ถามเป้าหมายของการนั่งสมาธิ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หัดนั่ง, 4 มิถุนายน 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มี.......

    ที่พระพุทธเจ้าอุทานนั้นเพราะเห็นว่า อาจารย์ทั้ง ๒ เข้าถึงความเสื่อมใหญ่
    คือ อายุในอรูปพรหมที่อาจารย์ทั้ง ๒ ไปเกิดนั้น มีอายุนานถึง ๘๔.๐๐๐ มหากัปป์
    และพระพุทธเจ้าที่จะมาอุบัติขึ้นในโลกในกาลข้างหน้า จะไปเทศนาโปรดก็ไม่ได้

    เพราะอาจารย์ทั้ง ๒ ไม่มีตา ไม่มีหู ที่จะฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้ แม้หมดอายุ ๘๔.๐๐๐ มหากัปป์
    ก็ต้องกับมาเกิดในมนุษย์หรือเทวดาอีก และในขณะที่ลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดานั้น
    ก็ไม่แน่ว่าจะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นหรือไม่ โดยนิสัยเดิมๆที่เคยติดตัวมา
    ก็อาจจะเจริญฌานกลับไปที่เดิมอีก และยังมีความเข้าใจในความเห็นผิดว่า ภพนั้นเป็นภพที่สุดแห่งพระนิพพาน
    ในเมื่อเขามีความเห็นผิดอยู่เช่นนั้นเขาอาจจะตกไปในอบายภูมิก็เป็นได้

    นี่แหละเหตุที่พระพุทธองค์ทรงอุทาน อาจารย์ของตนเป็นผู้เข้าถึงความเสื่อมใหญ่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2013
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน

    [​IMG]

    [๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ
    ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ
    สัมมาสังกัปปะ ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอ
    เหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ
    ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มี
    พอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ
    สัมมาวิมุตติก็มีพอเหมาะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะ
    ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐.


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]




    สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?

    ...สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรสเริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นแหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ...

    สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔


    ที่มา พระไตรปิฏก ฉบับ ปฏิบัติ โดย ธรรมรักษา.
    �����ûԮ� ��Ѻ��Ժѵ� (ʵԻѯ�ҹ�ٵ�)

     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ก็นั่นไง ผมก็เลยถามนี่แหละ ว่าสมัยอาฬารดาบส กับ อุทกดาบส เอาสัมมาทิฏฐิมาจากไหน ใครเป็นผู้รู้แล้วสอน?

    แล้วถ้าไม่มีสัมมาทิฎฐิ เพราะพระพุทธองค์ยังไม่ตรัสรู้
    เมื่อไม่มีเหตุแห่งการเกิดของสัมมาสมาธิ

    แล้วฌานของอาฬารดาบส กับ อุทกดาบส เป็นสัมมาสมาธิได้ยังไง?
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔
    (ข้อ ๘ ในมรรค)​

    มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น
    (ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๑๐)​

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ก็นั่นสิครับ นี่ผมกำลังจะถามคุณเหมือนกันว่า ทำไมคุณถึงคิดว่าอาจารย์ของพระพุทธเจ้าท่านมีสัมมาสมาธิ...นี่ผมยังไม่ได้พูดสักคำว่าอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านมีสัมมาสมาธิ ถ้าท่านมีก็คงไม่จำเป็นต้องมีพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านคงเป็นพระปัจเจกพุทธ เข้าพระนิพพานไปแล้ว....ท่านจะไปอยู่ทำไมอรูปพรหม.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อ่อ ครับ

    งั้นไม่เป็นไร ถามคนอื่นในกระทู้นี้แทนแล้วกัน ในคำถามเดียวกันนั่นแหละ
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อีกอย่าง อรูปฌานนี่ที่พูดนี่ ถ้านับเขาอยู่ใน ฌาน ๘ เขาไม่นับฌาน ๔ นะ.....

    เหมือนกำลังพูดคนละตัวกัน.....
     
  9. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ตรงนี้เห็นด้วย ต้องเริ่มจากมีความเห็นที่ถูกต้อง คือ มีสัมมาทิฏฐิที่สาสวะนั้นก่อน
    เห็นความน่าเบื่อหน่ายในสังขารรูปนาม รู้จักทุกข์ เพื่อจะออกจากภพ
    จึงพากเพียรเจริญสติ สมาธิ เพื่อรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ จนเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิในโลกกุตระ

    จึงขออนุญาตยกบทความ มาบางส่วนของ ป๋าภูต ไม่รู้ว่าแกต้องการสื่อถึงอะไร
    หากป๋าภูตผ่านมาเจอ คงอธิบายเพิ่มเติม เพราะผู้ปฏิบัติที่เราท่าน เชื่อว่าท่านสำเร็จมรรคผล
    นั่นเพราะท่านมีสัมมาทิฏฐิก่อน รู้สิ่งใดอกุศลควรละ รู้สิ่งใดกุศลควรเจริญ เป็นต้น
    เห็นทางไปสู่อริยมรรค อริยผล ออกจากทุกข์วัฏฏะ

    แต่...


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2013
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ต้องถาม ลุงหมาน ท่านหละ ท่านเป็นผู้รู้เชี่ยวชาญพระอภิธรรม ท่านบอกว่ามี ท่านนับอย่างไร เรื่องนี้คงต้องถามท่าน.....

    ส่วนไอ่ที่ผมเข้าใจนี่นะ (ผิดถูกไม่รู้) ผมคิดว่าเป็นตัวเดียวกัน คือฌาน ๔ นี่ตัวเดียวกัน ของอาจารย์ทั้งสองท่านก็สภาวะเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่าท่านไม่ได้หยุดที่ ฌาน ๔ ท่านตีเข้า ฌาน ๘ ไม่พอจุดสำคัญท่านไม่พิจารณาธรรม ตามภาษาพุทธที่เรียกกันว่าวิปัสสนานั่นหละ ท่านไม่รู้จักบทวิปัสสนา ท่านคิดว่านั่นเป็นที่สุดของท่านแล้ว ท่านก็กอดของท่านไว้....ท่านเลยเข้าไปอยู่ที่นั่น ก็เพราะว่าไม่รู้วิปัสสนา ไม่พ้นทุกข์ อันนี้คือตามที่ผมเข้าใจ.....

    ไอ่สมาธิพราหมณ์นี่ผมไม่เข้าใจ เพราะผมก็ไม่ได้เรียนมาแบบพราหมณ์ ไม่เคยสัมผัส ผมเรียนแบบพุทธ เอาแบบวิสุทธิมรรค ท่านก็มีสอบสภาวะอยู่ เห็นในพระไตรท่านก็ไม่ได้พูดอะไร ท่านว่า ฌาน ๔ ก็เท่านั้น มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ ก็เป็นธรรมตรงข้ามกัน(แบบที่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ให้ความหมายไว้)
    ......

    ก็เห็นคัมภีร์ชั้นหลังที่ศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์พูดกัน อารัมมณูปนิชฌาน ลักขณูปนิชฌาน อะไรนั่นก็เห็นว่ามาแต่คัมภีร์ชั้นหลังทั้งนั้น หาในบาลีก็ไม่มี ...เรื่องนี้คงต้องถามคณะศิษย์ท่าน ผมก็เอาพระไตรฯ(บาลี) เป็นหลัก....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    หลวงพ่อพุธตอบปัญหาธรรม

    คำถาม : มิจฉาสมาธิ ถ้าทำแล้วจะเสื่อมบ้างไหม เช่น พวกคุณ พวกไสย เป็นต้น

    หลวงพ่อพุธตอบ : พวกคุณ พวกไสย ฯลฯ ผู้ฝึกยึดถือครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้เป็นสำคัญ ตราบใดที่เขายังเคารพนับถือครูบาอาจารย์ ผู้สอนวิชาให้แก่เขาไม่หมิ่นประมาท และไม่ประมาทวิชาความรู้ของตัวเอง แม้จะเป็นเรื่องมิจฉาสมาธิผิดศีลธรรม แต่ก็ยังใช้การได้ และวิชาอันนี้ก็ย่อมมีความเสื่อมความเจริญเป็นครั้งเป็นคราว ถ้าจะเทียบกับสมาบัติทางศาสนาพราหมณ์ เขาถือการบำเพ็ญสมาบัติ ๘ เป็นหลักสำคัญในศาสนาของพราหมณ์ ผู้ที่บำเพ็ญเพียรบรรลุถึงสมาบัติ ๘ แล้ว ยังมีเสื่อมมีเจริญ ถ้าไปทำผิดอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ฌานก็เสื่อม ทางไสยศาสตร์ก็เหมือนกัน ถ้าไปละเมิดครูหรือหมิ่นประมาทครู หรือไปละเมิดสิ่งที่ครูเขาห้าม วิชาก็เสื่อมลงเป็นครั้งเป็นคราวในเมื่อเขาขอขมาและยกเครื่องสักการะบูชาขึ้นมาใหม่ วิชาก็กลับมามีประสิทธิภาพได้อีก ทีนี้เรื่องสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนานั้น เราถือเอากิเลสของเราเป็นเกณฑ์ ทีนี้เรามีขอบเขตที่จะใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์ อิทธิฤทธิ์ซึ่งเกิดจากสมาธิถ้าเราจะใช้อะไรให้เกิดประโยชน์ เราเอาศีล ๕ ข้อเป็นเครื่องวัด ถ้าการใช้พลังจิตในทางที่ไม่ชอบธรรม เช่น อย่างพระทำสมาธิเก่งแล้ว ใช้พลังจิตไปบังคับจิตของพวกเศรษฐีให้เอาเงินมาให้สร้างวัด อันนี้เป็นมิจฉาสมาธิ สิ่งใดที่เราใช้อำนาจทางใดทางหนึ่งไปกดขี่ข่มเหงน้ำใจคนซึ่งเขาไม่เกิดศรัทธาโดยเหตุผล เป็นเรื่องการใช้สมาธิในทางที่ผิดเป็นมิจฉาสมาธิทั้งนั้น

    สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้ามีแต่มุ่งตรงต่อการฝึกฝนอบรมจิตใจให้เกิดความรู้ตามสายแห่งวิชาการในแง่ความรู้ยิ่งเห็นจริง เพื่อมุ่งตรงต่อความปฏิบัติชอบ เพื่อกำจัดกิเลส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานเท่านั้นส่วนอื่น ๆ นั้นเป็นผลพลอยได้ วันหนึ่งอยู่ที่วัดมีเรื่องขำขัน มีโยมคนหนึ่งไปถามว่า อ่านประวัติหลวงพ่อแล้วว่าหลวงพ่อหัดภาวนามาตั้งแต่อายุ ๑๕ - ๑๖ ปี ภาวนามานานแล้วหลวงพ่อแสดงฤทธิ์ได้ไหม หลวงพ่อก็บอกว่าแสดงได้ เอ้าถ้าแสดงได้ลองแสดงฤทธิ์ให้ดูซิ ก็แสดงแล้วไง ไหน……ไม่เห็นได้แสดง อาคารหลังนี้เกิดขึ้นมาด้วยบุญฤทธิ์ หลวงพ่อแสดงบุญฤทธิ์ เพราะหลวงพ่อมีคุณงามความดีเป็นที่เลื่อมใสของปวงชน เขาจึงมาสร้างกุฎิให้อยู่ อันนี้เรียกว่าบุญฤทธิ์ ฤทธิ์ตามความหมายของคุณเช่น ดำดินบินบนเหาะเหินเดินอากาศ มันจะเกิดประโยชน์อะไรสำหรับคุณ พระเทวทัตเก่งแสนเก่ง เข้าฌานแล้วอธิษฐานฤทธิ์ เอาเขาพระสุเมรุติดใต้ฝ่าพระบาท เหาะไปขู่พระเจ้าอชาตศัตรูให้ยอมจำนน จนกระทั่งปลงพระชนม์พระราชบิดาจนสิ้นพระชนม์ ผลลัพธ์ก็คือว่าลงนรก เทวทัตผู้เป็นอาจารย์ก็ถูกธรณีสูบที่ซึ่งธรณีสูบพระเทวทัต หลวงพ่อยังได้ไปดูเลย ทีนี้สิ่งอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในวัดนี้ทั้งหมดก็เกิดขึ้นด้วยบุญฤทธิ์ อย่างคุณถ้าสามารถที่จะสร้างบ้านสร้างช่องอยู่ได้เอง โดยลำพังตัวเองนั่นแหละฤทธิ์ของคุณ คุณแสดงฤทธิ์ได้แล้ว ไม่เฉพาะแต่หลวงพ่อ คุณก็แสดงฤทธิ์ได้ บางสิ่งบางอย่างคุณแสดงได้เก่งกว่าอาตมาเสียอีก คุณแสดงฤทธิ์สร้างคนก็ได้ อาตมาสร้างคนไม่เป็น…….

    ที่มา หลวงพ่อพุธตอบปัญหาธรรมะ
     
  12. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ส่วนตรงนี้ หากผู้ทำฌาน4 ไม่ได้ ทำได้เพียงแค่ฌาน1 หรือฌาน2 หรือฌาน3

    หากคุณภานุเดช ไปเจออีกพระสูตรหนึ่ง คือ ฌานสูตร

    คุณภานุเดช จะเข้าใจว่าอย่างไร ว่า ฌาน1 หรือ2 หรือ3 ซึ่งไม่ใช่ฌาน4 และไม่ใช่สัมมาสมาธิอย่างที่คุณภานุเดชเข้าใจ

    เหตุใดพระศาสดาจึงตรัสว่า


    และแต่ยังมีสัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่ได้ฌาน4 คือ เห็นว่ามีจิตแล้วเป็นทุกข์ เห็นโทษในการมีจิต คืออสัญญีสัตว์ จึงอุบัติขึ้นเพียงรูป

    ทีนี้ จึงสร้างความฉงนในฐานะผู้ศึกษา กับในเทศนาธรรมครูบาอาจารย์ที่เชื่อว่าท่านได้มรรคผล
    ท่านเห็น ในลักษณะทำนองว่า เมื่อมีจิตก็ย่อมมีภพ เมื่อพบจิตให้ทำลายจิต หรือพบผู้รู้ทำลายผู้รู้

    คำถามใน 2 ช้อย ดังกล่าว ท่านจะตอบกันว่าอย่างไร
    หากไม่ตอบเสียก่อนว่า "ปฏิบัติเองรู้เองเห็นเอง"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มิถุนายน 2013
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ขอบคุณครับสำหรับการอธิบายนะ ไอ่เรื่องใช้ปฐมฌานบรรลุธรรมนี่ผมเคยศึกษาเจอมาเหมือนกัน ก็เห็นว่าพระอรหันต์แบบสุขวิปัสโก ท่านสามารถใช้สมาธิชั้นนี้บรรลุธรรมได้ อันนี้ผมทราบมาเหมือนกัน ....แต่ผม(ในส่วนตัวผมนะ)ผมไม่ได้ยึดแบบนี้เป็นแบบการปฏิบัติ ผมตัดเอาในสติปัฏฐานสูตร ตามที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้ชัดเจนเป็นตัวตัดไว้ก่อนจะดีกว่า เพราะส่วนตัวคิดว่า ฌาน ๔ ไม่ใช่ของเกินวิสัยที่จะทำได้สำหรับผู้มีความเพียร.....

    อย่างไรผมก็เห็นด้วยนะครับกับคำท้ายที่คุณกล่าวถึง ปฏิบัติให้เข้าถึงเองจะดีที่สุด....ยินดีที่ได้เสวนาธรรมครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  14. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสถึงผล/อานิสงส์ที่พึงหวังจากการฝึกสมาธิ มี 4 ประการ
    1. เป็นไปเพื่อญาณทัศนะ
    (เช่น ทิพยจักษุ)
    2. เป็นไปเพื่อความสุขในปัจจุบัน (สมาธิตั้งแต่ปฐมญานขึ้นไป สามารถระงับทุกขเวทนาทุกชนิดได้ด้วยความสุขจากญาน)
    3. เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
    4. เป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลส

    จิตเป็นสิ่งที่บังคับ/ควบคุม/ฝึกฝนได้ครับ
    ไม่ต้องถึงระดับพระอรหันต์ คนธรรมดาก็ควบคุมจิตได้ในระดับหนึ่ง

    แต่พระอรหันต์สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์
    ผมเคยอ่านเจอว่า พระพุทธเจ้าตรัสประมาณว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต คือ เมื่อประสงค์จะตรึก/พิจารณาสิ่งใดก็ตรึกสิ่งนั้น เมื่อไม่ประสงค์จะตรึกสิ่งใดก็ไม่มีความตรึกถึงสิ่งนั้น

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  15. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ขอ แจมด้วย...........

    เรื่องสมาธิผม เคยกล่าวไว้ ตามที่ได้ฟังมา จากหลวงพ่อ เทียน...หลวงพ่อ ท่านกล่าวว่า..สมถะ และ วิปัสสนา เป็น เพื่อนกัน แต่ไป ด้วยกันไม่ได้...ซึ่งผม ็ เกิด จินตนาการเองว่า...อาการ แห่งความสงบที่เกิดจากการปฎิบัติ แบบสมถะ และ แบบวิปัสสนา นั้น มีอาการ เหมือนกัน คือ ตั้งมั่นสงบ ..วิเวก แต่.................

    ในแบบสมถะนั้น จะมีการคลายตัว ขององค์คุณ แห่งสมาธิได้ ต้องมีการดำเนิน การภาวนาไม่หยุดหย่อน...เมื่อได้ถึงที่สุดแห่งรูปฌาณ แล้ว หาก ยังเคร่งฝึกหนักต่อไป จิตจะเข้าสู่อรูปฌาณ มีที่สุด ถึง ไร้รูป เหลือ แต่ จิตล้วนๆ........

    ส่วน วิปัสสนา นั้นเกิดได้ด้วยการ เจริญสติ จิต ที่สงบลงนั้รนเกิดจาก การเห็นความ จริง ของรูป และ นาม ตามความเป็นจริง ..จิต เห็น สภาวะ แห่งไตรลักษณ์ จิต จะสดุดเองว่า สรรพสิ่งมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ และ มัน เป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ จิต มันสงบเอง ไม่มีการน้อมนำ ไม่มีการเพ่ง จิต ยอมเอง จิตวางเอง ..แบบนี้ คือ สัมมาสมาธิ

    แต่ สมถะ กรรมฐานนั้น มีการน้อมจิต มีการเพ่งจิต มีการชักจูงจิต ให้เห็น แค่อารมณ์เดียว และใช้การ จดจ่อ จนจิต นิ่งไม่ไหวติง อาการ ของจิต จึงสงบแบบ มี อามิส..เคลือบ

    ไร้ ปัญญา...เพราะ สมถะ ไม่เห็นสัจจะ ไม่เห็น รูป นาม ตามความจริง....
     
  16. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ผม ไม่กล้า ที่จะกล่าว ว่า..สมถะ กรรมฐาน พาให้ได้ มิจฉาสมาธิ...
    แต่ มีความจริงอยู่อย่างนึง คือ สมาธิจาก การทำสมถะ..ไม่มีวันพาให้พ้นทุกขืได้ หาก
    ยังฝืนที่จะทำ ไปเรื่อยๆ โดยไม่ หัด เจริญสติ ..ก็ไม่มีวัน ที่จะสัมผัส สัมมา สมาธิเลย

    ฌาณจิต..ที่ ฝึกจน นิ่งดิ่งลงลึก ไม่อาจใช้มา ดู รูป และ นา ให้เห็นความจริงได้ เพราะ จิต ที่ได้ ฌาณลึกแล้ว จะ ทิ้งการกระทบนอกๆออกหมด เหมือนคนเบลอๆ เหมืนคน ปิด หู ปิดตาตนเอง ดังนั้น ใครก็ ตาม ที่ได้ ฌาณจิต ลึกๆแล้ว การจะย้อนกลับมาเจริญสติ ได้ ไม่ใช่เรื่อง ง่าย....เมื่อพระพุทธองค์ ทรงสำเร็จ พระโพธิธรรม แล้ว ท่าน รำพึง ถึง อาฬารดาบส และ อุทกดาบสก่อนใคร..เพื่อจะไป โปรด แต่ ท่านทั้ง 2 ก้ เสียชีวิตไปก่อน..พระพุทธองค์จึงอุทานเช่นนั้น เพราะ ดาบส ทั้งท 2 ไม่มีใครจะสามารถไป แก้ กรรมฐานให้ท่านได้ มีเพียง พระพุทธศาสดาเท่านั้น...

    และ อีกอย่าง ดาบส ทั้ง 2 มีความคุ้นเคย กัยสภาวะแห่ง จิตสงบดีกว่าใคร หาก ได้พระพุทธองคื ชี้นำ ย่อมเข้าถึง วิมุตติ ธรรมแท้ๆได้ง่ายกว่าคนอื่น เพราะ หาก ท่านทั้ง 2 ได้รับการแก้กรรมฐานจากพระพะุทธองคื และ ปฎิบัติตาม คำสอน แล้ว เมื่อปฎิบัติ ถุกทาง จิตจะดิ่งตั้งมั่นและ สามารถปล่อยวาง อุปาทานขันธ์ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เร็วกว่า คนทั่วไป

    สมาธิ...หาก จะหา สัมมาสมาธิ...มีอย่างเดียว คือ สมาธิที่เกิด จาก การวางลงเองของจิต อันเกิดจากการ รู้ รูป และ นาม ตามความเป็นจริงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  17. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    กระทู้ ถามว่า เป้าหมายของการนั่งสมาธิ.....

    ผม ขอ อ้างอิง จากที่ผมเคยฟังมา..จาก เสียงของ หลวงปู่เทสภ์ ท่านเคยกล่าวไว้ว่า

    การ นั่งสมาธินั้น มีจุดประสงค์ คือ การ หาจิต...
    ****************************************************

    ผม ฟังแล้ว ก็ นำมาพิจารณา..ก็ ยอมรับว่าเป็นจริงตามมนั้น เพราะเมื่อ นั่งสมาธิผ่านไป จนจิตสงบลงแล้ว ความ เด่นชัดในจิต จะพาให้เห็น จิตได้ และ เมื่อเห็นจิตได้ ก็ย่อมเห็น ความเกิด และ ดับไป ของจิต ว่า มีการเกิดๆ และ ดับอยู่ตลอดเวลา เมื่อ เห็นคงวามเกิดดับของจิตได้ตลอดเวลา ตัวจิตเองย่อมรู้ว่า แท้จริง ตัวจิตเอง นี้ มันเป็น อนิจจัง และ เป็นอนัตตาด่้วย

    การนั่งสมาธิ ที่ถุกต้องนั้น มีใน สติปัฎฐาน 4 หมวด กายานุปัสสนา บรรพพะ ที่ 1 เรื่อง อาณาปาณสติ ซึ่ง หาก ใครปฎิบัติ ตาม อาณาปาณสติแท้ๆ ที่พระพุทธองคื ทรงสอนไว้ จะเห็นความแตกต่าง แน่นอน จาก สำนักต่างๆ ที่ให้บริกรรม กำหนด ลม ่ี่เข้าออก จากจมูก แล้วมีคำกำกับตามด้วย..ซึ่ง มีสอนมากมาย แล้วแต่ สำนัก...

    การ นั่งภาวนา ด้วยอาณาปาณสติ หาก จะทำจริงๆ พึงเอา ตาม ตำรา สติปัฎฐาน เถิด
     
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ยินดีที่ได้ร่วมแบ่งปันนะครับ.....อันนี้ผมไม่ได้กล่าวว่าหลวงพ่อเทียนท่านกล่าวผิดนะ อาจเป็นเพราะว่าผมไม่เข้าใจในความหมายของท่านหรือเปล่าก็ไม่ทราบ........

    เอาเป็นว่าในเรื่องสมถะ และ วิปัสสนานี่ ผมเคยสนทนาในกระทู้ก่อนๆ....เคยขึ้นข้อมูลไว้ แต่รู้สึกว่ามันจะตรงกันข้ามกันนะ ลองศึกษาหรือจะลองสืบค้นดูก็ได้นะครับ



    [​IMG]



    สมถะ กับ วิปัสสนา.

    ยกจาก.

    [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

    เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


    ***************

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า
    “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

    ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)


    *************


    จากพระสูตรและพระอานนท์ได้กล่าวเอาไว้.....ในเรื่องของสมถะต้องคู่เคียงกันไปนะครับ......ไม่ได้มีการแยกกันว่าฝึกแต่สมถะหรือฝึกแต่วิปัสสนา......ดังที่หลายท่านเข้าใจกันในปัจจุบัน........อาจกล่าวได้ว่าจริงๆแล้วสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันครับ........


    ;42<!-- google_ad_section_end -->


    นิพพานนัง ปรมังสุขขัง.........นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2013
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    วิธีสร้างบุญบารมี


    [​IMG]



    พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่19 วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร



    ภาวนา



    การเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น
    มี ๒อย่างคือ"สมถภาวนา (การทำสมาธิ)"และ"วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)"แยกอธิบายดังนี้ คือ
    ๑.สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
    สมถภาวนาได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิหรือเป็นฌานซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่น
    วิธีภาวนานั้นมีมากมายหลายร้อยชนิดซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า"กรรมฐาน ๔๐"

    ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างอบรมมาแต่ในอดีตชาติ
    เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใดจิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่น ๆและการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย

    แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อนคือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดปละด่างพร้อยจึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้หากว่าศีลยังไม่มั่นคงย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยากเพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน(เป็นกำลัง)ให้เกิดสมาธิขึ้น

    อานิสงส์ของสมาธินั้นมีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้


    ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปีก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีกช้างกระดิกหู"


    คำว่า"จิตสงบ"ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า"ขนิกสมาธิ"คือสมาธิเล็ก ๆน้อย ๆสมาธิแบบเด็กๆที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน

    แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้โดยหากผู้ใดทรงจิตอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้นอานิสงส์นี้จะส่งผลให้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกาหากจิตยึดไตรสรณคมน์(มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วยก็เป็นเทวดาชั้นที่ ๒ คือ ดาวดึงส์)

    สมาธินั้นมีหลายขั้นตอน
    ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน(อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้นแต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก
    สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น

    แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือ ชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๓สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑

    ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้นส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่านิพพานพรหมคือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน


    การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ลงทุนน้อยที่สุดเพราะไม่ต้องเสียเงินเสียทองไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยระวังรักษาสติคุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ๆโดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น
    การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินเสียทองการสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์และบางทีก็ยังต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกายแต่ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างเทียบกันไม่ได้

    อย่างไรก็ดีการเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไรก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนาหากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น
    การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา)จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนาหากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้

    ๒.วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)

    เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้วเช่นอยู่ในระดับฌานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ตาม
    แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิจิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวลควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้


    อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิเพราะว่าสมาธินั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้นไม่นึกคิดอะไร ๆ


    แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้นแต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียวคือ"ขันธ์ ๕"ซึ่งนิยมเรียกกันว่า"รูป - นาม"โดยรูปมี ๑ ส่วนนามนั้นมี ๔ คือเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ


    ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่งแต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรมจึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตนการเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่าอันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์คือเป็นอนิจจัง ทุกขังและอนัตตาโดย

    ๑.อนิจจังคือความไม่เที่ยงคือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทรายและรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นไม่อาจจะตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้วก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาวและเฒ่าแก่จนตายไปในที่สุดไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ


    สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่าอุปาทานขั้นธ์ ๕เช่น รูปกายล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆมาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นมาก่อนซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองๆไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์"แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้นซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆเหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไปแล้วเกิดของใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน

    ๒.ทุกขังได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้"ทุกขังในที่นี้ไม่ได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกใจเท่านั้นแต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทนตั้งอยู่ในสภาพนั้น ๆได้ตลอดไปไม่อาจจะทรงตัวและต้องเปลี่ยนแปลงตลอดไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

    เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็ก ๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไปแม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณก็ไม่มีสภาพทรงตัว

    เช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนาอันได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความไม่สุขไม่ทุกข์ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้วจะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไปแล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน

    ๓.อนัตตาได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ"โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น รูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ ล้วนแต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เช่นรูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่าเซลล์แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้นจนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔มาประชุมรวมกัน

    โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯเรียกว่า "ธาตุดิน" ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดีน้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า "ธาตุน้ำ"ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า "ธาตุไฟ" ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึงและบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า "ธาตุลม" (โดยธาตุ ๔

    ดังกล่าวนี้มิได้หมายความอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ"อันหมายถึงแร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบ ๆเหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคนสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้นเมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิมโดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ และส่วนที่เป็นลมก็กลับไปสู่ความเป็นลมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใดจึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้


    สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนี่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้

    ส่วนวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียวคือ มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่ามีแต่รูปกับนามเท่านั้นเอง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ

    ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็นพระไตรลักษณ์คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาและเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริงเรียกว่าจิตตกระแสธรรมตัดกิเลสได้

    ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าวไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาในที่พระท่านเรียกว่า"ญาณทัสสนะ"เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้วย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า"สมาธิอบรมปัญญา"คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น

    และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลงจิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับสมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า"ปัญญาอบรมสมาธิ"

    ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกันจะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลยอย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่มสมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีดส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้วก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด

    ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟมาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้นในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวลบรรลุซึ่งพระอรหัตผลต่อไป

    ฉะนั้นการที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้นสมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น

    ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า"ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อมก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงทีว่าสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม"

    ดังนี้ จะเห็นได้ว่าวิปัสสนานั้นเป็นสุดยอดของการสร้างบารมีโดยแท้จริงและการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบากไม้ต้องแบกหามไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใดแต่ก็ได้กำไรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทานเหมือนกับกรวดและทรายก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอกซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบกับศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิและสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา

    แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพานก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนาสุดแล้วแต่โอกาสจะอำนวยให้จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุดแต่ได้กำไรมากที่สุดก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียวโดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลยเมื่อเกิดชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพานก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

    อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิกก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความจริงดังกล่าว"

    กล่าวคือ แม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใดก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆะบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า...

    http://www.baansuanpyramid.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539148673&Ntype=9
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  20. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    คิดว่าคุณ Phanudet มีความเข้าใจเบื้องต้นดีมาในระดับหนึ่งแต่
    ขออนุญาตช่วยเสริมเพื่อเสริมความเข้าใจถือว่าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดังนี้นะครับ.


    ถ้าบุคคลใดสามารถเข้าถึงกำลังสมาธิในระดับฌาน ๔ ได้ในระดับที่กายกับจิตแยกกันอย่างเด็ดขาดชั่วคราว..พูดง่ายว่าถอดจิตได้
    หรือมองเห็นตัวเองนั่งสมาธิอยู่ได้แต่ไปได้ไม่ไกลจากบริเวณที่ตนอยู่...
    กำลังสมาธิระดับนี้..ยังไม่ถือว่าเป็นสัมมาสมาธินะครับ.

    .เพราะถ้าไม่มาเจริญสติในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างสติทางธรรมหรือจะใช้วิธีการอะไรก็ตาม
    เพื่อสร้างสติทางธรรมขอให้มีฐานอยู่ที่กาย...ซึ่งใช้กำลังสมาธิเพียงเล็กน้อย.และช่วง
    นี้หากสามารถขึ้นปฐมฌานได้จะรักษาอารมย์กระทบจากอายตนะทั้ง ๖ได้เท่านั้น
    แต่ยังจะยังไม่เกิดปัญญา.
    และพอสร้างสติไปเรื่อยๆจนสามารถเข้าถึงฌาน ๔ ได้อีกครั้ง

    จนกำลังสติตัวนี้สามารถควบคุมจิตไม่ให้ออกไหน จะทำให้สามารถที่จะเห็นจิตตัวเองได้ในขณะที่กำลังสติตัวนี้คอยตามควบคุมอยู่
    และจะทำให้ทราบลักษณะกิริยาต่างๆของจิตได้.
    และที่่สำคัญต้องกำลังสติต้องควบคุมจิตจนกระทั่งสามารถเห็นขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมในโหมดกำลังฌาน ๔ นี้ด้วย.

    ถึงจะบอกได้ว่าอริยมรรค ๘ ในข้อแรกหรือสัมมาทิฐิเปิดทางให้
    และการเปิดทางให้ในที่นี้คือเปิดทางให้เดินปัญญาต่อเพื่อมาลดละกิเลสต่อไป.
    ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด สัมมาสมาธิและอริยมรรค ๘ ข้อที่เหลือตามมาได้.หากมาเดินปัญญาต่อ (ต่อ # Rep หน้านะครับ)​
     

แชร์หน้านี้

Loading...