นิพพานสามารถหาชิมได้ทุกวัน ชิมบ่อยๆ ทำให้นิพพานจริงง่ายขึ้น ลองดูทางนี้

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย physigmund_foid, 22 กันยายน 2007.

  1. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ท่านพุทธทาส ได้กล่าวถึงการได้ลงไปชิมไปดื่มนิพพาน
    แต่ไม่ได้ลงไปเต็มตัวว่า เป็น "นิพพานชั่วคราว" หรือ
    "ตทังคนิพพาน" แล้ว ตทังคนิพพานนี้อยู่ไหน หาได้อย่างไร
    เกิดขึ้นได้อย่างไร?


    เข้าว่า "นิพพานัง ปรมัง สุขัง" แต่นิพพานมันแปลกใหม่
    ไม่เคยได้ลิ้มชิมรส แล้วผู้บริโภคผู้ถือตัวเป็นพระเจ้าในปัจจุบัน
    อย่างเราๆ ท่านๆ จะยอมเสียเวลาไปแสวงหากันอย่างนั้นได้อย่างไร?


    ไม่ได้ครับ ของดี อยากได้ ต้องลงมือปฏิบัติ แต่มันต้องให้ได้ลองชิมก่อน


    บทความฉบับนี้ไมได้เขียนขึ้นเพื่อหวังลาภสักการะ โปรดอย่าสรรเสริญ
    หรือก่อกรรมปรามาสใดๆ ต่อบทความนี้ ขอให้ตั้งจิตอุเบกขาเก็บเกี่ยว
    เป็นข้อสมมุติฐานเบื้องต้น เพื่ออาจเป็น "ประโยชน์ต่อท่านเอง" ในอนาคต



    ขอบคุณครับ..

    โดย น้องฟลอยด์
     
  2. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไรให้ได้โสดาบันอย่างง่ายๆ

    ในชีวิตประจำวันของเรา คงยากที่จะบรรลุธรรม เพราะเราไม่ได้มีอาชีพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2007
  3. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๑. “สุขปัจจัย” คือ การเสพความสงบสงัดเป็นสุขอันยอด (สุขในสงบ)

    นิพพานเป็นสุขอันยิ่ง หากเราไม่เคยชิมพระนิพพาน ย่อมไม่รู้ว่านิพพานสุขอย่างไร ดีอย่างไร เหนือกว่าสุขทางโลกอย่างไร อุปมาเหมือนสินค้าใหม่มาให้เราลองซื้อ หากไม่ให้เราทดลองชิมเลย เราคงไม่กล้าซื้อ ดังนั้น จำต้องให้ตนเองได้เสพสุขจากพระนิพพานที่หาได้ง่าย ที่เกิดขึ้นเองชั่วคราวตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า “ตทังคนิพพาน” จะทำให้เราชัดเจนในตัวเองมากขึ้นทุกวันว่า “นิพพานเป็นสุขอันยิ่งไม่มีสุขอื่นใดยิ่งกว่า” ดังนั้น จำต้องได้รับความสุขจากความสงบอันเป็นเหตุใกล้แห่งนิพพานเสมอๆ เคยไหมครับที่ว่างๆ เผลอไม่คิดไม่นึกอะไร รู้สึกสุขพิกลบอกไม่ถูกอธิบายไม่ได้ แต่ว่างเบาสบายใจ เพลินอยู่ แบบนั้นละครับ เริ่มเข้าสู่ "ตทังคนิพพาน" เข้าแล้ว แล้ว "ตทังคนิพพาน" นี้ จะหาได้ที่ไหนง่ายที่สุดละครับ ต้องลองดูกันต่อไป
    <O:p</O:p
    ในทุกเช้า ให้เราเสพความสุขสูงสุดในการเริ่มต้นของชีวิตเสมอ โดยให้เลือกช่วงที่ชีวิตมีความ “สงบสงัดที่สุด” เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า ช่วงนี้ จิตจะว่างจากกิเลส มีความสงบเงียบ ธรรมชาติรอบตัวตอนเช้าจะสงบมาก ให้เราพิจารณาสภาวธรรม ความสุขจากความสงบสงัดนี้ เสพให้จิตมีความเคยชิน และเสพจนติดความสงบ เป็นภาวะพักผ่อน, ว่างจากกรรม, ว่างจากความวุ่นวาย หากเป็นคนโสดนอนคนเดียว ให้ตื่นขึ้นมาแล้วอย่าเพิ่งรีบร้อนตกใจไปทำกิจใดๆ ให้นอนต่อสักพักประมาณ ๑๕ นาทีถึง ๓๐ นาที โดยให้ลืมตาเบาๆ เล็กน้อยเพื่อให้มีสติรู้ตัวไม่หลับ มีความรู้ตัว รับรู้ถึงสภาวะความสงบสุขหลังตื่นนอนก่อนสิ่งอื่นใดทุกวัน จากนั้นค่อยลุกขึ้นมานั่งสมาธิต่ออีก ๑๕ นาที ถึง ๓๐ นาที อย่าตื่นนอนเช้าเกินไป จะทำให้ง่วงนอน และเกลียดภาวการณ์ง่วงหลังตื่นนอน อย่าตื่นสายเกินไป จะทำธุระส่วนตัวไม่ทัน ไปทำงานสายได้ ตื่นสัก ๕ โมงเช้ากำลังดี จนเสพความสงบสุขเสร็จ ๖ โมงเช้า ทำธุระส่วนตัวเสร็จ ๗ โมงเช้า เดินทางถึงที่หมาย ๘ โมงเช้า อย่างนี้กำลังดี พอดีพอเพียง ไม่รีบร้อนเกินไป ไม่ชักช้ากินไป หากเป็นคนที่มีครอบครัวแล้ว ความสงบสุขในช่วงเช้าและบรรยากาศธรรมชาติรอบตัวที่สงบเงียบจะหาได้ยากขึ้น ให้ทั้งคู่สามีภรรยา ปลีกตัวเองไปอยู่สงัด คนหนึ่งอาจออกไปนั่งสมาธิในสวนรอบบ้าน คนหนึ่งนั่งสมาธิในห้องนอนต่อไป (ใครตื่นก่อนก็ทำก่อน หรือเลือกออกไปนั่งข้างนอกก่อน) ทำอย่างนี้ จิตจะสงบสงัดมีพลังมาก จิตจะตรงต่อนิพพาน คือ ความสงบยิ่ง ความว่างไปจากทุกข์และกิเลสตัณหา ความสูญไปแห่งกรรมใดๆ อันจะทำให้ทั้งวันจิตประคองสภาวะนี้ต่อไป เมื่อทำกิจอื่นใด ก็ประคองสภาวะจิตที่สงบสงัดนี้ ดุจ “งูแมวเซา” ที่ดูนิ่งเชื่องช้า แต่หากเจอเหยื่อก็ฉกได้ทันทีอย่างรวดเร็ว อย่าทำตัวเหมือนสุนัขป่า ที่รุมกัดไล่ล่าเหยื่อโดยใช้พวกพ้อง ซึ่งไม่มีความสงบสงัด ความสุขุมลุ่มลึกในการทำงาน
    <O:p</O:p
    บุคคลที่จิตปราศจากความสงบสุขนั้น จิตจะอ่อนล้าและแสวงหาการเติมเต็มอยู่เป็นเนืองนิตย์ ดังนั้น ยิ่งไถลออกนอกเส้นทางแห่งพระนิพพาน ดังนั้น การตั้งจิตตรงต่อนิพพานทุกเช้า ด้วยการเสพความสุขจากความสงบสงัด ความไร้กรรม ไร้ความวุ่นวาย ไร้กิเลสเครื่องเศร้าหมองนี้ นอกจากจะทำให้ชีวิตมีพลังสู้ในแต่ละวัน มีความสุข มีกำลังใจในการทำงานแล้ว ยังเป็นเสมือน “มงคล” อันสูงสุดให้ตนเองในทุกเช้า ทำให้ทุกวันมี “พระนิพพานเป็นมงคลสูงสุด” ก่อนออกจากบ้านทุกวันอีกด้วย <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2007
  4. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๒. “สังคมปัจจัย” คือ การเปิดเผยตัวตนเพื่ออำนวยมวลชน (ตนในสังคม)
    <O:p</O:p
    ความเห็นแก่ตัว การไม่อำนวยประโยชน์แก่มวลชนใดๆ การหมกตัวอยู่ผู้เดียว การหนีสังคมเข้าป่านั่งสมาธิ ทำให้ตนเองต้องต่อสู้กับกิเลสเพียงลำพัง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการอุทิศตนสร้างประโยชน์สุขแก่สังคมแล้ว การบรรลุจะยากยิ่งกว่า อุปมาเหมือน คนที่ต่อสู้กับศัตรูที่ฝีมือเท่ากันตัวต่อตัว เมื่อต่อสู้กันต่างก็รู้เท่าทันกัน ไม่รู้ผลแพ้ชนะ กลับไปฝึกฝนตนเอง ก็กลับมาสู้กันใหม่ ก็ย่อมให้ผลเช่นเดิม ไม่อาจชนะฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดลงได้เสียที ดังนี้ การหนีไปนั่งสมาธิคนเดียวจึงบรรลุยากกว่าการบำเพ็ญบารมีเพื่อขัดเกลาตนเองและเพิ่มพละห้า (ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา) การบำเพ็ญบารมี เปิดเผยตนเองเข้าสู่สังคมเสมอ เช่น การช่วยออกแรงในงานศพบ่อยๆ ทำให้เราได้เห็นอนิจจังในชีวิตผู้อื่น ได้ปลงก่อนความตายจะมาถึงตนเอง ได้อาศัยผู้อื่นซึ่งเป็นคนเหมือนตนเอง สอนตนเอง เรียนรู้ตนเอง ได้อาศัยผู้อื่นสั่งสอนตนเอง ขัดเกลาตนเอง อุปมาก็เหมือนนักสู้ ที่มีทั้งกองทัพพรรคพวก และกุนซืออย่างดี เมื่อต้องต่อกรกับคนที่มีฝีมือทัดเทียมกับตนเพียงคนเดียว ความได้เปรียบย่อมมีมากกว่า
    <O:p</O:p
    บุคคลย่อมมีจุดอ่อนอยู่ในตัว มีความไม่ดีงามอยู่ในตัว มีกิเลสในตัว แต่บุคคลจะเอาชนะกิเลสได้ ย่อมต้องเห็นตัวตนของ “กิเลสก่อน” ย่อมต้องรู้จักกิเลสใสตนอย่างดี ประดุจนักรบชั้นยอดย่อมต้องรู้กำลังความสามารถศัตรู รบร้อยครั้งย่อมได้ชัยชนะทั้งร้อยครั้ง การบรรลุธรรม บุคคลย่อมต้องต่อสู้กับใจตนเอง ทว่าใจของเรานั้นอุปมาก็เหมือนร่างกายของเรา แม้ร่างกายของเรายังต้องใช้กระจกส่องดูจึงเห็นได้ ไฉนเลยกับใจเรานี้ อยู่แบบไม่เห็นตัวตน หลบซ่อนอยู่ภายใน ย่อมต้องยากแก่การเฝ้าดู ดังนั้น หากจะเอาชนะใจตน ก็ต้องรู้จักใจตนก่อน จะรู้จักใจตนได้อย่างไร ก็ดูใจตนเองนั้นยากยิ่ง ดังนั้น ให้เอา “สังคมเป็นกระจกส่องใจตน” กล่าวคือ บุคคล ควรแสดงตัวตนของตนเองอันเป็นเอกลักษณ์ที่แท้ของตน ออกมาสู่สังคม เช่น ความอ่อนแอในใจลึกๆ ที่อายและเกรงว่าจะมีผู้รู้ว่าตนอ่อนแอ, ความทุกข์ความกังวลเบื้องลึกที่เกรงว่าผู้อื่นจะดูแคลนว่าตนล้มเหลว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เรามักกลบเกลื่อนปิดบังผู้อื่น แล้วเก็บกดซ่อนไว้ให้ลึกที่สุด จากนั้นก็เสแสร้งแสดงตัวตน ที่เราต้องการให้ผู้อื่นเห็นและเข้าใจในสิ่งที่เราเป็นในอีกรูปแบบหนึ่งออกมาแทนที่เดิม กลายเป็นผู้ดีจอมปลอมที่ต่อหน้าทำดี ลับหลังเห็นแก่ตัว, หรือเด็กกล้าแสดงออก แต่ลับหลังอายที่จะกระทำความดี, หรือผู้หญิงที่ดูซื่อใสแต่งตัวน่ารัก แต่เบื้องหลังตบกันในร้านสะดวกซื้อ, หรือผู้ชายกล้ายกพวกตีกัน แต่ไม่กล้าที่จะปกป้องคนดี และไม่กล้าปราบคนชั่ว, ผู้มีอายุที่ต่อหน้าทำตัวเป็นผู้ทรงภูมิ แต่ลับหลังขาดการเรียนรู้สิ่งที่เปลี่ยนไปของสังคมรอบตัว อย่างนี้เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ แสดงถึง “ตัวตนภายในลึกๆ ที่อ่อนแอ” ของคนประเภทต่างๆ ในสังคม เป็นการเก็บกดและหลบซ่อน “อัตตา” ของตนให้ลึกเข้าไปยิ่งขึ้นทุกวัน เหมือนการหลอกตัวเองทุกวัน ปรุงแต่งตัวเองให้เป็นอย่างอื่นทุกวัน เป็น “อุปทานในอัตตา” คือ ความหลงผิดในตัวตนของตน ตัวตนของตนแท้แล้วไม่ใช่เช่นนั้น ไปหลงยึดว่าตนเป็นอีกอย่างหนึ่งไป ดังนั้น การจะเอาชนะ “อัตตา” และ “อุปทาน” ตลอดจนกิเลสตัณหาต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในใจตนได้นั้น จำต้อง “เอาออกมาภายนอก” ให้สังคมรอบข้างได้เห็น ได้ตรวจสอบ ได้เป็นกระจกส่อง และได้ช่วยในการบีบคั้นขัดเกลา อย่างถูกวิธี เช่น ไม่ใช่ทำเลวให้คนในสังคมมองว่าเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่น่าอาย จนกลายเป็นแบบอย่างใหม่ให้เยาวชนทำตาม แต่หากจิตใจไม่อาจห้ามการทำเลวนั้นได้ ก็ให้แสดงตนเองออกมา บอกกล่าวแก่คนรอบข้างอย่างเปิดเผยว่า ตนนั้นได้พลาดพลั้งทำไปแล้ว ทำอย่างไรดีจะเลิกได้ สังคมก็จะช่วยออกแรงบีบเค้นให้เราเอาชนะใจตนเอง โดยที่เราใช้แรงตัวเองน้อยมากในการเอาชนะใจ เท่ากับมีกองทัพรบกับกิเลสในใจตนเพิ่มนั่นเอง สังคมจะคอยตรวจตราเราทุกวินาที เราจึงเผลอไม่ได้ จำต้องมีสติที่จะไม่ถูกใจตนเองครอบงำไปทำความชั่ว
    <O:p</O:p
    นอกจากนี้ การแสดงตัวตนที่แท้ ยังทำให้เรากล้ายืนอยู่ในสังคมอย่างเปิดเผย สังคมเปิดเผยไม่หลอกลวงกัน สังคมมีความยอมรับให้อภัยกัน และช่วยเหลือให้แต่ละคนนั้นฝ่าฟันเอาชนะใจตนเองให้ได้ ตรวจตราใจให้แก่กันและกัน ไม่เป็นสังคมแห่งผู้ดีจอมปลอม การแสดงความเลวและจุดอ่อนของตนต่อสังคมนี้ ไม่ใช่แสดงด้วยความหน้าด้าน แต่เป็นการ “แสดงหลังห้ามใจตนเองไม่ได้” ต่างหาก กล่าวคือ เมื่อแพ้ใจตนเองแล้ว ให้หาสังคมมาช่วยเป็นเครื่องตรวจสอบควบคุมตนเองทันที เพื่อไม่ให้ตนเองที่อ่อนแอและพ่ายแพ้ใจ จะต้องพ่ายแพ้ใจจนกระทำความชั่วซ้ำอีก ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ การที่เราสละตนทำดีเพื่อคนอื่น แต่เมื่อตนพลาดพลั้งก็กล้าที่จะเปิดเผยออกมานั้น จะเท่ากับเป็นการเผยจุดอ่อนของตน เป็นเป้าล่อมาร กล่าวคือ คนในสังคมที่มีจิตมาร จะคอยหาทางยกตนเอง เหยียบผู้อื่น และแก่งแย่งแข่งขันอยู่แล้ว หากเราทำดีกว่ามาร มารอิจฉา เมื่อเราพลาดพลั้งก็แสดงความพลาดของตนออกมา มารจะรุมซ้ำ ทำให้เราเข็ดขยาดไม่อยากทำผิด เป็นการเสริมแรงฮึดให้เราสู้กิเลสในใจตน ใช้ “แรงมารภายนอก ปราบมารภายในใจตน” นอกจากนี้ หากในสังคมมีคนมีเมตตา เขาย่อมจะให้กำลังใจเรา สู้กับใจตนเอง ดังนั้น เราจึงได้ทั้งกำลังใจจากคนดี และการซ้ำเติมจากมารให้เข็ดขยาดกลัวการพ่ายแพ้ใจตนเอง<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2007
  5. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๓. “กรรมปัจจัย” คือ การชดใช้หนี้กรรมด้วยขันติและอุเบกขา (ทนในกรรม)
    <O:p</O:p
    ปัจจัยที่สาม ที่ส่งผลต่อการบรรลุธรรมได้เร็วขึ้นหรือช้าลง ก็คือ “กรรม” โดยจะส่งผลให้เราต้องรับวิบากกรรมต่างๆ เช่น ต้องหลงทางเดินทางผิด ต้องทุกข์ทรมานนานกว่าจะได้เห็นธรรม ดังเช่น พระสงฆ์บางรูปต้องเข้าป่าหาธรรม และรับทุกขเวทนา ชดใช้กรรมด้วยการธุดงค์ ในฆราวาสนั้น ก็ชดใช้กรรมด้วยการทำงานหนัก การต้องกระทบกระทั่งกับผู้คน แต่หลายครั้ง การใช้ชีวิตของฆราวาสปราศจากความสงบสงัด ปราศจากการพุ่งจิตตรงต่อนิพพาน ไม่มีความคิดที่จะแสวงหาความสุขอันยิ่ง คิดว่าทีมีคงมีโฆษณาบอกเราเองว่ามี “สุขใหม่ๆ” อะไรให้เสพบ้าง เพราะสุขเก่าๆ ก็ดับหมดแล้ว เคยสุข แล้วก็หายสุข เบื่อของเก่าแล้ว ต้องหาของใหม่ไปเรื่อยๆ ดังนั้น ฆราวาสส่วนใหญ่ จึงใช้ “วิบากกรรมดี” ไปผิดทาง กล่าวคือ ใช้ไปในทางสนองกิเลสตน แทนที่จะนำ “วิบากกรรมดี” มาไถ่ถอน “วิบากกรรมเลว” ที่บดบังดวงตาแห่งธรรมอยู่ ฆราวาสจึงห่างไกลจากความสุขแท้ไปเรื่อยๆ วิบากกรรมเลวบดบังธรรมแล้ววิบากกรรมดีก็ลากเข้าสู่กองกิเลสอีก ทั้งกรรมดีและกรรมเลว พุ่งเข้าสู่ “อวิชชา” ทั้งสิ้น ดังนั้น ฆราวาสในปัจจุบัน จึง “โง่เขลา” ไม่ใช่ “ผู้ฉลาด” ในการใช้ “กรรม” เพื่อยังผลให้กรรมส่งตนถึงนิพพานได้ อันว่ากรรมนั้นก็เป็นธรรมชาติ ย่อมมีธรรม มีสภาวะแห่งธรรม ที่เอื้อประโยชน์แก่บุคคลจะบรรลุธรรม หากสามารถจัดการได้ดี
    <O:p</O:p
    ดังนั้น เมื่อกรรมเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง เป็นธรรมชาติ จึงเป็นทรัพยากรที่ไม่ต้องแย่งจากใคร เป็นของฟรี ของดีในโลก ที่ได้เท่าเทียมกันหมดทุกคน บุคคลจึงต้องรู้จักบริหารการใช้ “ทรัพยากรกรรม” นี้ เพื่อประโยชน์สุขสูงสุดอันยิ่งแห่งตน อันได้แก่ “กรรมปัจจัย” อันหนุนนำส่งตนถึงฝั่งพระนิพพานนั่นเอง บุคคลจะสามารถเข้าใกล้พระนิพพานได้ง่าย ประดุจขอนไม้ที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป หากไม่ติดข้างตลิ่งใดเสียก่อน ย่อมลงลอยจนออกสู่ทะเลได้ในที่สุด ฉันใดก็ฉันนั้น การใช้ “กระแสกรรมเป็นเครื่องพัดพาหนุนนำให้บุคคลไหลตรงเข้าสู่ฝั่งพระนิพพาน” ก็สามารถทำได้บุคคลจึงต้องบริหาร “กรรม” อันเป็นทรัพยากรที่ไม่ต้องแย่งชิง เป็นของฟรีที่ทุกคนได้รับเท่าเทียมกันจากธรรมชาติ เป็นธรรมจากธรรมชาติ เพื่อไม่ให้ “หลงบุญแล้วก่อบาปสนองกิเลส” แต่รู้จักใช้กรรมให้เป็นทางสู่นิพพาน ในสองลักษณะ คือ
    <O:p</O:p
    ๓.๑) วิบากกรรมดี
    <O:p</O:p
    คือ ผลแห่งการทำดีในอดีต ให้เราในปัจจุบันได้เสวยผลบุญ เป็นความสุขต่างๆ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง, ร่างกายแข็งแรงกำยำ, รูปร่างหน้าตางดงาม, หน้าที่การงานดี, ความนิยมศรัทธา, ลาภสักการะ ฯลฯ ให้นำผลบุญที่ได้รับในปัจจุบันนี้ ไปสร้าง “กรรมปัจจุบัน” โดยการทำบุญแก้กรรมให้ถูกวิธี เช่น มีกรรมต้องทำให้โง่ ก็ทำบุญเป็นหนังสือให้เด็กกำพร้าที่ขาดแคลนหนังสือ แล้วอธิษฐานจิตว่า “ขอให้ผลบุญนี้จงเป็นเครื่องไถ่ถอนกรรมเก่า ชดใช้เจ้ากรรมนายเวร ขอให้อโหสิกรรมต่อกัน อย่าให้กรรมบดบังดวงตาเห็นธรรม ขอให้ผลบุญหนุนนำเปิดดวงตาเห็นธรรม เข้าสู่ฝั่งพระนิพพานพ้นทุกข์ พบสุขสงบยิ่งโดยเร็วเทอญ” ให้ทำ “ทาน” เช่นนี้ สม่ำเสมอ และอธิษฐานจิตให้ชัดเจน หากยามทำบุญไม่อธิษฐานจิตให้ชัด ผลบุญจะไปรอในชาติภพหน้าตาม ลักษณะบุญที่ทำ ดังนั้น หากต้องการสิ้นภพซึ่งดีงามที่สุดกว่าภพสวรรค์ใดๆ ในชาตินี้ คือ พระนิพพาน ต้องอธิษฐานจิตทำบุญหนุนให้ได้นิพพานในชาติปัจจุบันอย่าได้คลาดแคล้ว เพราะหากพลาดในชาตินี้ ชาติหน้าก็ไม่แน่นอนว่าจะเกิดมาได้พบได้เจอพระพุทธศาสนาอย่างนี้อีกหรือไม่ และจะตกต่ำทำชั่วเพราะขาดธรรมะสั่งสอนไปถึงอบายชั้นไหน ตกต่ำกว่าภพภูมิเดิมที่ตนจุติลงมาหรือไม่ ก็ไม่แน่

    ๓.๒) วิบากกรรมเลว
    <O:p</O:p
    คือ ผลแห่งการทำความเลวในอดีตชาติของเราเอง ส่งผลให้ต้องรับวิบากกรรมเลวในชาตินี้ เช่น ทำให้ต้องเป็นคนยากจน, ขาดแคลนวิชาความรู้, ไม่มีอำนาจวาสนา, ขาดญาติมิตรบริวารคอยให้การช่วยเหลือ, ต้องเจ็บป่วยประสบอุปสรรคในการฝึกจิต ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ หากบริหารไม่ดี ก็กลายเป็นเครื่องขวางกั้นการบรรลุธรรมได้ แต่หากบริหารอย่างดี ก็จะกลายเป็นกระแสน้ำที่มีแรงพัดพาเราพุ่งตรงสู่ฝั่งพระนิพพานแต่อย่างเดียว ให้เราใช้ “ขันติบารมีและอุเบกขาบารมี” ควบคู่กัน ในการชดใช้กรรม เมื่อต้องพบกับความทุกข์ทั้งกายหรือใจก็ตาม ให้มีสติรู้เท่าทันทีว่าเป็นผลแห่งกรรมเลวของเราในอดีตชาตินั่นเอง จะโทษใครไม่ได้ ต่อให้ใครมาทำร้ายเราในปัจจุบันชาติก็ตาม แต่ก็ล้วนเป็นผลจากกรรมเลวในอดีตชาติของเราก่อไว้ทั้งสิ้น เช่นนี้ จะทำให้ได้ “กรรมานุสติ” จากนั้นให้ใช้ “ขันติบารมี” อดทนต่อสิ่งยั่วยุหรือคนที่กระทำกรรมต่อเรา พวกเขาเป็นแค่เครื่องจักรกลแห่งกรรม ที่เดินไปตามสมดุลแห่งธรรมชาติ เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีความผิดต่อเรา เราเองเป็นผู้ก่อกรรมไว้ จึงต้องมารับกรรม จึงไม่ถือโทษโกรธแค้น ให้อภัยและรับแรงกระทำนั้นอย่างอดทนอดกลั้น ไม่โทษใครเด็ดขาด จากนั้น ให้ปล่อยวางใจคลายลงเป็นกลาง อย่ายินดีในสิ่งที่เขาทำเลวต่อเรา อย่ายินร้ายในสิ่งทีเขาทำเลวต่อเรา เราไม่ทำเลวอย่างเขา ไม่ยินดีด้วย ไม่สรรเสริญ แต่เราก็ไม่ยินร้าย ไม่อาฆาตพยาบาทโกรธเคือง ใช้ “อุเบกขาบารมี” วางใจเฉยเป็นกลางไม่เอนเอียงอย่างนี้ จิตจะเข้มแข็งมีพลังเหนือกิเลสความโกรธได้มากขึ้นทุกครั้งที่กรรมส่งผลต่อเรา เราก็กล้าแกร่งขึ้น หนุนนำให้เราอยากพ้นไปจากบ่วงกรรม อยากให้กรรมหมดสิ้นไป อยากใช้หนี้กรรมให้หมด ไม่อยากก่อกรรมเลวเพิ่ม แน่นอนว่า “ศีล ๕” ย่อมสมบูรณ์โดยไม่ต้องท่องจำว่ามีอะไรบ้าง เพราะความกลัวอำนาจแห่งกรรมนี่เอง และน้อมนำจิตของเราเข้าสู่ “นิพพาน” เพียงอย่างเดียว เกิดความ “ศรัทธา” เป็นหนึ่งในพละห้าที่กล้าแกร่งให้เราไม่คลอนแคลนจากนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2007
  6. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๔. “ธรรมปัจจัย” เป็นผู้ถือสิ่งรอบตัวเป็นครูให้แง่คิด (ธรรมในสรรพสิ่ง)
    <O:p</O:p
    ผู้จะหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสได้ จำต้องมี “ปัญญา” มี “ดวงตาเห็นธรรม” ดังนั้น หากในใจคิดแต่อยากได้นั่นนี่ ใจก็จะมีแต่กิเลสหมักหมม จำต้องฝึกใจ ให้มุ่งตรงหาธรรมตลอดเวลา เป็นผู้ “ปกติเรียนรู้ตลอดชีวิต” จากสรรพสิ่งรอบตัว โลกจึงเปลี่ยนเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่สำหรับเขา สังคมเปลี่ยนเป็นครูบาอาจารย์แก่เขา และสรรพสิ่งก็ผันตัวเป็นไตรปิฎกเป็นคัมภีร์แก่เขา บุคคลที่ปกติ ไม่ในใจธรรม ในใจไม่แสวงหาธรรม ไม่มองหาธรรม แยกแยะธรรมไปเสียจากตน เป็นบุคคลผู้ปกติหนีธรรม ไม่ทำตนให้ดำรงอยู่ในธรรม มีอวิชชาคือความหลงผิดครอบงำตนเองตลอดเวลา จักไม่มีโอกาสบรรลุธรรม ไม่หลุดพ้นทุกข์ ไม่พบสุขอันสูงสุดแท้จริง บุคคลประเภทหลังนี้ แม้บวชเรียนเป็นภิกษุในบวรพุทธศาสนา ก็หาใช่ศิษย์ของตถาคตไม่ หาได้ดำรงตนให้อยู่ในพระธรรมวินัยไม่ เป็นภิกษุผู้ไปเสียจากธรรม ละทิ้งธรรมวินัย ห่างเหินและหมางเมินจากธรรม เป็นผู้เสียเปล่าไปชาติหนึ่ง เป็นผู้เกิดมาสนองสมมุติโดยแท้ จักหาความจริงอันใดจากบุคคลเหล่านี้ เป็นสิ่งเปล่าเลยจากประโยชน์ในประการทั้งปวง
    <O:p</O:p
    อันสัตบุรุษ ผู้มีใจแสวงหาธรรม มีธรรมเป็นมิตรคู่กาย มีธรรมเป็นครูบาอาจารย์ มีธรรมเป็นจุดหมายแห่งการมอง การฟัง การสัมผัส การรับรส การรับกลิ่น มีอายตนะแห่งธรรม เพื่อรองรับธรรม บุคคลผู้นั้นพึงได้ชื่อว่าสัตบุรุษผู้มีอายตนะธรรม เป็นอายตนะอันนำไปสู่การสิ้นไปแห่งกิเลสอาสวะทั้งปวง เป็น “นิพพานอายตนะ” คือ การรับรู้ธรรมจากสรรพสิ่งรอบตัวเป็นอาจิณ จึงจัดเป็น “สัตบุรุษโดยแท้”
    <O:p</O:p
    อันอสัตบุรุษ ผู้มีใจห่างเหินจากธรรม มองหาความไม่เป็นธรรมเพื่อสนองกิเลสตน มีปกติเป็นผู้อยุติธรรมเป็นนิตย์ เป็นผู้ไม่แสวงหาธรรม ไม่รับรู้ธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม สร้างความอยุติธรรมให้เกิด เสพกิเลสอันมิใช่ธรรมเป็นเครื่องยังสุขชั่วคราว เป็นผู้ปราศจากไปเสียจากการได้บรรลุธรรม เป็นผู้มีเปลือกนอกแข็งกระด้าง ไม่อ่อนน้อมต่อธรรม ไม่พร้อมรับธรรมตลอดเวลา ไม่พร้อมรับธรรมจากทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้มีเนื้อในอ่อนแอปวกเปียก ไม่อาจทนรับสภาวธรรมความเป็นจริงโดยรอบตัวได้ จึงหลบหายหนีจากธรรม เกรงกลัวธรรมอันแท้จริงที่เปิดเผยทุกเมื่อ เป็นผู้ชอบบิดเบือนธรรมอยู่เสมอ เป็นผู้หลอกตนเองให้อยู่ในเปลือกหอยอันโง่งมไปตลอดกาลนาน
    <O:p</O:p
    ดังนั้น บุคคลจำต้องทำตนเสมือนว่าตนเป็นนักเรียนที่อ่อนน้อมถ่อมตนต่อทุกสิ่ง มิใช่เป็นคนปกติแข็งกระด้าง ดื้อด้าน ดั่งไม้อ้อที่แข็งไม่อาจดัดให้ดีกว่าเดิมได้ เป็นบุคคลที่ประจบสอพลอเอาใจแต่ผู้เหนือกว่าตนในด้านต่างๆ แต่ข่มเหงรังแกบุคคลที่ด้อยกว่าตนในด้านต่างๆ มีปกติจ้องดูความผิดพลาดและจุดอ่อนของผู้อื่นเพิ่มซ้ำเติมให้ตนสูงขึ้นไปเป็นเนืองนิตย์ มีเท้าวางอยู่บนผู้คนที่อ่อนแอจำนวนมาก มีมือเทิดทูนผู้เหนือตนไว้เสมอ เป็นอสัตบุรุษผู้ไม่น่าคบ เป็นผู้ไปเสียจากธรรม เป็นผู้ไปเสียจากธรรมวินัยแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลจำต้องพร้อมที่จะให้ทุกสิ่งสอนตน พร้อมรับสรรพสิ่งเป็นครู แม้แต่คนเลวที่สุด ยังสามารถสอนคนให้เห็นความเลวที่ไม่น่าเอาเยี่ยงอย่างได้ฉันใด สรรพสิ่งอันมีทั้งดีและเลวประกอบกัน ย่อมต้องสามารถสั่งสอนเป็นครูบาอาจารย์ให้สัตบุรุษได้ฉันนั้น เพียงบุคคลนั้น ตั้งจิตพุ่งตรงต่อธรรม อ่อนน้อมต่อธรรม อ่อนน้อมต่อสรรพสิ่งและทุกคนรอบข้าง เขาย่อมได้รับธรรมอยู่เป็นเนืองนิตย์ เป็นผู้ที่พระศาสดาชื่นชม เป็นผู้ที่ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม และมีโอกาสได้ดวงตาเห็นธรรมตลอดเวลา ทั้งในยามลับหลังจากพระศาสดาหรือครูบาอาจารย์ และทั้งในยามที่พระศาสดาหรือครูบาอาจารย์ปรากฏตัวก็ตาม เขาคือ ผู้พร้อมแก่การบรรลุธรรมทุกเมื่อ เป็นผู้ปกติ “ไม่ประมาทในธรรม” เห็นธรรมอยู่เสมอ บุคคลจึงไม่พึงแยกแยะแต่ว่า “ธรรมนั้นมีอยู่แต่ในองค์ศาสดา”, “ธรรมนั้นมีอยู่แต่ในองค์ครูบาอาจารย์”, “ธรรมนั้นมีอยู่แต่ในตำราพระคัมภีร์”, “ธรรมนั้นมีอยู่แต่ยามนั้นยามนี้”, “ธรรมนั้นมีอยู่แต่สถานที่นั้นสถานที่นี้”, “ธรรมนั้นมีอยู่แต่ในฝูงชนคนส่วนใหญ่” ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษแสวงหาธรรมอยู่เสมอ พึงไม่แยกแยะอย่างนั้น พึงไม่สรุปจำกัดแต่ว่าธรรมมีอยู่เฉพาะแต่ที่นั้น หากแต่เห็นสรรพสิ่งล้วนเป็นธรรมสอนตนตลอดเวลา พระศาสดาจึงอยู่กับเขาตลอดเวลา พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมสถิตอยู่กับเขาตลอดเวลา พระไตรปิฎกจึงอยู่กับเขาทั้งมวลโดยมิต้องอ่านหรือจดจำ เขาย่อมเป็น “ธรรมถึก” ที่เหนือกว่าผู้แตกฉานในทุกคัมภีร์ เขาย่อมเป็นผู้สิ้นกิเลสโดยง่าย <O:p</O:p
     
  7. physigmund_foid

    physigmund_foid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,421
    ๕.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2007
  8. ฟิล์มนรกภูมิ

    ฟิล์มนรกภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +669
    อุ๊ย อย่างน้องฟิล์มเป็นทุกวันเลย
    คือ ตื่นแล้วอยากขออยู่นิ่งๆ ก่อน
    เหมือนงูแมวเซา แล้วจู่ๆ ความคิด
    มันใสปิ๊งๆๆๆ ออกมาค่ะ เลยเขียน
    นิยายได้เลยอ่าเจ้าค่ะ


    ทำบ่อยๆ ก็ติดความสงบสบายค่ะ

    ทำแบบนี้โอเคมั้ยคะ?
     
  9. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    อันที่จริง ไม่มีครับนิพพานชั่วคราว เป็นนิยามใหม่ แต่ไม่ใช่นิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน เป็นเรื่องของการจับอารมณ์ชั่วคราวเหมือนขณิกสมาธิ
     
  10. โบ๊ต

    โบ๊ต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    388
    ค่าพลัง:
    +847
    เค้าบอกอย่าไปเถียงเขาไง เดี๋ยวเขาก็กัดเอาหรอก
     
  11. ปราบไตรจักร

    ปราบไตรจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +104
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่แจ้งไม่เข้าใจในพระ นิพพาน ไม่ควรจะสั่งสอนพระนิพพานแก่ท่านผู้อื่น ถ้าขืน สั่งสอนก็จะพาท่านหลงหนทาง จะเป็นบาปเป็นกรรมแก่ตน ควรจะสั่งสอนแต่เพียงทางมนุษย์สุคติ สวรรค์สุคติ เป็นต้นว่า สอนให้รู้จักทาน ให้รู้จักศีล ๕ ศีล ๘ ให้รู้กุศลกรรมบถ ให้รู้จักปฏิบัติมารดาบิดา ให้รู้จักอุปัชฌาย์อาจารย์ ให้รู้จัก ก่อสร้างบุญกุศลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น เพียงเท่านี้ก็อาจจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติพอสมควร อยู่แล้ว ส่วนความสุขในโลกุตตรนิพพานนั้น ผู้ใดต้องการจริง ต้องรักษาศีล ๕ ศีล ๑0 ศีลพระปาติโมกข์เสียก่อนจึงชื่อว่า เข้าใกล้ทาง มีโอกาสที่จะได้จะถึงโลกุตตรนิพพานโดยแท้ แม้ผู้ที่จะเจริญทางพระนิพพานนั้น ก็ให้รู้จักท่านผู้เป็นครู ว่ารู้แจ้งทางพระนิพพานจริง จึงไปอยู่เล่าเรียน ถ้าไปอยู่ เล่าเรียนในสำนักของท่านผู้ไม่รู้ไม่แจ้ง ก็จะไม่สำเร็จ โลกุตตรนิพพานได้ เพราะว่าทางแห่งโลกุตตรนิพพานนี้ เล่าเรียนได้ด้วยยากยิ่งนัก ด้วยเหตุสัตว์ยินดีอยู่ในกามสุข อันเป็นข้าศึกแก่พระนิพพานโดยมาก ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะ ผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนา แก่ข้าฯ อานนท์ด้วยประการดังนี้ ขอให้พระสงฆ์ทั้งหลาย จงทราบด้วยผลญาณแห่งตน ดังแสดงมานี้เถิด.

    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลทั้งหลาย ผู้ปรารถนาซึ่งพระนิพพาน ควรแสวงหาซึ่งครูที่ดีที่อยู่เป็นสุข สำราญมิได้ประมาท เพราะพระนิพพานไม่เหมือนของสิ่งอื่น อันของสิ่งอื่นนั้นเมื่อผิดไปแล้วก็มีทางแก้ตัวได้ หรือไม่สู้ เป็นอะไรนัก เพราะไม่ละเอียดสุขุมมาก ส่วนพระนิพพาน นี้ละเอียดสุขุมที่สุด ถ้าผิดแล้วก็เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์ เป็นนักหนา ทำให้หลงโลกหลงทางห่างจากความสุข ทำให้ เสียประโยชน์เพราะอาจารย์ ถ้าได้อาจารย์ที่ถูกที่ดี ก็จะได้ รับผลที่ถูกที่ดี ถ้าได้อาจารย์ที่ไม่รู้ไม่ดีไม่ถูกไม่ต้อง ก็จะได้ รับผลที่ผิดเป็นทุกข์ พาให้หลงโลกหลงทาง พาให้เวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารสิ้นกาลนาน เปรียบเหมือนผู้จะ พาเราไปในที่ตำบลใดตำบลหนึ่ง แต่ผู้นั้นไม่รู้จักตำบลนั้น แม้เราเองก็ไม่รู้ เมื่อกระนั้น ไฉนเขาจึงจะพาเราไปให้ถึง ตำบลนั้นได้เล่า ข้ออุปมานี้ฉันใด อาจารย์ผู้ไม่รู้พระนิพพาน และจะพาเราไปพระนิพพานนั้น ก็จะพาเราหลงโลกหลงทาง ไป ๆ มา ๆ ตาย ๆ เกิด ๆ อยู่ในวัฏฏสงสาร ไม่อาจจะถึง พระนิพพานได้ เหมือนคนที่ไม่รู้จักตำบลที่จะไปและเป็น ผู้พาไป ก็ไม่อาจจะถึงได้ มีอุปไมยฉันนั้น ผู้คบครูอาจารย์ ที่ไม่รู้ดีและได้ผลที่ไม่ดี มีในโลกมิใช่น้อย เหมือนดัง พระองคุลิมาลเถระไปเรียนวิชาในสำนักครูผู้มีทิฏฐิอันผิด ได้รับผลที่ผิด คือเป็นมหาโจรฆ่าคนล้มตายเสียนับด้วยพัน หากเราตถาคตรู้เห็นมีความสงสารเวทนามาข้องในข่าย สยัมภูญาณ จึงได้ไปโปรดทรมานให้ละเสียซึ่งพยศอันร้าย เป็นการลำบากมิใช่น้อย ถ้าไม่ได้พระตถาคตแล้ว พระ องคุลิมาลก็จักได้เสวยทุกข์อยู่ในวัฏฏสงสารสิ้นชาติเป็น อันมาก


    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้พระนิพพานไม่ควรเป็นครู สั่งสอนท่านผู้อื่นในทางพระนิพพานเลย ต่างว่าจะสั่งสอนเขา จะสั่งสอนว่ากระไรเพราะตัวไม่รู้ เปรียบเหมือนบุคคลไม่เคย เป็นช่างเขียนหรือช่างต่างๆมาก่อน แล้วและอยากเป็น ครูสั่งสอนเขา จะบอกแก่เขาว่ากระไร เพราะตัวเองก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจจะเอาอะไรไปบอกไปสอนเขา จะเอาแต่คำพูด เป็นครูทำตัวอย่างให้เขาเห็นเช่นนั้นไม่ได้ จะให้เขาเล่าเรียน อย่างไร เพราะไม่มีตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยตาให้รู้ด้วยใจ เขาจะทำตามอย่างไรได้ ตัวผู้เป็นครูนั้นแลต้องทำก่อน ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ควรเป็นครูสอนเขา ถ้าขืนเป็นครูก็จะพาเขา หลงโลกหลงทาง เป็นบาปเป็นกรรมแก่ตัวนักหนาทีเดียว พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล

    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลผู้จะสอน พระนิพพานนั้นต้องให้รู้แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า พระ- นิพพานมีอยู่ในที่นั้น ๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ ต้อง รู้ให้แจ้งชัด จะกล่าวแต่เพียงวาจาว่านิพพาน ๆ ด้วยปาก แต่ใจไม่รู้แจ้งชัดเช่นนั้นไม่ควรเชื่อถือเลย ต้องให้รู้แจ้งชัด ในใจก่อน จึงควรเป็นครูเป็นอาจารย์สอนท่านผู้อื่นต่อไป จะเป็นเด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้ารู้แจ้งชัดซึ่งพระนิพพาน แล้ว ก็ควรเป็นครูเป็นอาจารย์และควรนับถือเป็นครูเป็น อาจารย์ได้ แม้จะเป็นผู้ใหญ่สูงศักดิ์สักปานใดก็ตาม ถ้า ไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วไม่ควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์เลย

    ดูกรอานนท์ ถ้าอยากได้สุขอันใด ก็ควรรู้จักสุข อันนั้นก่อนจึงจะได้ เมื่ออยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ควร รู้จักสุขในพระนิพพาน อยากได้สุขในมนุษย์และสวรรค์ ก็ให้ รู้จักสุขในมนุษย์และสวรรค์นั้นเสียก่อนจึงจะได้ ถ้าไม่รู้จัก สุขอันใด ก็ไม่อาจยังความสุขอันนั้นให้เกิดขึ้นได้ ไม่เหมือน ทุกข์ในนรก อันทุกข์ในนรกนั้น จะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ถ้าทำกรรมที่เป็นบาปแล้ว ผู้ที่รู้หรือผู้ที่ไม่รู้ก็ตกนรก เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักนรกก็ยิ่งไม่มีเวลาพ้นจากนรกได้ ถึงจะทำบุญให้ทานสักปานใดก็ไม่อาจพ้นจากนรกได้ แต่มิใช่ว่าทำบุญให้ทานไม่ได้บุญ ความสุขที่ได้แต่ การทำบุญนั้นมีอยู่ แต่ว่าเป็นความสุขที่ยังไม่พ้นจาก ทุกข์ในนรก เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็นนรกตราบใด ก็ยังไม่พ้น จากนรกอยู่ตราบนั้น ครั้นได้เข้าถึงนรกแล้ว เมื่อได้รู้ ทางออกจากนรกได้แล้วปรารถนาจะพ้นจากนรกก็พ้นได้ เมื่อไม่อยากพ้นก็ไม่อาจพ้นได้ ต้องรู้จักแจ้งชัดว่านรกอยู่ ในที่นั้นๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ และควรรู้จักทาง ออกจากนรกให้แจ้งชัด ทางออกจากนรกนั้นก็คือ ศีล ๕ ศีล ๑0 ศีลพระปาติโมกข์นั่นเอง เมื่อรู้แล้วอยากจะออก ให้พ้นก็ออกได้ ไม่อยากจะออกให้พ้นก็พ้นไม่ได้ ผู้ที่รู้กับ ผู้ที่ไม่รู้ย่อมได้รับทุกข์ในนรกเหมือนกัน ส่วนความสุข ในมนุษย์สวรรค์และพระนิพพานนั้นต้องรู้จึงจะได้ ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจไม่ได้เลย มีอาการต่างกันอย่างนี้. ดูกรอานนท์ เมื่ออยากรู้จักนรกและสวรรค์และพระนิพพานก็ให้รู้เสีย ในเวลา ที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่ออยากพ้นทุกข์ในนรก ก็รีบออก ให้พ้นเสียแต่เมื่อยังไม่ตาย เมื่ออยากได้สุขในมนุษย์หรือ ในสวรรค์หรือในนิพพาน ก็ให้รีบขวนขวายหาสุขเหล่านั้น ไว้แต่เมื่อยังไม่ตาย จะถือว่าตายแล้วจึงพ้นทุกข์ในนรก ตายแล้วจึงจะไปสวรรค์ไปพระนิพพานดังนี้ เป็นอันใช้ไม่ได้ เสียประโยชน์เปล่า อย่าเข้าใจว่า เมื่อมีชีวิตอยู่สุขอย่างหนึ่ง เมื่อตายไปแล้วมีสุขอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้เป็นความรู้ที่เข้าใจ ผิดโดยแท้ เพราะจิตมีดวงเดียว เมื่อมีชีวิตอยู่ได้รับทุกข์ฉันใด แม้ เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับทุกข์ฉันนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่มีความสุข ฉันใด เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับความสุขฉันนั้น ไม่ต้องสงสัย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ยังไม่รู้ไม่เห็นซึ่งความทุกข์และความสุขมี สภาวะดังนี้ เมื่อตายไปแล้วจะซ้ำร้ายยิ่งนัก จะมีทางรู้ทาง เห็นด้วยอาการอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้.
    <!-- / message --><!-- / message --><!-- edit note -->
     
  12. หมูอวตาร

    หมูอวตาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +65
    ไม่หยั่งลงสู่ความตรึก

    พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ ๙

    [๗] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จจากควงไม้
    ราชายตนะ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ. ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่
    ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ นั้น และพระองค์เสด็จไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่
    ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ธรรม ที่เราได้บรรลุแล้วนี้
    เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่ง
    ลงสู่ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้เริงรมย์ด้วย
    อาลัย ยินดีใน อาลัย ชื่นชมในอาลัย ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่ง
    สังขารเป็นต้นนี้ เป็นสภาพอาศัย ปัจจัยเกิดขึ้นนี้ อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย
    ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัยเห็นได้ยาก แม้ ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้น กำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้นี้ ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม
    สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า แก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา.

    อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับในกาลก่อน
    ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ว่าดังนี้:-

    อนัจฉริยคาถา

    บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว
    โดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะ
    ครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว
    ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด
    ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์
    ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้
    พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
    ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.


    ในคราวแรกตรัสรู้พระพุทธองค์ยังเคยท้อที่จะแสดงธรรมอันละเอียด ลึกซึ้ง
    ยากที่จะเห็นละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน

    ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องง่ายๆไปแล้วหรือ???

    ใช่นิพพานในความหมายของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า???
     
  13. userx

    userx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +1,061
  14. saipote

    saipote เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2009
    โพสต์:
    6,115
    ค่าพลัง:
    +9,778
    อืมอะไรกานอ่ะตกลงอันไหนจริงอันไหนไม่จริงอ่ะ งง
     
  15. รพินทร์ไพรวัลย์

    รพินทร์ไพรวัลย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    669
    ค่าพลัง:
    +1,122
    อืม...
    นิพานนี่มันมีกฎกติกามากมายหยุมหยิม ยังกะ กอล์ฟทิป+พิษณุ นิลกลัด เลยนิ นู่นก็ไม่ได้นี่ก็ไม่ดี
    ศาสนาเดียวกันยังเห็นต่างกันได้มากมาย ต่างศาสนามิต้องพูดถึงคุยกันแป๊บเดียวบีบคอกันละ
    ปัญหามิได้อยู่ที่ศาสนา หรือหลักคำสอนใด
    ปัญหาคือมักมีคนเจ้าปัญหา ชอบอ้างเอาหลักคำสอน มาก่อให้เกิดปัญหา
     

แชร์หน้านี้

Loading...