ความเข้าใจผิดเรื่อง ต้องได้ทำฌานให้ได้ก่อนจึงจะสามารถทำวิปัสสนาจนบรรลุธรรมได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Ron_, 29 กรกฎาคม 2013.

  1. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    หลายคนคิดว่า ต้องทำสมาธิให้ได้ฌานก่อนเท่านั้น จึงจะสามารถเจริญวิปัสสนาได้ นี่เป็นความเห็นที่ผิด

    เพราะจากหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้น การปฏิบัติธรรมจนบรรลุสามารถทำได้หลายวิธี บางท่านทำสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วมาเจริญวิปัสสนาภายหลังก็สำเร็จได้ บางท่านเจริญวิปัสสนาก่อนแล้วเจริญสมถะทีหลังก็สำเร็จได้ (แต่ต้องทำทั้งสมถะและวิปัสสนา)

    ดังเช่น ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา พระไตรปิฎกเล่มที่ 31

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8&book=9&bookZ=33

    ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
    นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
    มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ

    แม้จะทำสมถะแต่ไม่เคยได้ฌานมาก่อน ก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ แต่จะเกิดฌานในขณะที่บรรลุมรรคผลเสมอ ซึ่งอภิธรรมได้กล่าวไว้ดังนี้

    ฌาน กับ มัคคผล

    โลกุตตรจิตถือเหมือนว่าปฐมฌาน และอรูปาวจรฌานก็ถือเหมือนว่า ปัญจมฌาน

    โลกุตตรจิตของพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ทำฌานมาก่อนเมื่อสำเร็จมัคคผลย่อมมีปฐมฌานเข้าประกอบด้วย จึงจัดโลกุตตรจิตเข้าไว้ในปฐมฌานด้วย

    ส่วนบุคคลที่ได้ฌานมาก่อนแค่ฌานใด ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจมฌาน เมื่อสำเร็จมัคคผล ก็เกิดพร้อมองค์ฌานนั้น ๆ ด้วย คือ

    ผู้ได้ ปฐมฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ปฐมฌาน (มีองค์ 5 คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตา)

    ผู้ได้ ทุติยฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ทุติยฌาน (มีองค์ 4 คือ วิจาร ปีติ สุข เอกคัตตา)

    ผู้ได้ ตติยฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วยตติยฌาน (มีองค์ 3 คือ ปีติ สุข เอกคัตตา)

    ผู้ได้ จตุตถฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย จตุตถฌาน (มีองค์ 2 คือ สุข เอกคัตตา)

    ผู้ได้ ปัญจมฌาน สำเร็จมัคคผลประกอบด้วย ปัญจมฌาน (มีองค์ 2 คือ อุเบกขา เอกคัตตา)

    แม้ใน อรูปฌานทั้งหมด ก็จัดเข้าในปัญจมฌาน (คือมีองค์ 2 ได้แก่ อุเบกขา เอกคัตตา)

    http://abhidhamonline.org/aphi/p1/113.htm
     
  2. qillip

    qillip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +366
    โดยส่วนตัวผมแล้ว ก็ยังเข้าใจว่า "ต้องได้ทำฌานให้ได้ก่อนจึงจะสามารถทำวิปัสสนา" ครับ
    ยิ่งเป็นสมัยนี้ด้วยแล้ว กิเลส มีรูปแบบหลากหลายและซับซ้อนขึ้นมาก ทำให้เราหลงทางไปต่างๆนานา
    จริงอยู่ที่พระท่านสอนแนวทางใน Internet ในการปฏิบัติวิปัสสนาในสิ่งที่ควรนำพิจารณาก็จริงอยู่ ผู้ที่อ่านหรือผู้ที่ถูกสอนนั้นเมื่อนำมาคิดตามได้ก็จริง ผมไม่เถียงครับ แต่ก็ได้แค่นั้นจริงๆ คือผู้ที่นำมาปฏิบัติก็ไม่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อปฏิบัติให้สูงขึ้นต่อไปได้ยาก ถ้าจะปฎิบัติต่อไป ก็ต้องไปหาโจทย์ใหม่มานั่งวิปัสสนาอีก แล้วการปฏิบัติก็ยังไม่รู้เลยว่าถูกหรือผิด

    เพราะอะไร? จากที่ผมปฏิบัติมากับตัว มันตีกันยุ่งเหยิงไปหมด กลายเป็นเครียดแล้วไม่ได้ผล นึกได้แค่เท่าๆกับที่สอนเท่านั้นเอง เพราะกิเลสยังเกาะอยู่ เพราะจิตยังมี นิวร ก็ปฏิบัติได้เท่าที่สอน แต่จะต่อยอดให้สูงขึ้นไปนั้น วิปัสสนาให้สูงขึ้นไปก็จะหลงทางไปเสีย เหมือนเรือขาดหางเสือ กลายเป็นเอากิเลส นิวร มาปรุงแต่งเข้าเพิ่มขึ้นไปอีก

    จากที่ท่า สมถะ ผมทราบดีเลยว่าบางครั้งก็โดนหลอก หลอกตัวเอง หลงทางไปไกล กว่าจะดึงกลับมาก็ไม่รู้ไปถึงไหนแล้ว แค่สมถะ นะครับยังไม่ถึงวิปัสสนา การปฏิบัติวิปัสสนาต้องอาศัยปัญญาอย่างมาก ปัญญาเกิดมาจาก สมถะ ซึ่งเมื่อเกิดสมาธิจนได้ฌานแล้ว ดังที่ท่าบอกมานั้น ไม่มีกิเลส นิวร แน่นอนครับ
    และจากที่เคยคุยแบบปรกติกับบุคคลทั่วๆไปที่ไม่เคยปฏิบัติสมถะ คุยเรื่องนึงอยู่ดีๆก็พาออกไปเที่ยวข้ามโลกไปอีกทวีปก็มี ขนาดคุยเรื่องที่เขากำลังชอบ พักเดียวก็พาออกไปเรื่องอื่นอีก random ไปเรื่อยๆ นี่ยังไม่นับวิปัสสนาหรือคุยเรื่องธรรมเลยครับ

    การปฏิบัติสมถะภาวนา ทำให้ผมรู้จักกิเลสที่มันคอยดึงหรือชวนให้หลงทางบางทีออกจะเข้าข้างตนเองบ้างทำให้นอกลู่นอกทาง ทำให้ผมรู้จักนิวรที่มักจะทำให้ผมรำคาญจนนั่งไม่ติด ถ้าคนที่ไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ในตนเองแล้ว ไม่เคยปฏิบัติสมถะภาวนามาก่อน ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าจะไปกันยังไงต่อ จะสู้กับกิเลส นิวร ยังไง จะรู้ว่าเมื่อไหร่มันกำเริบขึ้นมา ขนาดผมกำลังปฏิบัติยังเคยหลงไปกับกิเลส นึกว่าตัวเองดีแล้ว ห้า ห้า ห้า แล้วกับคนที่ไม่รู้จักกิเลสจะไปไกลขนาดไหนคุณลองคิดดูครับ

    จริงๆก็อาจมีผู้ที่สามารถทำได้อย่างที่คุณบอก แต่ผมว่า น้อยมากๆ น้อยจนหาไม่เจอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2013
  3. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ขอแชร์จากประสบการณ์

    ทำสมถะตั้งแต่จำความได้จนถึง ม.3 จึงเกิดฌาณ 4
    เห็นจิตในจิต ตั้งแต่เกิดจนถึง ม.3 ประมาณ 3 ครั้ง(เกิดพร้อมภวังค์)
    บางครั้งสามารถนำฌาณมาใช้ในการเรียนได้ เช่น พอครูเขียนโจทย์คณิตศาสตร์
    เราแค่อ่านดูจนจบแล้วน้อมมันจะเกิดภวังค์แว็บเดียวเพียงเศษเสี้ยววินาทีก็จะได้คำตอบ
    และรู้วิธีทำด้วย ถ้าเขียนลงหน้ากระดาษต้องแตกสมการประมาณ 3 หน้ากระดาษ

    การฝึกสมาธิฝึกโดยวิธีอยู่กับปัจจุบันขณะจากการใช้ชีวิตประจำวัน และรู้ลมหายใจก่อนนอนจนหลับทุกคืน
    การฝึกสมาธิที่ชอบมากที่สุด คือ การเรียนและการอ่านหนังสือ
    การฝึกจากการอ่านหนังสือ คือ เวลาอ่านหนังสือ เอาจิตหนึ่งอ่าน เอาอีกจิตหนึ่งจำ
    คืออ่านทวนตามจิตแรกไปติดๆ ทำพร้อมกันเลย ถ้าจิตที่สองมันอ่านทวนตามได้ครบทุกคำก็ผ่าน
    ถ้าจิตที่สองมันอ่านทวนได้ไม่ครบทุกคำก็เริ่มต้นอ่านใหม่

    อิอิอิ อย่าพึ่งงงนะคะ ลองทำดูสิ เอาสัก 2 บรรทัดด้านบนนี้ก็ได้
    มันจะฝึกทั้งสติ สมาธิ ไปพร้อมกันเลย แล้วคุณจะจำได้ทุกประโยค
    และรู้ด้วยว่ามันอยู่หน้าที่เท่าไหร่ เวลาสอบก็เห็นหนังสือในจิตทุกหน้าเลย อิอิอิ

    พอจบ ม.3 มาเรียนต่อกรุงเทพ โดยความอุปการะของคนอื่น
    ตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ชีวิตเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ไม่มีความสงบสุขเหมือนอยู่กับพ่อแม่เลย
    มาที่นี่จึงต้องทำแต่วิปัสสนาทำทุกลมหายใจ
    เพราะทุกสิ่งที่กระทบล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น จนวันหนึ่งมันทนไม่ได้มันตายจากโลกนี้
    ก็มีชายหญิงนุ่งโจงกระเบนมารับขึ้นไปบนอากาศ ไปไกลมากแล้ว รู้สึกว่ายังมีสิ่งที่ต้องทำยังไม่ได้ทำ
    จึงขอเขากลับ เขาก็ปล่อยกลับมาเลยฟื้นขึ้นมาทุกข์ต่อ และเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย

    ทำวิปัสสนาอยู่ประมาณ 7 ปี จึงเกิดวิปัสสนาญาณ หลังจากนั้นก็เกิดขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
    ประมาณ 9 ครั้งทุกครั้งเกิดพร้อมภวังค์

    ไม่เคยนั่งสมาธิ มีแต่ฝึกสมาธิจากการอ่านและรู้ลมหายใจก่อนนอนทุกคืนตั้งแต่จำความได้จนปัจจุบัน

    .........

    จุดประสงค์ เพื่อให้ดูระยะเวลาขนาดเกิดฌาณที่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว
    แล้วจึงมาทำวิปัสสนา ทำทุกลมหายใจใช้เวลาประมาณ 7 ปี จึงเกิดวิปัสสนาญาณ
     
  4. teerasak9e

    teerasak9e เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +187
    ต้องแยกก่อนครับว่ากระทำสิ่งใด ซึ่งหมายถึง
    ๑.เจโตวิมุต เป็นการกระทำให้ได้ฌาณ(สัมมาสมาธิ) ก่อน คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปนาสมาธิ โดยอัปนาสมาธิ จำแนกได้เป็น ปฐมฌาณ ทุติยฌาณ ตติยฌาณ และ จตุฌาณ และรวมทั้ง อรูปฌาณทั้งสี่ อีก และเมื่อถึง ฌาณ ๘ แล้ว ให้พิจารณาความไม่เที่ยง โดยสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้น ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ก็จะเข้าสู่ วิมุตติ
    ๒.ปัญญาวิมุต เป็นการกระทำโดยให้เดินปัญญาก่อน โดยไม่สนใจในฌาณ โดยการพิจารณาลงไปที่ กาย เวทนา จิต และ ธรรม จนจิตรวมลง ซึ่งการที่จิตรวมนั้น จะไม่รู้ว่าเราได้ดำเนินผ่านฌาณใด เพียงจะรู้แต่ว่า มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นและดับลงไปเป็นธรรมดา ก็จะถึง วิมุตติ
    การจะดำเนินสายปฏิบัติ สามารถดำเนินได้ทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา และ บุคคลที่พ้นแล้ว ย่อมได้ทั้ง เจโตวิมุต กับปัญญาวิมุต พร้อม
    จึงอยากบอกว่า กิเลส เป็นแบบใด ก็ต้องสู้ให้ถูกด้วยครับ

    เจริญในธรรม
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ความเข้าใจผิด ในการ รับฟังธรรม อันเป็น อุบายธรรมจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ว่า
    " ต้องได้ทำฌานให้ได้ก่อนจึงจะสามารถทำวิปัสสนาจนบรรลุธรรมได้ "


    ก็คือ

    ผู้ฟัง ลืมไปว่า พ่อแม่ครูบาอาจารย์นั้น ท่านไม่ต้องการให้เรา สร้างกรรม
    ให้กับตัวเอง

    การที่จะ เดินทาง ไปหาพ่อแม่ครูบาอาจารย์เพื่อ กราบ ขอ กรรมฐาน สักครั้ง
    หากไปกราบโดยที่ ไม่ได้ฝึกอะไรไป ไม่เคยทำให้ราคะคลาย ไม่เคยทำให้
    ปฏิฆะคลาย แล้วจะไป รบกวนพ่อแม่ครูบาอาจารย์ นั้น เป็นเรื่อง ไร้สาระ
    และ มีโทษ เพราะ เป็นการไป ชักชวนท่านมาคลุกกับความ ฝุ้งซ่าน ของตน

    แต่ถ้า จะเดินทางไปกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพื่อขอ คำอธิบาย

    เป็นเรื่อง ปรกติที่คุณต้อง ภาวนาให้ "ราคะ และ ปฏิฆะ" ไม่ห้อมล้อมจิตให้ได้ก่อน

    อุบายที่คุณใช้ จะอะไรก็ได้ ขอให้ ราคะ กับ ปฏิฆะ ไม่กำเริบขึ้นมาเท่านั้น

    ดังนั้น อุบายที่ใช้ทำให้ ราคะ ปฏิฆะ สงบชั่วคราว คือ การทำสมาธิ ก่อนไปหา
    พ่อแม่ครูบาอาจารย์ก็เป็นเรื่องที่ ท่านสามารถถามหาจากเราก่อนได้

    อุบายที่ใช้ทำให้ ราคะ ปฏิฆะ สงบชั่วคราว คือ ปัญญาอบรมสมาธิ
    หรือ การเจริญสติ ก่อนไปหาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ก็เป็นเรื่องที่ ท่าน
    สามารถถามหาจากเราก่อนได้

    ดังนั้น อย่าเข้าใจเจตนาของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ที่ถาม บุคคลที่ลงมือปฏิบัติ
    จน ราคะ และ ปฏิฆะ อีกทั้ง นิวรณ์ รำงับมาก่อน ซึ่งนั้นก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะระบุ
    ด้วยคำอธิบายว่า " ต้องมีฌาณจิตมาก่อน "

    เมื่อประกอบจิตไม่ให้ห่างจาก ฌาณ มาก่อน แล้วไปฟังธรรมะ พ่อแม่ครูบาอาจารย์
    ย่อมให้ อุบาย เพิ่มเติมได้ รับฟังธรรมได้ หาความก้าวหน้าได้

    ตรงนี้ต้องแยกให้ออก

    ระหว่าง การแยกไปปฏิบัติส่วนตน กับ การไปกราบเพื่อขอกรรมฐาน


    การแยกไปปฏิบัติส่วนตน อันนั้น จิตจะเป็นอย่างไร ก็ต้องเริ่ม
    ด้วยอาการของจิตแบบนั้น จิตขณะนั้นมีฌาณ ก็ทำต่อไป ทำซ้ำต่อไป
    แต่ถ้า ขณะนั้นจิตมีกิเลส นิวรณ์ ก็ใช้ปัญญาวิปัสสนาอบรมก่อน ก็เป็น
    เรื่อง ปรกติของการบริหาร การภาวนา อยู่แล้ว

    ส่วนการไปกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ การที่ท่านทวงถาม การปฏิบัติ เอ็ง
    ปฏิบัติมาหรือยัง ก็เป็น สิทธิของท่านที่จะ ขอเอาคนที่จริงใจต่อธรรมปฏิบัติ เท่านั้น !!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2013
  6. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    สรุปง่ายๆในที่ผมต้องการจะสื่อก็คือ
    - การทำสมาธิให้ได้ฌานก่อนแล้วจึงทำวิปัสสนาจนเกิดวิปัสสนาญาณได้ นั้นไม่ผิด เพราะเป็นทางเลือกหนึ่งในการสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล (มีทางเลือกตั้งหลายทางดังที่พระอานนท์กล่าวไว้)

    - การเห็นว่า ต้องทำสมาธิให้ได้ฌานก่อนแล้วจึงทำวิปัสสนาจนเกิดวิปัสสนาญาณ เท่านั้น อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ

    - วิธีอื่น เช่น พิจารณาเห็นกายหรือจิตหรือขันธ์เป็นไตรลักษณ์ ด้วยจิตที่ไม่ทรงฌานก็จริง แต่จิตนั้นตั้งมั่นและเป็นกลางต่ออารมณ์ที่จิตไปรู้ นั้น เป็นวิธีที่พระอานนท์ท่านจัดไว้ว่าเป็น การทำวิปัสสนานำสมถะ

    - แม้ว่า จะไม่เคยได้ฌานมาก่อนก็ตาม แต่เวลาที่บรรลุมรรคผล ก็จะเกิดฌานในขณะที่บรรลุมรรคผลเสมอ นี่คือเหตุผลที่ในพระสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าสัมมาสมาธิ ได้แก่ ฌาน 1 ถึง 4 (ฌาน 4 ในพระสูตร มีองค์ธรรม คือ อุเบกขา และ เอกคัตตา คือ อันเดียวกับ ฌาน 5 ในอภิธรรม)

    - จริตแต่ละคนไม่เหมือนกัน สำหรับบางคนนั้น อาจจะต้องทำฌานก่อน บางคนอาจจะไม่จำเป็น ก็ได้ แต่ส่วนที่ว่า น้อยมากๆ น้อยจนหาไม่เจอ นั้นเป็นความเห็นส่วนตัว คือ อาจจะมีแต่ยังไม่เจอก็ได้ เช่นกัน คนที่ทำฌานได้ก็ไม่ได้มีเยอะจนเกลื่อนเช่นกัน นี่ก็เป็นความเห็นส่วนตัวของผม อย่าพึ่งเชื่อ ลองพิจารณาดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กรกฎาคม 2013
  7. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    อุบายหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าสอนเกี่ยวกับราคะคือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ





    ไม่จำเป็นที่จะต้อง ภาวนาให้ราคะไม่ห้อมล้อมจิตเสียก่อนเสมอไป เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนแบบนั้น ท่านสอนว่า แต่ ถ้ามันย้อมจิตแล้วให้รู้ทัน และไม่ทำผิดศีล เป็นใช้ได้ และเมื่อรู้ทัน มันก็ดับไปเอง และพิจารณาราคะ ให้เห็นถึงความเกิดดับ ก็ใช้ได้

    แต่ถ้าต้องการจะทำให้ได้ฌานก็ต้องทำให้ปราศจากราคะเสียก่อน
    เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของ นิวรณ์
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    อย่า ตัดกระแสความ อย่างคนไม่ ตัดราคะ โทษะ ก่อน สิครับ

    ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีโทษะ ก็ จะไม่ตัดทอน กระแสความที่สื่อสาร

    เวลาคุณไปกราบ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ไปส่ง การบ้าน

    คุณจะไม่ประกอบ หรือ บำเพ็ญ สมณะธรรม ก่อนเลยเหรอ

    จะเดิน ล่อนจ้อน เข้าไปหาพระ หรือไง
     
  9. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    สมณะธรรมนั้น ผมบำเพ็ญตามหลักจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นหลัก เมื่อจิตมีราคะเช่น กินอาหารที่อร่อย ผมก็รู้ทัน ได้กลิ่นหอมแล้วชอบ ก็รู้ทัน เป็นต้น สมณะธรรมอื่นๆเช่น สมถะ นั้นผมทำในรูปแบบเดินจงกรมนั่งสมาธิทุกวันเป็นปรกติ อยู่แล้ว ไม่ใช่ ถึงเวลาจะไปกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ก่อนแล้วจึงค่อยทำ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็นั่นแหละ เขาเรียกว่า หมั่นประกอบจิต ไม่ให้เหินห่างจาก ฌาณ

    แล้ว งง อะไรตรงไหน
     
  11. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คำว่าฌานคือ การที่จิตรวม มีองค์ 5 ในเบื้องต้นคือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคัตตา

    สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต

    ไม่เหมือนกัน การทำสมาธินั้น จิตอาจไม่ได้รวมเป็นฌาน ก็ได้
    แต่การที่จิตรวมเป็นฌานนั้นเป็นสมาธิอย่างแน่นอน
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กลับไปกราบพระใหม่นะ ที่ชลหรือเปล่า

    กราบแล้วถามท่านดีๆว่า

    ฌาณที่เป็นลักขณู ลักขณะ นี่เป็น ฌาณ หรือยัง ครับ

    เราไม่ได้ มุ่งพูดว่า ไอ้นั่น ไอ้นี่ เที่ยง

    พระพุทธศาสนา อาศัยความไม่เที่ยง เพื่อความหลุดพ้น

    งง อยู่อีกไหม
     
  13. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ หรือ เอกคตาจิต หรือ จิตเป็นหนึ่ง หรือ จิตนิ่งสงบ แล้วแต่จะเรียก
    นั้น ย่อมทำให้ จิตรู้เห็นอะไรก็ตาม แม่นยำ ชัดเจน อะไรเกิดขึ้นที่จิตก็สังเกตุเห็นการเกิด ดับ ได้ชัดเจน
    การทำจิตให้เป็นหนึ่ง หรือ ทำให้จิตเป็นสมาธิที่ถูกต้อง คือ ทำฌาณ องค์พระศาสดาเรียกว่า สัมมาสมาธิ
    การทำสมาธิโดยทั่วไปนั้น หากไม่เจริญไปจนสังเกตุรู้จักฌาณ จะไม่สามารถ เจริญมหาสติในส่วนของ จิตตานุปัสสนา ได้ดีพอ เพราะ จิตเป็นสมาธิไม่รู้ จิตเจือด้วยนิวรณ์ไม่รู้
    และตัวจิตนี้เป็นตัวเกาะภพได้แนบสนิทมาก จึงควร เจริญสติและสมาธิให้ชัด แล้วใช้ผลแห่งสมาธินั้น ไปเจริญมหาสติ อบรมคู่กันไป จะอะไรก่อนอะไรหลัง ไม่สำคัญ สำคัญว่า ถ้าเจริญมหาสติ มหาปัญญาถูกต้องแล้ว จะได้ฌาณ ได้ไม่ยาก และต้องได้ ต้องผ่าน เพราะเป็นตัวมรรค ตัวผล
     
  14. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ถูกต้องครับผมก็บรรลุธรรมโดยไม่ได้ฌานมาก่อนครับ
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......................โสดาบัน?
     
  16. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    สิ่งที่ผมพูดถึงว่า
    - ฌานคือ การที่จิตรวม มีองค์ 5 ในเบื้องต้นคือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคัตตา
    - สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต

    นี่ ยึดตามความหมายของพระพุทธพจน์ในพระสูตรและพระอภิธรรม

    แต่สำหรับ อารัมนูปณิชฌาน กับ ลักขณูปณิชฌาน ถ้าตามอรรถกถาวินัยปิฎก

    - อารัมนูปณิชฌาน หมายถึง การเพ่งอารมณ์เดียวจนได้ฌาน
    - ลักขณูปณิชฌาน หมายถึง การเพ่งลักษณะไตรลักษณ์ของอารมณ์ต่างๆจนได้ฌาน ซึ่งก็คือการทำวิปัสสนา และมรรคผล นั่นเอง

    เวลาเกิดมรรคผลจิตต้องเป็นฌานเสมอ ซึ่งฌานที่เกิดขณะมรรคผลนี่เรียกว่า ลักขณูปณิชฌาน

    การดูจิตนั้นแม้ในขั้นเริ่มแรกจะยังไม่ได้ฌานจากการดูจิตแต่เป็นการฝึกเพื่อให้บรรลุมรรคผลได้ และเมื่อถึงเวลาที่บรรลุมรรคผลนั้นก็จะได้ฌานเอง แต่วินาทีที่รู้ทันนั่นแหละ จะเกิดจิตที่เป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิชั่วขณะที่แหละจะทำให้ ให้ ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่านหายวับไปทันที แต่สมาธิที่เกิดนั้น ยังไม่ได้ระดับฌานแค่นั้นเอง

    เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะได้ฌานจิตอันเป็นอารัมนูฯ นั้น
    เมื่อเพ่งอารมณ์ แรกๆ เช่น พุทโธ ลมหายใจ ก็ยังไม่ได้ฌานเหมือนกัน ต้องทำไปสักพักจนจิตเป็นรวมเข้าเป็นสมาธิขั้นอัปปนา มีองค์ 5 เป็นอย่างน้อยจึงเรียกว่าฌาน ที่เป็นอารัมณูฯ แม้ว่าจิตยังไม่รวมเป็นฌาน แต่ก็เรียกได้ว่าเป็นสมาธิตั้งแต่เริ่มบริกรรมแล้ว

    การดูจิตในส่วนแรกๆ นั้น ไม่จำเป็นต้องทำ ฌานจิตให้เกิดขึ้นจาก อารัมนูฯ เสมอไป เพราะ ถ้าทำแล้ว จิตจะสงบ ราคะ โทสะ จะเบาบางมากจนแทบไม่เห็น ทำให้ไม่สามารถดูจิตในส่วนที่เป็นราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่านได้ดี เนื่องจากจิตสงบแล้วมันก็ไม่มีพวกนี้ให้ดู (แต่ก็ทำได้ในส่วน ที่รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ จิตเป็นมหัคตะ ฯลฯ)

    ผมอ้างอิงตามพระพุทธพจน์ และอรรถกถาจารย์ ท่านสอนไว้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปกราบถามพระที่ไหนใหม่ ตามที่คุณแนะนำ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กรกฎาคม 2013
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เฮ้อ

    อุตสาห์ช่วย ให้กล่าวอะไร ไม่เป็นอุปสรรคแก่ตนภายหลัง

    ก็ต้องปล่อยไปก่อนหละเนาะ

    แต่เชื่อสิ ที่กล่าวมานั่นหนะ แค่ ก๊อปปี้คำครูมาบางส่วน

    ยังมีอีกหลายจุดที่ พูดไม่ตรง ซึ่งจะทำให้ คนเขาเพ่งข้อผิด
    ทำความลำบากให้หมู่คณะ ไม่จบไม่สิ้น

    ฌาณ ก็คือ ฌาณ ราคะมันหาย มันหายเพราะอะไร ก็เพราะ จิตประกอบด้วยองค์ฌาณ
    โทษะหาย หายเพราะอะไร ก็เพราะ จิตประกอบด้วยองค์ฌาณ วิธีเข้าคนละทาง แต่
    องค์ฌาณมันมีเหมือนกัน ไม่ได้ต่างกันหลอก

    ไอ้ที่คุณ ยัง งง งวย สับสน คือ คำว่า สมาบัติ อยู่เป็นสมาบัติ เข้าออกสมาบัติ

    ดังนั้น ที่อ้างว่า เอามาจากพุทธพจน์ ...ก็ยังเอามาไม่หมด เอามาครึ่งกลางๆ
    งูๆ ปลาๆ สร้างความลำบากให้หมู่คณะครอบครัวกรรมฐานเปล่าๆ

    ไปภาวนาให้มันมากๆก่อน จะได้เลิก จับคำมากระเดียด
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ธรรมะ เขาให้กล่าว ตามเหตุ

    ไม่ใช่ ไม่มีเหตุ ก็โพล่งออกมา

    ถ้าคุณ ยกประเด็นตามหัวข้อ โดยที่ มีคนมาถามว่า ผมทำฌาณไม่ได้สักที
    ผมจะได้มรรคผลไหมครับ

    เออ ถ้ามีคนมาถามแบบนี้ แล้วคุณเข้ามา ชี้ ก็จะไม่ว่า สักคำ
     
  19. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ผิดตรงไหนก็ว่ามาเป็นข้อๆ เลย สิ ฌาน คือ ภาวะจิตรวมมีองค์ 5 เป็นเบื้องต้น ใช่ผมก๊อบปี้พระพุทธพจน์มา ผิดตรงไหน
    ไอ้พูดว่าผิดๆ ใครก็พูดได้ แต่ถ้าไม่มีหลักฐาน ก็อย่างมามั่วซั่วแถวนี้เลย โมฆะบุรุษ นิวรณ์

    ถ้าจะเอามาให้หมด ก็ไปเอาพระไตรปิฎกมาทั้งตู้สิ
    ครูบาอาจารย์กรรมฐาน ท่านก็ไม่เคยเอาพระไตรปิฎกทั้งหมดมาพูดในครั้งเดียว ถ้าไม่เอามาหมด 45 เล่มพระไตรปิฎก แล้วถูกหาว่า งูๆปลาๆ ครึ่งๆ กลางๆ ถ้าอย่างนั้น พระทุกรูปในโลก หรือ คนทุกคนในโลก รวมถึง คุณนิวรณ์ก็ งูๆปลาๆ และ สร้างความลำบากให้หมู่คณะครอบครัวกรรมฐาน เช่นกันแหละ

    ผมโพสต์เพื่อแบ่งปันความรู้จากพระไตรปิฎก ทั้งพระสูตรและพระอภิธรรม เป็นธรรมทาน ไม่จำเป็นต้องมีคนถามก่อน

    ถ้าต้องมีการถามก่อนจึงจะบอกอะไรได้ ถ้าอย่างนั้น เช่นพระพุทธเจ้าแสดงธรรมจักรฯ ให้ปัญจวัคคีย์ต้องให้ปัญจวัคคีย์ถามก่อนไหม ลองไปอ่านดู

    ผมจะไม่สนทนากับโมฆะบุรุษเช่น คุณนิวรณ์ในกระทู้นี้อีก ถ้ายังทำตัวขัดขวาง กุศลธรรม ดังความหมายของชื่อ นิวรณ์ ไม่อยู่กับร่องกับรอย หาแก่นสารสาระมิได้ เอาแค่บอกว่าให้ชัดๆว่า ผิดตรงไหน ยังพูดจาไม่รู้เรื่องเลย (ถ้าผิดก็หมายความว่า พระอานนท์ กับ พระอภิธรรมผิดหรือ?)

    ดังนั้นจึงไม่เกิดประโยชน์อะไรที่จะสนทนากับโมฆบุรุษเช่นนิวรณ์ ก็คงต้องปล่อยให้เป็นมิจฉาทิฏฐิต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2013
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็จะให้ บอกตรงๆ ได้ไงหละคร้าบ ท่าน ดร. ที่เคารพ

    ก็ท่านมี ดีกรีเป็น ดร. อีกทั้งเป็น ติวเตอร์ หากเฉลยรายละเอียด
    หมด ท่านก็ปรับคำมาโต้ได้ สบายใจสิ

    แต่ถ้า กั๊กเอาไว้ จำใจกั๊กเอาไว้ หากท่านมีความเคารพในธรรม

    ในกรรมฐาน ท่านจะไม่มาถามผมหรอก แต่ท่านจะไป ภาวนาให้มัน
    แน่นเข้ามา เฉียบคมเข้ามา สามารถอ้างได้ทันที ไม่ต้อง ยกตู้ มา
    อ้างว่ายกมาไม่ไหว

    หากท่านปฏิบัติถึงจุด ท่านก็ทราบอยู่แล้วหละครับว่า ท่านสามารถตอบ
    คำถามได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องอึดอัดใจ กับการตกเป็น ทาส ของ คำพูด

    หรือถ้าแจ่มๆ ก็กล่าวไปแล้ว หากมีคนเขาถาม แล้ว ท่านก็มาตอบ แค่
    นี้ก็ไม่มีใครว่าท่านได้ว่า กล่าวไม่ถูก กาล ไม่ถูกงาน

    เพราะ เวลามีคนมาถาม ใครปรุงยาอะไรได้ ก็ว่ากันไป คนรับยา
    เขาพิจารณาของเขาเองแหละ หาก เขาถามเพื่อไปปฏิบัติ

    กรณีถามเพื่อเป็นตรรก ยกเว้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...