อานิสงส์ไม่มีประมาณ ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดลำจังหัน

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 5 มกราคม 2012.

  1. virawat

    virawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +181
    ข้าพเจ้า Virawat และครอบครัว

    "ได้ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดขึ้นกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท ณ วัดลำจังหัน จ.เพชรบูรณ์"
    ขอร่วมเป็นเจ้าภาพบันได 2 ขั้น
    วันที่ 12/11/56 ได้โอนเงินตามกำลังทรัพย์ แต่เปี่ยมด้วยจิตศรัทธาบริสุทธิ์อย่างสูง
    ผ่านทางออนไลน์จำนวน 4,011 บาท ให้เรียบร้อยแล้วครับ
    โอนเงินเข้า กรุงไทย 615-047-4860

    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
     
  2. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,030
    [​IMG]


    คณะกระทู้บ้านเหรียญบิน - แพโบสถ์น้ำ ร่วมบุญ 1,000 บาท เป็นเจ้าภาพสร้างบันได ขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา
    ณ วัดลำจังหัน (วัดป่ารัตนเจดีย์) ต.สามแยก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
    เรียยบร้อยแล้ว โมทนา สาธุการ ร่วมกัน
     
  3. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    งั้นเดี๋ยวจะรีบโอนเงินไปในเร็ววันเลยนะครับ สาธุครับ
     
  4. ชมพูอุษมัน

    ชมพูอุษมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +7,347
    ร่วมทำบุญสร้างบันไดขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท ๕๐ บาทค่ะ โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยแล้วค่ะ
     
  5. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    หมายเลขบัญชีที่ท่านโอนมา เป็นอีกบัญชีหนึ่งแต่ไม่เป็นไรครับตรวจสอบให้แล้วทางพระอาจารย์รับทราบแล้ว ท่านจะโอนเข้ามาที่บัญชีนี้ให้

    ก็ขอบพระคุณมากๆนะครับ และขออนุโมทนาบุญในเจตนาที่เปี่ยมด้วยจิตศรัทธาบริสุทธิ์ของท่านเหตุใดอันเป็นกุศลดีและชอบแล้ว ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านได้เอ่ยนามไว้ดีแล้ว ได้โปรดรับทราบและได้เมตตาร่วมเป็นทิพย์พยานและขอให้กุศลบุญนี้ส่งผลให้ท่านอย่าได้ติดขัดอันใดและให้สำเร็จตามที่ปราถนาไว้ดีชอบแล้วทุกประการเทอญฯ สาธุ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2013
  6. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขอบพระคุณมากครับ และขออนุโมทนาบุญในกุศลเจตนาอันบริสุทธิ์ของท่านพร้อมทั้งญาติและหมู่คณะ เหตุใดอันเป็นกุศลดีและชอบแล้ว ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ได้โปรดรับทราบและได้เมตตาร่วมเป็นทิพย์พยานและขอให้กุศลบุญนี้ส่งผลให้ท่านและหมู่คณะอย่าได้ติดขัดอันใดและให้สำเร็จตามที่ปราถนาไว้ดีชอบแล้วทุกประการเทอญฯ สาธุ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2013
  7. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขอบพระคุณมากๆนะครับ ขออนุโมทนาบุญในกุศลเจตนาของท่านเหตุใดอันเป็นกุศลดีและชอบแล้ว ขออำนาจาคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดรับทราบและได้เมตตาร่วมเป็นทิพย์พยานและขอให้กุศลบุญนี้ส่งผลให้ท่านอย่าได้ติดขัดอันใดและให้สำเร็จตามที่ปราถนาไว้ดีชอบแล้วทุกประการเทอญฯ สาธุ ครับ
     
  8. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อัปเดทบัญชีสร้างบันได

    [​IMG]


    ผมจะพยายามนำบัญชีมาอัปเดทให้ท่านผุ้มีจิตศรัทธาได้ทราบกันหากท่านใดที่มีการโอนเงินบริจาคแล้วกรุณาแจ้งชื่อ - นามสกุลให้ทราบด้วยนะครับ ถ้าโอนแล้วไม่พบรายการเงินเข้ากรุณาทักท้วง เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบให้ครับ

     
  9. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]


    คุณกิรดา เตชโชติวงศ์และครอบครัว ร่วมบริจาคทำบุญเป็นเจ้าภาพสร้างบันได 1 ขั้น
    เป็นจำนวนเงิน 2000 บาท


    ขอขอบพระคุณในความมีน้ำจิตน้ำใจของท่าน และขออนุโมทนาบุญ

    เหตุใดอันเป็นกุศลดีและชอบแล้ว กราบขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดรับทราบและได้เมตตาร่วมเป็นทิพย์พยาน
    และขอให้กุศลบุญนี้ส่งผลให้ท่านและครอบครัวจงเป็นผู้พึงเจริญในพระศาสนา มีความสุขกาย เป็นผู้หาโรคมิได้ เป็นผู้หาภัยมิได้ อย่าได้ติดขัดอันใด
    มีความสำราญใจในการทุกเมื่อพร้อมทั้งหมู่ญาติทั้งปวง และเป็นเหตุปัจจัยให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์ที่สุดเทอญฯ สาธุครับ

     
  10. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    วันที่ 13 พ.ย.2556 เวลา 17.14 ร่วมโอนเงินไป 70 บาทนะครับ

    สาธุๆๆครับ
     
  11. Sir-Pai

    Sir-Pai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +3,358
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด
     
  12. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขออนุโมทนาบุญในเจตนาบริสุทธิ์ของท่านครับ
    เหตุใดอันเป็นกุศลดีและชอบแล้ว ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านได้เอ่ยนามไว้ดีแล้ว ได้โปรดรับทราบและได้เมตตาร่วมเป็นทิพย์พยานและขอให้กุศลบุญนี้เป็นเหตุที่ชอบด้วยดีแล้ว ส่งผลให้ท่านอย่าได้ติดขัดอันใดและให้สำเร็จตามที่ปราถนาไว้ดีชอบแล้วทุกประการนะครับ สาธุ
     
  13. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747

    " คิดดี ทำดี พูดดี เป็นศรีเป็นพร สูงสุด

    ไม่มีพรเทพ พรมนุษย์ เปรียบประดุจความดีที่ทำเอง"
    (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ)


    ข้อพิจารณาว่าด้วยคำอวยพร

    ความจริงในทางพระพุทธศาสนา ถือว่าการอวยพรมิได้เป็นสิ่งที่สำคัญเท่ากับการประพฤติปฏิบัติดี มงคลของพุทธศาสนาเป็นมงคลทำ คือต้องปฏิบัติความดีจึงจะเป็นมงคล
    ข้อนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนใน มงคลสูตร

    อย่างไรก็ดีการอวยพรถือว่าเป็นการแสดงน้ำใจอันดีต่อกัน ย่อมเป็นการพัฒนาจิตใจของตนให้มีความอ่อนโยน ปรารถนาดีแก่ผู้อื่น ลดละความเห็นแก่ตัว ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรอบรมเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น เช่นนี้ ไม่ถือว่าขัดต่อหลักพระพุทธศาสนา แต่ยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามสมควรชมเชย

    หากต้องการอวยพรโดยใช้ถ้อยคำที่สัมพันธ์กับคตินิยมของพุทธศาสนา คนไทยเราจะเริ่มจากการอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยขึ้นเป็นสรณะ ให้เป็นหลักของใจ ให้มีกำลังใจในการทำความดี อวยพระให้ประสพผลสำเร็จในสิ่งที่เป็นความปรารถนาที่เป็นบุญเป็นกุศล ชอบธรรม ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน

    อาจอวยพรให้สมบูรณ์ด้วยสมบัติสาม คือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ เป็นผู้อยู่ในศีลธรรม
    และเจริญธรรม น้อมนำตนไปสู่ความพ้นทุกข์ในท้ายที่สุด

    เช่นนี้เป็นต้น

    ที่สำคัญคือเราใช้วาจาสุภาษิต วาจาที่ไพเราะในการอวยพร และอวยพรด้วยใจที่ปรารถนาดี

    การอวยพรด้วยใจจริงเช่นนี้ย่อมเป็นการพัฒนาจิตใจของตนให้ลดความเห็นแก่ตัวและอบรมใจให้สุภาพอ่อนหวาน มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอย่างไม่ต้องสงสัยเลย

    ขออนุโมทนา
     
  14. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อนุโมทนานะครับ สาธุ
     
  15. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ปฏิจจสมุปบาทเป็นพุทธธรรมแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา



    ขออนุญาตนำพุทธธรรมมาเผยแพร่ในกระทู้นี้เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาครับ


    ปฏิจจสมุปบาทเป็นพุทธธรรมแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา


    เป็นหลักธรรมที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเกิดการดำเนินไปและการดับไปของชีวิต รวมถึงการเกิด การดับแห่งทุกข์ด้วย ในกระบวนการนี้สิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้น เป็นอยู่ และดับลงไปในลักษณะแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันในรูปของ วงจร กล่าวคือ เป็นกระบวนแห่งความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่ ในกระบวนแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้นไม่มีส่วนไหนเป็นปฐมกรหรือปฐมเหตุ เพราะกระบวนการของชีวิตเป็นวัฏฏะแห่งกิเลส กรรม วิบาก ซึ่งกลายเป็นวัฏสงสาร


    แต่อย่างไรก็ตาม ในการพยายามอธิบายกระบวนการแห่งชีวิต ตามหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ จำเป็นจะต้องหาจุดเริ่มต้นอธิบายให้เห็นว่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันอย่างไรก่อน ดังนั้นท่านจึงสมมติเริ่มจากอวิชชา โดยอธิบายอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสิ่งอื่น ๆ ตามมาเป็นวัฏจักรนำไปสู่ทุกข์ ในทำนองเดียวกัน ถ้าอวิชชาดับไปไม่เหลือ ก็จะเป็นเหตุนำไปสู่การดับทุกข์ได้ในที่สุด เพราะความเป็นไปของชีวิตมีสภาวะเป็นวงจรที่เรียกว่าสงสารวัฏ ดังนั้นเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของสังสารวัฏจึงไม่ปรากฏ


    ลักษณะอีกประการหนึ่งที่นับว่าเป็นหลักเกี่ยวกับความรู้ในพุทธปรัชญา ก็คือ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงแสวงหาความจริงทั้งหลาย ที่ไม่สามารถนำมาอธิบายได้ด้วยหลักปฏิจจสมุปบาท อันได้แก่ อัพยากตปัญหา คือปัญหาที่ไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยประสบการณ์ของมนุษย์ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วมีอยู่หรือไม่มีอยู่ ฯลฯ เป็นต้น เพราะความรู้เรื่องอภิปรัชญาเช่นนี้ไม่นำไปสู่ความสิ้นทุกข์และไม่มีผลในทางปฏิบัติสำหรับชีวิตจริง เป็นปัญหาที่อธิบายแล้วคนไม่อาจจะมองเห็นและเข้าใจได้


    ปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง สิ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะของสิ่งที่ไม่เป็นอิสระของตนต้องอาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้

    คำว่า ปฏิจจสมุปบาท นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ ได้แปลไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า สภาวธรรมที่เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน

    ชื่อต่าง ๆ ของปฏิจจสมุปบาท ยังมีคำอื่น ๆ เรียกแทนคำว่า
    "ปฏิจจสมุปบาท" (คำอันเป็นไวพจน์) ได้อีก คือ
    1. ธัมมฐิตตา หรือ ธัมมฐิติ
    2. ธัมมนิยามตา หรือ ธัมมนิยาม
    3. อิทัปปัจจยตา
    4. ตถตา
    5. อวิตถตา
    6. อนัญญถตา
    7. ปัจจยการ

    1. ธัมฐิตตา หรือ ธัมมฐิติ คือ ความดำรงอยู่ตามธรรม หมายถึง ความดำรงอยู่ตามปัจจัย สิ่งที่ดำรงอยู่ตามปัจจัยนั้น ก็คือ อวิชชา สังขาร ฯลฯ ชาติ ชรามรณะ ซึ่งก็หมายความว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้สังขารดำรงอยู่ สังขารเป็นปัจจัยให้วิญญาณดำรงอยู่ วิญญาณเป็นปัจจัยให้นามรูปดำรงอยู่ นามรูปเป็นปัจจัยให้สฬายตนะดำรงอยู่ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้ผัสสะดำรงอยู่ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เวทนาดำรงอยู่ เวทนาเป็นปัจจัยให้ตัณหาดำรงอยู่ ตัณหาเป็นปัจจัยให้อุปาทานดำรงอยู่ อุปาทานเป็นปัจจัยให้ภพดำรงอยู่ ภพเป็นปัจจัยให้ชาติดำรงอยู่ ชาติเป็นปัจจัยให้ชรามรณะดำรงอยู่ เมื่อชาติชรามรณะยังดำรงอยู่แน่นอนว่า โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความร้องไห้คร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็ยังดำรงอยู่ด้วย

    2. ธัมมนิยามตา หรือ ธัมมนิยาม คือ ความแน่นอนแห่งธรรม หรือความแน่นอนตามธรรม หมายถึง ความแน่นอนแห่งปัจจัยหรือความแน่นอนตามปัจจัย สิ่งที่แน่นอนตามปัจจัยนั้น ก็คือ อวิชชา สังขาร ฯลฯ ชาติ ชรามรณะ ซึ่งก็หมายความว่า อวิชชา เป็นปัจจัยให้สังขารเกิดแน่นอน สังขารเป็นปัจจัยให้วิญญาณเกิดแน่นอน วิญญาณเป็นปัจจัยให้นามรูปเกิดแน่นอน นามรูปเป็นปัจจัยให้สฬายตนะเกิดแน่นอน สฬายตนะเป็นปัจจัยให้ผัสสะเกิดแน่นอน ผัสสะเป็นปัจจัยให้เวทนาเกิดแน่นอน เวทนาเป็นปัจจัยให้ตัณหเกิดแน่นอน ตัณหาเป็นปัจจัยให้อุปาทานเกิดแน่นอน อุปาทานเป็นปัจจัยให้ภพเกิดแน่นอน ภพเป็นปัจจัยให้ชาติเกิดแน่นอน ชาติเป็นปัจจัยให้ชรามรณะเกิดแน่นอน เมื่อมีชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมเกิดด้วยอย่างแน่นอน

    3. อิทัปปัจจยตา คือ ความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย หมายถึง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มีตาม เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้นตาม สิ่งที่เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ก็มีตาม ก็คือ อวิชชา สังขาร ฯลฯ ชาติ ชรามรณะ ซึ่งก็หมายความว่าเมื่ออวิชชามี สังขารก็มีตาม เมื่อสังขารมี วิญญาณก็มีตาม เมื่อวิญญาณมี นามรูปก็มีตาม เมื่อนามรูปมี สฬายตนะก็มีตาม เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะก็มีตาม เมื่อผัสสะมี เวทนาก็มีตาม เมื่อเวทนามี ตัณหาก็มีตาม เมื่อตัณหามี อุปาทานก็มีตาม เมื่ออุปาทานมี ภพก็มีตาม เมื่อภพมี ชาติก็มีตาม เมื่อชาติมี ชรามรณะก็มีตาม เมื่อชรามรณะมี โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็มีตามด้วย

    4. ตถตา คือ ความเป็นเช่นนั้น หมายถึง ความเป็นจริงอย่างนั้น สิ่งที่เป็นจริงอย่างนั้น ก็คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะซึ่งเป็นความจริงที่คงอยู่ตลอดเวลา และเป็นความจริงที่ว่า เมื่อมีชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ก็เป็นของจริงที่เกิดตามมาจริง

    5. อวิตถตา คือ ความเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เป็นเช่นนั้น หมายถึง ความเป็นจริงอย่างนั้นไม่ผันแปรไปเป็นความไม่จริง สิ่งที่เป็นจริงโดยไม่ผันแปรนั้น ก็คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ และก็เป็นความจริงโดยไม่มีทางผันแปรไปได้อีกที่ว่า เมื่อมีชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นจริงที่เกิดตามมาโดยไม่ผันแปร

    6. อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นอย่างอื่น หมายถึง เป็นอย่างอื่นจากที่เป็นมานี้ไม่ได้ สิ่งที่เป็นอย่างอื่นจากที่เป็นมานี้ไม่ได้ ก็คือ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ และก็เป็นอย่างอื่นจากที่เป็นมานี้ไม่ได้ ก็คือ เมื่อมีชาติ ชรามรณะแล้วโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นจริงที่เกิดตามมาโดยไม่ผันแปรเป็นอื่นจากนี้ไปได้

    7. ปัจจยาการ คือ อาการตามปัจจัย หมายถึง อาการที่เกิดขึ้นตามปัจจัย ซึ่งก็หมายความว่า อวิชชา สังขาร ฯลฯ ชาติ ชรามรณะ ต่างเกิดขึ้นตามปัจจัยปรุงแต่ง และเมื่อมีชาติ ชรามรณะแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เกิดตามปัจจัยด้วย

    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือ ชื่อเรียกปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเท่ากับให้ความหมายขยายความของปฏิจจสมุปบาท ชื่อทั้งหมดนี้มีปรากฏอยู่ทั้งในพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก.


    ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท

    ปฏิจจสมุปบาทเป็นพุทธธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งยวด และเป็นเรื่องที่มีความลึกซึ้งที่สุด จนได้ชื่อว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา หรือตัวแท้ของศาสนา ( แก่นแท้ของพุทธศาสนา ) ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทอาจเห็นได้จากพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า

    "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท"

    "ภิกษุทั้งหลาย แท้จริงแล้ว อริยสาวกผู้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อใดอริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิด ความดับของโลกตามที่มันเป็นเช่นว่านี้ อริยสาวกนั้น เรียกว่าเป็นผู้มีทิฐิสมบูรณ์ (ความเห็นที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์) ก็ได้ ผู้มีทัศนะสมบูรณ์ก็ได้ ผู้บรรลุถึงสัจธรรมนี้ก็ได้ ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชาก็ได้ ผู้บรรลุกระแสธรรมแล้วก็ได้ พระอริยบุคคลผู้มีปัญญาชำระกิเลสก็ได้ ผู้อยู่ชิดติดประตูอมตะก็ได้"


    "สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมเหล่านี้ รู้เหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ความดับของธรรมเหล่านี้ รู้ทางดำเนินเพื่อดับแห่งธรรมเหล่านี้ ฯลฯ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และได้ชื่อว่าได้บรรลุ-ประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน"

    ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนั้นมีมาก หากเราเข้าใจอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสมก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดตามจุดหมายของพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นแก่นแท้หรือสาระสำคัญสูงสุดของพุทธศาสนา ในกาลครั้งหนึ่ง พระอานนท์กราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า เรื่อปฏิจจสมุปบาทดูเป็นเรื่องง่ายและตื้นสำหรับตัวท่านเอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนพระอานนท์ว่า

    "ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึก ลักษณะโครงสร้างก็ลึกซึ้ง หมู่สัตว์นี้ไม่รู้ ไม่รู้ตามที่เราสอน ไม่แทงตลอดหลักปฏิจจสมุปบาท จิตจึงยุ่งเหมือนกลุ่มด้ายที่ยุ่ง เหมือนกลุ่มเศษด้ายที่เป็นปม ติดพันซ่อนเงื่อนกันยุ่ง เหมือนเชิงผ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะ ไม่ล่วงพ้นจากสังสาระคืออบาย ทุคติ วินิบาตไปได้"

    ปฏิจจสมุปบาทเป็นแก่นแท้หรือหัวใจของพุทธศาสนา เป็นหลักแสดงถึงกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สืบต่อเชื่อมโยงกันทั้งในกระบวนการเกิดและดับ หากจะประมวลเอาสาระสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนั้น ไม่อาจกล่าวให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด แต่อาจสรุปความสำคัญบางประการได้ ดังนี้

    1.เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมชาติของสรรพสิ่ง ซึ่งมีการไหลไปไม่หยุดนิ่ง มีเกิดในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด
    2.เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมดาของสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    3. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎแห่งสงสารวัฏ คือวงจรแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยกิเลส กรรม วิบาก
    4. เป็นหลักธรรมข้อใหญ่ที่ประมวลเอาความหมายแห่งธรรมทั้งหลายมาไว้
    5. เป็นธรรมที่ว่าด้วยเรื่องชีวิตของมนุษย์ในขณะนี้และเดี๋ยวนี้


    คำจำกัดความองค์ประกอบแห่งปฏิจจสมุปบาท 12 ข้อ

    การศึกษาหลักปฏิจจสมุปบาทให้เกิดความเข้าใจได้ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องศึกษาคำจำกัดความและความหมายขององค์ประกอบแต่ละหัวข้อให้รู้ชัดเจนเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่เข้าใจผิดในเรื่องกระบวนการที่เกิดขึ้นและดับไปของสรรพสิ่ง จนทำให้หลักพุทธธรรมถูกทำลายและไร้ค่า องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท 12 หัวข้อ มีโดยย่อดังต่อไปนี้

    1. อวิชชา (Ignorance, Lack of Knowledge)
    คือ ความไม่รู้ ไม่เห็น ตามความเป็นจริง ความไม่รู้เท่าทันตามสภาวะ ความหลงไปตามสมมติบัญญัติ ความไม่เข้าใจในเรื่องโลกและชีวิตตามที่เป็นจริง ความไม่รู้ที่แฝงอยู่กับความเชื่อถือต่าง ๆ ภาวะของการขาดปัญญา ความไม่หยั่งรู้เหตุปัจจัยตัวอย่างเช่น ความไม่รู้แจ้งในเรื่องชีวิต คือไม่รู้ว่า อะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์ และอะไรคือทางที่จะดำเนินไปสู่การดับทุกข์ เป็นต้น

    2. สังขาร (Volitional Activities)
    คือ ความคิดปรุงแต่ง ความจงใจ ความมุ่งหมาย การตัดสินใจ การที่จะแสดงเจตนาออกมาเป็นการทำ กระบวนการความคิดที่เป็นไปตามความโน้มเอียง ความเคยชิน และคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต ซึ่งได้สั่งสมไว้ ตัวอย่างเช่น ความคิดปรุงแต่งให้วิญญาณดีหรือชั่ว ให้เป็นกลาง ๆ ปรุงแต่งให้คิดไปทางดี เรียกว่า "กุศลสังขาร" ปรุงแต่งให้คิดไปในทางชั่ว เรียกว่า "อกุศลสังขาร" ปรุงแต่งให้คิดกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่า "อัพยากฤต" กล่าวให้สั้น ก็คือ สังขาร ได้แก่ กิเลสและคุณธรรม ทั้งสองอย่างนี้จะผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปรุงแต่งจิตใจของคนไปทางใดทางหนึ่งใน 3 ทางดังกล่าว คนเราจะคิดไปทางไหน อย่างไรนั้นก็อยู่ที่ตัวสังขารนี้เอง

    คำว่า "สังขาร" ในหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ มีความหมายตรงกับคำว่า "สังขาร" ในเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ จัดอยู่ในฝ่ายนามธรรมเท่านั้น ส่วนคำว่า "สังขาร" ที่ปรากฏในคำสอนบางแห่ง เช่น สังขารในประโยคว่า "อนิจฺจา วต สงฺขารา" แปลว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ ในประโยคนี้ มีความหมายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ จึงมีความหมายแตกต่างจาก "สังขาร" ในปฏิจจสมุปบาท และเบญจขันธ์

    3. วิญญาณ (Consciousness)
    คือ ความรู้แจ้งอารมณ์ การรับรู้ต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง 6 (อายตนะ 6) ในวิภังคปกรณ์ แสดงวิญญาณ 6 ไว้ดังนี้คือ

    3.1 จักขุวิญญาณ คือการรับรู้ทางตา
    3.2 โสตวิญญาณ คือการรับรู้ทางหู
    3.3 ฆานวิญญาณ คือการรับรู้ทางจมูก
    3.4 ชิวหาวิญญาณ คือการรับรู้ทางลิ้น
    3.5 กายวิญญาณ คือการรับรู้ทางกาย (สัมผัส)
    3.6 มโนวิญญาณ คือการรับรู้ทางใจ (ธัมมารมณ์)

    วิญญาณทั้ง 6 นี้ บางที่เรียกว่า "วิถีวิญญาณ" เพราะมันทำหน้าที่โดยที่เราไม่รู้สึกตัว เช่น เวลานอนหลับ เป็นต้น

    คำว่า "วิญญาณ" ในหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ หมายถึง การรู้แจ้งอารมณ์หรือรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางสัมผัสทั้ง 5 และทางใจ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในสี่ของจิต ( องค์ประกอบ 4 ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) คำว่า "วิญญาณ" ในปฏิจจสมุปบาทกับเบญจขันธ์ มีความหมายตรงกัน ความหมายตามนัยนี้ วิญญาณจึงมิได้เป็น "ตัวแทน" หรือ "ตัวการกระทำ" ซึ่งไม่มีสิ่งใดแสดงให้เห็นเป็น "อัตตา" ที่ถาวรออกจากร่างกายล่องลอยไปเกิดใหม่ ดังที่ลัทธิหรือศาสนาอื่นสอน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทชัดเจนยิ่งขึ้น จึงควรพิจารณาจากพุทธพจน์ต่อไปนี้

    "ดูก่อนผู้มีอายุ จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะการประชุมกันของธรรม 3 อย่าง (คือ ตา + รูป + วิญญาณ) จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำจากเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึงถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็จินตนาการสร้างมโนภาพจากเวทนาอันนั้น บุคคลจินตนาการสร้างมโนภาพจากเวทนาอันใด ความคิดเกี่ยวกับมโนภาพอันนั้นก็จะครอบงำบุคคลนั้น ในเรื่องของรูปทั้งหลาย ที่จะพึงรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.........."

    ข้อความตามพุทธพจน์ชี้ให้เห็นว่า วิญญาณเป็นเพียงองค์ประกอบอันหนึ่งในองค์ประกอบทั้ง 4 อย่าง การเกิดของวิญญาณนั้นก็เกิดได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือ มโน นั่นคือ ตา + รูป ก็เกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น เมื่อตาเป็นรูปก็เกิดผัสสะ (กระทบ เชื่อมโยงกัน) จึงเกิดเวทนาขึ้น นี่เป็นการแสดงกระบวนการของจิตจากองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งดำเนินไปแบบเชื่อมโยงติดต่อเรื่อยไปโดยอาศัยเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

    4. นามรูป (Animated Organism)
    คือความมีอยู่ของรูปธรรมและนามธรรม (รูปและนาม) ในความรู้ของบุคคล ภาวะที่ร่างกายและจิตใจทุกส่วนอยู่ในสภาพที่สอดคล้องและปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนองตอบในแนวทางของวิญญาณที่เกิดขึ้น ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจิตใจที่เจริญหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของจิต

    คำว่า "นาม" ในพระบาลี พระพุทธเจ้าตรัสหมายเอา เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ ในอภิธรรม ท่านหมายเอา เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์


    คำว่า "รูป" ท่านหมายเอา มหาภูตรูป 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอุปาทายรูป 24 (คือรูปอาศัยมหาภูตรูป) ตามทัศนะของพุทธศาสนา รูปคือสิ่งที่ต้องสูญสลายหรือแปรสภาพไปตามเหตุปัจจัย มีเย็นร้อน เป็นต้น รูปที่สอนกันมาก็คือ รูปร่างที่เป็นเนื้อหนังมังสา หรือเลือดลมในกายกายนี้ เรียกมหาภูตรูป และภาวะต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับมหาภูตรูป หรือเกิดขึ้นจากมหาภูตรูป เช่น ภาวะชาย ภาวะหญิง หรือภาวะสวย ภาวะไม่สวย เป็นต้น ภาวะต่าง ๆ นี้เรียกอุปาทายรูป

    เมื่อนำเอานามกับรูปมารวมกัน ก็เป็น "นามรูป" ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะต้องคู่กันและอิงอาศัยกันขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็เท่ากับการดับสลายตามหลักสากลของปฏิจจสมุปบาทที่กล่าวว่า "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด" และ "เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ (ด้วย)"

    5. สฬายตนะ (The six sense - bases)
    คือที่ต่อหรือที่เชื่อมโยง 6 อย่าง หมายถึงภาวะที่อายตนะที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่โดยสอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ อายตนะมี 6 เรียกว่า "อายตนะภายใน 6" ได้แก่ จักขุ (ตา) โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กาย (ร่างกาย) มโน (ใจ) อายตนะภายใน 6 นี้จับคู่กับอายตนะภายนอก 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ทางกาย) และธัมมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดที่ใจ)

    6. ผัสสะ (Contact)
    คือ การเชื่อมต่อความรู้กับโลกภายนอก การรับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์ต่าง ๆ อีกนัยหนึ่ง ผัสสะ คือการกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน 6 กับอายตนะภายนอก 6 ซึ่งจับคู่กัน คือ ตา - รูป หู - เสียง จมูก - กลิ่น ลิ้น - รส กาย - โผฏฐัพพะ ใจ - ธัมมารมณ์

    ในพระบาลี พระพุทธพจน์แสดงไว้ว่า "ฉยิเม ภิกฺขเว ผสฺสกายา จกฺขุสมฺผสฺโส โสตสมฺผสฺโส ฆานสมฺผสฺโส ชิวฺหาสมฺผสฺโส กายสมฺผสฺโส มโนสมฺผสฺโส" แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ 6 ประการเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี่คือผัสสะ 6 ตามชื่อแห่งทวาร การกระทบกันระหว่างอายนตะภายใน 6 กับอายตนะภายนอก 6 นั้น สิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือวิญญาณ เช่น ตา กระทบ รูป ก็รู้ว่าเป็นรูป เป็นต้น

    7. เวทนา (Feeling)
    คือความรู้สึก หรือการเสวยอารมณ์ เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส โสตสัมผัสฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เรียกว่า "เวทนา 6" เวทนาหากแบ่งตามลักษณะจะแบบ่งได้ 3 คือ สุข ทุกข์ และอทุกขมสุข หรือแบ่งเป็น 5 คือ สุข (ทางกาย) ทุกข์ (ทางกาย) โสมนัส (ทางใจ) โทมนัส (ทางกาย) และอุเบกขา

    หากจะแบ่งความรู้สึกออกเป็นชนิดก็แบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ความรู้สึกที่กาย และความรู้สึกที่ใจ ความรู้สึกที่กาย แบ่งตามลักษณะได้ 2 คือ
    สุขกาย และทุกข์กาย

    ส่วนความรู้สึกที่ใจแบ่งตามลักษณะได้ 2 คือ
    ความรู้สึกในทางดี (กุศลเวทนา)
    และความรู้สึกในทางชั่ว (อกุศลเวทนา)
    และลักษณะทั้ง 2 นี้ยังแยกย่อยออกไปอีก

    8. ตัณหา (Craving)
    คือความอยาก ความต้องการ ความยินดี ความพอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ตามพระบาลี ท่านแสดงตัณหาไว้ คือ รูปตัณหา (ตัณหาในรูป) สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง) คันธตัณหา (ตัณหาในกลิ่น) รสตัณหา (ตัณหาในรส) โผฏฐัพพตัณหา (ตัณหาในสัมผัสทางกาย และธัมมตัณหา (ตัณหาในธรรมารมณ์) เรียกว่า "ตัณหา 6"

    ตัณหานี้ ถ้าแบ่งตามอาการแบ่งได้ 3 คือ

    8.1 กามตัณหา คือความทะยานอยากในสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5

    8.2 ภวตัณหา คือความอยากให้คงอยู่ชั่วนิรันดร หรือความอยากมี อยากเป็น

    8.3 วิภวตัณหา คือความอยากให้ดับสูญ หรือความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

    อีกนัยหนึ่ง ท่านอธิบายตัณหา 3 ไว้อีกแบบหนึ่ง คือ
    (1) กามตัณหา คือ ความอยากด้วยความยินดีในกาม
    (2) ภวตัณหา คือความอยากอย่างมีสัสสตทิฏฐิ
    (3) วิภวตัณหา คือความอยากอย่างมีอุจเฉททิฏฐิ

    9. อุปาทาน (Attachment, Clinging)
    คืออาการที่จิตเข้าไปยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ ความยึดติดหรือเกาะติดในเวทนาที่ชอบและเกลียดชัง รั้งเอาสิ่งต่าง ๆ และภาวะที่ชีวิต อำนวยเวทนานั้นเข้ามาผูกพันกับตัว การตีค่ายึดถือความสำคัญของภาวะและสิ่งต่างๆ ในแนวทางที่เสริมหรือสนองตอบตัณหาของตน

    ในพระบาลี มีพุทธพจน์แสดงอุปาทานไว้ว่า "จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อุปาทานานิ กามุปา-ทานํ ทิฏฺฐุปาทานํ สีลพฺพตุปาทานํ อตฺตวาทุปาทานนฺติ" แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน 4 เหล่านี้คือ กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ) ทิฏฐุปาทาน (คามยึดมั่นในทิฐิ ได้แก่ ความเห็นหรือทัศนะ ลัทธิ ทฤษฏีต่าง ๆ) สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรตว่าทำให้คนบริสุทธิ์) อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตา การสร้างตัวขึ้นมายึดถือด้วยความหลงผิด)

    10. ภพ (Process of becoming)
    คือ ความมี ความเป็น (รูปศัพท์เดิม คือ ภวะ เมื่อมาเป็นภาษาไทย แปลง วะ เป็น พะ จึงสำเร็จรูปเป็นภพ) ภพแบ่งได้ 3 คือ

    10.1 กามภพ สัตว์ที่ยินดียึดถืออยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (ทางกาย) ก็มีกามภพอยู่ในใจ

    10.2 รูปภพ เมื่อสัตว์ยึดถือรูปเป็นนิมิต ก็เป็นรูปภพอยู่ในจิตใจ

    10.3 อรูปภพ เมื่อสัตว์ยึดถืออรูป (อรูปฌาน) ก็เป็นอรูปภพอยู่ในจิตใจ

    อีกนัยหนึ่ง ภพ แบ่งออกได้ 2 คือ

    10.1 กรรมภพ คือ กระบวนการพฤติกรรมทั้งหมดที่แสดงออกเพื่อสนองตัณหาอุปาทาน

    10.2 อุปัตติภพ คือภาวะแห่งชีวิตสำหรับตัวตนหรือตัวตนที่จะมี จะเป็นไป

    ในรูปใดรูปหนึ่ง โดยสอดคล้องกับอุปาทานและกระบวนการพฤติกรรมนั้น

    11. ชาติ (Birth)
    คือการเกิด การปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะเฉพาะการก้าวลงหรือการเป็นไปพร้อมขึ้นมาในหมู่สัตว์นิกาย อีกนัยหนึ่ง ชาติ หมายถึง ความตระหนักในตัวตนว่า อยู่หรือไม่ได้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น ๆ มีหรือไม่ได้มี เป็นหรือไม่ได้เป็นอย่างนั้น ๆ ชาติ ที่หมายถึง การเกิด มีความหมายกว้าง มิได้หมายเอาเฉพาะการปรากฏของสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น เป็นคน เป็นสัตว์ ผู้ชาย ผู้หญิง เป็นต้น แต่หมายรวมไปถึงการเกิดหรือการปรากฏของสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ชื่อเสียงเกียรติยศ สรรเสริญ นินทา เป็นต้นด้วย

    12. ชรา มรณะ (Decay and Death)
    คำว่า "ชรา" คือความเสื่อมอายุ ความหง่อมอินทรีย์ และคำว่า "มรณะ" คือ ความสลายแห่งขันธ์ ความขาดชีวิตินทรีย์ เมื่อนำคำทั้งสองมาต่อกันเป็น "ชรามรณะ" คือความเสื่อมกับความสลายแห่งธรรมต่าง ๆ เหล่านั้น ๆ

    อีกนัยหนึ่ง ชรามรณะ มีความหมายว่า ความสำนึกในความขาด พลาด หรือพรากแห่งตัวตนจากภาวะชีวิตอันนั้น ความรู้สึกว่าตัวตนถูกคุกคามด้วยความสูญสิ้น สลายหรือพลัดพรากกับภาวะชีวิตนั้น ๆ หรือการได้มีได้เป็นอย่างนั้น ๆ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาผสมก็คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส พ่วงเข้ามาด้วยความรู้สึกคับแค้น ขัดข้อง ขุ่นมัว แห้งผากในใจ หดหู่ ซึมเซา กระวนกระวาย ไม่สมหวัง และทุกขเวทนาต่าง ๆ สำหรับชรามรณะนี้ก็มิได้หมายเอาเพียงความเสื่อมกับความสลายของสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่รวมไปถึงสิ่งทั้งปวงที่เป็นนามธรรมด้วย.


    ________________________________________
    โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ

    [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่
    ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข
    ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็น
    อนุโลมและปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:


    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    (การเกิดขึ้นของทุกข์)
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    (การดับไปแห่งทุกข์)

    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
    พุทธอุทานคาถาที่ ๑
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ

    [๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท
    เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:

    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
    พุทธอุทานคาถาที่ ๒
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.


    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท
    เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:


    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    (ข้อความเหมือนดังเดิม)
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    (ข้อความเหมือนดังเดิม)
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
    พุทธอุทานคาถาที่ ๓
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
    จบ. โพธิกถา



    มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘
    (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒)

    ..............อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพจน์นี้ไว้ว่า
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.
    ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม แลความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย. การกำจัดความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ การละความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธ แลดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แลคำสอนของพระผู้มีพระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิต ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.


    [​IMG]


    ขยายความวงจร

    ชีวิตหรือกระบวนจิตควรดําเนินไปตามขันธ์๕ อันเป็นสภาวะธรรม(หรือธรรมชาติแท้ๆ)อันไม่ก่ออุปาทานทุกข์หรือทุกข์ทางใจใดๆ ขันธ์๕เป็นเพียงกระบวนการของกายและจิตในการดําเนินชีวิตอันเป็นปกติธรรมชาติของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกหมู่เหล่า ดังขบวนการนี้

    อายตนะภายนอก สฬายตนะ(อายตนะภายใน) > วิญญาณ > ผัสสะ > เวทนา > สัญญา > สังขารขันธ์

    ขบวนการของขันธ์๕ ตามปกติ......แบบย่อ.
    หรือ แบบขยายความโดยละเอียดขึ้นมาอีกขั้น เพื่อประโยชน์ในภายหน้าเพื่อประกอบการพิจารณาให้เข้าใจในเวทนา

    อายตนะภายนอก สฬายตนะ(อายตนะภายใน) > วิญญาณ > ผัสสะ > สัญญา(จํา) >เ วทนา > สัญญา(หมายรู้) > สังขารขันธ์

    คือแยกสัญญาออกเป็นสัญญาจําและหมายรู้เพื่อประโยขน์ในการแสดงให้เห็นสภาวธรรมของการเกิดเวทนาชนิดต่างๆ อันมีทุกขเวทนา, สุขเวทนา, ไม่ทุกข์ไม่สุขหรือเฉยๆ ได้ชัดเจนขึ้น อันล้วนเกิดขึ้นได้เพราะสัญญา(จํา)
    ขันธ์๕นี้ก็คือขบวนการทํางานของจิตในการรับรู้, คิดค้น แล้วสั่งการให้ทั้งจิตและกายทํางานนั่นเอง, ขันธ์๕แบบนี้เป็นขันธ์๕ ตามปกติธรรมชาติและไม่เป็นทุกข์ เป็นขันธ์ธรรมดาๆที่ต้องเกิดขึ้นทุกขณะจิตตราบเท่ายังดำรงขันธ์คือชีวิตอยู่, แต่เกิดเป็นทุกข์ เพราะมีตัณหาและอุปาทานมาร่วมกับขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นด้วย อันเป็นไปตามกระบวนการปฏิจจสมุปบาทในชรานั่นเอง ดังกระบวนธรรมที่แสดงนี้

    อายตนะภายนอก สฬายตนะ > วิญญาณ > เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติเกิดอันคืออุปาทานสัญญา > อุปาทานสังขารขันธ์(x)เป็นทุกข์


    ภาพ กระบวนธรรมที่ (1)
    อันยังผลให้ขันธ์ ๕ ในการดํารงชีวิตหรือความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นใหม่สืบเนื่องต่อไป ถูกครอบงําหรือถูกลากพาไปเป็นอุปาทานขันธ์๕(คือขันธ์ทุกๆขันธ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนธรรมล้วนถูกครอบงําทั้งกระบวนธรรม) กล่าวคืออุปาทานสังขารขันธ์[x]ที่เกิดขึ้นในภาพกระบวนธรรมที่[1]จะแปรปรวนหรือปรุงแต่งที่เนื่องสัมพันธ์กับอุปาทานสังขารขันธ์[x]ที่เกิดขึ้น คือ ไปทําหน้าที่เป็นรูปชนิดที่เป็นอุปาทานรูป[Y]ในกระบวนธรรมด้านล่างที่เกิดสืบเนื่องต่อไป ดังกระบวนธรรมที่[2] ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไปดังนี้
    ภาพ กระบวนธรรมที่ (2)

    อุปาทานรูป(Y) สฬายตนะ(ใจ) > อุปาทานวิญญาณ > อุปาทานเวทนา > อุปาทานสัญญา > อุปาทานสังขาร

    อันล้วนเป็นขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทานอันเป็นทุกข์
    หรือเขียนตามบาลีดังนี้

    รูปูปาทานขันธ์ สฬายตนะ > วิญญาณูปาทานขันธ์ > เวทนูปาทานขันธ์ > สัญญูปาทานขันธ์ > สังขารูปาทานขันธ์

    ขันธ์ ๕ ช่วงแรกก่อนเกิดทุกข์เป็นขันธ์ตามปกติธรรมชาติอันมีธรรมารมณ์ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส มากระทบเป็นสภาวะธรรมชาติ แต่ถ้าไม่มีสติก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันทําให้ขันธ์ส่วนที่เหลืออยู่ยังไม่เกิด,เกิดการแปรปรวนถูกครอบงําไปเกิดในชาติ....ชรา-มรณะของวงจรปฏิจจสมุปบาท อันล้วนกลับกลายเป็นอุปาทานขันธ์อันถูกครอบงําหรือมีอิทธิพลของอุปาทานครอบงําแล้ว ดังภาพในกระบวนธรรมที่ [1] และจักเกิดอุปาทานขันธ์๕ทั้งขบวนแบบกระบวนธรรมที่ [2] อีกกี่ครั้งกี่หนก็ได้ จนกว่าจะมีสติ หรือหยุดไปเพราะสาเหตุอื่นมาเบี่ยงเบนหรือบดบัง จนดับไปในที่สุด แต่ย่อมต้องเก็บนอนเนื่องเป็นอาสวะกิเลสหมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิต รอวันกำเริบเสิบสานในภายหน้า
    ซึ่งต่อมาเมื่อระลึกขึ้นมาใหม่อันคือสังขารในปฏิจจสมุปบาท อันย่อมเป็นสังขารที่ประกอบด้วยกิเลสจากอาสวะกิเลส ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดปัจจัยสืบเนื่องตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดตัณหา หรืออันคือมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเข้าไปอีกครั้ง ก็จักไปเข้าวงจรของทุกข์ใหม่อีก เกิดความทุกข์นั้นๆขึ้นอีก เป็นวงจรอุบาทไม่รู้จักจบสิ้นเช่นนี้ไปตลอดกาลนาน........


    อ้างอิงจาก:https://sites.google.com/site/chamcharat2/patitjasamupabath
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2013
  16. โยมฝน

    โยมฝน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,238
    ค่าพลัง:
    +7,780


    ยามที่พระผู้มีพระภาค ทรงหลีกเร้นอยู่เพียงผู้เดียว
    ท่านจะสาธยาย" กฏอิทัปปัจจยตา " (หัวใจปฏิจจสมุปบาท)
    และปฏิจจสมุปบาท แห่ง ความสิ้นสุดของโลก

    เมื่อมีภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปได้ยินได้ฟังเข้า
    พระผู้มีพระภาค ให้ภิกษุรูปนั้น รับและจดจำธรรมไว้ (เพื่อนำไปใคร่ครวญพิจารณาต่อไป)


    กฏอิทัปปัจจยตา

    [​IMG]


    [​IMG]



    ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ความสิ้นสุดของโลก

    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG] อนุโมทนาค่ะคุณ tanakorn
    ทุกครั้งที่ไปทำบุญในสถานที่ต่างๆ หลังเสร็จธุระ
    คุณกรณ์จะหาที่สงบๆทำสมาธิ และแผ่เมตตาครึ่งชั่วโมงบ้าง หนึ่งชั่วโมงบ้าง แล้วแต่โอกาสจะอำนวย
    ขออนุณาตินำมาบอกแก่ผู้ร่วมบุญทุกท่าน เพื่อการได้กล่าวโมทนา
    และพึงได้อานิสงส์แห่งการทำบุญร่วมกับคุณ tanakorn
    ทั้งในชั้นทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนานี้ด้วยค่ะ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อ้างอิงข้อความจาก mail
    ขอแจ้งให้ทราบว่าเมื่อวานนี้ ( พฤหัสที่ 14 พ.ย )
    ดิฉัน ทิพา เยบเศณอิ์ ได้ทำการโอนเงินทำบุญ 2,000 บาท
    เพื่อเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดทั้งขั้น เพื่อขึ้นนมัสการ….
    รอยพระพุทธบาท ณ.วัดลำจังหัน จ.เพชรบูรณ์
    จากกรุงเทพเข้าบัญชี...

    ชื่อบัญชี : พระพิเชศ อนุตตโร
    ธนาคาร กรุงไทย
    สาขา อำเภอวิเชียรบุรี
    จังหวัดเพชรบูรณ์
    หมายเลขบัญชี : 629-1-56919-1


    ขออนุโมทนาบุญกับพระสงฆ์ทุกท่านของวัดลำจังหัน
    รวมถึงทุกท่านที่ช่วยในการสร้างบันใดขึ้นนมัสการ….
    รอยพระพุทธบาท ณ.วัดลำจังหัน จ.เพชรบูรณ์

    ขอขอบพระคุณและน้อมอนุโมทนาบุญกับท่านด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2013
  18. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อัปเดทบัญชี 16-11-56
    [​IMG]
    [​IMG]


    ขออนุญาตลงชื่อรายนามผู้บริจาคตั้งแต่วันที่ 10-11-56 - 16-11-56 ให้ทราบนะครับ

    sindhus 50 บาท
    Virawat และครอบครัว 4,011 บาท 12/11/56
    คณะกระทู้บ้านเหรียญบิน - แพโบสถ์น้ำ ร่วมบุญ 1,000 บาท 12/11/56
    ชมพูอุษมัน ๕๐ บาท
    คุณกิรดา เตชโชติวงศ์และครอบครัว 2000 บาท 13/11/56
    Sir-Pai70 บาท
    คุณทิพา เยบเศณอิ์ 2000 บาท 14/11/56
    สำหรับท่านใดที่โอนทำบุญแล้วยังไม่แจ้งรายชื่อ กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ
    หากตกหล่นกรุณาทักท้วงด้วยนะครับจะได้ตรวจสอบให้

     
  19. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    การสร้างบันไดนี้ยังต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากจึงจะแล้วเสร็จ บันไดนี้จะสำเร็จได้ยังต้องอาศัยความดีของผู้จิตศรัทธามาเชื่อมต่อๆกันไปจนกว่าจะจึงจุดหมาย จึงขอเรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธามาร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดนี้ให้สำเร็จร่วมกันนะครับ เพื่อเป็นปูชนียสถานหรือถาวรวัตถุที่ส่งคุณค่าแห่งหนึ่งต่อพระพุทธศาสนาสืบต่อไปให้คนรุ่นหลังๆในมีโอกาสได้สร้างบุญกุศลความดียังจะเป็นการช่วยสืบทอดทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน

    ฟรี ขอมอบพระผงจักรพรรดิ์ที่ขึ้นพระธรรมธาตุแล้วให้กับท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนสร้างบันไดในครั้งนี้ท่านละ 1องค์ เพื่อเป็นการตอบแทนในน้ำจิตน้ำใจของท่านที่เมตตาหยิบยื่นมาให้ ถึงแม้ว่าพระผงจักรพรรดิ์หมดกระผมจะพยายามจัดหาสิ่งที่มีคุณค่าในทางธรรมให้ทุกๆท่านที่มีความประสงค์จะรับไว้เป็นที่ระลึก ทั้งนี้กรุณาแจ้งที่อยู่ในการจัดส่งไว้ในกระทู้หรือทางเมล์ให้ด้วยนะครับ จัดส่งให้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

    ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2013
  20. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    (ขอนุญาตเผยแพร่ธรรมเพื่อเป็นธรรมทาน)

    ตถาคตภาสิต

    [​IMG]

    [​IMG]



    "พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวว่า "อวิชชา อวิชชา" ดังนี้ .ก็อวิชชานั้น
    เป็นอย่างไร? และด้วยเหตุเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา?


    แน่ะภิกษุ ท! ความไม่รู่อันใด เป็นความไม่รู้ ในทุกข์, เป็นความไม่รู้
    ในเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือของทุกข์, และเป็นความไม่รู้ ในทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์: นี้ เราเรียกว่า อวิชชา;

    และบุคคลชื่อว่าถึงแล้วซึ่งอวิชชา ก็เพราะเหตุไม่รู้ ความจริงมีประมาณเท่านี้ แล.

    (. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๘/๑๖๙๔.)

    วิชชา
    "พระองค์ผู้ เจริญ ! พระองค์กล่าวว่า 'วิชชา วิชชา' ดังนี้ . ก็วิชชานั้น
    เป็นอย่างไร? และด้วยเหตุเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา?"


    แนะภิกษุ! ความรู้ อันใด เป็นความรู้ ในทุกข์, เป็นความรู้ ในเหตุ
    ให้เกิดทุกข์, เป็นความรู้ ในความดับไม่เหลือของทุกข์, และเป็นความรู้ ในทาง
    ดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ : นี้ เราเรียกว่า วิชชา; และบุคคลชื่อว่า
    ถึงแล้วซึ่งวิชชา ก็เพราะเหตุรู้ความจริงมีประมาณเท่านี้ แล.

    ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทําความ
    เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า"นี้ เป็นทุกข์. นี้ เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ เป็นความ
    ดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ เป็นทางดําเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์," ดังนี้ เถิด .

    (. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๙/๑๖๙๕.)


    อวิชชา คือ ไม่มีความรู้ ความไม่เข้าใจ และไม่รู้เท่าทันในเหตุปัจจัยอันเป็นสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ และการดับทุกข์หรือพ้นทุกข์ตามความเป็นจริง อันคือความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอด ไม่รู้เท่าทัน(สติ) ในการดับทุกข์ เพราะอวิชชา๘ อันมีดังนี้

    ๑.ไม่รู้จักทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ดับสนิทอันหมายถึง อุปาทานทุกข์ อันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลน หรือก็คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง๕ อันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่อาศัยกันและกันจึงยังให้เกิดขึ้นได้ จึงทําให้การปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเป็นจริง เช่น พยายามในสิ่งที่ยึดแต่เข้าใจผิดๆ อันทําให้ไม่สามารถปฏิบัติได้ เช่น เข้าใจผิดว่าทำบุญทำกุศลหรือปฏิบัติธรรมแล้วจักไม่มีทุกข์ ไม่มีโศก ไม่มีโรค ไม่มีภัยใดๆ มีแต่โชค ลาภ วาสนา มีเทวดา บุญกุศลคอยคํ้าจุนเกื้อหนุน, แต่ตามความเป็นจริงแล้วกลับเป็น เหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่เพราะเป็นสภาวะธรรม แต่ไม่มีผู้รับ(หมายถึงจิต)ผลทุกข์นั้น หรือที่เรียกว่าสภาพ "เหนือกรรม" จึงจักเป็นการเข้าใจที่ถูกต้องดีงาม

    หรือความไม่เข้าใจว่าทุกข์นั้น มีทั้งที่เป็นทุกข์ธรรมชาติที่เป็นสภาวะธรรม จึงมีความเที่ยงเป็นธรรมดา ดังเช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย การพลัดพรากจาดสิ่งอันเป็นที่รัก การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก การปรารถนาในสิ่งใดแล้วไม่ได้ในสิ่งนั้น เหล่านี้เป็นทุกข์ รวมทั้งเวทนาต่างๆ ยังคงต้องเกิดมีเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดา จึงไม่สามารถดับให้สูญไปได้ แต่กลับไปพยายามปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ธรรมชาติเหล่านั้น จึงย่อมไม่ประสบผลสำเร็จ, ตามความเป็นจริงและถูกต้องนั้น ต้องปฏิบัติอย่างไร อย่าให้ทุกข์เหล่านั้นแปรปรวนไปเป็นอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน ได้แก่การมีสติระลึกรู้เท่าทันอย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีปัญญาเข้าใจในสิ่งต่างๆเหล่านั้นอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงในธรรมนั้นๆ

    ทุกข์ธรรมชาติเหล่านั้นอันรวมทั้งทุกขเวทนาทั้งหลายนั้นก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่งจริงๆเช่นกัน เพียงแต่ว่าธรรมชาติเดิมแท้ของทุกข์ธรรมชาตินั้นไม่มีความเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายด้วยไฟของกิเลสตัณหาอุปาทาน เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่อย่างจางคลายไป และเนื่องจากขาดเหตุปัจจัยให้เกิดสืบเนื่องต่อไปอีก จึงดับไปในขณะจิตหนึ่ง แต่ที่ปุถุชนมีความรู้สึกเป็นทุกข์กันอยู่นี้ อันแท้จริงแล้วล้วนเป็นอุปาทานทุกข์ทั้งสิ้น แต่เพราะอวิชชาจึงไม่รู้ว่าเป็นอุปาทานทุกข์ กลับไปคิดว่าเป็นทุกข์ธรรมชาติเสียอีก (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)

    ๒.ไม่รู้จักสมุทัย ว่าเหตุให้เกิดทุกข์มาจาก ตัณหา๓, หรือในแนวทางปฏิจจสมุปบาท คือ อาสวะกิเลส ไม่เห็นเป็นไปอย่างแจ่มแจ้งแทงตลอด กลับไปคิดนึกค้นหาเหตุปัจจัยอื่นๆว่าเป็นเหตุ เช่น พยายามดับรูป ดับนาม ดับเวทนา กันไปต่างๆนาๆเพราะคิดว่าเป็นเหตุ, หรือโทษกรรมเก่าในชาติก่อน(กรรมวิบาก)อันแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆไม่ได้แล้ว อันไม่มีคุณประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น อันรังแต่ก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์ (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)

    ๓.ไม่รู้จักนิโรธ เป็นเช่นใด ไม่เคยสัมผัสสภาวะว่างจากกิเลสตัณหาอันยังให้ใม่เกิดอุปาทานทุกข์, หรือเข้าใจผิดคิดว่าผลอันเกิดแต่สมาธิหรือฌานเป็นสภาวะนิโรธ, ไม่ทราบว่าดับทุกข์ได้แล้ว จักเป็นสุข(ในธรรม)เยี่ยงใด? คุ้มค่าให้ปฏิบัติไหม? มีจริงหรือเปล่า? ทําให้มีความสงสัยอยู่ลึกๆแบบแอบซ่อนนอนเนื่องอยู่ในจิตตลอดมา (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)

    ๔.ไม่รู้จักมรรค ควรปฏิบัติอย่างไร?, ศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจ, ปฏิบัติไม่ถูก, ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน?, ทําตัวไหนก่อน? (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา จึงยังให้เกิด ศีล - สัมมาสติ - สัมมาสมาธิ อย่างถูกต้องดีงาม)

    ๕.ความไม่รู้อดีต คือ การไม่รู้ระลึกชาติหรือภพที่เคยเกิดเคยเป็นในปัจจุบันชาติ หรือก็คือการย้อนระลึกขันธ์๕ที่เคยเกิดเคยเป็น กล่าวคือไม่รู้ไม่เข้าใจขันธ์๕ที่เคยเกิดๆดับๆ อันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์นั้นมีเหตุปัจจัยจากอะไร? เพื่อเป็นเครื่องเตือน เครื่องรู้ เครื่องระลึก อันก่อให้เกิดปัญญา อันยังให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)

    ๖.ความไม่รู้อนาคต คือ การไม่รู้อนาคต คือไม่รู้ไม่เข้าใจในการอุบัติ(เกิด) การจุติ(ดับ) ของขันธ์ทั้ง๕ว่าล้วนเป็นไปตามกรรมคือตามการกระทําที่มีเจตนาทั้งสิ้น หรืออนาคตนั้นก็จักเป็นไปตามเหตุปัจจัยอันคือกรรมการกระทํานั่นเอง และความทุกข์ในภายหน้าก็ล้วนเกิดดับอันเกิดแต่กรรมการกระทํา อันจักยังให้เกิดอุปาทานขันธ์๕เช่นเดิมหรือเกิดความทุกข์ขึ้นเฉกเช่นเดียวกับอดีตเพราะความไม่รู้จึงมิได้แก้ไข กล่าวคือการรู้อนาคตเพราะการเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง คือเมื่อเหตุเป็นเช่นนี้ ผลเยี่ยงนี้จึงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อันเกิดขึ้นจากความเข้าใจในสภาวะธรรมอย่างแจ่มแจ้ง (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)

    ๗.ความไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)

    ๘.ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่ทราบ,ไม่รู้ธรรมชาติของทุกข์ คือ ไม่รู้กระบวนธรรมการเกิดขึ้น และการดับไปแห่งทุกข์ คือ ไม่รู้ในธรรมข้อที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งกัน อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้นได้ตามหลักอิทัปปัจจยตา เมื่อกําจัดเหตุปัจจัยบางประการเสียได้ ย่อมทําให้ธรรมนั้นไม่ครบองค์หรือขาดสมดุลย์ที่จะประชุมปรุงแต่งกันขึ้นมาได้ อุปาทานทุกข์หรือธรรมนั้นๆก็ย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้ (เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา)

    อวิชชาเกิดจากปัจจัยอันมีอาสวะกิเลสที่เกิดจากความทุกข์และสุขทั้งหลายที่ทิ้งผลร้ายหรือแผลเป็นเอาไว้ อันทําให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า กล่าวคือเป็นเหตุเป็นปัจจัยร่วมกันกับอวิชชา คือเมื่อไม่รู้ในความเป็นจริง กล่าวคือจึงไปยึดอาสวะกิเลสนั้นว่าเป็นเราของเราอยู่ลึกๆในจิต จึงไปขุ่นมัวเศร้าหมอง หรือเต้นไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ

    อาสวะกิเลส เหล่านี้อันมี

    ๑. โสกะ ความโศก โศรกเศร้า แห้งใจ หดหู่ใจ โศรกเศร้าจากการเสื่อมหรือสูญเสียต่างๆเช่น โศกเศร้าของผู้ที่เสื่อมสุข เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค เสื่อมศีล เสื่อมทิฏฐิ เสื่อมยศ ฯลฯ.

    ๒. ปริเทวะ ความครํ่าครวญ โหยหา รํ่าไรรําพัน พิรี้พิไรรําพัน อาการของความอาลัยอาวรณ์คิดคํานึงถึงในสุขหรือทุกข์ในอดีตที่เสื่อมหรือสูญเสียไปแล้ว เช่นโหยหา, อาลัย, ครํ่าครวญถึงสุข, ความสนุก, ญาติ, ทรัพย์, เกียรติ ฯลฯ.ที่เสื่อมหรือดับไปแล้วแต่อดีต อันอยากให้เกิดหรือไม่อยากเกิดขึ้นอีก

    ๓. ทุกข์ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สบายกายทั้งหลาย ความจดจําได้ ความกลัว ในความเจ็บปวด ความป่วยไข้ การบาดเจ็บ

    ๔. โทมนัส เศร้าใจ เสียใจ ความทุกข์ทางจิต ความไม่สําราญทางจิต อารมณ์ไม่ดีเป็นทุกข์ หดหู่ เศร้าหมอง เกิดแต่ไม่ได้ตามใจปรารถนา

    ๕. อุปายาส ความขุ่นเคือง คับแค้นใจ ขุ่นข้อง เช่น ความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ขุ่นเคือง หรือเกิดจากความคับแค้นใจหรือถูกเบียดเบียน รังแก เอาเปรียบ หรือไม่ได้ดังใจปรารถนา

    ที่มา:��Ԫ��
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...