::ผู้มีจิตเป็นพระโพธิสัตว์ สามารถสอนผู้อื่นให้เข้าถึงพระนิพพานก่อนได้หรือไม่ ::

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สุชีโว, 9 มีนาคม 2014.

  1. สุชีโว

    สุชีโว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    154
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +579
    พระโพธิสัตว์ สั่งสมบารมีเพื่อสู่การ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะเป็นพระพุทธเจ้า นั้น ท่านสามารถสั่งสอนให้ผู้อื่นถึงฝั่งพระนิพพานได้หรือไม่ ท่านสามารถสอนคนได้ ระดับไหนสูงสุด
     
  2. naitiw

    naitiw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,611
    ค่าพลัง:
    +2,882
    ได้ แต่ไม่สอน จะเน้นให้กลับมาช่วยคน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    ถ้าจะเน้นเข้านิพพานจะให้ไปศึกษาจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเอง
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    เกิดในสมัยพระพุทธเจ้า ศาสนาพุทธ

    สอนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    ลองอ่านประวัติหลวงปู่ปาน ดูนะครับ

    พระโพธิสัตว์ สอนลูกศิษย์เป็นพระอรหันต์กี่องค์

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2014
  4. AYACOOSHA

    AYACOOSHA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +2,253
    เรื่องการแสดงธรรมนั้นเป็นหน้าที่ของผู้แสดงธรรมตามที่ตนได้รู้ได้เห็นเองมา.....ส่วนหน้าที่การบรรลุธรรมขั้นต่าง ๆนั้นเป็นหน้าที่ของคนที่รับฟังธรรมนั้น ๆ ดังที่พระสารีบุตรขณะที่ยังครองเพศฆารวาสชื่ออุปติสสะและได้สนทนาตอบกลับพระอัสชิว่า "จะน้อยหรือมากก็เป็นหน้าที่ของของผู้แสดงธรรม....ส่วนหน้าที่แทงธรรมให้แจ้งนั้นเป็นของผู้ฟังเอง" จากที่กล่าวมาในข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า...ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามก็เป็นได้แต่เพียงบอกกล่าวในสิ่งที่ตนรู้ตนเห็นเท่านั้น....ส่วนเรื่องการบรรลุธรรมนั้นเป็นของผู้รับมิใช่ผู้ให้.....สวัสดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2014
  5. White Sage

    White Sage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +1,743
    ท่านที่ปรารถนาพระโพธิญาณนั้น สามารถสั่งสอนคนได้ตามภูมิธรรมที่ท่านมี เวลาสอนจะสอนสิ่งที่เหมาะกับคนนั้นๆ และสอนได้เฉพาะคนที่เกี่ยวเนื่องกันมาเท่านั้นค่ะ ;)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2014
  6. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ตนเองได้แค่ไหน ก็สอนได้แค่นั้นครับ จะนิพพานหรือไม่ อยู่ที่ความเข้าใจและปล่อยวางของผู้ฟังเอง ไม่มีใครสั่งใครให้นิพพานได้เว้นแต่ตัวของเขาเอง
     
  7. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ดูแค่เถรใบลานเปล่า ทั้งๆที่ตนเองยังไม่ได้บรรลุมรรคผลใดๆ ยังสามารถสอนลูกศิษย์ให้เป็นพระอรหันต์ได้ตั้งเป็นร้อยเป็นพันคน

    แล้วพระโพธิสัตว์ท่านจะสอนไม่ได้เลยรึ

    ก็ต้องมาดูกันที่คำสอนว่าเป็นทองคำแท้หรือทองเก๊ กันอีกทีหนึ่ง

    ใครโชคดีเจอทองแท้ก็ขึ้นข้างบน ใครเจอทองเก๊ก็ลงข้างล่าง
     
  8. twentynine

    twentynine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +992
    อย่าไปใช้คำว่าสอนเลยครับ คำนี้ใช้กับคนที่เป็นครูต้องรู้จริงในเรื่องที่สอน พระโพธิสัตว์มีความรู้เฉยๆ แต่ยังไม่จริงเพราะยังไม่เป็นอรหันต์ ฉะนั้นก็ทำได้เพียงแค่บอกเล่าธรรมะที่รู้ที่ศึกษามาเท่านั้น แต่ไม่สามารถอธิบายความรู้สึก อารมณ์ของพระอรหันต์ได้ ยกตัวอย่าง พระโพธิสัตว์ไม่เคยชิมน้ำตาลก็ไม่รู้ว่าความหวานเป็นยังไง ก็ได้แต่บอกต่อว่าถ้าอยากรู้ว่ารสหวานเป็นยังไงก็ให้ไปชิมน้ำตาล ยุคนี้ตัวช่วยเยอะผมเอาmp3 ของลป.ฤาษีลิงดำให้แม่ฟังตอนตื่นนอนทุกวัน ให้ฟังธรรมะตรงจากพระอรหันต์เลย หลังจากนั้นก็มาสอบอารมณ์แม่ว่าฟังแล้วเป็นไงมีจิตรักพระนิพพานมั้ย ปัจจุบันแม่ไม่อยากเกิดอีกแล้วตายแล้วขอไปนิพพาน
     
  9. สุชีโว

    สุชีโว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    154
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +579

    สาธุ ครับ...:cool:
     
  10. naitiw

    naitiw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,611
    ค่าพลัง:
    +2,882
    คุณ twentynine ทำไมกล่าวเช่นนั้นล่ะ ไหนคุณบอกว่าคุณฟังเทปคำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่าน

    "พระโพธิสัตว์นี่ พระอรหันต์ไม่ยอมนั่งหน้านะถ้ารู้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์จริงๆ ถ้าอารมณ์เข้มปั๊บพระอรหันต์ไม่นั่งหน้า
    แม้พวกนั้นบวชหนึ่งวัน พระอรหันต์บวช ๑๐๐ วัน เขาไม่นั่งหน้าพระโพธิสัตว์ เขารู้ค่า คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องปฏิบัติเลยอรหันต์"


    ยกมาจาก"พ่อสอนลูก" พุทธภูมิและพระโพธิสัตว์ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ


    ในตอนแรกที่เราบอกว่าท่านไม่สอนเองเพราะไม่ใช่ยุคของท่าน ในช่วงนี้มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นอยู่ พระธรรมคำสอนยังอยู่
    ทุกคนจะนับถือและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ใครกล้ามาสอนเทียบก็เก่งกว่าพระพุทธเจ้าแล้ว
    และการสำเร็จธรรมนั้นเกิดจากการปฏิบัติของเจ้าตัวเอง ผู้อื่นทำได้แค่บอก สอน ชี้แนวทางเราต้องนำมาปฏิบัติเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2014
  11. The Shadow

    The Shadow เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    557
    ค่าพลัง:
    +1,732
    สอนได้ครับถ้าภูมิธรรมครูถึง

    เท่าที่สัมผัสมามีเยอะนะครับ ครูเป็นพุทธภูมิศิษย์เป็นอรหันต์

    ที่แน่ใจก็ พ่อเงินกับพ่อแช่มดอนยายหอม
     
  12. OMG_WTF

    OMG_WTF Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2012
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +48
    สมมุิตินะ ถ้าทำได้

    มันมีสิทธิ์กลายเป็นว่า สอนคนอื่นได้แต่ตัวเองไม่ทำหรือเปล่าครับ :p
     
  13. pco-

    pco- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,162
    ค่าพลัง:
    +12,252

    เอ ผมเคยได้ยินพวกช่างๆเขาคุยกัน เขาสอนกัน สอนลูกศิษย์ลูกหาของเขา แม้ตัวผู้สอนจะเป็นแค่ครูสอนได้อย่างเดียว เป็นนักวิชาการ ที่อาจจะแม่นชำนาญวิชาการ ปฏิบัติไม่ได้ เช่น ครูสอนก่อสร้างมีกี่คนที่ฉาบปูนได้ดีเท่ากับช่างฉาบปูนรับจ้างทั่วไป ครูสอนช่างเชื่อม เอาตามมหาลัยนี่แหละ มีสักกี่คนที่เชื่อมงานระดับฝีมือขั้นเชื่อมงานเอ๊กเรย์ได้ แม้ว่าจะแค่รู้ทำให้ดูไม่ได้ แต่ครูก็บอกว่า มึงก็ทำตามที่กูสอนซิวะ อย่าเอาอย่างที่กูทำ นี่พวกช่างๆเขาคุยกันแล้วผมแอบได้ยินมา

    แม้ผมเอง ครูของผม หลายต่อหลายคนที่สอนผมได้เป็นอย่างดี แต่ครูผมหลายคนก็ทำอย่างที่ผมทำไม่ได้ แต่ผมก็เคารพนบนอบยกย่องเทิดทูนครูของผมทุกท่าน

    ก็ไม่รู้ว่าเรื่องทำนองนี้จะเข้ากับกระทู้หรือเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2014
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,189
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +70,436
    ...เรื่องในทำนองนี้ มีคนกล่าวถามกับครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน ที่ไว้ใจในปฏิปทาได้บ่อยครั้ง

    ยกตัวอย่างหลวงปู่ดูลย์ .... ท่านบอกไว้เป็นนัยยะให้พิจารณาทำนองว่า

    "หมอที่่รักษาคนไข้หายจากโรคได้ แต่ตัวหมอ ก็ยังเป็นโรค ก็มีนะ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มีนาคม 2014
  15. twentynine

    twentynine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +992
    คุณ naitiw น่าจะเคยอ่านพระสูตรตอน พระนางปชาบดีโคตมีถวายผ้า ในตอนนั้นพระอชิตะโพธิสัตว์เป็นพระบวชใหม่ก็นั่งอันดับสุดท้ายเลยน่ะครับ ถ้าจะบอก

    ว่าไม่รู้ก็ไม่ใช่เพราะตอนนั้นมีพระพุทธเจ้า อัครสาวกซ้ายขวา พร้อมทั้งพระที่มาก็เป็นอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณทั้งหมด ผมไม่ได้บอกว่าหลวงปู่ฤาษีลิงดำสอน

    ผิดน่ะครับ ผมขออธิบายเพิ่มตรงที่พระโพธิสัตว์ยังรู้ไม่จริง ที่ว่าไม่จริงมันขาดอยู่นิดเดียวคือตัวตัดกิเลส ฉะนั้นถ้าลูกศิษย์ถามว่าอารมณ์ความรู้สึกตอนหมด

    กิเลสเป็นยังไง พระโพธิสัตว์ตอบไม่ได้หรอกครับ แต่ถ้าเป็นเรื่อง วิปัสนา ขันธ์5 สังโยชน์10 อริยะสัจ ท่านสอนได้หมดแหละครับเรื่องนี้ก็มีในสมัยหลวงปู่ปาน

    ท่านก็สอนคนไปถึงสมาบัติ8 เท่านั้นท่านไม่สอนไปถึงอรหันต์ท่านให้คณะหลวงปู่ฤาษีลิงดำไปเรียนวิปัสนากับหลวงพ่อเนียมเอง
     
  16. naitiw

    naitiw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,611
    ค่าพลัง:
    +2,882
    คุณ twentynine นั่นยิ่งทำให้เข้าใจแจ่มชัดมากว่า พระโพธิสัตว์นั้นเป็นเนื้อนาบุญยิ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงควรให้พระนางปชาบดีโคตมีถวายผ้าแด่พระอชิตะ

    --------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    พระบรมศาสดาก็ทรงประคองบาตรด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง พร้อมกับทรงอธิษฐานจิตว่า “บาตรใบนี้เป็นบาตรของเรา ผู้ใดมีกำลังบุญที่คู่ควรกับบาตรใบนี้ ขอให้ผู้นั้นจงนำบาตรมาคืนแก่เรา” ทันทีที่สิ้นเสียงคำอธิษฐาน บาตรของพระพุทธองค์ก็ได้ลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วก็อันตรธานหายวับไปทันที

    ...

    พระสารีบุตรก็ได้ขันอาสาที่จะไปนำบาตรมาถวายคืนแด่พระบรมศาสดาเป็นรูปแรก โดยท่านได้เหาะลอยขึ้นไปบนอากาศ แล้วทำการตรวจตราหาบาตรของพระพุทธองค์ด้วยดวงปัญญาอันเป็นเลิศของท่าน หลังจากที่เวลาล่วงเลยผ่านไปได้ไม่นานนัก ด้วยความที่พระสารีบุตรเป็นผู้ที่มีปัญญามาก ท่านจึงรู้ตัวว่า “กำลังบุญของท่านคงไม่เพียงพอที่จะนำบาตรมาถวายคืนแด่พระบรมศาสดาเป็นแน่” เมื่อท่านเห็นว่าเป็นเช่นนั้น ท่านจึงได้เหาะกลับมาพร้อมกับมือที่ว่างเปล่า

    ...

    ด้วยความที่พระนางปชาบดีโคตมีทรงเป็นผู้ที่มีดวงปัญญามาก พระนางจึงทรงสามารถตรองตามเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ได้ในทันทีว่า “ท่านอชิตภิกษุผู้นี้ คงไม่ใช่ภิกษุธรรมดาอย่างที่เราคิดเอาไว้ในตอนแรกเป็นแน่ ท่านจะต้องเป็นบุคคลที่พิเศษมากๆ มากถึงขนาดที่สามารถนำบาตรของพระพุทธองค์กลับมาคืนได้อย่างน่าอัศจรรย์ คือ เพียงแค่ช่วงเวลาที่ท่านเหยียดแขนทั้งสองออกมายังไม่ทันสุด บาตรของพระตถาคตเจ้าก็พลันตกลงมาจากนภากาศ และมาประดิษฐานอยู่ที่มือของท่าน”

    --------------------------------------------------------------------------------------

    แม้พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอนุรุทธะ พระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย ซึ่งแต่ละรูปล้วนเป็นเลิศทางด้านต่างๆ ก็ได้ขันอาสาที่จะไปหาบาตรมาถวายคืนแด่พระบรมศาสดาด้วยเช่นกัน
    แต่ไม่ว่าเวลาจะล่วงเลยผ่านไปนานสักเพียงใด ก็ยังไม่มีพระอสีติมหาสาวกรูปใดที่จะสามารถนำบาตรมาถวายคืนแด่พระบรมศาสดาได้เลยแม้สักรูปเดียว
    นั่นคือบาตรนี้เป็นของคู่ควรสำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นผู้ที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงจะหาพบ พระอรหันต์มิอาจหาพบได้


    ส่วนเรื่องตัดกิเลสนั่นท่านตัดเพียงบางส่วน ถ้าตัดจนหมดจะไม่มีความอยากมาเกิดอีกเข้านิพพานกันเสียหมด
    หลวงพ่อเนียม อยู่ในฐานะอาจารย์ของหลวงพ่อปาน (หลวงพ่อเนียมรอสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ก่อนท่านจะละสังขาร)
    การศึกษาธรรมะควรเรียนหลายๆสายแล้วนำมาเทียบกับจริตของเรา


    ขออำนาจบุญจากการเราได้ประกาศความดีงามของพระอชิตะ ผู้จักได้เป็นพระศรีอริยเมตไตรยพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป
    หากเรามิอาจสำเร็จเข้านิพพานในยุคของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ขอให้ได้สำเร็จในยุคของพระศรีอริยเมตไตรยด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2014
  17. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    สำหรับผม พระอชิตะเถระ เป็นพระอรหันต์นิพพานไปแล้วในสมัยพุทธกาล
     
  18. สุชีโว

    สุชีโว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    154
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +579

    พระอรหันตโพธิสัตว์ถ้าปรารถนานิพพานต้องทำโพวะแบ่งภาคนิพพาน


    พระสงฆ์ไทยหลายรูปบรรลุอรหันต์แล้ว แต่ไม่ทราบว่าอรหันต์มีสองลักษณะ คือ อรหันต์ที่ได้นิพพาน เพราะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแท้จริง หรือเคยเวียนว่ายตายเกิดเป็นบริวารของพระพุทธเจ้าแล้วปรารถนานิพพานในศาสนาของพระโคดม ท่านนี้ เราเรียกว่า “พุทธบริษัทของพระโคดมพุทธเจ้า” กับอรหันต์อีกแบบ ไม่ใช่สาวกแท้ ไม่ใช่พุทธบริษัท เมื่อไม่ใช่สาวก ก็ไม่สามารถเป็นอรหันตสาวกได้ เมื่อไม่ได้เป็นอรหันตสาวก ก็นิพพานไม่ได้ แต่บรรลุธรรมได้ บรรลุอรหันต์ได้แบบที่ไม่ใช่สาวก อรหันต์ได้เพราะท่านนั้นมีบารมีเก่าบำเพ็ญสั่งสมกันมาแบบที่ไม่ใช่สาวก แต่เป็นแบบโพธิสัตว์ ก็บรรลุอรหันต์อีกแบบ คือ อรหันตโพธิสัตว์ แบบนี้บรรลุอรหันต์จริง แต่ไม่ได้นิพพาน เพราะบุญกรรมเก่ามีมาก รับวิบากกรรมชาติเดียวไม่หมด ท่านเหล่านี้มีบารมีเก่าติดตัวมา การบรรลุอรหันต์จึงเป็นเรื่องธรรมดามากที่เกิดขึ้นได้ แต่กรรมที่ใช้ไม่หมดก็มีอยู่มาก จึงไม่ได้นิพพาน และนี่ก็ไม่ใช่ยุคที่พระสาวก หรือพุทธบริษัทของพระโคดมพุทธเจ้าเหลืออยู่อีกแล้ว หลังกึ่งพุทธกาล สิ้นยุคพุทธบริษัทสี่เหล่า เข้าสู่ยุคของยักษ์, มาร, เทพ, พรหม ลงมาดูแลและอาศัยใบบุญที่เหลือของพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงไม่มี “อรหันตสาวก” อีก เหลือแต่อรหันตโพธิสัตว์ เรื่องนี้มีผลมากต่อพุทธศาสนา จำต้องทำความเข้าใจดังนี้



    สำรวจตนเองว่าท่านเข้าข่ายอรหันตโพธิสัตว์หรือไม่



    ๑) อรหันตสาวกจะเกรงกรรม ใครมาขอความช่วยเหลือ จะทราบด้วยญาณแบบอรหันตสาวกทันทีว่า กรรมของเขา เขาทำไว้ เขาต้องรับของเขา เราปล่อยว่างไม่ยุ่ง เจ้ากรรมนายเวรเขามีอยู่เราไปยุ่ง เรานี้จะโดนแทนด้วย ทำให้พัวพันไม่ได้นิพพาน ถ้าเขาให้เราช่วยในทางโลก เราละทางโลกแล้วช่วยไม่ได้ ถ้าเขามีความพร้อมจะบรรลุธรรม ให้เราช่วยทางธรรม ยื่นธรรมให้เขาได้ ดังนั้น สาวก ยังไรเสียก็มีความเป็นสาวก คือ รู้ตัวว่าตนเป็นผู้น้อย เลี่ยงและหลบภัยแห่งกรรมดีกว่า ไม่ใช่ผู้นำที่มีบารมีมากพอจะช่วยใครจากกรรม จากเจ้ากรรมนายเวรได้ ในสมัยพุทธกาล มีทั้งอรหันตสาวกและอรหันตโพธิสัตว์ปนกัน จำต้องแยกแยะดูดีๆ

    ๒) อรหันตโพธิสัตว์ช่วยคนมีกรรมทางโลกได้ ใครมาขอความช่วยเหลือเพราะเดือดร้อนมีกรรมทางโลก ท่านจะยื่นมือช่วยได้ เหมือนพระอรหันต์ไทยปัจจุบัน ที่ลูกศิษย์มีปัญหาขอร้องท่านก็ช่วยเสมอ เรื่องเงินลำบากมากๆ บางทีท่านก็ช่วย นี่ไม่ใช่ทางธรรมเลย ท่านช่วยทางโลกด้วย แม้แต่หลวงพ่อจรัล ท่านก็ช่วยสอนคนให้พ้นกรรม พระอรหันตสาวกแท้จริง จะไม่ยุ่งกับคนที่ไม่ได้นิพพานในยุคของท่าน ท่านจะมีญาณรู้เลยว่าคนนี้ไม่ได้นิพพานหรอก สอนไปก็ได้แค่ปลดกรรมทางโลกให้เบาบางลงเท่านั้น ไม่ถึงนิพพาน ไม่ถึงนิพพานจริงก็ไม่พ้นทุกข์จริง ช่วยไปก็ไม่พ้นทุกข์แท้จริงอยู่ดี เสียการณ์เปล่า ท่านจะไม่ช่วย ยกเว้นว่าถ้ามีจิตเป็นโพธิสัตว์ จะช่วยแน่นอน อดใจไม่ได้ เช่น มีเงินในมือไม่รู้ทำอะไรก็สร้างวัด

    ๓) อรหันตสาวกจะอยู่ในธรรมวินัยแน่วแน่ เพราะบำเพ็ญเป็นสาวกของพระพุทธเจ้ามา จึงเชื่อฟังอย่างมาก ท่านว่าอย่างไร ห้ามอย่างไรก็เชื่อหมดไม่เชื่อใครอื่น เพราะเป็นบริวารเก่ากันมาไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ แต่อรหันตโพธิสัตว์ไม่มีวิสัยเป็นสาวกขนาดนั้น จึงไม่อยู่ในธรรมวินัยแน่วแน่ได้ขนาดนั้น หากเห็นคนได้รับความลำบากต่อหน้า ก็ผ่อนปรนศีลช่วยทันที พระอรหันต์ไทยในปัจจุบัน รับเงินทั้งสิ้น ซึ่งศีล ๑๐ ของสามเณรเขายังไม่ให้รับเงิน แต่ท่านเหล่านี้ก็รับเพราะไม่ได้โลภแต่หวังเอาไว้ช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชน นี่ต่างกันชัดเจน

    ๔) อรหันตสาวกมีความเป็นสาวกแท้จริงไม่ใช่ผู้นำเลย เมื่อไม่มีความเป็นผู้นำ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำของเขาแล้ว อรหันตสาวกก็เป็นสาวกอันแท้จริง และละทิ้งความเป็นเจ้า ความเป็นผู้นำ ความเป็นฮีโร่ที่คอยช่วยเหลือคนอื่นไปหมด แค่เอาตัวเองรอด แล้วถ่ายทอดธรรมให้คนที่พอรอดได้เหมือนตน นอกนั้นก็หลบเลี่ยง

    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการดับขันธปรินิพพาน

    พระอรหันต์ไทยในยุคหลังกึ่งพุทธกาล แทบไม่มีใครมีความรู้มากพอที่จะแยกแยะได้ว่าตนเองอรหันต์แบบใด และไม่ได้นิพพานเพราะเหตุใด ยกเว้นเพียงท่านเดียวที่ประกาศชัดเจนในหมู่อรหันต์ว่า “ไม่เอานิพพาน” คือ “หลวงปู่ดู่” ท่านได้กล่าวไว้ว่าท่านไม่เอานิพพาน ท่านปรารถนาพุทธภูมิอย่างชัดเจน แสดงความจริงใจอย่างชัดเจน ไม่อำพราง หรือบอกลูกศิษย์ว่าตนเอานิพพาน ได้นิพพานแน่ๆ แต่ไม่รู้ตัวว่าไม่ใช่ผู้ที่จะได้นิพพาน ทำให้ลูกศิษย์จำภาพและจริยาวัตรของท่านเป็นแบบอย่างของนิพพานเช่นบางท่านสร้างวัด แล้วบอกว่าไม่มีเจตนาจะเอาบุญ ไม่โลภ ไม่อยากได้ แต่ว่ากรรมที่เกิดขึ้นนั้นใครจะรับผิดชอบ ถามว่าเวลาคนไม่เจตนาขี่รถชนคนตายต้องรับผิดชอบไหม สุดท้ายก็ต้องมีคนรับผิดชอบในกรรมนั้น เพราะจะหาใครรับผิดชอบเล่า ถ้าไม่ใช่ผู้กระทำ แม้ไม่มีเจตนาก็ตาม คำว่า “เจตนาคือตัวกรรม” นั้น หมายถึง “มโนกรรม” ส่วนกรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนาก็มี “วจีกรรม” และ “กายกรรม” ประกอบเป็นองค์กรรมอยู่ด้วย แม้จิตไม่เจตนาแต่กายกรรมก็เป็นบ่อเกิดกรรมได้ วจีกรรมก็เป็นบ่อเกิดกรรมได้ แม้ไม่มีมโนกรรมอยู่ก็ตาม กรรมทั้งสามนี้ ไม่จำเป็นต้องมีครบ มีอย่างใดอย่างหนึ่งก็นับว่า “กรรม” เหมือนกัน แล้วจะหนีกรรมด้วยความไม่รับผิดชอบ บอกว่าไม่เจตนานั้นหามิได้เลย เทวดาบนสวรรค์บางองค์ไม่เจตนา ทำลูกไฟหล่นลงโลกมนุษย์ ถ้าว่าเทวดาไม่มีเจตนา ไม่ต้องรับกรรมดอกหรือ ไม่ใช่เลย มีมากมายนักที่เทวดาตกสวรรค์เพราะ “ไม่เจตนา” ในลักษณะนี้นั่นเอง


    อนึ่ง กรรมหนึ่งๆ ไม่สามารถรับได้ชาติเดียวหมด เหมือนหนี้ที่ต้องผ่อนเป็นทีละชาติไปทีละน้อย คนที่เคยฆ่าเขาไว้ หากต้องมารับกรรมถูกเขาฆ่าในชาติเดียวแล้ว ก็เสียชาติเกิด เกิดมาถูกฆ่าตายไม่ทันได้คิด ไม่ทันสำนึก แบบนั้น เทวดาเขาไม่สร้างระบบกัน เพราะเป็นระบบใจโหดไม่ให้โอกาสคน ระบบกรรม จึงมีเทวดาคุมให้เป็นการผ่อนชำระไปหลายชาติจนกว่าจะใช้หมดและระลึกได้สติว่ากรรมมีจริง ดุจดังโยนหินลงน้ำ คลื่นไม่ได้เกิดระลอกเดียวเป็นแน่แท้ ธรรมชาติของกรรมก็เป็นดังนั้น เกิดขึ้นหลายต่อหลายชาติเป็นระลอกคลื่น เมื่อเกิดชาติแรก บุคคลทำกรรมหนักอันประกอบด้วยกรรมทั้งองค์สาม คือ มโนกรรม, วจีกรรม และกายกรรม ไว้ เมื่อรับวิบากกรรมหลายชาติย่อมมีความสำนึกได้บ้าง และลดรอยกรรมที่เวียนซ้ำหลายๆ ชาตินั้นลง หากฆ่ากันไปฆ่ากันมาสลับกันเป็นคนฆ่าและคนถูกฆ่าบ่อยๆ ก็ต้องมีเบื่อหน่ายกรรมกันบ้าง ในที่สุด ชาติหนึ่งอาจละองค์กรรมได้บ้าง อาจเหลือเพียงวจีกรรม, กายกรรม เพราะเจตนาที่จะกระทำไม่มีแล้ว แต่ถามว่าหลังจากชาติที่ไม่มีเจตนาจะทำกรรม ทำไปโดยไม่มีเจตนานั้น ก็ไม่ต้องรับวิบากกรรมแล้วหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะผลกรรมที่เคยทำไว้แต่ต้นแรกนั้น ยังใช้ไม่หมด ไม่ใช่เพราะกรรมในชาติที่ไม่เจตนาเป็นสำคัญดอก แต่เพราะกรรมทั้งกรรมนั้น ไม่อาจรับวิบากและชดใช้ได้ชาติเดียว ส่งผลกรรมซ้ำรอยเกวียนมาอีกไม่รู้กี่ชาติ บางชาติ สำนึกแล้วไม่มีเจตนาแต่ยังเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุได้อีก นี่เพราะอะไร เพราะกรรมไม่ได้หมดได้เพียงชาติเดียว ค่อยๆ ลดทอนลงไปทีละน้อย และการสรุปว่าไม่มีเจตนาก็ไม่ต้องรับวิบากกรรมนั้น จึงผิดอย่างยิ่ง เพราะกรรมที่เกิดโดยไม่เจตนา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกรรมที่ต้องรับไปยาวนานหลายระลอกคลื่น หลายชาตินั่นเอง นี่คือ “ค่านิยม” ที่เกิดขึ้นอย่างเงียบๆ ในหมู่พระอรหันต์ไทย ทำให้ต่างทำบุญสร้างบารมีมาก เพราะคิดว่าไม่มีเจตนาก็ไม่ต้องรับกรรม ยิ่งมีลูกศิษย์ที่ได้ผลประโยชน์ร่วม ช่วยส่งเสริมให้หลงทางยิ่งขึ้นด้วยแล้ว เพราะพุทธพาณิชย์ที่หากินกับพระดังๆ พระอรหันต์จึงตกเป็นเหยื่อโดยรู้ไม่เท่าทัน


    อนึ่ง ความรู้ในทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยนั้นอยู่ในไตรปิฎกมาก ท่องจำมาก แต่ความเข้าใจไม่ลึกซึ้งถ่องแท้เท่าของประเทศทิเบต แต่ความรู้ของประเทศทิเบตในปัจจุบันก็ยังไม่กว้างมากพอที่จะครอบคลุมคนได้ทุกกลุ่ม เป็นความรู้เฉพาะลามะ หรือนักปฏิบัติจิตขั้นสูงเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนทั้งหลายเข้าใจภูมิความรู้นั้นได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น การกล่าวถึงบาโด ว่าก่อนตายจะเห็นพระพุทธเจ้าห้าพระองค์นั้น ไม่ใช่ว่าจะทุกคนเห็น เฉพาะท่านที่ฝึกจิตมาอย่างดีเท่านั้น บางคนไม่มีทางเห็นจะนิมิตดีเลย ไม่มีทางเห็นพระพุทธเจ้าเลย เพราะจิตเขาไม่ได้ฝึกมา ตายแล้วเห็นแต่เจ้ากรรมนายเวรมารุม เห็นแต่มัจจุราชที่น่ากลัวเท่านั้น อย่างนี้แล้ว แม้อ่านเรื่องบาโดไป แต่ยามตายลงก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น แม้ความรู้ทางทิเบตจะก้าวหน้ามาก ก็ยังไม่สามารถยึดเอาเสียทั้งหมดได้ จำต้องเริ่มต้นกันใหม่พร้อมๆ กันในยุคนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ดังจะอธิบายต่อไป


    บาโดและกระบวนการเข้าสู่ความตาย

    บาโดเป็น “สมมุติบัญญัติ” ในทางทิเบต ที่มีการศึกษากันมาก จึงขอยืมศัพท์นี้มาใช้ มีความหมายคือ “กระบวนการเข้าสู่ความตายโดยนับตั้งแต่เริ่มเกิด” เลย ยาวไหมละถ้าจะเอาความหมาย นี่ถึงได้ต้องยืมศัพท์สั้นๆ มาใช้ หวังว่าคงไม่ว่ากันว่าไปยึดมั่นถือมั่นศัพท์ของทิเบตเขาละ ขอจงเข้าใจด้วย เมื่อเข้าใจแล้ว ต่อไปจะใช้แค่คำว่า “บาโด” สั้นๆ ในความหมายนี้ เพื่อสื่อสารต่อไป หากท่านสนใจจะศึกษาโดยละเอียดในหนังสือก็มี ในที่นี้จะมุ่งเน้น “บาโด” ของท่านที่เป็น “อรหันตโพธิสัตว์” เป็นสำคัญ ท่านเหล่านี้บุญบารมีจะเยอะมาก นิมิตดีก็มาก ความสุขสงบแบบฌานก็มาก แต่ทุกอย่างนี้ เป็นเครื่องกั้นนิพพานทั้งสิ้น นิพพานนั้นมีลักษณะเป็น “อนิมิตนิพพาน” ต้องไม่มีนิมิตเท่านั้นจึงจะนิพพานจริง โดยเฉพาะท่านที่ฝึกมโนมยิทธิสายหลวงพ่อฤษีลิงดำ มักถูกหลอกว่านิพพานแล้ว แต่เมื่อตายลงจริงๆ ไม่ได้นิพพาน ไปจุติเป็น “อรหันตโพธิสัตว์” แทน เวลาใช้มโนมยิทธิไปดูสวรรค์ จิตก็เพลิดเพลินและยินดีทางสวรรค์ ภพก็เกิด เมื่อมีภพก็มีชาติ เมื่อมีชาติ ก็มีเกิดมีชรา, มีมรณะ ไม่ได้นิพพาน ดังนั้น นิพพานก็ไม่อาศัยภพ บางท่าน กำหนดจิตไปแดนนิพพาน คำว่าแดนนิพพาน เป็น “ภพ” อย่างหนึ่ง คล้ายภพสวรรค์ ดังนั้น กำหนดจิตแบบนี้ไม่ได้นิพพาน แต่ได้ไปจุติยังที่แห่งนั้น ที่ตนหลงผิดคิดว่าเป็น “แดนนิพพาน” แม้จะถอดกายทิพย์ไปเห็นแดนนิพพานจริง แต่ถ้าเผลอยินดีกับภพ กับแดนนิพพาน ก็ไม่ได้นิพพาน แต่ถ้าไม่ปรารถนาจะนิพพานจริงๆ ก็ไปเถิดไม่ว่ากันไปจุติยังแดนที่ท่านต้องการ


    โพวะและการดับขันธปรินิพพาน

    โพวะเป็น “สมมุติบัญญัติ” ในทางทิเบต ที่มีการศึกษากันมาก จึงขอยืมศัพท์นี้มาใช้ มีความหมายคือ “กระบวนการเตรียมจิตขณะตาย” ยาวไหมละถ้าจะเอาความหมาย นี่ถึงได้ต้องยืมศัพท์สั้นๆ มาใช้ หวังว่าคงไม่ว่ากันว่าไปยึดมั่นถือมั่นศัพท์ของทิเบตเขาละ ขอจงเข้าใจด้วย เมื่อเข้าใจแล้ว ต่อไปจะใช้แค่คำว่า “โพวะ” สั้นๆ ในความหมายนี้ เพื่อสื่อสารต่อไป คำว่าโพวะนั่นไม่ได้หมายถึงการ “ดับขันธปรินิพพาน” เท่านั้น การดับขันธปรินิพพาน เป็นวิธีหนึ่งของโพวะ สำหรับผู้ต้องการนิพพาน แต่ถ้าไม่ต้องการนิพพานแล้วต้องทำโพวะอีกแบบ เพื่อกำหนดจิตไม่ให้นิพพาน ดังนั้น โพวะจึงเป็นคำกว้าง หมายรวมถึงการกำหนดจิตขณะจะตาย เพื่อให้ดับขันธปรินิพพานหรือไม่นิพพานก็ได้ตามแต่ท่านจะปรารถนา ในที่นี้ จะเน้นแต่การทำโพวะเพื่อดับขันธปรินิพานเท่านั้น

    การทำโพวะเพื่อดับขันธปรินิพพานสำหรับพระอรหันตโพธิสัตว์

    ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า “พระอรหันตโพธิสัตว์” จะไม่ได้นิพพาน เพราะไม่ใช่อรหันตสาวก แต่สำหรับบทความต่อไปนี้ เป็นเทคนิคพิเศษ ที่เกิดจากธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งได้รับมาในช่วงหนึ่งของการปฏิบัติธรรม เพื่อฉุดช่วยท่านที่ปรารถนานิพพานจริงๆ แม้ไม่เคยสร้างบุญบารมีร่วมปรารถนานิพพานในศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณโดคมมาก่อน ก็สามารถนิพพานแบบ “พระปัจเจกพุทธเจ้า” ได้ ในช่วงขณะจะตายลง แม้ยามมีชีวิต ก็ได้เสวยบุญบารมีเก่าของตนอยู่สบายในผ้ากาวสาวพัตร ต่างจากพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ไม่สามารถเข้าสู่สังคมมนุษย์ได้เหมือนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า นี่คือความแตกต่างของพระอรหันต์ไทยในปัจจุบัน กับพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาล และพระปัจเจกพุทธเจ้า สามอย่างนี้ต่างกันแน่นอน แต่มีบางส่วนคล้ายกันอยู่ คือ พระอรหันต์ไทยในปัจจุบัน เวลามีชีวิตอยู่บนโลกอยู่อย่างพระสงฆ์สาวก แต่เมื่อละสังขารจากไป หากปรารถนานิพพาน ต้องไปแบบพระปัจเจกพุทธเจ้า จะไปเป็นพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะไม่ได้สร้างบุญบารมีมาแบบสาวกนั้น บุญบารมีเก่าทำไว้แบบพระโพธิสัตว์ ซึ่งมากพอใช้ ใช้แค่ ๒ อสงไขย ก็ไปแบบพระปัจเจกพุทธเจ้าได้



    ๑) พิจารณากายทิพย์แยกจากจิต ในกายทิพย์ที่มีหลายกาย กายในสุดเป็นกายอรหันต์ กายธรรม คือ ธรรมกาย แต่กายนอกนั้นยังมีส่วนกิเลสส่วนกรรมอยู่ ต้องไปเกิดอีก ดังนั้น ถ้าจิตมีดวงเดียว เมื่อตายลงจิตดวงนั้นต้องไปเสวยกรรมต่อ เกิดชาติภพใหม่ต่อ ต้องทำการ “แบ่งภาคจิต” เพื่อให้ดวงจิตออกเป็นสองดวง ดวงหนึ่งไปเสวยวิบากกรรมเกิดใหม่ ดวงหนึ่งจะได้นิพพานไปแบบพระปัจเจกฯ

    ๒) ใช้อธิษฐานบารมีแบ่งภาคจิต ให้อธิษฐานว่า “ข้าพเจ้าขอแบ่งภาคจิตออกเป็นสองดวง ดวงหนึ่งไปเสวยบุญกรรมเกิดใหม่ ดวงหนึ่งจะขอนิพพาน” แล้วตั้งใจตั้งจิตให้มั่น หากมีตาทิพย์ลองพิจารณาดู จากนั้นให้ใช้มโนมิทธิแบ่งภาคจิต

    ๓) ใช้มโนมยิทธิแบ่งภาคจิต สำหรับท่านที่อธิษฐานบารมีแก่กล้า จิตจะแบ่งภาคได้หลังอธิษฐาน แต่สำหรับท่านที่มีอธิษฐานบารมีอ่อน อาจต้องใช้อภิญญาช่วยแบ่ง คือ ใช้มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ ทำใจให้เด็ดเดี่ยวมั่นคงในทางที่จะทำนี้ก่อน แล้วสั่งด้วยวาจาว่า “จิตจงแบ่งออกเป็นสองดวง ดวงหนึ่งรอไปเกิดใหม่ ดวงหนึ่งรอนิพพาน” ในขั้นตอนสามขั้นตอนนี้ ให้ทำก่อนตายไม่เกิน ๗ วัน ถ้ารีบทำก่อนนานไป จิตที่ปรารถนาจะนิพพาน จะนิพพานละสังขารไปก่อน จนเหลือไว้แต่จิตที่ไม่ได้นิพพานดวงเดียว แล้วจะทำให้ผู้ทำโพวะไม่สามารถนิพพานได้

    ๔) เข้าสู่การดับขันธปรินิพพาน เมื่อรู้ตัวว่ากำลังสิ้นใจ ขันธ์ทั้งห้ากำลังสลายลงแล้ว อย่าทำจิตเคยชินเป็นสมาธิแบบ “ฌาน” เพราะหากยามจิตจุติออกจากร่าง ไม่ได้ออกขณะรอยต่อของฌานสามและฌานสี่แล้ว จิตจะจุติออกขณะเข้าฌานใดฌานหนึ่ง ส่งผลให้จุติที่ “พรหมโลก” และเกิดเป็นพรหม ไม่ได้นิพพาน หากชำนาญในฌานมากๆ ให้เข้าฌานตายได้ จะสุขสงบตายอย่างสบาย และนิพพานในช่วงต่อฌานสามและฌานสี่เท่านั้น หากไม่ได้เข้าฌานขณะจะตาย ก็ให้พิจารณาแต่ความดับไปเป็นธรรมดาอย่างเดียว อย่าพิจารณาอย่างอื่นนอกจากธรรมดาของความดับไป สูญไป เท่านั้น จึงนิพพานได้ ถ้าเผลอแม้แต่นิดเดียวเช่น จิตเผลอชินกับสภาวะฌาน จิตไหลเข้าองค์ฌานใดฌานหนึ่งก่อนตาย ก็ไม่นิพพาน จุติที่พรหมโลกทันที ขณะตายลงจะปล่อยจิตให้เผลอเพลินแบบเข้าสมาธิ เข้าฌานไม่ได้ ต้องพิจารณาแต่ความดับไปที่เกิดขึ้นนั้นเป็นธรรมดา อย่าเผลอเด็ดขาด



    ปัจจุบันพระอรหันต์ไทยจำนวนมาก ที่ชอบนั่งสมาธิเข้าฌาน เมื่อบรรลุอรหันต์แล้วก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาธรรมอีก คือ เป็น “อเสขบุคคล” นับว่าจบหลักสูตรแล้วจึงไม่จำเป็นที่จะพิจารณาในสมาธิอีก และมักอาศัยฌานเป็นเครื่องยังความสุขสงบให้แก่ตน บางท่านเผลอเพลินกับความสุขสงบในฌาน เมื่อตายลงจิตเคยชินกับความสุขแบบฌาน ก็ไม่ได้นิพพาน ตายไปก็จุติยังพรหมโลก เพราะความเคยชินของจิตเพียงชั่วขณะเดียวนั้นเอง

    การเข้าสู่นิพพาน คือ ทำการดับขันธปรินิพพานนั้น จิตต้องตรงพุ่งไปสู่ความดับ พิจารณาแต่ความดับไปแห่งทุกสิ่งที่ปรากฏ ถ้ามีนิมิตปรากฏก็พิจารณาแต่ความดับไปของนิมิต ถ้าจิตสัมผัสอะไรได้ก็แล้วแต่ในขณะกำลังละสังขารต้องพิจารณาแต่ความดับไปเท่านั้น อย่าเผลอเพลินในองค์ฌานเด็ดขาด เพราะหากจิตจุติขณะจิตไหลเข้าองค์ฌาน จะไม่มีการดับ องค์ฌานมีแต่ลักษณะของการต่อภาวะฌานให้คงอยู่ ไม่มีภาวะดับ ไม่ใช่นิพพาน หากเผลอเพลินในองค์ฌานจะไม่นิพพาน จะจุติที่พรหมโลก เฉกเช่น ท้าวมหาพรหมชินปัญจระ ที่อรหันต์ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ แต่ท่านก็ไม่ได้นิพพาน แต่จุติที่พรหมโลกแทน


    สำหรับพระโพธิสัตว์ที่ไม่ปรารถนานิพพาน เมื่อยามละสังขาร อย่าพิจารณาที่ความดับ ให้พิจารณาอย่างอื่น หรือให้จิตจดจ่ออยู่แต่อย่างอื่นที่ไม่ใช่ความดับเช่น สุขาวดี, สวรรค์, วิมาน, พระพุทธเจ้า, พระยูไล, พระโพธิสัตว์, นิมิต, องค์ฌาน ฯลฯ เมื่อทำโพวะ ก็ไม่ดับขันธปรินิพพาน เช่น ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง ซึ่งได้นั่งสมาธิแล้วละสังขารขณะนั้นพอดี แต่ท่านไม่ได้จุติที่พรหมโลก เพราะสมาธิที่ทำนั้นเป็นสมาธิแบบสุขาวดีไม่ใช่ฌานทั่วไป คือ กำหนดสุขาวดีเป็นนิมิตไว้ เมื่อละสังขารก็จุติที่สุขาวดีนั่นเอง
    +++++++++
    โดย physigmund_foid http://www.oknation.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2014
  19. ยี่แปะกง

    ยี่แปะกง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +272
    ณ เชตวันมหาวิหาร พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสพระธรรมแก่ภิกษุผู้มีความกระสัน ไม่สามารถข่มอารมณ์แห่งความต้องการทางเพศได้ ความว่า

    อดีตกาลเนิ่นนานมา มีพระราชาทรงพระนามว่าพรหมทัตต์ ครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระพุทธเจ้าบังเกิดในชาตินั้น เป็นลูกของนางนกยูง เมื่อเกิดออกมามีลักษณะที่แปลกแตกต่างจากนกทั่วไป มีขนสีทอง มีลักษณะที่โดดเด่นกว่านกยูงทั้งปวง เมื่อเจริญวัยขึ้น ได้ไปดื่มน้ำในสระแห่งหนึ่งเหลือบมองเห็นเงาของตน จึงคิดว่า เรานี้มีลักษณะที่โดดเด่นกว่าเพื่อนฝูง หากอยู่ในที่นี้พลอยแต่จะนำภัยมาให้ตนและหมู่คณะ จำใจที่เราต้องพรากจากไป เพื่อความปลอดภัยของหมู่คณะ และควรที่จะไปให้ไกลถึงป่าหิมพานต์

    เมื่อคิดได้ดังนั้น ก็บินไปอาศัยอยู่ที่ป่านั้น และเข้าไปอาศัยในถ้ำแห่งหนึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูงชัน ณ ป่าหิมพานต์นั้น เป็นที่อยู่อาศัยที่มั่นคงปลอดภัย

    เมื่อดวงอาทิตย์สุริยาโผล่พ้นท้องฟ้ามา พญานกยูงก็บินไปเกาะที่ภูเขาเพ่งมองแสงสุริยาพร้อมกับการสาธยายมนต์เริ่มต้นว่า อุเทตยัญจักขุมา เอกะราชา เป็นต้น เพื่อป้องกันรักษาตนในเวลากลางวัน เมื่อจะบินกลับเข้าที่อยู่ พญานกยูงทอง ก็ไม่ลืมที่จะบินขึ้นไปจับอยู่บนยอดเขา หันหน้าสู่ทิศตะวันตก แหงนมองดวงอาทิตย์ที่กำลังอัสดงลับขอบฟ้าไป แล้วสาธยายมนต์พระปริตรขึ้นว่า อะเปตะยัญจักขุมาเอกะราชา เป็นต้น เพื่อที่จะป้องกันภัย รักษาตนในเวลาตลอดราตรี

    พญานกยูงทำอย่างนี้ตลอดเวลา จนสามารถรักษาตนให้อยู่รอดปลอดภัยตลอดมา

    ต่อมามีพรานไพรหลงทางไปสู่ป่าหิมพานต์ ได้พบพญานกยูงเข้า แต่ก็มิได้ทำสิ่งใดเพราะกลัวหาทางออกไม่เจอพะวงกับการหาทางออก เมื่อออกไปได้ก็ไม่ได้บอกเล่าให้ใครฟัง จวบจนจะสิ้นอายุจึงเล่าให้บุตรชายฟัง

    ในพระราชวังนั้น พระมเหสีของพระราชาทรงสุบินขึ้นว่า “มีพญานกยูงทองบินมาเกาะที่สระ แล้วได้แสดงธรรมให้ฟัง”

    พระเทวีทรงฝันต่อไปว่า เมื่อพญายูงทองนั้น แสดงธรรมจบแล้ว นกยูงทองนั้นก็จะบินกลับ ในฝันนั้นพระนางได้ตะโกนร้องบอกแก่บริวารว่า “ช่วยกันจับนกยูงที ช่วยกันจับนกยูงที” พระนางตะโกนจนกระทั้งตื่นบรรทม นับแต่นั้นมา พระเทวีก็ให้อาลัยปรารถนาจักได้นกยูงทองตัวนั้นมา จึงออกอุบายแสร้งทำเป็นทรงพระประชวร ด้วยอาการแพ้พระครรภ์ แล้วทูลขอพระสวามีว่า การแพ้ท้องครั้งนี้จักหายได้ ก็ด้วยโอกาสที่จะเห็นพญายูงทอง และสดับธรรมที่พญานกยูงทองแสดง

    พระราชารับสั่งให้ประชุมพรานทั่วราชอาณาจักร ทรงตรัสถามหาว่าใครเคยเห็นนกยูงทองบ้าง

    ขณะนั้นพรานหนุ่ม ผู้ซึ่งเคยได้รับคำบอกเล่าจากบิดาว่า ได้เคยเห็นนกยูงทอง จึงลุกขึ้นกราบบังคมทูลเนื้อความนั้นแก่พระราชา พร้อมทั้งกราบทูลแจ้งที่อยู่ของพญานกยูงทองแก่พระราชาด้วย

    พระราชาพรหมทัตต์ จึงทรงมีพระบัญชาว่า ในเมื่อเจ้าพอจะรู้ถึงถิ่นที่อยู่ ของพญายูงทอง เราขอตั้งให้เจ้ามีหน้าที่เป็นพรานหลวง ไปจับนกยูงทองตัวนั้นมาให้เราและพระมเหสี

    พรานหนุ่มก็รับพระบัญชา จากพระราชา แล้วออกเดินทางเพื่อไปจับพญานกยูงทอง พอไปถึงป่าหิมพานต์ก็ไม่สามารถจับได้ จึงทนอยู่ในป่านั้นจวบจนดับชีวิตลง เพราะกลัวว่ากลับมาจะถูกพระราชาลงโทษ

    ส่วนพระมเหสี เมื่อทนรออยู่นานก็ตรอมพระทัยและตายลงในที่สุด พระราชาจึงทรงสันนิษฐานว่า เหตุนี้เกิดจากพญานกยูงเป็นแน่ และบัดนี้เราก็แก่ชราลงมากแล้ว คงจะไม่มีโอกาสเห็นนายพรานคนใดจับนกยูงทองตัวนั้นได้เป็นแน่

    พระองค์จึงได้ผูกเวรกับนกยูง โดยให้สลักข้อความลงแผ่นทองว่า ผู้ใดก็ตามได้กินเนื้อนกยูงทอง จะมีอายุมั่นขวัญยืน ไม่แก่ไม่ตาย แล้วให้เก็บไว้ในพระคลัง

    ต่อมาไม่นานพระราชาพรหมทัตต์ ก็ถึงกาลทิวงคตลง แผ่นทองจารึกนั้น ก็ตกถึงมือของยุวกษัตริย์องค์ต่อมา เมื่อทรงรู้ข้อความในแผ่นทองจารึกนั้นก็หลงเชื่อ มีรับสั่งให้พรานป่า ออกไปตามจับพญานกยูงทองมาถวาย และแล้วพรานไพรนั้น ก็ต้องไปตายเสียในป่าอีก เหตุการณ์ได้ดำเนินไปเช่นนี้ จนสิ้นเวลาไป ๖๙๓ ปี พระราชาในราชวงศ์นี้ ก็ทิวงคตไป ๖ พระองค์

    แม้ว่าจะสิ้นพรานป่าไป ๖ คน พระราชาทิวงคตไป ๖ พระองค์ ก็ยังไม่มีผู้ใดมีความสามารถจับพญายูงทองโพธิสัตว์ได้ จวบจนถึงรัชสมัยพระราชาองค์ที่ ๗ ผู้ครองกรุงพาราณสี ได้สรรหา คัดเลือกพรานไพร ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นคนละเอียดรู้จักสังเกต รู้กลอุบายเป็นนายพรานคนที่ ๗ เมื่อได้รับพระบัญชาจากพระราชา ให้ออกไปจับนกยูงทอง ณ ป่าหิมพานต์ นายพรานคนที่ ๗ ก็จัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมบ่วงบาศ เพื่อจะไปดักจับพญายูงทองพรานนั้น ใช้เวลาในการดักจับพญายูงทองสิ้นเวลาไป ๗ ปี พญายูงทองก็หาได้ติดบ่วงของนายพรานไม่

    นายพรานจึงมาใคร่ครวญดูว่า เอ..ทำไมบ่วงของเราจึงไม่รูดติดข้อเท้าของพญายูงทอง แต่ก็หาคำตอบได้ไม่ พรานนั้น ก็มิได้ละความพยายามเฝ้าสังเกตกิริยา และกิจวัตรประจำวันของพญายูงทอง จึงได้รู้ว่าทุกเช้า และทุกเย็นพญานกยูงทอง จะเจริญมนต์พระปริตร โดยช่วงเช้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมองพระอาทิตย์ ตอนเย็นหันหน้าไปทางทิศตะวันตกมองพระอาทิตย์ แล้วสาธยายมนต์

    พรานนั้นสังเกตต่อไปว่า ในที่นี้หาได้มีนกยูงตัวอื่นอยู่ไม่ แสดงว่าพญานกยูงนี้ยัง รักษาพรหมจรรย์อยู่ คงด้วยอำนาจของการรักษาพรหมจรรย์ และมนต์พระปริตร ทำให้บ่วงของเราไม่ติดเท้านกยูงทอง

    นายพรานเมื่อคิดได้ดังนั้น ก็ไปจับนกยูงมาหนึ่งตัว แล้วทำการฝึกหัดให้รู้จักทำสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ถ้านายพรานดีดนิ้วมือ นางนกยูงก็จะต้องร้องขึ้น ถ้าปรบมือนางนกยูงก็จะทำการฟ้อนรำขึ้น

    เมื่อฝึกสอนนางนกยูง จนชำนาญดีแล้ว พรานนั้นก็พานางนกยูง เดินทางไปยังที่ที่พญานกยูงทองอาศัยอยู่ แล้วทำการวางบ่วงดักเอาไว้ ก่อนที่พญานกยูงทองจะเจริญมนต์พระปริตร พรานได้วางนางนกยูงลงใกล้ ๆ กับที่ดักบ่วง แล้วดีดมือขึ้น นางนกยูงก็ส่งเสียงร้องด้วยสำเนียงอันไพเราะจับใจ จนได้ยินไปถึงหูของพญายูงทองโพธิสัตว์ เมื่อพญานกยูงได้ยินเสียงกิเลสกามที่ระงับด้วยอำนาจของตบะ ก็ได้ฟุ้งซ่านขึ้นในทันที เสียงนางยูงทองนั้นทำให้พญายูงทองโพธิสัตว์ มีจิตกระสัน ฟุ้งซ่าน เร่าร้อนไปด้วยไฟราคะ ไม่มีสติที่จะเจริญมนต์พระปริตรสำหรับป้องกันตนไว้

    พญานกยูงทองโพธิสัตว์ จึงได้ออกจากคูหา แล้วโผผินบินไปที่นางนกยูงยืนส่งเสียงร้องในทันที ขณะที่มัวแต่สนใจแต่รูปโฉมของนางนกยูง พลันเท้านั้น ก็เหยียบยืนเข้าไปในบ่วงบาศของพรานที่วางดักไว้ บ่วงใด ๆ ที่มิได้เคยร้อยรัด พระมหาโพธิสัตว์ยูงทอง ตลอดเวลา ๗๐๐ ปีบัดนี้

    พญายูงทองโพธิสัตว์ ได้โดนบ่วงทั้ง สองร้อยรัดสิ้นอิสระเสียแล้วบ่วงทั้งสองนั่นก็คือ "บ่วงกาม" "บ่วงบาศ"

    เมื่อนั้น พรานไพร ได้คิดว่า “โอ้ บัดนี้ทุกข์ภัยได้บังเกิดต่อพญานกยูงทองโพธิสัตว์เสียแล้ว เพราะเผลอสติแท้ ๆ และนางนกยูงตัวนี้เป็นเหตุ จึงทำให้พญายูงทอง มีจิตอันเร่าร้อนไปด้วยกิเลส จนต้องมาติดบ่วงของเรา การที่เรามาทำสัตว์ผู้มีศีล ให้ลำบากเห็นปานนี้ เป็นการไม่สมควรเลย จำเราจะต้องปล่อยพญานกนี้ไปเสียเถิด แต่ถ้าเราจะเดินเข้าไปปล่อย พญานกยูงทองนั้น ก็จะดิ้นรนจนได้รับความลำบาก เห็นทีเราจะต้องใช้ธนูยิงสายบ่วงนั้นให้ขาด เพื่อพญานกจะได้หลุดจากบ่วง ที่คล้องรัดอยู่”

    เมื่อพรานไพรใจเป็นธรรมมีจิตคิดดีอย่างนั้น ก็โก่งธนูขึ้นเพื่อจะยิงที่สายรัดให้ขาดสะบั้นลง เพียงแค่โก่งขึ้นเท่านั้น

    พญานกยูงทองเมื่อได้เห็นนึกว่าพรานจะยิงตน จึงร้องวิงวอนขอชีวิตขึ้นว่า หากพ่อพรานจะยิงเราเพราะทรัพย์ ก็ขอให้จับเป็นเถิดนะ และเอาไปถวายพระราชาเถิด คงจะได้รางวัลก้อนงามเลยละ

    พรานเมื่อได้ทราบ จึงบอกว่า มิได้ต้องการฆ่าท่านหรอก แต่ต้องการช่วยให้พ้นบ่วงบาศ พญานกยูงทองจึงร้องขอบใจ และได้แสดงธรรมให้พรานฟัง กล่าวถึงโทษของการฆ่าสัตว์

    โทษของการขาดสติ และภัยใหญ่หลวงของการจะต้องตกสู่ขุมนรก ว่าเกิดจากความเมาประมาทขาดสติ

    เมื่อสิ้นสุดธรรมโอวาท พรานนั้นก็ได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกโพธิญาณ ส่วนพญายูงทองก็ได้พ้นจากบ่วงทั้งสอง คือ บ่วงกาม และบ่วงบาศ เมื่อนายพรานเป็นผู้ได้รู้แจ้งธรรมแล้วก็ ไปสถิตอยู่ ณ คูหาบนยอดเขานันทมูลคีรี
     

แชร์หน้านี้

Loading...