พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0102100151&day=2008-01-10&sectionid=0101

    วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10897

    ว่าด้วยเศวตฉัตร7ชั้น

    คอลัมน์ เครื่องเคียง


    [​IMG]

    "ฉัตร" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายไว้ว่า "เครื่องสูงชนิดหนึ่งมีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่าชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลำดับ สำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ"

    ชั้นของฉัตรต้องเป็นชั้นคี่ คือ 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น และ 9 ชั้น

    ฉัตร 9 ชั้น เป็นฉัตรชั้นสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า "นพปฎลมหาเศวตฉัตร" หรือ "พระมหาเศวตฉัตร" ทำด้วยผ้าขาวขลิบทอง ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว

    ฉัตร 7 ชั้น เรียกว่า "พระสัปตปฎลเศวตฉัตร" (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดที่จะเรียกแต่เพียง "สัตปฎลเศวตฉัตร") คือฉัตรขาวมีลักษณะเหมือนพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรทุกประการเพียงแต่ลดจำนวนชั้นลงเหลือ 7 ชั้น พระสัปตปฎลเศวตฉัตรเป็นฉัตรประกอบพระอิสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ผ่านการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และเจ้านายบางพระองค์ที่ได้รับเฉลิมพระยศขึ้นเป็นพิเศษ

    ฉัตร 5 ชั้น เรียกว่า "เบญจปฎลเศวตฉัตร" ลักษณะคล้ายกับพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร แต่ขลิบทองแผ่ลวดมีระบายสองชั้นและลดจำนวนชั้นของฉัตรเหลือ 5 ชั้น เป็นฉัตรประจำพระอิสริยยศเจ้าฟ้า หรือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า

    ฉัตร 3 ชั้น มีลักษณะเหมือนเบญจปฎลเศวตฉัตรแต่ลดจำนวนชั้นลงเหลือ 3 ชั้น รูปทรงจึงไม่สูงชะลูดนัก ใช้เป็นฉัตรสำหรับสมเด็จพระสังฆราช
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=963

    กกุธภัณฑ์
    จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถานได้เคยนำคำอธิบายศัพท์บางคำที่น่าสนใจในหนังสือสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถานมาเผยแพร่ในจดหมายข่าวฯ บ้างแล้ว แต่ยังมีคำอธิบายศัพท์อีกหลายคำที่น่าสนใจและมีประชาชนได้สอบถามมาบ่อยครั้ง เช่น คำว่า เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งคำนี้ นางสาววีณา โรจนราธา ได้อธิบายไว้ในหนังสือสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยเล่มดังกล่าว โดยเก็บไว้ที่คำ กกุธภัณฑ์ คณะผู้จัดทำเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน จึงขอนำคำอธิบายดังกล่าวมาเสนอ ดังนี้

    กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่าเครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ แต่มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย ฉัตร มงกุฎ พระแสงขรรค์ ธารพระกร วาลวีชนี และฉลองพระบาท

    การถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นประเพณีสืบเนื่องมาจากลัทธิพราหมณ์ ที่มีพราหมณ์ (พระมหาราชครู) เป็นผู้กล่าวคำถวาย ตามคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงล้วนเป็นสัญลักษณ์แห่งเทพทั้งสิ้น ดังที่กล่าวไว้ในปัญจราชาภิเษกความว่า

    เศวตฉัตร ๖ ชั้น หมายถึง สวรรค์ ๖ ชั้น
    พระมหามงกุฎ หมายถึง ยอดวิมานของพระอินทร์
    พระขรรค์ หมายถึง พระปัญญาอันจะตัดมลทินถ้อยความไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
    เครื่องประดับผ้ารัตกัมพล หมายถึง เขาคันธมาทน์อันประดับเขาพระสุเมรุราช (ต่อมาใช้วาลวีชนีแทน)
    เกือกแก้ว (ฉลองพระบาท) หมายถึง แผ่นดินอันเป็นที่รองรับเขาพระสุเมรุราช และเป็นที่อาศัยแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายทั่วแว่นแคว้นขอบขัณฑสีมา
    ไทยรับคติความเชื่อนี้มาจากขอมซึ่งรับทอดมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง ประเพณีการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยมีปรากฏมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ดังความในศิลาจารึกวัดศรีชุม (จารึกหลักที่ ๒ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๘๔-๑๙๑๐) เมื่อพ่อขุนผาเมืองอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้ครองเมืองสุโขทัยนั้น ได้มอบ "ขรรค์ชัยศรี" ที่พ่อขุนผาเมืองได้รับพระราชทานจากกษัตริย์ขอมให้พ่อขุนบางกลางหาวด้วย และในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาขอม (จารึกหลักที่ ๔ พ.ศ. ๑๙๐๔) กล่าวถึงเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพิธีบรมราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ว่ามี มกุฎพระขรรค์ชัยศรี และเศวตฉัตร และในสมัยอยุธยาก็ยึดถือพระราชประเพณีนี้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

    เครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่พระมหาราชครูถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย พระมหาเศวตฉัตร พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวีชนี และฉลองพระบาทเชิงงอน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้

    พระมหาเศวตฉัตรหรือพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นฉัตร ๙ ชั้น หุ้มผ้าขาวมีระบาย ๓ ชั้น ขลิบทองแผ่ลวด มียอด พระมหาเศวตฉัตรนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้หุ้มด้วยผ้าขาวแทนตาด ถือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญยิ่งกว่าราชกกุธภัณฑ์อื่น ๆ และในรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำขึ้นถวายที่พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรหลังจากทรงรับน้ำอภิเษกแล้ว จากนั้น เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังก็เชิญไปปักกางไว้เหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ต่อมา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับ ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ เพื่อทรงรับเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ จึงไม่ต้องถวายเศวตฉัตรรวมกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่นอีก

    แต่เดิมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทยบางรัชกาล มิได้กล่าวรวมพระมหาเศวตฉัตร หรือเศวตฉัตรเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ด้วย เพราะฉัตรเป็นของใหญ่โต มีปักอยู่แล้วเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ จึงถวายธารพระกรแทน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นราชสิราภรณ์ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทำด้วยทองลงยาประดับเพชร ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้พระราชสมบัติไปเที่ยวหาซื้อเพชร ได้เพชรเม็ดใหญ่จากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดับไว้บนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ พระราชทานนามว่า "พระมหาวิเชียรมณี" พระมหาพิชัยมงกุฎรวมพระจอน สูง ๖๖ เซนติเมตร หนัก ๗.๓ กิโลกรัม
    ในสมัยโบราณถือว่า มงกุฎมีค่าสำคัญเท่ากับราชกกุธภัณฑ์อื่น ๆ และพระมหาเศวตฉัตรเป็นสิ่งที่สำคัญสูงสุด เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับมงกุฎมาแล้วก็เพียงทรงวางไว้ข้างพระองค์ แต่ต่อมาเมื่อประเทศไทยติดต่อกับประเทศในทวีปยุโรปมากขึ้น จึงนิยมตามราชสำนักยุโรปที่ถือว่า ภาวะแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ที่เวลาได้สวมมงกุฎ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงเชิญทูตานุทูตในประเทศไทยร่วมในพระราชพิธีและทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาทรงสวม แต่นั้นมาก็ถือว่าพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นสิ่งสำคัญในบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และพระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงราชศัสตราประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ ตัวพระขรรค์เป็นของเก่า ตกจมอยู่ในทะเลสาบเขมร ชาวประมงทอดแหได้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ เจ้าพระยาอภัยบูเบศร์ (แบน) ให้ข้าราชการนำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำด้ามและฝักขึ้นด้วยทองลงยาประดับมณีใช้เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์
    พระแสงขรรค์ชัยศรีนี้ เฉพาะส่วนที่เป็นองค์พระขรรค์ยาว ๖๔.๕ เซนติเมตร ประกอบด้ามแล้วยาว ๘๙.๘ เซนติเมตร หนัก ๑.๓ กิโลกรัม สวมฝักแล้วยาว ๑๐๑ เซนติเมตร หนัก ๑.๙ กิโลกรัม พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นพระแสงราชศัสตราที่สำคัญที่สุดในพระราชพิธีสำคัญหลายพิธี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

    ธารพระกร ของเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤษ์ปิดทอง หัวและสันเป็นเหล็ก คร่ำลายทอง ที่สุดสันเป็นซ่อม ลักษณะเหมือนกับไม้เท้าพระภิกษุที่ใช้ในการชักมหาบังสุกุล เรียกธารพระกรของเดิมนั้นว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างธารพระกรขึ้นใหม่องค์หนึ่งด้วยทองคำ ภายในมีพระแสงเสน่า ยอดมีรูปเทวดา จึงเรียกว่า ธารพระกรเทวรูป แต่ที่แท้ลักษณะเป็นพระแสงดาบมากกว่าเป็นธารพระกร แต่ได้ทรงสร้างขึ้นแล้วก็ทรงใช้แทนธารพระกรชัยพฤกษ์ ครั้นมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเอาธารพระกรชัยพฤกษ์ออกใช้อีก ยกเลิกธารพระกรเทวรูป เพราะทรงพอพระราชหฤทัยในของเก่า ๆ จึงคงใช้ธารพระกรชัยพฤกษ์อยู่ต่อมา

    วาลวีชนี (พัดและแส้) พัดวาลวีชนีทำด้วยใบตาล แต่ปิดทองทั้ง ๒ ด้าน ด้ามและเครื่องประกอบทำด้วยทองลงยา ส่วนพระแส้ทำด้วยขนจามรี ด้ามเป็นแก้ว ทั้ง ๒ สิ่งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น "วาลวีชนี" เป็นภาษาบาลี แปลว่า เครื่องโบก ทำด้วยขนวาล ตรงกับที่ไทยเรียกจามรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสร้างแส้ขนจามรีขึ้น

    ฉลองพระบาทเชิงงอน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามแบบอินเดียโบราณ

    เครื่องราชกกุธภัณฑ์เก็บรักษาไว้ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในหมู่พระมหามนเทียร ภายในพระบรมมหาราชวัง เดิมเจ้าพนักงานที่รักษาเครื่องราชูปโภคได้จัดพิธีสมโภชเครื่องราชูปโภคและเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นประจำทุกปี โดยเลือกทำในเดือน ๖ เพราะมีพระราชพิธีน้อย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าวันพระบรมราชาภิเษก เป็นวันมงคล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระราชทานชื่อว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตราธิราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนเรียกชื่อพระราชพิธีว่า พระราชกุศลทักษิณานุปทาน และ พระราชพิธีฉัตรมงคล สืบมาจนปัจจุบันนี้.

    ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๐, กันยายน ๒๕๓๗
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1817

    มีพระบรมราชโองการ : "สั่ง" ของพระมหากษัตริย์

    คำว่า "มีพระบรมราชโองการ" เป็นราชาศัพท์ที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์เท่านั้น หมายถึง "สั่ง" ในเรื่องสำคัญเป็นทางการซึ่งต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เช่น "มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศเฉลิมพระนาม สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี"

    นอกจากคำว่า "มีพระบรมราชโองการ" ราชาศัพท์ของคำกริยา "สั่ง" ที่ใช้แก่พระมหากษัตริย์ ยังมีคำว่า "มีพระราชกระแส, มีพระราชกระแสรับสั่ง, มีพระราชดำรัสสั่ง" หากใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี ใช้ว่า "มีพระราชเสาวนีย์, มีพระราชดำรัสสั่ง" หากใช้แก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ใช้ว่า "มีพระราชบัณฑูร, มีพระราชดำรัสสั่ง" ใช้แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "มีพระราชบัญชา, มีพระราชดำรัสสั่ง" ใช้แก่พระบรมวงศ์<SUP>๑</SUP> ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมาจนถึงพระอนุวงศ์<SUP>๒</SUP> ชั้นพระองค์เจ้า ว่า "มีพระราชดำรัสสั่ง, มีรับสั่ง" และใช้แก่พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ว่า "มีรับสั่ง"

    ทั้งนี้ราชาศัพท์ว่า "มีพระราชกระแสรับสั่ง" นอกจากจะหมายถึง "สั่ง" แล้วยังหมายถึง "พูด" ได้ด้วย ซึ่งจะต้องพิจารณาจากบริบทหรือข้อความแวดล้อม เช่น "มีพระราชกระแสรับสั่งทรงขอบใจ" คำว่า "มีพระราชกระแสรับสั่ง" ในบริบทนี้หมายถึง "พูด" ซึ่งใช้ว่า "มีพระราชกระแสทรงขอบใจ" ก็มี และหากคำว่า "มีพระราชกระแส" อยู่ในบริบทเช่น "มีพระราชกระแสให้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" คำว่า "มีพระราชกระแส" ในบริบทนี้หมายถึง "สั่ง" ซึ่งไม่นิยมให้ใช้ว่า "มีพระราชกระแสรับสั่งให้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" การจะพิจารณาเลือกใช้ราชาศัพท์คำใดหรือพิจารณาความหมายของราชาศัพท์คำใด จึงควรต้องพิจารณาบริบทที่มีราชาศัพท์นั้น ๆ ประกอบอยู่ เพื่อจะได้ใช้ราชาศัพท์ได้ถูกต้องตามแบบแผน ถูกต้องในการใช้แก่เจ้านายแต่ละพระองค์ และเหมาะสมกับบริบทด้วย.
    สุปัญญา ชมจินดา


    <SUP>๑ </SUP>พระบรมวงศ์ หมายถึง พระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ในชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า
    <SUP>๒</SUP> พระอนุวงศ์ หมายถึง เจ้านายชั้นพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า

    http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1816

    มีพระราชดำริ และ มีพระราชดำรัส : "คิด, ดำริ" และ "พูด"

    ทุกวันนี้ยังมีความสับสนในการใช้คำว่า "พระราชดำริ" และ "พระราชดำรัส" เนื่องจากไม่ทราบความแตกต่างเมื่อนำไปใช้ในบริบท ประการแรกจึงควรต้องทราบความหมายของทั้งสองคำก่อน คำว่า มีพระราชดำริ หรือ ทรงพระราชดำริ คือราชาศัพท์ของคำกริยา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2008
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1807

    เมื่อใดใช้คำว่า "ทรง" และไม่ใช้คำว่า "ทรง" ในราชาศัพท์

    การใช้คำว่า "ทรง" ในการใช้ราชาศัพท์ที่ผิดไปจากแบบแผน นับวันจะปรากฏให้เห็นทางสื่อมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ สร้างความเข้าใจผิดในการใช้ราชาศัพท์ต่อ ๆ กันไป เพราะเข้าใจว่าการใช้ภาษาที่สื่อนำเสนอนั้นเป็นการใช้ภาษาที่ถูกต้อง การใช้คำว่า "ทรง" ผิดแบบแผนการใช้ราชาศัพท์มักเกิดจากเติมคำว่า "ทรง" หน้าคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว คำที่พบเห็นการใช้ผิดอยู่เป็นประจำก็คือใช้ว่า ทรงเสด็จ, ทรงเสด็จพระราชดำเนิน, ทรงพระราชทาน, ทรงทอดพระเนตร ซึ่งคำที่ถูกต้องคือ เสด็จ, เสด็จพระราชดำเนิน, พระราชทาน, ทอดพระเนตร โดยไม่ต้องมีคำว่า "ทรง" นำหน้าคำเหล่านี้เพราะเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า "ทรง" ที่นำหน้าราชาศัพท์ได้โดยไม่ผิดแบบแผนก็มีหากใช้คำว่า
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  7. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    มาคุยกันได้นะครับ ตามลิงค์นี้

    http://www.gchats.com/red5chat/visichat/visichat.php
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมกดลิงค์นี้ก็ได้เช่นกันครับ จะเปิดลิงค์หน้าใหม่ให้
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://202.143.164.26/bunjun/contene3.htm

    <TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>พระราชลัญจกร

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    พระราชลัญจกรประจำพระองค์นับเป็นมหาศิริมงคลอันควรจักได้ภาคภูมิใจด้วยการพร้อมใจกันปฏิบัติหน้าที่สนองพระมหากรุณาธิคุณนี้อย่างเต็มกำลังความสามารถ

    องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพระราชลัญจกรประจำพระองค์ใน 3 ประการดังนี้
    ประการแรก รูปที่โดดเด่นที่สุดในพระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือ เศวตฉัตรเจ็ดชั้นที่ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ
    ซึ่งแปลความหมายได้ว่าประชาชนเป็นผู้กราบบังคมทูลถวายแผ่นดินให้ทรงครอง และพร้อมใจกันอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยตรงตามความเชื่อของการสถาปนา พระมหากษัตริย์ โดยความยินยอมพร้อมใจของปวงชน ที่เรียกว่า
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://login.totalweblite.com/design/1091/index.asp?pageid=15755&AccId=2105


    พุทธมงคลคาถา
    <O:p</O:p

    สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม<O:p</O:p
    โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคะเณยเย จะ กัสสะโป<O:p</O:p
    สารีปุตโต จะ ทักขิเณ หะระติเย อุปาลี จะ<O:p</O:p
    ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ<O:p</O:p
    โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อิสาเณปิ จะ ราหุโล<O:p</O:p
    อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา<O:p</O:p
    วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา<O:p</O:p
    เอเตสัง อานุภาเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โนฯ<O:p</O:p
    อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง<O:p</O:p
    นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง<O:p</O:p
    ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง<O:p</O:p
    ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    คำแปล
    <O:p</O:p

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ประทับนั่งอยู่ ณ ท่ามกลางแห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ประกอบด้วย<O:p</O:p
    ๑.พระอัญญาโกณฑัญญะ อยู่ด้านทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) <O:p</O:p
    ๒.พระมหากัสสปะ อยู่ด้านทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) <O:p</O:p
    ๓.พระสารีบุตร อยู่ด้านทิศทักษิณ (ทิศใต้หรือด้านขวา) <O:p</O:p
    ๔.พระอุบาลี อยู่ด้านทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) <O:p</O:p
    ๕.พระอานนท์ อยู่ด้านทิศปัจจิม (ทิศตะวันตกหรือด้านหลัง) <O:p</O:p
    ๖.พระคะวัมปะติ อยู่ด้านทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) <O:p</O:p
    ๗.พระมหาโมคคัลลานะ อยู่ด้านทิศอุดร (ทิศเหนือหรือด้านซ้าย) <O:p</O:p
    ๘.พระราหุล อยู่ด้านทิศอิสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ผู้เป็นมิ่งมงคลทั้งปวงนี้แล ได้ประทับนั่งและประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้แล้ว ข้าพเจ้าขอกราบนมัสการและบูชาพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกทั้งหลายเหล่านี้ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลาย
    <O:p</O:p
    ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกทั้งหลายเหล่านี้ ขอความสวัสดีทั้งปวง จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย<O:p</O:p
    ข้าพเจ้านมัสการพระรัตนตรัย ที่ควรนมัสการอย่างสูงสุด ดังกล่าวฉะนี้แล้ว ขอได้โปรดได้ ซึ่งบุญที่หลั่งไหลไพบูลย์ <O:p</O:p
    ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยดังกล่าวนี้ ขออันตรายทั้งปวง จงอันตรธานหายสิ้นไป เทอญ.
    <O:p</O:p
    (แปลโดย : พระศรีวิสุทธิเมธี (เชษฐา ฉินฺนาลโย ป.ธ. ๙ , Ph.D.)<O:p</O:p
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมมีข่าวมาแจ้งเรื่องการสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งครับ #13535


    [​IMG]

    เนื่องด้วยคณะผู้ดำเนินการสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ได้ออกแบบเรื่องพระเจดีย์ จะมีพระพุทธรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 4 พระองค์และองค์พระศรีอาริยเมตตรัย 1 องค์ พร้อมทั้งมีฉัตรทั้ง 5 พระองค์

    อีกทั้งจะมีการสร้างยอดพระเจดีย์ เป็นฉัตรอยู่ด้านบนสุด

    ทางคณะผู้ดำเนินการสร้างพระเจดีย์ จึงจะมีการจัดผ้าป่าสามัคคีมหากุศล เพื่อเชิญชวนทุกๆท่าน มาร่วมกันสร้างพระพุทธรูป(ส่วนเรื่องขนาดหน้าตักเท่าไร ผมจะมาแจ้งให้ทราบกันอีกครั้ง) 5 พระองค์(คือพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ และองค์พระศรีอาริยเมตตรัย 1 พระองค์) พร้อมด้วยฉัตร และฉัตรที่จะมีการสร้างขึ้นเพื่อนำไปไว้ที่ยอดของพระเจดีย์ จำนวน 1 ฉัตร

    กำหนดการคร่าวๆ จะมีการทอดผ้าป่ากันในวันมาฆะบูชา (ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งวันมาฆะบูชาตรงกับวันพฤหัสที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551) ครับ

    ส่วนรายละเอียดนั้น ผมได้รับรายละเอียดทั้งหมดแล้ว จะมาแจ้งให้ทุกๆท่านทราบกันอีกครั้งนะครับ

    มหาโมทนาสาธุครับ

    .
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.freewebs.com/bansadat/9woodmongkol.htm


    อานิสงส์การ สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน

    <O:p</O:p

    พระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าพระรูปของพระพุทธเจ้า การสร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานจะมีอานิสงส์อย่างไรบ้าง? การสร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานมีอานิสงส์มากมายหลายประการ เหลือที่จะนับจะประมาณได้ จะขอยกมาแสดงไว้ในที่นี้แต่พอเป็นตัวอย่าง หรือพอเป็นแนวทางเท่านั้นคือ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๑. ผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน ชื่อว่าได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการคือ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๑) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน หมายความว่า ผู้นั้นต้องเอาพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานไปถวายพระสงฆ์ไว้ในวัดใดวัดหนึ่ง เพื่อให้ภิกษุสามเณรหรืออุบาสกอุบาสิกาได้กราบไหว้สักการะบูชา และก่อนที่จะได้ถวายตัวเองก็ต้องบริจาคเงินสร้างหรือเช่ามาแล้วนี้เป็นทานมัยกุศลชั้นต้น ต่อมาก็มีการเฉลิมฉลองอีก ตัวเองก็บริจาคจตุปัจจัยไทยทานถวายพระทำบุญ นี้เป็นทานมัยกุศลชั้นที่ ๒ ถึงแม้ว่าจะสร้างไปไว้ที่บ้านเพื่อสักการะบูชา ก็ต้องปฏิบัติในทำนองเดียวกันนี้ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานจึงชื่อวาได้บำเพ็ญทานมัยกุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๒) ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล หมายความว่า ก่อนแต่จะทำการถวายทานหรือถวายพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน เจ้าภาพก็ต้องสมาทานศีลเสียก่อน ศีลที่สมาทานคราวนี้เกิดขึ้นเพราะการสร้าพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานเป็นปัจจัย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญศีลมัยกุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๓) ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คำว่าภาวนานั้นมีสองอย่างคือ สมถภาวนา ๑ วิปัสสนาภาวนา ๑ การได้เห็นพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานด้วยตาได้กราบได้ไหว้ด้วยกาย ได้เปล่งวาจาระลึกถึงพระพุทธคุณ ใจก็น้อมนึกไปตาม ว่าผู้นั้นได้เจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน จัดเป็นสมถกรรมฐานเป็นมหากุศล ตายด้วยจิตดวงเดียว อย่างต่ำต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ อย่างกลางสามารถไปเกิดในสวรรค์ อย่างสูงสามารถไปสู่พระนิพพานได้ ดังพระปิติมัลละเถระเป็นตัวอย่าง คือพระเถระนั้นได้กวาดลานวัดแต่เช้าตรู่ ได้เห็นพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานของพระพุทธเจ้า ซึ่งเทวดานฤมิตนั้นขึ้น พอท่านเห็นก็เกิดปีติแล้วยกปีติขึ้นพิจารณา เจริญวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญภาวนากุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๔) อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อท่านผู้เจริญโดยคุณ โดยวัย โดยชาติ การไหว้พระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน ไหว้พระสงฆ์ หรือไหว้ผู้แก่กว่า ชื่อว่าได้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อท่านผู้เจริญ จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญอปจายนมัยกุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๕) ไวยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ หมายความว่า ในการสร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานนั้น จะต้องอาศัยคนเป็นจำนวนมาก การวิ่งเต้นช่วยกันในงานหล่อพระในงานฉลองพระ เป็นต้น ถือว่าเป็นมหากุศลมีผลไม่น้อย เช่น พระเจ้าจันทปัชโชติ พระไวยาวัจจกเถระ เป็นตัวอย่างดังนี้คือ<O:p</O:p
    ก. พระเจ้าจันทปัชโชติ ได้ช่วยนายรับบาตรพระมาใส่อาหารและนำกลับไปถวายพระ ปรารถนาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และปรารถนาให้มียานพาหนะดี เดินทางได้วันละหลายๆ โยชน์ และปรารถนาให้ตนมีอำนาจวาสนามาก ครั้นตายแล้วก็ได้ไปเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินมีนามว่า พระเจ้าจันทปัชโชติสมความปรารถนา<O:p</O:p
    ข. พระไวยาวัจจกเถระ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระวิปัสสี ท่านเป็นผู้ช่วยเหลือในกิจการของวัดและได้ช่วยเหลือในงานทำบุญต่างๆ ตายจากชาตินั้นได้ไปเกิดในสวรรค์ จุติมาเกิดเป็นพระราชาได้ออกบวชเจริญวิปัสสนากรรมฐานสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แตกฉานในปฏิสัมภิพาทั้ง ๔ ได้วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญไวยาวัจจมัยกุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๖) ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ หมายความว่า ผู้ที่ได้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานจำเป็นอยู่เองที่จะบอกญาติสนิทมิตรสหายให้ทราบ เพื่อร่วมอนุโมทนาในการฉลองพระ การถวาย เป็นต้น นอกจากนั้นยังจะต้องอุทิศส่วนกุศลส่วนบุญให้แก่บิดามารดาปู่ย่าตายาย ท่านผู้มีพระคุณ เทพบุตร เทพธิดา เป็นต้นอีก ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญปัตติทานมัยกุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๗) ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ หมายความว่า เมื่อผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานได้บอกบุญแจ้งข่าวแก่ญาติมิตรแล้ว ญาติมิตรเหล่านั้นก็จะต้องพากันอนุโมทนาต้อนรับเป็นอย่างดี เมื่อผู้อื่นมาอนุโมทนาท่านเจ้าภาพก็พลอยปลื้มปีติอนุโมทนาสาธุการตอบอีก การปฏิบัติอย่างนี้ จัดเป็นมหากุศลด้วยกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญปัตตานุโมทนามัยกุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๘) ธัมมัสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม หมายความว่า ในการสร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานนั้น เจ้าภาพบางคนก็ได้นิมนต์พระไปสวดชะยันโต เจริญพระพุทธมนต์ แสดงธรรม และเจ้าภาพบางคนได้พิมพ์หนังสือธรรมแจกเป็นธรรมทานในงานฉลองพระ เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ ชื่อว่าได้ให้ธรรมเป็นทานด้วย ตัวเองและผู้ได้มาร่วมงานก็ได้ฟังธรรมไปด้วย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญธัมมัสวนมัยกุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๙) ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม หมายความว่า การที่พระสงฆ์ได้มาสวดมนต์สวดชะยันโต หรือแสดงธรรมนั้น ก็เพราะเจ้าภาพเป็นผู้อาราธนามา นี้ชื่อว่าเจ้าภาพได้บุญอันสำเร็จจากการแสดงธรรมแล้ว ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญธัมมเทสนามัยกุศลไปด้วย
    <O:p</O:p
    ๑๐)ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง หมายความว่า กุศลนั้นมีอยู่ ๔ ชั้นคือ<O:p</O:p
    ๑.กุศลชั้นกามาวจร ได้แก่ มหากุศลต่างๆ มีการสร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน ถวายทาน สร้างศาลา ฟังธรรม แสดงธรรม เป็นต้น<O:p</O:p
    ๒.กุศลชั้นรูปาวจร ได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน เช่น พุทธานุสสติ เป็นต้น<O:p</O:p
    ๓.กุศลชั้นอรูปาวจร ได้แก่ การเจริญอรูปกรรมฐาน ๔ มีอากานัญจายตนะ เป็นต้น<O:p</O:p
    ๔.กุศลชั้นโลกุตตระ ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
    <O:p</O:p
    การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานได้เกิดศรัทธา จนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานได้ และออกมาทำทานในงานฉลองพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐานได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นตรงเห็นถูกแท้ เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๑.ผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท<O:p</O:p
    ๒.ผู้สร้างพระพุทธรูปและฐานบัวประดิษฐาน ชื่อว่าเป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย<O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รูปความคืบหน้า การก่อสร้างพระเจดีย์ และทำบันไดพญานาคครับผม
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>

    โดย
    sira<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_910297", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 06:29 PM
    วันที่สมัคร: Feb 2005
    อายุ: 33 ปี
    ข้อความ: 129 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 25 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 947 ครั้ง ใน 123 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 143 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    update ความคืบหน้า การก่อสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง (ต่อ)
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->รูปภาพการก่อสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>


    โดย
    sira<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_910297", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 06:29 PM
    วันที่สมัคร: Feb 2005
    อายุ: 33 ปี
    ข้อความ: 129 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 25 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 947 ครั้ง ใน 123 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 143 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<!-- / message --><!-- sig -->
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ปาราชิกกัณฑ์
    ปฐมปาราชิกสิกขาบท<SMALL> [ว่าด้วย เมถุนธรรม]</SMALL>
    เรื่องพระสุทินน์
    สุทินน์กลันทบุตรออกบวช
    พระปฐมบัญญัติ
    พระอนุบัญญัติ ๑ เรื่องลิงตัวเมีย
    พระอนุบัญญัติ ๒ เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
    สิกขาบทวิภังค์
    ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]</SMALL>
    ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]</SMALL>
    ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน

    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑
    </CENTER>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=432&Z=665

    <CENTER>สุทินน์กลันทบุตรออกบวช
    </CENTER> [๑๔] ทันใดนั้น พวกสหายของสุทินน์กลันทบุตร เข้าไปหาสุทินน์กลันทบุตร แล้ว
    ได้บอกเขาว่า ลุกขึ้นเถิด สุทินน์เพื่อนรัก มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็น
    บรรพชิตแล้ว พอสุทินน์กลันทบุตรได้ทราบว่า มารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็น
    บรรพชิตแล้ว ก็ร่าเริงดีใจ ลุกขึ้นลูบเนื้อลูบตัวด้วยฝ่ามือ ครั้นเยียวยากำลังอยู่สองสามวันแล้ว
    จึงเข้าไปสู่พุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่งเฝ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขานั่งเฝ้าอยู่
    อย่างนั้นแล ได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระพุทธเจ้าอันมารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือน
    บวชเป็นบรรพชิตแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ได้โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิดพระ-
    *พุทธเจ้าข้า.
    สุทินน์กลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในพุทธสำนักดังนี้ ก็แลเห็นท่านพระสุทินน์
    อุปสมบทแล้วไม่นาน ประพฤติสมาทานธุดงคคุณเห็นปานนี้ คือ เป็นผู้ถืออรัญญิกธุดงค์
    ปิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์ สปทานจาริกธุดงค์ พำนักอยู่ใกล้หมู่บ้านชาววัชชีตำบลหนึ่ง.

    <CENTER>พระสุทินน์เยี่ยมสกุล
    </CENTER> [๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มี
    กระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือ
    บาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น ท่านพระสุทินน์ได้มีความคิดเห็นว่า เวลานี้วัชชีชนบทอัตคัด
    อาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุ-
    *สงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย ก็แลญาติของเราในพระนคร
    เวสาลีมีมาก ล้วนเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์
    ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปพำนักอยู่ใกล้หมู่ญาติ
    แม้หมู่ญาติก็จักได้อาศัยเราให้ทานทำบุญ และภิกษุทั้งหลายก็จักได้ลาภ ทั้งเราก็จักไม่ลำบากด้วย
    บิณฑบาต ดั่งนั้น ท่านพระสุทินน์จึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่
    พระนครเวสาลี เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า เธอพำนักอยู่
    ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.
    บรรดาญาติของท่านพระสุทินน์ ได้ทราบข่าวว่า พระสุทินน์กลันทบุตรกลับมาสู่พระนคร
    เวสาลีแล้ว จึงนำภัตตาหารมีประมาณ ๖๐ หม้อไปถวายท่านพระสุทินน์ๆ สละภัตตาหารประมาณ
    ๖๐ หม้อนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วเช้าวันนั้นครองอันตรวาสกถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต
    ยังกลันทคาม เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกในกลันทคาม ใกล้จะถึงเรือนบิดาของตน
    ก็พอดีทาสีของญาติท่านพระสุทินน์ กำลังมีความมุ่งหมายจะเทขนมสดที่ค้างคืน จึงท่านพระสุทินน์
    ได้กล่าวคำนี้กะนางว่า น้องหญิง ถ้าของนั้นมีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ขอท่านจงเกลี่ยลงใน
    บาตรของเรานี้เถิด ขณะที่นางกำลังเกลี่ยขนมสดที่ค้างคืนนั้นลงในบาตร นางจำเค้ามือ เท้าและ
    เสียงของพระสุทินน์ได้ จึงรีบเข้าไปหามารดาของท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะ
    มารดาของท่านว่า คุณนายเจ้าขา โปรดทราบ พระสุทินน์บุตรคุณนายกลับมาแล้วเจ้าค่ะ.
    แม่ทาสี ถ้าเจ้าพูดจริง เราจะปลดเจ้ามิให้เป็นทาสี มารดาท่านพระสุทินน์กล่าว.
    ขณะที่ท่านพระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมสดที่ค้างคืนนั้น พอดีบิดา
    ของท่านพระสุทินน์เดินกลับมาจากที่ทำงาน ได้แลเห็นท่านพระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือน
    แห่งหนึ่งฉันขนมสดที่ค้างคืนนั้นอยู่ จึงเดินเข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้
    กะท่านว่า มีอยู่หรือ พ่อสุทินน์ นี่พ่อจักฉันขนมสดที่ค้างคืน พ่อสุทินน์ พ่อควรไปเรือน
    ของตนมิใช่หรือ.
    คุณโยม รูปได้ไปสู่เรือนของคุณโยมแล้ว ขนมสดที่ค้างคืนนี้ รูปได้มาแต่เรือนของ
    คุณโยม พระสุทินน์ตอบ.
    ทันใดนั้น บิดาของท่านพระสุทินน์จับแขนท่าน แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านว่า มาเถิด
    พ่อสุทินน์ เราจักไปเรือนกัน.
    ลำดับนั้น ท่านพระสุทินน์ได้เดินตามเข้าไปสู่เรือนบิดาของตน ครั้นถึงแล้วนั่งบน
    อาสนะที่เขาจัดถวาย จึงบิดาของท่านได้กล่าวคำนี้กะท่านว่า จงฉันเถิดพ่อสุทินน์.
    อย่าเลยคุณโยม ภัตกิจในวันนี้ รูปทำเสร็จแล้ว พระสุทินน์กล่าวตอบ.
    บิดาอาราธนาว่า พ่อสุทินน์ ขอพ่อจงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้เถิด.
    ท่านพระสุทินน์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ และแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

    <CENTER>บิดาวิงวอนให้สึก
    </CENTER> [๑๖] ครั้งนั้นแล มารดาของท่านพระสุทินน์สั่งให้ไล้ทาพื้นแผ่นดินด้วยโคมัยสด ให้
    จัดทำกองทรัพย์ไว้สองกอง คือเงินกอง ๑ ทองกอง ๑ เป็นกองใหญ่ กระทั่งบุรุษยืนอยู่ข้างนี้
    ไม่แลเห็นบุรุษยืนอยู่ข้างโน้น บุรุษยืนอยู่ข้างโน้นก็ไม่แลเห็นบุรุษยืนอยู่ข้างนี้ ให้ปิดกองทรัพย์
    เหล่านั้นด้วยลำแพน ให้จัดอาสนะไว้ในท่ามกลาง ให้แวดวงด้วยม่าน เสร็จโดยล่วงราตรีนั้น
    แล้วเรียกปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์มาสั่งว่า ลูกหญิง เพราะลูกสุทินน์จะมา เจ้าจง
    แต่งกายด้วยเครื่องประดับ อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่พอใจ.
    อย่างนั้นเจ้าข้า นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์.
    ณ เวลาเช้าวันนั้นแล ท่านพระสุทินน์ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่เรือน
    บิดาของตน แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.
    ลำดับนั้นแล บิดาของท่านพระสุทินน์เข้าไปหาท่านพระสุทินน์ ครั้นแล้วให้คนเปิด
    กองทรัพย์เหล่านั้นออก ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ นี้ทรัพย์ของมารดาพ่อ
    ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วนของปู่ต่างหาก พ่อ
    สุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์
    พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
    คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ.
    แม้ครั้งที่สอง บิดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์
    นี้ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วน
    ของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ
    มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
    คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ.
    แม้ครั้งที่สาม บิดาของพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์ นี้
    ทรัพย์ของมารดาพ่อ ซึ่งเป็นสินเดิมฝ่ายหญิงที่ได้มาทางฝ่ายมารดา ส่วนของบิดาต่างหาก ส่วน
    ของปู่ต่างหาก พ่อสุทินน์ พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติ และบำเพ็ญบุญ
    มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
    ท่านพระสุทินน์ตอบว่า คุณโยม รูปขอพูดกะคุณโยมบ้าง ถ้าคุณโยมไม่ตัดรอน.
    บ. พูดเถิด พ่อสุทินน์.
    สุ. คุณโยม ถ้าเช่นนั้น คุณโยมจงสั่งให้เขาทำกระสอบป่านใหญ่ๆ บรรจุเงินและทอง
    ให้เต็มบรรทุกเกวียนไป แล้วให้จมลงในกระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี การเฝ้ารักษาก็ดี อันมี
    ทรัพย์นั้นเป็นเหตุ ที่จักเกิดแก่คุณโยมนั้น จักไม่มีแก่คุณโยมเลย.
    เมื่อท่านพระสุทินน์กล่าวอย่างนี้แล้ว บิดาของท่านได้มีความไม่พอใจว่า ไฉนลูกสุทินน์
    จึงได้พูดอย่างนี้ และแล้วได้เรียกปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์มาบอกว่า ลูกหญิง เพราะเจ้า
    เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ บางทีลูกสุทินน์จะพึงทำตามคำของเจ้าบ้าง.
    ทันใดนั้น นางได้จับเท้าท่านพระสุทินน์ถามว่า ข้าแต่ลูกนาย นางอัปสร ผู้เป็นเหตุให้
    ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้น ชื่อเช่นไร?
    น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งนางอัปสรเลย พระสุทินน์
    ตอบ.
    บัดดล นางน้อยใจว่า สุทินน์ลูกนาย เรียกเราด้วยถ้อยคำว่า น้องหญิง ในวันนี้
    เป็นครั้งแรก แล้วสลบล้มลงในที่นั้นเอง.
    ท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคำนี้กะบิดาว่า คุณโยม ถ้าโภชนะที่จะพึงให้มีอยู่ ก็จงให้เถิด
    อย่ารบกวนรูปเลย.
    ฉันเถิด พ่อสุทินน์ มารดาบิดาของท่านพระสุทินน์กล่าวดังนี้แล้ว ได้อังคาสท่าน
    พระสุทินน์ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัตร และแล้วมารดาของ
    ท่านพระสุทินน์ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ผู้ฉันเสร็จ ลดมือจากบาตรแล้วว่า พ่อสุทินน์
    สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก
    มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญ
    บุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
    คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ.
    แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์
    สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก
    มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญ
    บุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
    คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ.
    แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพระสุทินน์ก็ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า พ่อสุทินน์
    สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและมีเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก
    มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อสุทินน์ ดังนั้น พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้
    ไม่ริบทรัพย์สมบัติของเรา อันหาบุตรผู้สืบสกุลมิได้ไปเสีย.
    สุ. คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทำได้.
    ม. พ่อสุทินน์ ก็เวลานี้พ่อพำนักอยู่ที่ไหน?
    ที่ป่ามหาวันจ้ะ ท่านพระสุทินน์ตอบ และแล้วได้ลุกจากอาสนะหลีกไป.

    <CENTER>เสพเมถุนธรรม
    </CENTER> [๑๗] หลังจากนั้น มารดาของท่านพระสุทินน์สั่งกำชับปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์
    ว่า ลูกหญิง ถ้ากระนั้นเมื่อใดเจ้ามีระดู ต่อมโลหิตเกิดมีแก่เจ้า เมื่อนั้นเจ้าพึงบอกแก่แม่.
    นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์แล้ว ต่อมาไม่ช้านัก นางได้มีระดู ต่อมโลหิตได้
    เกิดขึ้นแก่นาง นางจึงได้แจ้งแก่มารดาของท่านพระสุทินน์ว่า ดิฉันมีระดู เจ้าค่ะ ต่อมโลหิตเกิดขึ้น
    แก่ดิฉันแล้ว.
    มารดาของท่านพระสุทินน์กล่าวว่า ลูกหญิง ถ้ากระนั้น เจ้าจงแต่งตัวด้วยเครื่องประดับ
    อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่พอใจ.
    จ้ะ คุณแม่ นางรับคำมารดาของท่านพระสุทินน์แล้ว จึงมารดาพานางเข้าไปหาท่าน
    พระสุทินน์ที่ป่ามหาวัน แล้วรำพันว่าพ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง
    และเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็นทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมา
    เป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็น
    คฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
    คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ.
    แม้ครั้งที่สอง มารดาของท่านพระสุทินน์ ก็ได้รำพันว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มี
    ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็น
    ทรัพยากรมาก พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัสถ์ จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ มาเถิด
    พ่อสุทินน์ พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด.
    คุณโยม รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ พระสุทินน์ตอบ.
    แม้ครั้งที่สาม มารดาของท่านพระสุทินน์ ก็ได้รำพันว่า พ่อสุทินน์ สกุลนี้มั่งคั่ง มี
    ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์ที่น่าปลื้มใจมาก มีข้าวเปลือกเป็น
    ทรัพยากรมาก พ่อสุทินน์ ดั่งนั้นพ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติ
    ของเรา อันหาบุตรผู้สืบสกุลมิได้ไปเสียเลย.
    คุณโยม เฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทำได้ ท่านพระสุทินน์ตอบแล้วจูงแขนปุราณทุติยิกาพาเข้าป่า
    มหาวัน เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ เพราะสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติ จึงเสพเมถุนธรรมกับ
    ปุราณทุติยิกา ๓ ครั้ง นางได้ตั้งครรภ์เพราะอัฌาจารนั้น.
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ปาราชิกกัณฑ์
    ปฐมปาราชิกสิกขาบท
    <SMALL> [ว่าด้วย เมถุนธรรม]</SMALL>
    เรื่องพระสุทินน์
    สุทินน์กลันทบุตรออกบวช
    พระปฐมบัญญัติ
    พระอนุบัญญัติ ๑ เรื่องลิงตัวเมีย
    พระอนุบัญญัติ ๒ เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
    สิกขาบทวิภังค์
    ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]</SMALL>
    ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]</SMALL>
    ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน


    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑
    </CENTER>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v....01&A=432&Z=665

    <CENTER>เทพเจ้ากระจายเสียง
    </CENTER> [๑๘] เหล่าภุมเทพกระจายเสียงว่า ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียดไม่มีโทษ
    พระสุทินน์กลันทบุตรก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว เทพชั้นจาตุมหาราช ได้สดับเสียง
    เหล่าภุมเทพแล้วกระจายเสียงต่อไป เทพชั้นดาวดึงส์ เทพชั้นยามา เทพชั้นดุสิต เทพชั้น
    นิมมานรดี เทพชั้นปรนิมมิตวสวดี เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้สดับเสียงแล้วกระจายเสียงกัน
    ต่อๆ ไปว่า ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ พระสุทินน์กลันทบุตรก่อ
    เสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว โดยทันใดนั้น ครู่หนึ่งนั้น เสียงได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก
    ด้วยอาการอย่างนี้แล.
    สมัยต่อมา ปุราณทุติยิกาของท่านพระสุทินน์ อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น คลอดบุตร
    แล้ว จึงพวกสหายของท่านพระสุทินน์ได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า พีชกะ ตั้งชื่อปูราณทุติยิกาของท่าน
    พระสุทินน์ว่า พีชกมาตา ตั้งชื่อท่านพระสุทินน์ว่า พีชกปิตา ภายหลังเขาทั้งสองได้ออกจาก
    เรือนบวชเป็นบรรพชิต ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว.

    <CENTER>พระสุทินน์เกิดวิปฏิสาร
    </CENTER> [๑๙] ครั้งนั้น ความรำคาญ ความเดือดร้อน ได้เกิดแก่ท่านพระสุทินน์ว่า มิใช่ลาภ
    ของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะเราบวชใน
    พระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ให้
    บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต เพราะความรำคาญนั้นแหละ เพราะความเดือดร้อนนั้นแหละ ท่านได้
    ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ
    มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสาร ซบเซาแล้ว.
    จึงบรรดาภิกษุที่เป็นสหายของท่านพระสุทินน์ ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์ว่า อาวุโส
    สุทินน์ เมื่อก่อนคุณเป็นผู้มีผิวพรรณ มีอินทรีย์สมบูรณ์ มีสีหน้าสดใส มีฉวีวรรณผุดผ่อง
    มีน้ำมีนวล บัดนี้ ดูคุณซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่ง
    ด้วยเอ็น มีเรื่องในใจ มีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฏิสาร ซบเซาอยู่ คุณจะไม่ยินดีประพฤติ
    พรหมจรรย์กระมังหนอ?
    อาวุโสทั้งหลาย ความจริง มิใช่ว่าผมจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ พระสุทินน์ค้าน
    แล้วแถลงความจริงว่า เพราะบาปกรรมที่ผมทำไว้มีอยู่ ผมได้เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา
    ผมจึงได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนว่า มิใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่ว
    แล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เพราะเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้
    แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต ดังนี้.
    อาวุโส สุทินน์ จริง การที่คุณบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้
    แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้น พอที่คุณจะรำคาญ
    พอที่คุณจะเดือดร้อน.
    อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด
    ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่
    เพื่อมีความถือมั่น มิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลาย
    ความกำหนัด คุณยังจะคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังจักคิดเพื่อ
    ความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.
    อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่ง
    ราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่ง
    อาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อ
    ความดับทุกข์ เพื่อนิพพานมิใช่หรือ?
    อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การ
    เพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคตรัสบอก
    ไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ?
    อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
    หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อ
    ความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใส
    แล้ว.
    ภิกษุสหายเหล่านั้น ติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ได้กราบทูลเนื้อ
    ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

    <CENTER>ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
    </CENTER> [๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นมูลเค้านั้น
    ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระสุทินน์ว่า ดูกรสุทินน์ ข่าวว่าเธอ
    เสพเมถุนธรรม ในปุราณทุติยิกา จริงหรือ?
    ท่านพระสุทินน์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
    ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้
    แล้ว ไฉนจึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า.
    ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่
    เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมี
    ความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิด
    เพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ
    ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.
    ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ
    เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อ
    เป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับ
    แห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ?
    ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม
    การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย
    อเนกปริยาย มิใช่หรือ?
    ดูกรโมฆบุรุษ องค์กำเนิด อันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย ยังดีกว่า อันองค์
    กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากงูเห่า
    ยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม ไม่ดีเลย องค์กำเนิดอันเธอ
    สอดเข้าในหลุมถ่านที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคาม
    ไม่ดีเลย.
    ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร?
    เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือ
    ความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้า
    แต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิด
    เข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
    นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ.
    ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็น
    เรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของ
    คนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็น
    อันมาก การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
    ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่
    เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ
    เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
    คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ
    มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
    ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
    เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย
    อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด
    ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
    เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๔๓๒ - ๖๖๕. หน้าที่ ๑๘ - ๒๗.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=432&Z=665&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=1&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD</U>
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
    .
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    ปีเก่าปีใหม่..???

    เมื่อครั้งสมัยที่หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ยังดำรงขันธ์อยู่ ในช่วงหลังๆ ทุกช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลวงปู่ท่านจะต้องลงมายังกรุงเทพโดยมาพำนักที่"บ้านกรุงเทพภาวนา" สุขุมวิทซอย 36 โดยตลอด ด้วยมี"โยม"ท่านหนึ่งซึ่งอยู่แถวหมอชิตเก่า (ปัจจุบัน รื้อไปหมดแล้ว) "จอง"หลวงปู่ท่านไว้ว่า ทุกๆสิ้นปี จะนิมนต์ท่านมาทำบุญปีใหม่ตลอดไป จนกว่าจะ"ตายกันไปข้างหนึ่ง"เลยนั่นเทียว..!!??ด้วยเหตุดังนี้ บรรดาลูกศิษย์ทางกรุงเทพฯ เลยได้อานิสงส์ตรงนี้ไปด้วย จึงมีบุญได้ไปกราบไหว้ทำบุญกับหลวงปู่สิมท่านเป็นการ "Count Down" อย่างสำราญบานใจไปตามๆกัน......
    และแน่นอน แม้ "พุทธวงศ์"ก็ต้องไปคอยเฝ้าแหนชมบุญหลวงปู่สิมอยู่แทบจะทุกวันด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย.......
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    และคืนวันที่ 31 ธันวาคม อันเป็นวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นั้น บรรดาศิษย์ทางกรุงเทพก็จะไปนมัสการกราบไหว้หลวงปู่สิมที่บ้านกรุงเทพภาวนากันอย่างแน่นขนัดทุกๆปี
    ในขณะที่อยู่ต่อหน้าหลวงปู่ ศิษย์บางคนบางท่านพูดคุยหรือแสดงกริยาท่าทางตื่นเต้นดีใจจนออกนอกหน้า พลางวางแผนสะระตะต่อหน้าหลวงปู่นั่นเองว่า เมื่อกราบทำบุญกับหลวงปู่เสร็จ ก็จะไปเที่ยวฉลองปีใหม่ที่โน้นที่นี้ กับคนนั้น คนนี้บ้างให้สนุกสนานชื่นบานหนำใจเลยทีเดียว ฯลฯ...
    หนักเข้า ท้ายสุด หลวงปู่สิมท่านคงเห็นว่า บรรดาศิษย์บางหน่อบางนางนี้ ออกจะ"เลยเถิด"มากเกินไปแล้ว หลวงปู่ท่านเลยติด"ดิสเบรค" เข้าให้อย่างแรง จนหลายๆคนที่ยังตั้งหลักไม่ทัน ด้วยยังคิดจะ"สนุกสนาน"อยู่ ต้องถึงแก่การหน้าทิ่มหัวคะมำตำกันดูไม่จืด ได้แต่ยิ้มกระเรี่ยกระราดไปตามๆกันเลยทีเดียวว่า
    "เอ้อ..จะปีเก่าหรือปีใหม่ ก็วันเก่าคืนเก่าอันเดิมเรานี่แหละ จะไปอัศจรรย์ไปหลงติดในสมมุติโลกอะไรกัน...??? <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    นอกจากนี้ อาจจะได้ยินหลวงปู่ท่าน"ปรารภธรรม"แถมให้อีกหน่อยก็ได้ว่า
    "จะปีเก่าก็ดี จะปีใหม่ก็ช่าง...สิ่งที่ควรระลึกไว้ก็คือ วันเวลาที่ผ่านไปนั้น มันไม่ได้ผ่านไปเปล่าๆ แต่มันเอาอายุขัยของคนเราไปด้วย จะมัวพากันประมาทมัวเมาอยู่ไม่ได้น๊ะ..!!!!" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>และสุดท้าย ก็สรุปด้วย"ยอดธรรม"ก็คือ
    "อย่าประมาทเรื่องกาลเวลา ให้แสวงหาสาระ คือบุญกุศลไว้เสมอๆ อย่าให้ชีวิตล่วงไปเปล่าประโยชน์" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>และ
    "วันเวลาที่หมดไปสิ้นไปโดยที่ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ตัวเองบ้าง ในชีวิตที่เกิดมาในโลกและได้พบพระพุทธศาสนานี้ ช่างเป็นชีวิตที่น่าเสียดายยิ่งนัก
    เวลาแม้เพียงหนึ่งนาทีที่ผ่านเลยไปนั้น แม้ว่าจะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลสักสิบล้าน ร้อยล้านบาท ก็ไม่สามารถซื้อกลับคืนมาได้
    ฉะนั้น สิ่งที่น่าเสียดายในโลกนี้ จะมีอะไรน่าเสียดายเท่ากับปล่อยให้วันเวลาผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ แม้ว่าจะเพียงแค่นาทีเดียว..." <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้แล....
    สาธุ................ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณเว็บพุทธวงศ์ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
    http://www.phuttawong.net
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>สมเด็จพระสังฆราชประทานพรวันเด็ก ขอให้ทำความดีตอบแทนผู้ให้กำเนิด</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 มกราคม 2551 11:01 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=150>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระพรวันเด็กแห่งชาติปี 2551 ขอให้เด็กทุกคนทำแต่ความดี เพื่อตอบแทนพระคุณผู้ให้กำเนิด ตั้งใจและทำให้ได้ ชีวิตทุกคนจะร่มเย็นเป็นสุข

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระพรวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2551 ความว่า “ในวันเด็กแห่งชาติ 12 ม.ค. พ.ศ. 2551 เมื่อมาถึงวันเด็กแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง ก็เท่ากับเป็นวันเป็นศรีเป็นมงคลแก่จิตใจเด็กไทยทั้งหลาย เพราะวันนี้คือ “วันเด็กแห่งชาติ” เด็กจะได้รับความรู้สึกพิเศษในจิตใจ ไม่เพียงโอกาสพิเศษที่จะได้รับความสนุกสนานสำราญใจนานาประการ แต่จะได้รับสิ่งที่ควรถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่งของชีวิตคือพร

    เมื่อมาถึงวันเด็ก ผู้ใหญ่ทั้งหลายจะพากันให้ศีลให้พรลูกหลานที่เข้าไปกราบไหว้แสดงความเคารพ เด็กน่าจะไม่เพียงสักแต่รับพรส่งเดชไป โดยไม่คิดให้เห็นค่าจริงจังของพรที่ได้รับ ต้องมีเด็กที่เห็นความมีคุณของพรที่ได้ยินจากเสียงผู้ใหญ่ ย่อมนอบน้อมรับพรด้วยความจริงใจแม้ตามประสาเด็ก และการรับพรด้วยความรู้สึกจริงใจ จะเป็นไปในความรู้สึกของผู้ใหญ่หรือของเด็กก็ตาม ย่อมมีผลเป็นมงคล อันพรนั้นเกิดจากใจจริงของผู้ให้ย่อมมีผลงดงามแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้รับ รับด้วยความจริงใจ



    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>พรที่ผู้ใหญ่ให้เด็กด้วยความปรารถนาดีจริงใจ คือเด็กจงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของมารดาบิดา จงมุ่งมั่นตอบสนองพระเดชพระคุณของท่าน ด้วยการพยายามทำความดีให้สุดความสามารถให้เป็นที่ปรากฏประจักษ์จริงใจในความรู้สึกของตนเอง ซึ่งแน่นอนจะต้องปรากฏประจักษ์ในความรู้สึกของท่านผู้เป็นมารดาบิดา ด้วยเช่นเดียวกัน เพียงเท่านี้ก็น่าจะเข้าใจได้แล้ว ว่าเมื่อบุตรธิดาทำความดี ผู้เป็นมารดาบิดาย่อมยินดียิ่งกว่าตอบแทนด้วยวิธีอื่นใด

    วันเด็กในปีนี้ ขอเด็กทุกคนจงตั้งใจให้มั่น ว่าจะทำแต่ความดี ไม่ทำความไม่ดี เพื่อตอบแทนพระคุณพ้นประมาณของท่านผู้ให้กำเนิด จงตั้งใจ และจงทำให้ได้ ชีวิตทุกคนจะร่มเย็นเป็นสุข บ้านเมืองจะไกลทุกข์ไกลร้อน พ้นสภาพที่น่ากลัวในทุกวันนี้ได้ด้วยพลังความดีของเด็กแน่นอน”
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446

แชร์หน้านี้

Loading...