ทำไมพระ ถึงต้องสำรวมอินทรีย์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย jabb2541, 22 มกราคม 2013.

  1. jabb2541

    jabb2541 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ทำไมพระจะต้องสำรวมอินทรีย์ทุกๆอิริยาบถ นั่ง เดิน นอน กิน ...

    พระพุทธศาสนา มีคำสอนให้สำรวมอิริยาบถ รึเปล่าครับ ??

    แต่เดิมผมคิดว่าพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหวัง เพื่อการไม่เบียดเบียน มีความเมตา

    เผยแพร่หลักธรรม และก็ หวัง พระนิพพาน ไม่เห็นจะต้อง สำรวมอินทรีย์เลยครับ
     
  2. nmz123

    nmz123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +29
    [๒๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อความ
    สำรวมอินทรีย์ ฯ

    ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าว
    รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาโดยแยกเป็น ๒ คือ
    ที่ควรเสพก็มี
    ที่ไม่ควรเสพก็มี

    กล่าวเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู โดยแยก เป็น คือ
    ที่ควรเสพก็มี
    ที่ไม่ควรเสพก็มี

    กล่าวกลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก โดยแยกเป็น ๒ คือ
    ที่ควรเสพก็มี
    ที่ไม่ควรเสพก็มี

    กล่าวรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โดยแยกเป็น ๒ คือ
    ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี

    กล่าวโผฏฐัพพะ(ความรู้สึกทางกาย)ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย โดยแยกเป็น ๒ คือ
    ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี

    กล่าวธรรม ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ โดยแยกเป็น ๒ คือ
    ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค
    ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบเนื้อความแห่งภาษิต ที่ตรัสโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร
    อย่างนี้ว่า

    เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม
    รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
    เมื่อบุคคลเสพรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น
    รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตาเห็นปานนี้ ควรเสพ

    เมื่อบุคคลเสพเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู เห็นปานใด ...
    เมื่อบุคคลเสพกลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก เห็นปานใด ...
    เมื่อบุคคลเสพรสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น เห็นปานใด ...
    เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย เห็นปานใด ...
    เมื่อ บุคคลเสพธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจเห็นปานใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม
    ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ
    เมื่อบุคคลเสพธรรมที่ จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ เห็นปานใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น
    ธรรมที่ จะพึงรู้แจ้งด้วยใจเห็นปานนี้ ควรเสพ

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบ เนื้อความแห่งภาษิตที่ตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากถ้อยคำที่จะพูดว่าอย่างไรแล้ว เพราะได้ฟังการ พยากรณ์ปัญหาของพระผู้มีพระภาค ฯ
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------
    ได้กล่าวถึงถ้าสำรวมอินทรีย์จะทำอย่างไรต่อไปให้ถึงนิพพาน

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้าเธอนุ่งสบง
    ถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต
    มีสติตั้งมั่นสำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
    ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็น
    บาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุน
    ทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
    รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
    สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌา
    และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาต
    ภายหลังภัตแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
    ป่าชัฎที่แจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
    ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมละอภิชฌาในโลกเสีย ฯลฯ เธอละนิวรณ์ ๕ประการนี้ อัน
    เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้วสงัดจากกามฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มี
    ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้
    สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร
    แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอ
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก นักรบอาชีพนั้น
    ถือดาบและโล่ห์ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว เข้าสนามรบ เขาชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม
    ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้
    ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฯ
     
  3. Asvel

    Asvel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +822
    จากวิบัติที่เป็นประสบการณ์ส่วนตัว พอจะบอกได้สั้นๆคร่าวๆ ว่าถ้าไม่สำรวมอินทรีย์หรือสำรวมอายตนะ จิตเรามันจะปรุงแต่งกิเลส เดี๋ยวอยากนั่น เดี๋ยวอยากนี่ ตามสิ่งที่มันมากระทบ มารุมเร้า มันชักให้ไปทำสิ่งที่ไม่งามและละเมิดพระวินัยได้ง่ายๆ เป็นผลร้ายมาก
    และถ้าไม่สำรวมอินทรีย์การทำกรรมฐานก็ลำบาก ก้าวหน้ายาก เพราะนิวรณ์มันกำเริบขึ้นมา แล้วพอไปทำสมาธิหรือเจริญสติปัทฐานมันก็ต้องเสียเวลามาระงับนิวรณ์ทุกครั้ง แต่ถ้าเราสำรวมอินทรีย์เราจะสามารถทำกรรมฐานได้ตลอดวันโดยไม่ติดขัด ถึงจะทำตามช่วงเวลาที่กำหนดก็สงบได้ง่ายครับ
     
  4. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    เพราะโจรคือ อกุศล ย่อมไหลเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    การตั้งสติในทุกอริยาบถเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ และจัดเป็นเครื่องเผากิเลสอย่างหนึ่ง

    ผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ย่อมไม่บรรลุแม้แต่ เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ ไม่ต้องพูดถึงนิพพานเลยครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  5. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    ผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือผู้ประมาท
    ผู้สำรวมอินทรีย์คือผู้ไม่ประมาท

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุไม่สำรวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่
    จิตย่อมเกลือกกลั้วในรูปทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งการรู้สึกด้วยตา;
    เมื่อภิกษุนั้นมีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมไม่มี;
    เมื่อ ปราโมทย์ ไม่มี, ปีติ ก็ไม่มี;
    เมื่อ ปีติ ไม่มี, ปัสสัทธิ ก็ไม่มี;
    เมื่อ ปัสสัทธิ ไม่มี, ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์;
    เมื่อ มีทุกข์, จิตย่อมไม่ตั้งมั่น;
    เมื่อ จิตไม่ตั้งมั่น, ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ;
    เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ
    ภิกษุนั้น ย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่า
    เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท โดยแท้.
    (ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยยะอย่างเดียวกัน)
    ภิกษุทั้งหลาย !
    อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท.

    ผู้สำรวมอินทรีย์คือผู้ไม่ประมาท


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุทั้งหลาย !
    เมื่อภิกษุสำรวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่
    จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในรูปทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งการรู้สึกด้วยตา;
    เมื่อภิกษุนั้น ไม่มีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด;
    เมื่อ ปราโมทย์ แล้ว ปีติ ย่อมเกิด;
    เมื่อใจมี ปีติ ปัสสัทธิ ย่อมมี;
    เมื่อมี ปัสสัทธิ ภิกษุนั้น ย่อมอยู่เป็นสุข;
    เมื่อ มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น;
    เมื่อ จิตตั้งมั่น แล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ;
    เพราะธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
    ภิกษุนั้น ย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่า
    เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้.
    (ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยยะอย่างเดียวกัน)
    ภิกษุทั้งหลาย !
    อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท.
    สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.
     
  6. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    การสำรวมระวังในอินทรีย์เป็นอาการสำรวมของนักปฏิบัติ
    กล่าวคือ เมื่อมีสติควบคุมกายแล้วความสำรวมระวังในกายก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ
    หากยังเผลอเหรอไม่สำรวมกายก็แสดงว่าจับสติตัวเองไม่ทัน การเคลื่อนไหว
    เป็นไปตามอารมณ์แห่งอกุศลจิตเสียส่วนมาก
    อย่างไรก็ตามการสำรวมระวังอินทรีย์ยังหมายรวมไปถึง...
    การที่เราสามารถควบคุมการกระทำตนเองให้อยู่ในขอบเขต
    ไม่เบียดเบียนสัตว์น้อย ใหญ่ หรือกระทำไม่ดีต่อผู้อื่น อย่างนี้เป็นต้น
    โมทนาธรรมครับ
    <<<อินทรปัญญาสกุล>>>​
     
  7. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ถ้ากิเลสคือข้าศึก... มันเข้ามาได้ทางอายตนะนี่แหละ
    ดังนั้น ถ้ายังไม่เก่ง ก็ให้รู้หลบบ้าง อย่าท้าชนอย่างเดียว
    แพ้บ่อยๆแล้วจะเสียกำลังใจ ก็คิดว่าปฏิบัติธรรมไม่ได้ผล
    พอเก่งสะสมกำลังใจได้แล้ว มันก็ถึงจะพอชนได้
    และมันเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ด้วยครับ
    จะดูนั่นฟังนี่ให้โลกติเตียนก็ไม่ควร
    ศึกษาจรณะ ๑๕ เพิ่มเติมครับ

    พระพุทธศาสนามีธรรมะหลายระดับครับ
    ตั้งแต่ระดับทางโลกศีลธรรมทั่วไป จนไปถึงทางหลุดพ้นคือพ้นทุกข์ถาวร
    แต่มีหลายอย่างที่ต้องทำความเข้าใจก่อน เช่น กฏแห่งกรรม บาปบุญ เรื่องของความสุขทางใจ
     
  8. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    คุณ
    nmz123
    asvel
    tusingigu
    คิดดีจัง
    DR-NOTH
    firstini

    ตอบไว้ดีแล้ว สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 มกราคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...