บูรพาจารย์แห่งโหราศาสตร์แนวพุทธ

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย Abiding, 5 มิถุนายน 2013.

  1. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    บูรพาจารย์แห่งโหราศาสตร์แนวพุทธ



    สวัสดีทุกท่าน ก่อนหน้านี้ดิฉันได้มีโอกาสได้รู้จัก "คัมภีร์สุวรรณโคมคำ" ซึ่งเมื่อได้สัมผัสแล้วรู้สึกว่าช่างมีอนุภาพมากทีเดียว ช่วยให้คนรู้ เห็น และแก้ไขจากสิ่งที่เจอ หรือสิ่งที่กำลังจะเจอ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นก็ช่างเป็นอะไรที่ตรงจุดจริงๆ แตกต่างจากที่เคยได้รับรู้ตั้งแต่สมัยเด็กๆ เช่นหากเรามีเคราะห์ก็ไปปล่อยนก ปล่อยปลา ไหว้พระ 9 วัน ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีที่เราได้ทำบุญ ทำทานชีวิต


    แต่คัมภร์นี้ให้เราเปลี่ยนแปลงที่ "พฤติกรรม” เพราะหากเราไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตของตนเอง ทุกอย่างมันก็จะเหมือนเดิม เรื่องนี้พอได้ไตร่ตรองแล้วเห็นว่าเป็นความจริง ทำให้เกิดความสนใจอยากรู้จักบูรพาอาจารย์ผู้มีคุณทั้งหลาย นี้อย่างมาก เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ,หลวงปู่ศุข, สมเด็จมหาเถรศรีศรัทธา เป็นต้น


    จึงได้ทำการค้นหาประวัติท่านและเพื่อไม่ให้เป็นการเสียประโยชน์ จึงขอนำมาเผยแผ่ให้ทุกท่านได้ทราบด้วยกัน หากมีข้อผิดพลาดอย่างไรก็ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย

    1.พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ



    พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านวัตถุ อยู่ไม่ห่างกรุงกบิลพัสดุ์
    เดิมชื่อ โกณฑัญญะ ส่วนคำว่า “อัญญา” นำชื่อนั้นเกิดจากพระศาสดาทรงเปล่งอุทานตอนที่ท่านดวงตาเห็นธรรมว่า อญ ญาสิ โภ โกณ ฑญฺโญ แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ดังนั้นคำว่า “อัญญา” จึงเป็นคำหน้าชื่อของท่านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้ศึกษาศิลปะวิทยาจลไตรเพทและเรียนมนต์(วิชาทำนายลักษณะอย่างเชี่ยวชาญ)


    ทำนายพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะ



    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูตรได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดา ได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเพื่อทำนายพระลักษณะตามราชประเพณี โดยได้คัดเลือกพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญจาก ๑๐๘ คน เหลือ ๘ คน “โกณฑัญญะอยู่ในจำนวนนั้นด้วย



    ในบรรดาพราหมณ์ทั้ง ๘ คน โกณฑัญญะมีอายุน้อยที่สุด จึงได้ทำนายเป็นสุดท้าย พราหมณ์ทั้ง ๗ คน ได้ดูพระลักษณะอย่างละเอียด ตามศาสตร์พยากรณ์ครบทุกประการ จึงยกนิ้วมือขึ้นสองนิ้ว โดยมีการทำนาย ๒ นัยเหมือนกวันว่า



    ๑.พระราชกุมาร ถ้าดำรงอยู่ในเพศฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ


    ๒.พระราชกุมาร ถ้าออกบวชจักได้ตรัสรู้เป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เป็นศาสดาเอกในโลก สั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่มีศาสดาอื่นยิ่งไปกว่า



    ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ซึ่งมีความรู้และปัญญามากกว่าได้พิจารณาตรวจลักษณะ ตามศาสตร์ที่ท่านได้ร่ำเรียนมาของพระกุมารโดยละเอียด ได้ “ยกเพียงนิ้วเดียว” เป็นการยืนยันการพยากรณ์อย่างเด็ดเดี่ยวเป็นนัยเดียวว่า “พระกุมาร ผู้บริบูรณ์ด้วยมหาบุรุษลักษณะอย่างนี้ จะไม่อยู่ครองเพศฆราวาสอย่างแน่นอน จักต้องเสด็จออกบรรพชา และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมิต้องสงสัย”



    ออกบวชติดตามเจ้าชายสิทธัตถะ พระบรมโพธิสัตว์


    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบรรพชา เมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี โกณฑัญญะพราหมณ์ทราบข่าวก็ดีใจ เพราะตรงกับคำทำนายของตน จึงชวนบุตรพราหมณ์ทั้ง ๗ ที่ร่วมทำนาย โดยกล่าวว่า “บัดนี้ เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จออกบรรพชาแล้ว พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญเจ้าแน่นอน ถ้าบิดาของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็คงจะได้ออกบวชด้วยกันกับเรา ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะบวชก็จงบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษพร้อมกันเถิด”



    บุตรพราหมณ์เหล่านั้น ยอมออกบวชเพียง ๔ คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ รวมโกณฑัญญะเป็น ๕ คน รวมตัวกันได้นามบัญญัติว่า “ปัญจวัคคีย์” สืบเสาะติดตามจนพบพระพุทธองค์กำลังบำเพ็ญความเพียรอยู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมด้วยความมั่นใจว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างแน่นอน จึงพากันเข้าเฝ้าทำกิจวัตรอุปัฏฐาก ด้วยการจัดน้ำใช้ น้ำฉัน และปัดกวาดเสนาสนะ เป็นต้น ด้วยหวังว่าเมื่อพระองค์ตรัสรู้จะได้แสดงธรรมโปรดพวกตนรู้ตามบ้าง



    ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างอุกฤกษฎ์เป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ยังไม่บรรลุพระโพธิญาณ จึงทรงดำริว่า “วิธีนี้คงไม่ใช่ทางตรัสรู้” จึงเลิกละความเพียรด้วยวิธีทรมานกาย หันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต เลิกอดพระกายาหาร กลับมาเสวยตามเดิม ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์ละความเพียร ก็รู้สึกหมดหวัง จึงพากันหลักหนีทิ้งพระโพธิสัตว์ พากันเที่ยวสัญจรไปพักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี



    ครั้นพระโพธิสัตว์ ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงพิจารณาบุคคลผู้สมควรรับฟังพระปฐมเทศนาและตรัสรู้ตามได้โดยเร็วในชั้นแรก พระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบสกาลามโคตร แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้ ๗ วันแล้ว และอีกท่านหนึ่งคืออุทกดาบสรามบุตร แต่กระทราบด้วยพระญาณว่าเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวาน พระพุทธองค์จึงระลึกถึง “ปัญจวัคคีย์” ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณเมื่อสมัยทำทุกรกิริยา จึงได้เสด็จดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน


    ...... เดี๋ยวมาต่อนะคะ.....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    เพื่อนๆ คะ ถ้าเข้ามาอ่านแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ หรือมีข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยบอกให้รู้นิ๊ดนึงนะคะ
    ขอบคุณค่ะ
     
  3. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    ได้รับฟังปฐมเทศนา
    พระพุทธองค์ ทรงประกาศพระสัพพัญญตญาณแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ โดยตรัสพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา พระพุทธองค์ ทรงประกาศพระสัพพัญญุตญาณแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ โดยตรัสพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา ซึ่งเนื้อความในพระธรรมเทศนานี้ พระพุทธองค์ทรงตำหนิหนทางปฏิบัติอันไร้ประโยชน์ 2 ทาง ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
    1. กามสุขัลลิกานุโยค การปฏิบัติที่ย่อหย่อนเกินไป แสวงหาแต่กามสุขอันพัวพันหมกมุ่นแต่รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ซึ่งเป็นสิ่งเลวทราม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นกิจของคนกิเลสหนา มิใช่ของพระอริยะ มิใช่ทางตรัสรู้หาประโยชน์มิได้
    2. อัตตกิลมถานุโยค การปฏิบัติตนให้ได้รับความลำบาก เคร่งครัดเกินไป กระทำตนให้ได้รับความทุกข์ทรมาน เป็นการกระทำที่เหนื่อยเปล่า ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น

    จากนั้น พระพุทธองค์ตรัสชี้แนะวิธีปฏิบัติ แบบ “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ การปฏิบัติแบบกลาง ๆ ไม่ย่อหย่อนเกินไปแบบประเภทที่หนึ่ง และไม่ตึงเกินไป แบบประเภทที่สอง ดำเนินตามทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค คือทางอันประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ได้แก่
    1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ (ปัญญาเห็นในอริยสัจ 4)
    2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ (ดำริออกจากกาม เบียดเบียนพยายาม)
    3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ (เว้นจากวจีทุจริต 4)
    4. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ (เว้นจากกายทุจริต 3)
    5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ (เว้นจากเลี้ยงชีพในทางที่ผิด)
    6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ (เพียรละความชั่วทำความดี)
    7. สัมมาสติ ระลึกชอบ (ระลึกในสติปัฏฐาน 4)
    8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตไว้ชอบ (เจริญฌานทั้ง 4)

    เมื่อจบพระธรรมเทศนา ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน เกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา” พระพุทธองค์ ทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานด้วยความพอพระทัยด้วยพระดำรัสว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ” ซึ่งแปลว่า “โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ” ด้วยพระพุทธดำรัสนี้ คำว่า “อัญญา” จงเป็นคำนำหน้าชื่อของท่าน โกณฑัญญะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนเป็นที่รู้ทั่วกันว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ
     
  4. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    เป็นพระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา

    เมื่อท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ด้วยพระดำรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ โกณฑัญญะ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นพระสงฆ์รูปแรกในโลก และการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา

    วันต่อ ๆ มา ท่านที่เหลืออีก 4 คน ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน และอุปสมบทด้วยกันทั้งหมด พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระปัจวัคคีย์ มีญาณแก่กล้า พอที่จะบรรลุธรรมเบื้องสูง ได้แล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” คือสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตาความไม่มีตัวตน โปรดพระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอเสขบุคคลด้วยกันทั้งหมด ขณะนั้น มีพระอรหันต์ เกิดขึ้นในโลก 6 องค์ รวมทั้งพระพุทธองค์ด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 26841-30.jpg
      26841-30.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63.2 KB
      เปิดดู:
      559
  5. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    ขอบคุณค่ะ มีกำลังใจขึ้นเยอะเลย ... จะรีบนำข้อมูลมาต่อนะคะ ^_^
     
  6. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    เอตทัคคะ

    พระอัญญา โกณฑัญญะ ได้รับยกย่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้รัตตัญญู แปลว่า ผู้รู้ราตรี หมายความว่ารู้ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนก่อนใครทั้งหมด

    บุญญาธิการ

    ในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้รัตตัญญูรู้แจ้งธรรมก่อนใคร ๆ

    ท่านได้จึงปรารถนา ตำแหน่งรัตตัญญู คือรู้ธรรมก่อนใคร แล้วได้ทำบุญมีทาน เป็นต้น พระปทุมุตตรศาสดาทรงเห็นว่า ความปรารถนาของเขาจะสำเร็จแน่นอน จึงได้พยากรณ์วิบากสมบัติของเขา จนมาถึงศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี เขาได้เกิดเป็นกุฏุมพี ชื่อว่า มหากาล ได้ถวายทานอันเลิศ ๙ ครั้ง ด้วยบุญญาธิการดังกล่าว จึงได้รับเอตทัคคะนี้จากพระบรมศาสดา

    ปรินิพพาน

    ในบั้นปลายชีวิต ท่านได้ทูลลาพระศาสดาไปจำพรรษาในป่าหิมพานต์ ที่ฝั่งสระฉัททันต์ ๑๒ พรรษา เมื่อใกล้จะปนิพพานได้มาทูลลาพระศาสดา แล้วกลับไปปรินิพพาน ณ สถานที่นั้น

    นิพพานมี ๒ อย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่าดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ หมายถึงพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสด้วยเบญจขันธ์ดับด้วย หมายถึงพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิต ดังนั้น อนุปาทิเสสนิพพานจึงน่าจะใช้คำว่า ปรินิพพาน จึงได้ใช้อย่างนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง


    1. เป็นผู้มีประสบการณ์มาก พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ได้รับยกย่องพระพุทธองค์ว่าเป็น “รัตตัญญู” หมายถึง ผู้ผ่านโลกมามาก มีประสบการณ์มาก ท่านมีความรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นที่ปรึกษาที่ดีของน้อยด้อยวัยวุฒิและคุณวุฒิดังจะเห็นว่าเป็นผู้นำสหายทั้งสี่ คือ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ และอัสสชิ ในกรณีต่างๆอยู่เสมอ

    คุณธรรมข้อนี้ควรจะยึดถือเอาเป็นแบบอย่างได้ คือ พยายามศึกษาหาความรู้ หาประสบการณ์ที่ดีแก่ชีวิตเสมอ มิใช่ปล่อยกาลเวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ จนกลายเป็นคนประเภท “แก่เพระกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน” ซึ่งหาประโยชน์อันใดแก่สังคมไม่ได้


    2.เป็นคนสันโดษ คือ พอใจในสภาพที่เป้นอยู่ไม่ขวนขวายลาภสักการะ หรือชื่อเสียง ชอบชีวิตสงบอยู่ในป่า ไม่ด้วยหมู่คณะ ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านกราบทูลลาพระพุทธเจ้าไปจำพรรษาอยู่ ณ สระฉัททันต์ ในป่าหิมพานต์ และอยู่ที่นั่นนานถึง 12 ปี นานๆจึงจะเข้ามาในเมืองสักครั้ง


    3. ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านความประพฤติ จากข้อ 3 นั่นเองแสดงว่าพระอัญญาโกณฑัญญะได้วาง “รูปแบบชีวิต” ที่ดีงามให้อนุชนประพฤติตาม นั่นคือความเป็นคนเคร่งครัดในระเบียบวินัย การมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ความจริงแล้วท่านไม่จำเป็นต้องปฏิบัติธุดงค์ เช่น การอยู่ป่าเป็นประจำหรือเคร่งครัดในสิขาบทก็ได้เพราะท่านหมดกิเลสแล้ว พฤติกรรมของท่านเป็นไปในกรอบโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่ที่ท่านต้องเน้นความเคร่งครัดเป็นพิเศษอย่างนี้เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง คือ ต้องการวางตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีงามนั่นเอง


    4. เป็นผู้เห็นการณ์ไกล ตามประวัติพระอัญญาโกณฑัญญะได้ชักนำหลานชายชื่อ ปุณณมันตานีบุตร เข้ามาบวช เพราะเห็นว่าปุณณมันตานีบุตรมีวาทศิลป์เป็นเลิศ เรียนรู้สิ่งต่างๆได้รวดเร็ว ถ้านำมาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจักเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดไว้ หลังจากบวชแล้วพระปุณณมันตานีบุตรเป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย เป็นนักแสดงธรรมชั้นเยี่ยม จนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็น”เอตทัคคะ” (เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางเป็นพระธรรมกถึก (ผู้แสดงธรรม)
     
  8. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    คลิปพระอัญญาโกณฑัญญะ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=e7Lb7Ofjd-U]พระอัญญาโกณทัญญะ - YouTube[/ame]
     
  9. ใกล้ธรรม

    ใกล้ธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +103
    แวะมาให้กำลังใจขอรับ

    "เย ธมฺมา เหตุ ปัพฺพวา เตสํ เหตุงฺ ตถาคโต เตสญฺจะ โย นิโรโธ จะ เอวํ วาที มหาสมฺโณ"
     
  10. Abiding

    Abiding สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +22
    หลวงปูศุข (วัดปากคลองมะขามเฒ่า)

    2. หลวงปูศุข (วัดปากคลองมะขามเฒ่า)

    นามเดิม ศุข นามสกุล เกษเวช (ต่อมาลูกหลานได้ใช้ เกษเวชสุริยา ก็มี)
    เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๐ ที่บ้านมะขามเฒ่า ( เรียกกันในสมัยนั้น ปัจจุบันเรียก บ้านปากคลอง )
    ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

    บิดา - มารดา :- ชื่อ นายน่วม และนางทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลมะขามเฒ่า
    มีบุตรและธิดา ด้วยกัน ๙ คน
    ๑. หลวงปู่ศุข
    ๒. นางอ่ำ
    ๓. นายรุ่ง
    ๔. นางไข่
    ๕. นายสิน
    ๖ .นายมี
    ๗. นางขำ
    ๘. นายพลอย
    ๙ .หลวงพ่อปลื้ม

    หลวงปู่ ท่านมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร ( ในสมัยนั้น ) มีอาชีพ ทำสวน ไม่มีบุตรหรือธิดา จึงได้มาขอหลานจากโยมบิดามารดาหลวงปู่ศุขไปเลี้ยง โยมท่านก็อนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงก็เลือกเอาคนโต หรือ เรียกว่าคนหัวปี คือ หลวงปูศุข เข้าใจว่าขณะนั้นอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เมื่อหลวงปู่ศุขไปอยู่กับลุงแฟง เจริญเติบโตที่ตำบลบางเขน
    เมื่อหลวงปู่ฯ อยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่านได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ทำมาหากินค้าขายเล็กๆ น้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน ซึ่งมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้จังหวัดนนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน

    หลวงปู่ฯ ท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๑๘ ปี ได้ภรรยาชื่อ นางสมบูรณ์ และเกิดบุตรชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

    หลวงปู่ฯ ท่านครองเพศฆราวาสอยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ ๒๒ ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขนหรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลองบางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี

    อุปสมบท

    การอุปสมบทของหลวงปู่ศุขนั้น ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ที่วัดโพธิ์บางเขน ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ทองล่าง ) โดยมี พระครูเชย จนฺทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็น พระอุปัชฌาย์ พระถายมเป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้มีลุงแฟงเป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น ส่วนโยมบิดามารดาไม่ได้มาร่วมพิธีด้วย เพราะการเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ ก็กินเวลาอย่างน้อย ๒ ถึง ๓ วัน จึงจะถึง

    พระอุปัชฌาย์ของท่านชื่อ หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญที่ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงพ่อเชยท่านยังเป็นอาจารย์ทางฝ่ายวิปัสสนาธุระมีความรู้และความชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคมก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ฯ ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากอุปัชฌาย์ของท่านมาพร้อมกับอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

    เมื่อได้อุปสมบทแล้วอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากสำนักที่มีชื่อเสี่ยงโด่งดังในสมัยนั้นจนชำนาญดีแล้ว จึงกราบลาอาจารย์กลับบ้านเกิดของท่าน

    โดยมาพักอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่าน ชื่อวัดอู่ทอง ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดปากคลอง ชาวบ้านแถวนั้นมีความศรัทธาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้น เพื่อที่ว่าจะได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นมาจนท่านมรณภาพ ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ได้เริ่มพัฒนาในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองด้วยจากวัดร้างที่ไม่มีอะไรเลย จนถึง พุทธาวาส ธรรมาวาส และสังฆาวาส เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบจนถึงทุกวันนี้ ยังมีพระอุโบสถและมณฑป ปรากฏให้เห็นอยู่ ส่วนการอบรมสั่งสอนนั้นท่านได้แนะแนวการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เห็นคุณและโทษของผลการปฏิบัติตนในทางที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร จนประชาชนแถวนั้นมีความประพฤติดีมีศีลธรรมเป็นส่วนมาก

    หลวงปู่ฯ ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี จนกระทั่งมารดาท่านที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้ชราภาพลงตามอายุขัย และความเจ็บไข้มาเยือนอยู่บ่อยครั้ง ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยในบิดามารดาของท่านจึงได้เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆ ที่วัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณที่อยู่ลึกเข้าไปในคลองมะขามเฒ่า หรือบริเวณต้นแม่น้ำท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพของวัดอู่ทองขณะนั้นได้เกิดการชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนมาสู่สภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้ขยับขยายออกมาที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และได้สร้างกุฏิขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลังพอเป็นที่อยู่อาศัยไปพลางก่อน

    สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ๆ ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดการฌาปนกิจศพ และในงานนี้เอง หลวงปู่ฯ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีออกแจกเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระเครื่องจากท่านไปได้ปรากฏอภินิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกันไม่เข้า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอกอย่างในชนบทสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยจะมีรั้วรอบขอบชิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้นการที่จะแวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใดนั้นจะต้องระวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ

    พระของหลวงปู่ฯ จึงมีชื่อเรื่องสุนัขกันไม่เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน จึงบังเกิดความนิยมไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกันเขี้ยวงาและภยันตรายต่างๆ สมัยก่อนพระวัดปากคลอง เนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าจะไปขอพรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า “เอ็งมีลูกกี่คน?” ท่านจะให้ครบทุกคน

    กิตติศัพท์ในความขลังประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่านจึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่งดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจาการทำมาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดี่ยวเท่านั้น เพราะในสมัยนั้นถนนหนทางทางบกยังทุรกันดาร พอตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าแม่ขายเรือเล็กเรือใหญ่จะมาอาศัยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัดของท่าน เพื่ออาศัยบารมีของท่านช่วยป้องกันขโมยขโจรที่จะมาประทุษร้ายต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าจะเปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่านจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นชุมทางที่สำคัญนี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศ ชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า”

    เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯฝากตัวเป็นศิษย์

    อนึ่ง มีผู้กล่าวว่าท่านมีวิชาอาคมเวทย์มนต์เก่งมาก สามารถเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกก้านกล้วยให้เป็นงูได้ และเรื่องอภินิหารของขลัง คงกระพันชาตรี มีอีกมากมาย

    อาจจะเป็นด้วย บุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นพระองค์ที่ ๒๘ และเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้วได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน และเป็นที่ต้องอัธยาศัยซึ่งกันและกัน

    จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ – อาจารย์ เพื่อจักได้ศึกษาทางมหาพุทธาคม และปรากฏว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงพ่อเองก็หมดความรู้ จึงได้ให้เสด็จในกรมฯ ไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้นและได้วาดภาพพุทธประวัติด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อุโบสถด้านในหน้าอุโบสถ ซึ่งปรากฏจนทุกวันนี้ หลวงปู่ศุข ท่านมีเมตตามากจึงมีศิษย์เป็นอันมากที่มาเรียนวิชาเหล่านี้ ท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูวิมลคุณากร และเป็นเจ้าคณะแขวง ( ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อใด

    เมื่อหลวงปู่ศุข ท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึงเป็นกำลังสำคัญให้ท่านสามารถที่สร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบันนี้ก็คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนสีน้ำที่ทางกรมศิลป์ยกย่องว่าเสด็จในกรมฯ ทรงฝีมือในการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และทรงสอดแทรกอารมณ์ขันในภาพพระพุทธเจ้าชนะมาร ในกระแสน้ำที่พระแม่ธรณีบีบมวยผมทำให้เกิดอุทกธาราหลากไหลพัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น พระองค์ท่านเขียนเป็นภาพลิงใส่นาฬิกาและหนีบขวดวิสกี้กำลังเดินตุปัดตุเป๋ไปเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฤาษีปัญจวัคคีเมื่อเห็นเจ้าชายสิทธัตถะเลิกทรมานการหันมากินอาหาร ก็นึกว่าพระองค์คงจะถ้อถอยละความเพียรแล้ว จึงพากันผละหนีพระองค์ไปนั้น เสด็จในกรมฯ ท่านเขียนใบหน้าของฤาษีปัญจวัคคี โดยสอดอารมณ์ที่ยิ้มเยาะเย้ยหยันอย่างไม่อะไรไยดีต่อพระองค์ เน้นความรู้สึกได้เด่นชัดมาก
    ฝีมือของเสด็จในกรมฯ อีกชิ้นหนึ่งก็คือภาพเขียนสีน้ำมันเป็นรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มตัวและถือไม้เท้า ภาพนี้เขียนขึ้นในขณะที่หลวงปู่มีอายุมากแล้วจึงต้องเดินสามขา

    ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์นอกจากจะถูกอัธยาศัยกันเป็นยิ่งนัก จักเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอแล้ว ถ้าเสด็จในกรมฯ ติดราชการงานเมือง หลวงปู่ก็จะลงมาหา โดยเสด็จในกรมฯ ได้สร้างกุฏิอาจารย์ไว้กลางสระที่วังนางเลิ้ง ซึ่งเต็มไปด้วยดอกบัววิคตอเรีย มีใบกลมใหญ่ขนาดถาด

    อนึ่งการที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลังได้ประสิทธิมีฤทธิ์มีเดชทั้งๆ ที่ใช้อักษรเลขยันต์พื้นๆ นั้น เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้นกล้าแกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้ง ๔ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือ และการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกิดผล ด้วยการใช้พลัง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ของขลัง พิธีกรรม หรือหลีกลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจน การผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้ เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็คงเป็นใบมะขาม หัวปลีก็คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟางก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่ด้วยอำนาจจิตของท่านทำให้เราเห็นไปเอง

    จากหนังสือ “พระกฐินพระราชทาน สมาคมศิษย์อนงคาราม ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เรื่องพระใบมะขาม” ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มีหน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุข ขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ. ๒๔๕๙) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
    “เมื่อข้าพเจ้าไปอุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว มีชาวบ้านชาววัดมาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุดพิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่นเงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง

    ข้าพเจ้าถามว่าการค้าขาย จะให้ลงว่ากระไร?
    หลวงพ่อบอกว่า “นะชาลิติ”

    บางคนขอเมตตา ข้าพเจ้าถามว่า จะให้ลงว่ากระไร?
    หลวงพ่อพูดติดตลกว่า “เมตยายไม่เอาหรือ เอาแต่เมตตาเท่านั้นหรือ?”

    คนขอจึงบอกขอเมตตาอย่างเดียว ข้าพเจ้าถามว่า จะให้ลงว่ากระไร?
    ท่านบอกว่า “นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู”

    ข้าพเจ้าจึงบอกว่า “หลวงพ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลงไปก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร”
    หลวงพ่อบอกว่า “มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะคุณมหา”
    ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะระหว่างนั่นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม แล้วท่านเสกเป่าไปที่ศีรษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมที่ไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุกก็ลุกซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์จริงๆ ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฏฐากรูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า “ท่านสำเร็จสมถะภาวนาแน่ๆ”

    อนึ่ง ท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี ไม่ใคร่พูดจา นั่งสงบอารมณ์เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น “เขาว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯ เห็นจนยอมเป็นศิษย์”
    หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า “ลวงโลก” แล้วท่านก็นิ่งไม่ตอบว่าอะไรอีก

    หลวงพ่อพูดต่อไปว่า “เวลานี้กรมหลวงชุมพรฯ ไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯ นี้ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้”
    หลวงพ่ออยู่ที่กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) พุทธสรมหาเถรเป็นเวลาสิบวันเศษ ได้ทราบว่าสมเด็จเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่ออีกด้วย

    มรณภาพ

    ท่านมรณภาพเมื่อ เดือน ๑ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ ไม่ปรากฏวันที่ที่แน่นอน คำนวณอายุได้ ๗๖ ปี วันสวดพระพุทธมนต์ทำศพอยู่ ๗ วัน ๗ คืน จึงประชุมเพลิง

    อนึ่ง การที่เราคนรุ่นหลังจักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษให้ได้ใกล้เคียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่หลงเหลืออยู่บ้าง จากการไต่ถามบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านซึ่งส่วนมากจักล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การที่ท่านได้รับรู้จากการเขียนของ “ท่านมหา” ซึ่งเคยอุปัฏฐากหลวงปู่ ดังกล่าวแล้วนั้นคงจักทำให้ท่านมองเห็นสภาพของหลวงปู่ศุข ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. rattanamatee

    rattanamatee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +20
  12. rattanamatee

    rattanamatee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +20

แชร์หน้านี้

Loading...