หมายความว่า สิ่งที่มีประจำใจ เรียกตามโวหาร ในทางภาษาไทยว่านิสสัยใจคอ หรือน้ำใจ มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ส่วนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ล้วนแต่เป็นฝ่ายดีทั้งนั้น เพราะเป็นคุณสมบัติ ของนิยตโพธิสัตว์
    ตามธรรมดานิยตโพธิสัตว์ ย่อมมีอัชฌาสัย หรือ อัธยาศัย ได้แก่ นิสสัยใจคอ หรือน้ำใจดี น้ำใจมีคุณธรรมสูง
    อัชฌาสัยของนิยตโพธิสัตว์มีอยู่ ๖ ประการ คือ
    ๑.อโลภัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยไม่โลภ คือ มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว เหลียวแลถึงประโยชน์ของคนอื่นด้วย
    ๒.อโทสัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยไม่โกรธ คือ เป็นคนไม่ดุร้าย ไม่หยาบคาย มีความยั้งใจ รั้งใจไม่ให้ฉุนเฉียว ไม่ให้หุนหันพลันแล่น ไม่ทะลุดุดัน ในเวลาที่กระทบกับอนิฏฐารมณ์หรือในเวลาที่มีความโกรธเกิดขึ้น ก็รีบระงับเสียโดยอุบายอันดีอันชอบเสมอ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของ ความโกรธ คือ มีเมตตา กรุณาประจำใจ
    ๓.อโมหัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยไม่หลง คือ ไม่งมงาย ไม่โง่เขลา มีปัญญา มีวิจารณญาณ มีปรัชญาประจำใจ ไม่ยอมเชื่อง่ายๆ ไม่ยอมเชื่ออย่าง งมงาย ต้องเห็นเหตุผล รู้เหตุรู้ผลดีเสียก่อนจึงเชื่อ ครั้นเชื่อแล้วก็ได้ ดำเนินชีวิตไปโดยมีหลักการ วิธีการ ปฏิบัติการและสิทธิการอันถูกต้อง เช่นไม่หลงทางเดินแห่งชีวิต พยายามเว้นทางไปอบายภูมิทั้ง ๔ (นรก เปรต อสุรกายและสัตว์เดรัจฉาน- deedi) แล้วเดินทางไปสุคติภูมิ คือทางไปมนุษย์ สวรรค์ พรหมและนิพพาน เป็นวิถีทางแห่งชีวิตอันตรง อันถูกต้องโดยแท้
    ๔.เนกขัมมัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยออกบวช ออกจากกิเลสตัณหา เมื่อมี โอกาสก็ปลีกตัวออกบวชบำเพ็ญสมณธรรม ทำตนให้ห่างจากความ หมกมุ่นอยู่กับกามคุณ ๕ หรือเมื่อไม่สามารถออกบวชก็เจริญสมถ กรรมฐานอยู่กับบ้านเรือนได้ ๕.
    ปวิเวกัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยชอบเงียบ ชอบสงบ ชอบสงัด คือ ชอบ ความสงบวิเวกได้แก่กายวิเวก สงัดกาย ๑ จิตตวิเวก สงัดจิต ๑ และ อุปธิวิเวก สงัดกิเลส ๑ อธิบายว่า ชอบความสงัดจากหมู่ ไม่ชอบคลุกคลี ด้วยหมู่ คณะ หรือกับใครๆ ชอบทำใจให้สงัดจากความรัก คือไม่อยาก ให้มีความรักรุมสุมอยู่ในใจ ชอบสงัดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอัธยาศัย
    ๖.นิสสรณัชฌาสัย
    มีอัธยาศัยสลัดออกจากภพ จากชาติ จากกิเลส ตัณหา จากบาปจากกรรม คือ ชอบแสวงหาหนทางออกไปจากโลก ชอบแสวงหาหนทางออกจากกิเลสตัณหา แสวงหาหนทางออกจาก กองทุกข์นานาประการบรรดามีอยู่ในโลก
    ********************************************

    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ คำว่า "อัจฉริยธรรม" นั้นแปลว่า ธรรมะที่น่า อัศจรรย์ คำว่า "อัศจรรย์" แปลว่า ควรปรบมือให้ ควรยกนิ้วให้ว่าดี เลิศ ประเสริฐ ยอดเยี่ยม อธิบายว่า นิยตโพธิสัตว์นั้น มีธรรมควรที่เทวดา มนุษย์จะยกนิ้วให้ ปรบมือให้ว่ายอดเยี่ยมที่สุด
    อัจฉริยธรรมนั้น มีอยู่ ๗ ประการ คือ
    ๑.ปาปะปะฏิกุฏจิตโต
    มีจิตหดหู่จากบาป คือ จิตของนิยตโพธิสัตว์นั้น ไม่สู้กับความชั่ว ไม่สู้กับบาปอกุศล มีแต่ละอายบาป กลัวบาป ละอายชั่ว กลัวชั่ว เกลียดความบาป เกลียดความชั่ว
    ๒.ปะสาระณะจิตโต
    มีจิตแผ่ออกแต่ความดี คือ เป็นจิตที่เบิกบานต่อ ความดีอยู่เป็นนิจ คอยรับแต่ความดีอยู่เสมอ มีอาการแผ่ออก ไม่ถอย จากความดี ถ้ายังไม่ถึงจุดมุ่งหมาย เป็นอันไม่หยุดความเพียร ไม่ละเลิก ความเพียรเป็นอันขาด
    ๓.อธิมุตตะกาละกิริยา
    น้อมใจตาย คือ เมื่อได้เกิดในสวรรค์ที่มีอายุ ยืนนาน ท่านกลัวเสียเวลาสร้างบารมีไปนาน (เพราะในสวรรค์เป็นที่ เสวยสุขเป็นส่วนมาก โอกาสที่จะได้บำเพ็ญบุญบารมีต่างๆ มีน้อย ไม่เหมือนเกิดเป็นมนุษย์- deedi) จึงอธิษฐานขอให้สิ้นชีวิต คำอธิษฐานนั้นว่า "ขออย่าให้ชีวิตของข้าพเจ้ามีอยู่ต่อไปเลย" พออธิษฐานเสร็จก็จุติทันที
    ข้อนี้ถ้าไม่ใช่นิยตโพธิสัตว์ทำไม่ได้
    ๔.วิเสสะชะนัตตัง
    ความเป็นคนวิเศษ คือ เป็นคนแปลกไม่เหมือนคนอื่นๆ เมื่อนิยตโพธิสัตว์อยู่ในครรภ์มารดาในชาติที่สุด (คือ ชาติสุดท้าย ชาติที่ จะได้ตรัสรู้- deedi) จะไม่เหมือนคนทั้งหลายคือ คนธรรมดาเรานั้น เมื่ออยู่ในครรภ์มารดานั่งทับอาหารเก่า ทูนอาหารใหม่ของมารดาไว้ ๑ ผินหน้าเข้า ข้างหลังมารดา ๑ ผินหลังออกไปข้างหน้ามารดา ๑ นั่งยองๆ เอามือทั้งสอง ค้ำคางไว้ ๑ ส่วนนิยตโพธิสัตว์ตรงกันข้ามคือ นั่งอยู่ในที่สะอาด ไม่เปื้อน อะไร ๑ ผินหน้าออกทางหน้ามารดา ๑ นั่งพับพะแนงเชิงเหมือนพระนั่งเทศน์ บนธรรมาสน์ ๑
    ๕.ติกาลัญญู
    รู้กาล ๓ นิยตโพธิสัตว์ในชาติที่สุดนั้น รู้พระองค์ใน ๓ กาล คือ เมื่อจะจุติจากสวรรค์ลงสู่พระครรภ์ ก็รู้ว่าจะจุติลงสู่พระครรภ์ ๑ เวลาที่ อยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือน ก็รู้ว่าอยู่ในพระครรภ์ ๑ เวลาประสูติจากพระ ครรภ์ก็รู้ว่าประสูติจากพระครรภ์ ๑ ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แต่ไม่ได้ออกสั่งสอนเวไนยสัตว์ ไม่สามารถรื้อถอนสัตว์ออกจากสังสารวัฏได้- deedi) กับพระอัครสาวกทั้ง สอง เป็น ทวิกาลัญญู รู้กาล ๒ คือ เวลาจุติลงสู่ครรภ์ ๑ เวลาที่อยู่ในครรภ์ ๑ อสีติมหาสาวกใหญ่ทั้ง ๘๐ เป็น เอกาลัญญู รู้กาลเดียว คือ เวลาจะถือ ปฏิสนธิเท่านั้น
    นอกจากบุคคล ๓ ประเภทนี้ เป็น อกาลัญญู คือ ไม่รู้กาลทั้งหมดฯ
    ๖.ปสูติกาโล
    กาลประสูติ เวลาประสูติ หมายความว่า ในชาติที่สุดนั้น นิยตโพธิสัตว์มีการประสูติดังนี้ คือ เวลาจะประสูติ พระมารดายืน ส่วน พระองค์ท่านที่อยู่ในครรภ์ ก็ยืนขึ้นและทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้งสองลงไป ตามลำขา มีอาการเหมือนพระเทศน์ลงจากธรรมาสน์ ไม่รู้สึกลำบาก พระองค์และพระมารดาเลย หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหวใหญ่ ๗.
    มะนุสสะชาติโย
    เกิดเป็นมนุษย์ หมายความว่า การที่นิยตโพธิสัตว์ ผู้มีบุญญาภินิหารเต็มที่สามารถเลือกเกิดได้ตามชอบใจในชาติที่สุด แต่ต้องเกิดเป็นมนุษย์นั้น ก็นับเป็นข้อควรอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ท่านอ้างเหตุ ไว้ ๓ อย่าง คือ
    ๑.มนุษยโลก
    สมควรเป็นที่ตั้งศาสนพรหมจรรย์ คือ การบรรพชาอุปสมบท ซึ่งทรงคำสั่งสอนไว้
    ๒.เป็นที่อัศจรรย์ในพุทธานุภาพ
    ๓.เป็นที่มีโอกาสไว้พระสารีริกธาตุในเวลาพระองค์นิพพาน

    ********************************************

    ส่วนต่อไปนี้นับว่าเป็นส่วนเพิ่มเติมเพราะส่วนข้างบนทั้งหมดเป็นคำสนทนา โดยตรงระหว่างพระศรีอริยเมตไตรยกับพระอรหันต์พระนามพระมาลัยเถระ แต่ส่วนที่จะยกมาตรงนี้เป็นบทสนทนาระหว่างสมเด็จพระอมรินทราธิราช (คิดว่าท่านเป็น ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นะคะ- deedi) กับพระมาลัยเถระ เกี่ยวกับ พระศรีอาริย์ก่อนที่พระมาลัยจะได้มีโอกาสกราบเข้าเฝ้าและทูลถามความ ต่างๆ ดังที่นำมาให้อ่านแล้ว
    ______________________
    ดูกรมหาบพิตร สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยนั้น พระองค์ท่านได้ทรงบำเพ็ญ กุศลธรรมเป็นประการใด จึงประกอบไปด้วยรัศมีเครื่องประดับประดา อาภรณ์วิภูสิตงดงามยิ่งกว่าเทพยดาองค์ไหนๆ ทั้งมีเทพบุตรเทพธิดาเป็น บริวารถึงแสนโกฏิปานนี้ มหาบพิตร
    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อันกุศลกรรมของพระศรีอริยเมตไตรยหน่อพระ- พุทธางกูร พระองค์ทรงก่อสร้างกุศลสมภารมา ก็ด้วยความปรารถนาจะ ปลดเปลื้องซึ่งหมู่สัตว์อันขัดข้องอยู่ด้วยเครื่องจองจำคือกิเลสมาร ทรงตั้ง พระทัยจะโปรดปรานมนุสสมบัติแก่หมู่สรรพสัตว์ จึงได้อุตส่าห์บำเพ็ญ เนกขัมมบารมีเป็นหลายแสนโกฏิแห่งกัปป์ฯ
    หวังจะโปรดประทานพระโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล แก่บุคคลผู้เห็นทุกข์ จึงอุตส่าห์บำเพ็ญปัญญาบารมีฯ
    หวังจะโปรดประทานพระสกทาคามิมรรค แก่นรชนผู้เห็นประจักษ์ในทาง อนิจจัง จึงทรงบำเพ็ญวิริยบารมี
    หวังจะโปรดประทานพระอนาคามิผล (ตรงนี้หนังสือเขียนว่าพระสกทาคา- มิผล ดิฉันสงสัยว่าจะพิมพ์ผิดเลยแก้มาตามนี้ ผิดถูกประการใด ขออภัย ด้วยนะคะ- deedi) แก่นรชนผู้เห็นแจ้งโดยทางอนัตตา จึงอุตส่าห์บำเพ็ญ ขันติบารมีฯ
    หวังจะโปรดประทานพระอรหัตตมรรคอรหัตตผล แก่บุคคลผู้เห็นแจ้ง ประจักษ์ในพระไตรลักษณะทั้ง ๓ ประการ จึงอุตส่าห์บำเพ็ญสัจจบารมีฯ
    หวังจะโปรดประทานพระอัฏฐังคิกมรรค แก่บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต จึงหมั่นบำเพ็ญอธิษฐานบารมีฯ
    หวังจะโปรดประทานนิพพานสมบัติ แก่สัตว์ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร จึงอุตส่าห์บำเพ็ญเมตตาบารมีและอุเบกขาบารมีฯ
    สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรยบรมพุทธางกูรนี้ ได้ทรงสร้างบารมีมาหลาย แสนกัปป์ ก็เพื่อจะโปรดประทานศีล สมาธิ ปัญญา แก่เวไนยสัตว์ให้ล่วงพ้น จากวัฏฏสงสาร บรรลุถึงฟากฝั่งพระนิพพาน เห็นสภาวะปานฉะนี้ ขอพระคุณเจ้าจงรอคอยพระองค์ก่อน เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงเมื่อใด ขอพระคุณเจ้าจงได้ไต่ถามพุทธการกภูมิให้พิสดารกว้างขวาง ตามอัธยาศัยของพระคุณเจ้าเมื่อนั้นเถิดฯ
    จาก "พระมาลัยโปรดสัตว์นรก" รจนาโดย พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙) พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    ********************************************
    จบ
    ********************************************
    หมายเหตุจากผู้จัดทำโฮมเพจ
    เรื่องพระศรีอาริย์นั้น เคยนำมาพูดคุยกันหลายครั้งหลาย เป็นความรู้และเป็นความหวัง ว่าในทางข้างหน้าเมื่อหมดพระพุทธศาสนาปัจจุบันแล้ว เรายังมีที่พึ่ง ยังมี พระศาสนารอคอยอยู่อีก มีพระพุทธองค์ที่จะเปิดและชี้ทางไปสู่ความดับทุกข์ อย่างไรก็ตาม เพื่อนทางธรรมท่านหนึ่งเคยเตือนมาและดิฉันเห็นด้วย ว่าเราทุกคนที่ต้องการพ้นทุกข์ ควรเร่งทำความเพียรกันเข้าไว้ เราไม่ทราบจริงๆ ว่าเมื่อไหร่เวลานั้น (คือยุคพระศรีอาริย์) จะมาถึง เราไม่ทราบด้วยซ้ำว่าถ้าเวลานั้นมาถึงจริง เราจะได้มาพบพระศาสนาอีกหรือไม่ เพราะเราอาจกำลังไปเสวยทุกข์หรือเสวยสุข อยู่ข้างล่างอันมืดมิดหรือข้างบนอันสุกสว่าง เอารอบนี้ที่แน่ๆ ดีกว่า เกิดเป็นคนก็แล้ว ได้มาพบพระศาสนา ได้ฟังธรรม ได้ปฏิบัติ ก็แล้ว เชิญชวนมารีบ "สร้างเหตุ" แห่งการออกจากทุกข์ ด้วยการเจริญ ทาน ศีล ภาวนา เจริญสติตามองค์ของมรรคแปด ตั้งแต่วันนี้ กันดีกว่า
    เป็นข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ ที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ๘๐ ข้อคิดจากในหลวงจาก Email ที่ได้รับมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P63-65[1].pdf
      ขนาดไฟล์:
      864 KB
      เปิดดู:
      42
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://dou_beta.tripod.com/MD101_03_th.html


    บทที่ ๓
    รูปแบบของการฝึกสมาธิ


    การบริกรรมยุบหนอ- พองหนอ<O:p</O:p

    เน้นการใช้สติปัฏฐาน ๔ ควบคู่กับการบริกรรมยุบหนอ-พองหนอ เป็นแนวการสอนสมาธิตามแบบปะเทศพม่า และพระธรรมธีรราชมหามุนี (พระมหาโชดก ญาณสิทธิ) เป็นผู้ไปฝึกปฏิบัติแล้วนำมาเผยแพร่ที่ประเทศไทย ซึ่งท่านจัดสอนที่&igrave;วัดมหาธาตุฯ&icirc; ซึ่งมีวิธีปฏิบัติโดยย่อว่า ให้เดินจงกรมเสียก่อนประมาณ ๓๐ นาที ถึง ๑ ชั่วโมง โดยเน้นให้มีสติอยู่ที่ส้นเท้าเป็นหลัก และเมื่อเดินจงกรมครบกำหนดแล้วให้นั่งสมาธิ เอาสติไว้ที่ท้องภาวนาว่า &igrave;พองหนอ ยุบหนอ&icirc; ประมาณ ๓๐ นาที ถึง ๑ ชั่งโมง ถ้านั่งครบกำหนดแล้ว ก็ให้ลุกขึ้นเดินจงกรมอีก และนั่งสมาธิอีก ทำให้ต่อเนื่องสลับกันไป
    <O:p</O:p
    สำหรับการนั่งสมาธิ และ เดินจงกรม ที่สอนในแบบยุบหนอ พองหนอนี้ &Yacute;มุ่งเน้นพิจารนาตามกฎไตรลักษณ์ ส่วนวิธีการอาจมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด ตามแต่อาจารย์ที่สอน สำหรับวิธีการโดยทั่วไป มีคือดังนี้
    <O:p</O:p
    ให้ยืนตัวตรง ใบหน้าและลำคอตรง ทอดสายตาไปที่พื้นห่างจากปลายเท้าประมาณ ๒-๓ เมตร เอามือวางหน้าท้องเหนือสะดือเล็กน้อย ยกเท้าขวาจากพื้นช้าๆ พร้อมกับบริกรรม &igrave;ขวา&icirc; พอเท้าขวาเคลื่อนไปข้างหน้า บริกรรม &igrave;ย่าง&icirc; พอเท้าขวาลงจดพื้น บริกรรม &igrave;หนอ&icirc; และยกเท้าซ้าย บริกรรม &igrave;ซ้าย&icirc; พอเท้าซ้ายเคลื่อนไปข้างหน้า กำหนด&icirc;ย่าง&icirc; พอเท้าซ้ายจดพื้น บริกรรม &igrave;หนอ&icirc; พอเดินไปได้ สุดทาง ประมาณ ๗-๘ เมตรหรืออย่างน้อยควรมีที่เดินได้สัก ๘ ก้าว ก็กำหนดหยุดหนอ เท้าชิดกันบนพื้น ยืนตรงกำหนด &igrave;ยืนหนอ&icirc; แล้วก็กลับตัว กำหนด &igrave;กลับหนอ&icirc; พร้อมหมุนส้นเท้าขวา ตามด้วยเท้าซ้ายอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ ทำจนหมุนกลับมาทางเดิม และเริ่ม ขวา-ย่าง-หนอ และ ซ้าย-ย่าง-หนอ ต่อไปจนครบเวลาพอสมควร เมื่อฝึกกำหนดจนคล่องแล้วอาจเพิ่ม การกำหนดละเอียดขึ้นไปอีก จนครบ ๖ ระยะ คือ
    <O:p</O:p
    ๑.ขวา... ย่าง... หนอ ..., ซ้าย ... ย่าง ... หนอ...<O:p</O:p
    ๒.ยก... หนอ... , เหยียบ... หนอ...<O:p</O:p
    ๓.ยก... หนอ... , ย่าง.... หนอ... , เหยียบ... หนอ...<O:p</O:p
    ๔.ยกส้น ... หนอ...., ยก....หนอ..., ย่าง...หนอ...., เหยียบ.... หนอ....<O:p</O:p
    ๕.ยกส้น .... หนอ....., ยก.... หนอ..., ย่าง... หนอ..., ลง... หนอ..., ถูก... หนอ...<O:p</O:p
    ๖.ยกส้น... หนอ..., ยก... หนอ..., ย่าง... หนอ..., ลง... หนอ..., ถูก... หนอ ..., กด... หนอ...
    <O:p</O:p
    ถ้าเป็นสายคุณแม่สิริ กรินชัย จะเพิ่มระยะที่ ๗ <O:p</O:p
    ๗. ยกส้น... หนอ ..., ไม่คิดหนอ, ยก... หนอ...ไม่คิดหนอ, (ทวนระยะ ๖ เพิ่มคิดและไม่คิด)
    <O:p</O:p
    แต่ถ้าผู้ฝึกคนใดชอบฝึกอย่างเคร่งครัด ก็จะฝึกให้มีสติทุอิริยาบถ โดยให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลาแล้วภาวนากำกับอารมณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นมา เช่น กินหนอ ๆ ๆ&Yacute; อ้าปากหนอ ๆ ๆ&Yacute; เคี้ยวหนอ ๆ ๆ&Yacute; ยกแขนลงหนอ ๆ ๆ เป็นต้น
    <O:p</O:p
    การนั่งสมาธิ <O:p</O:p

    ให้นั่งแบบพระพุทธรูปที่ใช้พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายบนตัก ผู้ที่ไม่ถนัดอาจอนุโลมให้นั่งพับเพียบ หรือนั่งเก้าอี้ก็ได้ แต่ต้องนั่งตัวตรง และไม่พิงพนักเก้าอี้ <O:p</O:p
    หลับตา ให้เอาสติมาจับอยู่ที่ท้องเหนือสะดือ ขึ้นมาประมาณ ๒ นิ้ว หายใจตามปรกติ โดยเวลาหายใจเข้า ท้องโป่งพองออก กำหนดว่า &igrave; พองหนอ&icirc; เวลาหายใจออกท้องจะแฟบยุบ ก็กำหนดว่า &igrave; ยุบหนอ&icirc; โดยกำหนดให้เท่าทันอาการ ในเวลานั่งไป หากได้ยินเสียง ก็กำหนดยินหนอ หากมีความปวดเมื่อยเกิด ก็กำหนดเมื่อยหนอจนหายไป คงมีสติกำหนดในอาการต่าง ๆ ตามสติปัฏฐาน ๔ หากไม่มีอาการอื่นก็ กำหนดพองยุบต่อไปจนเห็นความดับเฉยของ พองยุบ &Yacute;เวลาที่ใช้ในการนั่งสมาธิมักใช้เวลาพอดีกับการ เดินจงกรม<O:p</O:p
    สรุปการทำสมาธิด้วยการภาวนายุบหนอ พองหนอ เป็นการฝึกสติอยู่กับลมหายใจที่ท้องเป็นหลัก ส่วนถ้ามีอารมณ์อื่นมาแทรก ก็ให้พิจารณา คือ เอาอารมณ์นั้นมาภาวนาแทนจนกว่าใจจะสงบ ส่วนถ้าเดินจงกรมก็ให้มีสติอยู่กับเท้าที่เดินอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้มุ่งหวังให้ใจรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่เสมอ<O:p</O:p

    **************************************************

    ส่วนเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ในที่มา(ลิงค์)ครับ

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ค่อยๆอ่านกันไป เรื่องใดที่ไม่ชอบหรือไม่สนใจก็ข้ามๆไป

    ค่อยๆศึกษากันไปนะครับ

    โมทนาสาธุครับ
    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948


    ไม่ได้ไปครับ ติดงานหลายๆเรื่อง

    ไว้ผมไปประมูลสู้คุณลักยิ้มอีก ดีกว่า

    (good)
    .

     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.pantown.com/board.php?id=9706&name=board2&topic=281&action=view

    <CENTER>พองหนอ-ยุบหนอ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา โดยพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิเถร ป.ธ.๙)</CENTER>
    โดย: มณิมนตรา [20 ธ.ค. 48 14:05] ( IP A:125.24.3.135 X: )

    พระอาจารย์
    พองหนอ ยุบหนอเป็นวิปัสสนา หรือสมถะ
    จะเอาให้เป็นสมถะให้ได้ รู้สึกว่าสาธุชนบางพวกจะกลัวสมถะเหลือเกิน
    สมถะไม่ใช่ของเลวร้ายเลยขอให้เราได้ปฏิบัติให้ได้เถอะ
    เป็นกุศลที่สูงกว่ามหากุศลเสียอีกด้วยซ้ำไป เพราะรูปวจรกุศลเป็นเหตุให้ได้
    อรูปาวจรกุศลคือสูงกว่ามหากุศล ไปพรหม ไปอรูปพรหมโน่น
    ยังดีกว่าไปอบายภูมิหลายร้อย หลายพันเท่านัก
    เพราะฉะนั้นสมถะกรรมฐานนี้เป็นของดี ขอให้เราทำให้ได้เถอะ
    กลัวจะไม่ได้เท่านั้นเอง ผู้ที่ทำวิปัสสนาก็เหมือนกัน
    ขอให้เราถึงนิพพานได้จริง ๆ นี้ก็เป็นของวิเศษ การทำสมถะกรรมฐาน
    ขอให้เราไปพรหมหากเรายังไม่ปรารถนานิพพาน
    หากยังไม่อยากดับหมด หากยังจะอยากเกิดอยู่อย่างนี้
    คราวนี้เราทำสมถะกรรมฐาน ซึ่งก็ไปเสวยความสุขในพรหมก็เป็นของดี
    ก็มีความสุขละเอียดอย่างเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมนี้ก็มีสุข
    ที่รองลงมาจากพระนิพพานแล้ว ถ้ามันยังไม่ได้นิพพานสุข
    ฉะนั้นการปฏิบัติสมถะกรรมฐานนี้ก็ขอให้ได้สำเร็จผล
    ของการเจริญสมถะจริง ๆ เถอะดี หากเบื่อจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว
    เราจะหมุนมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็ไม่ยากแล้ว
    เพราะปิดนิวรณ์ไว้ได้แล้วจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ง่าย

    ฉะนั้นท่านสาธุชนที่ยังมีความสงสัยในคำว่าสมถะขอให้ทำความเห็น
    ให้ถูกต้องด้วยสมถะเป็นของที่สำคัญมาก ถ้าหากเราไม่มีสมถะ
    แล้วจะมีวิปัสสนาไม่ได้ เพราะว่าสมถะก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิปัสสนา
    เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา เป็นปัจจัยให้เกิดวิปัสสนาญาณ
    ปัญญาที่เกิดได้ก็ต้องอาศัยสมาธิแต่ต้องเป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ

    พระอาจารย์ การเห็นกายในกายหมายความว่าอย่างไร

    หลวงพ่อ
    มีปัญหาคนเค้าถกเถียงปัญหาธรรมกัน บางคนเค้าบอกว่ากาเยนี้
    หมายถึงรูป แล้วกายานุปัสสีหมายเอาส่วนย่อย
    อีกคนบอกไม่ใช่ กาเย หมายถึงรูป กายานุปัสสีหมายเอานาม
    เค้าเถียงกัน
    เห็นกายในกายนี้เราจะมาตีความหมายเอาของเราก็ไม่ดีนัก
    แต่อรรถกถาท่านแก้ไว้ชัดเจน แจ่มแจ้ง คำว่ากาเย กายานุปัสสี
    มีปกติเห็นซึ่งกาย คำว่าเห็นซึ่งกายนี้หมายเอาส่วนย่อยเท่าที่ตนกำหนด
    เช่น กำหนดพองหนอ ยุบหนอ ก็เห็นอาการนูน และอาการยุบของท้องนั่นเอง
    นี่เรียกว่ากายานุปัสสีเห็นซึ่งกายก็เอาส่วนย่อย ๆกำหนดตรงไหน
    ก็เอาตรงนั้น แต่คำว่ากายนี้หมายเอาร่างกายทั้งหมด เห็นซึ่งกายในกาย
    หมายความว่าเห็นส่วนย่อยที่อยู่ในร่างกายทั้งหมด
    กาเยตัวต้น หมายเอาร่างกายทั้งหมด ตั้งแต่ผมถึงเล็บ ส่วนกายานุปัสสี
    หมายเอาส่วนย่อย ๆที่ตนกำหนด กำหนดตรงไหนล่ะ
    กำหนดท้องพอง ยุบ ก็เอาตรงนั้น กำหนดขวาย่างหนอซ้ายย่างหนอ
    ก็เอาตรงนั้น อันนี้เรียกว่ากาย เห็นกายในกาย
    เห็นกายได้แก่เห็นส่วนย่อยเท่าที่ตนกำหนด
    เช่น กำหนดพอง กำหนดยุบ ก็เห็นอาการนูน และอาการยุบของท้องนั่นเอง
    ส่วนในกายได้แก่ร่างกายทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะถึงเท้าทีนี้เห็นภายในได้แก่อัตภาพของตัวเอง
    ร่างกายของตัวเองนี่เห็นกายในกายเป็นภายใน
    เห็นกายในกายเป็นภายนอก เห็นกายข้อแรกได้แก่
    เห็นกายส่วนย่อยของคนอื่นโดยอนุมานว่าของเราฉันใด
    เขาก็ฉันนั้น เห็นกายในกายก็ได้แก่ร่างกายทั้งหมดของคนอื่นรวมทั้ง 31 ภูมิด้วย
    เห็นกายนอกหมายเอากายของคนอื่นทั้ง 31 ภูมิ ส่วนเห็นกายในกาย
    ทั้งภายในและภายนอกก็ได้แก่เห็นกายในตัวเองทั้งส่วนย่อย
    และส่วนรวม
    ได้เห็นกายของคนอื่นทั้งส่วนย่อยและส่วนรวมดังที่กล่าวมาแล้ว

    พระอาจารย์ คือว่าเห็นกายในกายนี้ก็ต้องเรียกว่ากาเยกายานุปัสสี กาเยที่หลวงพ่อว่าก็หมายถึง
    ที่เรากำหนดตั้งแต่ศีรษะมาถึงปลายเท้าใช่มั้ยครับ

    หลวงพ่อ
    ใช่

    พระอาจารย์ แล้วที่ว่ายืนหนอ

    หลวงพ่อ นั่นแหล่ะหมายหมดเลย


    พระอาจารย์ ก่อนจะเดินจงกรมเรากำหนดยืนซะก่อนใช่ไหมครับ

    หลวงพ่อ นั่นแหล่ะใช่

    พระอาจารย์ แล้วเราก็กำหนดว่ายืนหนอ เอาสติตั้งไว้ที่ร่างกายทั้งหมด

    หลวงพ่อ ใช่

    พระอาจารย์ คือไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง

    หลวงพ่อ นี่แหล่ะกาเยหมายเอาหมดเลย

    พระอาจารย์ ทีนี้เราก็เดินขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ นี่เป็นกายา

    หลวงพ่อ นี่เป็นกายานุปัสสี เฉพาะส่วนย่อย กำหนดเฉพาะเท้าเท่านั้น
    ไม่ได้เอาถึงหัว เวลาเท้าไปหัวก็ไปด้วย เวลาเท้าไปแขนก็ไปด้วยก็เลยไม่ได้กำหนด
    หัวกำหนดแขน แต่กำหนดขาอย่างเดียว อย่างนี้เป็นกายา นี่ว่าเห็นกายในกาย
    คราวนี้ภายในก็หมายถึงเห็นภายในตัวเราเอง ภายนอกก็หมายถึงของคนอื่น
    คือว่าถ้าของเราชัดของคนอื่นก็เหมือนกัน อุปมาเหมือนน้ำทะเลเมืองไทยก็เค็ม
    เมืองจีนก็เค็ม เหมือนคนเพ่งอสุภ เพ่งซากศพ
    พอเห็นว่าไม่งามก็น้อมมาสู่ตนเอง ตนเองก็เห็นว่ามันก็เหมือนอย่างนี้

    พระอาจารย์ กำหนดทางตาว่าเห็นหนอ หูได้ยินหนอ นี้กำหนดอะไร

    หลวงพ่อ ถามน่าคิด ถ้าบอกว่ากำหนดตา หู ก็เข้าใจยาก ฉนั้นปัญหานี้ต้องย้อนถาม
    พระพุทธเจ้าวิธีตอบปัญหา ท่านเรียกว่า ปัฏฏิปุจฉา ต้องย้อนถามเสียก่อน
    ปัญหานี้จึงจะชัด ทีนี้ก็ต้องถามว่า ขณะที่ตาเห็นรูปครั้งนึง ขันธ์ห้าเกิดหรือยัง

    พระอาจารย์ ขันธ์ห้าเกิดแล้วครับผม

    หลวงพ่อ หูได้ยินได้ครั้งนึง ขันธ์ห้าเกิดหรือยัง

    พระอาจารย์ เกิดแล้วครับผม

    หลวงพ่อ จมูกได้กลิ่น ขันธ์ห้าเกิดหรือยัง

    พระอาจารย์
    เกิดแล้วครับผม

    หลวงพ่อ ลิ้นได้รส ขันธ์ห้าเกิดหรือยัง

    พระอาจารย์
    เกิดแล้วครับผม

    หลวงพ่อ กายถูกต้อง เย็นร้อน อ่อนแข็ง ขันธ์ห้าเกิดหรือยัง

    พระอาจารย์
    เกิดแล้วครับผม

    หลวงพ่อ พระคุณเจ้าลองแสดงซิ ขณะที่นั่งอยู่ในห้องนี้ พระคุณเจ้าเห็นฝาห้องมั้ย

    พระอาจารย์
    เห็นครับผม

    หลวงพ่อ ขันธ์ห้าเกิดหรือยัง

    พระอาจารย์ เกิดแล้วครับผม

    หลวงพ่อ ตรงไหนเป็นรูป

    พระอาจารย์ ตา กับข้างฝาเป็นรูป

    หลวงพ่อ ตรงไหนเป็นเวทนา

    พระอาจารย์ ตัวที่รู้สึกเวลาเห็นว่ารู้สึกชอบ เฉย หรือว่าดีใจหรือไม่ดีใจ

    หลวงพ่อ ขณะที่พระคุณเจ้าเห็นเฉยๆ ใช่มั้ยนี่เป็นอุเบกขาเวทนาใช่มั้ย เป็นขันธ์ไหน

    พระอาจารย์ เป็นเวทนาขันธ์

    หลวงพ่อ ตากับสีเป็นรูปขันธ์ได้ขันธ์นึงแล้วใช่มั้ย

    พระอาจารย์ ใช่ครับผม

    หลวงพ่อ แล้วรู้สึกเฉย ๆ เป็นอุเบกขาเวทนาใช่มั้ยได้อีกขันธ์นึงแล้ว
    แล้วตรงไหนเป็นสัญญา

    พระอาจารย์ คือจำได้ว่าเป็นฝาของห้อง

    หลวงพ่อ ตรงไหนเป็นสังขาร

    พระอาจารย์ การปรุงแต่งว่าชอบหรือไม่ชอบ

    หลวงพ่อ เห็นว่าฝาของห้องดีไม่ดีสวยไม่สวยใช่มั้ย

    พระอาจารย์ ใช่ครับผม

    หลวงพ่อ นี่เป็นสังขาร ตรงไหนเป็นวิญญาณ

    พระอาจารย์ เห็นเป็นวิญญาณ

    หลวงพ่อ ฉะนั้นพอพระคุณเจ้าเห็นรูปครั้งนึงขันธ์ห้าเกิดหรือยัง

    พระอาจารย์ เกิดแล้วครับผม

    หลวงพ่อ ขันธ์ห้าเกิดแล้ว ได้ยินเสียงครั้งนึง ขันธ์ห้าเกิดหรือยังเอาตรงไหนเป็นรูป

    พระอาจารย์ หูกับเสียง

    หลวงพ่อ เมื่อได้ยินเสียงแล้วสบายใจขันธ์ไหนเกิด

    พระอาจารย์ เวทนาขันธ์ครับ

    หลวงพ่อ เข้าเวทนาขันธ์นะ ถ้าไม่สบายล่ะ

    พระอาจารย์ ก็เป็นเวทนาเหมือนกันครับ

    หลวงพ่อ เกิดเฉย ๆ ล่ะ

    พระอาจารย์ ก็เป็นเวทนาครับ

    หลวงพ่อ เป็นอันว่าสบาย ไม่สบายเฉยก็เป็นเวทนาขันธ์นะ แล้วจำได้ว่าเป็นเสียงพระเทศน์เป็นขันธ์ไหน

    พระอาจารย์ สัญญาขันธ์ครับ

    หลวงพ่อ แต่งเอาว่าเทศน์ ดี ไม่ดี นี่ขันธ์ไหน

    พระอาจารย์ สังขารครับผม

    หลวงพ่อ ที่ได้ยินนี่ขันธ์ไหน

    พระอาจารย์ เป็นวิญญาณขันธ์ครับผม

    หลวงพ่อ ครบห้าขันธ์แล้วใช่ไหม แล้ววิปัสสนาเอาอะไรเป็นอารมณ์

    พระอาจารย์ ก็เอาขันธ์ห้าเป็นอารมณ์
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.pantown.com/board.php?id=...81&action=view


    <CENTER>พองหนอ-ยุบหนอ เป็นสมถะหรือวิปัสสนา โดยพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิเถร ป.ธ.๙)</CENTER>
    โดย: มณิมนตรา [20 ธ.ค. 48 14:05] ( IP A:125.24.3.135 X: )

    หลวงพ่อ เอาขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ใช่มั้ย แล้วกำหนดเห็นหนอนี่เห็นอะไร ขันธ์ห้าใช่มั้ย
    นั่นแหล่ะขาวแล้วใช่มั้ยปัญหานี้ อย่างนี้ต้องถามกลับ
    ถ้าเค้าถามว่ากำหนดเห็นหนอกำหนดอะไรเราก็ตอบง่าย ๆ
    ตอบตรงชัดก็ตอบไปเลยว่ากำหนดขันธ์ห้า
    หรือถ้าจะให้ปัญหามันขาวก็ต้องย้อนถามซะก่อน
    สมมุติว่ามีนาย ก. มาถาม พระคุณเจ้า แล้วพระคุณเจ้าจะให้เค้า
    ตอบให้ปัญหามันขาว
    พระคุณเจ้าก็ถามกลับไป โยม ตาเห็นรูปครั้งนึงขันธ์ห้า
    เกิดหรือยัง เกิดแล้ว
    ตรงไหนเป็นรูปก็ไล่ไป แล้ววิปัสสนาเอาอะไรเป็นอารมณ์ เอาขันธ์ห้า
    เมื่อตาเห็นรูปครั้งนึงก็ขันธ์ห้าก็เกิดแล้ว อารมณ์วิปัสสนาเกิดหรือยัง เกิดแล้ว
    เมื่อกำหนดเห็นหนอ เห็นหนอ เรียกว่ากำหนดอะไร กำหนดขันธ์ห้า
    เมื่อย่อก็คือรูปกับนาม หมดหรือยังปัญหานี้ เข้าใจแล้วนะ บางคนอาจจะตอบไม่ได้
    เอ..ไม่เคยคิด เค้าถามว่า เอ..กำหนดเห็นหนอ กำหนดอะไร
    ต้องตอบง่าย ๆว่ากำหนดขันธ์ห้า เค้าถามว่าเพราะเหตุใด
    ก็ตอบว่าตาเห็นรูปครั้งนึงขันธ์ห้าก็เกิดแล้ว แล้วขันธ์ห้าก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
    วิปัสสนาก็ยึดขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นกำหนดทางตาก็กำหนดขันธ์ห้าเป็นอารมณ์
    กำหนดทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็กำหนดขันธ์ห้าเหมือนกัน

    พระอาจารย์ บางท่านก็ยังสงสัยอีกว่า เห็นหนอ ยินหนอ จะเกิดปัญญาได้อย่างไร

    หลวงพ่อ ต้องถามก่อนว่าจะเอาปัญญาขั้นไหนล่ะ
    ปัญญานั้นมี 3 ขั้น ทีนี้ถ้าตัวต่อตัวมาถามเราต้องถามว่า
    จะเอาปัญญาขั้นไหน ปัญญามีกี่ขั้นต้องถามกลับ

    ปัญญานั้นมี 3 ขั้น
    1. ปัญญาเกิดจากการฟัง 2. ปัญญาเกิดจากความคิด 3. ปัญญาเกิดจากการเจริญภาวนา

    ปัญญาเกิดจากการฟัง เช่น การฟังพระเทศน์
    ตาเห็นครั้งนึงขันธ์ห้าเกิดแล้ว
    สีกับตาเป็นรูป เมื่อเห็นแล้วรู้สึกสบายไม่สบาย เฉย ๆ เป็นเวทนา
    จำได้เป็นสัญญา แต่เมื่อเห็นว่าสีที่เห็นดีหรือไม่ดี เป็นสังขาร
    พูดเป็นวิญญาณ เราจำไว้เวลาใครถามก็ตอบได้
    ตาเห็นครั้งนึง เห็นรูปครั้งนึงขันธ์ห้าเกิดหรือยัง เกิดแล้ว
    ตรงไหนเป็นรูปเป็นนามตอบให้ชัดไปเลย
    อันนี้เค้าเรียกว่าสุตมยปัญญา เป็นปัญญาเหมือนกันฟังแล้วจำได้


    ทีนี้จินตมยปัญญา คิด ขณะที่ได้ยินเสียง
    สมมุติเสียงพระท่านว่านะโมตัสสะ
    เมื่อพระหยุดเสียงก็หาย เมื่อเสียงหาย
    เสียงมันเป็นขันธ์ห้า อนิจจังก็เกิดขึ้นแล้ว ทุกขังทนอยู่ไม่ได้ก็มีแล้ว
    อนัตตาบังคับไม่ได้ก็มีแล้ว
    นี้หนอได้ยินเสียงครั้งนึงก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไปด้วย
    หู จมูกได้กลิ่นก็เหมือนกันอย่างนี้ ลิ้นได้รสก็เหมือนกัน
    กายถูกต้อง เย็นร้อน อ่อนแข็งก็เหมือนกันอย่างนี้
    มันมีเกิดมีดับอยู่เรื่อย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ไปนั่งคิดพิจารณานี้เป็นจินตมยปัญญา
    เป็นปัญญาเหมือนกัน เรียกว่า วิปัสสนึก นึกไป

    ส่วนปัญญาที่ต้องการขั้นที่ 3 เค้าเรียกว่าภาวนามยปัญญา
    คือปัญญาขั้นนี้คิดไม่ได้ จำไม่ได้ เกิดเองแท้ ๆ ต้องการอันนี้
    เพราะฉะนั้นปัญญานี้จะเอาปัญญาขั้นไหนต้องถามซะก่อน

    ภาวนามยปัญญา คิดไม่ได้ ถ้าคิด ถ้าไปจำก็เป็น สุตมยปัญญา
    เป็นจินตมยปัญญา
    แต่ภาวนาคิดไม่ได้ มีหน้าที่กำหนด ยินหนอ, เห็นหนอ,
    จนกว่ารูปนามจะดับจะขาดให้ดู ถึงตรงที่รูปนามมีขาดนั่น
    เลยนั่นไปอีก เลยสุตมยปัญญา เลยจินตมยปัญญาไปอีก

    จินตาอยู่แค่ญาณสาม นี้มันเป็นญาณที่สี่ ญาณที่สี่รูป นามเกิดดับ
    เมื่อกำหนดไปมันจะเห็นรูปนามดับ
    เมื่อรูปนามดับกิเลสมันจึงจะขาด ต้องการเห็นอันนี้ตางหาก
    เป็นปัญญาขั้นที่ 3 เพราะปัญญานี้คิดไม่ได้ จำไม่ได้
    ถ้าใครไปคิดก็เป็นจินตา ญาณสาม เป็นอย่างสูง
    ถ้าใครไปจำก็เป็นสุตมยปัญญา ยังไม่เกิดญาณเลยจำได้เฉย ๆ
    กิเลสก็ยังเต็มอยู่ แต่พอเห็นญาณที่สี่ กิเลสขาดไตรลักษณ์ชัดแล้ว
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็ปรากฎตามจริง
    กำหนดเห็นหนอ ๆ นี่แหล่ะเมื่อถึงญาณสี่ มันจะขาด
    จะเห็นตกใจเลย เห็นด้วยปัญญาขั้นต้น สุตมยปัญญา จิตมยปัญญา
    อันนั้นไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่ภาวนามยปัญญา
    ไม่ต้องมานั่งหลับตาก็คิดเองได้
    แต่ขั้นภาวนา ปัญญานี้เป็นญาณที่สี่เรียกว่า “อุทยัพพยญาณ”
    ถ้าใครถึงญาณนี่แล้ว พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมาก
    ในพระไตรปิฏก เล่มที่ 25 ในธรรมบทภาค4 พระองค์ตรัสไว้ว่า
    “ผู้ใดเห็นรูป เห็นนามเกิดดับอย่างนี้
    ผู้นั้นตายไปเสียวันนี้ดีกว่าคนไม่เห็น ซึ่งมีชีวิตอยู่ตั้ง 100 ปี” ต้องการปัญญาอันนี้

    พระอาจารย์ ครับผม ปัญญามีสามขั้น แต่คนไปเอาปัญญาขั้นที่ 1 และ 2
    อย่างนี้พระคุณเจ้าว่าปัญญาขั้นที่ 3 โดยมากเรายังไม่ถึงใช่มั้ยครับ
    หรือว่าผู้ปฏิบัติยังไม่ถึงยังไม่เข้าใจใช่มั้ยครับ

    หลวงพ่อ ใช่ ยังไม่เข้าใจ

    พระอาจารย์ ไปเข้าใจปัญญาที่เราเข้าใจกันว่า
    จะต้องนึกคิดมาก มาก
    อะไรอย่างนี้ เป็นปัญญาที่พระเดชพระคุณเคยว่าเป็นปัญญาหาข้าวกิน

    หลวงพ่อ มีคนเคยถาม พระพุทธเจ้าท่านต้องคิด
    ไม่ใช่เหรอ
    ต้องนึกถึงอดีต อนาคต จึงจะเกิดปัญญา ถามอย่างนี้ก็มี
    เรามานั่งกำหนด เห็นหนอ ได้ยินหนอมันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร
    ก็ย้อนถามว่าโยมจะเอาปัญญาขั้นไหนล่ะ
    ถ้าเอาปัญญาขั้นจำและคิดก็ไม่ต้องมานั่งแล้ว
    พระพุทธเจ้าท่านจะใช้อดีต อนาคตได้ทั้งนั้น
    เพราะท่านหมดกิเลสแล้ว
    เพราะท่านไม่ต้องการละกิเลส ต้องการจะดูจะแก้สรรพสัตย์
    แต่นักปฏิบัติกิเลสยังเต็มกระบุงมันต้องเอากิเลสออก
    ต้องการให้ได้ปัจจุบันตางหาก ถ้าไปคิดให้เป็นอดีต
    พระองค์ห้ามว่าอย่าเอารูปนามในอดีตมาเป็นอารมณ์
    อย่าเอารูปนามในอนาคตมาเป็นอารมณ์ เพราะยังไม่เกิด
    ต้องให้ได้ปัจจุบันธรรม
    จึงจะรู้แจ้งไปตลอดมรรคผลนิพพาน นักปฏิบัติต้องเห็นอย่างนี้

    ฉะนั้นพระพุทธเจ้า ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้วท่านใช้อดีต
    อนาคตได้ทั้งนั้น
    อย่าเอามาปนกันซิโยม เข้าใจอย่างนี้นะ
    เอ..ถ้าไม่คิดมันจะเกิดปัญญาได้อย่างไร อย่าไปเข้าใจง่าย ๆ
    ปัญญามีกี่ขั้นจะเอาขั้นไหน ถ้าต้องการขั้นจำไม่ต้องนั่งหลับตา
    ไปดูพระไตรปิฏกจำให้มันมาก ถ้าต้องการคิดไม่ต้องมานั่งหลับตา
    นอนคิดเอาทั้งวันก็ได้ ทีนี้เราต้องการภาวนาคิดไม่ได้
    ถ้าคิดมันก็ตกไปหมดแล้วอันนี้ต้องการปัญญาปัจจุบัน
    อย่างนี้ตางหาก คนยังเข้าใจไขว่เขวไปเยอะ
    โดยมากไปเอาปัญญาของตัวเองซะ
    ทีนี้เมื่อภาวนาเราไม่เคยทำ ถึงใครจะว่ารูปนามเกิดดับพวกนี้ก็จะสงสัย
    มันเกิดดับได้อย่างไร กำหนดเห็นหนอ มันจะเกิดดับได้อย่างไร

    ที่แท้ถ้านักปฏิบัติถึงญาณที่สี่แล้วมันดับให้เห็นจริง ๆ ชัดจริง ๆ
    จะหายสงสัยข้องใจเลย แล้วผู้ที่ไม่ถึงมันก็เหมือนอย่างนี้แหล่ะ
    คนนึงตาบอดแต่เกิดพอเกิดมาก็ตาบอดเลยจนโต
    วันหนึ่งไปไถนา เกี่ยวข้าวขึ้นจากนามากินข้าวคุยกัน
    ว่านกกระยางเยอะมันมาหากิน
    ไอ้ตาบอดก็ไม่เคยเห็นนกกระยางถามว่ามันเป็นตัวอย่างไร
    คนเห็นก็ตอบว่ามันก็ตัวขาว ๆ ไงล่ะ
    ขาวเหมือนอะไร เหมือนนุ่น นุ่นเหมือนอะไร เหมือนสำลี
    สำลีเหมือนอะไร เหมือนผ้าขาว ผ้าขาวเหมือนอะไร
    เหมือนกระดาษ กระดาษเหมือนอะไร
    ไล่ไปเท่าไหร่ก็ไม่รู้ เพราะมันไม่ไม่เคยเห็น
    คนที่ภาวนามยปัญญาไม่เกิด ก็เหมือนอย่างนี้แหล่ะ
    จะว่าไปเท่าไหร่ก็ไม่เห็น ไม่เห็นก็สงสัย

    พระอาจารย์ ครับ ก็สงสัยว่าทำไมไม่เกิดปัญญาเลย
    ทำไมสมองไม่ใส คิดไม่เก่งเลย
    คือคนเราคิดว่าทำวิปัสสนาแล้วจะคิดเก่งทะลุปรุโปร่งไปเลย
    แต่ปัญญาเช่นนี้มันเป็นจินตามยปัญญา

    หลวงพ่อ ปัญญาขั้นนี้เป็นปัญญาขับไล่กิเลส
    อย่างพระอรหันต์ลองนึกดูซิพระยามิลิน ปุถุชนแท้ ๆ
    พระอรหันต์สองหมื่นยังสู้ไม่ได้ เห็นมั้ย
    เพราะพระอรหันต์ท่านไม่มีหน้าที่ที่จะไปเรียนพระไตรปิฏก
    ท่านมีหน้าที่เอากิเลสออก กิเลสของท่านหมด
    แต่ทีนี้ปัญญามันต้องเรียนต้องจำก็เอาปัญญาอยางนี้นะ
    ปัญญาขับไล่กิเลสของท่านมีมากแต่ปัญญาจำพระไตรปิฏกท่านไม่ได้เรียนท่านไม่ได้จำหรอก

    พระอาจารย์ เราจะต้องเอาปัญญาที่ประหัตประหารกิเลส
    หรือทำลายกิเลสให้เห็นแจ้งอริยสัจสี่
    ปัญญาอันใดที่ยังไม่เห็นแจ้งอริยสัจสี่จะถือว่าเป็นวิปัสสนาปัญญาไม่ได้ ต้องเป็นปัญญาที่เห็นแจ้งอริยสัจสี่

    หลวงพ่อ ขอเสริมอีกนิดที่ว่าปัญญาที่จะเป็นปัญญาจริง ๆ
    ในวิสุทธิมรรคนะ ท่านเอาว่า 1 สัญญา 2 วิญญาณ 3 ปัญญา
    เนี่ยไอ้สัญญาวิญญาณ ปัญญา ไอ้ที่เราจำได้มาเทศน์มาสอนกันเรียกว่าสัญญา
    เราแค่จำเท่านั้นนะ นั่นท่านยังไม่ถือเป็นตัวปัญญา
    เรามาสมมุติว่าเป็นปัญญาเพราะตามหลักจริง ๆ
    ที่เรามาเทศน์มาสอนกันอย่างนี้ ไม่ใช่ปัญญา มันเป็นสัญญา
    จำมาตางหาก แล้วก็วิญญาณเท่านั้น สองอันเท่านี้แต่เราก็มานึกกัน
    มีปัญญามากตามหลักจริง ๆ เปล่า ที่เอามาเทศน์มาสอนนี้จำตำรามา
    บางทีก็เปิดพระไตรปิฏก บางทีก็เอาหนังสือมาอ่าน
    ท่านอุปมาว่าสัญญาก็เหมือนเด็กยังไม่เดียงสา
    เห็นเงินก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร
    ตัววิญญาณก็รูว่าเงินเอาไปซื้อของได้ แต่ไม่รู้ว่าจริงหรือปลอม
    แต่ตัวปัญญาจริง ๆ ต้องเห็นอริยสัจสี่
    อย่างพระคุณเจ้าว่า นั่นคือตัวปัญญาในพระศาสนา

    พระอาจารย์ อันนี้แหล่ะเรียกว่าปัญญาแท้ ทีนี้เรากำหนด พองหนอ ยุบหนอ เราต้องการอย่างนี้ใช่ไหมครับ

    หลวงพ่อ ใช่

    พระอาจารย์ ต้องการปัญญาแท้ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อว่าเมื่อกี้

    หลวงพ่อ ใช่ ต้องการเห็นอริยสัจสี่
    ท่านสาธุชนทั้งหลายวันนี้การไขปัญหาหนักไปทางภาคปฏิบัติ
    เพราะมีปัญหาที่คนถามมาแต่ก็น่าคิด
    ปริยัติน่ะมีมากแล้วอาตมาทั้งสองจึงเน้นหนักไปภาคปฏิบัติ กิเลสตัณหา
    ภพชาติของเราก็จะลดน้อยลงก็เพราะต้องอาศัยการปฏิบัติ
    แม้ในชาตินี้เราปฏิบัติแล้วยังไม่สามารถจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
    ซึ่งเคยเจริญกรรมฐานมาตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ถึง 25 ปี
    ก็ยังไม่ได้มรรคผล ก็อย่าประมาทนะญาติโยม
    มันเป็นบุญของเราแล้ว ท่านกล่าวว่ามันจะเป็นปัจจัยให้เราได้
    ในมัชฌิมวัยตั้งแต่อายุ 26-50 ปี
    อาจจะได้สำเร็จมรรคผลนิพพานไปตอนนี้
    ทำเข้าไปเถอะ ถ้ายังไม่ได้ก็อย่าท้อถอย
    ทำต่อไปอีกอาจจะได้ในปัจฉิมวัย 51-75 ปี
    ถ้ายังไม่ได้อยู่ก็ให้ทำไปจนกว่าจะตาย
    อาจจะได้ในสมัยจะตาย ถ้ายังไม่ได้ จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่งใน 6 ชั้น
    แล้วก็ได้สำเร็จมรรคผลนิพพานในสวรรค์โน้น
    ถ้ายังติดภพชาติอยู่จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
    อย่างเณรน้อยเอามีดโกนหัว พอโกนผมไปได้นิดนึงก็เป็นพระโสดาบัน,
    โกนไปอีกนิดเป็นพระสกิทาคามี, โกนไปอีกเป็นพระอนาคามี
    โกนเสร็จเป็นพระอรหันต์ได้ อันนี้มันเป็นอุปนิสัยปัจจัยอย่างนี้
    จึงจำเป็นต้องฝึกต้องปฏิบัติ
    อย่าเพิ่งตีตนก่อนไข้ว่าสมัยนี้มรรคผลนิพพานไม่มีแล้ว
    อย่าไปคิดอย่างนี้ ทำไปเถอะเป็นบุญของเราแล้วที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในชาติหนึ่ง

    กราบขอขมากรรม ขออโหสิกรรมต่อครูบาอาจารย์ และเพื่อน ๆ
    กัณยาณมิตรที่เข้ามาอ่านทุกท่าน หากมีคำใดผิดพลาด พลั้งไป ด้วยไม่ตั้งใจนี้ขอกรรมทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นอโหสิกรรม เพื่อเป็นการสำรวมระวังในการปฏิบัติสืบต่อไป สาธุ....

    ด้วยเพราะถอดเทปมา อาจมีบางคำสะกดผิด หรือฟังไม่ชัดเจน จึงขอขมากรรมมา ณ ที่นี้...
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นอกจากพระพิมพ์ที่บูชากันแล้ว นั่นเราบูชาพระภายนอก อย่าลืมสร้างพระภายในกัน ทั้งพระภายนอก และพระภายใน เราต้องมีไว้ทั้งสองอย่าง แต่ถ้ามีแต่พระภายใน สร้างพระภายในกันอย่างเดียว ตัวเราเองก็ไม่สามารถที่จะคุ้มตัวได้ หากไม่มีพระภายนอก

    เวลาที่เราจะบอกกับคนอื่นๆนั้น เราต้องทำได้ ไม่ใช่ว่า บอกกับคนอื่นอย่างนึง แต่เวลาที่ตัวเองทำก็อีกอย่างนึง

    บอกคนอื่นต้องมีพระภายในเท่านั้น เรื่องพระภายนอกไม่จำเป็น ดังนั้น ผู้ที่บอกเช่นนี้ ก็ไม่ต้องห้อยพระ ไม่ต้องมีพระพิมพ์หรือพระบูชาที่บ้าน ก็สร้างพระภายในกันอย่างเดียว ต้องทำตามที่พูด ที่บอกไว้ ไม่ใช่ว่า สักๆว่าจะโพสก็โพส

    แต่ผมมีความประสงค์ที่จะให้ทุกๆท่าน มีทั้งพระภายนอก และสร้างพระภายใน ไปพร้อมๆกัน

    กรรม คือ การกระทำ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...