นิพพาน ไม่ใช่อัตตา และ อนัตตา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NARKA, 22 พฤศจิกายน 2007.

  1. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +4,560
    พระพุทธเจ้าให้ใช้กามาลละสูตร ความไม่เชื่อ สิบประการ ต้องปฏิบัติพิสูจน์ด้วยตนเอง
    แต่เรื่องนิพพาน เป็นอัตตา หรือ อนัตตา เรามีบุญวาสนาน้อยจึงต้องเป็นหนอนตำรา วิเคราะห์เองจากเทปท่านอาจารย์มหาบัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่จำได้ท่านอาจารย์อธิบายว่า
    อันว่า อัตตา และ อนัตตา มันคือทางก้าวเดินไป คล้ายบรรไดบ้าน
    เมื่อเราข้ามบรรไดบ้านไปได้(คือข้ามอัตตาและอนัตตา)ไปได้แล้ว
    เราก็ถึงตัวบ้านและยืนอยู่บนตัวบ้านนั้น นั่นแหละคือนิพพาน
    ซึ่งเราฟังแล้ว เราก็ไม่รู้ ว่ามันคืออะไรเป็นอย่างไร มีสภาวะอย่างไร ผู้ปฏิบัติที่เป็นผู้รู้คือหลวงตา ท่านก็อุปมาอุปมัยให้ฟังแต่เพียงเท่านี้
    แสดงว่า ในการตัดกิเลศ ตั้งแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานี่ในทางจิตปฏิบัติของพระป่า ก็ต้องตัดไปทีละอย่างๆจากอัตตาคือความมีตัวตน ไปจนถึงอนัตตา ความไม่มีตัวตน สลบแล้ว สลบอีก หลายปี กว่าจะตัดหมด พอพ้นไปแล้ว จิตจึงเข้าสู่นิพพาน
    ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า นิพพาน ไม่ใช่ทั้งอัตตาและอนัตตา เพราะต้องพ้นจากทั้งสองอย่างไปก่อน คือ ต้องข้ามไปก่อน จึงจะเป็น นิพพาน
     
  2. HippY Thong

    HippY Thong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +143
    มันเป็นสิ่งเหนือความคิดเหนือโลกีย์ธรรม
     
  3. iofeast

    iofeast เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    4,171
    ค่าพลัง:
    +7,815

    เอาอีกแล้ว นี่ตาบ๊องไปเอาคำสอนของหลวงพ่อ มายัดไส้อีกแล้ว ฮ่าฮ่าฮ่า
     
  4. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,780
    ค่าพลัง:
    +7,482
    นิพพาน ก็คือ นิพพาน
    พระนิพพาน ก็คือ พระนิพพาน

    อัตตา ก็คือ อัตตา
    อนัตตา ก็คือ อนัตตา

    มันจะเป็นสิ่งเดียวกันได้อย่างไร
     
  5. ป่าตอง

    ป่าตอง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +36
    <img src="http://www.se-ed.com/itemmaster/ProductPic/9789744093127.gif"
     
  6. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +4,560
    คุณใบไม้นอกกำมือ คุณไปฟังหลวงตาเอง
    หรือฟังเทปม้วนไหนกันนี่
    น่าจะเป็นการฟังหรือตีความที่ผิดแน่นอน
    และระดับหลวงตาบัวท่านเป็นอริยะสงฆ์ ก็คงไม่พูด"แยกเรื่อง โดยใช้คำๆเดียวกัน"
    เช่นใช้ อัตตาและอนัตตาเป็นทางก้าวเดิน
    และไปใช้นิพพานเรียกเป็นอัตตาก็ได้
    มันจะทำให้คนฟังสับสนไป
    เพราะถ้าท่านพูดเทศน์อย่างนั้นท่านต้องบอกว่านิพพานมีตัวตน แต่ไม่ใช่บอกเป็นอัตตา
    ถ้าท่านเทศน์อย่างนี้รับรองสับสนกับคนฟังแน่
    ทางที่ดีคุณลองไปวัดป่าบ้านตาดกราบเรียบถามท่าน
    หรือเข้าเว๊บถามท่านก็ได้ บางทีถ้าท่านไม่ตอบเอง เหล่าลูกศิษย์จะได้ช่วยตอบให้กระจ่างเสียที เพราะผมฟังเทปท่านแล้วเข้าใจไม่งง นิพพาน ไม่ใช่อัตตาหรืออนัตตา
    ทั้งสองอย่างเป็นเพียงการผ่านไปให้ถึงนิพพานเท่านั้น ของแท้ชัวร์ปึก ฮา
    และท่านก็ไม่ได้บอกว่านิพพานเป็นอะไร ท่านเปรียบอุปมาอุปมัยว่าคล้ายเราไปยืนอยู่ในบ้านเท่านั้น ไม่ได้บอกว่ามันเป็นอะไรทั้งสิ้น
    แต่ผมลองบอกดูว่ามันเป็นพลังงานรูแหนึ่งที่ไม่ไหลเวียนมาเวียนว่ายตายเกิดเท่านั้น แต่ไม่รู้สถานะภาพของพลังงานนี้ว่ามีรูปร่างหรือไม่อย่างไร เอวัง
     
  7. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    อัตตา อนัตตา นิพพาน อายตนะนิพพาน
    มิอาจสื่อให้เข้าใจได้ด้วยภาษาของมนุษย์ผู้ยังมีกิเลสหนา เข้าถึงเมื่อใด ก็ ปัตจัตตัง
    ถ้ายังมี ผิด - ถูก
    ถ้ายังมี แพ้ - ชนะ
    แสดงว่ายังอีกไกล
    ขออนุโมทนากับท่านที่กำลังทำความเพียรเพื่อเข้าถึงความสิ้นสงสัยนั้นแล
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน
     
  8. babifun

    babifun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +81
    นิพพานมีจริงเรารู้
    หนทางสู่นิพพานมีจริงเรารู้

    หากรู้ว่าเป็นอัตตาแล้วจะปฏิบัติตนอย่างไร
    หากรู้ว่าเป็นอนัตตาแล้วแล้วจะปฏิบัติตนอย่างไร
    จะทำอะไรเปลี่ยนไป...
     
  9. มพดา

    มพดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +547
    นิพพานเป็นไปได้ทั้งอัตตา และ อนัตตา

    นิพพานเป็นอัตตา เพราะมีบทกล่าวว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง ใครคือผู้ที่สุขอย่างยิ่ง ถ้าไม่ใช่ตน

    นิพพานเป็นอนัตตา เพราะเป็นสภาวะอย่างหนึ่งที่มีอยู่จริง ไม่ใช่พลังงาน ไม่มีนิมิต พ้นนิมิต พ้นเกิด พ้นแก่ พ้นเจ็บ พ้นตาย สูญจากความเที่ยง สูญจากนิมิตที่บอกว่าเที่ยง
    สูญจากนิมิตที่บอกว่าตัวตน เป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของอวิชชาตัณหาอุปาทาน

    แต่พระพุทธองค์ทรงให้ละทั้งสองอย่าง เพราะอะไร เพราะไม่ให้เกิดความขัดแย้งกันทางความคิดสำหรับผู้ไม่รู้ ผู้ไม่เห็นกระแสนิพพาน ผู้ไม่ได้อยู่กระแสเบื้องบน ผู้ไม่กลับมาเกิดอีก

    ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นย่อมมีความเห็นแตกต่าง เมื่อความเห็นแตกต่าง ย่อมทะเลาะกัน เมื่อทะเลาะกัน ย่อมแตกแยก เมื่อแตกแยกย่อมเกิดลัทธิ เมื่อเกิดลัทธิ ย่อมเข่นฆ่ากันด้วยกายวาจาใจ พากันหลงโลกหลงทางยาวนาน จนกว่าจะได้รู้ได้เห็นพระนิพพาน จนกว่าจะได้รู้ได้เห็นพระนิพพานกันด้วยใจตนเอง เมือนั้นแหละความเห็นจึงจะเห็นเสมอกันว่า
    อัตตา หรือ อนัตตา
    <!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2007
  10. ว.อริยะ

    ว.อริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +346
    เราไม่สงสัยว่านิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา..เพราะเรายังปฏิบัติไม่ถึง..เนื่องจากนิพพานเป็นสภาวะอันวิมุติหลุดพ้นจากสมมติทั้งปวง..จิตของผู้เข้าถึงนิพพานเป็นจิตเหนือโลกเหนือสมมุติบัญยัติใดๆในโลก...ถ้าหากเอาจิตปถุชนมาเปรียบเทียบและตีความจากตำรับตำราถึงสภาวะนิพพานยิ่งไปกันใหญ่..แต่เราเชื่อว่านิพพานเป็นความสุขอย่างยิ่ง..เป็นธรรมชาติแท้ๆไม่มีสิ่งหลอกลวงเจือปน..แค่นึกถึงสภาวะที่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไม่ต้องรับทุกข์จากขันธ์ห้าที่เป็นอยู่นี้ก็สุขยิ่งแล้ว....
     
  11. djinn

    djinn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2007
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +122
    นิพพานกับพระนิพพาน ต่างกันเหรอครับ
    ช่วยอธิบายได้ใหมครับ หรือบอกแหล่งค้นคว้าก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2007
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน หยิบฉวยไม่ได้ เอาเป็นตัวเป็นตนไม่ได้
    มักใช้คู่กับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แปลว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หยิบฉวยเป็นตัวตนไม่ได้

    ทีนี้อัตตา แปลว่า ตัวตนที่ยึดไว้ เราลองดูธรรมดา ถ้าเราไม่ได้ยึดอะไรเป็นตัวตนเรา ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราดูหนัง ดูฟุตบอล เราก็ไม่มีความรู้สึกที่เป็นตัวเรา เพียงแต่มีความสนุก ไม่ได้สมมติ ไม่ได้ยึดอะไรไว้ ทีนี้อัตตานี้จะเกิดก็ต่อเมื่อ นึกขึ้นมา ว่านี้เรา นี้เขา ตรงนี้เองที่ บอกความหมายของคำว่า อัตตา คือ ระลึกรู้ว่าเรา

    ทีนี้ นิพพาน เป็นสภาวะว่างอย่างยิ่ง เอาแค่ว่างแบบงูๆ ปลาๆ ตอนดูหนัง ดูฟุตบอล มันก็ว่างจากสภาวะตัวตนแล้ว นิพพานก็ย่อมว่างยิ่งกว่านั้นอีก ก็จะไม่ใช่สภาวะแบบตัวตน

    ตรงนี้ ให้ทำความเข้าใจกัน ที่ออกมาพูดนี้ ก็รู้แล้ว เห็นแล้ว ไม่ใช่มานั่งโกหกพกลม หรือไม่รู้แล้วออกมาพูด
    ไปสังเกตุดูดีๆ ว่า ตอนสนุก นั้น มันมีตัวเราหรือไม่ มันไม่ได้ยึดเรา มันมีแต่อารมณ์สนุก ใคร หมายรู้เห็นตรงนี้ได้ ก็เรียกว่า มองเห็น ในความไม่ใช่เรา

    เดิมที ตัวเรานี้ไม่มี มันมีแต่ตัวรู้ พอเรียนรู้รับรู้ ก็ เกิดเป็น เรา ที่มีพ่อมีแม่ คนนี้ มีวิถีชีวิตแบบนี้ มีงานการ มีหัวโขนแบบนั้นแบบนี้ แต่รวมความแล้วเรามี
    เวทนา มี สัญญา มีสังขาร เหมือนกันทุกคน ไม่แตกต่าง สิ่งที่แตกต่างคือ ภายนอก รับรู้ต่างกัน

    ก็นิพพานก็ ละเอียดกว่านี้ ก็อย่าหมายไปเป็นอัตตาที่ถาวร หรือ อนัตตา
    ถ้าเราไม่มี ไม่มีสมมติ ก็จะพบกับ พระนิพพานเอง นอนหลับสนิทก็ไม่มีตัวเรา

    ดูที่จิตที่ใจนี้พอ อย่าไปหมาย ใจนี้ แปลได้ หลายสภาวะ ใจเดิมจิตเดิม ก็ออกไปสัมผัสกับ สิ่งภายนอก ก็หลุดออกจากจิตเดิม

    ก็ลองไปพิจารณาดู หลวงตามหาบัวท่านกล่าวไว้แล้ว่า นิพพานไม่ใช่ ทั้งอัตตาและ อนัตตา ถูกต้องทุกประการ ไม่มีพระไตรปิฎกบอกว่า นิพพานเป็นอัตตา เท่านี้ก็ไม่เห็นต้องคิดอะไรแล้ว
     
  13. จิตเห็นจิต

    จิตเห็นจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    อนัตตาสำหรับผมมันคือเเก่นเเท้ของธรรมชาติ
    ธรรมชาติคือความเป็นจริงของสัตว์โลก
    สัตว์โลกเป็นโลกุตตระธรรมเเละเป็นโลกียธรรม
    โลกเเห่งโลกียธรรมนั้นยังมีลุ่มหลงในอุปาทาน เเละความอยากเป็นปรกติ
    โลกเเห่งโลกกุตตระนั้นย่อมหาทางหลุดพ้นเเห่งอุปาทานเเละความอยากเป็นปรกติ
    จิตที่จักหลุดพ้นขันธ์ห้านี้ได้จักต้องเป็นจิตที่ดำรงอยุ๋ซึ่งจริยธรรมคือความสมดุลเเห่งธรรมชาติ
    เรานั้นจึงมิอาจเเยกโลกียธรรมเเละโลกุตตระทำออกจากกันได้เพราะโลกกุตตระธรรมย่อมมาจากโลกียธรรมนั้นทั้งปวง เช่นร่างกายนี้เป็นต้น
    เมื่อใดที่โลกียธรรมเเละโลกุตตระธรรมนี้สมดุลกันจิตย่อมเป็นเอกกัคคตาเพราะเนื่องจากทั้งทางโลกเเละทางธรรมนั้นว่างเปล่าเเล้วจิตจึงเป็นเอกเป็นปรกติ
    เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจธรรมอันเอกนี้เเล้วนิพพานชั่วคราวย่อมเกิดขึ้นเป็นปรกติเเล้วคำถามที่ว่ากันอยุ๋นี้จักรุ้ได้ด้วยตัวของพวกท่านเองหนอ
     
  14. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    หากดับกิเลสทั้งห้าได้ขาด คือ โลถะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ก็เข้าถึงพระนิพพาน​
    แล้วจึงตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ สิบต่อไปอีกว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลที่ปรารถนาซึ่งสวรรค์และพระนิพพาน ก็จง
    รีบพากเพียรกระทำให้ได้ให้ถึงแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพราะมีอยู่ที่ใจของเราทุกอย่าง จะเป็นการลำบากมากอยู่ก็แต่พระนิพพาน
    ผู้ที่
    ปรารถนาความสุขในพระนิพพาน จงทำตัวให้เหมือนแผ่นดินหรือเหมือนดังคนตายแล้ว คือ ให้ปล่อยความสุขแลความ
    ทุกข์เสีย ข้อสำคัญก็คือ ให้ดับกิเลส ๑
    ,๕๐๐ นั้นเสีย

    กิเลส ๑​
    ,๕๐๐ นั้น เมื่อย่นลงให้สั้นแล้วก็เหลืออยู่ ๕ เท่านั้น คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑
    ทิฏฐิ ๑

    โลภะนั้น คือ ความทะเยอทะยานมุ่งหวังอยากได้กิเลสกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๑
    อยากได้วัตถุกาม คือ สมบัติข้าวของซึ่งมีวิญญาณแลหา วิญญาณมิได้ ๑ เหล่านี้ชื่อว่า โลภะ
    โทสะนั้น ได้แก่ความ เคือ งแค้น ประทุษร้าย เบียดเบียนท่านผู้อื่น ชื่อว่าโทสะ
    โมหะนั้น คือ ความหลง มี หลงรัก หลงชัง หลงลาภ หลงยศ เป็นต้น ชื่อว่าโมหะ
    มานะนั้น คือ ความถือตัว ถือตน ดูถูก ดูหมิ่น ท่านผู้อื่น ชื่อว่ามานะ
    ทิฏฐินั้น คือ ความถือมั่นในลัทธิอันผิด เห็นเป็นอุจเฉททิฏฐิ แลสัสสตทิฏฐิไป ปล่อยวา ความเห็น
    ผิดไม่ได้ ชื่อว่าทิฏฐิ​
    ถ้าดับกิเลสทั้ง ๕ นี้ได้แล้วก็ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นทั้ง ๑​
    ,๕๐๐ ถ้าดับกิเลสทั้ง ๕ นี้ไม่ได้ ก็ชื่อว่าดับกิเลสไม่ได้เลย

    ดูกรอานนท์ ปุถุชนคนหนาทั้งหลายที่ปรารถนาพระนิพพานได้ด้วยยากนั้น ก็เพราะเหตุที่ไม่รู้จักดับกิเลสตัณหา เข้าใจ
    เสียว่าทำบุญทำกุศลให้มากแล้ว บุญกุศลนั้นจักเลื่อนลอยมาจากอากาศเวหา นำตัวขึ้นไปสู่พระนิพพาน ส่วนว่าพระนิพพานนั้นจะ
    อยู่แห่งหนตำบลใด ก็หารู้ไม่ เป็นแต่คาดคะเนเอาอย่างนั้น จึงได้พระนิพพานด้วยยาก ​
    แท้ที่จริงพระนิพพานนั้นไม่มีอยู่ในที่อื่น
    ไกลเลย หากมีอยู่ที่จิตใจนั้นเอง ครั้นดับ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิได้ขาดแล้ว ก็ถึงพระนิพพานเท่านั้น ถ้าไม่รู้แลดับ
    กิเลสตัณหายังไม่ได้เป็นแต่ปรารถนาว่าขอให้ได้ พระนิพพานดังนี้ แม้สิ้นหมื่นชาติแสนชาติก็ไม่ได้พบประเลย เพราะ
    กิเลสตัณหาทั้งหลายย่อมมีอยู่ที่ตัวตนของเราทั้งสิ้น เมื่อตัวไม่รู้จักระงับ กิเลสตัณหาที่มีอยู่ให้หมดไป ก็ไม่ได้ไม่ถึง
    เท่านั้น จะคอยท่าให้บุญกุศลมาช่วยระงับดับกิเลสของตัว เช่นนี้ ไม่ใช่ฐานะที่จะพึงคิด บุญกุศลนั้นก็คือตัวเรานี้เอง เรานี่
    แหละจะเป็นผู้ระงับดับกิเลสให้สิ้นไป หมดไป จึงจะสำเร็จได้สมประสงค์

    ดูกรอานนท์ ​
    ปุถุชนคนเขลาทั้งหลายที่ได้ถึงพระนิพพานด้วยยากนั้น เพราะเขาปรารถนาเปล่าๆ จึงไม่ได้ไม่ถึง
    เขาไม่รู้ว่าพระนิพพานอยู่ที่ในใจเขา มีแต่คิดในใจว่าจะไปเอาในชาติหน้า หารู้ไม่ว่านรก แลสวรรค์ และพระนิพพานมีอยู่
    ในตน เหตุฉะนั้นจึงพากันตกทุกข์ได้ยากลำบากยิ่งนัก พากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ ถือเอากำเนิดในภพ
    น้อยภพใหญ่อยู่ไม่มีที่สิ้นสุด
    ข้าแต่พระมหากัสสปะ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้

    เมื่อตนยังไม่หลุดพ้น ก็ไม่ควรจะสั่งสอนผู้อื่น​
    แล้วจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลผู้มีปัญญาพึงคิดถึงตนแล้วปราบใจของตนให้พ้นจากทุกข์
    แลความลำบาก แลให้ออกจากบ่วงแห่งกิเลสมารให้ได้เถิด ถ้าไม่คิดอย่างนี้ แม้จะมีปัญญาก็มีเสียเปล่า ไม่นับเข้าใน
    จำนวนที่มีปัญญา กิริยาที่พ้นทุกข์พ้นยาก แลพ้นออกจากบ่วงแห่งกิเลสมารได้ ก็คือพ้นจากกิเลสตัณหาของเรา เมื่อพ้น
    จากกิเลสตัณหาได้เช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่า พ้นจากความทุกข์ความยากโดยสิ้นเชิง
    ถ้ายังไม่พ้นก็ได้ชื่อว่า ยังไม่พ้นจากความทุกข์
    ความยาก
    เมื่อตนยังไม่หลุดไม่พ้น ก็ไม่ควรจะสั่งสอนผู้อื่น เพราะตัวยังไม่พ้น จะสั่งสอนผู้อื่นให้พ้นได้ด้วยอาการอย่างไร
    เปรียบเหมือนบุคคลจะข้ามแม่น้ำ ถ้าตัวของเราข้ามไปถึงฝั่งฟากโน้นแล้ว จึงร้องบอกให้ท่านผู้อื่นตามตนเช่นนี้ สมควร
    แท้
    เมื่อเราร้องบอกเขาแล้ว เขาจะพอใจ ไปหรือไม่ ก็แล้วแต่ใจเขา ส่วนตัวของเราข้ามไปได้สมประสงค์แล้ว ข้ออุปมานี้ฉันใด ผู้ที่
    จะเป็นครูเป็นอาจารย์สอนให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ ก็ต้องทำตัวให้พ้นจากทุกข์เสียก่อน จึงสมควรจะสอนผู้อื่น
    มีอุปไมย
    เหมือนผู้ที่จะพาข้ามแม่น้ำฉะนั้น บุคคลที่เปลื้องตัวให้พ้นออกจากกองกิเลสยังไม่ได้ แลจะไปเปลื้องปลดสัตว์ในป่าช้าผีทั้งหลาย เขา
    จะหัวเราะเยาะเย้ยว่า
    อโห โอหนอ ตัวของท่านก็ยังไม่พ้นทุกข์ แล้วจะมาพาเอาพวกข้าพเจ้าออกจากทุกข์ได้อย่างไร ตัวของท่าน
    และพวกข้าพเจ้าก็ยังไม่พ้นจากนรกอยู่เหมือนกัน จะมาพาพวกข้าพเจ้าให้พ้นจากนรกได้ด้วยอาการอย่างไร

    คฤหัสถ์ก็ดี นักบวชก็ดี ที่กล่าวว่าตัวรู้ ตัวเห็น และพูดจากับผีได้ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกศาสนา ไม่ควรเชื่อถือเอา
    เป็นครู เป็นอาจารย์​
    ดูกรอานนท์ บุคคลจำพวกใดที่ให้ผีในป่าช้าหัวเราะเยาะเย้ยเล่นเช่นนี้ บุคคลจำพวกนั้นถ้ามีขึ้น ก็เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้
    เจ็บอันตรายต่างๆ หาความสุขความเจริญไม่ได้ ดูกรอานนท์ ​
    คฤหัสถ์ก็ดี นักบวชก็ดีมากล่าวว่าตัวรู้ ตัวเห็น แลได้พูดจากับ
    ด้วยผี ดังนี้ ก็พึงให้รู้ว่าคนจำพวกนั้นไม่ใช่ลูกศิษย์ของเราตถาคตเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกพระศาสนาไม่ควรเชื่อถือ
    เอาเป็นครูเป็นอาจารย์ เพราะเขาเป็นคนเจ้าอุบาย เจ้าเล่ห์เจ้ากลเท่านั้น ที่มีความรู้จริง เห็นจริง พูดจาสนทนากับผีได้ มี
    แต่พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์เท่านั้น นอกนั้นไม่มีใครรู้จริงเห็นจริง เป็นคนอุตริทั้งนั้น

    ดูกรอานนท์ ​
    เราจะทำนายไว้ให้เห็น ในอนาคตกาลข้างหน้า จักเกิดพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกพระศาสนา อวดอ้าง
    ว่าตัวรู้ ตัวเห็นผีได้ พูดจากับด้วยผี ครั้นบุคคลจำพวกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ก็จักเบียดเบียนพระศาสนาของเราให้เสื่อมถอยลง
    ไป
    ด้วยวาทะถ้อยคำเสียดสีต่างๆ พระสงฆ์สามเณรก็จักเกิดระส่ำระสาย หาความสบายมิได้ เขาจักสอนทิฏฐิวัตรอย่างเคร่งครัด ถือ
    อรัญญิกธุดงค์อย่างพระเทวทัต ภายหลังก็จักเกิดพระบ้านพระป่ากันขึ้น แล้วก็จักแตกกันออกเป็นพวกๆ ไม่สามัคคีกัน ต่างพวกก็
    ถือแต่ตัวดี ศาสนาของเราก็จักเสื่อมถอยลงไป เพราะพวกมิจฉาทิฏฐิ เห็นแก่ลาภยศ หาความสุขมิได้ มรรคผลธรรมวิเศษก็จักไม่
    เกิดขึ้นแก่เขา เขาจักเรียนเอาแต่วิชาศีลธรรม อันพวกมิจฉาทิฏฐิสอนให้รู้อะไรกันขึ้นเล็กน้อย ก็อวดดีกันไป แท้ที่จริงความรู้
    เหล่านั้นล้วนแต่รู้ดีสำหรับไปสู่นรก เขาจักไม่พ้นจตุราบายได้เลย ดูกรอานนท์ ในอนาคตกาลภายหน้า จักมีอย่างนี้ไม่ต้องสงสัย ถ้า
    ผู้ใดรู้ลัทธิทิฏฐิอย่างนี้ไว้แล้ว เมื่อได้เห็นก็จงเพียรพยายามละเว้น ก็จักได้ประสบความสุข
    การที่จะระงับดับกิเลสก็ให้ระงับ
    บริโภค ๒ ประการให้เบาบางลง บริโภค ๒ นั้น คือ จีวรปัจจัยแลเสนาสนปัจจัย สองอย่างนี้ชื่อว่าบริโภคภายนอก นับเป็น
    อย่างหนึ่ง บิณฑบาตปัจจัยแลคิลานปัจจัย สองอย่างนี้ชื่อว่าบริโภคภายใน นับเป็นอย่างหนึ่ง
    บริโภคทั้ง ๒ นี้เป็นตัวกิเลส ตัวทุกข์ ตัวสุขสิ้นทั้งนั้น ถ้าบริโภค ๒ นี้มากขึ้นเท่าใด ทุกข์ก็มากขึ้นไปตามเท่านั้น
    ถ้าบริโภค ๒ อย่างนี้น้อยลง ทุกข์ก็น้อยลง ความสุขก็มากขึ้น คือว่าบาปน้อยลงเท่าใด บุญกุศลก็มากขึ้นเท่านั้น อันบุญ
    กุศลก็มีอยู่ที่ตัวบุคคลทั้งสิ้น ผู้ที่ละบริโภค ๒ นั้นได้แล้ว นรกก็พ้น สวรรค์ แลพระนิพพานสิ่งใดๆ ก็ได้ในที่นั้น
    พระปาติโมกข์แลธุดงควัตรที่ทรงบัญญัติไว้ ก็เพื่อเป็นเครื่องดับกิเลสตัณหา

    ดูกรอานนท์ ​
    บุคคลที่บวชเข้าแล้ว ไม่รู้จักระงับดับกิเลสคือบริโภค ๒ ให้เบาบาง เข้าใจว่าบวชรักษาศีล ถือคลอง
    วัตรเอาบุญ ไม่หาอุบายระงับดับกิเลสแลบริโภค ๒ จะได้บุญได้ความสุขมาแต่ที่ไหน ถ้าคิดอย่างนั้น แม้จะรักษาศีล
    ตลอดพระปาติโมกข์แลธุดงควัตร ก็เป็นอันรักษาเปล่า รักษาให้เหนื่อยยากลำบากกายเปล่า ไม่อาจเป็นบุญเป็นกุศลได้
    พระปาติโมกข์แลธุดงควัตรทั้งหลายที่ทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้นั้น ก็เพื่อให้เป็นเครื่องระงับดับกิเลสตัณหา
    คือ บริโภคทั้ง ๒
    ถ้าระงับไม่ได้ก็ไม่เป็นบุญเป็นกุศล ผู้ที่ทำความเข้าใจว่าพระปาติโมกข์แลธุดงควัตรจะช่วยยกตัวให้ขึ้นไปสู่สวรรค์แลพระนิพพาน
    เช่นนี้ เป็นความเห็นของคน ที่โง่เขลาเบาปัญญา จักไม่พ้นทุกข์เลย
    บริโภคทั้ง ๒ นั้นได้ชื่อว่าปลิโพธ ๒ ที่แปลว่าความกังวล
    การรักษาพระปาติโมกข์แลธุดงควัตร ก็เพื่อจะตัดปลิโพธ ความกังวลให้เบาบางลง ถ้าเบาบางลงได้เท่าใด ก็เป็นบุญเป็น
    กุศล เป็นสวรรค์ แลพระนิพพานขึ้นไปเท่านั้น พระพุทธเจ้าย่นโอวาทคำสั่งสอนลงสู่ปลิโพธ ๒ ว่าเป็นที่สุดโดยสิ้นเชิง คือ
    ว่า นรกสวรรค์และพระนิพพานมีอยู่ที่ปลิโพธ ๒ ครบบริบูรณ์ ผู้ศึกษาเล่าเรียนจะรู้มากรู้น้อยเท่าไร ไม่นิยมรู้มากหรือรู้
    น้อย ถ้าระงับปลิโพธนั้นได้ก็เป็นดี จะอยู่วัดบ้านหรือวัดป่าประการใดก็ตาม ถ้าระงับปลิโพธ ๒ นั้นได้ ย่อมเป็นความดี
    ทั้งสิ้น
    พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเป็นใจความอย่างนี้

    การดับกิเลสให้สิ้นเชิง ให้เลือกประพฤติตามความปรารถนา​
    อันดับนั้นจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ ธรรมนี้ชื่อว่า พระยาธรรมมิกราช เพราะเป็นใหญ่
    กว่าธรรมทั้งหลาย ข้อที่เราตถาคตได้ตรัสไว้แล้วในธรรมหมวดนี้คือ ได้ชี้นรก แลสวรรค์ แลพระนิพพาน
    กิเลสตัณหาโดยจะแจ้งสิ้นเชิง เมื่อผู้ใดได้ฟังแล้วปรารถนาสุขทุกข์ประการใด ก็จงเลือกประพฤติตาม
    ความปรารถนา

    ในอนาคต กุลบุตรที่เลื่อมใสในพุทธศาสนาสามารถบวชได้ แม้ไม่มีพระภิกษุ​
    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสฉะนี้แล้วจึงซ้ำตรัสอนุญาตปัจฉิมบรรพชาไว้แก้ข้าฯ อานนท์ว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ แม้ในปัจฉิม
    กาล เมื่อหาพระสงฆ์ครบคณะบรรพชาไม่ได้ โดยที่สุดแม้มีภิกษุองค์เดียว เมื่อกุลบุตรมีศรัทธาเลื่อมใสในคุณแห่งเราตถาคต
    อยากจะบวชเป็นภิกษุในสำนักแห่งภิกษุองค์เดียว ก็จงบวชเถิด
    โดยที่สุดลงไปอีก แม้จะหาพระภิกษุสักองค์เดียวไม่ได้ กุลบุตรผู้มีศรัทธาใคร่จะบวชสืบศาสนาแห่งเราตถาคตก็ให้ศึกษา
    จตุตถปาราชิกแลบริโภค ๒ นั้นให้เข้าใจ แล้วเข้าสู่เฉพาะพระพุทธรูป หรือพระสถูป หรือพระเจดีย์ หรือแม้หาที่ควรเคารพเช่นนั้น
    ไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงเราตถาคต แล้วบวชเป็นพระภิกษุเถิด ให้ตั้งใจสมาทานว่า
    อิมํ ปพฺพชฺชํ สมาทิยามิ ทุติยมฺปิ ตติยมฺปิ อิมํ
    ปพฺพชฺชํ สมาทิยามิ
    แล้วให้สมาทานจตุตถปาราชิกว่า ปฐมํ ปาราชิกํ สมาทิยามิ ทุติยํ ตติยํ จตุตฺถํ ปาราชิกํ สมาทิยามิ แล้ว
    บวชเป็นภิกษุเถิด
    ถ้าหากพระสงฆ์ยังมีอยู่อย่างน้อยเพียงองค์เดียวแล้ว จะบวชโดยลำพังไม่ได้ ถ้าขืนบวชชื่อว่า ดูถูกดูหมิ่นพระศาสนา เป็น
    บาปยิ่งนัก อย่าทำเลย เมื่อบวชโดยวิธีนี้ ผู้ใดคัดค้านว่าไม่ควรจักเป็นบาปเป็นกรรม ยิ่งนักเราอนุญาตไว้สำหรับคราวอันตรธาน
    ต่างหาก ข้าแต่พระมหากัสสปะ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้ ขอพระอริยสงฆ์ทั้งหลายจงทราบด้วยพลญาณของ
    ตน โดยนัยดังข้าพเจ้าอานนท์แสดงมานี้เทอญ แล้วพระองค์ก็หยุด ไม่ทรงตรัสเทศนาอีกต่อไป

    คิริมานนท์กำหนดรูปนามตามพระธรรมเทศนา จึงได้บรรลุอรหันต์​
     
  15. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    พวกที่ว่านิพพานเป็นอัตตาเพราะ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ผู้ปฎิบัติถึงย่อมรับรู้ได้ พระศาสดาก็บอกทางอยู่ว่าไปได้ด้วยมรรคมีองค์ 8เป็นทางเดิน นิพพานเป็นจุดมุ่งหมาย
    พวกที่ว่านิพพานเป็นอนัตตา เพราะหมายเอาสภาวะแห่งนิพพานธาตุเป็นที่ตั้ง

    เหมือนกับ เราถาม พระ ก็ตอบกันทั้งมีและไม่มี ถ้าตอบด้วยเหตุผลที่ผมอ้างอิงก็ไม่น่าจะผิดทั้งคู่แต่ไม่เคยได้ยิน ว่าพระนิพพานไม่ใช่อนัตตาและไม่ใช่อัตตาครั้งแรก ผมไม่เคยฟังเทปดังกล่าวด้วย แต่จากที่อ่านๆดู หลวงตามหาบัวไม่ได้บอกว่านิพพานไม่ใช่อัตตาและอนัตตา นี่ครับ

    ผมว่าถ้าคนอ่านเนื้อหาไม่จบตรงที่ลูกศิทย์และตัวคุณเองสรุปเองว่าไม่เป็นทั้งอัตตาและอนัตตานี่ มันสุ่มเสี่ยงนะครับ เขาจะเข้าใจผิดคิดว่า หลวงตามหาบัว บอกว่า นิพพานไม่เป็นอนัตตาและอัตตา

    นิพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
    นิพพานเป็นสภาวะธรรมใกล้เคียงกับปรมัตมันคือเป็นเอกภาพสูงสุด หากพระพุทธเจ้าไม่เคยลิ้มรสจะทรงบอกถึงรสนั้นได้อย่างรัย พระธรรม 84000 มัวหมองถอยลงคลองทันที
    ขอขมากรรมเจ้าของกระทู้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2010
  16. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    โดนเขาหลอกอีกแล้ว..............................
     
  17. มาพบพระ

    มาพบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    643
    ค่าพลัง:
    +1,973
    พระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้เราก้าวเดินอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ทาน ศีล ภาวนา อีกทั้งศีล สมาธิ และปัญญา ก็เป็นแนวทางเดินที่พระพุทธองค์ท่านทรงสอนไว้ ตราบใดที่เรายังเดินไปไม่สุดทาง อารมณ์พระนิพพานก็ยังไม่มีในเรา เป็นแต่สัญญาจำผู้อื่นกล่าวมา เท่านั้น ไม่ใช่ปัญญารู้แจ้งตามพระพุทธองค์
     
  18. deity

    deity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +1,645
    ตัดอัตตาได้

    แต่ตัดอนัตตาไม่ได้

    จะไปเกิดเปนอรูปพรหม

    ไม่แน่ใจว่าถูกไหม
     
  19. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    อรูปพรหมไม่เกี่ยวข้องกับวิปัสนานี่ครับ
    หลักคําสอนเรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาก็ไม่ได้มีมาก่อน 2500 กว่าปีก่อนหน้านั้นแต่อรูปพรหมมีมาก่อนหน้าโน้นแล้วคิดว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกันอ่ะครับ
     
  20. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ไม่ได้เป็นพระอรหันต์แต่อธิบายจากคีรีมานนท์สูตรว่า
    เมื่อกำหนดความไม่มีรูปเป็นอารมณ์จาก อากาสานัญจายตนฌาณ วิญญาณัญจายตนฌาณ อากิญจัญญายตนฌาณ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาณ
    นี้เป็นนิพพานพรหม เพราะสัญญา เวทนายังไม่ดับ
    วิธีเจริญกรรมฐานภาวนา

    (31-40) ส่วนกรรมฐานอีก 6 ประการ คือ
    อัปปมัญญาพรหมวิหาร 4
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
    จตุธาตุวัตถาน 1 จะไม่อธิบาย จะได้อธิบายแต่อรูปกรรมฐาน 4 ดังต่อไปนี้

    โยคาวจรกุลบุตรผู้เจริญอรูปกรรมฐานที่หนึ่ง
    พึงกสิณทั้ง 9 มีปฐวีกสิณเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเว้นอากาศกสิณเสีย
    เมื่อสำเร็จรูปาวจรฌาณอันเป็นที่สุดแล้ว
    เจริญอรูปาวจรฌาณในอรูปกรรมฐานต่อไป พึงเพิกกสิณนั้นเสีย
    คืออย่ากำหนดนึกหมายเอากสิณนิมิตเป็นอารมณ์
    พึงตั้งจิตเพ่งนึกพิจารณาอากาศที่ดวงกสิณเกาะหรือเพิกแล้วเหลืออยู่แต่อากาศ
    ที่ดวงกสิณเกาะหรือเพิกแล้วเหลืออยู่แต่อากาศเปล่าเป็นอารมณ์
    พิจารณาไปๆ จนอากาศเปล่าเท่าวงกสิณปรากฏในมโนทวารในกาลใด
    ในกาลนั้นให้โยคาวจรพิจารณาอากาศอันเป็นอารมณ์
    บริกรรมว่า อนนโต อากาโส อากาศไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้ร่ำไป
    เมื่อบริกรรมนึกอยู่ดังนี้เนืองๆ
    จิตก็สงบระงับตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิไปจนถึงอัปปนาสมาธิโดยลำดับ
    สำเร็จเป็นอรูปฌาณที่ 1 ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาณ
    เมื่อจะเจริญอรูปกรรมฐานที่ 2 ต่อไป
    พึงละอากาศนิมิตที่เป็นอารมณ์ของอรูปฌาณที่แรกนั้นเสีย
    พึงกำหนดจิตที่ยึดหน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์นั้นมาเป็นอารมณ์ต่อไป
    บริกรรมว่า อนนตํ วิญญาณํ วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้ร่ำไป
    จนกว่าจะได้สำเร็จอรูปฌาณที่ 2 ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาณ

    เมื่อจะเจริญอรูปฌาณที่ 3 ต่อไป
    พึงละอรูปวิญญาณทีแรกที่เป็นอารมณ์ของอรูปฌาณที่ 2 นั้นเสีย
    มายึดหน่วงเอาความที่ไม่มีของอรูปฌาณทีแรก
    คือกำหนดว่าอรูปวิญญาณแรกนี้ไม่มีในที่ใด ดังนี้เป็นอารมณ์
    แล้วบริกรรมว่า นตถิกิญจิๆ
    อรูปวิญญาณทีแรกนี้มิได้มีมิได้เหลือติดอยู่ในอากาศดังนี้ เนืองๆ ไป
    ก็จะได้สำเร็จอรูปฌาณที่ 3 ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาณ

    เมื่อจะเจริญอรูปกรรมฐานที่ 4 ต่อไป พึงปล่อยวางอารมณ์ของอรูปฌาณที่ 3
    คือ ที่สำคัญมั่นว่าอรูปฌาณทีแรกไม่มีดังนี้เสีย
    พึงกำหนดเอาแต่ความละเอียดปราณีตของอรูปฌาณที่ 3 เป็นอารมณ์
    ทำบริกรรมว่า สนตเมตํ ปณีตเมตํ
    อรูปฌาณที่ 3 นี้ละเอียดนักประณีตนัก
    จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ดังนี้เนืองๆ ไป
    ก็จะได้สำเร็จอรูปฌาณที่ 4 ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาณ

    จะอธิบายฌาณและสมาบัติต่อไป
    ฌาณนั้นว่าโดยประเภทเป็น 2 อย่างคือ
    รูปฌาณและอรูปฌาณอย่างละ 4 ฌาน เป็นฌาณ 8 ประการ
    ฌาณทั้ง 8 นี้ เป็นเหตุให้เกิดสมาบัติ 8 ประการ บางแห่งท่านก็กล่าวว่า ผลสมาบัติ
    ต่อได้ฌาณมีวสี ชำนาญดีแล้ว จึงทำให้สมาบัติบริบูรณ์ขึ้นด้วยดีได้
    เพราะเหตุนี้สมาบัติจึงเป็นผลของฌาณ ก็สมาบัติ 8 ประการนี้
    ในภายนอกพระพุทธศาสนาก็มี
    แต่ไม่เป็นไปเพื่อดับกิเลส ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    ได้แต่เป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหารและเป็นไปเพื่อเกิดในพรหมโลกเท่านั้น
    เหมือนสมาบัติของอาฬารดาบส และอุทุกดาบสฉนั้น

    ส่วนสมาบัติพระพุทธศาสนานี้
    ย่อมเป็นไปเพื่อรำงับดับกิเลส ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้
    ว่าโดยประเภทเป็น 2 อย่าง คือ ผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติ
    ผลสมาบัตินั้นย่อมสาธารณะทั่วไปแก่พระอริยเจ้าสองจำพวกคือ
    พระอนาคามีกับพระอรหันต์ที่ได้สมาบัติ 8 เท่านั้น

    อนึ่งฌาณและสมาบัตินี้
    ถ้าว่าโดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...