กฎของกรรมฝืนและเลี่ยงไม่ได้ทุกสิ่งในโลกล้วนเป็นธรรมดาซึ่งก็คืออริยสัจ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 13 มิถุนายน 2010.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    ธรรมะที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม 11


    (พระธรรมที่ทรงตรัสสอนในเดือนมีนาคม ๒๕๔๑)<O:p</O:p


    พระธรรม

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้<O:p</O:p
    ๑. เรื่องทุกเรื่องในโลกล้วนแล้วแต่เป็นกฎของกรรมทั้งสิ้น จงอย่าวิตกให้เกินกว่าเหตุ สิ่งที่ตถาคตบอกให้พวกเจ้ารู้ รู้แล้วพึงวางเฉยกับเรื่องราวทั้งหมด อย่าตีตนไปก่อนไข้ อะไรมันจักเกิด มันก็ต้องเกิด เพราะเป็นกฎของกรรมอันฝืนไม่ได้ อันเลี่ยงไม่ได้ ไม่ควรที่จักกังวล ให้หมั่นดูแลรักษาจิตของตนเองเอาไว้ดีกว่า

    <O:p</O:p
    ๒. เรื่องของการพ้นทุกข์อยู่ที่จิต ไม่ใช่เรื่องของร่างกาย เพราะหากร่างกายนี้ไม่มีจิตอยู่แล้ว ก็ไม่มีความรู้สึกแต่อย่างไร ให้พิจารณา จุดนี้ให้ดีๆ แล้วจึงจักวางอารมณ์ลงได้ด้วยเห็นกฎของความเป็นจริง และจงอย่าฝืนใจใคร ให้วางกรรมใครกรรมมันให้จงหนัก เมตตาได้เฉพาะคนที่ควรจักเมตตาเท่านั้น และควรมีกำหนดขอบเขตของความ เมตตาด้วย มิใช่เมตตาจนเป็นที่เบียดเบียนตนเอง ถ้าทำอันใดไปแล้วคิดว่าเป็นเมตตา แต่สร้างความหนักใจและทุกข์ใจให้กับตนเอง จุดนั้นไม่ใช่เมตตา จับทางปฏิบัติให้ถูกแล้วจักถึงมรรคถึงผลได้ง่าย

    <O:p</O:p
    ๓. ไม่ว่าอะไรจักเกิดขึ้นก็ไม่พ้นกฎของธรรมดาไปได้ แต่ที่ไม่เห็นก็เพราะโมหะมันบดบังจิตอยู่ จุดนี้สำคัญมาก จักต้องใช้ปัญญาจึงจักเห็นได้ชัด และเมื่อลงกฎธรรมดาได้แล้ว จิตก็จักเป็นสุขและสงบ เนื่องจากไม่ฝืนในกฎของธรรมดานั้นๆ

    <O:p</O:p
    ๔. จงอย่าไปเดือดร้อนกับกรรมของบุคคลอื่น ให้ทำใจอยู่ในขอบเขตกรรมของตนเองก็พอ อะไรมันผ่านมากระทบ แล้วก็ให้มันผ่านไปเลย แยกแยะให้ออกว่า สิ่งเหล่านี้ มิใช่เรื่องที่เป็นสาระอันพึงจักยึดถือ มิใช่เป็นปัจจัยนำจิตให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน พยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยรักษากำลังใจในการทำหน้าที่ของตนให้เต็มเท่านั้น ผลจักเป็นอย่างไรได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น แม้จักถูกตำหนิในบางครั้ง ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ มีแต่พระตถาคตเท่านั้นที่จักไม่พลาดเลย ดังนั้น เมื่อมีการผิดพลาดขึ้นครั้งใด แม้จักทำด้วยกำลังใจเต็มที่แล้ว ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เหตุอันใดแก้ไขได้ก็แก้ไข แก้ไม่ได้ก็ไม่ต้องแก้ ยึดเอาธรรมดาเป็นที่ตั้ง แล้วจิตจักได้เป็นสุข สงบเยือกเย็นขึ้น

    <O:p</O:p
    ๕. อะไรมันจักเกิด มันก็ต้องเกิด ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกฎของธรรมดา เรื่องภัยธรรมชาติภัยจากสงคราม แม้แต่เรื่องใดๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย กับวัด ก็ล้วนเป็นกฎของธรรมดา อย่าไปวิตกกังวล วางจิตให้ยอมรับธรรมดาก็จักไม่เป็นทุกข์ การฝืนโลกฝืนธรรม ฝืนสังขารร่างกาย ล้วนเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ ทุกอย่างต้องเดินสายกลางทั้งทางโลกและทางธรรม ทำใจให้ยอมรับกฎของธรรมดา (กฎของกรรม) ตั้งใจชดใช้กรรมไปเรื่อยๆ ตายเมื่อไหร่ก็มุ่งสู่พระนิพพานเมื่อนั้น การ หมดภาระของขันธ์ ๕ ย่อมเป็นสุขอย่างยิ่ง ขอให้พวกเจ้ามุ่งหวังเข้าไว้ อย่าทำอารมณ์ใจให้พร่องไปกับอุปสรรคที่เข้ามาทดสอบจิตใจของแต่ละคน ให้เอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกรรมฐาน แล้วจักเกิดประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม

    <O:p</O:p
    ๖. วางอารมณ์ให้เป็น ปล่อยเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนใจทั้งหมด อย่าไปยึดเอามาเป็นทุกข์ ทุกสิ่งล้วนเป็นของธรรมดา พิจารณาด้วยปัญญาเข้าสู่มรรคผล อย่าให้เป็นโทษ ธรรมภายนอกอย่าไปแก้ แม้ร่างกายตนเองก็แก้ไม่ได้ ให้ปล่อยวางไปตามกฎของธรรมดา ให้แก้ธรรมภายในที่จิตของตนเท่านั้น ทุกสิ่งในโลกไม่เที่ยง ยึดถืออะไรเป็นที่พึ่งไม่ได้ เช่น ปล่อยวาง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, วางกาย - เวทนา - จิต - ธรรม ซึ่งไม่เที่ยงเกิดดับ ๆ อยู่เป็นธรรมดา, วางอุปาทานขันธ์ ๕ วางอารมณ์โลภ โกรธ หลง จุดนี้ไม่มีใครช่วยใครได้ มีแต่คำแนะนำเท่านั้นที่ให้กันได้ การตัดกิเลสจักต้องใช้กำลังใจเต็มตัดด้วยตนเอง และตั้งใจทำจริงๆ จึงจักทำได้

    <O:p</O:p
    ๗. การกระทำทุกอย่างให้พิจารณาว่า ทำเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อพระนิพพานหรือเปล่า อย่าทำด้วยอารมณ์อยากทำอย่างเดียว จุดนั้นเป็นความเร่าร้อนของจิต เป็นกิเลส เป็นตัณหา ผิดหลักของการ ปฏิบัติธรรมเพื่อพระนิพพาน อย่าลืมจักละกิเลส จักต้องรู้จักหน้าตาของกิเลสด้วย เช่น จักละรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ก็ให้รู้จักมันด้วย หรือจักละรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ต้องให้รู้จักด้วย รู้แค่สัญญาละไม่ได้ ต้องรู้ด้วยปัญญา จึงจักละได้

    <O:p</O:p
    ๘. การพิจารณา มรณา และอุปสมานุสสติไว้เสมอ ยังจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย และหากจับกองที่ถูกกับจริตนิสัย และกรรมของตนเองมาพิจารณาแล้ว จักได้มรรคผลคืบหน้าได้ง่าย อย่าทำแบบจับจด หรืออะไรๆ ก็จำได้หมด แต่ทำอะไรไม่ได้สักอย่างเดียวจักไม่ได้ผล ให้กำหนดบทใดบทหนึ่งขึ้นมาที่จิตมันชอบ แล้วทำอย่างจริงๆ จังๆ จุดนั้นก็จักได้ผล และหากมีปัญญาบารมีดี ก็จักได้กองอื่นๆ หมดเช่นกัน อย่าท้อแท้ ร่างกาย มันจักเป็นอย่างไร ก็เรื่องของร่างกายมัน อารมณ์นี้แหละคืออารมณ์ช่างมัน หรืออุเบกขาของร่างกายในบารมี ๑๐ ที่แท้จริง

    <O:p</O:p
    ๙. ให้เข้มแข็งและอดทน กับอุปสรรคที่เข้ามากระทบทั้งปวง และฝึกจิตของตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตน อย่าท้อถอย เนื่องด้วยในโลกนี้ไม่มีใครอยู่เป็นที่พึ่งของใครได้ไปตลอดชีวิต ดังนั้นการฝึกจิตของตนเอง เพื่อไม่ให้ฝืนกฎของความเป็นจริง จักต้องพิจารณาให้จิตยอมรับกฎของความเป็นจริงอยู่เสมอ จิตจักได้เข้มแข็งไม่อ่อนแอ มีความสงบสุขเนื่องด้วยไม่ฝืนความเป็นจริงนั้น ที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นการปฏิบัติยาก แต่จักต้องทำให้ได้ ถ้าหากมุ่งหวังจักไปพระนิพพานในชาติปัจจุบัน

    <O:p</O:p
    ๑๐. หามัชฌิมาของร่างกายให้พบ กายเป็นสุข จิตผู้อาศัยอยู่ก็เป็นสุข การปฏิบัติธรรมจักต้องอาศัยทางสายกลาง จุดนี้จักต้องสำรวจกายและจิตของตนเอง โดยหาความจริงของกายและจิตให้ชัดเจน แล้วตรงจุดนั้นนั่นแหละจักควรค่าแก่การปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง อย่าเบียดเบียนกายและใจของตนเอง ก็จักพบความสุขของมรรคผลปฏิบัติอย่างแท้จริง

    <O:p</O:p
    ๑๑. ให้พยายามปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบจิตใจ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่าฝืนใจใครเพราะยากที่จักแก้ไขบุคคลอื่นได้ และเป็นกฎของธรรมดา เนื่องด้วยต่างคนต่างที่ความคิดเป็นของตัว แล้วก็มักจักยึดความคิดเห็นของตัวเองว่าถูกต้องอยู่เสมอ ซึ่งจุดนี้เป็นเหตุของความกระทบกระทั่งจิตใจ แล้วก็เป็นการยึดมั่นถือมั่นในอัตตา คือสังขารปรุงแต่งว่าเป็นเราเป็นของเรา ซึ่งเป็นกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม อันจิตของเราสร้างขึ้น พิจารณาให้รอบคอบแล้ว จักเห็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ อันเกิดจากสังขารที่ปรุงแต่งนี้ ให้ถอยออกมาพิจารณาให้ละเอียดอีกขั้นหนึ่ง แล้วจักเห็นอัตตาที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสังขารปรุงแต่งอย่างชัดเจน จักเห็นโทษของการยึดสังขาร (อารมณ์ปรุงแต่ง) อย่างมากมาย แล้วเมื่อจิตยอมรับ ก็จักรู้จักปล่อยวางอย่างแท้จริง

    <O:p</O:p
    ๑๒. การเจ็บป่วยเป็นของธรรมชาติไม่มีใครฝืนมันได้ ธรรมะของตถาคตเจ้ามีแต่ธรรมดาทั้งหมด จิตจักพ้นทุกข์ได้ก็ต้องพิจารณาถึงตัวธรรมดาให้มาก เนื่องด้วยที่ทุกข์อยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะจิตไปฝืนธรรมดา ไม่อยากให้เป็นไปตามธรรมดา (ตัณหา ๓ ครองโลก หรือเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ใจ) กฎของกรรมที่เกิดกับชีวิตของแต่ละ คนทุกวันนี้ก็เช่นกัน เป็นธรรมหรือกรรมที่มาแต่เหตุทั้งสิ้น ซึ่งเป็นอริยสัจไม่ควรไปฝืน พยายาม สอนจิตให้ไปรับธรรมหรือกรรม จิตก็จักไม่ทุกข์ไปกับกฎของกรรมเหล่านั้น (อย่าฝืนโลก อย่าฝืนธรรมหรือกรรม) การเกิด แก่ เจ็บป่วย ความปรารถนาไม่สมหวัง การพลัดพรากจากของรักของชอบใจล้วนเป็นทุกข์ แม้แต่ในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะจิตไปยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา ในปัญจขันธ์นี้ (ขันธ์ ๕) ไม่มีในเรา ไม่ใช่ของเรา เป็นอริยสัจ ผู้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า จักยอมรับนับถือสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นของจริง จิตผู้ไม่ฝืนความจริง จึงไม่ทุกข์ไป กับปัญจขันธ์ที่แปรปรวนไปตามสภาพนั้น ๆ เนื่องด้วยท่านเห็นเป็นของธรรมดาเสียแล้ว จิตเป็นสุขมีพระนิพพานเป็นที่ตั้งมั่นอยู่ในจิต ตายเมื่อไหร่ก็พ้นทุกข์เมื่อนั้น ให้สังเกตจุดนี้เอาไว้ให้ดีๆ แล้วเพียรปฏิบัติตาม เพื่อจักได้พ้นทุกข์ ของปัญจขันธ์ เข้าถึงพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบัน

    <O:p</O:p
    ๑๓. ร่างกายของใครก็ไม่สำคัญเท่ากับร่างกายของตนเอง ให้พิจารณาร่างกายของตนเองเป็นหลักใหญ่ จักได้รู้ความจริงของร่างกาย แล้วจักเห็นชัดว่า ความโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นก็เนื่องจากการมีร่างกายนี้ ค่อยๆ คิดพิจารณาให้เห็นอย่างชัดเจน แล้วจักผ่อนคลายการติดในร่างกายลงได้<O:p></O:p>
    ๑๔. จงอดทนต่ออุปสรรคทั้งหลายที่เข้ามาในชีวิต ย่อมมีแพ้บ้าง ชนะบ้างเป็นธรรมดา จงอย่ากังวลใจ ผิดพลาดไปบ้างก็เป็นของธรรมดา จำไว้ความสุขของใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ร่างกายจักเป็นอย่างไร ก็เป็นเรื่องธรรมดาของร่างกายมัน ห้ามไม่ให้แก่ ไม่ให้ป่วยไม่ได้ แล้วที่สุดร่างกายนี้ก็ต้องตายเป็นธรรมดา การรักษาใจต้องพยายามรักษาอารมณ์ให้ผ่องใสอยู่เสมอ

    <O:p</O:p
    ๑๕. อย่ากังวลใจกับเหตุการณ์ใดๆ ทั้งปวง ให้รักษาอารมณ์อย่าให้ ดิ้นรนเร่าร้อน จงพอใจ หรือมีความพอดีกับสถานการณ์ทุกๆ อย่าง ไม่ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จักมีผลบวกหรือผลลบก็ตาม จงอย่าได้เดือดร้อนใจไปตาม ให้ค้นหาเหตุให้พบ (ให้ใช้อริยสัจ) จิตจักต้องรู้เท่าทันกฎของกรรมทุกเมื่อ แล้วจิตก็จักไม่ดิ้นรนเร่าร้อนไปกับสถานการณ์ทุกรูปแบบ การติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ กับข่าวต่างประเทศ ก็จักเห็นความไม่เที่ยง แปรปรวน รุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นระยะๆ ของสภาวะของดิน - น้ำ - ลม - ไฟ และอารมณ์อันไม่เที่ยงของผู้นำประเทศต่างๆ มากมาย อันเป็นชนวนในการนำไปสู่สงครามใหญ่ได้ทั้งสิ้น จึงควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพของร่างกายให้ดีด้วย เพราะกายนี้ก็ประกอบด้วยดิน - น้ำ - ลม - ไฟ ซึ่งไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่เสมอเหมือนกับโลก จงอย่าประมาทในชีวิต ซึ่งสั้นลงทุกขณะจิต ให้หมั่นซ้อมตายและพร้อมตายไว้เสมอ กายพังเมื่อไหร่ จิตก็พร้อมไปพระนิพพานเมื่อนั้น

    <O:p</O:p
    ๑๖. อย่าท้อแท้ในผลของการปฏิบัติ ถึงแม้บางครั้งอารมณ์จักเฉื่อยชาไปบ้าง ก็ถือว่าเป็นของธรรมดา เพราะมีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านหมดอารมณ์ขี้เกียจ ซึ่งเป็นอารมณ์หลงละเอียด พระระดับต่ำกว่านั้นยังมีอารมณ์ขี้เกียจ จักมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการรักษากำลังใจ หรือดูบารมี ๑๐ ด้วยความขยันหมั่นตรวจสอบ ข้อไหนบกพร่องก็เพียรทำข้อนั้นให้เต็ม และหาก ท้อถอยเมื่อไหร่ ก็พึงยกเอา มรณานุสสติขึ้นมาเตือนจิต พิจารณาให้เห็นชีวิตของร่างกาย นั้นก้าวไปสู่ความตายทุกๆ ขณะจิต ความประมาทในการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์จักน้อยลงไปได้ ทุกคนที่เห็นทุกข์แล้วย่อมปรารถนาเพื่อจักพ้นทุกข์ แต่สำหรับความตายไม่ต้องปรารถนา ชีวิตก็ล่วงเข้าไปสู่ความตายทุกรูปทุกนาม สำคัญว่าจิตจักพ้นทุกข์ได้ก่อนร่างกายตายหรือไม่ ให้ดูความโลภ - โกรธ - หลง ที่เกาะจิตอยู่นั้นมันลดน้อยลงหรือยัง กิเลส ในใจตน จงอย่าไปถามคนอื่น ตนย่อมต้องโจทย์จิตของตนเองอยู่เสมอหากยังมีอยู่ครบ แล้วขยันหมั่นเพียรเอากรรมฐานมาแก้อารมณ์จิตหรือเปล่า ถ้ายังเพียรทำอยู่ ก็ได้ชื่อว่า ไม่อยู่รอความตายโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าหากไม่ได้ทำก็ประมาทอย่างยิ่ง ให้คิดไว้เสมอว่าขณะนี้ใกล้ตายแล้ว ถ้าหากตายในขณะนี้ ใครที่ไหนเล่าจักช่วยเราได้ จงจดจำคำสอนของตถาคตเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ตถาคต เป็นเพียงผู้บอก การปฏิบัติอยู่ที่ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนโดยแท้จริง ให้พิจารณาจุดนี้เข้า ไว้ เพียรหรือไม่เพียรก็อยู่ที่พวกเจ้าพึงจักปฏิบัติกันเอาเอง ตามแนวทางแก้กิเลสที่พระตถาคตเจ้าสอนไว้ ให้เลือกมากมายตั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ชอบใจบทไหน ให้จับบทนั้นจนถึงที่สุด แล้วจักเป็นมรรคผลได้เร็ว

    <O:p</O:p
    ๑๗. จิตมีอารมณ์ ก็จักต้องหาสาเหตุให้พบ ปล่อยวางที่ต้นเหตุแล้วจักพ้นทุกข์จากจุดนั้นไปได้ การตรวจสอบจิตจักต้องมีอยู่เสมอ แล้วจงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่น ไม่ว่าบุคคลนั้นจักเป็นที่พอใจ หรือไม่พอใจก็ดี ให้ปล่อยวางบุคคลอื่นออกไปจากจิตเสียก่อน ทางนี้เป็นทางของบุคคลผู้เดียว ใครที่ไหนอื่นใดไม่สำคัญเท่ากับจิตตนเอง รักษาความดีให้ขังอยู่ในจิตให้ได้ ปล่อยวางความชั่วอย่าให้ขังอยู่ในจิตนาน อย่าขาดทุนให้มากนัก เจริญพระกรรมฐานทั้งที ให้รู้จักเก็งกำไรเอาไว้ด้วย

    <O:p</O:p
    ๑๘. ร่างกายจักเป็นอย่างไร ก็ห้ามมันไม่ได้ การให้ปัจจัย ๔ แก่ร่างกาย เป็นเพียงการระงับเวทนาชั่วคราวเท่านั้น ปัจจัยใดๆ ก็ไม่สามารถห้ามความแก่ - ความป่วย - ความตายได้ พิจารณาให้จิตยอมรับความจริงของร่างกาย และทราบชัดว่าเราคือจิต จึงจำเป็นต้องรักษาจิตให้ดี ให้จิตอดทนต่อสิ่งที่มากระทบ เพราะกฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ กรรมใดที่เราไม่เคยทำไว้ วิบากกรรมนั้นย่อมไม่เกิดกับเราอย่างแน่นอน อย่าเอาความเลวไปแก้เลวของผู้อื่น ให้คิดว่าไม่ช้าต่างคนต่างก็ตายแล้ว หันกลับมารักษาอารมณ์จิตของตนเองดีกว่า โดยฝึกจิตให้ปล่อยวางทุกสิ่ง ทุกอย่าง โดยเคารพในกฎของกรรม ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน จำไว้อย่าไปแก้ไขผู้อื่น ให้แก้ที่ใจของตนเอง ให้พิจารณาถึงกฎของกรรมให้มาก ๆ แล้วสรุปลงว่า ถ้า เราไม่มีร่างกายเสียอย่างเดียว เหตุการณ์กระทบกระเทือนใจเหล่านี้ก็ไม่มี มีแดนเดียวที่พ้นทุกข์ได้ อย่างถาวร คือพระนิพพาน ให้ตั้งกำลังใจไว้อย่างนี้เสมอ แล้วจักไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง

    <O:p</O:p
    ๑๙. พิจารณากรรมฐานให้ระมัดระวังมารหลอก มารแปลว่าผู้ฆ่าความดี จิตจักถูกดลให้คิดผิด - เห็นผิด ขาดความยับยั้งชั่งใจ ยังอุปาทานให้เกิดไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งผิด จึงต้องสังเกตอารมณ์ของจิตให้ดีๆ รู้ขั้นตอนของการทำงานของจิต รู้ขั้นตอนของกิเลสที่เกิดขึ้นในอารมณ์ แล้วจักมีหนทางแก้ไขในเหตุที่เกิดนั้นๆ เห็นจิต - มองจิต - พิจารณาจิต ย่อมรู้ในเหตุที่ทำให้จิตมีความเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้ง

    <O:p</O:p
    ๒๐. ในคนๆ หนึ่งย่อมมีการกระทำได้ทั้งดีและเลว กรรมคือการกระทำทั้งกาย - วาจา - ใจจัดเป็นกรรมทั้งสิ้น คนเลวหมดตลอดชีวิตไม่มี คนดีหมดตลอดชีวิตก็ไม่มี คนๆ หนึ่งจึงทำกรรม ๒ ประเภทนี้ขึ้นมา บัญชีบุญและบัญชีบาปจึงแยกออกจากกัน ไม่ปนกัน มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านหมดเลว ท่านเคารพในกฎของกรรม ใครดีท่านรู้แต่ไม่สนใจ หรือข้องแวะในกรรมของเขา ใครเลวท่านก็รู้ แต่ไม่สนใจ กรรมใครกรรมมัน พระอรหันต์ท่านวางหมด ยกเว้นแต่ผู้ที่มีกรรมผูกพันอยู่กับท่าน ท่านก็ต้องสอน - อบรม - ชี้แนะทางให้ตามหน้าที่ แต่จักทำได้หรือไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของเขา ท่านไม่ทุกข์ไม่เดือดร้อนไปในกรรมใดๆ ทั้งปวง เห็นเป็นธรรมดาของโลก มี แต่พระนิพพานเท่านั้นที่คนเลวไม่มีอยู่เลย ที่ตรัสมานี้เพื่อให้สังเกตอารมณ์ของใจคน มักจะโจทย์เลวมากว่าโจทย์ดี ใครทำอะไรไม่ดี ใจมัน ปากมันทั้งจำทั้งพูด ไม่รู้จักลืม มันเป็นความเลวของจิตที่ จำเอา แต่อกุศลกรรม สำหรับเรื่องความดี คำสอนของพระพุทธเจ้า สอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักจำ ไม่รู้จักทำ ให้มันเกิดมรรคเกิดผลเสียบ้าง ใจมันมักลืมดี แต่จำเลว ต่อไปให้รู้จัก แก้ใจเสียบ้าง จำดีแล้วลืมเลวเข้าไว้บ้าง จึงจะพอเริ่มดีกับเขาได้บ้าง สรุปว่า พระ อรหันต์ท่านมี พุทธานุสสติและอุปสมานุสสติเป็น เอกัตคตารมณ์ พอๆ กับการไม่ลืมขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา และมีอริยสัจ ๔ พร้อมอยู่ในจิต เห็นทุกข์ - สมุทัย - นิโรธ - มรรคพร้อมอยู่ตลอดเวลาเหล่านี้เป็นองค์ของ พระอรหันต์<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    <CENTER>รวบ รวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ที่มา Frameset-11</CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2010
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  3. พัชรกันย์

    พัชรกันย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +622
    ขอโมทนาสาธุในพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  4. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    สาธุ
    ขออนุโมทนาอย่างยิ่ง
    ชอบที่สุดไม่ว่าในภาวะตอนนี้หรือตอนไหนคือ

    "๕. อะไรมันจักเกิด มันก็ต้องเกิด ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกฎของธรรมดา เรื่องภัยธรรมชาติภัยจากสงคราม แม้แต่เรื่องใดๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย กับวัด ก็ล้วนเป็นกฎของธรรมดา อย่าไปวิตกกังวล วางจิตให้ยอมรับธรรมดาก็จักไม่เป็นทุกข์ การฝืนโลกฝืนธรรม ฝืนสังขารร่างกาย ล้วนเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ ทุกอย่างต้องเดินสายกลางทั้งทางโลกและทางธรรม ทำใจให้ยอมรับกฎของธรรมดา (กฎของกรรม) ตั้งใจชดใช้กรรมไปเรื่อยๆ ตายเมื่อไหร่ก็มุ่งสู่พระนิพพานเมื่อนั้น การ หมดภาระของขันธ์ ๕ ย่อมเป็นสุขอย่างยิ่ง ขอให้พวกเจ้ามุ่งหวังเข้าไว้ อย่าทำอารมณ์ใจให้พร่องไปกับอุปสรรคที่เข้ามาทดสอบจิตใจของแต่ละคน ให้เอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกรรมฐาน แล้วจักเกิดประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม "
     
  5. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้วขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  6. athikhom1965

    athikhom1965 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +77
    ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันและขอโมทนาสาธุในพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  7. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    โมทนาค่ะ..บางที "ปล่อยวาง" กับ "ปล่อยทิ้ง" ก็ใกล้กันเหมือนเส้นผมกั้น
    ส่วนตัวแล้ว อุเบกขา ทำยาก เพราะส่วนมากคล้ายจะเป็นการหนีปัญหามากกว่า...
     
  8. จิตินันท์

    จิตินันท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +130
    จงสำรวมระวัง กาย วาจา ใจ
     
  9. วิจิตร

    วิจิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +514
    ขอ อนุโมทนาสาธุ ครับ ขอบคุณมาก อ่านแล้วเข้าใจอะไรๆที่เกิดรอบตัวเองมากขี้นขอ ขอบคุณจากใจ ในข้อความที่นำมาให้อ่านครับ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...