ถามผู้รู้เกี่ยวกับอาการที่เกิดจากการทำสมาธิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pitchayath, 15 เมษายน 2013.

  1. pitchayath

    pitchayath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +478
    บางครั้งที่ผมว่างๆ หรือเวลานั่งสมาธิ จะนั่งนับนิ้วมือตัวเองแล้วจับอาการนั้นเพื่อให้เกิดสมาธิ ปรากฏว่าพอจิตเป็นสมาธิ มันเหมือนมีอาการหรือพลังของจิตเกิดจะหว่างคิ้ว พอคลายสมาธิออก รู้สึกว่าจิตมีพลัง และมีสมาธิมากขึ้นครับ เรียนถามผู้รู้หน่อยครับว่าอาการที่เกิดระหว่างการทำจิตให้เป็นสมาธิดั่งกล่าวเกิดจากอะไรครับ
     
  2. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เป็นการทำ กสิณ โดยใช้ สัญญาภายในเป็นสิ่งระลึก

    การใช้นิ้วขยับ นั่นมีกสิณอยู่หลายกอง ตั้งแต่ ลม ดิน น้ำ และ ไฟ
    แต่ถ้าเราตกจากกรรมฐาน คือ การพิจารณาการขยับนิ้ว เราจะถูก
    ล่อให้ย้ายฐาน

    ไปเพ่งหว่างคิ้ว ก็จะได้กสิณกองเดิมๆ แต่ ติดความเสียนิสัย คือ
    การ ย้ายฐาน

    เมื่อฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ แทนที่จะได้ผลเป็น กสิณ ให้แน่วแน่ ก็จะ
    ย้ายไปเรื่อยเมื่อจวนเจียนๆ โดยส่วนมาก จิตจะย้ายที่ โดนหลอก
    ให้ไหลไปแช่อยู่ 7 ฐาน ตามความนิยม หรือ อุปทานหมู่ที่มีอยู่ก่อน

    แต่ถ้าเรามั่นคง พิจารณาเพียง ที่เดียวพอ เอาเป็นหลัก เป็นเกณฑ์

    แล้ว การเคลื่อนไปรู้จุดอื่น ให้พิจารณาไปเลยว่า ตัณหา แทรก

    พอตัณหาที่แทรกมันดับ มันก็ย้ายจุดอีก

    พิจารณาเห็น ตัณหาเนืองๆ จะค่อยเกิดกำลัง ทวนกระแส

    เมื่อ ทวนกระแสแล้ว จะเห็นความมั่นคงในการใช้ อารมณ์เดียว
    กรรมฐานเดียว

    ตรงนี้สังเกตุให้ดีๆ เรามุ่งที่การเห็น ตัณหา เกิด แล้วก็ ดับ

    เมื่อตามเห็น ตัณหาเกิดดับ ผลอันน่าชื่นใจก็ปรากฏ

    หากเรารู้เท่าเอาทัน ตัณหา กรรมฐานที่เป็นงานเดียว มันก็พอกพูล

    กรรมฐานที่เป็นงานเดียว จึงเป็น ผลพลอยได้ จากการตามพิจารณา
    เห็น ตัณหาเกิดดับ เมื่อจิตสิ้นราคะ เราก็จะเห็น สภาพธรรมที่เรียกว่า
    "เจโตวิมุตติ" เป็นเหตุเป็นผล กันมา โดยเหตุคือ ตัณหาดับ ราคะดับ

    การตามเห็นความเกิดดับของกิเลส ตัณหา เป็นการฝึก สติ ปัญญา

    ทีนี้.....

    การเข้ามาเห็นว่า เราตามเห็นตัณหาดับนี้ หรือ การจางคลายจากราคะ
    นี้เป็นตัวปัญญา ปัญญานี้ก็ไม่เที่ยง มีความเกิด ความดับ หากเราสำคัญ
    ว่า เอะเราละราคะแล้ว เราจะพลาดท่า แต่ถ้า เราเห็นลงไปด้วยว่า
    ปัญญาที่ตามเห็นตัณหา ราคะ ได้ ตัวมันเองก็เกิดดับ เจริญแล้วเสื่อม
    ตรงนี้จะทำให้เห็นความก่อเกิดความเป็นสัตว์ การกำเริบกลับไปเป็น
    สัตว์ มีตัวมีตน มีบุคคลเราเขา

    หากเราตามเห็นปัญญาเองก็เป็นสิ่งเกิดดับ เราก็จะพ้นปัญญา เรียกว่า
    มีปัญญาวิมุตติเข้ามาด้วย

    พอเราได้ลิ้มรสปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ อันเป็นผลพลอยได้ จากการ
    ตามพิจารณากิเลส ตัณหา เกิดดับ ตามเห็นความเกิดดับ สัดส่าย ไม่เที่ยง
    อยู่เป็นประจำ ก็จะเป็นการ รู้ทุกขสัจจ เข้ามา วันหนึ่งก็จะแจ้ง อริยสัจจ4
    ที่เป็นเหตุให้ "เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่กำเริบกลับ" อีกเลย
     
  3. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    อย่างไรก็ดี การสัดส่าย ของ ฐานในการฝึก อาจจะเกิดขึ้นได้ ตลอดการปฏิบัติ

    ผู้ภาวนาควรสังเกตุ วิบากจิตที่ได้รับ

    การเพ่งที่หน้าผาก กับ การเพ่งที่การขยับนิ้ว เมื่อทำกรรมฐานเสร็จ หรือ ยุติ
    การทำกรรมฐาน หรือ แม้แต่ การดับของกรรมฐานแม้ด้วยระยะเวลาอันสั้นก็ดี

    ฐานไหนที่ให้ คลามปลอดโปร่ง โล่ง เบา เป็นวิบากรส มากกว่า

    ก็ควรให้จิตเข้าสู่ ฐานนั้นให้มากกว่า เสพให้มากกว่าฐานอื่น

    ฐานไหน เข้าไปแล้ว เกิดความ รำาคาญใจ เกิดความอึดอัด ก็ให้ยก ฐาน
    นั้นเป็นการ สัดส่าย ที่ไม่ควรเสพไป

    สังเกตนะว่า เราจะสำรวจ วิบากจิต ที่ได้รับเป็นหลัก

    เราจะไม่ใช้ การปักใจเชื่อ มุ่งเอากรรมฐานเดียว ตะพึดตะพือ

    ศิลปะ จึงจัดเป็น มงคล 1 ใน 38 มงคล ที่ควรพิจารณาตามเห็น

    เน้นนะว่า "ศิลปะ" ไม่ใช่ " ศีลละเปรอะ "
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    จริงๆแล้วไม่มีอะไรมากหลอกนะครับ เกิดจากการที่คุณเพ่งอารมณ์มากเกินไป

    อาการตึงตรงระหว่างคิ้ว เกิดจากการที่คุณเกร็งลูกตา ปล่อยวางครับไม่ต้องไปเพ่งนะ เอาแบบสบายๆ จริงๆแล้วคุณไม่ต้องไปตามอาการที่ผ่านเข้ามาเข้ามานะครับ อาการที่ผ่านเข้ามานั้นมันมีอยู่หลายอย่างมากมาย ไม่ว่าภาพ ความนึกคิด หรือ สัมผัสตามร่างกาย ร้อน เย็น เคลื่อนไหว ต่างๆ ถ้าคุณไปตามจิตคุณก็จะคลายออกจากสมาธิทันทีไปตามสิ่งเหล่านั้น ไม่เกิดประโยชน์นะครับ ให้คุณทรงอารมณ์ในกรรมฐานเดินของคุณไว้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรไม่ต้องไปตามสนใจ...เดี๋ยวดีเองครับ....
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ว่าแต่กรรมฐานนั่งนับนิ้วที่คุณทำนี่ทำอย่างไรเหรอครับ.....

    เดี๋ยวผมจะได้ดูให้ว่าตรงกับกรรมฐาน ๔๐ หรือกรรมฐานในสติปัฏฐานสูตร กองใหนหรือเปล่า....
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ข้อมูลข้างบนเป็นการเข้าใจผิดนะ

    กสิณ เป็นกรรมฐานที่ต้องเพ่งภาพ เพื่อจับเป็นภาพนิมิต ไม่ได้คิดเอาเองนะ....

    มีหลักฐานปรากฏชัด......

    .............................................................................................................................

    กสิณ วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
           มี ๑๐ อย่าง คือ
           ภูตกสิณ ๔ :
               ๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔. วาโย ลม
           วรรณกสิณ ๔ :
               ๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปีตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว
           และ ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    ......................................................................................................................

    อาโปกสิณ
    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    อาโปกสิณ อาโป แปลว่า น้ำ กสิณ แปลว่า เพ่ง อาโปกสิณ แปลว่า เพ่งน้ำ กสิณน้ำ มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอา น้ำที่ใสแกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่างๆ มา ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง การนั่ง หรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิด อุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม สำหรับปฏิภาคนิมิต ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมีประกายระยิบระยับ เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วจงเจริญ ต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่า อาโปกสิณัง

    http://www.watpanonvivek.com/index....01-22&catid=79:2012-06-28-10-12-02&Itemid=205
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2013
  7. Ricky

    Ricky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +682
    เป็นการฝึกสมาธิ ถ้าโยมเจ้าของกระทู้อยากเจริญต่อ ก็ขอให้ถอยการเพ่งจิตลงมา แล้วเปลี่ยนเป็นมาดูตัวที่รู้สึกแทน แล้วจะได้ไปต่อได้

    แต่ถ้ายังไง เอาสายกรรมฐานที่มีอยู่ทั่วไปนี่น่าจะง่ายกว่า เพราะว่ามีครูบาอาจารย์อยู่มากมาย
    เป็นผู้ชี้นำ
     
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จากพระสูตรข้างบน เป็นคำสอนเกี่ยวกับ กสิณ ซึ่ง ชี้ไว้ว่า มี 10 บ่อเกิด

    สิ่งที่เจ้าของกระทู้ฝึก หากวางอารมณ์ที่ "การไหลไปรู้" "การแล่นไปรู้ "
    " อาการแปรปรวนของตัวรู้ " จะทางซ้าย ทางขวา เบื้องบน เบื้องล่าง เอา
    ที่อาการไหลไปไหลมา ของ อาการรู้ ไม่เอาจุด หรือ อวัยวะ ที่รู้ ก็จะจัดเข้า
    "กสิณวิญญาณ"

    ซึ่งพระพุทธองค์มีฏีกาชี้ว่า เป็นเลิศในกสิณทั้งหมด

    แต่......สังเกตุนะว่า พระพุทธองค์เน้นที่ สภาพธรรมความแปรปรวน ซึ่งก็
    คือการเกิดขึ้น หรือการแทรกเข้ามาของ ตัณหา

    เมื่อตามดูความแปรปรวนไปเรื่อยๆ จะ หน่ายใน " บ่อเกิดกสิณ " เบื่อหน่าย
    แม้ในปฏิปทาที่กำลังภาวนาอยู่ ซึ่งเป็นการคลายกำหนัดจาก "กูเก่งสุดๆ" ออก
    ไปทีละน้อย

    ก็ขนาด วิญญาณกสิณ กุศลชั้นสูง ยังหน่ายลงได้ บุคคลนั้นๆ ก็จะสามารถหน่าย
    สภาพธรรมที่หยาบกว่านั้นได้แน่นอน เรียกว่า ไม่ต้องไปกล่าวถึง ทวงถามกับ
    คนที่หน่ายในกสิณว่า " อกุศลหละท่าน ละหรือยัง "
     
  9. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ทีนี้ก็มาเข้าคำถาม คำถามมีการ จั่วไว้ว่า " จิตมีพลัง หลังออกจาก สมาธิ "
    ตรงนี้ จะมีบทคำสอน สอนต่อจาก วรรค บ่อเกิดกสิณ10 คือบทว่าด้วย

    "อภิภายตนะ 8"

    อภิภายตนะ แปลว่า การครอบงำอยาตนะ ซึ่งเป็น " ธรรมควรรู้ยิ่ง "

    ซึ่งก็คือ สภาวะรู้สึกได้ถึงการมีกำลังสมาธิดีอยู่ หลังจากออกสมาธิมาแล้ว
    โดยให้คุณ สังเกตุ จิตที่ยังแล่นไปในภายใน หรือ จมจ่อเป็นความรู้สึก
    เป็นจุดเป็นฐาน ก็ได้ แต่จะต้องไม่มีการบริกรรมช่วย ไม่มีการส่งอารมณ์
    แบบตั้งใจทำสมาธิในรูปแบบอีก ให้มันเป็น สภาพธรรมที่เป็นกำลัง หรือ
    การให้วิบากผล จากการนั่งสมาธิ มันแสดงตัวอยู่

    ให้สังเกตุเลยว่า หากจิตเรายังรับรู้ถึง อารมณ์ภายใน ไหลไปไหลมา หรือ
    จมเป็นจุด เกิดการตึงไหว เป็นภายใน รู้ได้เฉพาะตนอยู่ ก็จะเห็นว่า เวลา
    เราเห็น รูปภายนอกจะผิวพรรณดี หรือ ทราม สีเขียว สีแดง สี.... หรือ สีขาว
    สีาสว่างแพรวพราวอย่างไรก็ตาม จิตจะ ข่ม การเห็นรูปเหล่านั้นได้ ไม่เกิด
    การให้ค่า ไม่เกิดการกระเพื่อมแล่นเข้าไปจับ ไปกระเดิดมีกิเลส ( เรียกว่า
    รับรู้ได้ว่า จิตมีกำลังทวนกระแสกิเลส หรือ การติดใจในรูป วรรณะ ต่างๆได้)

    สภาพธรรมนี้ให้กำหนดรู้ เห็น ไว้ด้วย

    หาก กำหนดรู้ เห็น แล้ว สามารถเห็นความแปรปรวนของ "กำลังจิต" ได้อีก
    ตรงนี้จะเรียกว่า " รู้ยิ่ง "

    เมื่อ เรารู้ยิ่งแบบนี้แล้ว แล้วเห็น ความเกิดดับ ของการรู้ยิ่ง ที่พระพุทธองค์
    บอกว่า ควรรู้ เข้ามา ตรงนี้จะทำให้ แจ้งเข้ามาที่ อริยสัจจ4 ได้ ไม่มากก็น้อย

    ภาวนาแบบนี้เรื่อยๆ "จะค่อยๆ นำไปสู่การสำรอก " ปฏิปทา4 " ( การปฏิบัติ
    ลำบากรู้เร็ว การปฏิบัติลำบากรู้ช้า การปฏิบัติสบายรู้เร็ว การปฏิบัติสบายรู้ช้า )

    พอสำรอก ปฏิปทา4 ได้ ก็จะ จ่อเข้าการ แจ้งทุกขสัจจ แบบ ชัดๆ เนื้อๆ เน้นๆ
    ( จริงๆ จะต้อง บรรลุความเป็น อริยเจ้าอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว )

    ยังไง สอบสวน การภาวนา ด้วยวิธีนี้ จาก พระสูตร " โกศลสูตร " ดังกล่าว
    ให้เต็มลูกตาดูอีกที ว่า เป็นการภาวนาใน ธรรมวินัยนี้ หรือเปล่า เนาะ
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    คุณแน่ใจได้อย่างไรว่า วิญญาณกสิณ เขาฝึกตามแบบที่คุณกล่าว...

    ทั้งที่ใน โกศลสูตร มีการกล่าวถึงวิญญาณกสิณ และกสิณกองอื่น ในลักษณะเดียวกันทั้งหมด แต่เพิ่มตรงที่ว่าเป็นยอด...เมื่อมีการกล่าวถึงกสิณกองอื่นเหมือนกันกับวิญญาณกสิณ กสิณกองอื่นมีการฝึกแบบจับภาพทั้งหมด แล้วคุณแน่ใจได้อย่างไรว่าการฝึกวิญญาณกสิณเป็นการฝึกตามแบบที่คุณกล่าวไว้ครับ....คุณไปเอาตำราที่ใหนมาครับ....คุณแต่งขึ้นเองหรือเปล่า.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2013
  11. pitchayath

    pitchayath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +478
    ขอบคุุณครับสำหรับคำแนะนำที่ดีจากทุกท่านครับ
     
  12. ชัยวัฒนา

    ชัยวัฒนา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +24
    เป็นอาการเมื่อเกิดสมาธิ คุณกับผมมีอาการที่เกิดความรู้สึกระหว่างคิ้วเหมือนกันกับผม
    ผมขอเล่าประสบการณ์บางอย่างเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

    คุณกำหนดจิตนับนิ้ว อยากทราบวิธีครับ เล่าให้ฟังบ้างครับ ผมนึกถึงการนับลูกประคำครับ
    การนับตัวเลขในใจ เมื่อจิตจดจ่อกับการนับอย่างแน่วแน่ไม่วอกแวก จะเกิดสมาธิขึ้น
    อย่างไรก็ตามคุณคงไม่ได้กำหนดจิตให้ตั้งที่ไหน การเกิดสมาธิจิตจะมีกำลังเกิดขึ้น ปราณจะก่อตัวขึ้นเอง ซึ่งในที่นี้ของคุณจะเกิดที่ระหว่างคิ้ว ตรงนี้กำหนดจิตรับรู้ไว้คร่าวๆ ก็ได้ ไม่สนใจเลยก็ได้ กล่าวคือ สนใจแต่การนับอยู่อย่างเดียว

    ปราณหรือลมปราณในที่นี้คุณกำหนดจิตที่ตรงนี้ก็จะง่ายสำหรับคุณ ไม่ใช่การเอาสายตาเพ่งมองไป เพราะจะทำให้ตึงเครียดทางขมับได้ หรือปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติครับ ไม่กำหนดไว้ตรงไหนก็ได้ คุณนับตามวิธีของคุณไป ต่อเมื่อเกิดสมาธิแล้วจิตจะนิ่งในจุดที่สบายเอง คือเป็นไปเอง ไม่ต้องบังคับ เพราะนั่นคือธรรมชาติของคุณ เกิดอาการตรงไหนก็ตรงนั้น กำหนดจิตรับรู้เท่าทันไปอย่างต่อเนื่อง จิตไปรับรู้ตรงไหนก็กำหนดรู้ตรงนั้น

    ผมฝึกอานาปานสติ ผมกำหนดเอาลมหายใจเข้าออกในช่วงแรกของการทำสมาธิ เมืิ่อจิตมีสมาธิแน่วแน่ไม่วอกแวกไปไหน อาการที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความอิ่มเอิบ ความสุข สงบระงับจากนิวรณ์ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งแล้ว ก็รับรู้ตลอด รู้เท่าทันตลอด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นสติ สัมปชัญญะจะตามทันตลอดแม้อาการที่จิตนั้นเกิดขึ้น ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ปรากฎขึ้นจิตรู้เท่าทัน จะเห็นอาการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของความนึกคิด หรือภาพต่างๆที่เกิดขึ้น ก็เป็นเช่นเดียวกัน. ในขณะที่สมาธิก็ไม่ได้ถดถอยแต่อย่างใด สมาธิยังคงเป็นกำลังสำคัญในการทรงไว้ ปรากฎการต่างๆ ของอาการทางจิต ไม่ว่าจะเกิดดับเท่าไรเป็นเสมือนกับปลาใหญ่หุบปลาเล็ก ความนึกคิดจะสั้นลงๆ สติจะกำหนดเท่าทันตลอดติดตามตลอด ใจจะเริ่มวางเฉยต่ออาการทั้งความทุกข์ความสุข จิตหนักแน่นและวางเฉยต่ออาการเวทนาทั้งที่เกิดกับทางกายและใจ

    การรับรู้จะอยู่ที่จิตอย่างเดียว ตอนนี้เองที่ลมปราณบริเวณหน้าผากจะเริ่มแสดงอาการหมุนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา บางครั้งก็หมุนในแนวขวาง คือ หมุนจากหน้าผากออกไปแล้ววนกลับเข้ามา

    ลมปราณเคลื่อนตามจิต อันนี้คือความเข้าใจของผม ผมฝึกชี่กงเวลาที่ลมปราณเดินจากด้านหน้่าลงไปที่ทวารแล้วไต่กระดูกสันหลังจนถึงกลางศีรษะก็เคลื่อนแบบนี้ ทั้งนี้ก็กำหนดจิตนำทางไปก่อน เมื่อจิตเคลื่อนไปเองแล้วลมปราณก็ตามไปด้วย เมื่อลมปราณเดินเองเราเอาจิตตามปราณได้เลย จิตกับปราณรวมเป็นหนึ่งเดียว บางครั้งตอนหลับสนิท ลมปราณเคลื่อนตัวหมุนเป็นวงกลมกลางอากาศ ลองกำหนดจิตตามลมปราณจิตก็ออกจากร่างตามลมปราณไปเลย. หมุนกลางอากาศเลย

    หมายความว่า กำหนดจิตที่ร่างกายตามกระแสลมปราณ ตามเส้นลมปราณไปก็ได้ เป็นการฝึกจิตให้อยู่กับกายของเรา หรือกำหนดที่ระหว่าวคิ้วและลมหายใจเข้าออกไปพร้อมๆ กันเลยก็ได้ หรือกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

    เช่นกัน เมื่อคุณทำสมาธิแล้วเกิดความรู้สึกตึงๆ ระหว่างคิ้วก็ทำต่อไปครับ ตามประสบการณ์ที่ผมประสบมาผมว่า มันเป็นลมปราณที่ก่อตัวขึ้น แม้คุณกำหนดจิตที่จิตเองจนเห็นความนึกคิดหรือภาพต่างๆ มันก็เกิดที่ระหว่างคิ้วนี้แหละ เพียงแต่ต้องมีสติรู้เท่าทัน. คุณจะเห็นความไม่เที่ยง จะเห็นความตั้งอยู่ได้ไม่นาน และความที่ไม่สามารถควบคุมให้ได้ดังที่คุณต้องการ จะเห็นความไม่ใช่ของเราไม่ใช่ตัวตนของเรา มันเป็นอย่างนั้นเอง

    ความนึกคิดบางอย่างที่คุณไม่เคยคิดว่า คุณคิดได้อย่างไร กิเลส ตัณหา ที่ซ่อนอยู่คุณจะเห็นชัดก็ตอนนี้เลย การเห็นตัวตนลึกๆ ก็จะเห็นไปเรื่อย ตา หู จมูก ลิ้น ร่างกาย ใจรับรู้อะไรรู้สึกนึกคิดอย่างไร ปล่อยให้มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งสติให้มั่นอย่างต่อเนื่องทั้งวัน จนเข้านอนครับ
     
  13. pitchayath

    pitchayath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +478
    เหมือนที่คุณชัยวัฒนา พูดไว้ครับ คือ ผมจะกำหนดจิตนับนิ้วมือ เหมือนกับการนับลูกประคำครับ คือเอาสมาธิจดจ่อ กับการนับนิ้วมือ พอจิตเป็นสมาธิเกิดขึ้น มันก็จะเกิดอาการดังกล่าวระหว่างคิ้ว พอคลายสมาธิออก หรือหยุดทำ จะรู้สึกว่าจิตมีกำลังมากขึ้นครับ
     
  14. jadeprawit

    jadeprawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +117
    ขอคำแนะนำด้วยครับ

    ผมปฏิบัติมา 2ปี เพิ่งจะมีช่วงนี้ครับที่ผมรู้สึกว่าจิตนิ่งได้บ้างครับ ผมใช้วิธีจับความรู้สึกที่ชีพจรเต้นที่ปลายนิ้วมืือ ผมจะจดจ่อและนิ่งได้นาน บางทีระหว่างวันที่ทำกิจต่างๆผมอยากปฏิบัติให้ตนเองมีสมาธิได้ตลอดผมใช้วิธีจับเสียงเต้นของหัวใจเพราะรู้สึกง่ายที่สุดที่จะกำหนด ตอนนี้ผมพยายามทำอยู่เสมอ คำถามคือบางครั้งผมจับชีพจรที่ปลายนิ้ว บางครั้งไปจับลมจากพัดลมที่กระทบ บางครั้งไปดูลมเข้าออก แบบนี้จะไม่ก้าวหน้าใช่มั้ยครับ

    ให้กำหนดที่ใดที่หนึ่งเพียงอย่างเดียวไปตลอด จะดีกว่าใช่มั้ยครับ
    ที่ผมเล่ามาหมายถึงผม ทำระหว่างวันนั่งหน้าคอมหรือนอนดูทีวีช่วงกลางวัน ช่วงนี้ผมนอนทำจนหลับไปทุกวัน กำลังแก้ไขเรื่องหลับอยู่ครับ ส่วนกลางคืนผมนั่งสมาธิประมาณ 30 นาที
    ผมใช้วิธีดูลมบ้าง จับลมพัดลมที่มากระทบบ้าง มองดูมือบ้าง ฟังการเต้นของหัวใจบ้างแปลกที่กลางคืนผมจับชีพจรที่ปลายนิ้วไม่ได้

    ขอบคุณครับ
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ต้อง ฝึกพิจารณาไปด้วย

    อันแรก ลองไปพิจารณาดูว่า การฝึกสมาธิ 30 นาที มีผลอย่างไร
    ต่อการรู้ปลายนิ้ว รู้เสียงหัวใจ

    หากเพิ่มจาก 30 นาที แล้ว มีผลอย่างไร หรือ ถ้าวันไหนไม่ได้ทำ
    เลยมีผลอย่างไร

    แล้วถ้า ไม่ทำสมาธิเลย แล้ว น้อมนึก สภาวะธรรมปลายนิ้ว หรือ
    เสียงหัวใจเข้ามาตรงๆ ได้ไหม ถ้าได้ ก็จะเรียกว่า ไม่ต้องอาศัย
    การบริกรรม เป็นเพียงการ นมสิการด้วยความแยบคาย เข้ามาได้
    หรือไม่

    ตรงนี้จะทำให้เข้าใจเรื่องการเจริญ "สติอินทรีย์" เข้ามา

    ทีนี้ ยิ่งกว่านั้น คือ กำลังทำอะไรเพลินๆอยู่ แล้วอยู่ดีๆ จิตมันละโลก
    ธรรมเข้ามา แล้ว มันไปไหน .....

    ยิ่งกว่านั้นหละ คือ อยู่ดีๆ จิตก็ไประลึกเห็น สภาพธรรมที่ปลายนิ้ว
    หรือเสียงหัวใจ เข้ามาได้เอง โดยไม่ต้อง น้อมนึกเลย มีบ้างไหม

    ถ้ามี ก็พิจารณาไปว่า การที่ต้อง น้อมนึก ช่วยนิดหน่อย ก็เรียกว่า
    ยังไม่คล่องในการ "เจริญสติ"

    แต่ถ้าวันไหน สภาพธรรมปลายนิ้วมันเกิด เสียงหัวใจมันรัวบีบคั้น
    แล้ว สติก็เข้าไปอาศัยระลึกรู้ เป็นเครื่องอยู่ อันนี้ก็เรียกว่าเริ่ม
    มีคลามคล่องตัว ทรงสติ และ สมาธิ ไว้ได้

    เมื่อ ฝึกเห็นว่า จิตมีความคล่องตัว สติ-เกิดเอง เข้ามาระลึกรู้ปลาย
    นิ้วเอง " ระลึกเสียงหัวใจบีบคั้น อัดอั้น ระเบิด และ คลาย " ได้เอง
    โดยที่เราไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้เกิด ตรงนี้ก็ทำการเห็นความ
    ไม่เที่ยงเข้ามาก่อน อย่ารีบร้อนเห็นแล้ว สำคัญไปว่ามันเที่ยง

    เมื่อตามเห็น สติเกิดเอง การทรงสมาธิที่เกิดเอง มีความไม่เที่ยง
    ตรงนี้จะค่อยๆมั่นใจว่า เราไม่ได้เอาสัญญามาทับจิต แล้วสังเกต
    เลยว่า จิตขณะนี้มี กามวิตกไหม มีพยาบาทวิตกไหม มีวิหิงสาวิตก
    ไหม

    เมื่อไม่มี ก็ต้องพิจารณาอีกว่า จิตมันซึมไหม หรือมันฝุ้งไหม หรือ
    มันยังลังเลว่าภาวนาเพื่อความเป็นอย่างนี้ เห็นแต่ความไม่เที่ยงแล้ว
    จะได้อะไรไหม หากไม่มี นี่เราก็เห็นว่า นิวรณ์ไม่กลุ้มรุม

    จิตที่ปราศจากวิตก3 อีกทั้ง ไม่มีนิวรณ์กลุ้มรุม ตรงนี้จะเป็น จิตที่
    มีสัมมาสมาธิ คล่องแคล้ว ควรแก่การงาน

    เมื่อมีจิตคล่องแคล้วควรแก่การงานแล้ว ก็ค่อยเอาจิตชนิดนี้มาเจริญ
    ปัญญา

    ซึ่ง เจริญปัญญาอย่างไรนั้น หากปฏิบัติเข้ามาตามที่กล่าวข้างต้น
    ผู้ปฏิบัติจะเห็นเองว่า จิตนั้นน้อมไปสู่ญาณทัศนะอย่างไร แล้ว
    จิตนั้นยังคงเห็นไตรลักษณ์ มีปัญญาประกอบอยู่ หรือเปล่า หรือ
    ว่า กระเดิดออกไปฮานาก้า รีบร้อนบรรรลุธรรมไปแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2013
  16. ชัยวัฒนา

    ชัยวัฒนา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +24
    เมื่อจิตเกิดกำลังแล้วนับเป็นช่วงจังหวะที่ดีครับ ตั้งสติให้มั่นกำหนดรู้อาการที่จิตมีกำลังนั้นอยู่ก็รู้อยู่ กำหนดดูอยู่ ความคิดที่เกิดขึ้น ความรู้สึกสุขที่เกิดขึ้นก็รู้อยู่ ไม่ว่าความรู้สึกนึกคิดจะเกิดอะไรขึ้นก็กำหนดรู้อยู่ตลอด มีสติตลอด เมื่อกำลังจิตถดถอยลงก็รู้อยู่ แม้รู้สึกเสียดายก็กำหนดรู้ความคิดของตนเองไปครับ มันไม่เที่ยง เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย อารมณ์ภายนอกมากระทบแล้วรู้สึกนึกคิดอย่างไร ตามรู้อยู่เสมอไปเรื่อยๆ ครับ คุณจะฝึกสมาธิและเจริญสติปัญญาไปด้วย

    อาการที่เกิดระหว่างคิ้วก็มากำหนดสติตรงนั้นได้ครับ อาการมันเป็นอย่างไร ม้นตึงมันเคลื่อนตัวหรือมีอาการอย่างไรกำหนดสติตรงนั้นแบบสบายๆ คุณวางความรู้สึกตรงนั้นแล้วสบายสงบก็วางตรงนั้นรู้สึกอยู่ตรงนั้น แม้บางครั้งไม่เป็นแบบเดิมก็ไม่เป็นไร คุณใช้วิธีนับแบบของคุณไป เมื่อแบบนี้ได้ผลก็ทำบ่อยๆ เมื่อจิตสงบระงับมากเข้าจิตจะวางจากการนับไปเอง วิธีนับเป็นเพียงเริ่มต้นให้จิตจดจ่ออยู่กับการนับในใจ เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้วก็กำหนดรู้อาการของสมาธิไป กำหนดรู้เวทนา จิตและธรรม กล่าวคือเจริญสติปัฏฐานตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ครบครับ
     
  17. ชัยวัฒนา

    ชัยวัฒนา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +24
    หลากหลายวิธีไปครับ ผมนึกตามที่คุณเล่ามาพอจะเห็นภาพที่คุณนั่งแล้วเปิดพัดลมให้ไม่ร้อน บางครั้งนอนทำจนเพลอหลับไป ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่า :)

    คุณกำหนดสติที่การเต้นของหัวใจหรือชีพจรแล้วได้ผลน่าจะใช้วิธีนี้ไปก่อนครับ ส่วนลมที่มากระทบตัวคุณนั้นผมแนะนำว่าไม่ควรไปสนใจมัน เพราะจะทำให้วอกแวกไปมาระหว่างกำหนดที่ชีพจรกับลมที่มากระทบกาย ถ้ายังไม่ได้ผลก็ให้พัดลมพัดไปที่อื่นหรือปิดไป ทนร้อนเอาดีกว่าครับ

    บางครั้งคุณอาจจะนึกอยากกำหนดลมหายใจก็มาจับที่ลมหายใจอีก ก็เป็นอันว่าจิตมีเรื่องที่ต้องกำหนดรู้มากเกินไป. สิ่งเกิดขึ้นคือจิตสัดส่ายไปมาไม่เกิดสมาธิและไม่เป็นผลดี นานไปจะเบื่อหน่ายท้อแท้พาลไม่ฝึกไป

    เริ่มต้นในสิ่งที่คุณทำแล้วได้ผลไปดีกว่าครับ เพราะว่าคุณจดจ่อและสงบนิ่งได้นานนั่นก็หมายความว่าเกิดสมาธิแล้วทำแบบนี้บ่อยๆ.พระพุทธเจ้าท่านให้เจริญสติในกาย เวทนา. จิตและธรรม เป็นการดีอย่างหนึ่งครับที่คุณรู้การเต้นของชีพจร หมายความว่ากำหนดสติในกายของคุณเอง กายกล่าวคือชีพจรเป็นไปแบบใด ครั้นเมื่อกระทบกับอารมณ์ภายนอกหรือภายในอย่างไรแล้วทำให้ชีพจรเต้นเปลี่ยนไปอย่างไร

    เมื่อคุณโกรธชีพจรเป็นอย่างไร เมื่อคุณดูทีวีในตอนที่วาบหวาม สาวร่างงามนุ่งน้อยห่มน้อยแล้วชีพจรเปลี่ยนไปอย่างไร รู้สึกทุกข์หรือสุข ความอยากต่างๆ นานาเกิดขึ้นแล้วชีพจรเป็นไปอย่างไรต่างจากตอนเกิดสมาธิอย่างไร ความสุขหรือทุกข์ที่ได้รับชีพจรเป็นอย่างไร

    คิดถึงธรรมะพิจารณาธรรมะแล้วรู้สึกอย่างไรชีพจรเป็นอย่างไร ความแปรเปลี่ยนไม่แน่นอนเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกที่มากระทบมีผลอย่างไร กำหนดสติให้มั่นอยู่ตลอดทุกอิริยาบท นอนก็ทำ ดูหนังฟังเพลงก็ทำตามถนัด

    ความจริงของชีพจรกับจิตใจสัมพันธ์กันอย่างไร ปล่อยให้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หน้าที่ของคุณคือกำหนดรู้อย่างเดียว คุณไม่ต้องไปบังคับ กำหนดรู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องไปปรุงแต่งความคิดเพิ่มเติม คุณจะเห็นความจริงของตัวเอง กิเลสตัณหาต่างๆ จะเห็นตามความเป็นจริง กำหนดตัวทุกข์ให้ชัด มันเป็นอย่างไร. เมื่อเห็นทุกข์ชัดแจ้งคุณจะเห็นโทษของมัน กล่าวคืออารมณ์รัก โลภ โกรธและหลง มันเป็นเหตุแห่งทุกข์และเป็นโทษทั้งแก่ร่างกายและจิตใจ บางทีคนรอบข้างคุณก็เป็นทุกข์ไปด้วยนั่นคือโทษ

    คุณจะมีสติมากขึ้นแม้กำลังอยู่ในอารมณ์ที่เป็นทุกข์อยู่ การหักห้ามและการข่มจิตข่มใจ ความอดทนอดกลั้นเพื่อไม่ให้เพลี่ยงพล้ำจะเกิดขึ้น คุณจะเริ่มลด เริ่มละ และเลิกเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    ไปทีละเล็กทีละน้อย จิตใจจะเริ่มเบาสบายไปเมื่อใจคุณเริ่มคลายจากอาการทุกข์ใจ ก็กำหนดสติ
    ไปต่อเนื่องครับ. อีกอย่างครับ ผมว่าถ้านอนทำบนที่นอนหรือที่ที่สบายเกินไปก็ไม่เกิดผลดีครับ สำหรับคุณลำบากนิดหน่อยดีกว่าครับ :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2013
  18. jadeprawit

    jadeprawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +117
    ขอบคุณมากครับคุณนิวรณ์

    ขอบคุณมากครับคุณชัยวัฒนา

    ฝึกเป็นผู้รู้ ตามดูจิตตรงที่ฝึกนี้ดูก่อน และฝึกแบบใดแบบหนึ่งเพื่อจิตจะตั้งมั่นได้ง่ายขึ้น

    ผมขอเอาคำแนะนำไปฝึกเพิ่มเติมครับ ขอบคุณมากครับ
     
  19. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573

    ไม่ใช่ผู้รู้นะ แค่ แวะผ่านมา อ่านเจอ เฉยๆ นะ คิคิ

    อ่านกระทู้ของหลายท่าน เพิ่มเติมความรู้ได้มากเลย หละ

    อย่างไร ก้อตาม นะ สภาวะของแต่ละคน มะเหมือนกัน อาการหว่างคิ้ว เกิดได้จากหลายสาเหตุ และก่อเกิดผลได้หลายแบบ เช่น
    1. การเริ่มต้นของ อภิญญา ที่อาจเกิดจากการฝึกใหม่ หรือ มาจากของเก่า
    2. เป็นอาการรบกวน ทางกาย เพื่อขวาง ความสงบ แบบนี้ ต้อง ละ แล้วหละ
    3. เป็นส่วนหนึ่ง ของการ จัดสมดุลย์ ของสภาพร่างกาย เพื่อเข้าสู่ความสงบ
    4. หรือ อาจเป็น การจัดสภาพร่างกาย เพื่อรักษา โรคภัย ให้กับตัวเอง (เป็นผลมาจาก ข้อ 3 นั่น แหละ )
    5. อื่นๆ อีก มากมาย

    จำ ต้อง ไป หา พระ เพื่อ รับคำชี้แนะ ต่อ สภาวะ นั้นๆ อย่างใกล้ชิด น้า จ้า
    (อย่างที่ เอ่ย น่าน แหละ สภาวะ แต่ละ คน มะ เหมือน กัน จริงๆ อ่านแล้ว ทึกทักเอง มะได้ น้า จ้า)
     
  20. jadeprawit

    jadeprawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +117
    ผมฝึกเพิ่มเติมมาโดยเลือกทำสมาธิจับชีพจรที่ปลายนิ้วแล้วมีอาการ ชาที่มือทั้ง 2 ข้างครับ
    มือทั้ง 2 ร้อนผ่าววูบวาบ ผมตามรู้อาการอยู่ครับ จนออกจากสมาธิ ผมต้องบีบนวดมือโดยเฉพาะนิ้วก้อยผมทั้งซ้ายขวาชาหมดความรู้สึกเลย จะเป็นอันตรายมั้ยครับ หรือผมทำผิดตรงไหนหรือเปล่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...