จะทำอย่างไร ถ้าิิภัยพิบัติจากนิวเคลียร์เกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ ?

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย mead, 7 มีนาคม 2007.

  1. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,116
    ค่าพลัง:
    +62,425
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Soodyod [​IMG]
    พูดเป็นเล่น
    Nuclear จะลงแถวบ้านเราเนี้ยนะ
    ไม่ได้ไปยุ่งกับใคร
    จะลงได้ไง






    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หวังว่าไม่ลงบ้านเราตรงๆครับ..แต่ยังไงผลกระทบก็มีอยู่ดี จากฝุ่นนิวเคลียร์ที่ฟุ้งกระจายไปทั่วโลก..ประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า อินเดีย ปากีสถาน จีน ไงครับ ใกล้นิดเดียว

    สิ่งศักดิ๋สิทธิ์ท่านเตือนไว้ว่า มีโอกาสเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้นจากความกลัวของแต่ละฝ่ายที่นึกว่าถูกโจมตีก่อน (ที่นี้ก็ต่างคนต่างยิง*) ลมและฝนจะหอบพัดพาเอาฝุ่นนิวเคลียร์ผ่านบ้านเราลงสู่ทะเลครับ ท่านยังสั่งไว้ว่า ให้ป้องกันทางทิศเหนือและทิศตะวันตก ควรมีสระน้ำใหญ่ๆไว้ลดหรือกรองฝุ่นเหล่านี้ไว้ด้วยยิ่งดี ดูท่านจะห่วงมนุษย์ในเรื่องนี้ยิ่งกว่าภัยพิบัติครับ เพราะร่างกายมนุษย์ไม่อาจทนต่อสภาวะแบบนี้ได้ ไม่ประมาทครับทำได้ก็ควรทำไว้ก่อน+
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2007
  2. Soodyod

    Soodyod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +385
    Movie

    UNDERDOG
     
  3. somsannannom

    somsannannom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +1,626
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Soodyod [​IMG]
    พูดเป็นเล่น
    Nuclear จะลงแถวบ้านเราเนี้ยนะ
    ไม่ได้ไปยุ่งกับใคร
    จะลงได้ไง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พูดเป็นเล่น
    น้ำแข็งขัวโลกเยอะขนาดนั้นจะละลายหมดได้ไง
    พูดเป็นเล่น
    แกนขั้วโลกอยู่มานานนมจะมาแปรเปลี่ยนตอนนี้ได้ไง
    พูดเป็นเล่น
    ทะเลทรายร้อนจะตายจะมีหิมะตกได้ไง
    อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ พูดเป็นเล่นไป
     
  4. LADYTUT

    LADYTUT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +123
    กระป๋องวัดรังสีทำอย่างไร ช่วยอธิบายหน่อยจ๊ะ
     
  5. Primarry

    Primarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +233
    อันตรายมากมายน่ากลัวจริงๆ T-T


    ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ ที่นำมาให้


    ต้องรีบสร้างที่หลบภัย ซะล่ะ เดี๋ยวจะไม่ทันการ ^.^555


    รบกวนขอความรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่เกิดขึ้นจากการรับสารกัมมันภาพรังสี


    ได้ไหมครับ พอดีผมอยากทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆ


    ถ้าเป็นการรบกวนมากเกินไปก็ขออภัยด้วยนะครับ ^.^
     
  6. somsannannom

    somsannannom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +1,626
    ยังมีข้อมูลดีๆอีกมากมายครับ ลองหาอ่านดูหลายๆกระทู้มีสาระประโยชน์แม้ว่าจะเกิดภัยพิบัติหรือไม่เกิด ไม่ต้องพูดถึงคำทำนายต่างๆก็ได้ หัดสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆรอบตัว(ทั้งโลก)หาข้อมูลสักนิด ก็คงพอเข้าใจว่านาทีนี้เราเข้าใกล้สิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มาขึ้นทุกนาที การระเบิดของภูเขาไฟบางลูกก็เพียงพอที่จะล้างบางมนุษย์ได้ทั้งทวีป อุกาบาตจากท้องฟ้า ภาวะโลกร้อน แกนแม่เหล็กขั้วโลกเปลี่ยน หนักสุดคือ มนุษย์แยกระหว่างความดี ความเลวไม่ออก
    ถ้ามีคนบอกว่าทำอย่างไรถึงจะอยู่รอดแม้คุณไม่เชื่อ ก็ควรจะฟังว่าเค้ากำลังพูดเรื่องอะไร
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ข้อมูลโดยย่อในเรื่องโรคภัยที่มนุษย์ได้รับกัมมันตรังสีก็มีดังนี้ครับ

    -โดนรังสีโดยตรงและรุนแรง เป็นลักษณของการแผดเผาทำลายผิวหนังและกล้ามเนื้อให้มีอาการไหม้ และอวัยวะทั้งร่างกายได้รับรังสี จนสูญเสียการทำงานไปบางส่วนหรือทั้งหมด

    -การโดนรังสีในปริมาณมากๆทำให้มีอาการแพ้ อาเจียร คลื่นไส้ปวดศีรษะ ในระยะยาวจะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และเกิดมะเร็งในหลายๆส่วนของอวัยวะ

    -การได้รับรังสีในเด็กอายุต่ำกว่า 19 ปี มีผลทำให้เกิดการพัฒนาการที่ผิดปกติในเด็ก ก่อให้เกิดโรคดาวน์ซินโดรม ได้

    -ส่วนใหญ่การรับรังสีในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยย์ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดต่ำลงจนเกิดภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย

    เป็นการอธิบายแบบง่ายๆ ไม่เป็นวิชาการเกินไปครับ


    ส่วนการป้องกันแก้ไขก็คือควรอยู่ในที่มุงบังที่ลดหรือป้องกันรังสีได้ ลดความเข้มของรังสีได้ อย่าไปรับรังสีโดยตรง

    หากโดนรังสีแล้วอาจรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม สารประกอบไอโอดีนช่วยได้โดย

    -ทาเบด้าดีนป้ายที่ท้องแขนทุกวัน
    -กิน ยาต้านพิษ รังสีที่เป็นสารประกอบ โปแตสเซี่ยมไอโอไดด์ เอาไว้โดยเฉพาะเด็กๆ ที่อเมริกามีขายในชื่อการค้าว่าKI6

    คงมีข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านอื่นๆอีกครับ
     
  8. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    วันนี้ไปกราบหลวงพี่เล็ก ท่านเมตตาบอกว่า
    สามารถใช้ตะกั่วเป็นฉนวนป้องกันรังสีได้ แต่ต้องหนาหน่อยเพราะ แร่ยูเรเนี่ยมเมื่อหมดสภาวะการแผ่รังสีก็จะกลายเป็นตะกั่ว
    เพราะฉะนั้น บริเวณเหมืองตะกั่วมักจะพบแร่ยูเรเนี่ยมอยู่ด้วย
     
  9. chonatad

    chonatad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +372
    สวัสดีครับ คุณ mead ผมเพิ่งเข้ามาอ่านกระทู้ครั้งแรก เพิ่งเป็นสมาชิกด้วยครับ รู้สึกสนใจอย่างมากครับ ทำให้รู้สึกว่ามนุษย์ จะอยู่ได้ก็ต้องไม่มีกิเลส ทุกวันนี้เพราะกิเลสทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่วโลก หวังว่าพวกเราช่วยกัน สร้างจิตสำนึกที่ดีกับบุคคลรอบตัวให้เข้าใจอะไรๆ ให้มากขึ้น ให้พลังแห่งความดีช่วยโลก ถ้าแม้นเกิดภัยขึ้นจริง ก็จะได้เหลือสิ่งดีๆ กับคนยุคใหม่ที่ปราศจากกิเลส ในยุคหน้าคงน่าอยู่กว่านี้ครับ
     
  10. ปฐวี

    ปฐวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +457
    <TABLE id=table1 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="85%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=titlehead align=middle>:cool: มีคำแนะนำมาฝากกันครับ
    คำแนะนำในการใช้ตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
    (Table of Initial Isolation and Protective Action Distances)
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD class=bullet>ตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน ใช้ประโยชน์ในการป้องกันประชาชนให้พ้นจากบริเวณที่มีการรั่วไหลของวัตถุอันตราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเป็นพิษเมื่อสูดหายใจเข้าไป (Toxic by Inhalation, TIH) รวมทั้งวัตถุที่ใช้ในสงคราม หรือให้ก๊าซพิษเมื่อสัมผัสกับน้ำ ตารางดังกล่าวใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ดำเนินการโต้ตอบภาวะฉุกเฉินในขั้นต้น ก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินจะเดินทางมาถึง ระยะทางที่ปรากฏในตารางจะแสดงขอบเขตพื้นที่ซึ่งจะได้รับผลกระทบภายในระยะเวลา 30 นาทีแรก หลังจากที่มีการหกรั่วไหลของสารอันตราย และอาจจะขยายเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป เขตอันตราย (Initial Isolation Zone) หมายถึง พื้นที่โดยรอบอุบัติภัยที่เกิดขึ้นซึ่งอาจทำให้ประชาชนในทิศเหนือลมได้รับอันตรายและอาจทำให้ประชาชนในทิศใต้ลมเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    เขตควบคุมป้องกัน (Protective Action Zone) หมายถึง พื้นที่ใต้ลมของอุบัติภัยที่เกิดขึ้นซึ่งอาจทำให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการป้องกันอันตรายและ/หรือได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในขั้นร้ายแรงหรือในขั้นที่ไม่สามารถหวนเป็นปกติได้
    ตารางดังกล่าวจะให้คำแนะนำเฉพาะสำหรับการหกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อยและปริมาณมากซึ่งอาจเกิดขึ้นในเวลากลางวันหรือกลางคืน
    การปรับเปลี่ยนระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกันสำหรับเหตุการณ์เฉพาะบางอย่างควรจะกระทำโดยบุคลากรด้านเทคนิคที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะกรณี ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีแนวทางแน่นอนในการปรับเปลี่ยนตารางดังกล่าวในเอกสารเล่มนี้ อย่างไรก็ตามอาจใช้แนวทางทั่วไปต่อไปนี้
    <HR width="85%" color=#000000 noShade>ปัจจัยที่อาจเปลี่ยนระยะควบคุมป้องกัน
    คู่มือจะกล่าวถึงระยะอพยพที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม หากเกิดเพลิงไหม้ในบริเวณที่มีวัตถุอันตรายจะทำให้อันตรายจากพิษของวัตถุมีความสำคัญน้อยกว่าอันตรายจากอัคคีภัยหรือการระเบิด ถ้ามีจำนวนภาชนะหรือถังบรรจุมากกว่า 1 ถัง หรือรถขนส่งมากกว่า 1 คัน ที่เกี่ยวข้องกับการรั่วไหล อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มระยะ หากเกิดการรั่วไหลขนาดใหญ่
    สำหรับวัตถุซึ่งมีระยะควบคุมป้องกัน 11.0+ ก.ม. (7.0+ ไมล์) ระยะที่แท้จริงจะเพิ่มมากขึ้นในบางสภาวะอากาศ เช่น กรณีที่ถ้ากลุ่มของไอระเหย (Vapor Plume) ของวัตถุอันตรายผ่านเข้าไปในหุบเขาหรืออยู่ระหว่างตึกสูงๆ ระยะดังกล่าวอาจจะมีขนาดเพิ่มขึ้นมากกว่าที่แสดงในตาราง เนื่องจากการผสมกันของไอระเหยกับบรรยากาศมีน้อยกว่า อีกกรณีหนึ่ง เช่น การรั่วไหลในช่วงเวลากลางวันในบริเวณซึ่งมีความแปรปรวนของอากาศต่ำหรือมีหิมะปกคลุมหรือเกิดขึ้นในช่วงพระอาทิตย์ตกและมีลมสงบ อาจต้องการระยะควบคุมป้องกันเพิ่มขึ้น เนื่องจากในสภาวะดังกล่าวสิ่งปนเปื้อนในอากาศจะผสมกันและแพร่กระจายตัวได้ช้ากว่าและอาจเคลื่อนตัวไปได้ไกลกว่าในทิศทางตามลม นอกจากนั้น เขตควบคุมป้องกันอาจมีระยะทางเพิ่มขึ้น หากอุณหภูมิของของเหลวที่หกรั่วไหลหรืออุณหภูมิของอากาศขณะนั้นสูงกว่า 30 C (86 F)
    วัตถุที่เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ แล้วให้ก๊าซพิษจำนวนมาก จะมีอยู่ในตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน อย่างไรก็ตาม ต้องจำไว้ว่าวัตถุพวก TIH (เช่น Bromide trifluoride, Thionyl chloride เป็นต้น) สามารถให้วัตถุ TIH ชนิดอื่น เมื่อหกรั่วไหลลงในน้ำ สำหรับวัตถุพวกนี้ต้องเปิดตารางของทั้ง 2 สาร (สารตั้งต้น และสารผลิตภัณฑ์) ในกรณีที่ไม่ชัดเจนว่ามีการหกรั่วไหลลงบนพื้นดินหรือแหล่งน้ำ หรือทั้งพื้นดินและแหล่งน้ำ ให้เลือกระยะควบคุมป้องกันที่มากกว่า ตารางต่อจากตารางกำหนดเขตอันตราย และเขตควบคุมป้องกัน จะเป็นตารางแสดงสารเคมีที่ เมื่อหกรั่วไหลลงน้ำแล้วให้ก๊าซพิษ และแสดงก๊าซพิษที่สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำผลิตออกมา
    สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วให้ก๊าซพิษรั่วไหลสู่แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ หรือลำธาร แหล่งกำเนิดของก๊าซพิษนี้ อาจเคลื่อนที่ไปตามกระแสน้ำ ห่างจากจุดที่รั่วไหลเป็นระยะทางไกล
    ตารางกำหนดเขตอันตราย และเขตควบคุมป้องกันจะแสดงวัตถุอันตรายที่ใช้เป็นอาวุธสงครามบางอย่าง ซึ่งระยะทางจะกำหนดโดยการคำนวณจากเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด ในกรณีที่ใช้วัตถุนี้เป็นอาวุธเท่านั้น
    <HR width="85%" color=#000000 noShade>ปัจจัยในการตัดสินใจควบคุมป้องกัน
    ทางเลือกในการป้องกันภัยในแต่ละสถานการณ์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละปัจจัย ในบางกรณีการหนีภัยอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด บางกรณีการหาที่กำบังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ในบางครั้งอาจจะต้องใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน ในภาวะฉุกเฉินหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องให้คำแนะนำแก่สาธารณชนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากสาธารณชนจำเป็นต้องทราบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนคำแนะนำต่างๆ ในการหนีภัยหรือการโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน
    การประเมินปัจจัยต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ จะช่วยให้การหนีภัย หรือการป้องกัน ณ สถานที่เกิดเหตุให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของปัจจัยดังกล่าวอาจแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของภาวะฉุกเฉินในกรณีเฉพาะบางกรณี ปัจจัยอื่นๆ อาจมีความจำเป็นในการวิเคราะห์และพิจารณาด้วยเช่นกัน รายการต่อไปนี้จะเป็นตัวชี้ชนิดของข้อมูลซึ่งอาจจะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจขั้นต้น
    <TABLE class=bullet id=table2 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>วัตถุอันตราย
    - ความรุนแรงของอันตรายต่อสุขภาพ
    - ปริมาณที่เกี่ยวข้อง
    - ภาชนะบรรจุ/การควบคุมการถ่ายเท
    - อัตราการเคลื่อนที่ของไอระเหย
    กลุ่มประชากรซึ่งได้รับผลกระทบ
    - สถานที่
    - จำนวนประชากร
    - เวลาในการหนีภัยหรือการป้องกัน ณ สถานที่เกิดเหตุ
    - ความสามารถในการควบคุมการหนีภัย หรือการหลบภัย ณ จุดเกิดเหตุ
    - ชนิดของตัวอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก
    - สถาบันหรือกลุ่มประชากรที่สำคัญ เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงพยาบาล เป็นต้น
    สภาพทางอุตุนิยมวิทยา
    - ผลต่อการเคลื่อนที่ของก้อนเมฆและไอระเหย
    - ความแปรปรวนของอากาศ
    - ผลต่อการหนีภัย หรือการป้องกันภัย ณ สถานที่เกิดเหตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><HR width="85%" color=#000000 noShade>การควบคุมป้องกัน
    การควบคุมป้องกัน (Protective Actions) เป็นขั้นตอนที่ทำให้เจ้าหน้าที่ระงับเหตุเบื้องต้น และสาธารณชนมีความปลอดภัยจากวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล ตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน (แถบสีเขียว) ในข้อมูลขนาดของพื้นที่ใต้ลม ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากกลุ่มก๊าซพิษ ประชาชนในบริเวณนี้ควรอพยพออกจากพื้นที่ และ/หรือหาที่หลบภัยในอาคาร
    เขตอันตรายและห้ามเข้า (Isolate Hazard Area and Deny Entry) คือ บริเวณที่ต้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในการระงับเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระงับเหตุที่ไม่ได้สวมชุดป้องกันสารเคมีออกนอกบริเวณ การกั้นเขตอันตรายควรทำเป็นอันดับแรก เพื่อควบคุมบริเวณที่ต้องใช้ระงับเหตุ ให้ดูตารางกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกันสำหรับข้อมูลของวัตถุแต่ละตัว
    การอพยพ (Evacuate) หมายถึง การเคลื่อนย้ายประชาชนออกจากบริเวณอันตรายไปที่ที่ปลอดภัยกว่า ในการอพยพต้องมีเวลามากพอเพื่อการเตือนประชาชน เตรียมพร้อมและย้ายออกจากพื้นที่ ซึ่งหากมีเวลามากพอ การอพยพจะเป็นวิธีการควบคุมป้องกันที่ดีที่สุด เริ่มต้นโดยการอพยพประชาชนใกล้เคียงหรือที่จุดเกิดเหตุ เมื่อหน่วยงานช่วยเหลืออื่นมาถึงให้เพิ่มพื้นที่การอพยพในทิศใต้ลมและทิศตั้งฉากกับกระแสลมเป็นระยะทางอย่างน้อยเท่ากับตามที่คู่มือแนะนำ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีการอพยพตามระยะทางที่กำหนดไว้ในคู่มือแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะมีความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ ไม่ควรให้ประชาชนรวมตัวกันอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ควรอพยพประชาชนให้อยู่ห่างจากที่เกิดเหตุเพียงพอ และเป็นระยะที่ไม่ต้องอพยพอีกหากลมเปลี่ยนทิศ
    ที่หลบภัยในที่เกิดเหตุ (Shelter In-Place) ประชาชนในที่เกิดเหตุต้องหาที่หลบภัยในอาคาร และอยู่ในนั้นจนกว่าเหตุการณ์จะสงบลง การหลบภัยในอาคารจะทำต่อเมื่อการอพยพประชาชนทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น หรือไม่สามารถทำการอพยพประชาชนได้ เจ้าหน้าที่ควรนำประชาชนเข้าไปหลบในตัวอาคาร ปิดประตูและหน้าต่างทุกบาน รวมทั้งปิดระบบระบายอากาศ ระบบทำความร้อนและความเย็นทั้งหมด การหลบภัยในอาคาร อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ถ้าหาก (ก) ไอระเหยสามารถติดไฟได้ (ข) ใช้เวลานานในการลดความเข้มข้นของก๊าซในที่เกิดเหตุ หรือ (ค) ไม่สามารถปิดอาคารได้อย่างมิดชิด นอกจากนั้นยังสามารถใช้ยานพาหนะเป็นที่หลบภัยได้ชั่วคราว ซึ่งต้องปิดหน้าต่างและระบบระบายอากาศของยานพาหนะนั้น อย่างไรก็ตามการใช้ยานพาหนะเป็นที่กำบังจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการหลบภัยในอาคาร สิ่งที่จำเป็นมากอีกประการหนึ่งคือ ต้องมีการติดต่อกับผู้ที่หลบภัยอยู่ในตัวอาคาร เพื่อแจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอก ผู้หลบภัยควรอยู่ห่างจากหน้าต่าง เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากเศษกระจก หรือโลหะจากการติดไฟและ/หรือการระเบิด
    อุบัติภัยจากวัตถุอันตรายแต่ละเหตุการณ์จะมีความแตกต่างกัน แต่ละเหตุการณ์จะมีปัญหาและจุดวิกฤตแตกต่างกัน ดังนั้นต้องเลือกการแก้ไขปัญหาเพื่อปกป้องประชาชนอย่างระมัดระวัง ข้อมูลต่างๆ ในคู่มือ เป็นการช่วยตัดสินใจเบื้องต้นว่าควรให้การปกป้องสาธารณชนอย่างไร เจ้าหน้าที่ต้องรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม และประเมินสถานการณ์จนกระทั่งสามารถแก้ไขเหตุการณ์ให้เป็นปกติ
    <HR width="85%" color=#000000 noShade>
    ข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
    การกั้นบริเวณเบื้องต้น และระยะควบคุมป้องกันในคู่มือเล่มนี้ ถูกกำหนดให้ใช้ในกรณีที่มีการรั่วไหลทั้งในปริมาณน้อยหรือการรั่วไหลในปริมาณมาก เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน การประเมินและวิเคราะห์ได้พิจารณาข้อมูลแหล่งกำเนิดแบบจำลองการแพร่กระจายกลุ่มไอของวัตถุ การประยุกต์ทางสถิติ ข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา และมาตรฐานการสัมผัสทางพิษวิทยาสำหรับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด
    ปริมาณและอัตราการแพร่ของวัตถุสู่บรรยากาศ พิจารณาจาก 4 ปัจจัย
    1. ข้อมูลจากฐานข้อมูลของ U.S.DOT HMIS
    2. ขนาดของภาชนะบรรจุสำหรับการขนถ่ายวัตถุอันตราย
    3. อัตราการรั่วไหลจากภาชนะบรรจุที่ถูกทำลาย
    4. การปล่อยไอสาร โดยการระเหยจากของเหลวที่มีการหก/รั่วไหล หรือการปล่อยไอก๊าซโดยตรงจากภาชนะบรรจุออกสู่บรรยากาศหรือทั้งสองกรณี นอกจากนั้นแบบจำลองการแพร่ของวัตถุสามารถคำนวณจากไอก๊าซพิษที่เกิดจากการหกรั่วไหลของวัตถุที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ การพิจารณาว่าวัตถุที่รั่วไหลออกมาปริมาณมากน้อยเพียงใดพิจารณาจาก
    • การรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย (Small Spills) หมายถึง การรั่วไหลของวัตถุอันตรายปริมาณน้อยกว่าหรือเท่ากับ 200 ลิตร
    • การรั่วไหลปริมาณมาก (Large Spills) หมายถึง การรั่วไหลของวัตถุอันตรายปริมาณมากกว่า 200 ลิตร
    แบบจำลองของการแพร่กระจายในทิศใต้ลมนั้นจะคำนวณปริมาณความเข้มข้นของไอระเหยในทิศทางตามลมในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา 120 เมือง ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก มากกว่าระยะเวลา 5 ปี การคำนวณการแพร่กระจายของวัตถุขึ้นกับเวลาที่วัตถุแพร่ออกจากแหล่งกำเนิด และความเข้มข้นของกลุ่มไอระเหยของวัตถุอันตราย เนื่องจากการผสมของวัตถุกับอากาศในบรรยากาศจะมีผลต่อการแพร่กระจายของกลุ่มไอระเหยของวัตถุในเวลากลางคืนน้อยกว่าเวลากลางวัน ดังนั้น จึงมีแนวทางในการป้องกัน/ควบคุมที่แตกต่างกันในเวลากลางวันและกลางคืน สำหรับตารางนี้
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เป็นที่น่าสังเกตุว่ามีการตั้งกระทู้ในชื่อนี้ขึ้นมาพร้อมๆกันเป็นจำนวน สามท่าน เป็นความรู้สึกสัมผัสที่ตรงกันโดยบังเอิญหรือมีนัยสำคัญอันใด
     
  12. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** อาวุธนำวิถี ****

    การใช้อาวุธนำวิธี
    ประเทศผู้ผลิต...ต่างมั่นใจในความแม่นยำ

    แต่...ความจริงในธรรมชาติ
    แสง....หักเหได้

    เมื่อเริ่มใช้อาวุธ
    อาวุธร้าย...จะตกผิดที่ ผิดทาง ผิดพลาด
    เรื่องไม่เป็นเรื่อง... จะถูกนำมาทำให้ กลายเป็นเรื่องใหญ่

    จรวดจากหมีขาว
    จะหลงมาตกลงใจกลางขวานทอง

    คือ ชะตากรรมประเทศ
    ไม่มีใครช่วยได้
    มีทางเดียว คือ...ยอมรับ "สัจจะ"
    ประกาศให้ประชาชน...ปฏิบัติ "สัจจะ" ทั้งประเทศ
    ผู้นำพามีแล้ว...ขาดผู้ประกาศ

    " พึ่งสัจจะและโลกุตตระธรรม "
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    : bat:
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <TABLE class=tborder id=post890794 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>Xorce<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_890794", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 07:35 PM
    วันที่สมัคร: Oct 2007
    อายุ: 17 ปี
    ข้อความ: 27 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 443 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 476 ครั้ง ใน 28 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_890794 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->ตอนนี้ผมเห็นข่าวการลอบสังหารที่ปากีสถานแล้ว เกิดความรู้สึกว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากอเมริกาถือโอกาสนี้ อ้างว่านำกองทัพเข้าไปยุติความวุ่นวายในปากีสถาน แล้วถือโอกาสลุยต่อเข้าไปยังอิหร่าน เนื่องปากีสถานนั้นมีชายแดนติดกับอิหร่าน หากจะหาเรื่องเกาะแกะแล้วลุยต่อจากจุดนี้คงไม่ใช่เรื่องยาก ทุกท่านมีความเห็นว่ายังไงบ้างครับ นี่เป็นความรู้สึกที่อยู่ดีๆก็คิดขึ้นมาเองครับ อาจจะแค่คิดมากไปก็ได้
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ดันๆๆๆๆ
     
  16. foggy3

    foggy3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2007
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +130
    ช่วยไม่ให้ตกอีกคน
     
  17. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** จะทำอย่างไรดี ****

    เมื่อท่านเชื่อสัจจะ...
    ตัวกระทำที่ทำได้....จะนำพาให้ท่านรอดพ้นภัย

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  18. aries

    aries เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,211
    อยากถามว่าถ้ามีระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกบอมบ์ลงที่อิหร่าน เรามีเวลาเตรียมตัวอพยพนานสักเท่าใดก่อนที่ลมจะหอบเอาฝุ่นกัมมันตภาพรังสีมาถึงไทย คำนวณเวลาแบบเร็วที่สุดเท่าที่ลมจะพามาได้ จะได้เป็นสัญญาณอพยพได้ทันครับ
     
  19. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,116
    ค่าพลัง:
    +62,425
    [​IMG]

    ความเร็วสูงมาก แทบไม่มีเวลาอพยบครับ
    สังเกตท้องฟ้าสีแดงกับแรงลมที่พัดมาปะทะตัวเรา..ลองคำนวณระยะทางดูครับ
    ลองอ้างอิงขนาด 10 เมกะตันก่อนครับ (จริงๆแล้วมีสูงถึง 100 เมกะตัน)

    + ถ้าระเบิดเหนือพื้นดิน ที่กราวด์ซีโร่ คือรัศมี 2 กิโลเมตร ..
    ทุกอย่างแปรสภาพเป็นพลาสม่าหมดครับ (เป็นไอ)

    + ในรัศมี 10 กม. จะไม่มีอะไรอยู่เหนือพื้นดิน ทุกอย่างติดไฟหมด (flash)
    ก่อนจะถูกเป่าดับด้วยลมที่พัดเร็วประมาณ 2,000-3,000 กม/ชม.

    + รัศมี 50 กม. ลมอ่อนตัวลง เป็นคลื่นกระแทกที่ความเร็ว 200-300 กม/ชม.
    คนที่ไม่ตายเพราะลม จะตายเพราะรังสีในเวลาไม่เกิน 7 วัน

    + ในรัศมี 250 กม. จะตายเพราะรังสีใน 3-4 อาทิตย์

    เคยอ่านเจอว่า คนที่อยู่ไกลออกไป 400 กิโลเมตร
    ถ้ามองการระเบิดด้วยตาเปล่า ทำให้ตาบอดได้
    ฉะนั้น .. ไม่ต้องกังวลมาก

    ฝุ่นกัมมันตภาพรังสี เป็นสสารที่เกิดจากกัมมันตภาพรังสีซึ่งสะสมมาจากบรรยากาศแล้วตกลงมาสู่พื้นโลก
    ฝุ่นนี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีการระเบิดนิวเคลียร์ ลักษณะของฝุ่นมี 3 ชนิดครับ

    1. ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีเฉพาะแห่ง เป็นฝุ่นที่ประกอบด้วยอนุภาคกัมมันตรังสีที่มีขนาดใหญ่ จะมีรัศมีประมาณ 160 กิโลเมตรจากบริเวณจุดที่ระเบิด

    2. ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีในบริเวณบรรยากาศชั้นใน เป็นฝุ่นของกัมมันตภาพรังสีที่ลอยไปสะสมอยู่ในบรรยากาศ ซึ่งอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 6-10 กิโลเมตร ซึ่งจะมีพื้นที่รอบโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณของบรรยากาศที่อยู่เหนือจุดระเบิด ฝุ่นชนิดนี้จะเกิดหลังจากที่ระเบิดนิวเคลียร์ได้ระเบิดแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์

    3. ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีในบริเวณบรรยากาศชั้นนอก เป็นฝุ่นของกัมมันตภาพรังสีที่ลอยไปสะสมอยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ชึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่มีการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ประมาณ 1 ปี ฝุ่นชนิดนี้จะกินพื้นที่รอบโลก เก็บไว้เป็นข้อมูลครับ..

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2008
  20. aries

    aries เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,404
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,211
    ระยะทางจากชายแดนอิหร่านมาถึงชายแดนไทยไกลมากถึง 3800 กิโลเมตรขึ้นไป น่าจะพอมีเวลาอพยพพอสมควรนะครับ ถ้าคิดจากความเร็วลม เพราะเราคงไม่ได้โดนรังสีโดยตรงเนื่องจากพ้นจากรัศมีรังสีสังหาร ถ้ามีข้อมูลความเร็วในการแพร่กระจายของฝุ่นกัมมันตภาพรังสีในระดับความสูง 6- 10 กิโลเมตรเราน่าจะคำนวณเวลาโดยประมาณได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...