ธรรมที่นักปฏิบัติหลายคนมองข้าม "มรรคมีองค์8"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย DhammaTpo, 30 มกราคม 2014.

  1. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34
    อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่อง
    ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-
    หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปดคือ
    ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
    ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
    วาจาชอบ (สัมมาวาจา)
    การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
    อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
    ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
    ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)
    ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)


    ____________


    หนทาง ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสถึงความสำคัญเพื่อไปสู่ " มรรคผลนิพพาน "ที่หลายคนอาจ
    มองข้าม ขอให้ลองพิจารณาให้ดี ตรงนี้เหมือน " แผนที่ " ถ้ามีแผนที่ เราก็จะไม่หลง แม้เรา
    จะปฏิบัติอย่างไร วิธีแบบไหนก็ไม่เป็นปัญหาในการเข้าถึงจุดหมาย (นิพพาน)
    ถ้าจะลองเปรียบให้เข้าใจง่ายขึ้นอย่างนี้..



    *** ถ้ามีคนๆหนี่ง จะออกเดินทาง โดยเค้าตั้งใจ จะไป ทะเล ***
    เปรียบดังนี้

    นิพพาน (ความพ้นทุกข์) = จุดหมายทะเล

    มรรควิธี = พาหนะ (สิ่งที่ขับเคลื่อนไปให้ถึงจุดหมาย)

    มรรคมีองค์8 = แผนที่ , คู่มือเดินทางและเตรียมร่างกาย

    ครูบาอาจารย์ = ผู้บอกทาง (ที่อยู่ตามเส้นทาง)

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า = ผู้ค้นพบ , ผู้เขียนแผนที่ และคู่มือเดินทางและเตรียมร่างกาย


    มรรควิธีที่ปฏิบัติ ต่างออกไป ด้วยอุปนิสัย ของ แต่ละคนที่สั่งสมมาไม่เหมือนกัน เราจะเจอ
    พาหนะที่เราถนัดหรือไม่ แล้วมีแผนที่ติดมาด้วยหรือเปล่า


    ตัวอย่างที่หนึ่ง
    ถ้าชายคนแรก จะไปทะเล เค้ามีพรสวรรค์ในการขี่จักรยาน (เปรียบกับจริตที่สั่งสมมาในอดีตชาติ)
    เมื่อจะเริ่มออกเดินทาง เค้าไปเลือกพาหนะ(มรรควิธี) ที่ตนคิดว่าเดินทางได้เร็ว คือ รถยนต์
    ชายคนนี้ พก แผนที่และคู่มือ (มรรคมีองค์8) ไปด้วยในการเดินทางครั้งนี้

    ช่วงแรกขับไป(ปฏิบัติ) อาจจะเหมือนฝืนๆ ขัดๆ แล้วรู้สึกว่ายาก คิดว่า " คงขับไม่ได้แต่ฝืนขับไป
    ด้วยความพยายาม ขับเหมือนไม่ถนัด เหมือนมือใหม่หัดขับ แต่ในรถของชายคนนี้ มีแผนที่ มีคู่มือ
    (มรรคมีองค์8)... ขับไป แวะจอดข้างทางเพื่อ ดูแผนที่ ดูคู่มือ แล้วขับไปในทางที่แผนที่ระบุ
    ทำตามตัวอย่างที่คู่มือแนะนำไว้อย่างเคร่งครัด (ปฏิบัติตามมรรคมีองค์8)

    ชายคนนี้ เดินทางไปอย่างช้าๆ ด้วยความที่ขับรถยนต์ไม่ถนัด แต่เค้าไม่ถอดใจ ไม่ทิ้งรถ(มรรควิธี)
    แล้วนั่งรถกลับบ้านไปซะก่อน แต่เค้าพยายามไปเรื่อยๆ ไปตามทางในแผนที่ ตามคู่มือ
    วันนึง ชายคนนี้ก็จะถึงทะเล(นิพพาน) ที่เป็นจุดหมาย แน่นอน




    ตัวอย่างที่สอง
    ชายคนที่สอง จะไปทะเลเช่นเดียวกัน เค้ามีพรสวรรค์ในการขับรถยนต์ (เปรียบกับจริตที่สั่งสมมา
    ในอดีตชาติ) จะออกเดินทาง ก็เลือกพาหนะ เป็น รถยนต์ (มรรควิธี) อย่างที่เค้ามีพรสวรรค์พอดี
    แต่ในรถเค้าไม่มี แผนที่และคู่มือ (มรรคมีองค์8) ไปด้วยในการเดินทางครั้งนี้

    เค้าขับรถไปด้วยความถนัด คล่องแคล่ว ดูแล้วน่าจะเดินทางได้เร็วทีเดียว คิดว่าจะขับไปเรื่อยๆแล้ว
    ไปถามทางเอาข้างหน้า

    ขับไปได้ 1 กิโลเมตร จอดรถถาม คนบอกทางคนที่1 (ครูบาอาจารย์) แล้วคนบอกทางคนนั้น
    บอกทางแก่เค้า เป็นทางที่ถูกต้อง ไปถึงจุดหมาย แต่ทางนั้นอาจจะอ้อมเล็กน้อย แต่ก็ไปถึงทะเล(นิพพาน)
    เช่นเดียวกัน แต่ ชายคนที่สองนี้ เกิดลังเล สงสัย คิดว่า ทางที่ได้ยินมานั้น จะใช่แน่หรือ !!!
    โดยใช้ความคิดความเห็นของตน (ทิฐิ) ตัดสินว่าท่าทางคนบอกทางคนนี้ดูไม่น่าเชื่อถือเลย
    ได้แต่รับฟังมา แต่ไม่ไปตามนั้น .... เค้าเลยขับรถไปเรื่อยๆ อีก 100 กิโล ในทางอีกเส้นที่คิดว่าใช่
    จนเจอ คนบอกทางคนที่2 (ครูบาอาจารย์) แต่คนนี้ดูน่าเชื่อถือ เลยรับคำแนะนำทางที่จะไปทะเล(นิพพาน)
    แต่เป็นทางที่ผิด ... แต่ชายคนที่สองนี้ก็ ขับตามไปในทางที่ได้ฟังมา อย่างตั้งใจ หมายมั่นว่า
    ตนจะต้องถึงทะเลแน่.... เค้าจะรู้หรือไม่ว่าทางมันผิด ถ้าจะรู้ได้ เค้าจะต้องขับไปจนสุดทางแล้ว
    เห็นเองว่าทางนั้นมันตัน



    บางครั้งคนบอกทางก็ผิด เราไปตามที่เค้าบอก แล้วจะถึงไหม ?
    บางครั้งคนบอกทางถูก แต่เราจำมาผิด คิดผิด แล้วจะถึงไหม ?
    บางครั้งคนบอกทางถูก แต่ทางมันอ้อมเหลือเกิน เกิดความท้อ แล้วหยุดเดิน แล้วจะถึงไหม ?
    ก็ทำไมเราไม่แวะจอดที่ปั๊มแล้ว ซื้อ แผนที่ และคู่มือ (มรรคมีองค์8) เอาไว้นำทางซะก่อนล่ะ



    นี่แหละหนทางอันประเสริฐ ที่ พระพุทธเจ้าเป็นผู้พบแล้ว มาบอกเรา .. ทางนี่แหละจะ ขนเหล่าสัตว์ ไปนิพพาน

    ถ้าเราจะเดินทางด้วยเท้าเปล่า แม้ลำบากแค่ไหนก็คงไม่สำคัญ เท่ากับ ทางที่เดินไปนั้น ถูกทางหรือเปล่า



    Q : เดินตาม มรรคมีองค์8 ปฏิบัติอย่างไร ?
    Q : ลำดับ มรรคมีองค์8 มีนัยยะ อะไร ทำไมจึงเรียงอย่างนี้ ?
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    เข้าใจยกตัวอย่างเปรียบเทียบอ่านแล้ว
    ทำให้พอเทียบเคียงและเข้าใจง่ายดีครับ..
    ส่วนตัวมองว่า.ทุกข้อสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่อง
    กันหมด.แต่สำคัญมากที่สุดที่จะไปให้ถึงปลาย
    ทางได้แน่นอนช้าเร็วแตกต่างกันไป
    แล้วแต่เหตุและปัจจัย.คือข้อความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
    ต้องเปิดทางให้เราก่อนครับ..ส่วนจะเปิดทางอย่างไร
    ก็สุดแล้วแต่เหตุและปัจจัยของแต่บุคคลที่จะพึงเข้าใจได้ครับ

     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    การเพ่งฌานสมาบัติเป็นมรรค ๘ โดยบริบูรณ์

    ความเห็นเพ่งที่จุดมโนทวารนั้นละเป็นความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
    ความดำริเพ่งที่จุดมโนทวารนั้นละเป็นความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
    วาจากล่าวเพ่งที่จุดมโนทวารนั้นละเป็นวาจาชอบ (สัมมาวาจา)
    การเพ่งที่จุดมโนทวารนั้นละเป็นการงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
    การเพ่งที่จุดมโนทวารนั้นละเป็นอาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
    ความเพียรเพ่งที่จุดมโนทวารนั้นละเป็นความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
    ความระลึกการเพ่งที่จุดมโนทวารนั้นละเป็นความระลึกชอบ (สัมมาสติ)
    ความตั้งใจเพ่งที่จุดมโนทวารนั้นละเป็นความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)
    ก็เพ่งฌานที่จุดนี้จุดเดียวก็บริบูรณ์ด้วยมรรค ๘ แล้วและเป็นสติปัฏฐานสูตรด้วย
    ธรรมหลวงปู่สาวกโลกอุดร ธัมมะปาโล

    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2014
  4. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34
    Q : เดินตาม มรรคมีองค์8 ปฏิบัติอย่างไร ?
    Q : ลำดับ มรรคมีองค์8 มีนัยยะ อะไร ทำไมจึงเรียงอย่างนี้ ?

    A : เราพึงเจริญมรรคมีองค์8 ให้บริบูรณ์ แต่จะทำให้บริบูรณ์ได้อย่างไร จะยกตัวอย่างให้เห็น
    แล้วลองพิจารณา ตามลำมรรคมีองค์8 ตั้งแต่ต้น จน ทำให้มรรคมีองค์8 บริบูรณ์ได้ ดังนี้


    สมมุติว่า
    มีเด็กสาวคนหนึ่ง มีวิถีชีวิต ไปตามคนปกติ เป็นคนดีของ พ่อ แม่ และของสังคม เธอนับถือ
    ศาสนาพุทธแค่ในบัตรประชาชน คือ นับถือตาม พ่อ แม่ ไม่ทราบเลยว่า แก่นแท้พุทธศาสนา
    เป็นอย่างไร ? พระพุทธเจ้าสอนอะไร ?

    วันหนึ่ง เกิดความทุกข์ใจ ที่เธอโดน แฟนหนุ่มทิ้ง อย่างไม่ใยดี ทั้งที่คบหากันมาได้ เป็นสิบปี
    เกิดความเศร้าใจ เลยมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ด้วยความไม่รู้ ที่คิดว่าการกระทำอย่างนั้นแล้ว
    แฟนหนุ่มจะต้องเสียใจ และเสียดาย เมื่อตนเองตายลง... แต่ก่อนที่เธอจะได้ทำตามอย่างที่ตั้งใจ
    เธอกับได้คุยและได้ปรึกษากับ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่เธอเคารพนับถือ ผู้ใหญ่ท่านนี้ ชวนเธอไป
    ปฏิบัติธรรม แล้วบอกว่า ถ้าลองปฏิบัติตามที่แนะนำอย่างนี้แล้ว จะหายทุกข์...

    เด็กสาวคนนั้น ลองเชื่อ และลงมือปฏิบัติตาม ผู้ใหญ่ท่านนั้นแนะนำให้เธอปฎิบัติ ในแนวทาง
    อานาปานสติ และเจริญมรรคมีองค์8 เธอลงมือปฏิบัติ ตามลำดับอย่างนี้โดยยึดหลักมรรคมีองค์8
    ดังนี้


    .....
    ...
    .

    มรรคองค์ที่ 1 ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)

    เด็กสาวคนนั้นได้รับการปรับความเห็น (ทิฐิ) ในเบื้องต้น ด้วยคำแนะนำจากผู้ใหญ่ท่านนั้นให้เชื่อ
    ว่า ตายแล้วไม่สูญ , กรรมทั้งหลายมีผลมาจากการกระทำ ฯลฯ เธอได้รับคำแนะนำถึงเรื่อง อริยสัจ
    ว่าที่เธอทุกข์ใจ เป็นอย่างไร และเหตุที่เธอทุกข์ใจเป็นอย่างไร เธอรับฟังไว้แต่ยังไม่ได้รับรู้ด้วย
    ปัญญาของตนเอง ความเป็นสัมมาทิฐิ จึงยังไม่บริบูรณ์เต็ม

    จะเห็นว่าสัมมาทิฐิเป็นองค์นำ ก็เพราะหากเด็กสาวคนนี้ ไม่ยอมฟัง ไม่รับไปพิจารณาใคร่ครวญดู
    ไม่ยอมปรับความเห็น เป็นคนหัวแข็ง มรรคองค์ต่อๆไป จะไม่มีทางเกิดขึ้นเลย แม้สัมมาทิฐิ ในตอนนี้
    เป็นเพียงการปรับความเห็นเบื้องต้นเท่านั้น ก็ยังพาเธอ ให้อยากลองพิสูจน์ว่า ที่เธอได้ฟังมา
    จริงหรือไม่

    _________________________

    มรรคองค์ที่ 2 ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
    เด็กสาวคนนั้นเริ่มอยากลอง พิสูจน์ว่า เธอจะพ้นทุกข์จริงหรือไม่ เลยลองปฏิบัติ อานาปานสติ
    ความคิดที่จะตั้งใจจะปฏิบัติ อานาปานสติ นั้นคือ ความตั้งใจ จะละทิ้งความคิดในทางกาม
    (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) มีความตั้งใจจะพรากออกจากสิ่งเหล่านี้

    แม้เธอไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติตาม มรรคองค์ที่2 ให้บริบูรณ์ แต่การกระทำอย่างนั้น ก็มีผลให้
    มรรคในข้อนี้บริบูรณ์

    _________________________

    มรรคองค์ที่ 3 วาจาชอบ (สัมมาวาจา)
    ศีลข้อ 4
    มรรคองค์ที่ 4 การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) ศีลข้อ 1 ,2 ,3
    เด็กสาวคนนั้นเริ่ม รักษาศีล 5 จนเป็นปกติ.. โดยศีลบางข้อ ที่เมื่อก่อนยังมีการ พูดโกหกอยู่บ้าง
    ก็พยายามรักษาในข้อนี้ และด้วยความที่เป็นคนที่ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดให้คนอื่นทะเลาะกัน
    แต่การกระทำอย่างนั้น ก็มีผลให้ มรรคในองค์ที่ 3 นี้บริบูรณ์

    ด้วยความที่เด็กสาว มีจิตที่ไม่คิดเบียดเบียน ผู้อื่น และสัตว์ทั้งหลาย ให้ต้องเดือดร้อน ทำให้ศีล
    ในข้อ 1 ,2 ,3 สมบูรณ์โดยที่เธอไม่ได้ตั้งใจถือ แต่เป็นศีลที่บริสุทธิ์มาจากใจ
    แม้เธอไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติตาม มรรคองค์ที่ 4 ให้บริบูรณ์ แต่การมีจิตอย่างนั้น ก็มีผลให้ มรรคในข้อนี้บริบูรณ์
    _________________________

    มรรคองค์ที่ 5 อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
    เด็กสาวคนนั้น ไม่ได้เลี้ยงชีพ ด้วยมิจฉาอาชีวะ(ดูบทขยายในมรรคมีองค์8)

    แม้เธอไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติตาม มรรคองค์ที่5 ให้บริบูรณ์ แต่ก็มีผลให้ มรรคในข้อนี้บริบูรณ์
    _________________________

    มรรคองค์ที่ 6 ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
    เด็กสาวคนนั้นเริ่มตั้งใจปฏิบัติ อานาปานสติ ด้วยความพยายามในการรู้ลมหายใจ เข้า-ออก
    อยู่เป็นประจำ สร้างความพอใจในการปฏิบัติ

    - พยายามประคองการรู้ลมไว้ให้ได้ตลอดวัน แม้บางช่วงที่ปฏิบัติอาจเผลอสติเป็นเวลานาน
    แต่ก็ไม่ละความพยายามที่จะเอาสติมารู้ที่ลม ( ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
    ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด )

    -เมื่อเธอปฏิบัติแล้ว เกิด ความหงุดหงิด รำคาญใจขึ้น ก็พยายามดึงกลับมารู้ที่ลม ( ย่อมประคองจิต
    ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ที่ยังไม่ได้บังเกิด )


    เมื่อเธอตั้งใจพยายามอยู่อย่างนี้ มรรคองค์ที่6 ก็บริบูรณ์
    _________________________

    มรรคองค์ที่ 7 ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)
    มรรคองค์ที่ 8 ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)
    มาถึงมรรคสององค์นี้เป็นมรรคที่เกื้อกูลกัน
    เด็กสาวคนนั้น พยายามรู้ลมอยู่ทั้งวัน ทั้งคืน ด้วยความพยายาม ด้วยการสร้างเหตุแห่งสัญญา
    จึงทำให้เกิดสติอัตโนมัติ มารู้ที่ลมได้บ่อยขึ้น แล้วเป็นสติที่เป็นกลาง ปราศจากความพยายาม
    ที่จะรู้ จากความพยายามรู้ กลายเป็น การระลึกที่เป็นสัมมาสติ

    -การระลึกถึงลมอยู่อย่างนี้ ตลอดวัน บางครั้ง เห็นลมเกิดขึ้น -เห็นลมดับลง เป็นผู้มีปกติ
    พิจารณา เห็นกายในกายอยู่ )
    -การระลึกถึงลมอยู่อย่างนี้ ตลอดวัน บางครั้ง เห็นความคิดแล่นออกไปบ้าน ผุดขึ้นบ้าง ระหว่างที่
    ระลึกรู้ลมอยู่ เห็นความเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ( เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ )


    เมื่อเธอเกิดสติที่แท้จริงอยู่อย่างนี้ มรรคองค์ที่7 ก็บริบูรณ์


    เมื่อสติเห็นธรรมภายในอยู่อย่างนี้ จนเกิดสัมมาสติ จิตก็ตั้งมั่น เป็นสมาธิ ที่เป็น สัมมาสมาธิ
    เมื่อมีสัมมาสติระลึกเห็นธรรมอยู่ จดจ่ออยู่ ก็เกิด สัมมาสมาธิ มีผลให้ มรรคองค์ที่8 ก็บริบูรณ์


    สติที่ระลึกเห็นความเกิด-ดับ เห็นความเปลี่ยนแปลงในภายในนั้น ก็เข้าใจว่านี้เป็นทุกข์ และสาเหตุ
    ให้เกิดทุกข์

    ทำให้มรรคองค์ที่1 ที่เป็น สัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ บริบูรณ์ขึ้นได้ มรรคมีองค์8 ทั้งหมด จึงบริบูรณ์


    จิตถึงตรงนี้พร้อมที่จะเกิดปัญญารู้ทั่วถึงธรรมต่างๆ มรรคผลจะหลังจากนี้ เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นกลาง
    ที่มาจากสัมมาสติและสัมมาสมาธิ การรู้ทั่วถึงธรรม โดยอาศัยปฐมฌานเป็นต้นไป ที่ไม่ต้องนั่งสมาธิ
    ให้เกิดฌาน แต่จะเกิดเอง เพราะเหตุปัจจัย ของ สติและสมาธิ ที่ถูกต้องจากมรรคมีองค์8
    เมื่อมรรคมีองค์8 บริบูรณ์ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาที่เป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาที่เป็น
    ภาวนามยปัญญา แม้เด็กสาวคนนั้น จะตั้งใจหรือไม่ที่จะกระทำมรรคมีองค์8 ให้บริบูรณ์ แต่ไปทำโดนเข้า
    ก็เกิดมรรคผล ได้เช่นกัน มรรคมีองค์ จึงเป็นหนทางที่ตีกรอบเราให้อยู่ในทางตรง จนสุดได้ที่วิมุต



    เด็กสาวเอาตัวรอดจากทุกข์ได้อย่างไร?
    เด็กสาวคนนั้น เห็นธรรมภายใน ถึงความไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนจากภายในจิต เกิดปัญญายอมรับ เข้าใจว่า
    ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเป็นของไม่เที่ยง แม้ความทุกข์ในเรื่องความรัก ที่เกิดขึ้นกับตนเองว่า ธรรมดาของจิต
    เป็นของปวนแปร เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ แม้จิตของตนยังบังคับไม่ได้ บังคับให้รัก ให้เกลียด ให้เลิกรัก
    ก็ไม่ได้ ทำได้เพียงการสร้างเหตุเท่านั้น แล้วจะภาษาอะไรกับจิตของผู้อื่น(อดีตแฟนหนุ่ม)
    อย่างนี้จะหาแก่นสารอะไรในโลกนี้ได้ จิตของเด็กสาวคนนั้น ก็ไม่มั่นหมายว่าอะไรจะเป็นของเที่ยงแท้ ถาวร
    ที่ตนเองจะวางใจได้ ทุกข์ที่เกิดขึ้น จากการสำคัญว่าทุกอย่างต้องเป็นไปอย่างใจ ก็คลายลง ด้วยการปฏิบัติ
    อานาปนสติ โดยทำมรรค์มีองค์8 ให้บริบูรณ์



    บางคน ในเส้นทางนิพพานนี้ อาจจะปฏิบัติไปโดนองค์มรรคมีองค์8 ทั้งที่ตั้งใจบ้าง ไม่ได้ตั้งใจบ้าง.. บางคนเหลือแค่
    มรรคไม่กี่องค์ ก็จะบริบูรณ์ อาจะเหลือแค่ องค์7-8 คือสัมมาสติและสัมมาสมาธิ ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็พึงสำรวจตนเอง
    ว่ามรรคองค์ใดเรายังไม่บริบูรณ์ ก็ทำให้บริบูรณ์ มรรคองค์ใดบริบูรณ์แล้วก็คงไว้ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน



    *** เรื่องที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องที่สมมุติขึ้น เด็กสาวคนนี้ ไม่ได้มีอยู่จริง เพียงยกขึ้นมาให้ทำความเข้าใจ
    ในมรรคมีองค์8 ง่ายขึ้น และเป็นลำดับการปฏิบัติ ว่าเจริญมรรคมีองค์8 แล้วจะเอาตัวรอดจากทุกข์ได้อย่างไร
    ในธรรมะของพระพุทธเจ้า


    ______________________________
     
  5. nai_Prathom

    nai_Prathom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้ครับ คือผมได้อ่านแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ขออนุญาตคอมเมนท์ดังนี้

    1.ในทุกข้อที่คุณได้ยกตัวอย่างมา คุณมักจะจบลงด้วยคำว่า "บริบูรณ์" ในความเข้าใจของผม คำว่า มรรคที่บริบูรณ์แล้วนั้น ใช้ได้กับเพียง พระโสดาปัตติมรรค ที่ท่านได้เข้าถึงมรรคญานและกำลังก้าวสู่ผลญาน เป็นพระโสดาปัตติผลเท่านั้น

    2.ในความเป็นจริงแล้วการปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า การเจริญมรรคนั้น ทุกคนต้องเริ่มจากคำว่า "ผิด" ไปหา "ถูก" ด้วยกันทั้งสิ้น ทุกคนจึงเริ่มต้นด้วย "มิจฉามรรค" คือ ได้ลองผิดนัยครั้งไม่ถ้วน จนค่อยๆถูกไปทีละเล็กทีละน้อย คำว่า "บริบูรณ์ จึงใช้ไม่ได้ กับใครสักคนที่เพิ่งเริ่มต้น ดังนั้นการเจริญมรรคนั้น "ไม่ใช่ของง่าย"

    3.การเจริญสติแล้วได้ผลเป็นสมาธินั้น อาจเกิดได้จริง แต่นั่นคงไม่ใช่ความหมายที่แท้จริง ในคำสอนเรื่องมรรคแปดถูกกำหนดไว้ว่า เมื่อมี "สัมมาสติ" แล้วก็มี "สัมมาสมาธิ" แยกออกมาต่างหาก คำว่าสัมมาสมาธิ จริงๆแล้วน่าจะหมายถึงสมาธิที่ใช้งานได้ ใช้งานได้คืออย่างไร? คือสมาธิที่มีกำลังในการเจริญวิปัสสนาได้ ซึ่งควรจะเริ่มนับกันตั้งแต่อัปปนาสมาธิ อันได้แก่ ปฐมฌานขึ้นไป โดยลำดับ การเจริญสมาธิที่ต่างหากออกไป จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

    4.การเจริญมรรคนั้น นักปฏิบัติตัวจริงไม่เคยมองข้ามเลยแม้แต่นิดเดียว อีกทั้งครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นทั้งหลาย ท่านสอนเน้นย้ำในเรื่อง ศีล-สมาธิ-ปัญญา ซึ่งก็คือมรรคแปดนั่นเอง ไม่เคยขาดมรรคแปดในคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์เลย

    น่าเศร้าใจว่าทุกวันนี้มีบางสำนักพยายามสอนธรรมะแบบมักง่าย ยกตัวอย่างเช่น "ให้มีวิหารธรรม อยู่ในอุเบกขา แล้วกิเลสจะสำรอกออกไปจากจิตเอง" นี่เป็นการสอนที่เหยียบย่ำทำลายพระพุทธศาสนาอย่างที่สุด
     
  6. DhammaTpo

    DhammaTpo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2014
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +34



    ตอบตาม คุณ nai_Prathom คอมเมนท์มานะครับ

    1.ใช้คำว่า " บริบูรณ์ " ที่กล่าวนั้น เป็นความบริบูรณ์ ขณะจิตนั้นๆที่เจริญมรรคองค์นั้นอยู่ จึงแยกแสดงเป็นองค์ๆไป
    เป็นธรรมดาที่ สภาวะธรรม ทุกอย่าง เป็นของเกิดดับ และไม่คงที่ แต่ในเวลาที่เกิดมรรคจิต มรรคทั้ง8 ต้องบริบูรณ์พร้อม
    ในขณะจิตนั้น เราจึงควรพยายามเจริญมรรคให้บริบูรณ์ครบ
    ในพระโสดาบัน การเกิดของอริยมรรค ก็ไม่ได้ครบองค์อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน พระโสดาบันนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    "เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ" ทิฐิในที่นี้คือ สัมมาทิฐิ ความเห็นที่ถูกต้องตรงจริง แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์พร้อม จะสมบูรณ์พร้อม
    ในพระอรหันต์.... ทิฐิ(ความเห็น) ในพระโสดาบัน เป็นทิฐิที่ไม่กลับกรอกอีก เป็นความเห็นที่มั่นคง

    เป็นข้อสังเกตุนะครับ
    เมื่อใดที่พระโสดาบันไม่มีความเพียรในการปฏิบัติต่อ มรรคในข้อ 6,7,8 ก็ไม่เกิด มรรคผลในลำดับต่อไปจึงไม่เกิดเช่นกัน
    แต่พระโสดาบัน จะมีมรรค ในข้อ 2,3,4,5(ข้อศีล) บริบูรณ์พร้อม คำว่า "บริบูรณ์พร้อม" นี้หมายความว่า มีพร้อมอยู่ที่จิต
    กล่าวคือ พระโสดาบันมีศีลอยู่ที่จิตแล้ว จึงไม่ต้องถือ ไม่ต้องเจิญ ส่วนในมรรคข้อที่ 1 ที่เป็นสัมมาทิฐิ จะบริบูรณ์แล้วในองค์มรรค
    เป็นผู้รู้แล้วว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้ทางเดินให้สิ้นทุกข์ หรือคือ อริยสัจ4 พระโสดาบันเป็นผู้เห็น
    อริยสัจแล้ว แต่ยังทำที่สุดแห้งทุกข์ไม่ได้เท่านั้น


    2.การเจริญมรรคนั้น ไม่ต้องจาก "ผิด" ไป "ถูก" ครับ เพราะพระพุทธเจ้าทรงค้นพบหนทางนี้ แล้วทรงบัญญัติ เหล่านักปฏิบัติ
    ที่เป็นสาวก เป็นเพียง "มรรคานุคา" ผู้เดินตาม ปฏิบัติตามเท่านั้น และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่พวกเราที่ รู้แล้ว ทราบแล้ว ว่ามรรคมีองค์8
    สำคัญแค่ไหน และปฏิบัติอย่างไร จะเป็นผู้แนะนำ ให้ผู้เริ่มปฏิบัติใหม่ ทราบ ผู้ปฏิบัติใหม่จะได้ไม่เข้าใจ นัยยะที่ผิดไป


    3.การเจริญสติ ที่กล่าว คือ สัมมาสติ เป็นสติที่ถูกต้อง ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ มีผลให้จิตตั้งมั่น(ที่เป็นสัมมาสมาธิ) จะเห็นว่า
    พระพุทธเจ้าตรัสถึง สัมมาสมาธิ ไม่ได้ใช้คำว่า "สมาธิ" เพราะสมาธิเฉยๆ นิ่ง ไม่เป็นไปพร้อมด้วยสติ อย่างนี้ไม่เรียก สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่ทำให้จิตตั้งมั่น พร้อมที่จะเห็นสภาพธรรม ที่อยู่ภายใน มีตั้งแต่ ปฐมฌานขึ้นไป ส่วนอารมณ์ในปฐมฌานนั้น
    แค่ละจากความคิดที่เป็นอกุศลเท่านั้น ซึ่งยังมีวิตก วิจารอยู่... อย่างนี้พระพุทธเจ้า ตรัสเรียกว่าเป็น "ปฐมฌาน" แล้ว
    สมาธิที่เกิดนี้เพียงพอแล้วกับการบรรลุมรรคผล สมาธิที่เกิดจากการนั่งสมาธินั้น บางครั้งเป็นสมาธิที่เกินไป เลยความพอดีที่ต้องการ


    4.สังเกตุจากบุคคลที่เกี่ยวข้องผมเองนะครับ คือ เท่าที่ผู้รู้จักผู้ปฏิบัติมาที่จริงจัง สมมุติว่า 20 คน จะมี ซะแค่ 1-2 คน เท่านั้น ที่รู้
    และให้ความสำคัญ กับ มรรคมีองค์8... ที่เหลือนั้นก็ปฏิบัติไปตาม มรรควิธี คิดว่า มรรควิธีสำคัญที่สุด มักจะเปรียบเทียบ
    ว่าของอาจารย์ตนเองดีกว่า .. แต่ที่จริงไม่ว่า มรรควิธีใด จะอานาปานสติ อสุภะ กรรมฐาน40 ละนันทิ ฯลฯ ถ้าไม่ได้ยืนอยู่บน
    มรรคมีองค์8 การบรรลุธรรมก็ไม่เกิด.. แต่จะมีบางกรณีที่ผู้ปฏิบัติไม่รู้ มรรคมีองค์8 มาก่อน แต่บรรลุธรรมได้ อย่างนี้ ก็เพราะ
    ผู้ปฏิบัติ ไปทำโดนมรรคเข้า แบบไม่รู้ตัว อย่างที่ผมโพสตัวอย่างให้ดู เป็นต้น... แต่ในยุคเรา มีสิ่งเร้ามากมาย ผู้ปฏิบัติจึงต้อง
    รู้ไว้ แล้วปฏิบัติตนให้อยู่ในทาง ไม่ใช่แค่หวังว่า "เดี๋ยวฟลุ๊กไปโดนมรรคเอง"


    "ให้มีวิหารธรรม อยู่ในอุเบกขา แล้วกิเลสจะสำรอกออกไปจากจิตเอง" สำนักดังกล่าว มีการปฏิบัติอย่างไรครับ เผื่อผมเอง
    ช่วยตอบและขยายความให้ได้ว่า ทำอย่างนั้นแล้วจะสำรอกกิเลสออกมาได้อย่างไรครับ
     
  7. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    วีรติเจตสิก
    คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้งดเว้นจากการทำบาปอกุศลทั้งหลาย การงดเว้นมี ๓ ลักษณะ คือ
    ๑.เว้นจากการทำบาป โดยอัธยาศัยเพราะมีจิตเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย
    ๒.เว้นจากการทำบาป ตามกำหนดเวลา เช่น การสมาทานศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ในวันพระ
    ๓.เว้นจากการทำบาปโดยเด็ดขาด ได้แก่ จิตของพระอริยบุคคล

    วีรติเจตสิก มี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ มีรายละเอียดดังนี้

    ๑.สัมมาวาจา คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้น การเลิกละ จากการทำอกุศลทางวาจา คือ งดเว้นการพูดเท็จ ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ เป็นการงดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เช่น ในชีวิตประจำวันทั่วไปก็ไม่พูดโกหก หรือส่อเสียดใครๆ ไม่พูดคำหยาบ ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อ

    ๒.สัมมากัมมันตะ คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้น การเลิกละ จากการทำอกุศลทางกาย คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นการงดเว้นจากการทุจริตทั้ง ๓ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เช่น ไม่พักผ่อนหย่อนใจด้วยการตกปลา เพราะเป็นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น

    ๓.สัมมาอาชีวะ คือธรรมชาติที่ทำให้เกิดการงดเว้นจากกายทุจริต ๓ และ วจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เป็นการงดเว้นการทำบาปทางกาย ทางวาจา ในการปรพกอบอาชีพ เช่น ไม่ประกอบอาชีพฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ค้ากาม ทำการงานอาชีพอย่างสุจริตไม่โกหก หลอกลวง เป็นต้น

    สรุป สำหรับจิตของปุถุชน วีรติเจตสิกจะเข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกามาวจรกุศล คือ กุศลที่นอกจาก ฌาน สมาบัติ และมรรคผล วีรติเจตสิกจะเกิดได้ทีละดวงเท่านั้นและไม่แน่นอน จะไม่เกิดพร้อมกันทีเดียว ๓ ดวง กล่าวคือ ขณะที่งดเว้นการพูดปดที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ ในขณะนั้นจะมีสัมมาวาจาเจตสิกเข้าประกอบกับกามาวจรกุศลจิต แต่จะไม่มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าประกอบ เป็นต้น

    สำหรับจิตของพระอริยบุคคล คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ วีรติเจตสิกจะเกิดประกอบกับจิต พร้อมกันทั้ง ๓ ดวงและแน่นอนด้วย เพราะวีรติเป็นองค์มรรค

    หมายเหตุ วีรติเจตสิก ๓ จัดอยู่ในหมวด โสภณเจตสิก ๒๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2014
  8. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    เจตสิกในกลุ่มอัญญสมานเจตสิก ๑๓ ที่สามารถเจริญสัมมามรรคได้ ๓ คือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสมาธิ ได้แก่

    -วิตกเจตสิก ต้องเกิดประกอบกับมหากุศลเท่านั้นจึงเป็นสัมมามรรค หากประกอบกับจิตที่เป็นอกุศลก็จะเป็นการเจริญมิจฉาสังกัปปะ เช่น กำลังตรึกนึกถึงการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น ขณะนั้นก็กำลังดำเนินอยู่ในมิจฉามรรคแล้ว เป็นหนทางไปสู่อบายแล้ว

    -วิริยเจตสิก ต้องเกิดประกอบกับมหากุศลเท่านั้นจึงจะเป็นสัมมามรรค ส่วนวิริยเจตสิกที่ประกอบกับจิตอกุศลเป็นการเจริญมิจฉาวายามะ เช่น มีความอดทนพยายามในการตกปลา เป็นต้น ขณะนั้นกำลังดำเนินอยู่ในมิจฉามรรคแล้ว เป็นหนทางไปสู่อบายแล้ว

    -เอกัคตาเจตสิก ต้องเกิดประกอบกับมหากุศลเท่านั้นจึงจะเป็นสัมมามรรค ส่วนเอกัคตาเจตสิกที่ประกอบกับจิตอกุศล เป็นการเจริญมิจฉาสมาธิ เช่น มีความเป็นหนึ่งตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวในการทำอกุศล จิตจดจ่อที่จะเอาชีวิตของผู้อื่น เป็นต้น ขณะนั้นก็กำลังดำเนินอยู่ในมิจฉามรรคแล้ว เป็นหนทางไปสู่อบายแล้ว

    ในเวลาที่ท่านทั้งหลาย ยืน เดิน นั่ง นอน กิน พูด ขับถ่าย เป็นต้น โดยปราศจากสติสัมปชัญญะ ขณะนั้น วิตกเจตสิก วิริยเจตสิก เอกัคตาเจตสิก กำลังปรุงแต่งจิตฝ่ายอกุศล ถึงแม้นว่าขณะนั้นท่านกำลังเดินอยู่ในห้องกรรมฐานก็ตาม ถ้ามีความเพียรผิด ตั้งมั่นในอารมณ์ผิด ตรึกถึงอารมณ์ผิด ก็ไม่ได้ชื่อว่ากำลังเจริญกุศลแต่อย่างไรเลย

    หมายเหตุ มหากุศลจิต ๘ เป็นจิตที่ประกอบด้วยกุศลเหตุ ๓ บ้าง ได้แก่ ความไม่โลภ(อโลภเหตุ) ความไม่โกรธ(อโทสเหตุ) และความมีปัญญา(อโมหเหตุ) หรือกุศลเหตุ ๒ บ้าง ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ ... บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เป็นการบำเพ็ญบุญของจิตอันเป็นที่ตั้งของมหากุศลจิต

    (ขอบพระคุณ เอกสารประกอบการศึกษาพระอภิธรรม มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม)
     
  9. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ข้าพเจ้าสังเกตตนเองพบว่า ช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ข้าพเจ้ามีการเจริญมิจฉามรรคมาโดยตลอดโดยที่ไม่ได้สังเกต ว่าเป็นเหตุให้จิตไม่มีกำลังในการปฏิบัติสมถะกรรมฐาน กล่าวคือ มีการตรึกถึงอารมณ์ง่วงเหงาหดหู่ มีความเพียรในอารมณ์ง่วงงุนนั้น และมีความเป็นหนึ่งตั้งมั่นในอารมณ์ง่วงนั้น(โดยเฉพาะช่วงทำงานในชีวิตประจำวัน) แม้ในขณะที่พิมพ์ข้อความนี้อยู่ก็ตาม... ข้าพเจ้าเจริญอกุศลจิตโดยที่ไม่รู้ตัว แม้กายกับวาจาจะไม่มีการประพฤติผิดใดๆก้อตาม
     
  10. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    มรรค อันมีองค์ ๘ ที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก เป็นเพียง "กุศลธรรม" ที่ให้ประพฤติปฏิบัติ ซึ่งในทางที่เป็นจริง มิใช่หนทางแห่งการหลุดพ้น ที่ข้าพเจ้ากล่าวไป ไม่ใช่เป็นการคัดค้าน แต่กล่าวไปตามหลักความจริง กล่าวไปตามหลักธรรมชาติ
    หลักธรรม ที่พวกผู้ศรัทธา และพวกผู้ที่เกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา เข้าใจผิด หลงผิด ไม่ได้ใช้สมองสติปัญญา ทำความเข้าใจในบริบทแห่งพระไตรปิฎกในหลายๆตอน แต่เขาทั้งหลายเหล่านั้นมักจะนำเอาความตอนใดตอนหนึ่งมากล่าวอ้าง โดยความเขลา จึงทำให้หลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนา ถูกบิดเบือนไป
    มรรค อันมี องค์ ๘ เป็นเพียงการสอนให้คนกลุ่มหนึ่ง หรือชุมชนชุมชนหนึ่ง ประพฤติปฏิบัติ "กุศลธรรม" เพื่อความสงบสุขในชุมชน เพื่อความสงบในกลุ่ม ถ้าจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่ง ก็เหมือนคำพังเพยที่ว่า"กบในกะลา" ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ไม่ได้รู้หลักความจริง ไม่ได้รู้หลักธรรมชาติแห่งสังคมอื่นๆ
    ดังนั้น มรรค อันมี องค์ ๘ จึงไม่ได้หลักธรรมที่จะทำให้บุคคลหลุดพ้นจากอาสวะ แต่เป็นเพียงการสอนให้ประพฤติปฏิบัติ ในทาง "กุศลธรรม" อย่างหนึ่งเท่านั้น ท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา จงคิดพิจารณาให้ดี เถิดขอรับ
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    (อัฎฐังคิกมรรคชนิดที่เ้จริญแล้วทำกิจของอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว)พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนรับรองแขก มีอยู่ ณ เรือนนั้น มีแขกจากทิศตะวันออก พักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศตะวันตกพักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิสเหนือพักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศใต้พักอาสัยอยู่บ้าง มีแขกวรรณะกาัตริย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะพราห์มณ์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะแพศย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะศูทรมาพักอยู่ก็มี นี้ฉันใด..................ภิกษุ ทั้งหลายข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ภิกษุเมื่อเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฎฐังคิกมรรค .............ย่อมกำหนดรู้ซึ่งธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง....... ย่อมละซึ่งธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ...... ย่อมทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ....... ย่อมทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ภิกษุทั้งหลายธรรมเหล่าใหนเล่า เป็นธรรมอันพีงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบพึงมีวา่า ปัญจุปาทานักขันธิ์ กล่าวคือ ขันธิ์เป็นที่ยึดมั่น คือรูป ขันธิ์ที่เแป็นที่ยึดมั่นคือเวทนา ขันธิ์ที่เป็นที่ยึดมั่นคือ สัญญา ขันธิ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สังขาร ขันธิ์เป็นที่ยึดมั่นคือวิญญาน ภิกาุทั้งหลายธรรมเหล่าใหนเล่า เป็นธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบพึงมีว่า อวิชชา และ ภวตัณหา ภิกษุทั้งหลายธรรมเหล่าใหนเล่า เป็นธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบพึงมีว่า วิชชาและ วิมุติ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใหนเล่า เ้ป็นธรรมอันพึงเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบพึงมีว่า สมถะและวิปัสนา ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญให้มากมำให้มากซึ่งอริยอัฎฐังคิกมรรคอยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลายในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ สัมมาทิฐฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สีมมาสติ สัมมาสมาธิ ชนิดที่มี วิเวกอาสัยแล้ว มี วิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปรกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง ภิกาุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญ อัฎฐังคิกมรรคอยู่อย่างนี้ แล---มหาวาร.สํ.19/77-78/290-295:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2014
  12. ผู้ตามธรรม

    ผู้ตามธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +33
    ทุกข์ต้องกำหนดรู้
    สมุทัยต้องละ
    นิโรธต้องกระทำให้แจ้ง
    มรรคต้องกระทำให้มาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...