ว่างในสมาธิ ว่างในขั้นอรูปธรรม ว่างอกาลิโก หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 3 มีนาคม 2014.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    [​IMG]


    ว่างในสมาธิ ว่างในขั้นอรูปธรรม ว่างอกาลิโก..



    หนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๒๕๖


    “...ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อปัญญาพิจารณารอบคอบแล้<wbr>วก็ดับไปในขณะนั้น จิตก็ลงสู่ความสงบได้อย่างเ<wbr>ต็มที่ ในระยะเช่นนี้จะว่าจิตว่างก<wbr>็ได้อยู่ แต่ว่างในสมาธิ พอจิตถอยออกมา ความว่างก็หายไป จากนั้นก็พิจารณาไปอีก และพิจารณาต่อไปเรื่อยๆ จนจิตมีความชำนาญในด้านสมาธ<wbr>ิ..ฯลฯ.. เมื่อสมาธิมีกำลังทางด้านปั<wbr>ญญาก็เร่งพิจารณาตามส่วนต่า<wbr>งๆ ของร่างกาย จนรู้เห็นชัดและสามารถถอดถอนอุปาทานของกายได้โดยสิ้นเช<wbr>ิง จากนั้นจิตก็จะเริ่มว่าง แต่ยังไม่แสดงความว่างอย่าง<wbr>เต็มที่ ยังมีนิมิตภายในแสดงภาพปราก<wbr>ฏอยู่กับใจ เพราะในระยะนี้ใจว่างจากกาย<wbr>และวัตถุภายนอก แต่ยังไม่ว่างจากนิมิตภายใน<wbr>ของตัวเอง จนกว่าจะมีความชำนาญโดยอาศั<wbr>ยการฝึกซ้อมไม่ลดละ นิมิตภายในใจก็นับวันจางไป

    สุดท้ายก็หมด ไม่ปรากฏนิมิตทั้งภายนอกภาย<wbr>ในใจ นั่นท่านก็เรียกว่าจิตว่าง ว่างชนิดนี้เป็นเรื่องว่างป<wbr>ระจำนิสัยของจิต ที่มีภูมิธรรมประจำขั้นแห่ง<wbr>ความว่างของตน นี่ไม่ใช่ว่างสมาธิ และไม่ใช่ว่างในขณะที่นั่งส<wbr>มาธิ ขณะที่นั่งสมาธิเป็นความว่า<wbr>งของสมาธิ แต่จิตที่ปล่อยวางจากร่างกา<wbr>ยเพราะความรู้รอบด้วยนิมิตภ<wbr>ายในก็หมดสิ้นไป เพราะอำนาจของสติปัญญารู้เท<wbr>่าทันด้วย นี่แลชื่อว่าว่างตามฐานะของ<wbr>จิต เมื่อถึงขั้นนี้แล้วจิตว่าง<wbr>จริง ๆ แม้กายจะปรากฏตัวอยู่ก็สักแ<wbr>ต่ความรู้สึกว่ากายมีอยู่เท<wbr>่านั้น แต่ภาพแห่งกายหาได้ปรากฏเป็<wbr>นนิมิตภายในจิตไม่ ว่างเช่นนี้แลเรียกว่า ว่างตามภูมิของจิต และมีความว่างอยู่อย่างนี้ป<wbr>ระจำ ถ้าว่างเช่นนี้ว่าเป็นนิพพา<wbr>น ก็เป็นนิพพานของผู้นั้น หรือของจิตชั้นนั้น แต่ยังไม่ใช่นิพพานว่างของพ<wbr>ระพุทธเจ้า

    ถ้าผู้จะถือสมาธิเป็นความว่<wbr>างของนิพพาน ในขณะจิตที่ลงสู่สมาธิก็เป็<wbr>นนิพพานของสมาธิแห่งโยคาวจร<wbr>ผู้ปฏิบัติผู้นั้น เสียเท่านั้น ความว่างทั้งสองประเภทที่กล<wbr>่าวมานี้ไม่ใช่เป็นนิพพานว่<wbr>างของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุใด เพราะจิตที่มีความว่างในสมา<wbr>ธิ จำต้องพอใจและติดในสมาธิ จิตที่มีความว่างตามภูมิของ<wbr>จิต จำต้องมีความดูดดื่มและติดใ<wbr>จในความว่างประเภทนี้ จำต้องถือความว่างนี้เป็นอา<wbr>รมณ์ของใจจนกว่าจะผ่านไปได้<wbr> ถ้าผู้ถือความว่างนี้ว่าเป็<wbr>นนิพพาน ก็เรียกว่าผู้นั้นติดนิพพาน<wbr> ในความว่างประเภทนี้โดยเจ้า<wbr>ตัวไม่รู้ เมื่อเป็นเช่นนี้ความว่างปร<wbr>ะเภทนี้จะจัดว่าเป็นนิพพานไ<wbr>ด้อย่างไร

    ถ้าไม่ต้องการนิพพานขั้นนี้<wbr> ก็ควรกาง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณออกตรวจตราดูให้ชัดเจ<wbr>นและละเอียดถี่ถ้วน เพราะความว่างที่กล่าวนี้เป<wbr>็นความว่างของเวทนา คือสุขเวทนามีเต็มอยู่ในควา<wbr>มว่างนั้น สัญญาก็หมายว่าง สังขารก็ปรุงแต่เรื่องความว<wbr>่างเป็นอารมณ์ วิญญาณก็ช่วยรับรู้ทางภายใน<wbr> ไม่เพียงจะรับรู้ภายนอก เลยกลายเป็นนิพพานของอารมณ์<wbr> ถ้าพิจารณาสิ่งเหล่านี้ให้ช<wbr>ัดและความว่างให้ชัด โดยเห็นเป็นเรื่องของสังขาร<wbr>ธรรม คือสิ่งผสมนั่นแล จะมีช่องทางผ่านไปได้ในวันห<wbr>นึ่งแน่นอน เมื่อพิจารณาตามที่กล่าวนี้<wbr> ขันธ์ทั้งสี่และความว่างซึ่<wbr>งเป็นสิ่งปิดบังความจริงไว้<wbr> ก็จะค่อยเปิดเผยตัวออกมาทีล<wbr>ะเล็กละน้อย จนปรากฏได้ชัด จิตย่อมมีทางสลัดตัวออกได้

    แม้ฐานที่ตั้งของสังขารธรรม<wbr>ที่เต็มไปด้วยสิ่งผสมนี้ ก็ทนต่อสติปัญญาไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งเกี่ยวโยงกัน สติปัญญาประเภทค้นแร่แปรธาต<wbr>ุจะฟาดฟันเข้าไป เช่นเดียวกับไฟได้เชื้อลุกล<wbr>ามไปไม่หยุด จนกว่าจะขุดรากเหง้าของธรรม<wbr>ผสมนี้ขึ้นได้เสียเมื่อใด เมื่อนั้นจึงจะหยุดการรุกกา<wbr>รรบ เวลานี้มีอะไรที่เป็นข้าศึก<wbr>ต่อนิพพานว่างตามแบบของพระพ<wbr>ุทธเจ้า คือสิ่งที่ติดใจอยู่ในขั้นน<wbr>ี้และขณะนี้แลเป็นข้าศึก สิ่งที่ติดใจก็ได้แก่ความถื<wbr>อว่าใจของเราว่างบ้าง สบายบ้าง ใสสะอาดบ้าง ถ้าจะเห็นว่าใจมันว่างแต่มั<wbr>นอยู่กับความไม่ว่าง ใจมันเป็นสุข แต่มันอาศัยอยู่กับทุกข์ ใจใสสะอาด แต่มันอยู่กับความเศร้าหมอง<wbr>โดยไม่รู้สึกตัว ความว่าง ความสุข ความใส นั่นแลเป็นธรรมปิดบังตัวเอง<wbr> เพราะธรรมทั้งนี้คือ เครื่องหมายของภพชาติ

    ผู้ต้องการตัดภพชาติจึงควรพ<wbr>ิจารณาให้รู้เท่าและปล่อยวา<wbr>งสิ่งเหล่านี้ อย่าหวงไว้เพื่อก่อไฟเผาตัว<wbr> ถ้าปัญญาขุดค้นลงตรงที่สามจ<wbr>อมกษัตริย์แห่งภพปรากฏอยู่ นั้นแล จะถูกองค์การใหญ่ของภพชาติแ<wbr>ละจะขาดกระเด็นออกจากใจทันท<wbr>ี ที่ปัญญาหยั่งลงถึงฐานของเข<wbr>าตั้งอยู่ เมื่อสิ่งทั้งนี้สิ้นไปแล้ว<wbr>เพราะอำนาจของปัญญา นั้นแลเป็นความว่างอันหนึ่ง<wbr> เครื่องหมายของสมมุติใด ๆ จะไม่ปรากฏในความว่างนั้นเล<wbr>ย นี่คือความว่างที่ผิดกับควา<wbr>มว่างที่ผ่านมาแล้ว ความว่างประเภทนี้ เราจะว่าเป็นความว่างของพระ<wbr>พุทธเจ้าหรือความว่างของใคร<wbr>นั้น ผู้แสดงไม่สามารถจะเรียนให้<wbr>ทราบได้ว่า จะควรเป็นความว่างของใคร นอกจากจะเป็นความว่างที่รู้<wbr>เห็นกันอยู่ ด้วยสันทิฏฐิโกของผู้บำเพ็ญ<wbr>เท่านั้น

    ความว่างอันนี้ไม่มีกาลสมัย<wbr> เป็นอกาลิโกอยู่ตลอดกาล ความว่างในสมาธิมีความเปลี่<wbr>ยนแปลงไปได้ ทั้งด้านความเจริญและความเส<wbr>ื่อม ความว่างในขั้นอรูปธรรม ซึ่งกำลังเป็นทางเดินก็แปรส<wbr>ภาพหรือผ่านไปได้ แต่ความว่างในตนเองโดยเฉพาะ<wbr>นี้ ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เพราะตนไม่มีอยู่ในความว่าง<wbr>นั้น และไม่ถือความว่างนั้นว่าเป<wbr>็นตน นอกจาก ยถาภูตัง ญาณทัสสนัง เห็นตามเป็นจริงในหลักธรรมช<wbr>าติแห่งความว่างนั้น และเห็นตามเป็นจริงในสภาวธร<wbr>รมที่ผ่านมาเป็นลำดับ และที่มีอยู่ทั่วไปเท่านั้น<wbr> แม้ศีล สมาธิ ปัญญาซึ่งเป็นธรรมเครื่องแก<wbr>้ไขก็รู้เท่าและปล่อยวางไว้<wbr>ตามเป็นจริง ไม่มีสิ่งใดจะเข้าไปแฝงอยู่<wbr>ในธรรมชาติแห่งความว่างในวา<wbr>ระสุดท้ายนั้นเลย..

    โปรดนำความว่างทั้งสามประเภ<wbr>ทนี้ไปพิจารณา และพยายามบำเพ็ญตนให้เข้าถึ<wbr>งความว่างทั้งสามนี้ เฉพาะอย่างยิ่งความว่างในวา<wbr>ระสุดท้าย ซึ่งเป็นความว่างในหลักธรรม<wbr>ชาติ ไม่มีผู้ใดและสมมุติใดๆ อาจเอื้อมเข้าไปทำการเกี่ยว<wbr>ข้องได้อีกต่อไป ความสงสัยนับแต่ขั้นต้นแห่ง<wbr>ธรรม จนถึงความว่างอย่างยิ่ง จะเป็นปัญหาที่ยุติกันลงได้<wbr> ด้วยความรู้ความเห็นของตนเป<wbr>็นผู้ตัดสินเอง…”


    คัดลอกจาก https://th-th.facebook.com/KhnaPhuththBrisathWadPaKheaLanWaw/posts/585683388109581
     
  2. numatc

    numatc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +196
    ขออนุโมทนาครับ อยากจะขอความรู้หน่อยครับคือ เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นเกิดความเจ็บปวดต่อร่างกาย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาแล้วก็หายเจ็บปวดเลยหรือครับ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ลองดูด้วยตัวเองนะครัช

    :cool:
     
  4. นาย เอ

    นาย เอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +535
    ความเจ็บปวดต่อร่างกาย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาอย่างมีอุเบกขาแล้ว การเจ็บปวดในจิตหรือนาม จะสามารถหายได้โดยรู้แจ้งตามความเป็นจริงอาการยึดมั่นในนามหาย นำไปสู่การคลายของกายหรือรูป

    หากคุณรู้จักการวางอุเบกขา เข้าใจการเกิด ดับ หลังจาก จิต และกาย คลายตัว ขจัดสังขาร ระหว่างรูปและนาม คุณจะพบว่าคุณจะนั่งนานเท่าไรก็ได้ ความเจ็บปวดจะไม่เป็นอุปสรรค แต่ยังมีอุสรรคมากมาย รอคุณอยู่
    และสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศนั้น คุณจะพบกับเขาประจำโดย ไม่ขาด ลา แต่อาจจะมาสาย เรื่อยๆ ข้อดีคือเป็นจุดที่ทำให้วิปัสสนา ชัดเจน
    ความเจ็บปวดแบบหยาบนี้ เป็นทุกขเวทนา เป็นตัวฝึกการวางอุเบกขาที่ดี ในการตั้งมั่นในการชำระสังขารแบบละเอียดหรือเที่ยวบินนอกประเทศ ต่อไป
     
  5. แก่นในธรรม

    แก่นในธรรม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +4
    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...