ทำสมาธิแล้วไม่รู้จะไปต่อยังไง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ิอนันตะ, 20 ตุลาคม 2012.

  1. ิอนันตะ

    ิอนันตะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +20
    ขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ
    โดยส่วนตัวไม่แน่ใจว่าตัวเองจะปฏิบัติไปถึงขั้นเลยนิมิต ตกอยู่ใน ปิติ ของรูปสมาบัติได้จริงรึเปล่าค่ะ แต่ถ้าเป็นจริงขออนุโมทนา สาธุ
    แต่ขอขอบพระคุณอย่างมากสำหรับวิธีฝึกการ "อยู่" กับสภาวะอารมณ์ต่างๆ ขอนำไปฝึกและปฏิบัติดูค่ะ ตามที่ตีความโดยส่วนตัวมันหมายถึงการใช้จิตตามดูตามรู้สภาวะอารมณ์ของเราในขณะนั้น คือ เมื่อเราอยู่ในสภาวะอารมณ์ใด ก็เอาจิตไปตามดูมันใช่มั้ยค่ะ ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกรึเปล่า
    แล้วก็มีข้อสงสัยอยากจะเรียนถามว่าลำดับขั้นตอนตามที่กล่าวมานั้นจะเป็นเหมือนกันทุกคนมั้ยค่ะ คือเมื่อปฏิบัติสภาวะมันจะเกิดโดยเรียงลำดับตามนั้นเลยมั้ยค่ะถ้ามันไม่เป็นตามลำดับจะเป็นอย่างไรค่ะ เอ่อ ขอสารภาพนิดนึงค่ะว่าเกิดความกลัวนิดๆตรง ข้อ 7 ที่ว่า (ห้ามลัดขั้นตอนโดยเด็ดขาด ของแบบนี้ หากหลุดแล้ว ก็หลุดเลยไปเลย) 55 กลัวว่าจะทำตามขั้นตอนไม่ได้ค่ะ ^^
    และเรียนถามอีกอย่างหากประสงค์จะศึกษาสายวิปัสนาต้องเริ่มปฏิบัติอย่างไรค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2012
  2. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ก่อนอื่น ผมต้องขอเรียงความเข้าใจเบื้องต้นของคุณก่อนนะครับ คำว่า วิปัสสนา ในศาสนาพุทธจริง ๆ แล้วคืออะไรกันแน่

    +++ วิปัสนา ในศาสนาพุทธ คือ การที่จิตเรียนรู้สภาวะแห่งความเป็นจริง (สัจจะ+ธรรมะ) โดยบริสุทธิ์ปราศจากความปรุงแต่ง

    +++ ก่อนที่กระบวนการ วิปัสนา จะเกิดขึ้นได้นั้น ส่วนใหญ่ (มหาชนโดยทั่วไป) จึงต้องมีการขจัด ความปรุงแต่งออกเสียก่อน ซึ่งกรรมวิธีในการขจัดนี้ ย่อมแตกต่างกันไป แล้วแต่ครูบาอาจารย์ที่ท่านจะพิจารณา กรรมวิธีที่เหมาะต่อศิษย์ของตน บางคนมีความปรุงแต่งมาก ท่านจึงต้องออกอุบายมาผูกมัดความปรุงแต่งให้อยู่ในที่ ๆ เดียวเสียก่อน ด้วยคำบริกรรมต่าง ๆ จนกว่าจิตจะวางความปรุงแต่งลงไปได้เอง นั่นคือ วางคำบริกรรม ส่วนศิษย์บางรายที่มีอารมณ์แปรปรวนมาก ท่านมักจะใช้ความ รู้ตัว หรือ รู้สึกตัว เพื่อให้สยบความแปรปรวนนั้น ๆ ลง ศิษย์บางรายมีความ นึกคิด ที่ออกมาในลักษณะ ภาพพจน์ มาก ท่านก็จะใช้อุบายมาผูกมัดเพื่อให้ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นให้มาอยู่ในที่ ๆ เดียวเช่นกัน ด้วยการกำหนด พระพุทธรูป หรือ กสิณ ต่าง ๆ นั่นเอง

    +++ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ยังอยู่ในขั้นตอนของ การเตรียมจิต เพื่อขจัดความปรุงแต่งในชั้นเบื้องต้นออกไปให้พ้นทาง เท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วยังวนเวียนอยู่ในอุบายต่าง ๆ เหล่านี้ และมักจะนำเอาอุบายเหล่านี้มาเปรียบเทียบกัน ซึ่งอุบายบางประการก็ถูกจริต นิสัย วาสนา และใช้ได้ผลกับตน ส่วนผู้ที่ผ่านมาแล้ว หรือ ไม่จำเป็นที่ต้องใช้อุบายเลย (เป็นส่วนน้อยมาก ๆ แต่ยังมีอยู่) ก็มักจะเลยวังวนในอุบายต่าง ๆ รวมทั้งนิมิตรทั้งหลายเหล่านี้ แล้วลงมาสู่รอยต่อระหว่าง สมถะและวิปัสสนาตรง ๆ

    +++ ลักษณะของรอยต่อระหว่าง สมถะและวิปัสสนานั้นดูง่ายมากคือ จะไม่มีนิมิตรใด ๆ ไม่มีความปรุงแต่งใด ๆ ไม่นึกและคิดใด ๆ เข้ามาแปดเปื้อนปลอมปนทั้งสิ้น ลักษณะที่เด่นชัดที่สุดคือ รู้ รู้ตัว หรือ รู้สึกตัว หรือที่ตรงกันกับใน พระพุทธพจน์ที่กล่าวว่า "สติสังขาโต" หรืออาจกล่าวเป็นภาษาไทยแบบพื้น ๆ ได้ว่า "มีสติโดดเด่นเป็นเอก" อยู่ในขณะนั้น ๆ อาการนี้เท่านั้น ที่เป็นอาการของผู้ที่พร้อมแล้ว คือเป็น "ดำรงค์สติมั่น" และพร้อมที่จะ "รู้ธรรมเฉพาะหน้า" ได้ หากธรรมนั้น ปรากฏมาเป็นอารมณ์ ก็จะทรง "ฌานสมาบัติ" ได้เลย และหากธรรมนั้น ปรากฏมาเป็นกองขันธ์ ก็จะทรง "ญาณทัศนะ" ได้เลยเช่นกัน ส่วนครูบาอาจารย์ทั้งหลายจะกำหนดให้ศิษย์ตนฝึกอะไรต่อนั้น ย่อมขึ้นกับความชำนาญและความชัดเจนในจริตต่าง ๆ ของทั้งอาจารย์และศิษย์ที่ร่วมผูกพันกันมา

    +++ ส่วนของคุณ ิอนันตะ ตามโพสท์แรกของคุณที่กล่าวว่า "รู้อย่างเดียวคือมันนิ่งอยู่อย่างนั้น" นี่คืออาการของ "มีสติโดดเด่นเป็นเอก" ส่วน "ไม่มืดไม่สว่าง มีความอิ่มเอิบใจด้วยบางครั้ง" นั้น "ธรรมเฉพาะหน้า" ปรากฏมาเป็นอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณเริ่มต้นมาด้วย การนั่งโดยกำหนดไปที่กายสังขาร ซึ่งเป็น มหาสติ ที่สามารถครอบคลุบ เหล่าอนุสติได้อยู่แล้ว ทั้งเหตุเริ่มต้น และผลลัพธ์ที่ปรากฏออกมานั้น มันฟ้องอยู่ในตัวอยู่แล้วว่า คุณอยู่ในรอยต่อหลักนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ผมคงไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวอะไรอีก ส่วนคุณก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ถอยหลังเข้าคลองไปว่ายวนเวียนอยู่ในอุบายต่าง ๆ อีกแล้วนะครับ

    +++ ในโพสท์ที่สองของคุณที่กล่าวว่า "ตามที่ตีความโดยส่วนตัวมันหมายถึงการใช้จิตตามดูตามรู้สภาวะอารมณ์ของเราในขณะนั้น คือ เมื่อเราอยู่ในสภาวะอารมณ์ใด ก็เอาจิตไปตามดูมันใช่มั้ยค่ะ ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกรึเปล่า" การใช้ภาษาตรงนี้ ยังไม่ตรงตามอาการที่เป็นอยู่จริง ๆ เพราะคุณยังไม่มีประสพการณ์ในการผ่านมันมาจริง ๆ ส่วนภาษาที่ถูกต้องและตรงตามอาการที่แท้จริง จะเป็นดังนี้

    +++ เมื่อ "ดำรงค์สติมั่น" ในยามที่ "ธรรมเฉพาะหน้า" ปรากฏมาเป็นอารมณ์ (ความอิ่มเอิบใจ) หากต้องการจะฝึก สมถะ ก็ควรจะ ทำความชำนาญ ในการ "อยู่" กับ "ย้าย" ในกองอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อความคุ้นเคยและทำให้เกิด ขีดความสามารถในการนำมันมาใช้ในยามจำเป็นได้ และหากต้องการฝึก วิปัสนา ก็ให้ "รู้ หรือ อยู่กับรู้" เฉย ๆ ตั้งแต่ มันแรกเริ่มกำเหนิด รู้อยู่เช่นนั้น ก็จะเห็น เหตุที่มันดำรงค์อยู่ จนกระทั่ง สิ้นวงจรของมัน แล้วมันก็จากไป แล้วก็จะเข้าใจ กฏเกณท์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ได้เอง (สำหรับผม จะไม่ใช้คำว่า ใช้จิตตามดู ในการฝึกระดับนี้เลยเพราะ ตัวดู มันมีอยู่จริง ผู้ที่จะใช้มันได้ ต้องรู้จักมันเป็นอย่างดีแล้วเท่านั้น)

    +++ ให้สังเกตุให้ดี ๆ ว่า ไม่ว่าจะเป็นภาคใดก็ตาม จะไม่มีความปรุงแต่งใด ๆ เข้ามาเจือปนด้วยเลยแม้แต่เพียงน้อยนิด แม้ผมจะเรียกมันว่า สมถะ ก็ตาม มันก็ยังเป็น วิปัสสนา ในการโยกย้ายจิตให้ไปอยู่ในชั้นธรรมารมณ์ (ภูมิจิต) ต่าง ๆ และจะไม่เกิดการหลงทางในภูมิต่าง ๆ เหล่านั้นได้เลย และในส่วนที่ผมเรียกมันว่า ภาค วิปัสสนานั้น จริง ๆ แล้ว การรู้ธรรมารมณ์ต่าง ๆ ย่อมอยู่ในระดับความลึกของ ฌาณ ทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในชั้น อัปปนาสมาธิ ในตัวอยู่แล้ว ยกเว้นว่าจะมีความชำนาญเพียงพอจนรู้ได้โดยไม่ต้องเข้าสมาธิแต่ประการใด ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับผลการฝึกในแต่ละบุคคล

    +++ ส่วนคำถามของคุณที่ว่า "ลำดับขั้นตอนตามที่กล่าวมานั้นจะเป็นเหมือนกันทุกคนมั้ยค่ะ คือเมื่อปฏิบัติสภาวะมันจะเกิดโดยเรียงลำดับตามนั้นเลยมั้ยค่ะ" นั้น คำตอบคือ ใช่ครับ เป็นตามนั้นเหมือน ๆ กันทุกคน และในข้อที่ 7 หากจะหลุด ก็หลุดในจุดนี้เหมือนกันทุกคน คือมักจะตกกลับไป "อยู่" ในข้อ 6 แทนคือ "รู้ ๆ อยู่" กว่าจะกลับมาได้ใหม่ ก็ 2-3 วัน (ในกรณีฝึกแบบคุมจิตกันต่อหน้า หากในกรณีที่อ่านแล้วนำไปปฏิบัติ อาจกินเวลานานกว่านี้ หรืออาจไม่มีโอกาสอีกก็ได้) ส่วนผู้ที่ไปได้ถึงข้อ 12 ก็จะรู้ความหมายของครูบาอาจารย์ ทางสายพระป่าที่ท่านกล่าวว่า จิตเดิมแท้เป็นประภัสสร นั้นคืออาการใด ได้เอง

    +++ ส่วนคำถามสุดท้ายของคุณคือ "ถามอีกอย่างหากประสงค์จะศึกษาสายวิปัสนาต้องเริ่มปฏิบัติอย่างไรค่ะ" คำตอบคือ ในยามที่ "ธรรมเฉพาะหน้า" ปรากฏ ก็ให้ "รู้ หรือ อยู่กับรู้" เฉย ๆ หากมันแยกตัวออกจากความเป็นเราด้วยตัวของมันเอง ก็จะเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "มันไม่ใช่ตัวกู มันไม่ใช่ของ ๆ กู" ได้เอง แล้วจากนั้นก็อาจจะรู้ได้ตั้งแต่ มันแรกเริ่มกำเหนิด รู้อยู่เช่นนั้น ก็จะเห็น เหตุที่มันดำรงค์อยู่ จนกระทั่ง สิ้นวงจรของมัน แล้วมันก็จากไป แล้วก็จะเข้าใจ ในเรื่องของ ไตรลักษณ์ ได้เอง จากนั้นก็อาจเกิด "โอปนยิโก รู้ว่า เราเองก็หาได้แตกต่างจากสภาวะธรรมต่าง ๆ นั้นไม่" วงจรของเราจะต้องสิ้นไปเฉกเช่นเดียวกับสภาวะธรรมต่าง ๆ นั่นเอง หากการฝึกฝนต่าง ๆ สามารถทำจนได้นิสัยแล้ว คำตอบต่าง ๆ ก็จะปรากฏมาเองนะครับ
     
  3. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    อาการดังที่กล่าวมา ต้องกำหนดดูเวทนาเท่านั้น
    จึงจะไปต่อได้คับ เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นสิ่งสำคัญ
    จะต้องบังเกิดขึ้น แก่ผู้ปฏิบัติแน่นอน ผู้ปฏิบัติต้อง
    มีความอดทน เพื่อเป็นการสร้างบารมีไปด้วย
    ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมขาดความอดทนเสียแล้วการปฏิบัติ
    วิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว
     
  4. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    การฝึกสมาธิ ที่ดีและถูกต้อง ต้องเริ่มจากการที่เราต้องเริ่มจากการฝึก
    1 ฝึกสติ
    2ฝึกสติ+สัมปชัญญะ
    3ฝึกควบคุมสติสัมปชัญชะ
    4ฝึกสมาธิ ด้วยอาศัยสติเป็นตัวควบคุมจิต
    5ฝึกสมาธิขั้นต้น กลาง ละเอียดอาศัยจิตที่มีกำลังสมาธิ ควรแก่การใช้งาน
    6ฝึกสมาธิขั้นละเอียด เข้าสูกรรมฐาน หรือฌาณ หรือกสิน อาศัยกำลังสมาธิขั้นสูง
    7ฝึกกสิน และฌาณขั้นละเอียด อาศัยสติและสมาธิขั้นละเอียด และอาศัยจิตที่มีกำลังมาก
    8ฝึกวิปัสสนา อาศัย สติที่มีกำลังตามดูธรรมชาติของจิต +ปัญญา รู้แจ้งในสภาวะทั้งหลายที่เกิดที่รู้ที่เห็นตามจริง

    =====

    ท่านเจ้าของกระทู้ มีจิตรวมสมาธิได้ดี จิตรวมและสงบนิ่งอยู่ภายใน แต่ตัวสติตามจิตไม่ทัน ทำให้ไม่ทราบสภาวะที่จิตเสวยอารมณ์ดังกล่าว เป็นความสงบจัดอยู่ในระดับฌาณ- เพราะ วิตก วิจารและปิติดับแล้ว สุข+สงบ เอกคตาตั้งอยู่ จิตยังคงเสวยอารมณ์เหล่านี้อยู่

    ให้เดินสติฝึกสติให้มากเป็นเป็นการนำสติมาช่วยเสริมสมาธิให้มีกำลังมากขึ้น พร้อมด้วยให้นำสติมาควบคุมจิต นำจิตเข้าสู่สภาวะที่ทิ้ง วิตกวิจารปิติสุข ให้ปล่อยผ่านไปเข้าสู่ ความสงบว่าง เป็นกลางนิ่งอยู่ จิตรวมเป็นหนึ่งเดียวมีกำลังมาก สงบนิ่งหนักแน่นอยู่ภายใน หรือเข้าสู่ฌาณ4 ต่อไป พอไปถึงตรงนี้ได้แล้ว ค่อยเดินวิปัสสนาต่อนะครับ
    สาธุครับ
     
  5. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    ถ้าเป็นผม ผมจะค่อยๆถอน แล้วเอาจิตวางที่ตัวเรา ทั้งตัวเลยนะ เอาให้มันรวมๆกัน จะบอกไงดี คือ รู้สึกได้ทั้งตัวพร้อมๆกัน ให้เป็นอันเดียวกัน แล้วค่อยๆดูว่า ตอนนั้นมีอะไรเกิดขึ้น ห้ามสังเกตุนะครับ นั้งจับรวมๆแบบนั้น ถ้ามีอะไรขึ้นมาก็ไป รับรู้แล้วก็วาง ก็กลับมาจับใหม่ แรกๆก็อาจจะหลุดบ่อย ไม่เป็นไรค่อยๆทำ ช่วงนี้ผมก็ไม่ค่อยได้นั้ง อาศัยแต่ พุทธโธ ทุกที่เมื่อนึกขึ้นได้ อนุโมทนาครับ
     
  6. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    คนที่อยากได้ฌานฟังไว้นะครับ อย่าไปนั้งสนใจมากว่าฌานที่เท่าไรแล้ว
    มันจะไม่ไปไหน

    ปล.ไม่มีอะไรเลย
     
  7. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    กำหนดที่กายสังขารอย่างไรขอรับ

    หากเราตามดูตามรู้ไปเฉยๆเราก็จะได้คำตอบ
    แต่หากอยู่ในสมธิที่กายเบาตัวเบาแล้วสงบ

    รู้สึก

    แล้วมีคำสอนอยู่ว่าสงบนิ่งแล้วรออยู่

    หลายท่านว่าทำไมไม่ไปต่อตั้งนาน
    ทุนที่เอามาใช้หมดหรือไม่อย่างไร
    ไม่ไปทำบุญทำทานทำพละทำปารมีต่อ
    แล้วจะเอาที่ไหนไปจ่ายให้เขาไปต่อ

    ลองหาทุนเพิ่มไหมขอรับ
    ต้องทำเองไม่มีการสอบชิงทุน

    ไม่สนแสงสีเสียงหากจะมีเกิดเอง
    ไม่มีสิดีมากอุปทานไม่เกิดหรือไม่อย่างไร

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้ว
     
  8. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ผมก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเขามีกฎมีเกณฑ์กันอย่างนี้
    แล้วพอเข้ามาศึกษาท่านว่าอย่างนั้นท่านว่าอย่างนี้
    แต่เมื่อเอาเข้าจริงๆแล้ว
    ท่านว่าก็ถูกของท่านเหมือนกัน

    เราก็สอบเอาอย่างที่ท่านว่า

    หากเป็นจริงแล้วที่สุดไม่มี

    อย่าสนว่าอย่างไรหรือไม่

    เดินหน้าต่ออย่างเดียว
    คนที่อยู่ข้างหน้าเราท่านก็ก้มหน้าก้มตาเดิน
    นานครั้งหันมาดูเราครั้งหนึ่ง
    ไม่เหนือบ่ากว่าแรงท่านก็ยื่นมือมาเอง
    หรือไม่อย่างไร
    กับคนที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

    ถูกต้องแล้วครับ

    ลองไปอีกว่าไปได้อีกหรือไม่
    หากไปได้อีกก็ให้รีบเท่านั้นหรือไม่อย่างไร
    ที่สุดไม่มี

    รอดไม่รอดตอนไหน
    อินทรีย์หมดไขน้ำมันแล้วหรือไม่อย่างไร

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...