ตึกสูงทั่วกรุงเสี่ยงวินาศ!? ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ยิ่งใกล้ไทยยิ่งอันตราย!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Prophecy, 14 พฤศจิกายน 2012.

  1. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    [​IMG]

    โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 13 พฤศจิกายน 2555 19:01 น.

    แม้ประเทศไทยไม่ได้เป็นพิกัดศูนย์กลางของเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แต่ดูเหมือนว่าหลายปีมานี้ เราได้รับแรงสะเทือนเสียทุกครั้งไป โดยเฉพาะตามตึกสูงระฟ้าในเขตกรุงเทพฯ ที่สร้างความตื่นตระหนกอยู่เนืองๆ ซึ่งสิ่งที่น่าวิตกไปกว่านั้นคือ บรรดาตึกสูงในประเทศเรายังขาดมาตรการรองรับกรณีแผ่นดินไหว และยังมีการเปิดเผยอีกว่า ผืนดินในเมืองหลวงนั้นอ่อนมาก ถ้าเกิดแรงสั่นสะเทือนรุนแรงตึกสูงทั้งหลายมีความเสี่ยงถล่มแน่นอน

    เหตุการณ์แผ่นดินไหว 6.6 ริกเตอร์ ที่ประเทศพม่า (11 พ.ย.) ถือเป็นเหตุครั้งล่าสุด ถึงบ้านเราจะไม่ได้รับแจ้งเหตุรุนแรงเพราะอยู่ห่างไกลหลายร้อยกิโลเมตร แต่ชาวกรุงที่อยู่บนอาคารสูง รวมทั้งชาวบ้านทางภาคเหนือก็สัมผัสถึงแรงสั่นสะเทือน ส่วนประเทศที่เกิดเหตุนั้นได้รับความสูญเสียอย่างหนัก

    อย่าชะล่าใจ เพราะสภาพพื้นที่กรุงเทพฯ นั้นมีลักษณะเป็นแอ่ง ลักษณะพื้นดินด้านล่างอ่อนเป็นเลน ลักษณะทางภูมิศาสตร์คล้ายกับกรุงเม็กซิโก ซิตี ที่ในอดีตเคยได้รับความเสียหายครั้งใหญ่จากแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางออกไปมากกว่า 300 กิโลเมตรราวปี 2528 ซึ่งกลายเป็นบทเรียนที่ผู้เชี่ยวชาญแขนงที่เกี่ยวข้องในไทยร่วมศึกษาหาเพื่อหาแนวทางลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


    ตึกสูงเสียดฟ้า อัตราเสี่ยงที่มากกว่า

    ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงต้นปีที่แล้ว (24 มี.ค. 2554) ก็เคยเกิดกรณีแผ่นดินไหวในประเทศพม่าที่สร้างความตื่นตระหนกแก่ชาวไทยเช่นกัน เพราะแรงสั่นสะเทือนในครั้งนั้นส่งผลให้ตึกรามบ้านช่องของเราเสียหายไปด้วย ซึ่งดูจะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้สังคมไทยเริ่มตระหนักในภัยพิบัติธรณีวิปโยค

    ครั้งนั้นหลังเหตุการณ์สงบ สำนักงานกรุงเทพฯ ก็เร่งตรวจสอบตึกสูงหลายแห่ง ไล่ตั้งแต่ตึกที่รู้จักกันดี อย่างตึกใบหยก, โรงแรมดุสิตธานี, อาคารพาณิชย์ย่านสาทร สีลม ฯลฯ


    อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่า ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนพื้นดินอ่อน ฉะนั้น หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงตึกสูงๆ ก็เตรียมรับสภาพย่อยยับทุกหย่อมหญ้า ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว กล่าวย้ำว่าเมืองหลวงของเราเป็นพื้นที่เสี่ยง

    “ทั้งกรุงเทพฯ แอ่งของกรุงเทพฯ มันคลุมหลายจังหวัด กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนแอ่งดินอ่อน แต่เดิมเป็นทะเลมาก่อน เพราะฉะนั้น มันเป็นพื้นที่ดินอ่อนที่ใหญ่มาก”

    ไม่ว่าตึกสูงจะตั้งตระหง่านย่านไหน สีลม, บางรัก, สาทร, พญาไท, ห้วยขวาง, ดอนเมือง ฯลฯ รับรองได้ว่ารับผลกระทบไม่แพ้กัน

    ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวอธิบายถึงโครงสร้างของตึกสูงในกรุงเทพฯ ว่า เรื่องมาตรฐานการออกแบบก่อสร้าง จะอาคารพาณิชย์เสียดฟ้า หรือดอนโดฯ หรูหลายสิบชั้น ส่วนมากถูกออกแบบภายใต้มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ แต่อาจติดในเรื่องการต้านแรงแผ่นดินไหว

    “ถ้าไม่ได้ออกแบบให้อาคารทนแรงสั่นได้ อาคารก็จะมีทั้งอาคารอ่อนแอ ธรรมดา และแข็งแรงปนกันไป ต่างกัน ถ้าตั้งใจออกแบบให้อาคารนั้นทนแผ่นดินไหวได้ อาคารทุกๆ ตัว ที่ออกแบบอย่างถูกวิธีก็จะทนได้ในระดับหนึ่ง”


    แผ่นดินไหวเขย่ากรุงเทพฯ ชั้นใน-ชั้นนอก

    ถามว่าตึกสูงในประเทศไทยรองรับความรุนแรงได้แค่ไหน ทางผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวท่านเดิมก็ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนนัก เพราะต้องดูปัจจัยในการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งประกอบด้วย โดยเฉพาะศูนย์กลางที่เกิดเหตุ รวมไปถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ในแต่ละครั้ง

    “พื้นดินสั่นสะเทือนถ้าสั่นเบาๆ โครงสร้างมันยังทนได้ ถึงโครงสร้างไม่ได้ออกแบบต้านทานแผ่นดินไหวเลยก็ทนได้ แต่ถ้ามันสั่นแรงขึ้นๆ ค่อนข้างตัวอาคารอ่อนแอ หรือมีจุดอ่อนอยู่เยอะก็จะเสียหายรุนแรง และมันอาจจะพังทลายบางส่วน มันแล้วแต่ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ความเหนียวของตัวโครงสร้าง”

    ตามข้อมูลจดหมายข่าว IPRB รศ.ดร.อมร พิมานมาศ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรม โครงสร้างและสะพาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้อธิบายถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอันตรายจากเหตุแผ่นดินไหว ได้แก่ 1. พื้นที่นั้นอยู่ใกล้รอยต่อของเปลือกโลก หรือ Ring of Fire หรือรอยเลื่อน ที่มีศักยภาพที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว 2. พื้นที่นั้นตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อนหรือไม่ 3. โครงสร้างของอาคารบ้านเรือนในพื้นที่นั้นออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวหรือเปล่า

    ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางก็เป็นอันตรายได้ แน่นอนว่าตึกรามบ้านช่องที่ตั้งบนพื้นดินอ่อนในเขตกรุงเทพฯ รวมทั้งปริมณฑล อย่างนทบุรี ปทุมธานี ไปจนถึงสมุทรปราการ และสมุทรสาคร ยิ่งเป็นอาคารบ้านเรือนที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อป้องกันภัยแผ่นดินไหวย่อมได้รับผลอย่างหนัก


    ปรับมาตรฐานอาคารรับแรงสะเทือน

    อาจเป็นเพราะประเทศไทยยังไม่เคยเผชิญเหตุการณ์แผ่นดินไหวขั้นรุนแรง การก่อสร้างอาคารสูงจึงไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการรองรับแรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวเท่าที่ควร ดร.เป็นหนึ่งกล่าวว่า เบื้องต้นของการก่อสร้างอาคารในประเทศไทยมี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ปี 2550 ออกมาบังคับใช้ แต่เนื้อหายังไม่ชัดเจน มาตรฐานที่กำหนดไว้ก็ไม่ทันยุคทันสมัย

    2 ปีถัดมา กรมโยธาธิการก็จัดทำข้อกำหนดให้เหมาะสมมากขึ้น สร้างมาตรฐานใหม่แก่อาคารสูงในเขตกรุงเทพฯ และทั่วประเทศเพื่อรองรับป้องกันในเรื่องแผ่นดินไหว

    แต่ยอมรับว่า วิศวกรผู้คุมงานก่อสร้างก็ดี หรือเจ้าของโครงการตึกสูงก็ดี ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก เพราะเป็นเรื่องใหม่ และยังต้องปรับตัวกันอีก ดร.เป็นหนึ่งให้ทัศนะว่า ความตื่นตัวมีเพิ่มขึ้นแน่นอน การเสนอข่าวของสื่อมวลชนนั้นมีผลต่อการรับรู้ เกิดการติดตาม และสร้างความเข้าใจ ประชาชนเองมีส่วนกดดันเพื่อเร่งสร้างมาตรฐานใหม่ให้ตึกสูงในเมืองไทย

    “มีความตื่นตัวแต่ว่ายังไม่มีแอ็กชันที่ดีพอ อาคารรุ่นใหม่ก็พยายามที่จะออกแบบเป็นเรื่องเป็นราว ทางเราให้การแนะนำเป็นเรื่องเป็นราวไปเหมือนกัน แต่หลายโครงการก็ยังไม่ได้ใส่ใจเรื่องพวกนี้ ประชาชนต้องทราบเรื่องนี้ก่อน ในหมู่วิศวกรก็มีทั้งคนที่ใส่ใจ และไม่ใส่ใจ ในหมู่ของเจ้าของโครงการหลายเจ้าก็ใส่ใจมากขึ้น บางที่แม้ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยก็ยังเอาจริงเลย”

    แม้การออกแบบ หรือแก้ไขโครงสร้างอาคารให้รองรับแรงสั่นไหวของแผ่นดินนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทางเจ้าของโครงการฯ ก็ต้องยอมจ่าย เพราะนั่นหมายถึงสวัสดิภาพขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ

    ….................
    ไม่รู้ว่าโลกของเรากำลังเขาสู่ยุคแห่งภัยพิบัติหรือเปล่า เพราะในช่วงไม่กี่ปีมานี้ธรรมชาติได้มอบบทเรียนครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่มนุษย์ ถึงเราจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพียงไร แต่ท้ายที่สุดก็คงฝืนธรรมชาติไม่ได้

    จะว่าไปภูมิศาสตร์ของประเทศไทยยังถือว่าโชคดีกว่าหลายๆ ประเทศ เพราะไม่ได้ตั้งบริเวณศูนย์กลางการเกิดเหตุแผ่นดินไหว ผลกระทบก็ถือว่ายังน้อย อย่างไรก็ตาม บรรดาตึกสูงราวกับสร้างขึ้นมาท้าทายปรากฏการณ์ธรรมชาติคงนิ่งนอนใจต่อภัยพิบัติไม่ได้ เร่งสร้างมาตรการป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ เถิด

    ข่าวโดย : ASTVผู้จัดการ LIVE


    Daily News - Manager Online - ตึกสูงทั่วกรุงเสี่ยงวินาศ!? ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ยิ่งใกล้ไทยยิ่งอันตราย!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2012
  2. คนชอบอ่าน

    คนชอบอ่าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +65
    พายุสุริยะ มีค่านัยสำคัญ กับการกระเพื่อมของเปลือกโลก
    ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแล้วล่ะว่า อะไรๆมันก็อาจเกิดขึ้นได้บนเปลือกโลกใบนี้ซะแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. athikhom1965

    athikhom1965 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +77
    อาคารพาณิชย์เสียดฟ้า หรือดอนโดฯ หรูหลายสิบชั้น ส่วนมากถูกออกแบบภายใต้มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ แต่อาจติดในเรื่องการต้านแรงแผ่นดินไหว เป็นข้อคิดที่ดีจะได้ไม่ประมาท คิดก่อนซื้อคอนโดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยครับ ขอบคุณมากครับ
     
  4. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    ผมเคยคิดเล่นๆ นะ ซื้อบ้าน บ้านถล่ม...ยังเหลือที่ดิน ซื้อ คอนโด คอนโดถล่ม...เราเหลือ?
     
  5. zenit

    zenit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,014
    การไหว..แล้วคนกรุงรับรู้ได้....คือเค้ามาเตือนให้เห็นจุดอ่อนของพื้นที่....เพราะอย่างจ.นครสวรรค์อยู่ใกล้กว่ายังไม่รู้สึก
    .ผมออกจากกรุงเทพนานแล้ว...ออกมาเป็น10ปี...มีเหตุดลใจให้ออก...และพิจรณาดูตามความเหมาะสม....เห็นว่าเป็นปฏิรูปประเทศที่มีจุดอ่อนเยอะขึ้นเรื่อย...ดังนี้
    วุ่นวายมากขึ้น
    ก๊าซพิษเยอะ
    คนแอดอัด
    ค่าครองชีพแพงทำให้ดำรงตนแบบพอเพียงยาก
    รถติด
    มลพิษ
    ตึกสูงเยอะไม่เหมาะกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีถี่ขึ้นบ่อยขึ้น
    ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
    บางทีศิวิไลซ์เกินไป...ไฮโซเกินไป
    เสี่ยงจลาจล..เสี่ยงก่อการร้าย

    แต่ใครอยู่กทม.ก็ไม่ต้องคิดมากหรอกครับ..ผมก็ไม่คิดเหมือนกันว่าจะต้องออกจากกทม.เพราะเรียนและเติบโตที่นั้นเกือบ20ปี......แต่แล้วก็มีเหตุต้องได้ออก...ดังนั้นผมจึงคิดว่าอยู่ที่ไหนสำคัญที่การดำรงตนให้ดีครับ...แล้วความดีจะรักษาตัวท่านเองครับ.....แต่ที่เขียนมาด้านบนเพราะอยากให้ระวังและคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆครับ
     
  6. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ครับ...ก็น่าจะเตือนกันไป เพราะเหตุการณ์แผ่นดินไหวนะเกิดบ่อยและถี่มากขึ้น ในช่วงที่ผมห่างหายไปบ้าง ได้เข้าร่วมสัมมนาภัยพิบัติต่าง ๆ มีนักวิชาการแบ่งเป็น 2 ฝ่ายอย่างคร่าว ๆ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่กล่าวว่าภัยแผ่นดินไหวจะรุนแรง ถี่มากขึ้น โดยเฉพาะถึงระดับ 7 ริคเตอร์ได้ หรือมากกว่านั้น อีกกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องแผ่นดินไหวในระดับรุนแรงขึ้น แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมาก็ยืนยันได้แล้ว ว่าสามารถเกิดแผ่นดินไหวในระดับที่รุนแรงได้ และตรงกับที่ผมสังหรณ์ไว้ก่อนหน้านี้
     
  7. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    ถูกค่ะ ในเมื่อปัจจุบันเทคโนโลยีมันยังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ด้วยน้ำมือมนุษย์
    โลกเราก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามที่มนุษย์ได้กระทำไว้ ยังมีหลายบุคคลที่ยังคงทำตัวเสมือนน้ำเต็มแก้ว ไม่ยอมรับอะไรใหม่ ๆ ที่มันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
    ยังคงมีความเชื่ออยู่ในตำราเก่า ๆ กับโลกทัศน์แคบ ๆ เท่าที่ตัวเองเคยเห็นแล้วมีประสบการณ์มา คนพวกนี้เชื่อมั่นตัวเองสูง เพราะคิดว่าตัวเองนั้นมีน้ำอยู่เต็มแล้ว ไม่ยอมรับอะไรง่าย ๆ ต้องพิสูจน์ด้วยตนเองถึงจะเชื่อ พิสูจน์อย่างอื่นน่าจะพอได้ แต่ถ้าต้องเอาชีวิตตัวเองมาพิสูจน์กับภัยธรรมชาติ บางทีกว่าจะรู้ คงไม่มีโอกาสได้แก้ตัว
     
  8. ZOMZARN

    ZOMZARN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +950
    ก่อนออกนอกบ้านทุกครั้ง ผมจะเทน้ำในแก้วส่วนตัวใส่ตุ่มเก็บไว้ แล้วถือแก้วเปล่าเดินออกนอกบ้านเสมอ...
    เผื่อว่า...ถ้าพบเซเว่น จะได้ซื้อ"ลาเต้"เอาไว้แก้กระหายกลางทางครับ...

    น่าเห็นใจคนที่มีสถานที่ทำงานอยู่บนตึกสูง ไม่รู้ว่าจะหลีกเลี่ยงอย่างไรในช่วงระวังภัยนี้...
     
  9. อนิจฺจํ

    อนิจฺจํ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    1,374
    ค่าพลัง:
    +2,949
    ทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ที่องค์สมเด็จฯ ท่านสอนไว้
    เราจะเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใด 100% ก็หาไม่
    ทุกข้อมูลข่าวสาร ล้วนเป็นประโยชน์ แต่ก็มีโทษเช่นกัน
    อยู่ที่ปัญญาของแต่ละบุคคลที่จะรับเอาประโยชน์หรือโทษนั้น
    ท้ายที่สุดคือความไม่ประมาทเป็นที่พึ่งได้เสมอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...