จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. มณีตรี

    มณีตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2013
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +1,201
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=utDks7R1t2A&feature=player_detailpage#t=266s]เพลง ปานาติปาตาเวรมณี (ปูนาขาเก) - YouTube[/ame]
    (ธรรมะเริ่มจากการรักษาศีล เดินตามแม่ปูมาให้ดีดีนะจ๊ะ ลูกปูทั้งหลาย)​
     
  2. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ๑๑. เรื่องปรินิพพานของพระโคธิกเถระ
    ข้อความเบื้องต้น
    พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภการปรินิพพานของพระโคธิกเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ" เป็นต้น.

    พระเถระคิดฆ่าตนเพราะเสื่อมจากฌาน
    ความพิสดารว่า ท่านผู้มีอายุนั้น อยู่ใกล้ถ้ำกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ถูกต้องเจโตวิมุตติ อันเกิดขึ้นในสมัย (เกิดเป็นครั้งคราว) เสื่อมจากเจโตวิมุตตินั้น ด้วยอำนาจแห่งโรคชนิดหนึ่งอันเรื้อรัง. ท่านยังฌานที่ ๒ บ้าง ที่ ๓ บ้าง ให้เกิดขึ้นถึง ๖ ครั้ง แล้วก็เสื่อม
    ในวาระที่ ๗ ให้เกิดขึ้นแล้ว คิดว่า "เราเสื่อมจากฌานถึง ๖ ครั้งแล้ว, ก็คติของผู้มีฌานเสื่อมแล้วแล ไม่แน่นอน, คราวนี้แล เราจักนำศัสตรามา" ดังนี้แล้ว จึงถือมีดสำหรับปลงผม นอนบนเตียงน้อย เพื่อจะตัดก้านคอแล้ว.

    มารทูลให้พระศาสดาทรงทราบ
    มารรู้จิตของท่านแล้วคิดว่า "ภิกษุนี้ใคร่จะนำศัสตรามา; ก็แล ภิกษุทั้งหลายเมื่อนำศัสตรามา ย่อมเป็นผู้หมดความอาลัยในชีวิต, ภิกษุเหล่านั้นเริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัตได้, ถ้าเราจักห้ามภิกษุนั้น; เธอจักไม่ทำตามคำของเรา, เราจักทูลให้พระศาสดาห้าม" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยเพศที่คนอื่นไม่รู้จัก กราบทูลอย่างนี้ว่า๑- :-

    "ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีบุญมาก รุ่งเรืองด้วย
    ฤทธิ์ ด้วยยศ ล่วงเสียได้ซึ่งเวรและภัยทั้งปวง ผู้มีจักษุ
    ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาททั้งสอง.
    ข้าแต่พระมหาวีระ สาวกของพระองค์ อันความ
    ตายครอบงำ ย่อมจำนง คิดถึงความตาย, ข้าแต่พระองค์
    ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง ขอพระองค์จงทรงห้ามพระสาวก
    นั้น, ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏในหมู่ชน สาวก
    ของพระองค์ยินดีแล้วในศาสนา (แต่) มีธรรม มีในใจยัง
    มิได้บรรลุ ยังเป็นผู้จะต้องศึกษา จะพึงทำกาละเสียอย่าง
    ไรเล่า?"


    มารแสวงหาวิญญาณของพระโคธิกะ
    ในขณะนั้น พระเถระนำศัสตรามาแล้ว.
    พระศาสดาทรงทราบว่า "ผู้นี้เป็นมาร" จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ปราชญ์ทั้งหลายย่อมทำอย่างนั้นแล ย่อมไม่จำนงชีวิต,
    โคธิกะ ถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งราก ปรินิพพานแล้ว.
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปสู่ที่พระเถระนำศัสตรามา นอนอยู่แล้ว พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก. ขณะนั้น มารผู้ลามกคิดว่า "ปฏิสนธิวิญญาณของพระโคธิกะนี้ ตั้งอยู่แล้วในที่ไหนหนอแล?" ดังนี้แล้ว เป็นดุจกลุ่มควันและก้อนเมฆ แสวงหาวิญญาณของพระเถระในทิศทั้งปวง.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่มารนั้น เป็นควันและก้อนเมฆนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย มารผู้ลามกนั่นแลแสวงหาวิญญาณของกุลบุตรชื่อโคธิกะอยู่ ด้วยคิดว่า ‘วิญญาณของกุลบุตรชื่อโคธิกะตั้งอยู่แล้ว ณ ที่ไหน?’ ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อโคธิกะมีวิญญาณไม่ตั้งอยู่เลย ปรินิพพานแล้ว."

    แม้มาร เมื่อไม่อาจเห็นที่ตั้งวิญญาณของพระโคธิกะนั้นได้ จึงแปลงเพศเป็นกุมาร ถือพิณมีสีเหลืองดุจผลมะตูม เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามว่า :-

    ข้าพระองค์เที่ยวแสวงหาอยู่ ในทิศเบื้องบน
    เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทิศใหญ่ ทิศน้อย ก็มิได้
    ประสบ, พระโคธิกะนั้นไปแล้ว ณ ที่ไหน?"

    ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะมารนั้นว่า :-
    ภิกษุชื่อโคธิกะ เป็นปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยปัญญา
    เครื่องทรงจำ มีฌาน ขึ้นดีแล้วในฌาน ในกาล
    ทุกเมื่อ ประกอบความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน
    ไม่ไยดีชีวิต ชนะเสนาแห่งมัจจุได้แล้ว ไม่มาสู่
    ภพอีก ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก ปรินิพพานแล้ว.


    เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว พิณได้พลัดตกจากรักแร้ของมารนั้นผู้อันความโศกครอบงำ. ลำดับนั้น ยักษ์นั้นเสียใจได้หายไปในที่นั้นนั่นเองด้วยประการฉะนี้.

    แม้พระศาสดาตรัสว่า "มารผู้ลามก เจ้าต้องการอะไรด้วยสถานที่กุลบุตรชื่อโคธิกะเกิดแล้ว, เพราะคนอย่างเจ้าตั้งร้อยตั้งพัน ก็ไม่อาจจะเห็นที่ที่โคธิกะนั้นเกิด"

    ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

    ๑๑. เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ อุปฺปมาทวิหารินํ
    สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺคํ น วินฺทติ.
    มาร ย่อมไม่ประสบทางของท่านผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว
    มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท พ้นวิเศษแล้ว เพราะ
    รู้ชอบ เหล่านั้น.


    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตสํ คือ แห่งท่านที่ปรินิพพานเหมือนอย่างกุลบุตรชื่อโคธิกะ มีวิญญาณไม่ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้วฉะนั้น.

    บทว่า สมฺปนฺนสีลานํ คือ ผู้มีศีลบริบูรณ์แล้ว.
    บทว่า อปฺปมาทวิหารินํ คือ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือความไม่อยู่ปราศจากสติ.

    บาทพระคาถาว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ ความว่า ผู้พ้นวิเศษแล้ว ด้วยวิมุตติ ๕ เหล่านี้ คือ "ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ" เพราะรู้โดยเหตุ คือโดยนัย โดยการณ์.

    บาทพระคาถาว่า มาโร มคฺคํ น วินฺทติ ความว่า มาร แม้แสวงหาอยู่ โดยเต็มกำลัง ย่อมไม่ประสบ คือย่อมไม่ได้เฉพาะ ได้แก่ย่อมไม่เห็นทางแห่งพระมหาขีณาสพทั้งหลาย ผู้เห็นปานนี้ ไปแล้ว.

    ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

    เรื่องปรินิพพานของพระโคธิกเถระ จบ.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=11
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  3. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อาการของจิต

    ดวงจิตจริงมีดวงเดียว
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)



    พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง จิตดวงเดียวเที่ยวไป” ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม? อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม? จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ดวงจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว

    เต็มๆที่นี่
    ดวงจิตจริงมีดวงเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  4. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    เราจะเห็นได้เวลาที่จิตชำระจนบริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้ว ไม่มีอะไรเข้าไปเกี่ยวข้องได้แล้ว จะไม่ปรากฏเลยว่าจิตนี้กลัว กล้าก็ไม่ปรากฏ กลัวก็ไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ธรรมชาติของตัว เองอยู่โดยลำพังหรือโดยหลักธรรมชาติตลอดเวลา “อกาลิโก” เท่านั้น นี้เป็นจิตแท้ จิตแท้นี้ต้องเป็น “ความบริสุทธิ์” หรือ “สอุปาทิเสสนิพพาน” ของพระอรหันต์ท่านเท่านั้น นอก จากนี้ไม่อาจเรียก “จิตแท้” อย่างเต็มปากเต็มใจได้ สำหรับผู้แสดงกระดากใจไม่อาจเรียกได้

    “จิตดั้งเดิม” หมายถึงจิตดั้งเดิมแห่ง “วัฏฏะ” ของจิตที่เป็นอยู่นี่ ซึ่งหมุนไปเวียนมา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหลักธรรมว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จิตเดิมแท้ผ่องใส” นั่น! “แต่อาศัยความคละเคล้าของกิเลสหรือกิเลสจรมา จึงทำให้จิตเศร้าหมอง” ท่านว่า

    “จิตเดิมแท้” นั้นหมายถึงเดิมแท้ ของสมมุติต่างหาก ไม่ได้หมายถึงความเดิมแท้ของความ บริสุทธิ์ เวลาท่านแยกออกมา “ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ภิกฺขเว” “ปภสฺสร” หมายถึง ประภัสสร คือความผ่องใส ไม่ได้หมายถึงความ บริสุทธิ์ นี่หลักเกณฑ์ของท่านพูดถูกต้องหาที่แย้งไม่ได้เลย ถ้าว่าจิตเดิมเป็นจิตที่บริสุทธิ์นั้นจะมีที่ค้านกันว่า “ถ้าบริสุทธิ์แล้วมาเกิดทำไม?” นั่น แน่ะ!

    ท่านผู้ชำระจิตบริสุทธิ์แล้วท่านไม่ได้มาเกิดอีก ถ้าจิตบริสุทธิ์แล้วชำระกันทำไม มันมีที่แย้งกันตรงนี้ จะชำระเพื่ออะไร? ถ้าจิตผ่องใสก็ชำระ เพราะความผ่องใสนั้นแลคือตัว “อวิชชา” แท้ไม่ ใช่อื่นใด ผู้ปฏิบัติจะทราบประจักษ์ใจของตนในขณะที่จิตได้ ผ่านจากความผ่องใสนี้ไปแล้วเข้าถึง “วิมุตติจิต” ความผ่องใสนี้จะไม่ปรากฏตัวเลย นั่น! ทราบได้ตรงนี้อย่างประจักษ์กับผู้ปฏิบัติ และค้านกันได้ก็ ค้านกันตรงนี้ เพราะความจริงนั้นจะต้องจริงกับใจของบุคคล เมื่อใครทราบใครรู้ก็ต้องพูดได้เต็มปากทีเดียว

    เต็มๆที่นี่
    http://palungjit.org/threads/จิตผ่องใส-คือ-อวิชชา-หลวงตาบัว.230713/
     
  5. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    เวลานี้เรายังบกพร่องใน “วิชาขันธ์” และภาคปฏิบัติใน “ขันธวิชา” คือ สติปัญญาความรู้แจ้งแทงทะลุในธาตุในขันธ์ว่า เขาเป็นอะไรกันแน่ตามหลักความจริง แยกแยะให้เห็นความจริงว่าอะไรจริงอะไรปลอม เรียนยังไม่จบ เรียนยังไม่เข้าใจ มันจึงวุ่นวายอยู่ภายในธาตุในขันธ์ในจิตไม่มีเวลาจบสิ้น

    ความวุ่นวาย ไม่มีที่ไหนวุ่นไปกว่าที่ธาตุขันธ์และจิตใจ ซึ่งเกิดเรื่องเกิดราวอยู่ตลอดเวลาที่ชำระสะสางกันยังไม่เสร็จสิ้นนี้แล เพราะฉะนั้นการเรียนที่นี่รู้ที่นี่ จึงเป็นการชำระคดีซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันอยู่มากมาย มีสติปัญญาเป็นผู้พิพากษาเครื่องพิสูจน์และตัดสินไปโดยลำดับ

    เอ้า เรียนให้จบ ธาตุขันธ์มีอะไรบ้าง ดังเคยพูดให้ฟังเสมอ

    “รูปขันธ์” ก็ร่างกายทั้งร่างไม่มีอะไรยกเว้น รวมแล้วเรียกว่า “รูปขันธ์” คือกายของเราเอง

    “เวทนาขันธ์” ความสุข ความทุกข์ เฉยๆ เกิดขึ้นภายในร่างกายและจิตใจ ท่านเรียกว่า “เวทนาขันธ์”

    “สัญญาขันธ์” คือ ความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ ท่านเรียกว่า “สัญญาขันธ์”

    “สังขารขันธ์” คือ ความปรุงของใจ คิดดีคิดชั่ว คิดเรื่องอดีตอนาคต ไม่มีประมาณ ท่านเรียกว่า “สังขารขันธ์” เป็นหมวดเป็นกอง

    “วิญญาณขันธ์” ความรับทราบ เวลารูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย รายงานเข้าไปสู่ใจให้รับทราบในขณะที่สิ่งนั้นๆ สัมผัสแล้วดับไป พร้อมตามสิ่งนั้นที่ผ่านไป นี่ท่านเรียกว่า “วิญญาณขันธ์” ซึ่งเป็น “วิญญาณในขันธ์ห้า”

    วิญญาณในขันธ์ห้า” กับ “ปฏิสนธิวิญญาณ” นั้นต่างกัน ปฏิสนธิวิญญาณหมายถึง “มโน” หรือหมายถึงจิตโดยตรง จิตที่จะก้าวเข้าสู่ “ปฏิสนธิวิญญาณ” ในกำเนิดต่างๆ ท่านเรียกว่า “ปฏิสนธิวิญญาณ” คือใจโดยตรง

    ส่วน “วิญญาณในขันธ์ห้า” นี้ มีความเกิดดับไปตามสิ่งที่มาสัมผัส สิ่งนั้นมาสัมผัสแล้วดับไป วิญญาณก็ดับไปพร้อม คือความรับทราบ ดับไปพร้อมขณะที่สิ่งนั้นผ่านไป

    แต่ “ปฏิสนธิวิญญาณ” นั้นหมายถึงใจ ซึ่งมีความรู้อยู่โดยลำพังแม้ไม่มีอะไรมาสัมผัสอันนี้ อันนี้ไม่ดับ !

    เรียนขันธ์ห้าเรียนทบทวนให้เป็นที่เข้าใจ เรียนให้หลายตลบทบทวน คุ้ยเขี่ยขุดค้น ค้นจนเป็นที่เข้าใจ นี่คือสถานที่ทำงานของผู้ที่จะรื้อกิเลสตัณหาอาสวะออกจากจิตใจที่เรียกว่า “รื้อถอนวัฏวน” คือความหมุนเวียนแห่งจิตที่ไปเกิดในกำเนิดต่างๆ ไปเที่ยวจับจองป่าช้าไม่มีสิ้นสุด ทั้งๆ ที่ยังไม่ตายก็ไปจับจองไว้แล้ว ก็เพราะเหตุแห่ง ความหลงในขันธ์ ความไม่รู้เรื่องของขันธ์ จึงต้องไปหายึดขันธ์ ทั้งๆ ที่ขันธ์ยังอยู่ก็ยังไม่พอ ยังไปยึดไปหลงติดเรื่อยๆ ไม่มีความสิ้นสุด ถ้าไม่เอาปัญญาเข้าไปพิสูจน์

    เต็มๆที่นี่
    คืนอำลา-หลวงตามหาบัว
     
  6. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    เขาบอกว่า “จิตพระอรหันต์ จิตพระอรหันต์”

    จิตพระอรหันต์ไม่มีหรอก ถ้าจิตพระอรหันต์มี.. ที่ไหนมีจิต ที่นั่นมีภพ ที่ไหนมีจิต ที่นั่นมีอวิชชา เพราะมีสถานที่ ทำลายสิ้นขบวนการของมันแล้ว

    หลวงตาเวลาท่านพูดใหม่ๆ ท่านก็บอกว่า “จิตเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น” พอถึงที่สุดแล้วนะ ท่านบอกว่า “จิตนี้เป็นธรรมธาตุ” สุดท้ายแล้วพระอรหันต์เป็นธรรมธาตุ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่ใดๆ ทั้งสิ้น ขบวนการของมันละเอียดลึกซึ้งนัก แต่พอขบวนการนี้ทำสิ้นสุดแห่งทุกข์แล้ว อะไรเกิด อะไรตาย

    การเกิดและการตายนี่ผลของวัฏฏะ! ผลของวัฏฏะ เห็นไหม ฝนตก แดดออก พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก จิตนี้มันก็เป็นธรรมชาติ ต้องหมุนเวียนไปเหมือนกับสัจธรรมนี้ นี่ฝนตก แดดออก มันเป็นเหตุเป็นผลของมัน จิตมันจะไปเกิดไปตายก็มีเหตุมีผลของมัน มีกรรมดีกรรมชั่ว มีแรงขับต่างๆ ไปของมัน แต่เราศึกษาธรรมแล้วเราแก้ไขของเราให้มันเป็นความจริงขึ้นมา ถ้ามันเกิดอริยสัจ เกิดสัจจะความจริง เกิดมรรคญาณขึ้นมา มันทำลายขึ้นมา

    เต็มๆที่นี่
    http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=2878
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  7. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นะ “จิตเดิมแท้ก็คือกิเลสแท้ๆ”

    จิตเดิมแท้นะ เราฟังเข้าใจว่า จิตเดิมแท้นี้ประเสริฐนัก จิตเดิมแท้นี้มหัศจรรย์

    “จิตเดิมแท้นี้คือกิเลสแท้ๆ” แต่เราไม่เคยเห็นไง เราเคยเห็นแต่ความทุกข์ปกตินี่ เราไม่เคยเห็นจิตเดิมแท้กันทั้งนั้นน่ะ พอเขาพูดว่า จิตเดิมแท้ถึงได้ตื่นเต้น จิตเดิมแท้คือการเข้าไปเปิดประตูนิพพานเท่านั้นน่ะ ด้วยการอ้อนวอน ด้วยการขอเอา ด้วยการพยายามจะเข้าไปหาตรงนั้นน่ะ เข้าไปหาจิตเดิมแท้ไง...ไม่มีใครเคยเห็น

    บอกว่า “มนุษย์มาจากนิพพาน มาจากจิตเดิมแท้” มันถูกครึ่งหนึ่ง มาจากจิตเดิมแท้แต่ไม่ใช่มาจากนิพพาน มาจากนิพพานแล้วกลับไปสู่นิพพาน แล้วคนเราเกิดมาทำไม

    การเกิดของมนุษย์ไง การเกิดมา ตอนเกิดขึ้นมา จิตปฏิสนธิเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาแล้วถึงไม่รู้จักไง จำอดีตชาติไม่ได้ เราเกิดมาแล้วเราจะรู้แต่ชาติปัจจุบันนี้ พ่อแม่ปัจจุบันนี้ ปู่ย่าตายายปัจจุบันนี้ แล้วก็ทุกข์ในปัจจุบันนี้ไง เกิดจากการสั่งสมไง เกิดจากการสั่งสมการศึกษา เกิดมาแล้วน่ะจิตไร้เดียงสา ต้องฝึกสอนกันให้จำนั่น จำนี่

    ความจำน่ะ ความจำ คือสัญญาขันธ์ ความคิด ความปรุง ความแต่ง คือสังขารขันธ์ ความรับรู้สะสมไว้ คือวิญญาณขันธ์ นี่มันเป็นอารมณ์ความรู้สึกของเปลือกไง การเปลือกนี่การศึกษาการสะสมมา การความจำขึ้นมา ศึกษาเล่าเรียนใดๆ ก็แล้วแต่เป็นความจำสะสมเข้ามาในหัวใจ เป็นข้อมูลในหัวใจนี่ เราอยู่ในอารมณ์ในเงาของจิตไง มันถึงไม่ใช่จิตเดิมแท้...เป็นเงาไง เป็นขันธ์ ขันธ์ในอารมณ์นั้นน่ะ นั่นน่ะ มันถึงยังไม่เห็นจิตเดิมแท้

    จิตเดิมแท้คือปฏิสนธิจิต การเกิดนะ การเกิดปฏิสนธิในครรภ์มารดา แล้วออกมาแล้วถึงมีมนุษย์สมบัติไง ได้ขันธ์ ๕ มาไง “ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕” เราถึงว่าเราถึงไม่เคยเห็น เพียงแต่พอใครพูดแล้วเราก็ตื่นกัน เราไม่เคยเห็น เราสะสมมาแต่อารมณ์เปลือก อารมณ์ของขันธ์ อารมณ์ของจิตไม่ใช่ตัวจิต ทีนี้ว่า “จิตเดิมแท้เป็นกิเลสแท้ๆ” ถึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ไง มาเกิดเป็นมนุษย์เพราะว่ามีกรรม เพราะจิตเดิมแท้นั่นปฏิสนธิมาเกิดเป็นมนุษย์ การเกิดและการตาย เกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ภพของมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม การเกิดเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ในวัฏวนนี้

    เต็มๆที่นี่
    จิตเดิมแท้ก็คือกิเลสแท้ๆ
     
  8. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    พระธาตุเสด็จมาชุมนุมกัน

    ได้ยินว่า ในคราวพระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุทั้งหลายจะเสด็จชุมนุมกันที่เกาะลังกานี้ แล้วเสด็จไปยังมหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์เสด็จไปยังราชายตนเจดีย์ ในนาคทวีป จากราชายตนเจดีย์ เสด็จไปยังมหาโพธิ์บัลลังก์.

    พระธาตุทั้งหลายจากนาคพิภพก็ดี จากเทวโลกก็ดี จากพรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปยังมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด. จักไม่หายไปในระหว่างๆ กาล. พระธาตุทั้งหมด (จะรวม) เป็นกองอยู่ที่มหาโพธิบัลลังก์ เป็นแท่งเดียวกันเหมือนแท่งทองคำเปล่งพระฉัพพรรณรังสี (รัศมีมีสี ๖ ประการ) พระฉัพพรรณรังสีทั้งหลายนั้นจักแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ.

    แต่นั้น เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาฬจักประชุมกัน แสดงความการุณย์อย่างใหญ่ ยิ่งกว่าในวันเสด็จปรินิพพานของพระทศพลว่า วันนี้พระศาสดาจะเสด็จปรินิพพาน วันนี้พระศาสนาจะเสื่อม นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของพวกเรา ณ กาลนี้.
    เว้นพระอนาคามีและพระขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดำรงอยู่ตามสภาวะของตนได้. เตโชธาตุลุกขึ้นในพระธาตุทั้งหลายแล้วพลุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก.

    เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงติดอยู่เปลวหนึ่ง เมื่อพระธาตุทั้งหลายหมดไป เปลวเพลิงก็มอดหมดไป.

    เมื่อพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้วอันตรธานหายไป.
    พระศาสนาชื่อว่าเป็นอันตรธานไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์
    ตราบเท่าที่ยังไม่อันตรธานไปอย่างนี้.
    ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันอย่างนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14.0&i=234&p=2
     
  9. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อะไรหนอพาเวียนตายเวียนเกิด

    จึงอยู่ที่ว่าคนๆนั้น เข้าใจคำว่า "จิตไม่เคยตาย" ดีแค่ไหน ในสื่อความหมาย ที่เคยได้ยินได้ฟัง

    ไม่ต่างจาก ลักษณะของผู้พ้นกระบวนการในไตรลักษณ์

    จึงกล่าวได้ว่า จิตนี้ไม่เคยตาย แต่ความบริสุทธิ์นั้น
    คนละส่วนกันเลยกับ "ใดๆในโลก ล้วนอนิจจัง"

    บางคนตีความหมายของคำว่า "จิตไม่เคยตาย" เป็น "จิตเที่ยง"

    เห้อๆ...คนละเรื่องกันเลย
     
  10. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    <embed src="http://www.youtube.com/v/ggkRTKgaJAk?hl=th_TH&amp;version=3&start=339" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed>

    เอาพุทธประวัติมาให้รับชม ดีกว่าครับ

    ในพุทธประวัติ เนื่องด้วยท่านฆฏิการพรหม อดีตซึ่งเคยเป็นสหายกัน กับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
    เมื่อครั้งเสวยพระชาติ เป็นโชติปาละโพธิสัตว์ ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

    ท่านฆฏิการะ ช่างหม้อ ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี ในครั้งนั้นแล้ว ได้จุติ ณ ภูมิสุทธาวาส

    พอมาในกาลนี้ พอเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกภิเนษกรมณ์
    เพื่อตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านฆฏิการพรหม จึงได้นำอัฏฐบริขารมาถวาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  11. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
  12. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    หากใครอ่านเรื่องราวในอรรถกถาของ พระโคธิกะ เสร็จแล้วอย่าไปทำตามเชียวนา

    ในสมัยพุทธกาลมี 4 ท่าน ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในกรณี
    คือท่าน พระโคธิกะ พระวักกลิ พระฉันนะ และพระสัปปทาสเถระ

    เพราะเหล่านั้น เป็นวิสัย "สมสีสี" ของท่าน ทุกอย่างเนื่องด้วยเหตุ
     
  13. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    จิตเดิม จิตเดิม ฟัง

    <iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/g6WGD91k_es" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  14. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขอกล่าวคําอนุโมทนา สาธุ กับ"ท่านผู้ว่าง" ท่านได้กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว "จิตไม่มีวันตาย"และจิตนั้นเที่ยวไปได้ทุกหนทุกแห่งตามแต่เจ้าของจิตจะพาไป เที่ยวเกิด เที่ยวตายไม่มีเว้น เป็นสัตว์เป็นบุคคลมานับไม่ถ้วนแล้ว และจิตที่บรรลุนิพพานนั้นแล้ว ก็คือ จิตผ่านพ้นสมมติทั้งปวงแล้ว คือ ไม่มีตัว ไม่มีตน และภพชาตินั้นหมดสิ้นไปแล้ว เพราะจิตได้รู้จริงเห็นจริงในขันธ์ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น จึงขอ กล่าวคําอนุโมทนาสาธุ ค่ะ
     
  15. หวยมหาลาภ

    หวยมหาลาภ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2013
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +49
  16. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    อาอืมม.. ต้องยอมรับว่า"ปุจฉา"นี้จะว่าง่ายก็"โคตะระง่ายมาก" หรือจะกล่าวว่ายากก็"โคตะระยากส์จริงๆ"
    เหตุเพราะ"การกล่าวถึงวาระจิตของพระขีณาสพ-อรหันต์ปัตติผลนั้น"ก็ไม่ต่างกับการกล่าวเรื่อง"อาจินไตย4"
    ที่ว่าง่ายก็คือ กล่าวอย่างไรก็ได้ หากผู้ร่วมวงก็ยังไม่เข้าถึงรู้แจ้งในสภาวะนั้นจริงๆ จึงจะหาผิดหรือถูกได้ยากยิ่งนัก(คงไว้แต่ข้อถกเถียงกันและขี้ฟันกระจายเต็มพื้นห้อง)
    ที่ว่ายากก็คือ หากวาระจิตผู้กล่าวยังไม่เข้าถึงปฎิเวธอย่างที่สุดแล้ว จึงต้องระมัดระวังในการกล่าวอย่างยิ่งยวด(สุ่มเสี่ยงต่ออุปาทานปรุงแต่ง) คือสรุปว่าก็ต้องคาดเดากันไปต่างๆนาๆ อ้างอิงจากคัมภีร์บ้าง, โอวาทพระอริยสงฆ์เจ้า(อรหันต์)บ้าง, ปฎิเวธในบางส่วนบ้าง, และอื่นๆบ้าง

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความมันส์ของท่านผู้ชม! เอ้ย..เพื่อแสดงทัศนะส่วนตนแล้ว(ผิดถูกก็ต้องขออภัยเอาไว้ก่อนนะครับ)
    โดยยึดเป็นสะระแหน่ได้ แต่อย่ายึดเป็นสรณะก็แล้วกัน (คือแค่รู้-วางน่ะ)
    เราก็ขอแสดงความเห็นและมุมมองดังนี้:-

    ประเด็นของปุจฉาแบ่งเป็น2ส่วนคือ
    1. จิตเดิม
    2. จิตอรหันต์

    เรื่อง"จิตเดิม"นั้นหรือจิตปฎิสนธิ เราก็มีความเห็นด้วยตามที่ท่านสุญญได้นำบทความมาลงเอาไว้(ขอโมทนาสาธุกับท่านด้วยครับ)
    แต่โดยทัศนะส่วนตนแล้ว ไม่ค่อยที่จะไปสนใจหรือให้ความสำคัญกับ"จิตเดิม"มากนัก เพราะว่าเรามองไม่ค่อยเห็นประโยชน์จาก "สภาพอดีต-จิตเดิมแท้" ว่ามันจะไปช่วยอะไรกับเราในการปฎิบัติเพื่อให้เข้าถึง"วาระจิตอรหันต์ปัตติผล"ได้ นอกจากจะได้เป็นแค่ความรู้ประดับสัญญาขันธ์เท่านั้น
    ดังนั้นประเด็นในการหา"ความแตกต่าง"จึงขอยกยอดออกไป..(หรือตามบทความที่ท่านสุญญนำมาลงเอาไว้น่ะ)
    (หรือหากว่าเข้าใจในประเด็นที่2แล้วก็อาจไปคำนึงต่อยอดถึงความแตกต่างเอาเองก็ได้..)

    แต่ประเด็นเรื่องวาระจิตอรหันต์นี่ (talk of the town! เลยแหล่ะ)
    ในมุมมองของเรานั้น เราแบ่งอารมณ์หรือวาระจิตอรหันต์(นิพพาน)ออกเป็น2ส่วนคือ
    1. อนุปาทิเสสนิพพาน (ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์แล้ว) ความจริงก็คือการละสังขารขันธ์นั่นเอง แต่ท่านก็สามารถที่จะไปชิมหรือรับรู้อารมณ์/วาระจิตแห่งการดับสิ้นไม่เหลือเชื้อ ในขณะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการเข้าถึง"นิโรธสมาบัติ" (สำหรับท่านที่มีวาสนาบารมีมาทางอรูปฌานและสามารถเข้าถึงฌาน8+ต่อยอดไปที่ฌาน9-นิโรธสมาบัติได้) 
    ฌาน5-ดับรูปและเวทนา
    ฌาน8-ดับสังขาร,วิญญาณและดับสัญญาเกือบหมด(แต่ยังไม่หมด)
    ฌาน9-ดับสัญญาขันธ์หมด100% (ดับหมดไม่เหลือเชื้อ-แต่ยังไม่ตาย) แต่สภาวะเทียบเคียงกันได้กับสภาวะของ"อนุปาทิเสสนิพพาน"
    2. สอุปาทิเสสนิพพาน (ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์อยู่) เป็นสภาวะจิตแบบ"รู้-วาง รู้-วาง ไม่ยึดติดในสรรพสิ่งทั้งปวง ว่างๆอยู่อย่างนั้น" ในขณะที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ยังคงทำงานกันตามปกติ เพียงแต่สภาวะจิตจะอยู่กับสมาธิ3(สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ) หรือบางทีก็เรียกว่า"อนิมิตเจโตสมาธิ"หรือทรง"สุญญตวิหารธรรม" ส่วนสตินั้นตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาวะจิตที่มี"ความเสถียร"อย่างถึงที่สุด(ไม่มีการไกวตัวของจิตอีกเลย) ปัจจัยที่เข้ามากระทบใดๆทั้งปวงเปรียบเสมือน"น้ำที่ไหลผ่านเข้ามาในแก้วก้นรั่ว คือไหลเข้ามาแล้วก็ไหลออกไปในทันที" ปล่อยวางลงในทันทีเป็นอัตโนมัติ
    Note: สมาธิ๓ มี
    ๑.  สุญญตสมาธิ          สมาธิที่ว่างเปล่า
    ๒.  อนิมิตตสมาธิ          สมาธิที่หานิมิตมิได้
    ๓.  อัปปณิหิตสมาธิ        สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้

    ที่กล่าวมานั้นก็คือวาระจิตของ"อรหันต์ปัตติผล" ส่วนเรื่องการเข้าถึงก็คงเป็นอีกเรื่องนึง
    ก็คงที่จะต้องปรารภความเพียรมีสติอยู่กับจิตตนเองอยู่ตลอดเวลา ทำไปเรื่อยๆพยายามที่จะละวาง รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ลงให้ได้อย่างเด็ดขาด! จริงๆไม่หวนกลับมากำเริบอีก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิเลสละเอียด/สังโยชน์เบื้องสูงแบบละเอียด)
    (มหาสติปัฏฐาน4-หนทางสายเอกสู่ปัญญาวิมุติ เพื่อความหลุดพ้น)


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  17. มณีตรี

    มณีตรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2013
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +1,201
    อืออื้อ....โมทนาสาธุค่ะ คุณลุงพลังเทศน์ปริยัติได้มันส์จริ๊ง นี้ขนาดหนูเดินยังไม่ทันเถิงข้างบนนี้เลย(อีกนาน)....แต่ก็เป็นกำลังใจในการปฏิบัติดีค่ะ ....มาติดที่ไอตรงสาระแหน่นี้แหละ...สงสัยคุณลุงพลังจะชอบทานลาบ อาหารอีสานใช่ไหม๊เจ้าค่ะ 5555
     
  18. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  19. kongkiatm

    kongkiatm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +1,263
    อภัยทาน

    ความโกรธ เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว
    มักจะทำให้บุคคลผู้นั้น ผูกใจเจ็บ คิดอาฆาตมาดร้ายอยู่เสมอ

    ความโกรธนั้นเริ่มมาจาก ความขัดแย้ง ความไม่ชอบ แปรมาเป็น ความเกลียด(ชัง)
    ความโกรธ ความอาฆาต การทำร้าย การทำลายล้าง การรบราฆ่าฟัน และสงครามในที่สุด

    คนเราเมื่อเกิดความไม่ชอบกันแล้ว
    มักจะนำไปสู่ความเกลียด(ชัง) ความโกรธ และความอาฆาต อย่างรวดเร็วมาก
    ถ้าเพียงไม่ชอบกัน ก็ไม่เห็นมีอะไร อาจไม่พูดจากัน ก็เท่านั้นเอง
    แต่ถ้าใจเกลียดอาฆาตมาดร้ายด้วย ยิ่งไปกันใหญ่
    จะเผารนจิตใจของผู้เกลียดเอง ก่อนที่จะไปเผารนผู้ถูกเกลียดด้วยซ้ำไป


    การแก้ไขความโกรธนั้น ก็คือจะต้องมี ความรัก ความเมตตา และการรู้จักการให้อภัย ให้แก่กัน

    การที่จะมีความรัก ความเมตตา นั้น คงจะต้องเริ่มกันที่ ความเข้าใจกัน
    เมื่อมีความเข้าใจกัน เห็นอกเห็นใจกัน ก็ต้องรู้จักการให้อภัยกันด้วย

    การให้อภัย หรืออภัยทาน นั้น เป็นการยกโทษและอโหสิกรรมกัน เป็นความรักที่บริสุทธิ์
    ถึงแม้จะทำได้ยากในระยะแรกก็ตาม
    ซึ่งคงจะต้องอาศัยการปฏิบัติฝึกฝนพอสมควร


    หมั่นชำระใจด้วย 'อภัยทาน' อยู่เสมอ ก็จะเป็นการยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น ๆ เรื่อย ๆ
    สมดังคำว่า 'มนุษย์' ผู้มีใจสูง นั่นเอง​
     
  20. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    พุทธวัจน์...คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ...

    เดินตามรอยเท้าเราไปข้างหลังๆ แต่ถ้าเธอนั้นมากไปด้วยอภิชฌา

    มีกามราคะกล้า...มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจ เป็นไปในทางประทุษร้าย

    มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ...มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไป แกว่งมา

    ไม่สำรวมอินทรีย์แล้วไซร้...ภิกษุนั้นชื่อว่า...อยู่ไกลจากเรา

    แม้เราก็อยู่ไกลจากภิกษุนั้นโดยแท้ เพราะเหตุไรเล่า?


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ชื่อว่าไม่เห็นเรา.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...