อยากทราบว่าแค่ไหนเรียกอุเบกขา และแค่ไหนถึงเรียกว่าเมตตา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย DuchessFidgette, 29 พฤศจิกายน 2012.

  1. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ในพุทธศาสนาบอกว่าเราต้องมี เวทนา เมตตา กรุณา มุธิตา อุเบกขา แล้วอย่าพระอรหันต์ที่ไปสู่นิพพานโดยที่ สัตว์โลกมากมายยังทรมานอยู่ อย่างนี้ก็แสดงว่าท่านมีอุเบกขา ที่วางเฉยได้ แล้วอย่างนี้ไม่ถือว่าขาดเมตตาหรือ? ส่วนพระโพธิสัตว์ ท่านยอมสละไม่ไปนิพพานเพราะต้องการจะช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ให้หมดเสียก่อน อย่างนี้เพราะท่านมีเมตตา แล้วอุเบกขาละ? ไม่ถือว่าท่านตกล่นข้ออุเบกขาหรอกหรือ? เพราะท่านยอมไม่ไปนิพพานเพราะทนไม่ได้ที่จะเห็นคนอื่นๆยังไม่พ้นทุกข? เราก็เลยงงว่าอย่างนี้จะรู้ได้ยังไงว่าควรเมตตาแค่ไหน และควรอุเบกขาแค่ไหน
     
  2. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ***ผมว่า รู้แค่นี้ดีกว่าครับ
    พรหมวิหาร 4
    1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
    2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข
    4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย เมื่อเห็นผู้อื่นเป็นสุข และเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์

    ***แถมให้ครับ 4 เรื่องที่เราไม่ควรเข้าไปรู้

    อจินติตสูตร
    [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด
    พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่อง
    โลก ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลายอจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่ง
    ความเป็นบ้า เดือดร้อน ฯ
     
  3. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    หนุ่ม(หรือนางหนูล่ะ) เรามาพิจารณาร่วมกันดีกว่าถึงเรื่องนี้ ก่อนอื่นเรามาดูที่พระอรหันต์ เราจะพบว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนาเถรวาทเราก็คือ การมุ่งที่สาวกยานหรือการเป็นพระอรหันต์ มากกว่ามุ่งที่ปัจเจกพุทธยาน แล พระโพธิสัตว์ยาน นั้นแล ส่วนฝ่ายมหายานนั้นมุ่งที่ พระโพธิสัตว์ยานเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ โดยทางมหายานกล่าวว่า ทางเถรวาทมีจุดมุ่งหมายที่คับแคบ คือมุ่งแต่จักเอาตัวรอดเพียงอย่างเดียวเพื่อตัวเอง เขาจึงเรียกเราว่าหีนยาน พวกมหายานกล่าวว่าอุดมคติของมหายานนั้นสูงส่งกว่าเพราะมุ่งที่จักขนสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามฝากไปด้วยกัน แม้จักต้องเข้าสู่พระนิพพานเป็นคนสุดท้ายก็ยอม ดั่งในในโพธิสัตตวจรรยาวตาร ของท่านศานติเทวะ ว่า “ตราบเท่าสิ้นแผ่นฟ้านภากว้าง หากสรรพสัตว์ยังเคว้งคว้างในสังสาร ข้าจะขอรื้อขนสัตว์นานเท่านาน ตราบสิ้นกาลสิ้นวัฏฏ์พิพัตน์เอย” ฝ่ายเถรวาทก็กล่าวว่าทางมหายานกำลังมุ่งที่อุดมคติที่ยากที่จะลุถึงได้ และเหมือนจักเป็นภารกิจที่แทบจะมองไม่เห็นทางสำเร็จเลยทีเดียว

    หากมองเพียงผิวๆๆ ก็นับว่าสองอุดมคตินี้ ก็ดูต่างกันดี แต่นั้นเป็นเพียงแค่เปลือก เพื่อที่จะมองให้ทะลุถึงแก่นแท้เราย่อมต้องตีให้แต่ว่าจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาคืออะไร? กล่าวโดยสรุปคือ ลดความเห็นแก่ตัว ความยึดมั่นถือมั่นลง นั้นแล พระอรหันต์ก็คือบุคคลผู้หมดแล้วซึ่งความเห็นแก่ตัว ความยึดมั่นถือมั่นว่ามีเรามีของเรา

    เห็นอะไรไหม? เมื่อเราเอาอุดมคติพระโพธิสัตว์มาจับเราจะเห็นได้ทันทีว่า ความคิดที่ว่า เราจะปฏิบัติและช่วยเหลือให้สัตว์ทั้งหลายได้เข้าถึงนิพพาน แม้จักต้องเวียนกลับมาเกิดอีกหลายล้านชาติ หรือ กระทั้งการเข้าสู่พระนิพพานเป็นคนสุดท้ายก็ยอม นั้นก็เป็นไปเพื่อลดความเห็นแก่ตัว ความยึดมั่นถือมั่นลง นั้นแล จนกระทั้งหมดความแบ่งแยกเป็นเราเป็นเขา แม้กระทั้งชีวิตเราก็สละได้เพื่อคนอื่น ไม่เหลือความยึดถือว่าเป็นตัวเราของเราเลย เห็นอะไรไหมว่า นี่ก็คืออุดมคติพระอรหันต์ของเถรวาทนั้นเอง ไอ้ขจัดความเห็นแก่ตัวจนไม่เหลือความยึดถือว่าเป็นตัวเราของเราเลยนี่ เพียงแต่อุดมคติของมหายานนั้น เราจะต้องมองให้แตกว่า เป็นการใช้อุบายอันฉลาดในการสอนธรรมนั้นเอง คือ เน้นลงไปอย่างชัดๆๆเลย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ลดความเห็นแก่ตัว ความยึดมั่นถือมั่นลงนั้นเอง ยิ่งใครทำได้จริงๆๆตามนี้เท่าไหร่ เขาก็ยิ่งใกล้ความเป็นพระอรหันต์ หรือพระนิพพาน ยิ่งกว่าที่เขาคิดเสียอีก โดยไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำ........ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆๆเลย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกว่าที่มนุษย์สักคนจะมีศักยภาพพอที่จะลุถึงเช่นเดียวกัน

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านศานติเทวะ กล่าวไว้ในโพธิสัตตวจรรยาวตาร ว่า"เมื่อคุณตั้งมั่นในโพธิจิตอันแน่วแน่มั่นคงว่า จะช่วยเหลือสรรพสัตว์อันไม่มีประมาณ และจะไม่มีวันละจากปณิธานอันยิ่งใหญ่นี้ นับแต่เวลานั้นเองคุณก็ย่อมได้รับบุญกุศลอันยิ่งใหญ่มหาศาลประดุจดั่งห้วงนภา อย่างต่อเนื่องและไม่ขาดสาย แม้ในขณะพักผ่อนอยู่ก็ตามที" นอกจากนี้ก็ยังมีท่านศานติเทวะยังแสดงทัศนะว่า "ที่ชนทั้งผองในโลกนี้ดูเมือนจะปราศจากความสุข ก็เป็นเพราะว่าเขามีความปรารถนา ที่จะแสวงหาแต่ความสุขเพื่อตัวเขาเอง ดั้งนั้นตรงกันข้ามเราจะเห็นว่าเหล่าผู้ที่มีความสุขในโลกนี้ ก็เป็นเพราะว่าเขามีแต่ความปรารถนาที่จะยังความสุขแก่ผู้อื่น"

    ดั้งนั้นโดยแก่นแล้วทั้งอุดมคติพระโพธิสัตว์ และ พระอรหันต์คือสิ่งเดียวกัน แต่เพราะความไม่เข้าใจอย่างแท้จริงต่างหากที่ทำให้ผู้คนเข้าใจว่ามันต่างกัน นี่แลคือความมืดบอด แม้อุดมคติพระโพธิสัตว์จะพูดทำนองว่า จะของบรรลุธรรมคนสุดท้ายก็ตามที แต่แท้ที่จริงแล้วความคิดเช่นนี้นั้นแหละที่ทำให้ไปได้ถึงก่อนคนอื่นๆๆ อันที่จริง
    พวกมหายานเองก็ยอมรับเช่นเดียวกันกับเถรวาทว่า เราจำเป็นต้องบรรลุธรรมก่อนจึงจะช่วยเหลือคนอื่นได้จริงๆๆ ดั่งท่านศานติเทวะ กล่าวไว้ในโพธิสัตตวจรรยาวตาร ว่า"แม้เรา(ชาวพุทธ)จะตั้งปณิธานอันยิ่งใหญ่ในการปลดปล่อยสรรพสัตว์อันไม่มีประมาณก็ตามที แต่ถ้าแม้แค่ตัวเราเองเรายังปลดปล่อยตัวเองจากความทุกข์ไม่ได้ เราก็ย่อมตั้งปณิธานเหมือนคนเสียสติ ดั้งนั้นจงตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติเพื่อให้ตนได้พบกับความหลุดพ้นเถิด"


    ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร ของมหายาน มีคำว่าเอกยาน ความหมายของเอกยานก็คือ การต้องการจะบอกว่าทั้งสาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน แลโพธิสัตว์ยานนั้นก็คือยานเดียวกันนั้นเอง
    ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร เอาปัมยปริวรรต ว่าด้วยอุปมาการเปรียบเทียบ

    พระพุทธเจ้าได้เล่านิทาน ดั้งนี้ว่า นานมาแล้วได้มี คหบดีคนหนึ่ง เขามีลูกหลายคน ทีนี้ต่อมาวันหนึ่งเกิดมีไฟไหม้บ้านของเขาเกิดไฟไหม้ขึ้นมา คหบดี ผู้นั้น ก็ตกใจ หวาดผวา แล้วก็คิดขึ้นมาได้ว่า ตัว เรานี้มีพลังมาก และ สามารถจะวิ่งออกจาก บ้านหลังนี้ ซึ่งกองไฟใหญ่กำลังลุกไหม้อยู่ ได้อย่างเร็วและปลอดภัย แต่ลูกเล็กทั้งหลายเหล่านี้ของเราสิ ขณะที่บ้านถูกไฟไหม้อยู่ พวกเขากลับกำลังเล่นสนุกสนาน เพลิดเพลินกับของเล่นอยู่ โดยไม่เฉลียวใจว่า ไฟกำลังไหม้บ้านอยู่ จำเราจะต้องนำพวกเด็กเหล่านี้ออกจากบ้านให้ได้ ด้วยกุศโลบายสักอย่างหนึ่ง ว่าแล้วฝ่ายบิดาจึงพูดขึ้นว่า ดูก่อนกุมารทั้งหลาย พวกเธอจงมาเอาของเล่นทั้งหลาย อันมีสีสรรสวยงามมากมาย น่าชมยิ่งนัก มีทั้งเกวียนเทียมโค เกวียนเทียมแพะ และเกวียนเทียมกวาง ทุกอย่างล้วนแต่น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจทั้งนั้น เราได้วางไว้ภายนอกประตู เพื่อให้พวกเธอได้เล่นกัน กุมารผู้เจริญทั้งหลาย จงพากันรีบออกมานอกบ้านนั้นเถิด เราจะให้เล่นของเล่น ที่พวกเธออยากได้ ครั้นเด็กเหล่านั้น เมื่อได้ยินเช่นนั้น ก็รีบวิ่งออกมา เพราะ อยากได้ของเล่น บ้างก็อยากได้เกวียนเทียมแพะ บ้างก็อยากได้เกวียนเทียมโค บ้างก็อยากได้เกวียนเทียมกวาง จนกระทั้งพ้นจากตัวบ้านที่กำลังไฟไหม้อยู่อย่างปลอดภัย แต่ก็ไม่มีใครสักคนที่เห็นเกวียนทั้งสามเหล่านั้น แต่แล้วพวกเขากลับเห็น เกวียนเทียมโคขนาดใหญ่ ที่ประดับด้วยแก้ว 7 ประการ มีเบาะนั่ง มีกระดิ่งเล็กๆ ห้อยเรียงราย มีบังเหียนสูง ประกอบด้วยรัตนะอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง มีพวงมาลัยแก้ว และ พวงมาลัยดอกไม้อันสวยงาม มีพรมปู มีเพาะรองนั่ง บุด้วยขนสัตว์ทั้งสองข้าง คลุมด้วยผ้าขาว อันเป็นเกวียนเทียมโคที่มีโคสีขาวและสีนวลวิ่งเร็วลากอยู่ พร้อมทั้งหมู่ชนจำนวนมากร่วมขบวนด้วย แลยังมีมีธงปักอยู่ และ วิ่งได้เร็วดุจลมพัด ทั้งมหัศจรรย์ยิ่งกว่าเกวียนเทียมใดๆๆ ทีนี้ฝ่ายบิดาก็พูดขึ้นว่า แท้ที่จริงแล้วบิดามี เกวียนนี้เกวียนเดียว เท่านั้นแต่ที่ต้องใช้อุปายไปนั้นก็เพราะต้องการที่จะช่วยพวกลูกๆๆให้ปลอดภัย เมื่อเด็กๆๆได้ยินอย่างงั้นแทนที่จะไม่พอใจ พวกเขากลับขึ้นไปบนเกวียนใหญ่นี้และ รู้สึกประหลาดมหัศจรรย์ใจมาก พึงพอใจ และ มีความสุข โดยไม่มีใครเลยที่มีความนึกคิดถึงเกวียนเทียมโค เกวียนเทียมแพะ และเกวียนเทียมกวาง แต่ละแบบทีพวกตนแต่ละัคนต้องการอีก....

    สำหรับเรื่องนี้ บิดาก็คือพระพุทธเจ้า ฝ่ายบุตรหลายๆๆคนนั้นก็คือพวกเรา บ้านที่ถูกไฟไหม้ก็คือจิตของเราที่ถูกโมหะ โทสะ โลภะจริตครอบงำอยู่ แลเกวียนเทียมโค เกวียนเทียมแพะ และเกวียนเทียมกวาง ก็เป็นตัวแทนแห่งยานทั้งสาม แลเรื่องอุบายของบิดาก็คืออุบายของพระพุทธเจ้าในการสอนยานทั้งสามซึ่งเหมาะกับคนแต่ละคนที่ต่างก็มีจริตต่างกัน ส่วนเกวียนอันใหญ่อันเดียวข้างนอกบ้านก็คือ ความหมายว่าแท้ที่จริงแล้วมรรคาในพุทธศาสนาย่อมมีเพียงหนึ่งเดียว ยานทั้งสาม เป็นเพียงอุบายไปสุ่ยานเดียวยานนี้นั้นแล


    ในพระพุทธศาสนา เรามีคำว่า ตถาคต อันหมายถึง ผู้ไปและมาในความเป็นเช่นนั้น ทีนี้อะไรคือความมายของตถาคตที่แท้ กล่าวคือ เมื่อจิตเรายึดติดกับมายาลักษณะ ก็จะเกิดความหลงผิด ในมโนทัศน์ว่า ฉัน ไม่ใช่ฉัน เกิด ตาย มากมาย หนึ่งเดียว ดี ชั่ว กิเลส โพธิ มีชีวิต ไม่มีชีวิต มี ไม่มี ได้ เสีย บรรลุ ไม่บรรลุ มีแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร นิพพาน สังสารวัฏ ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรับรู้ สังขตะ อสังขตะ และอื่นๆๆ จนกระทั้งเราหลงทางออกไปจากสัจจะความเป็นจริง การมองทะลุมายาลักษณะเหล่านี้ก็คือ การเห็นความเป็นเช่นนั้นเองของสิ่งทั้งหลาย นี่คือการเห็นตถตา ผู้ที่เห็นตถตาก็ชื่อว่าเห็นตถาคต หรือ เป็นตถาคตไปเลยทีเดียว ทุกๆๆสิ่งคือธรรม และทุกๆๆสรรพธรรมก็ล้วนเป็นพุทธธรรม แม้แต่สิ่งที่เรามักไม่คิดว่าใช่พุทธธรรม แท้ที่จริงแล้วก็คือพุทธธรรม เพราะพุทธะรรมนั้นแท้ที่จริงแล้วก็ย่อมต้องเกิดจากสิ่งที่ไม่ใช่พุทธธรรม ทั้นนี้เพราะตามหลักอิทัปปัจจยตาแล้ว สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนเชื่อมโยงในลักษณะของการอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ไม่มีสิ่งใดมีสวภาวะที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง สิ่งต่างๆๆล้วนเชื่อมโยงให้ความเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน แม่น้ำให้น้ำแก่มนุษย์ แก่สัตว์ แก่พืช ในขณะเดียวกันนั้น น้ำที่ให้ไปก็ไม่ได้หายไปไหน? วันหนึ่งวัฏจักรของน้ำจะนำ น้ำนั้นกลับมายังแม่น้ำอีกครั้ง พืชให้ผลของมันแก่สรรพสัตว์เมื่อพวกมันขับถ่าย พวกมันจะให้ปุ๋ยแก่พืช อีกทั้งยังช่วยพืชในการขยายพันธ์ มันคนไม่ดีแน่ถ้าโลกนี้ไม่มีพืชเพราะสิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องอาศัยออกซิเจนจากพืช เช่นเดียวกันพืชก็ต้องการ คาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจออกของสัตว์ พระพุทธองค์ทรงเห็นสิ่งนี้ในค่ำคืนแห่งการตรัสรู้ ทรงเห็นเกลียวร่วมแห่งความสัมพันธ์ที่ถักทอระหว่างกันและกันอยู่ ดั้งนั้นจึงกล่าวในอีกแง่ได้ว่า ไม่มีความทุกข์ของคนๆๆหนึ่ง มีแต่ความทุกข์ของมนุษยชาติ (เพราะโดยรากฐานแล้วจิตสำนึกของมนุษย์นั้นเหมือนกัน รูปร่างหน้าตาที่ต่าง ฐานะ เชื้อชาติ นั้นเป็นเพียงภาพลวงตา)
    ดั้งนั้นแท้ที่จริงแล้วจึงไม่มีนิพพานสำหรับให้คนๆๆหนึ่งเข้าถึง จนกว่าทุกๆๆสิ่งจะตรัสรู้ด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่านั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อย่างช่น ก้อนหิน ทั้งนี้เพราะ สิ่งต่างๆๆขึ้นและตกพร้อมๆๆกัน ไม่มีความตื่นของคนๆๆหนึ่งมีแต่ความตื่นของทุกๆๆสิ่ง ดังนั้นจึ่งไม่มีจิตอันรู้ตื่นรู้เบิกบานสำหรับให้คนๆๆหนึ่งหรือสิ่งๆๆหนึ่งลุถึง(เมื่อเข้าใจสิ่งนี้ก็ชื่อว่าได้ลุถึงจิตอันรู้ตื่นรู้เบิกบานแล้วนั้นเอง) นี่คือวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ ไม่สินี่คือสาระของคำสอนของพระพุทธศาสนาของเรา เพราะทั้งเถรวาทและมหายานก็พูดถึงสิ่งนี้

    ที่นี้พระโพธิสัตว์ คือใครนี่คือ คำถามที่เราควรจะถาม ในมิติแรกเราคงจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ในนิกายมหายาน เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์สมัทรภัทร พระโพธิสัตว์มัชชุศรี อันที่จริงพระโพธิสัตว์เหล่านี้ ก็มิได้แต่เพียงสื่อความหมายว่าเป็นอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจคอยสอดส่องมนุษย์ บันดาลพร ช่วยเหลือ เป็นที่กราบไหว้ที่อยู่ภายนอกเท่านั้น แต่ยังหมายความถึง บุคคลาธิษฐานแทนคุณสมบัติต่างๆๆของพระธรรมหรือสิ่งที่เป็นหัวใจของพระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นเอง เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแทนความเมตตากรุณา พระโพธิสัตว์มัชชุศรีแทนกฏแห่งธรรมที่เป็นมูลฐานของสัตว์(แทนปัญญาญาณ) พระโพธิสัตว์สมัทรภัทรแทนกฏแห่งกรรม นั้นเอง

    ประการต่อมา เราจะมาดูมิติที่สองกัน เรามักเข้าใจว่าพระโพธิสัตว์เป็นอะไรบางอย่างที่อยู่ภายนอก เป็นอะไรที่ห่างไกลจากชีวิต แต่นั้นเป็นสิ่งที่ไร้สาระ พระโพธิสัตว์ไม่ใช่อะไรบางอย่างที่เป็นผู้วิเศษบนสวรรค์ บนสุขาวดีพุทธเกษตร หรือ รูปปั้นตามโรงเจที่คนบอดสอดอ้วนวอนถึง แต่ลอง มองดูในโลกใบนี้ดีๆๆสิแล้วหนุ่มจะเห็นพระโพธิสัตว์ เห็นพระองค์ในวัยรุ่นที่ตั้งใจเรียนเพื่อที่จะได้เป็นที่พึ่งของครอบครัวของพ่อแม่ในยามแก่ชรา เห็นพระองค์ในเด็กผู้หญิงที่จูงคนแก่ข้ามถนน เห็นพระองค์ในเด็กผู้ชายที่ยืนขึ้นในรถเมล์ให้คนแก่นั้ง เห็นพระองค์ในคุณสืบที่ยิ่งตัวตายเพื่อเรียกร้องให้รัฐหยุดบุกรุกป่าสร้างเขื่อนและหาประโยชน์ เห็นพระองค์ในกลุ่มกรีนพีชที่ยอมเอาตัวเอาผูกติดระเบิดเพื่อเรียกร้องจิตสำนึกของนายทุนให้หันกลับมาดูแลโลกและสรรพสัตว์มากกว่านี้ เห็นพระองค์ในภิกษุแลภิกษุณีเวียดนามที่ยอมเผาตัวเองเพื่อเรียกร้องสันติภาพในสงครามเวียดนาม เห็นพระองค์ในภิกษุณีเวียดนามที่ยอมให้อภัยแก็งส์โจรสลัดไทยที่ปล้นพวกเธอข่มขื่นพวกเธอเมื่อครั้งล่องเรือหนีจากเวียดนามในยุคสงคราม เห็นพระองค์ในอาสาสมัครพิทักษ์ป่าที่ยอมปิดทองหลังพระปกป้องป่า เห็นพระองค์ในแพทย์อาสาสมัครที่ยอมไปในที่กันดารเพื่อรักษาผู้คนแม้่จะไม่ได้อะไรตอบแทน เหล่านี้ต่างหากคือพระโพธิสัตว์ เมื่อท่านสมัตรภัทรโพธิสัตว์ตั้งคำถามถาม พระอามิตภะพุทธเจ้า ว่า “พระโพธิสัตว์คือผู้ใด” พระอามิตภะตรัสตอบว่า “ก็เธอไง” นั้นแหละ พระโพธิสัตว์ก็คือเธอไง เข้าใจไหมล่ะหนุ่ม(หรือนางหนูดี) ถ้าอยากจะเห็นพระโพธิสัตว์ ก็จงเป็นซะเดียวนี้เลย

    เรามาถึงอีกคำถามหนึ่ง ว่าอะไรคืออุเบกขา ถ้าเข้าใจว่าหมายถึงเฉยๆๆ ไม่ต้องโต้ตอบ ตอบสนองอะไรเลยทำนองนี้เรียกว่าอุเบกขา นั้นแลเราย่อมผิดจุดประสงค์หลักของคำสอน อย่างไม่ต้องสงสัย พูดง่ายๆๆว่าไม่เข้าใจอย่างแท้จริงเลย

    ในอคติสูตร(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต) พระพุทธองค์ตรัสว่า
    "มีการถึงซึ่งความลำเอียง(อคติ)4 ประการดังนี้ 1 .ลำเอียงเพราะชอบ 2. ลำเอียงเพราะชัง 3.ลำเอียงเพราะหลง 4.ลำเอียงเพราะกลัว ถ้าใครสักคนถึงซึ่งอคติเหล่านี้เขาผู้นั้นย่อมประสบกับความเสื่อมตามมา ดุจดั่งพระจันทร์ข้ามแรม แต่หากใจของใครสักคนปราศจากอคติเหล่านี้แล้วไซร้ เขาย่อมได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้โปร่งใส เป็นกลาง แต่หากท่านยังคงมีทัศนคติที่ดำรงอยู่ในอคติทั้งสี่นี้ เราตถาคตย่อมกล่าวตำหนิว่า ท่านอย่างแรงว่าเป็นขยะ ในสังฆะ"

    ดังนั้น อุเบกขานั้นไม่ใช่ความไม่ใยดีในสิ่งใด เย็นชา อะไรทำนองนั้น แต่หมายความว่า การดำรงตนอยู่อย่างปราศจากอคติเหล่านี้นั้นเอง ก็ความรักแท้(พรหมวิหาร4)จะเป็นความรักแท้ได้อย่างไรเล่าในเมื่อยังมีอคติอยู่ แล..ยังคงถูกแบ่งแยกเลือกที่รักปฏิเสธที่ชังอยู่ คนนี้ไม่ใช่เพื่อนเราเราจะไม่เมตตามัน โอ๊ยเรารักใครแบบไม่มีประมาณไม่ได้หรอกเราต้องรักตัวเองคนรอบตัวก่อนสิ อย่างนี้เป็นต้น สิ่งนี้แลเรียกว่าการถึงพร้อมด้วยสมตชฺญาณ หรือ การรู้แจ้งในตัวตน(หรือความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตน) เพราะ อุเบกขาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ถ้ามีการแบ่งเขาแบ่งเรา พวกเราพวกเขา ความคิดเราความคิดเขา อะไรทำนองนี้ หากปราศจากความคิดพวกนี้เช่นเราดีกว่าสูงส่งกว่าต่ำต้อยกว่า ความขัดแย้งใดๆๆในโลกก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ดั้งนั้นอุเบกขาก็ ต้องมีรากฐานมาจากปัญญาเห็นแจ้งในอนัตตานั้นแล แลผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในอนัตตาก็ย่อมจักต้องเปิดออกอย่างเต็มที่ความยึดมั่นถือมั่นถูกตัดทำลายไปเสีย ความเมตตา กรุณา มุทิตา ก็บังเกิดอย่างเป็นธรรมชาติ ทั้งศีล สมาธิ วิริยะ ขันติ ทานก็บริบรูณ์ นี้แลคือบารมีพระโพธิสัตว์นั้นแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 พฤศจิกายน 2012
  4. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    อุเบกขา ไม่ได้ให้วางเฉยให้อยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร
    แต่ให้วางจิตยอมรับความเป็นไปตามระบบของกรรม
    เมื่อเขาได้ดีแล้ว เมื่อเขา้พ้นจากทุกข์แล้ว หรือพลอยยินดีในสิ่งที่เขาได้รับแล้ว
    แต่เมื่อตรงข้ามเขาไม่ได้ดี ยังไม่พ้นจากทุกข์ หรือไม่ได้ในสิ่งที่ตนปราถนาไว้ ก็วางจิตให้ตรงตามสมควรแก่ธรรมว่าทุกอย่างมันเป็นไปตามกรรมเช่นนั้นเอง ตามบาลีในการแผ่อุเบกขาที่ว่า กัมมัสสกา กัมมทายาทา กัมมโยนี กัมมพันธู กัมมปฏิสรณา ยังกัมมังกริสสันติ กัลยานังวา ปาปะกังวา สัตตทายาทา ภวิสสันติ

    กรณีศึกษา : หลวงปู่ชา สุภัทโท ได้เห็นพระรูปหนึ่ง ขณะฝนตกหนัก หลังคารั่วน้ำฝนลงพื้นกุฏิ และไม่สนใจไม่ลงมือที่จะนำสิ่งใดมารองน้ำไว้ เมื่อถูกหลวงปู่ถามว่าทำไมไม่ทำอะไรเลย พระก็บอกว่า กำลังวางเฉยคือ อุเบกขา หลวงปู่ชาบอกว่า แบบนี้เรียกว่่าเฉยโง่
     
  5. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เมตตา คือปรารถนาให้เขามีความสุข ช่วยเหลือเกื้อกูลต่างๆ
    แต่ศาสนาพุทธ มุ่งหลักว่า เราต้องไม่ทุกข์
    เลยมีอุเบกขามากำกับ คือวางเฉย...
    ว่าอย่างนี้ก็จะยุ่ง อะไรหว่าวางเฉย

    วางเฉยในกฏแห่งกรรม คือยอมรับนับถือความเป็นจริง
    อย่างมีคนมายืมเงินคุณ สองแสน คุณให้ไปคุณก็ไม่มีอะไรกิน
    ต่อรองเหลือสองหมื่น เขาก็ไปยืมคนอื่นต่อ
    หรือเราอาจจะช่วยเหลือเขาด้านอื่นๆเพิ่มเติม
    คือช่วยได้เท่าที่ช่วยได้ ช่วยไม่ได้ต้องยอมรับความเป็นจริง
    ตรงนี้คือจุดที่เชื่อมต่อระหว่างเรื่องโลกีย์กับโลกุตระ
    ซึ่งปุถุชนทั่วไปอาจจะคิดว่า มันต้องช่วยจนตัวตาย... เหรอครับ
    ถ้าคุณคิดแบบนั้นจริงๆ ผมก็โมทนาด้วย และขอชื่อเบอร์โทรหน่อย
    เพราะผมก็จะไปยืมเงินคุณจริงๆ สองแสนนี่แหละ

    อย่างพระพุทธเจ้ามีหลายพระองค์
    เพราะว่าท่านองค์หนึ่งท่านก็ช่วยได้แต่บริษัทของท่านที่เกื้อกูลกันมาแต่ปางก่อน
    และสั่งสมบารมีของตนเองมาพอที่จะไปต่อเองได้
    อขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก
    คือบอกแล้วไม่ไป ใครจะไปบังคับได้
    อย่างสมาธินี่... มันช่วยกันได้หรือครับว่าให้มีสมาธิ
    มันแนะได้ สอนได้ แต่ต้องไปว่ากันเอาเองในจิตของแต่ละคน

    คุณรู้มั้ยครับ การที่พระพุทธเจ้านิพพาน
    นั่นแหละเป็นเครื่องยืนยันในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
    รูปังอนิจจัง.. รูปังอนัตตา...

    เมตตาเต็มที่ของเรา แล้วก็วางอุเบกขาเต็มที่ของใจ
     
  6. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ที่คุณอ้างมานั่นมันพรหมวิหาร ไม่ใช่พระวิหารนะ แต่ก็เป็นพื้นฐานของพระแท้ มันเป็นเพียงสมมติของอารมณ์ที่จะต้องผ่านให้ได้ คือ รูป + นาม = อารมณ์ และเป็นไปตามขั้นตอนข้ามไม่ได้ ต้องเข้าถึง 1 ให้ได้ก่อน ถึงจะถอยมาที่ 0 ได้ เมตตา มีความหมายกว้างมาก แม้แต่ทหารออกรบไล่ฆ่าศัตรูในสนามรบก็มีเมตตา เพียงแต่คุณเข้าถึงหรือเปล่า แม้แต่ตำรวจที่วิสามัญคนร้ายก็มีเมตตา เพียงแต่คุณเข้าถึงหรือเปล่า ก็เท่านั้นเอง แค่สองตัวอย่างนี้ก็โครตเสียสละแล้ว เพียงแต่น้อยคนจะเข้าใจ มองอะไรใกล้ๆ ไว้ก่อนแล้วค่อยมองที่มันไกลๆ ไม่งั้นจะสะดุดล้มได้ง่ายๆ
     
  7. vaddee

    vaddee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +443
    ยกตัวอย่างสั้นๆง่ายวางเฉยแบบใช้ปัญญา อย่างเช่น เพื่อนคุณทำเรื่องผิดกฎหมาย หรือสิ่งที่ไม่ถูกต้องคุณเตือนสติเขาแต่เขาไม่เชื่อคุณก็ให้วางเฉยซะ... เพราะเราเตือนเขาแล้ว นี่ล่ะคือ อุเบกขา......
    เมื่อเห็นคนอื่นได้ทุกข์คุณช่วยเขาตามกำลังของคุณ อย่างเช่่น เขาไม่มีเงินซื้อข้าวกินเราให้เขาไปตามกำลัง
    นี่คือ เมตตา..... แต่ถ้าเขาอยากได้ตังค์เพื่อไปทำสิ่งไม่ดี เช่น เล่นการพนัน นี่ถือว่าสนับสนุนเขาผิดศีลน่ะ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2012
  8. pnumso

    pnumso เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2010
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +173
    ผมเข้าใจว่าพระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ มีพรหมวิหาร 4 เป็นสมบัติของผู้ละซึ่งกิเลสทั้งมวล ข้อพิสูจน์ที่ว่าท่านได้ช่วยมวลมนุษย์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น คือท่านได้ทำมาแล้วหลายภพหลายชาติกลายเป็นบารมีที่สั่งสมจนเต็มเปี่ยมบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์

    ถ้าคิดว่าท่านทิ้งมวลมนุษย์ทั้งหลายให้อยู่ในห้วงแห่งทุกข์ โดยที่ไม่ย้อนไปดูผลบุญผลการปฏิบัติในภพชาิติอันยาวนานที่ผ่านมาของท่าน ที่กว่าจะได้บุญบารมีครบทุกทิศก่อนจะบรรลุนิพพานก็ดูจะไม่ถูกต้องนัก หากท่านไม่ได้ช่วยเหลือมวลมนุษย์บ้างเลยในภพชาติที่ผ่านมามุ่งแต่จะเข้าสู่นิพพานอย่างเดียว ทำไมท่านต้องเผยแพร่หลักคำสอนที่ท่านรู้ไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องบอกใคร ไม่จำเป็นต้องให้ใครรับทราบ ถึงวาระที่ท่า่นต้องบรรลุมรรคผลก็จบไป แต่เหตุใดท่านจึงจำเป็นต้องสอนหลักธรรม คำสั่งสอนให้มนุษย์ได้ปฏิบัติ ได้ประจักษ์จนมีเหล่าสาวกซึ่งบรรลุธรรมได้จริงจากคำสั่งสอนเหล่านั้นจนเกิดเป็นศาสนาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ให้พ้นจากบ่วงทุกข์ทั้งมวล

    ถ้ามองว่าพระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ ท่านควรจะอยู่ต่อไปในอีกหลายภพหลายชาติเพื่อสั่งสอนมนุษย์ทุกคนให้เห็นธรรมะ ให้บรรลุนิพพาน นั่นก็คงไม่ใช่หลักของกฏธรรมชาติ ทุกสิ่งล้วนเกิด ตั้งอยู่ ดับไป เหล่าสาวกทุกคนจึงต้องนำคำสอนของท่านไปปฏิบัติเองให้เกิดผลที่แท้จริงจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือนิพพาน ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก ถ้าจะเปรียบนั้นคงเหมือนการเป็นคุณครูเมื่อสอนนักเรียนจบแล้วหน้าที่ของนักเีรียนคือนำความรู้ไปปฏิบัติต่อ ถ้านำไปปฏิบัติแล้วเกิดผลนักเรียนรุ่นนี้ก็ต้องคิดไปต่อว่าจะถ่ายทอดความรู้ต่อหรือไม่ด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้โรงเรียนก็จะมีลูกศิษย์มากขึ้นทุกรุ่นและเป็นวัฐจักรสืบไป ดังนั้นพระพุทธองค์จึงเป็นครูที่ไม่จำเป็นต้องสอนลูกศิษย์ทุกรุ่น แต่ลูกศิษย์ที่ได้รับการศึกษานั้นต้องจดบันทึกแล้วนำไปเผยแพร่ต่อไปจนกว่าจะไม่มีนักเรียนมาสืบทอด ดังนั้นเหล่าสาวกทั้งหลายจะต้องช่วยกันสืบสานเผยแพร่ต่อไปจนกว่าหลักธรรมคำสั่งสอนนี้จะสูญสิ้นไป ตามพุทธธรรมทำนายที่ระบุไว้ว่าศาสนาพุทธจะมีอายุ 5,000 ปี ซึ่งอีกหลายกัปหลายกัลป์ก็จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ในก็จะเกิดขึ้นใหม่ตามที่พระไตรปิฎกระบุไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2012
  9. dakini

    dakini สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +10
    ในที่สุดดิฉันก็รู้แล้วว่า
    คุณปู่เทพ(อภิบาล)ตัวจริงเป็นใครอวตารลงมา ....
    .เห็นคราวที่แล้วหลอกให้คนเชื่อว่าคือคุณพจนา หลบเนียนเลยนะค่ะปู่เทพ
    แต่ตอนนี้ดิฉันค้นจนรู้แล้วว่ าตัวจริงเป็นใครอวตาร นึกว่าเป็นพระซะอีก .อ.เทพค่ะ
    เมื่อสองสามปีก่อน อ.ทำไมไม่อยู่สอนพุทธศาสนาที่Harvard ต่อค่ะ
    .......กลับมาเมืองไทยทำไมค่ะ ไม่อยู่ต่อจนตายไปข้างเลย
    อยากรู้นะค่ะ...อย่าเนียนบอกไม่ใช่ข้าเลยอีหนูอีกนะค่ะ ตอบด้วยค่ะคุณปู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2012
  10. STha

    STha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +927
    คำถามคุณไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ ก็เป็นการดูถูก ปรามาส พระรัตนตรัยตรัย
    ผลของการปรามาสหนักไม่ธรรมดา อย่างน้อยก็เนิ่นช้า อย่างมากก็...

    บุคคลผู้รักพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยเจ้า แม้ยังมีความสงสัยในธรรม ก็ไม่ได้ตำหนิติเตียนพระ แต่ย้อนกลับมาตำหนิตน แล้วหมั่นประพฤติปฏิบัติธรรม ด้วยการฟังเทศน์จากพระแท้ๆ (หาไม่ยาก คนทราบเยอะแยะ)และลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานเพื่อพิสูจน์ให้เห็นด้วยจิตของตน

    พระอริยสัจ เป็นหนึ่งเสมอ หากเข้าไม่ถึงก็ไม่ใช่วิสัยที่ควรจะตำหนิผู้ที่เข้าถึง

    ขออภัยที่กล่าวตรงไปตรงมา เพราะตนเองเคยหาเรื่องใส่ตนมาแล้ว กรรมใดกระทำลงไป มันย้อนกลับไปเปลี่ยนไม่ได้ ผู้รับทุกข์คือจิตตนเองแม้ว่ากิเลส ตัณหา อุปทาน อกุศลวิบาก จะเป็นผู้ที่บงการเราก็เถอะ สิ่งนั้นไม่ได้รับทุกข์ด้วยกับเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2012
  11. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ในพรหมวิหาร อุเบกขาเป็นสิ่งสูงสุด

    คนที่ปราถนาบรรลุอุเบกขาพรหมวิหาร โดยไม่บรรลุ เมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อนนั้นไม่สามารถเป็นไปได้

    อุเบกขาธรรมมีคุณมาก ยากที่จะพรรณาได้

    เมื่อเปรียบเทียบอุเบกขากับคุณของพรหมวิหารที่เหลือแล้ว พรหมวิหารที่เหลือไม่ได้เสี้ยวของอุเบกขาคุณด้วยซ้ำ

    พระท่านเปรียบอุเบกขาเหมือนกับ น้ำหรือแผ่นดิน

    น้ำกับแผ่นดินไม่มีเมตตา ไม่มีกรุณา ไม่มีมุทิตา แต่ถึงอย่างนั้น สัตว์ทั้งหลายก็ต้องพึ่งน้ำ
    และอาศัยพึ่งพาแผ่นดิน

    ถ้าใครก็ตามพูดว่า น้ำกับแผ่นดินไม่มีบุญคุณ ไม่มีอุปการะ แสดงว่า คนๆนั้นกำลังหลงผิด
    ฉันใดก็ฉันนั้น อุเบกขาพรหมวิหารก็มีคุณไม่มีที่สิ้นสุด อุปการะของธรรมนี้มีมากมายแต่ยากที่จะพรรณาออกมา

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  12. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ขอบเขต คือ ไม่ก้าวล่วงในกฎของความเป็นธรรมดา หรือ กฎแห่งกรรมครับ

    และสิ่งสำคัญ คือ ต้องใช้ "ปัญญา" ครับ

    พระท่านสอนให้เมตตาตัวเองก่อนครับ

    โมทนา
     
  13. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ขอตอบตามความเข้าใจนะครับ (ตอบตรงหัวข้อคำถาม>>อยากทราบว่าแค่ไหนเรียกอุเบกขา และแค่ไหนถึงเรียกว่าเมตตา)

    ก่อนอื่นน่าจะแยกทำความเข้าใจคำว่า เมตตา กับ กรุณา ก่อน
    เมตตา > คือความปรารถนา ความคิด ให้ผู้อื่นมีสุข ถึงแม้ผู้นั้นจะสุขอยู่แล้วก็ตาม
    กรุณา > อย่างเช่น เห็นคนอื่นประสบทุกข์อยู่ ก็ไปให้ความช่วยเหลือ

    ดังนั้นก็ดูไม่ผิดอะไรถ้าเรามีความเมตตา เพราะเป็นแค่ความคิด ความปรารถนา
    อุเบกขา ก็น่าจะเอาไปใช้ควบคู่ กับ กรุณา มากกว่า

    ก็คือถ้าการที่เราไปกรุณาผู้อื่น แล้วเขาไม่สนกับสิ่งที่เรากรุณาไป เราก็ควรจะมีขอบเขต(อาจจะแบบว่าช่วยเหลือ หรือบอกกล่าวตักเตือนเกิน 3 ครั้งแล้ว) เราก็ควรที่จะวางอุเบกขาไว้ เพราะเราก็ได้ทำหน้าที่ของเราแล้ว และไม่ไปเป็นเดือดเป็นร้อน เช่น ว่าทำไม ว่าเพราะอะไร คนที่เราให้ความช่วยเหลือเขาไม่เห็นคุณค่า เขาไม่ยอมรับ ไม่เชื่อฟัง บลาๆๆๆ

    ปล.อุเบกขา ถ้าตามความเข้าใจสั้นๆง่ายๆ ก็หมายถึง การวางใจเป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย ถ้ายากหายาวๆก็ใน google 555+ (มีแบ่งเป็น 10 ประเภทอีก)

    แล้วผู้ที่เป็นพระพระโพธิสัตว์ ก็ต้องสะสมบารมีอีกด้วย ในบารมี 10 ก็มี เมตตา และ อุเบกขา อยู่ในนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...