จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ขออนุโมทนาบุญ กับ จิตบุญ ดวงที่ 135 คุณอ๊อด และ ครูผู้สอนทุกท่าน ค่ะ สาธุ...: :cool:
     
  2. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,016
    ค่าพลัง:
    +10,241
    _/\_ สาธุ
    ขออนุโมทนากับจิตบุญดวงที่ ๑๓๕
    และคุณครูจิตบุญทุกท่านด้วยครับ
     
  3. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มีนาคม 2013
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,500
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    ที่สุดแห่งกองทุกข์คือพระนิพพาน

    จะมีใครสักกี่คนในโลกนี้ที่รู้ว่า “ที่สุดแห่งกองทุกข์คือพระนิพพาน” และตราบใดที่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายยังไม่ถึงพระนิพพานนั่นก็หมายถึงยังไม่ถึง ที่สุดแห่งกองทุกข์เช่นกัน เราทั้งหลายต่างปฏิบัติเพื่อไปให้ถึงซึ่งพระนิพพานเพราะมีความรู้สึกว่าพระ นิพพานคือความสุข คือความสงบ หรืออาจจะเปรียบได้กับสวรรค์ก็ว่าได้และไม่มีอะไรเสมอเหมือนจึงพยายามทุก วิถีทางเพื่อจะไปให้ถึง อาจจะด้วยวิธีใดก็ได้โดยไม่ได้เข้าไปรู้เลยว่า การปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพานนั้นมันเป็นเช่นไร อาศัยเพียงแค่ความอยากเท่านั้นคิดว่าคงพอ มันไม่ใช่เลย พระนิพพานไม่ได้เข้าถึงด้วยความอยากแต่เข้าถึงด้วยปัญญา ปัญญาที่จิตมันยอมรับความจริงไม่ว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าจะเป็นเช่นไร ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่น่ายินดีพอใจหรือไม่น่ายินดีพอใจ หรือแม้กระทั้งสิ่งนั้นจะเป็นบาปหรือเป็นบุญ จิตของผู้ปฏิบัติก็จะต้องยอมรับได้ทั้งนั้น และจะต้องยอมรับด้วยจิตใจที่เป็นกลางหรือการวางจิตให้เป็นอุเบกขาไม่เอน เอียงไปทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและจะต้องวางด้วยตัวของมันเองนะไม่ได้วางด้วยการ กระทำหรือการกดข่ม หากทำได้เช่นนี้ก็คงถึงซึ่งพระนิพพานเข้าสักวันไม่วันใดก็วันหนึ่ง….

    คนทั้งหลายต่างปฏิบัติเพื่อจะไปให้ถึงพระนิพพานเพื่อจะได้พบสุข แต่จะมีใครสักกี่คนที่ปฏิบัติเพื่อไปให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ ต่างกันนะระหว่างความรู้สึกของสองสิ่งนี้ราวฟ้ากับดินเลยเชียวหละ หากวันนี้ผู้เขียนบอกว่า “เรามาปฏิบัติเพื่อไปให้ถึงพระนิพพานกันเถอะ” เชื่อไหมว่าจะต้องมีผู้ปฏิบัติจำนวนมากที่สนใจใคร่อยากจะปฏิบัติตามเพราะมี ความรู้สึกว่าอยากจะได้สุข แต่ถ้าผู้เขียนบอกว่า “เราทั้งหลายมาปฏิบัติเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์กันเถอะ” เชื่อไหมว่าแทบจะไม่มีใครสนใจเลยเพราะมีความรู้สึกว่ามันคือทุกข์ หนทางข้างหน้าก็คงจะต้องเต็มไปด้วยกองทุกข์และขวากหนามที่จะต้องฝ่าฟัน ไม่เอาดีกว่า อยู่อย่างนี้ก็มีความสุขดีอยู่แล้วจะไปหาเรื่องใส่ตัวทำไม และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ การที่จะทวนกระแสกิเลสตัณหานั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง และก็ไม่รู้ด้วยว่ามันจะไปสิ้นสุดตรงไหนและเมื่อไหร่ เราทุกคนจึงไม่อยากแม้แต่จะได้ยินคำๆนี้เพราะมีความรู้สึกว่ามันคือ “นรก” ไม่ใช่ “สวรรค์” เหมือนดั่งคำว่า “พระนิพพาน”

    ผู้ปฏิบัติทั้งหลายต่างไม่รู้เลยว่า “คำสองคำนี้” มันคือสิ่งเดียวกัน เมื่อไหร่ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์เมื่อนั้นแหละก็จะถึงซึ่งพระนิพพานพร้อมกัน ไปด้วย ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลยจะต่างกันก็ตรงที่ “ความรู้สึก” ของผู้ปฏิบัติทั้งหลายเองเท่านั้นที่พยายามแยกความจริงของสองสิ่งนี้ออกจาก กันเพราะมีความรู้สึกว่ามันเป็นคนละตัวกันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้นความรู้สึกในการปฏิบัติก็เลยต่างกัน คนหนึ่งปฏิบัติด้วยความอยากพบสุข อีกคนปฏิบัติด้วยความอยากสิ้นทุกข์ คุณรู้สึกไหมเมื่อได้อ่านประโยคนี้แรงผลักทางด้านจิตใจมันไม่เหมือนกัน คนหนึ่งแรกผลักมันยังไม่เต็มที่ที่ไม่เต็มที่นั้นก็เพราะความสุขที่ตัวเอง ได้รับอยู่ก่อนแล้วมันยังรั้งอยู่ ส่วนอีกผู้หนึ่งแรงผลักมันเต็มที่ๆเพราะจิตมันเห็นแล้วว่าที่ว่าสุขนั้นมัน ก็ยังเป็นสุขที่ไม่ใช่ของจริง เป็นสุขที่ขึ้นๆลง เป็นสุขที่จอมปลอม ส่วนทุกข์นั้นไม่ต้องพูดถึงเลยเพราะว่าความสุขเมื่อไม่เอาเสียแล้วความทุก นั้นก็แทบจะไม่มีความหมายใดๆเลย แล้วคุณคิดว่าหากคนสองคนนี้ปฏิบัติเพื่อไปให้ถึงพระนิพพานหรือที่สุดแห่งกอง ทุกข์ “ใคร” จะไปถึงก่อนกัน….

    ที่ผู้เขียนสามารถพูดเช่นนี้ได้เพราะผู้เขียนได้เดินผ่านทั้งสองเส้นทางนี้ มาแล้ว ทั้งเส้นทางของพระนิพพานและเส้นทางของที่สุดแห่งกองทุกข์ ถึงรู้ได้ถึงความอยากได้พระนิพพานมันเป็นความอยากพบสุขจริงๆ แต่อยากนี้มักจะไม่ค่อยมีปัญญา เป็นความอยากที่ตั้งอยู่บนความฝันๆว่า สักวันหนึ่งเราจะต้องไปให้ถึงพระนิพพานให้ได้ อยากอยู่อย่างนั้นแหละตัวลอยใจลอยไปหมด ปฏิบัติไปๆก็ไม่ถึงสักที ที่ไม่ถึงเพราะปฏิบัติด้วยความโลภ ด้วยความอยากได้ สุดท้ายแล้วก็ต้องปล่อยๆเพราะไปไม่ถึง…..
    ส่วนเส้นทางที่สุดแห่งกอง ทุกข์นั้น เป็นเส้นทางของ “ความจริง” ไม่ใช่เส้นทางของความเพ้อฝัน ความจริงคืออะไร ความจริงก็คือจะต้อง “ปฏิบัติ” ปฏิบัติในที่นี้คือการ “ทวนกระแส” ทวนกระแสแห่งกิเลส-ตัณหา-อุปทาน

    กระแสแห่งกิเลสคืออะไร กระแสแห่งกิเลสก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    กระแสแห่งตัณหาคืออะไร กระแสแห่งตัณหาก็คือ ความอยากและความไม่อยาก
    กระแสแห่งอุปทานคืออะไร กระแสแห่งอุปทานก็คือ ความยึดมั่นถือมั่น
    “สาม สิ่ง” นี่แหละเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องทวนมันให้ได้ ไม่ว่ามันจะมีกระแสอันเชี่ยวกรากขนาดไหนก็ต้องทวนมันแล้วก็ต้องผ่านมันไปให้ ได้ เพราะมันคือหนทาง “รอด” เพียงทางเดียวเท่านั้น

    รู้สึกไหมพอผู้เขียนๆถึงการ “ทวนกระแส” จิตใจมันเริ่มที่จะห่อเหี่ยวหรือเริ่มที่จะไม่เต็มที่กับเส้นทางนี้แล้ว เพราะจิตมันเริ่มเห็นแล้วว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายเลยสำหรับผู้ปฏิบัติ “ใช่” มัน “ไม่ง่าย” เลยแต่มันก็ “ไม่ยาก”ไปกว่า “จิตใจที่เข็มแข็ง” ของผู้ปฏิบัติเอง เส้นทางข้างหน้าอาจจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ผู้เขียนสามารถเอาชีวิตเป็นประกันได้เลยว่า “ผลของมันช่างหอมหวานและวิเศษสุดเท่าที่ชีวิตของผู้เขียนได้เคยสัมผัสจากการ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์” และเป็นความหอมหวานอย่างที่จะหาอะไรมาเปรียบมิได้เลย สุขอยู่อย่างนั้นแหละ สุขด้วยตัวของมันเองและเป็นความสุขที่เป็น “อมตะ” ด้วยนะ สุขที่ไม่ต้องขึ้นตรงต่อสิ่งใด เป็นความสุขที่ตั้งอยู่บนความวางเฉยหรืออุเบกขา

    อยากนะ อยากให้ผู้ปฏิบัติทุกท่านเข้ามาลิ้มลองความสุขชนิดนี้ดู รับลองเลยว่าทุกท่านก็จะต้องกล่าวเช่นเดียวกับที่ผู้เขียนได้กล่าวเอาไว้ มันเหมือนได้อยู่ในโลกอีกโลกหนึ่ง ซึ่งโลกที่ว่านี้ไม่ใช่โลกของแดนสวรรค์ ไม่ใช่โลกของแดนพรหมและไม่ใช่โลกของแดนใดๆทั้งสิ้น แต่เป็นโลกของความ “ว่างเปล่า” ว่างเปล่าจากตัวตน บุคคล สัตว์ เราและเขา ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า แล้วความว่างเปล่ามันจะทำให้เราเป็นสุขได้อย่างไร…… เป็นสุขซิ เป็นสุขที่วิเศษสุดเสียด้วย เพราะความว่างเปล่านี้เป็นความว่างเปล่าจาก “กิเลส-ตัณหา-อุปทาน” ที่เป็นเครื่องแสดแทงมนุษย์และสัตว์บนโลกนี้ให้จมอยู่ใน “กองทุกข์” อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น

    เทวดา มนุษย์และสัตว์ ทั้งหลายจงมาลองดูเถิด เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกพระองค์ ท่านทรงเดินผ่านมาแล้ว….. และถึงแล้ว…..ที่สุดแห่งการเกิด ที่สุดแห่งการแก่ ที่สุดแห่งการเจ็บ ที่สุดแห่งการตายและท้ายที่สุด…….ที่สุดแห่งกองทุกข์ ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์สิ้นแล้ว สิ่งที่ควรกระทำก็ได้ทำเสร็จแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นไปเพื่อสิ่งนี้อีกแล้ว ที่สุดแห่งความสุขได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา……..

    นิพพิทาญาณ
    มีนักปฏิบัติเป็นจำนวนมากที่พยายามจะนำพาจิตของตนให้ไปสู่ “นิพพิทา” คือความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด เพราะสิ่งๆนี้มันเหมือนเป็นสิ่งที่สามารถนำพาจิตของผู้นั้นให้รอดพ้นจาก ทุกข์ได้ การที่จิตของผู้ปฏิบัติๆไปจนเกิดนิพพิทาจริงๆได้นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ยาก ทำไมผู้เขียนจึงพูดเช่นนี้ เพราะครั้งหนึ่งผู้เขียนก็เคยเกิดจิตที่ “เบื่อหน่าย” เบื่อหน่ายจริงๆเบื่อหน่ายกับทุกๆเรื่อง และหลงคิดไปว่ามันเป็นความเบื่อหน่ายที่เรียกว่า นิพพิทา ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะจิตมันเกิดความเบื่อหน่ายก็จริงแต่มันไม่ได้ “คลายกำหนัด” คือความยึดมั่น ยึดมั่นต่ออะไร ยึดมั่นต่อ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นได้เพียงจิตเกิดความเบื่อหน่าย…..เบื่ออะไรก็ไม่รู้ รู้แต่ว่ามันเบื่อไปเสียทุกเรื่อง ยกเว้น เบื่อสุขนะ จิตมันยังไม่เบื่อสุขเพราะจิตมันยังรู้สึกว่า “สุข” มันยังเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้ สุขเกิดเมื่อไหร่ความเบื่อหน่ายก็จะไปเมื่อนั้น……และนี่แหละผู้เขียนจึงบอก ว่า มันยังไม่ใช่ “นิพพิทาญาณ” คือความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เพราะถ้าเป็นนิพพิทาญาณจริงๆแล้วละก็ มันเบื่อหมดเลย เบื่อทั้งสุขและเบื่อทั้งทุกข์ จิตมันอยากจะพ้นทุกข์เพียงอย่างเดียว และจิตชนิดนี้มันจะไม่ดิ้นรนด้วยนะ มันจะเป็นจิตที่เป็นอุเบกขา อุเบกขาต่ออะไร อุเบกขาต่ออารมณ์ที่เข้ามายั่วยุทางทวารทั้งหก อันได้แก่ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส และใจที่ปรุงอารมณ์ …….นี่ มันต้องเป็นเช่นนี้ แต่ที่ผู้ปฏิบัติเบื่อๆกันนั้นมันยังเป็นการ “เบื่ออารมณ์” และการเบื่ออารมณ์นี้ก็รวมไปถึงอารมณ์ที่มันเฉยๆด้วยนะ แต่พอมีสิ่งยั่วยุทาง หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจ อาการเบื่อทั้งหลายมันก็จะหายไป หากผู้ปฏิบัติมีปัญญาก็จะเห็นเลยว่า อารมณ์ต่างๆทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจและรวมไปถึงอารมณ์เฉยๆ ต่างก็แสดงไตรลักษณ์ให้เราเห็นนั่นก็คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน อย่าทิ้งนะ “ไตรลักษณ์” สำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาเพราะทุกอย่างบนโลกใบนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะ พ้นไปจากไตรลักษณ์ แต่ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักมองข้ามเพราะไม่เห็นความสำคัญของสิ่งๆนี้ แต่กลับไปให้ความสำคัญต่ออารมณ์ที่ปรากฏและเผลอเข้าไปเพ่ง จ้อง ต่ออารมณ์นั่นๆจนมองข้ามกฎของธรรมชาติ(ไตรลักษณ์)ตัวนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

    เห็นไหมมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ “นิพพิทาญาณ” จะเกิดขึ้นแต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะไปให้ถึงที่สุด แห่งกองทุกข์หรือมรรคผลนิพพาน และจุดประสงค์ของผู้เขียนที่เขียนบอกเอาไว้ในวันนี้ก็ไม่ใช่ให้จิตของผู้ ปฏิบัติเกิดความท้อแท้และท้อถอยนะ เพียงแต่ต้องการให้รู้ความจริงเท่านั้น รู้ความจริงเพื่ออะไร ก็เพื่อวันใดวันหนึ่งที่จิตมันไม่สามารถจะถอนจากความเบื่อหน่ายได้ก็จะได้ ไม่เกิดความท้อถอยว่า “ชาตินี้เราคงจะไปไม่ถึงพระนิพพานเป็นแน่” แล้วก็หยุดการปฏิบัติ เมื่อหยุดการปฏิบัติมันก็เหมือนกับการไหลไปตามกระแสกิเลส-ตัณหาอีกครั้ง หนึ่ง และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆมีผู้ปฏิบัติเป็นจำนวนมากที่จิตเกิดความท้อถอยและ ท้อแท้ เพราะพยายามปฏิบัติไปๆมันก็ไม่ถึงไหนซะที จิตเกิดความเบื่อหน่ายแล้วเบื่อหน่ายอีกมันก็ยังย่ำอยู่ที่เดิมเดินปัญญาต่อ ไปไม่ได้……

    เพราะฉะนั้นต่อไปนี้จิตเกิดความเบื่อหน่ายก็ให้รู้ว่าเบื่อหน่ายอย่าไปใส่ใจ กับมันให้มากนัก แล้วหันกลับมาพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แทนนั่นคือการเอาจิตกลับมาแนบอยู่กับกายไม่ให้ส่งจิตออกนอก โดยพิจารณาว่า ผมที่เคยดำบัดนี้มันก็เริ่มที่จะมีหงอกขึ้นมาหรือพิจารณาผมที่ร่วงหล่นก็ได้ ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็เช่นกันพยายามเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนของสิ่งต่างๆ ส่วนตัวของผู้เขียนนั้นพิจารณาผม กับหนังแล้วจิตมันเห็นความจริง เพราะผมจากดำมันเริ่มที่จะมีหงอกส่วนหนังนั้นมันก็เริ่มที่จะเหี่ยวย่นไปตาม วัยของมัน เห็นความจริงเช่นนี้แล้วจิตมันก็รู้สึกได้ถึงความไม่เที่ยงของสกลร่างกายนี้ ว่ามันบังคับไม่ได้ถึงแม้นไม่อยากให้มันเป็นเช่นนี้มันก็ทำไม่ได้ เมื่อทำไม่ได้ก็ “ยอมรับ” การยอมรับนั่นแหละคือการยอมรับธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามจะ ต้องยอมรับและและให้ความ “เคารพ” มนุษย์ที่เป็นทุกข์ทุกวันนี้ก็เพราะไม่ยอมรับกฎของธรรมชาติ และพยายามที่จะ “สู้” ยิ่งสู้ก็ยิ่งแพ้ ทำไมถึง “แพ้” เพราะไม่ได้ต่อสู้ด้วยปัญญาคือเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงแต่เป็นการต่อสู้ ด้วย “ทิฐิมานะ อัตตาตัวตน” แล้วคุณคิดว่ามันจะ “ชนะ”ไหม ไม่มีวันชนะหรอกเพราะชัยชนะที่แท้จริงนั้นมันอยู่ “หลัง” การพ่ายแพ้ แค่คุณยอมแพ้มันคุณก็จะชนะมันพร้อมกันไปด้วย ทำไมผู้เขียนถึงบอกเช่นนี้ เพราะผู้เขียนได้ประสบมากับตัวผู้เขียนเองหมดแล้ว ทิฐิมานะ อัตตาตัวตน มันไม่ได้ช่วยอะไรๆได้เลยแม้แต่นิดเดียวมีแต่จะพาจิตใจของผู้ปฏิบัติให้จมลง สู่ก้นเหวของอเวจีแต่เพียงถ่ายเดียวเท่านั้น

    ผู้รู้-ผู้ไม่รู้
    ในโลกนี้มีคนอยู่สองประเภท ประเภทหนึ่งคือผู้รู้และอีกประเภทหนึ่งคือผู้ไม่รู้ รู้สึกไหมเมื่อได้อ่านประโยคนี้ จิตของผู้อ่านจะแยกระหว่างผู้รู้และผู้ไม่รู้ออกเป็นตัวบุคคลสองบุคคลไม่ เกี่ยวข้องกัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วทั้งผู้รู้และผู้ไม่รู้มันคือคนๆเดียวกันและนั่นก็หมาย ถึงตัวคุณเองด้วย สังเกตไหมจิตของคุณเดี๋ยวมันก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวมันก็เป็นผู้ไม่รู้(ผู้ หลง)เมื่อไหร่ที่จิตของคุณมันเข้าไปรู้สภาวะตามความเป็นจริง จิตที่ไม่รู้ก็หายไปและเช่นกันเมื่อไหร่จิตของคุณมันไม่รู้สภาวะตามความเป็น จริงจิตไม่รู้ก็เกิดขึ้นในทันที งงไหม….เห็นไหมขณะนี้จิตของคุณเป็นจิตที่ไม่รู้แต่สักประเดี๋ยว จากจิตผู้ไม่รู้ก็จะค่อยๆกลับกลายไปเป็นจิตผู้รู้ มีอยู่แค่นี้แหละจิตของผู้ปฏิบัติ ส่วนจิตของผู้ไม่ปฏิบัติจะเป็นจิตที่ไม่รู้อะไรเลยเพราะหลงอยู่ตลอดเวลาไม่ เคยสังเกตหรือไม่เคยพิจารณาเลย แม้นผู้เขียนจะพยายามอธิบายอย่างไรก็ไม่เข้าใจเพราะใจมันถูกอวิชชาครอบงำจน มืดและบอดสนิทถึงแม้นจะหาทางมองให้ออกแต่มันก็ไม่สามารถทำได้ เพราะทุกอย่างมันต้องอาศัยระยะเวลาในการสะสมสภาวะเพื่อให้จิตมันเห็นสภาวะ ตามความเป็นจริง แต่หากผู้อ่านเริ่มที่จะหันมามองจิตของตัวเองตั้งแต่วันนี้ไม่แน่ว่าจิตที่ มืดบอดมันจะรู้สึกตื่นขึ้นมาบ้าง อาการตื่นที่ว่านี้มันจะรู้สึกได้ถึงลักษณะของอาการยิบยับขึ้นมาตรงกลางอก หรือว่าใจนั่นเอง อาการตื่นของจิตนั้นเมื่อเรารู้จักสังเกตดูจิตมันจะมีกำลังขึ้นมาและเริ่ม ที่จะอยู่กับปัจจุบันเป็นขณะๆและความเป็นขณะๆนี้หากมีการทำความรู้สึกอย่าง ต่อเนื่องต่อเนื่องนะไม่ใช่ตลอดเวลา เราจะรู้ได้ถึงความเป็นปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ

    เมื่ออยู่กับปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆเราก็จะเห็นเลยว่าจิตมันมีความสุข รู้ตื่น เบิกบาน เพราะไม่มัวหลงอยู่กับอดีตที่ผ่านพ้นมาแล้วและไหลไปหาอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และนี้แหละที่เรียกว่าการทำ “วิปัสสนา” หละ วิปัสสนาที่แท้จริงจะต้องพ้นการมีรูปแบบหรือพูดอีกแง่หนึ่งคือการอยู่เหนือ รูปแบบใดๆขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง รูปแบบเป็นเพียงพื้นเบื้องต้นเพื่อให้เราเดินไปข้างหน้าได้เท่านั้นเมื่อถึง เวลาอันสมควรก็จะต้องปล่อยแล้วก็เดินด้วยตัวของเราเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งพา อาศัยอะไร แม้แต่ “ความคิด” ที่ใครๆก็มักจะใช้ในการพึ่งพาอาศัยและหลงคิดไปว่า ถ้าไม่คิดแล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ผู้เขียนบอกได้เลยว่า “ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ” ที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นได้เพราะจิตเข้าไปรู้สภาวะตามความเป็นจริงเพียงอย่าง เดียวเท่านั้น นอกจากนั้นไม่ใช่เลย อีกอย่างหนึ่ง คุณจะเชื่อได้อย่างไรว่าสิ่งที่คุณคิดมันเป็นการ “คิดถูก” ไม่ใช่ “คิดผิด” เมื่อไหร่ที่คิดจิตก็จะพ้นจากวิปัสสนาแล้วกลายไปเป็น “สมถะ” ทันที เพราะวิปัสสนาที่แท้จริงจะต้องมีความ “รู้สึกตัว” ล้วนๆเท่านั้น เอาหละ….เมื่อพูดถึงความคิดที่มีทั้งคิดถูกและคิดผิด ผู้เขียนก็จะชี้ให้เห็นว่า “คิดถูก” มันเป็นเช่นไร และ “คิดผิด” มันเป็นเช่นไร…..
    คิดถูกนั้น ทุกอย่างที่จิตนำไปพิจารณาจะต้องพิจารณาตามความเป็นจริงจนจิตเกิดความเบื่อ หน่าย เมื่อเบื่อหน่ายแล้วก็คลายกำหนัด คลายความยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งๆนั่นอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็หมายถึงทุกอย่างที่จิตคิดจะต้องลงไตรลักษณ์หมดนั่นคือ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์จิตจะไม่มีวันเกิดความเบื่อหน่ายเลย เมื่อจิตเกิดความเบื่อหน่ายมากๆเข้าจิตจะเห็นเลยว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรให้หลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้เลย” แล้วจิตก็จะหาทางออกของเขาเอง และนั่นก็หมายถึง จิตเริ่มที่จะหาทางพ้นทุกข์ หาทางพ้นทุกข์นะไม่ใช่ “หาทางหนีทุกข์” ซึ่งสองคำนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

    หาทางพ้นทุกข์หมายถึงว่า แม้น “สุข” มาจิตก็จะไม่เอาอีกแล้วคือไม่เอาทั้งสุขและไม่เอาทั้งทุกข์ คือต้องการพ้นอย่างเดียว ส่วนการ “หนีทุกข์” นั้น ไม่เอา “ทุกข์” นะแต่จะเอา “สุข” เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาจิตก็จะดิ้นรน ทำอย่างไรที่จะให้จิตพ้นทุกข์ พ้นในที่นี้หมายถึง พ้นจากทุกข์ที่มีอยู่ในขณะนั้น และเหตุนี้แหละจึงเป็นที่มาของหลายๆบุคคลที่หันหน้าเข้าวัด หันหน้าฟังธรรมและอีกหลายๆบุคคลที่เกิดอาการ “ติดวัด” โดยมีความรู้สึกว่าอยู่วัดแล้วสบายใจ ไม่วุ่นวาย ซึ่งมันก็ช่วยได้นะ แต่ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นเพราะความเป็นจริงแล้วชีวิตของคนเราจะต้องอยู่ กับ “ความจริง” ความจริงคืออะไร….ความจริงคือทุกสิ่งมัน “วุ่นวาย” เมื่อไม่รู้ความจริงว่ามันวุ่นวายจิตก็จะดิ้น ดิ้นเพื่อให้พ้นจากสิ่งนี้ แล้วคุณคิดว่ามันจะพ้นได้ไหม ไม่มีทางพ้นหรอกเพราะความจริงมันก็คือความจริง ความจริงมันวุ่นวายมันก็ต้องวุ่นวายไปตามความเป็นจริง แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกพระองค์ท่านก็ทรงยอมรับสิ่งนี้ เพราะสิ่งนี้มันคือ “ความจริง” ของธรรมชาติที่ถูกครอบงำด้วยความวุ่นวาย เมื่อจิตยอมรับนั่นก็หมายถึงการยอมรับความจริง ซึ่งจะแตกต่างจากจิตของผู้ปฏิบัติทั่วไป จิตของนักปฏิบัติทั่วไปมันไม่ชอบความวุ่นวายมันจะเอาแต่ความสงบ จิตมันก็เลยยิ่งเป็นทุกข์เมื่อออกมาใช้ชีวิตตามปกติ และนี้ก็เป็นที่มาของอีกสาเหตุหนึ่งของการมีปัญหาครอบครัว โดยธรรมดาการมีชีวิตครอบครัวก็มักจะมีปัญหาแต่เมื่อมีปัญหาแล้วแทนที่จะแก้ ปัญหาตามความเป็นจริง แต่กลับหนีปัญหา(ทุกข์)ไปอยู่กับความสงบ มองอีกแง่หนึ่งเหมือนเป็นการเห็นแก่ตัว…..เห็นแก่ตัวอย่างไร เห็นแก่ตัวโดยการทิ้งปัญหาและความทุกข์ต่างๆไว้ให้กับผู้ที่ยังคงอยู่ให้ เผชิญกับปัญหา ช่างเป็นเรื่องที่น่าสงสารนัก…..
    พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ “รู้ทุกข์” ไม่ใช่ “หนีทุกข์” เพราะการหนีทุกข์ไม่ใช่วิธีที่แก้ปัญหาด้วยปัญญา ปัญญาเกิดจากการเข้าไปรู้ตามความเป็นจริง ส่วนการหนีทุกข์นั้นคือการไม่ต้องการรู้อะไรเลยอยากจะให้มันพ้นไปเพียงอย่าง เดียว คุณจะรู้ไหมว่าแม้นว่าคุณต้องการจะพ้นหรือไม่พ้นทุกอย่างก็ต้อง “ผ่านไป” ผ่านไปตามกฎของไตรลักษณ์ แต่กิเลสมันหลอกให้จิตของคุณ “ดิ้น” ดิ้นเพื่ออะไร ดิ้นเพื่อให้จิตของคุณเป็นทุกข์ ยิ่งทุกข์เท่าไหร่ก็ยิ่ง “สะใจ” มันเท่านั้น ปุถุชนคนทั้งหลายจึงอยู่ภายใต้กิเลสที่มันหลอกล่อใจอยู่ตลอดเวลานาที………

    ลากมาซะไกลเลยเห็นไหม เห็นใจที่ไหลไปตามเนื้อหาของผู้เขียนไหม ในขณะที่อ่านรู้สึกไหมว่า “จิตมันไหลไปตามเนื้อหาที่ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้” แต่พอผู้เขียนตัดบทมาอีกเรื่องหนึ่งจิตของผู้อ่านก็ตัดมาที่ความรู้สึกตัว แต่รู้สึกได้เพียงแวบเดียวเดี๋ยวมันก็ไปอีกแล้ว ไปไหน….ไปหาความคิด ไปหาจิตปรุงแต่ง แต่งเรื่องโน้นบ้าง แต่งเรื่องนี้บ้าง สุดแล้วแต่ว่าขณะนั้นจิตของผู้อ่านเป็นเช่นไร หากจิตเป็นสุขความคิดก็จะไหลไปหาความสุข หากจิตเป็นทุกข์อยู่จิตก็จะไหลไปหาความทุกข์ หรือแม้แต่จิตของคุณมันไม่ได้ไหลไปไหนเลยเหมือนจิตมันอยู่นิ่งๆ นั่นก็ยังไม่ใช่ จิตของคุณก็ยังเป็นผู้หลงอยู่นั่นเอง และไม่ว่าจิตของคุณเป็นแบบไหนก็ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของ “อวิชชา” ทั้งสิ้น เมื่อจิตถูกอวิชชาครอบงำเสียแล้วๆจะเอา “สติที่แท้จริง” มาจากที่ไหน…..

    อย่าพึ่งท้อนะ เพราะความท้อถอยมันไม่สามารถจะให้คุณพ้นทุกข์ไปได้เพราะฉะนั้นอย่าไปกลัวมัน สิ่งใดเกิดขึ้นมาในขณะจิตขอให้สักแต่ว่ารู้เท่านั้นก็พอ เพราะนั่นหมายถึงว่าคุณได้ปิดประตูแห่งความสงสัยไปได้บ้างแล้วไม่มากก็น้อย
    กลับ มาที่การ “คิดผิด” การคิดผิดนั้นเป็นการคิดที่ “ส่งจิตออกนอก” เพ้อฝันและเพ้อเจ่อ และรวมไปถึงความ “ฟุ้งซ่าน” ของจิตด้วย เพ้อฝัน เพ้อเจ่อ ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะอาการของจิตที่ฟุ้งต่อความคิด คิดอยู่นั่นแหละ จิตมันไม่วางซะทีและบางครั้งเหมือนมันวางนะ แต่พอไม่นานจิตมันก็หยิบขึ้นมาคิดอีกใจของคุณจะรู้สึกได้ด้วยปัญญาว่ามันไม่ ได้วางจริง แต่ดูเหมือนมันวาง แต่วางชนิดนี้มันจะวางแบบขาด ปัญญา มันจะรู้สึกทื่อๆ และก็เดินปัญญาต่อไม่ได้และเหมือนกับย่ำอยู่กับที่ ซึ่งหลายๆคนเมื่อถึงจุดนี้จะใช้การกดข่มเข้าช่วย การกดข่มในที่ในก็คือการใช้ “ความคิด” เข้าช่วยนั่นเอง ก็อย่างที่บอกแหละเมื่อไหร่ที่คิดจิตก็จะตกจาก “วิปัสสนา” แล้วกลายไปเป็น “สมถะ” ทันที เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับ “นักคิด” ทั้งหลาย ยิ่งคิดก็ยิ่งห่างไกลจากมรรคผลนิพพาน เพราะมรรคผลนิพพานเป็นเรื่องของการยอมรับความจริงที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า ไม่ใช่เป็นเรื่องของความคิด(จิตปรุงแต่ง)
    วิธีแก้ก็คือ “ยอมรับความจริงซะ” มันเจริญก็รู้ว่ามันเจริญ มันจะเสื่อมก็รู้ว่ามันเสื่อม ไม่ต้องไปต้านและก็ไม่ต้องยอมรับด้วยความท้อแท้ แต่ให้รู้ตามความเป็นจริงเท่านั้น เพราะทั้งเจริญและเสื่อมมันเป็น “สิ่งคู่” ที่ทุกคนต้องยอมรับให้ได้ อย่าพยายามเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะมันเอาไม่ได้เมื่อไหร่ที่เอาสิ่งหนึ่งสิ่งหนึ่งก็ต้องติดขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้นต้องเอาทั้งสองสิ่งและเมื่อจะทิ้งก็ต้องทิ้งทั้งสองสิ่งเช่นกัน จิตจึงจะถึงพร้อมด้วยปัญญา

    ภวังคจิต
    ภวังคจิตหรือบางคนอาจจะรู้จักในนามของจิตใต้สำนึก ภวังคจิตนี้สำคัญมาก เพราะสิ่งนี้เป็นเพียงสิ่งเดียวที่การเวียนว่ายตายเกิดหรือปฏิจจสมุปบาทกง ล้อของวัฏสงสารได้ก่อกำเนิดเกิดขึ้น มันคือดวงจิตที่เต็มไปด้วยกิเลส-ตัณหา-อุปทาน หรือพูดโดยรวมมันคือดวงจิตของอวิชชาก็ว่าได้ ถึงแม้นกายภายนอกจะถูกทำลายจนนับภพนับชาติไม่ได้ก็ตามก็ไม่ได้มีความหมายต่อ ภวังคจิตนี้เลยแม้แต่น้อย มันก็ยังคงต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปเช่นเดิม หรือพูดง่ายๆว่ามันคือกองบัญชาการที่แท้จริงของสิ่งมีชีวิตทั่งปวงนั่นเอง มองเท่าไหร่ก็คงจะมองไม่ออกถึงภวังคจิตดวงนี้ สำหรับปุถุชนแล้วคงจะเป็นการยากที่จะมองและเห็นสิ่งนี้เพราะมองทุกทีๆก็เห็น แต่ “ตัวตนและของตน” อยู่ร่ำไป…….

    การกระทำของมนุษย์และสัตว์ทุกผู้ทุกนามไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา ใจ ก็ล้วนแล้วแต่ถูกบันทึกเอาไว้ในภวังคจิตหรือจิตใต้สำนึกทั้งสิ้น มันไม่ได้สูญสลายหายไปไหนเลยแม้แต่น้อย มันมีแต่จะพอกพูนขึ้นเรื่อยๆตามกำลังของกิเลส-ตัณหา-อุปทาน ดั่งที่เราๆท่านได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ของพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ทั้ง หลายที่นับวันมันมีแต่จะเพิ่มความรุนแรง โหดร้ายและเลวทรามเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆอย่างหาประมาณไม่ได้ นั่นก็เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากจิตที่ความจริงมันควรจะได้รับการซักฟอกให้ ขาวสะอาดแต่ตรงกันข้ามแทนที่จะเพิ่มความขาวสะอาดแต่กลับไปพอกพูนความสกปรก ให้กับจิต จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่านับจากวันนี้ต่อไปจนถึงภายภาคหน้ามนุษย์และสัตว์ทั้ง หลายจะอยู่กันอย่างไรและต้องเผชิญกับอะไรบ้างในวันข้างหน้า น่ากลัวนะ….กับสิ่งที่เรามองไม่เห็นแต่รู้แน่ๆว่ามันจะต้องเกิดขึ้นแน่และ สิ่งที่เกิดขึ้นมันก็เป็นสิ่งที่โหดร้ายและน่ากลัวเป็นอย่างหาประมาณมิได้….

    รีบเอาตัวรอดเถิด….เอาตัวรอดในที่นี่ไม่ใช่ต้องวิ่งหนีไปให้สุดกู่หรือเข้า ป่าไปเลยนะ เพราะนั่นมันเป็นเรื่องของทางกายเท่านั้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับทางจิตเลย เอาตัวรอดในที่นี่ก็คือ “การหันหน้าศึกษาธรรม” ซักฟอกจิตใจตัวเองให้สะอาด บริสุทธิ์ เพราะนี่คือหนทางรอดเพียงหนทางเดียวเท่านั้นของมนุษย์และสัตว์ที่ยังคงเวียน ว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้ “จิตภาวนา” การพินิจพิจารณาดูจิตของตัวเองให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ถึงแม้นจะไม่รอดพ้นจากวิบากกรรมโดยสิ้นเชิง แต่นั่นก็หมายถึง แดนเกิดที่ไม่ใช่ “อบายภูมิ” ที่เป็นแดนของสัตว์นรกและภูตผีปีศาจทั้งหลายสิ่งสถิตเพื่อชดใช้กรรมอยู่ …..

    การเกิด…..การตายเป็นสิ่งคู่ที่น่าเบื่อที่สุด จงถอดถอนสิ่งนี้ออกมาเถิด การไม่เกิด การไม่ตาย เป็นสิ่งที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายควรทำให้แจ้ง เมื่อแจ้งแล้วความเห็นผิดของมนุษย์และสัตว์นั้นๆจะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง และจะเป็นสิ่งที่มนุษย์และสัตว์พึงรู้ได้เฉพาะตนเลยว่า ตนได้หลงเข้าไปอยู่ในที่ๆไม่ควรอยู่นั่นได้อย่างไรกัน มันช่างเป็นสถานที่ๆมืดบอดและดำสนิทหาความรื่นเริงบันเทิงใจไม่ได้เลยแม้แต่ น้อยนิด เมื่อประจักษ์แจ้งแก่จิตตัวเองแล้วก็ไม่รอช้าที่จะบอกมนุษย์และสัตว์ทั้ง หลายที่ยังหลงมัวเมาอยู่กับความมืดนั้นให้มารู้จักกับแสงสว่างที่แท้ จริง…..สะอาด สว่าง สงบ เฉกเช่นดั่งแสงอาทิตย์ที่ไม่มีวันที่จะมืดได้อีก

    ภาพแห่งมายา
    มีผู้รู้ท่านหนึ่งเคยกล่าวเอาไว้ว่า โลกนี้คือโรงละครโรงใหญ่ ในขณะนั้นผู้เขียนฟังแล้วก็ยังรู้สึกเฉยๆ อาจเป็นเพราะผู้เขียนยังไม่เห็นถึงความสำคัญว่าเหตุใดผู้รู้ท่านนี้ถึงได้ กล่าวอะไรเช่นนี้ เพราะสิ่งที่ผู้เขียนเห็นอยู่ในขณะนี้มันคือ โลกที่หลอมรวมและครอบทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้อย่างกับเป็นเนื้อเดียวกัน

    ปัญญาของผู้เขียนไม่สามารถจะเข้าไปรู้ในสิ่งที่ผู้รู้ต้องการจะให้เห็นตาม ความเป็นจริงได้เลย และอาจจะพูดได้ว่าขณะนั้นปัญญาของผู้เขียนยังมีน้อยนัก จึงได้แต่ความเข้าใจไม่สามารถเข้าถึงซึ่งสัจธรรมอันสูงสุดอันนี้ได้ แต่พอผู้เขียนปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆอย่างไม่ท้อถอยและเวลาก็ผ่านไป ผ่านไป สัจธรรมหรือความจริงก็เริ่มจะปรากฏให้เห็นทีละสิ่งทีละอย่าง จนวันหนึ่งความจริงหรือสัจธรรมอันสูงสุดนี้มันก็แจ้งครอบโลกครอบจักรวาลหา ที่สุดหาประมาณไม่ได้ โลกนี้คือละคร โลกนี้คือมายา โลกนี้คือภาพลวงตา มันก็กระจ่างชัดขึ้น ชัดขึ้น และชัดขึ้น จนวันนี้จิตของผู้เขียนมันก็ได้แจ้งแล้วว่า ผู้รู้ท่านนั้นท่านไม่ได้กล่าวเกินจริงเลยแม้แต่น้อย

    ทุกอย่างมันไม่ได้มีอยู่จริง ทุกอย่างที่เราเห็นกันนั้นเป็นภาพลวงตาทั้งสิ้น หากใครสามารถเห็นความจริงข้อนี้ได้ ผู้เขียนสามารถบอกได้เลยความ ความทุกข์ ที่ใครๆต่างก็ไม่ต้องการ จะไม่มีวันเกิดขึ้นอีกเลยชั่วชีวิตนี้ ทำไมผู้เขียนถึงได้กล่าวเช่นนี้ ผู้อ่านลองสังเกตให้ดีนะว่า ความทุกข์ของเราทุกวันนี้มันเกิดจากอะไร มันเกิดจากสิ่งภ ายนอกทั้งสิ้นใช่ไหม สิ่งภายนอกที่เข้ามากระทบสิ่งภายในที่เรียกว่า ใจ แล้วใจอันนี้แหละมันรู้ไม่เท่าทันต่อสิ่งภายนอก เมื่อไม่รู้เท่าทันเสียอย่างเดียวแล้ว ความทุกข์ของใจมันก็เกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะไปยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งภายนอกที่เข้ามากระทบสิ่งภายในที่ เรียกว่า ใจ หากวันใดที่ผู้อ่านแจ้งต่อสิ่งภายนอกและเลิกยึดมั่นต่อสิ่งภายนอก ใจ ก็จะเป็นอิสระจากสิ่งร้อยรัดทั้งปวง ภาพต่างๆที่ปรากฏมันก็จะพลอยไม่มีความหมายใดๆไปด้วย ไม่ว่าภาพนั้นจะเป็นภาพที่ยั่วยุจิตของผู้อ่านให้รู้สึกสุข-ทุกข์สักแค่ไหน ก็ไร้ผล เพราะทุกอย่างได้กลายเป็นเมฆหมอกไปเสียแล้ว

    มันเป็นการยากนะที่จะชี้ให้เห็นถึงสัจธรรมข้อนี้ ต่อให้มันปรากฏอยู่เบื้องหน้าแล้วก็ตามก็ไม่สามารถจะชี้ให้เห็นด้วยตาเนื้อ ได้ เพราะสัจธรรมอันสูงสุดนี้มันเป็นส่วนของนามธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถเข้าถึงได้ด้วย จิต ที่เป็น อิสระ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และก็มีเพียงบุคคลจำนวนไม่มากนักที่สามารถเห็นถึงสัจธรรมความจริงข้อนี้ได้ ทำไมเขาเหล่านั้นถึงสามารถเห็นได้ ไม่ใช่เขาเป็นผู้วิเศษหรืออะไรหรอกนะ เขาก็เป็นเช่นคนธรรมดาๆอย่างเช่นพวกเราทุกคนนี้แหละ แต่ที่เขาเห็นได้เพราะเขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่ไม่ท้อถอยต่อ กิเลส-ตัณหา ที่ต่างก็แห่กันมายั่วยุใจกันเป็นกองทัพ แต่เขาเหล่านั้นต่างมีจิตใจที่เข้มแข็ง บากบั่น และพากเพียรพยายามแหวกข้ามขวากหนามแห่งห้วงมหานทีแห่งกิเลส-ตัณหาออกมาได้จน สำเร็จด้วยตัวของเขาเอง หาได้มีสิ่งใดมาช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่เหล่านี้ไม่แม้แต่น้อย ต่างคนก็ต่างมีตนเป็นที่พึ่งแห่งตนโดยถ่ายเดียว เพราะเส้นทางนี้เป็นเส้นทางของผู้มาคนเดียวและไปคนเดียว จนถึงที่สุดแห่งการพากเพียรก็ได้พบสัจธรรมอันยิ่งใหญ่เป็น ธรรมชาติ ที่หาที่สุดมิได้ และนี่ก็คือผลแห่งการพากเพียรพยายาม มันคือผลแห่งการบากบั่น มันคือผลแห่งการไม่ยอมแพ้ อมฤตธรรม อันหอมหวานได้กลายมาเป็นบทสรุปของทุกสิ่งและทุกอย่างสำหรับผู้ปฏิบัติทุก ท่านที่ไม่เคยรู้จักกับคำว่า พ่ายแพ้

    ทวนกระแส
    ทวนกระแสที่ว่านี้นั้นหมายถึง การทวนกระแสแห่งกิเลสตัณหา ซึ่งกิเลสตัณหาที่ว่านั้นไม่ได้หมายถึงแค่ว่ากิเลสตัณหาที่เกิดจากผัสสะเท่า นั้น แต่มันยังหมายถึง ความคิดที่เปรียบเสมือนกองบัญชาการของการกระทำทุกอย่าง และกองบัญชาการที่ว่านี้หากมันปรากฏในรูปของรูปธรรมมันก็คงไม่เป็นการยากที่ จะทำลาย แต่นี่ไม่ใช่….เพราะนี่คือกองบัญชาการที่เกิดจากความคิดของพวกเราเอง พวกเราเป็นผู้สร้างทุกอย่างขึ้นมาแล้วพวกเราก็ไม่สามารถจะทำลายทุกอย่างออก มาได้ หลายคนที่พยายามทวนกระแสออกมาแต่มันก็ยังไม่ทานต่อกระแสแห่งความคิดที่ พยายามฉุดดึงให้พวกเราทุกคนจมปลักอยู่กับความคิดที่มันวกไปวนมาหาทางออกไม่ ได้ และสุดท้ายพวกเราก็เชื่อในสิ่งที่ความคิดมันสร้างขึ้น และก็เกาะติดอยู่กับความคิดนั้นจนสุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ต่อแรงแห่ง กิเลส-ตัณหาจนได้….

    ความคิด….จริงๆแล้วมันช่างร้ายนัก มันพยายามหลอกล่อเจ้าของทุกวิถีทางว่า ความคิดทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นเราที่คิด มองทุกทีก็เป็นเราทุกที แต่แท้ที่จริงแล้วความคิดมันไม่ใช่เราเลย ความคิดมันเป็นความหลง มันเป็นตัวอวิชชา มันเป็นสังขาร มันเป็นเจตสิก ที่ผนวกบวกกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้วก็มาหลอกล่อดวงจิตของเรา ให้เราหลงคิดว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นของเราและมีเราเป็นเจ้าของ หากมีสัมมาทิฐิก็จะเห็นความจริงข้อนี้อย่างถ่องแท้ จะเห็นเลยว่า สิ่งต่างๆล้วนเป็นเพียงสภาวะที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาและสภาวะที่ว่านี้ก็ได้ หมายรวมไปถึงความคิดที่ผลฐานของมันคือความรู้สึกด้วยเช่นกัน ความคิดที่ชอบใจและไม่ชอบใจผลของสิ่งนี้ก็คือ ความรู้สึกที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ผู้ปฏิบัติหลายๆท่านมักจะยึดเอาสิ่งที่ชอบใจและไม่ชอบใจนี้แหละเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวของจิต สิ่งที่ฉันชอบใจฉันจะนำสิ่งนั้นมาเป็นแนวทางการปฏิบัติส่วนสิ่งที่ฉันไม่ชอบ ใจนั้นฉันจะไม่เอาและก็จะไม่สนใจด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายนัก เพราะการปฏิบัติของเขาล้วนมีแต่สิ่งที่เขาชอบใจทั้งสิ้น บอกได้คำเดียวว่า กิเลสล้วนๆเลย สุดโต่งอยู่ด้านเดียว ตาช่างไม่เท่ากัน แล้วจะหาความเป็นกลางมาจากที่ไหน เมื่อหาความเป็นกลางไม่ได้เสียอย่างเดียวแล้ว อริยมรรคมีองค์แปด จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะอริยมรรคมีองค์แปดซึ่งประกอบไปด้วย สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบเป็นเบื้องต้น และมีสัมมาสมาธิเป็นเบื้องปลาย เมื่อไหร่ที่เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงไม่ได้เสียอย่างเดียว อริยมรรคทั้งเจ็ดข้อที่เหลือจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะสัมมาทิฐิเปรียบเสมือนต้นเหตุของทุกอย่างเมื่อไหร่ที่สร้างเหตุถูกต้อง ผลของมันก็จะปรากฏให้ผู้ปฏิบัติได้แจ้งแก่จิตของผู้ปฏิบัตินั่นเอง

    เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าและพระอริยะสาวกทุกพระองค์จึงพร่ำสอนไม่ให้สุดโต่ง ไปด้านใดด้านหนึ่ง เพราะท่านทรงรู้ว่าการที่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวนั่นหมาย ถึงเส้นทางที่ห่างไกลความเป็นจริงที่ทุกท่านปรารถนาจะให้ผู้ปฏิบัติทุกคนได้ เห็นได้ประจักษ์ ทุกท่านจึงพยายามพร่ำสอนว่า ให้อยู่เหนือเหตุและผล ให้อยู่เหนือสุขและทุกข์ ให้อยู่เหนือบาปและบุญ ให้อยู่เหนือสิ่งผิดและสิ่งถูก ให้อยู่เหนือสิ่งดีและสิ่งชั่วเพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น สิ่งคู่ หรือ ธรรมคู่ ที่อยู่คู่กับโลกโลกีย์ธรรมมาเป็นเวลาช้านานทั้งสิ้น แต่เราผู้ปฏิบัติต้องการปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากโลกโลกีย์ธรรมนี้ไปสู่โลก โลกุตระธรรม ซึ่งเป็นดินแดนแห่งการพ้นทุกข์ เป็นดินแดนแห่งพุทธะ เป็นดินแดนแห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นดินแดนแห่งมรรคผลนิพพานโดยแท้ แต่เราจะไม่สามารถเห็นสิ่งที่กล่าวมานี้ได้เลยหากเรายังพยายามจะแยกสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่เป็น ธรรมคู่ ออกจากกันโดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ โดยจะรู้หรือไม่รู้ก็ตามก็ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญมรรคผลนิพพาน ซึ่งมีอริยมรรคมีองค์แปดเป็นเสมือนเส้นทางเดินทั้งสิ้น
    เมื่อเห็นได้ เช่นนี้ การปฏิบัติของนักปฏิบัติก็คงจะง่ายขึ้นและมีกำลังใจมากขึ้น อย่างน้อย นี่ก็ถือว่าเป็นอีกองค์ความรู้หนึ่งที่นักปฏิบัติจะต้องเข้าไปศึกษาและเรียน รู้เพื่อจะได้เป็นหนทางในการปฏิบัติเพื่อไปสู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ต่อไปใน อนาคต…


    ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    กิเลส 3 ตัวนี้ ผู้เขียนคิดว่า มนุษย์ทุกคนย่อมจะรู้จักมันดีและก็ไม่มีใครที่จะปฏิเสธเจ้ากิเลส 3 ตัวนี้ได้แต่ถึงแม้นจะปฏิเสธหรือยอมรับมัน มันก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย เพราะความจริงมนุษย์มิได้มีอำนาจในการกำหนดมันว่าจะให้มันอยู่หรือจะให้มัน ไป แต่ตรงกันข้ามมันกลับเป็นฝ่ายกำหนดมนุษย์เสียเอง และอำนาจในการสั่งการของมันก็ช่างมากมายมหาศาลเกินกว่าที่มนุษย์จะต้านทาน มันได้ น่ากลัวนะ น่ากลัวมาก ยิ่งเมื่อไหร่ที่มันได้มีโอกาสแสดงอำนาจมันก็จะแสดงอย่างไม่เกรงกลัวใคร และหน้าไหนทั้งนั้น ไม่ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะมีอำนาจบาตรใหญ่ จะมีทรัพย์สินเงินทองและรวยล้นฟ้า หรือแม้กระทั้งมนุษย์ผู้นั้นจะมีลาภยศสูงส่งขนาดไหน ก็ยังต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจสั่งการของมันทั้งสิ้น เมื่อมันได้ในสิ่งที่มันต้องการแล้วมันก็ไป แต่ก่อนที่มันจะไปมันก็ได้ทิ้งเศษเสี้ยวของความสุขเล็กๆน้อยๆเอาไว้ให้ มนุษย์ได้ชื่นชม และความสุข เล็กๆน้อยๆที่ว่านี้ก็ใช่ว่าจะเป็นของเราอย่างแท้จริงก็หาไม่เพราะมันจะอยู่ กับเราเพียงแค่ประเดี๋ยวประด๋าวเดี๋ยวมันก็ต้องไปเช่นกัน แล้วทุกอย่างก็จบลง แต่จบในที่นี้มิใช่จบแบบสิ้นเชื้อนะ แต่มันเป็นการจบเพื่อที่จะเริ่มใหม่ เริ่มใหม่ของอะไร ก็เริ่มใหม่ของกิเลสตัณหา เริ่มใหม่ของความอยาก-ความไม่อยาก จิตของมนุษย์ดิ้นรนขวนขวายอยู่ตลอดเวลานาที ไม่เคยมีเวลาที่เป็นตัวของตัวเองเลย แม้กระทั้งเวลาที่จิตมันเฉยๆ อย่าคิดนะว่าจิตที่ยังมีกิเลสครอบงำมันจะไม่ขวนขวาย ลองสังเกตจิตของคุณเองดูก็ได้ รู้สึกไหมว่า เวลาที่จิตมันต้องการหรือไม่ต้องการอะไรสักอย่างหนึ่ง จิตมันจะดิ้นๆๆ ดิ้นไปหาอะไร ก็ดิ้นไปหาผัสสะที่ชอบใจเพราะจิตที่หลงผิดคิดว่า เมื่อได้ในสิ่งที่ชอบใจแล้วเราจะได้มาซึ่งความสุข มนุษย์ทุกผู้ทุกนามจึงยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขและพยายามทำ ทุกอย่างเพื่อที่จะหนีทุกข์ หารู้ไม่ว่าๆมนุษย์จะกระทำการสิ่งใดๆก็ตามล้วนตกอยู่ภายใต้อำนาจของความ ร้ายกาจของกิเลสทั้งสามตัวนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็จะโทษกิเลสแต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เป็นการถูกต้องนัก ความจริงแล้วกิเลสทั้งสามตัวนี้แทบจะไม่มีพิษสงใดๆเลย หากไม่มีเจ้าตัว ตัณหา คือความอยากและความไม่อยาก เป็นตัว ผลักดัน ให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้ก็เพราะ แรงแห่งตัณหา นั่นเองมิใช่ด้วยเหตุผลอื่นใดเลย แต่มนุษย์กลับมองไม่เห็นหรือมองข้ามสิ่งนี้ไปอย่างน่าแปลกใจ เมื่อไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้เสียอย่างเดียวแล้ว แล้วเราจะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไรถึงจะไม่ตกเป็นทาสของกิเลส-ตัณหาเหมือนอย่าง เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันที่มนุษย์ล้วนถูกสิ่งนี้ครอบงำอยู่ทุกเวลานาที

    พระพุทธเจ้าท่านทรงเมตตาได้บอกกล่าวเกี่ยวกับ อริยสัจสี่ ขึ้นมา เพื่อให้มนุษย์ได้พิจารณาถึงความจริงของเหตุและผลแห่งความทุกข์ที่มนุษย์ กำลังเผชิญอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ท่านทรงกล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้ว่า
    ทุกข์ การมีอยู่แห่งทุกข์
    สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
    นิโรธ การดับทุกข์
    มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์

    ความจริงสี่ข้อนี้ได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในพระไตรปิฎกให้มนุษย์ผู้สนใจใฝ่ธรรม ได้นำไปศึกษาพิจารณา และถ้าหากพิจารณาในส่วนของปริยัติจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าท่านได้นำทุกข์ขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก เพราะมันเป็นสิ่งที่ได้ เกิดขึ้นแล้ว ถึงแม้มนุษย์ไม่อยากให้เกิดมันก็เกิด เพราะฉะนั้น ทุกข์ ตัวนี้จึงได้ กลายมาเป็นความจริงตัวแรกในบรรดาทุกข์ทั้งสี่ และมนุษย์ก็ให้ความสำคัญกับเจ้าตัวทุกข์ตัวนี้เป็นอย่างมาก มนุษย์จึงพยายามที่จะดับทุกข์กัน โดยที่ไม่เห็นความสำคัญและให้ความสนใจกับ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์อย่างแท้จริง ว่ามันเกิดมาจากอะไร และอะไรเป็นสาเหตุแห่งการเกิด แต่มนุษย์กลับมาให้ความสำคัญกับ นิโรธ พระเอกอีกตัวหนึ่งที่ใครๆก็อยากจะครอบครองเป็นเจ้าของ โดยขาดความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนี้ มรรค ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่ง นิโรธ ก็เป็นความจริงอีกข้อหนึ่งที่มนุษย์ยังขาดความเข้าใจอยู่มาก และคิดว่า มรรค ซึ่งเป็นหนทางแห่งการปฏิบัติ มนุษย์อย่างเราจะปฏิบัติอย่างไรถึงจะเป็นการถูกต้อง เมื่อมนุษย์ขาดความรู้ความเข้าใจใน อริยสัจสี่ เสียแล้ว จึงไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่า ทำไมมนุษย์ที่พยายามที่จะหาทางพ้นทุกข์ถึงยังต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร นี้ต่อไปไม่รู้จักจบจักสิ้น แต่หากพิจารณาความจริงของข้อ สมุทัย สักนิดก็จะเห็นเลยว่า สมุทัยกลับเป็นต้นเหตุของทุกสิ่งทุกอย่างและทุกสิ่งทุกอย่างที่ว่านี้แหละ คือ ทุกข์ หละ ผู้ปฏิบัติหลายๆท่านต่างคิดว่าเข้าใจในอริยสัจ แต่เวลาที่จะปฏิบัติขึ้นมาจริงๆกลับไปดับตัวที่เรียกว่า กิเลส แทน อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเป็นธรรมชาติอีกตัวที่ใครก็ไม่สามารถดับมันได้ มนุษย์ทั้งหลายจึง ดับผิดตัว ตัวจริงๆแท้ๆ จะต้องเป็นตัว ตัณหา หรือ ความอยากหรือตัวสมุทัย เพียงอย่างเดียวเท่านั้นอย่างอื่นไม่ใช่….

    ทำไมผู้เขียนถึงได้มั่นใจในข้อธรรมข้อนี้นัก…….เพราะผู้เขียนเคย หลงผิด มาแล้ว ผู้เขียนเคยพยายามที่จะดับเจ้าตัวที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง ปรากฏว่าดับอย่างไรมันก็ดับไม่ได้ แต่ที่เห็นว่าดับได้ก็เป็นเพราะกำลังของสมาธิในระดับองค์ฌานเท่านั้น แต่เมื่อกำลังขององค์ฌานเสื่อมลงไปทุกอย่างก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่ด้วยความไม่ท้อถอยของผู้เขียนที่จะปฏิบัติต่อไปและก็ได้เห็นซึ่งสัจธรรม ข้อนี้แล้ว คราวนี้ผู้เขียนจึงเปลี่ยนรูปแบบในการปฏิบัติใหม่จากเดิมที่พยายามดับกิเลส เปลี่ยนเป็นยอมรับกิเลส ยอมรับนะไม่ใช่ยอมแพ้ แล้ววันหนึ่ง จากผลแห่งการพากเพียรผู้เขียนก็สามารถดับตัณหาซึ่งเป็นสมุทัยเหตุให้เกิด ทุกข์ได้สำเร็จ ผลปรากฏว่า ทุกข์ ที่ใครๆพยายามที่จะทำให้สิ้นก็ได้ปรากฏขึ้นแก่จิตดวงนี้ของผู้เขียนเอง สิ้นจริงๆนะสิ้นแบบ ไม่เหลือเชื้อ พอที่จะให้เกิดทุกข์ขึ้นได้อีกเลยในสังสารวัฏนี้

    ไม่น่าเชื่อนะ….ผลจากการปฏิบัติ ทุกข์ดับเพราะตัณหาดับ ไม่ใช่ทุกข์ดับเพราะกิเลสดับ ผู้เขียนจึงแจ่มแจ้งในคำสอนของพระพุทธเจ้าในทันทีเลยว่า ทำไม….พระพุทธองค์ถึงได้สอนให้ดับ ตัณหาหรือสมุทัย เพราะมันคือเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง แทนที่จะสอนให้ดับกิเลส ไม่เพียงแต่เท่านี้นะ จากผลของการดับตัณหา ความจริงอีกข้อหนึ่งก็ได้กระจ่างแจ้งขึ้นมาว่า ไม่ใช่แค่เพียงตัณหาดับอย่างเดียวแต่ได้นำพา อุปทาน ตัวยึดมั่นให้ดับพร้อมลงไปด้วย และถึงแม้นอวิชชามันจะยังไม่ดับแต่ฤทธิ์ของมันก็เริ่มจะเบาบางลงเรื่อยๆ ด้วยอำนาจแห่งปัญญาของจิตที่เข้มแข็ง จนเมื่อถึงวันที่จิตเข้มแข็งเต็มที่จิตดวงนี้ก็สามารถทำลายอวิชชาซึ่งเปรียบ เสมือน พญามาร ออกมาสู่ความเป็นอิสระได้สำเร็จ

    และทั้งหมดนี้แหละเป็นบทพิสูจน์ความจริงของ อริยสัจสี่ ที่พระพุทธองค์ท่านทรงบัญญัติไว้ ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ ผู้เขียนแจ้งในอริยสัจสี่ในทันทีเลยว่า ทำไม….พระพุทธองค์ท่านถึงทรงบัญญัติ ตัวทุกข์ เอาไว้เป็นธรรมอันดับแรกเพราะจากการปฏิบัติท่านทรงเห็นแล้วว่า ทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ เมื่อไหร่ที่ทำเหตุดับ ผลจะมีมาจากที่ไหน ซึ่งธรรมข้อนี้ผู้เขียนได้พิสูจน์ด้วยตัวของผู้เขียนเองแล้ว ทุกข์ของผู้เขียนได้เกิดขึ้นเพราะความอยาก(ได้ลูก) และทุกข์ของผู้เขียนก็ได้ดับลงไปเพราะความสมอยาก(ได้ลูก) และเป็นความอยากและความสมอยากครั้งสุดท้ายในชีวิตของผู้เขียน ทำไมผู้เขียนถึงได้กล่าวเช่นนี้ เพราะความอยากของผู้เขียนมันได้กลายไปเป็นต้นเหตุซึ่งนำพาไปสู่การดับที่ เรียกว่าตัวสมุทัยไปเสียแล้ว เมื่อสมุทัยคือตัณหาคือความอยากได้ดับลงไป ทุกอย่างก็จบสิ้นลง จบแบบจบจริงๆ ขณะนี้จิตของผู้เขียนอยู่ด้วยความไม่อยาก ไม่อยากอะไรเลยไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นความอยากที่เกิดจากอายตนะอันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและแม้กระทั้งใจ จิตเป็นอิสระ จากสิ่งร้อยรัดใดๆทั้งสิ้นและสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ที่สุดคือ มันเป็นของมันเอง ไม่มีการกระทำที่เกิดจากการจงใจ ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องอะไรๆทั้งสิ้น เพราะสะพานอันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจซึ่งเปรียบเสมือน สิ่งเชื่อมต่อให้ข้าสึกอันได้แก่กิเลส-ตัณหา-อวิชชาเข้ามาย่ำยีจิตดวงนี้ให้ ต้องพบกับความทุกข์ทรมานมานานแสนนาน บัดนี้มันได้ถูกทำลายลงด้วยปัญญาอย่างสิ้นเชิง นับจากนี้ต่อไป กิเลสไม่สามารถปรุงแต่งจิตดวงนี้ได้อีกแล้วเพราะอายตนะภายนอกอันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมภายในจิต และจิตก็ไม่ปรุงแต่งกิเลส(จิตส่งออกนอก)เพราะจิตที่มีปัญญามันย่อมรู้แล้ว ว่า เมื่อไหร่ที่จิตปรุงแต่งกิเลสผลของมันคือ ทุกข์ สถานเดียวเท่านั้น ทุกอย่างมันเป็นธรรมชาติไปหมด แม้กระทั้งตัวของจิตเองก็เป็นธรรมชาติเฉกเช่นเดียวกับธรรมชาติตัวอื่นๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกส่งมอบกลับคืนสู่ธรรมชาติไปหมดสิ้นแล้วนับจากนี้ต่อไป ไม่มีอะไรที่จะข้องเกี่ยวกันอีกตราบชั่วนิจนิรันดร์
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,500
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    (ต่อค่ะ)
    หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ดับอย่างไรถึงเรียกว่า ดับสมุทัย ผู้เขียนอยากจะบอกว่า มนุษย์ทั้งหลายสามารถจะ ดับสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายได้ด้วยปัญญาเพียงถ่ายเดียวเท่านั้น ปัญญาในที่นี่คืออะไร ปัญญาในที่นี้ก็คือการที่จิตเข้าไปรู้ความจริงว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นของไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน อย่างอื่นนอกเหนือจากนี้ ไม่มี ปัญญาของจิตชนิดนี้เป็นปัญญาที่เข็มแข็งมาก ไม่มีความไขว้เขวหรือกวัดแกว่งต่อสิ่งยั่วยุของกิเลสตัณหาเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะปัญญาชนิดนี้มันเข้าไปเห็นความจริงของความอยากทั้งปวงแล้วว่ามันเป็น ทุกข์ มันเป็นของไม่เที่ยง และมันก็ไม่มีตัวตนให้ยึดมาเป็นของเราได้อย่างแท้จริง ปัญญาเห็นอย่างนี้แล้วจึงทำให้จิตยอมรับความจริงข้อนี้โดยดุษฎี ไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น หากจิตยังไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาหรือยังเห็นความจริงไม่พอ จิตก็ยังไม่เกิดความเบื่อหน่ายในความอยากนั้นๆ และยังจะคงหลงเพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นมายา สิ่งที่เป็นภาพลวงตาต่อไปไม่รู้จบ แต่หากว่าจิตถึงพร้อมด้วยปัญญาเมื่อไหร่แล้วจิตก็จะเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายมากๆเข้าจิตก็จะคลายกำหนัดความหลงใหล ความรักใคร่ ความเพลิดเพลิน ความยึดมั่นในความอยากนั้นๆ ถึงแม้นว่าความอยากนั้นจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ก็ตาม จิตจะไม่หวั่นไหวเลยแม้แต่นิดเดียว

    และทั้งหมดที่กล่าวมานี่แหละเป็นบทพิสูจน์อริยสัจสี่ซึ่งเป็นคำสอนของพระ พุทธองค์ และเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกหมู่ทุกเหล่าที่จะต้องทำให้แจ้ง

    ความสุขและความทุกข์ของมนุษย์ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของตัณหาทั้งสิ้นเพราะ ฉะนั้นอย่ามัวไปดับกิเลสกันอยู่เลย เพราะกิเลสมันเป็นเรื่องของ ธรรมชาติล้วนๆที่ใครก็ไม่สามารถไปดับมันได้ กิเลสมันเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานแล้วและก็ยังคงจะอยู่ อย่างนี้ต่อไป แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกทุกพระองค์ท่านก็ยังทรงไม่ สามารถทำลายกิเลสทั้งสามตัวนี้ได้ แต่สิ่งที่ท่านทำได้คือ เมื่อใดที่สิ่งเหล่านี้ปรากฏขึ้นแก่ท่านๆไม่ไปยึดมั่นมันว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาแต่อย่างใด ท่านรู้ดีว่าธรรมชาติของกิเลสทั้งสามตัวนี้เมื่อมันเกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ และมันก็จะดับไปด้วยตัวของมันเอง เราเป็นเพียงผู้รู้ ผู้ดู และผู้เห็นเท่านั้นหาได้เข้าไปข้องเกี่ยวกับมันด้วยไม่ ยังมีผู้ปฏิบัติจำนวนมากที่ยังเห็นผิดต่อธรรมะข้อนี้อยู่ จึงต่างพากันพยายามที่จะดับกิเลสที่เรียกว่า ความโลภ ความโกรธ และความหลง ให้มันมลายหายไปจากตัวของผู้ปฏิบัติ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ ทำไม่ได้ อาจจะมีผู้ที่อ่านบทความนี้แล้วแย้งขึ้นมาว่า แล้วทำไมครูบาอาจารย์บางท่านๆถึงบอกว่าให้ทำลายกิเลสหละ ผู้เขียนก็จะบอกว่า ไม่ผิดหรอกที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนอย่างนั้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ท่านสอนอย่างนั้นแต่ท่านมิได้ให้พวกเราเข้าใจว่าอย่างนั้น เพราะกิเลสที่ท่านสามารถทำลายได้นั้น ท่านทำลายด้วย ปัญญา ท่านมิได้ทำลายด้วย ตัณหาหรือความอยาก ต่างกันนะ ทำลายด้วยปัญญานั้นคือทำลายด้วยการเห็นแจ้งตามความเป็นจริงที่ปรากฏหรือเห็น แจ้งในธรรมชาติโดยถ่ายเดียว ส่วนทำลายของนักปฏิบัตินั้นมันเป็นการทำลายด้วยความอยาก การกดข่ม การเพ่ง การจ้อง ซึ่งหากเราปฏิบัติเช่นนี้จนเกิดความเคยชินและชำนาญ เราก็จะไม่เห็นกิเลสเลยแต่จะเห็นแต่ความว่าง แต่หากสังเกตจิตของผู้ปฏิบัติในขณะที่กิเลสเกิดสักนิดหนึ่งก็จะเห็นเลยว่า ขณะที่ความโลภ ความโกรธ หรือความหลงเกิดขึ้นมาผู้ปฏิบัติจะใช้สมาธิ(จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์)ในการกด ข่มอารมณ์นั้นๆนั่นหละคือการเพ่ง หรือการจ้องหละ ซึ่งเป็นที่นิยมในการ ถ่ายทอดกันมากในหมู่นักปฏิบัติทั้งหลาย โดยหารู้ไม่ว่า ทำเช่นนี้ ในทางพระท่านจะเรียกว่า สมถะ ซึ่งเป็นได้แค่เพียงหินทับหญ้าเท่านั้น

    จากวันนั้นถึงวันนี้ผู้เขียนก็ได้ประจักษ์แจ้งแก่ใจตัวเองว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้เขียนหลงฆ่าผิดตัวมาตลอด หลงฆ่ากิเลส ทั้งๆที่ไม่สามารถฆ่ามันได้ ตัวที่สมควรฆ่ากลับไม่ฆ่า ตัวที่ไม่สมควรฆ่ากลับจะไปฆ่ามัน แล้วมันจะจบไหม….จริงๆแล้วกิเลสที่เรียกว่า ความหลง มันมีหน้าที่หลอกล่อเราให้เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมายหรอก วันใดที่เราทำสิ่งนี้ให้แจ้งด้วย ปัญญา เราก็จะเห็น สัจธรรมความจริง ที่ไม่เจือด้วยความหลงอีกต่อไปไม่ว่าวันนี้หรือวันไหน ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ความหลงก็เป็นได้แค่ชื่อที่มนุษย์โลกอุปโลกน์ขึ้นมาก็เท่านั้น


    โดย พุทธคุณ

    แสดงกระทู้ - ที่สุดแห่งกองทุกข์คือพระนิพพาน • ลานธรรมจักร
     
  6. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ========

    ก่อนอื่นกระผมขออนุโมทนาสาธุ กับคุณอ๊อดด้วยครับ ที่ มีความอดทน และเพียรพยายามเป็นเลิศ จนสามารถยกจิตได้ กระผมและท่านคุณครูลูกพลัง ได้รับคุณอ๊อดเข้ามาฝึกจิตเกาะพระ ต้องยอมรับว่า คุณอ๊อดใหม่ๆ ยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องธรรมะมากนัก ตลอดจนกรอบปฏิบัติ อันจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ตลอดจนในระหว่างที่ฝึกจิตเกาะพระอยู่นั้น คุณอ๊อด ก็ประสพปัญหาอย่างหนัก กิเลสมารเข้าเบียดเบียนถึงกับทำให้จิต นั้นตกและสั่นไหว ไม่มั่นคง ทุกข์ในขณะนั้นมีมากจนเกือบประคองไว้ไม่ไหว ด้วยความเมตตาของคุณครูลูกพลัง และจิตบุญกัลยานมิตรอื่นๆ ได้ให้คำแนะนำได้ให้ธรรมะอันเป็นแสงสว่าง ทำให้คุณอ๊อดสามารถประคับประคองจิตและ ผ่านอุปสรรคและวิกฤตร้ายๆเหล่านั้น จนเกิดเป็นปัญญาเข้าถึงในสัจธรรม และด้วยความวิริยะ และการตั้งมั่นในศีล สมาธิ การสวดมนต์ภาวนา จนในที่สุด คุณอ๊อด ก็สามารถนำจิตของตนก้าวขึ้นสู่ความห่างไกลกิเลสมากยิ่งขึ้น เป็นจิตบุญอีกดวงหนึ่ง ที่ก้าวขึ้นมาครับ
    สุดท้ายนี้ควรย่อมต้องรู้ว่าต้อง เจริญ และรักษา จิตของตนให้มั่นคงไม่ไหลตกลงสู่โลกที่ชั่ว อีกต่อไป มีที่สุดคือพระนิพพานครับ
    ก็ขอกล่าวประวัติโดยสังเขปเพียงแค่นี้ครับ สาธุครับ
     
  7. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    ขออนุโมทนาบุญ กับ คุณอ๊อด จิตบุญ ดวงที่ 135 และ ครูผู้สอนทุกท่าน ค่ะ สาธุ
     
  8. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    โมทนาสาธุกับคุณอ๊อดและคุณครูฝึกทุกท่านซัก135ล้านครั้งด้วยครับ

    คุณอ๊อดนั้นเป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศเป็นพื้นฐาน มีจิตใจดีงาม
    แต่ก็ตกเป็นทาสของกิเลสเชกเช่นปุถุชนโดยทั่วไป
    แต่พอมาฝึกเดินมรรคกับจิตเกาะพระ(ศีล-สมาธิ-ปัญญา) ก็เป็นการเสริมสร้างอินทรีย์5ให้แข็งแกร่งขึ้น
    ในระหว่างเรียนก็มีเหตุให้เกิดวิบากกรรมเก่าตามมากระหน่ำ โซซัดโซเซ ยืนแทบไม่อยู่
    นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของ"ผู้มีปัญญาเป็นเลิศ แต่พละ5ไม่มั่นคง" แถมอินทรีย์5ยังกำลังพัฒนาอยู่
    แม้นมีปัญญา(ทางโลก)เข้าใจในทุกๆเรื่องอย่างดีทั้งหมด หากแต่ว่า"ปล่อยวาง"ไม่ได้..
    จวบจนกระทั่งเดินอริยมรรคอย่างเข้มแข็ง มีพละ5อย่างมั่นคง อินทรีย์5พอกพูนยิ่งๆขึ้น
    คือสามารถรักษาศีล5ให้บริสุทธิ์ได้ มีสติสามารถทรงสมาธิได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา วิปัสสนาอยู่เนืองๆ
    ปัญญา(ทางธรรม)จึงบังเกิด สามารถที่จะละวางสรรพสิ่งต่างๆลงได้ทั้งหลาย-กลาง-ละเอียดตามลำดับๆไป
    ก็ขอให้คุณอ๊อดเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยและก็อย่าลืมเมตตากับ"บุคคลที่ยังหลง"อยู่ด้วยนะครับ
    สาธุครับ
     
  9. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    พละ5

    พละ5
    [จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี]

    พละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ ได้แก่
    1. ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
    2. วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
    3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ
    4. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
    5. ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย

    พละทั้งห้านี้ เป็นหลักธรรมที่ผู้เจริญวิปัสสนาพึงรู้ ศรัทธาต้องปรับให้สมดุลกับปัญญา วิริยะต้องปรับให้สมดุลกับสมาธิ ส่วนสติพึงเจริญให้มากเนื่องเป็นหลักที่มีสภาวะปรับสมดุลของจิตภายในตัวเองอยู่แล้ว เป็นหลักธรรมที่คู่กับอินทรีย์5 คือศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ5เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นแก่จิตในปัจจุบันที่ทำให้เกิดมีขึ้น ส่วนอินทรีย์คือพละ5ที่สะสมจนตกผลึก เหมือนกับนิสัย หรือสันดาน เช่นผู้มีสมาธินทรีย์มากก็อาจทำสมาธิได้ง่ายกว่าผู้มีน้อยกว่า ผู้มีปัญญินทรีย์มากก็มีปกติเป็นคนฉลาด พละ5อาจเกิดขึ้นได้ดีและสั่งสมเป็นอินทรีย์ได้ไวคือผู้ทีบวชรือประพฤติพรหมจรรย์ และผู้ปฏิบัติโมเนยยะปฏิบัติ
     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อยากให้ลูกหลานทุกคน

    1.(ทำจิตใจตนให้ผ่องใส) ปฎิบัติธรรม หรือรักษาศีล หมั่นภาวนา
    2.(สงเคราะห์/ช่วยเหลือผู้อื่นแทนพ่อ) นำพาผู้คนออกจากทุกข์ หรือออกจากวัฎสงสาร(ถ้าเป็นไปได้)
    3.(เผยแผ่/เผยแพร่) พระธรรม หรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

    (พ่อฝากมา)
     
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ผู้เจริญรอยตามอริยมรรค
    หรือมรรคมีองค์ ๘
    ต่อไปฯ ย่อมมีญาณะ(ญาณ)
    เมื่อมีญาณะ ต่อไปฯ ย่อมเข้าถึงวิมุตติ เป็นที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง


    โลกุตตรธรรม คือ ธรรมเหนือโลกหรือพ้นจากโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
    ส่วนผู้ที่เข้าถึงโลกุตตรธรรม มีตั้งแต่พระอริยบุคคลเบื้องต้น จนถึง พระอริยบุุคคลเบื้องสูง

    สำหรับพระอรหันต์ ท่านไม่ได้ยึดติดในอารมณ์จากอายตนะ ๖
    แต่ส่วนพระอริยที่เหลือ ท่านยังมีกิเลส(เล็กน้อย) ย่อมติดในอารมณ์ทั้ง ๖ เป็นธรรมดา


    (รับมาได้แค่นี้ฯ ผิดถูกขออภัย)
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ต่อไปฯ จะเน้นเฉพาะตัวสติ ตัวสมาธิก่อน​
    แต่ถ้าตัวสติและสมาธิสมบูรณ์แล้ว ตัวปัญญาก็จะตามมาเอง

    สติ คือความรู้สึกตัว ควรเจริญให้มาก จนเป็นสัมปชัญญะ
    เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว สมาธิก็เกิดไม่ได้ เมื่อสมาธิเกิดไม่ได้ สัมมาสมาธิจึงไม่มี
    เท่ากับเจริญมรรคมีองค์ ๘ ไม่ครบ ปัญญาก็ไม่มี นี่คือสิ่งที่จะตามมา
    เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ปัญญาจึงไม่เกิด
    และสิ่งสำคัญที่จะตามมา ก็คือ ญาณต่างๆก็ไม่มี
    และเมื่อญาณไม่มี ไม่เกิด จิตก็จะเข้าวิมุตติไม่ได้

    เพราะฉะนั้น
    ผู้เจริญมรรคไม่ครบ จิตเราก็จะเกิดติดๆดับอยู่ร่ำไป หรือจิตไม่เสถียร
    มันเป็นเช่นนี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มีนาคม 2013
  13. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    พระอรหันต์ มองร่างกายอย่างไร?


    ใครบอกเอ็งว่าข้าป่วย เปลือกข้ามันป่วยต่างหากล่ะ มันเป็นธรมดาของคนที่มีเปลือก ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเป็นธรรมดา เรื่องเปลือกของข้า เอ็งจงอย่าสนใจ จะคิดถึงอย่างไร ก็ขึ้นกราบพระ(บนพระนิพพาน) มากราบตัวจริงของข้าดีกว่า พูดคุยกันได้ด้วย ดีกว่าคิดที่จะไปกราบเปลือก แล้วเปลือกมันเวลานี้ ข้าจะบังคับมันให้อ้าปากสักที มันก็ยังไม่อยากจะตามใจข้าเลย ในที่สุดข้าเลยตามใจมัน มันจะเออย่างไรก็ตามใจมัน มันจะอยู่ มันจะพังก็เรื่องของมัน นานโขแล้วที่เปลือกมัน จองจำข้าไว้ เอ็งอย่าคิดว่าแค่เพียงชาติเดียวไม่รู้ตั้งกี่แสนอสงไขยกัป ที่เปลือกเหล่านี้มันจองจำข้าไว้ มาชาตินี้แหละที่ข้าได้ปฏิบัติธรรม ขององค์สมเด็จพระพุทธชินสีห์ให้กระจ่าง จนหลุดพ้นออกจากเปลือกนี้ได้ เพราะฉนั้นถ้าหากมันจะพังหรือจะอยู่ก็เรื่องของมัน พวกเอ็งอย่าไปสนใจ สนใจแต่วิธีที่พระท่านชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นจากเปลือก วัฏจักรที่หมุนวนนี้ดีกว่า"

    หลวงปู่บุดดา ถาวโร
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    อารมณ์คนอื่น ดูแล้วละไปจากอารมณ์ของเราโดยเร็ว
    ให้ลงตัวปกติในธรรมของบุคคลนั้นๆ อย่าใช้อารมณ์ของเราเข้าไปปรุงแต่งธรรม
    มันจักทำให้อารมณ์จิตของเราเสีย ทำให้เกิดอารมณ์ตำหนิกรรม ไม่มากก็น้อย
    จงระมัดระวังให้มาก
    ดูอารมณ์จิตตัวนี้เอาไว้ให้ดี ๆ ที่เอาดีกันไม่ค่อยจักได้ ก็เพราะมัวแต่สนใจอารมณ์ของบุคคลอื่นนี่แหละ
     
  15. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    สมาธิทุกๆขั้นต้องเกิดมาจากภาคปฏิบัติเท่านั้น...เพราะภาคปริยัติเป็นแค่การเรียนรู้และแบบแปลนแผนผังที่จะพาผู้ปฏิบัติกล่าวเดินเท่านั้น...ยังไม่ใช้ภาคความจริงเพราะความจริงนั้น คือภาคปฏิบัติเท่านั้นเพราะสมาธิธรรมจะเกิดขึ้นมาได้ก็ต้องอาศัยความสงบก่อน เพราะความสงบนี้แหล่ะเป็นผลมาจากการปฏิบัติและเป็นปฏิเวธธรรมขึ้นมา...เพราะผู้ปฏิบัติจะได้เห็นความแปลกประหลาดจากการปฏิบัติเท่านั้น แล้วพอมีความสงบเป็นสมาธิก็จะเกิด"ปัญญา"และปัญญาตัวนี้แหละเป็นตัวหมุนเข้าทําลายกิเลสที่มีอยู่ในหัวใจเราๆท่านๆแต่ผู้ปฏิบัติที่เริ่มฝึกใหม่ๆท่านก็ได้แนะนําให้ดูกายเพราะจะเป็นการง่ายในการ"ภาวนา"เพราะรูปกายนี้ทุกๆคนก็มีอยู่แล้ว และพอปฏิบัติจนเข้าใจในรูปกายก่อนนั้นแล้วก็จะรู้รอบในกองสังขารและรูปนาม...เพราะนามธรรมคือ"เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" นั้นจะเป็นความคิด-ปรุง-เกิด-ดับ อยู่ตลอดเวลาแต่ผู้ปฏิบัติยังไม่สามารถรู้ทันได้นั้นก็เพราะจิตยังไม่ได้เข้าใจในกองรูปที่มีอยู่ว่าเป็นทุกข์เพราะตัวหนุนของความคิดปรุงนั้นมาจาก"ตัวสมุทัย"และตัวสมุทัยนี่ก็คือ"ตัวอวิชา"นั้นเองแต่ผู้ปฏิบัติจะรู้เห็นได้ต้องรู้ในรูปกายนี้พอจิตรู้รอบแล้วจะบังคับให้ยึดก็ไม่ยึดเพราะเขารู้หมดแล้วว่าเป็นทุกข์นั้นเอง...เพราะผู้ปฏิบัติธรรมจะเป็นขั้นๆที่ท่านเรียกว่า"สันทิฏฐิฏโก"นั้น คือรู้เองเห็นเองตามภูมิธรรมของแต่ละท่านนั้นเอง...
    ที่มา จากเทปธรรมะขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าค่ะ
     
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    มัวแต่มีอารมณ์ยินดียินร้าย ในกรรมของบุคคลอื่น ทำให้เสียผลของการปฏิบัติ
    เขาดี หรือเขาเลวก็ไม่ได้มาช่วยให้จิตของเจ้าดีขึ้น
    ถ้าหากละเลยไม่สนใจผลของการปฏิบัติ มัวแต่มองผลของกรรมของบุคคลอื่น
    สังขารุเบกขาญาณก็เกิดขึ้นได้ยาก
    อย่าลืมอารมณ์ใครก็ไม่สำคัญ สำคัญที่อารมณ์จิตของเรา
    พยายามดูอารมณ์ของตนเองเข้าไว้เป็นสำคัญ

     
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [​IMG]

    ก่อนจะกินส้มตำ ต้องเรียกน้ำลายสอกันก่อน
    การปฎิบัติธรรมก็เช่นกัน ต้องปลุกสติ เรียกสติกันก่อน จิตเราจึงจะตื่นรู้เบิกบานทีหลัง

    (จิตใครปรุงแต่งมาก น้ำลายสอก็มาก)
    (รักจานไหน เลือกเอาตามใจชอบ..อิอิ)
     
  18. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976

    ขออนุโมทนา สาธุ กับ ครูพี่ภู ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว...เพราะหัวใจของพระศาสนานั้นก็คือ"มรรคมีองค์ ๘ และอริยะสัจ ๔ นั้นเองนั้นเพราะ"มรรคมีองค์๘ คือ"ทางพ้นทุกข์ และอริยะสัจ ๔ ก็คือ"ความเป็นจริงที่มีอยู่ในเราๆท่านๆค่ะ
     
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [​IMG]
    * ท่านแม่ศรี (แม่ใหญ่)
    มีพระนามเต็มว่า พรรณวดีศรีโสภาคย์
    (องค์ที่มือถือดอกบัว)

    ** ท่านแม่จิตร (แม่กลาง)
    มีพระนามเต็มว่า จิตราวดีศรีโสภาคย์
    (องค์ที่มือถือพวงมาลัย)

    *** ท่านแม่ประภาศรี (แม่เล็ก)
    มีพระนามเต็มว่า ประภาวดีศรีโสภาคย์
    (องค์ที่มือถือพัด)​


    คิดถึงแม่ขึ้นมา น้ำตามันก็ไหล อยากกลับไป ซบลงที่ตรงตักแม่​

    มีใครรู้บ้างว่า แม่รักและคิดถึงลูกมากเพียงไร
    คุณอย่าเพิ่งไปคิดว่า เรามีพ่อแม่ชาตินี้ ชาติเดียว!​
     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=iu92rtWHWgk]แม่ เสก โลโซ - YouTube[/ame]

    คิดถึงแม่ขึ้นมา น้ำตามันก็ไหล อยากกลับไป ซบลงที่ตรงตักแม่
     

แชร์หน้านี้

Loading...