เรื่องเด่น การเข้าฌานในระดับผู้เชี่ยวชาญ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 19 ตุลาคม 2012.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    พอดีวันนี้ผมสะดุดใจกับพระสูตรในวันนี้ครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระธรรมเสนาบดี คือท่านพระสารีบุตรซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอนุชาตบุตรของพระองค์โดยธรรม เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต ลองดูครับว่าที่สรรเสริญกันว่าพระธรรมเสนาบดีๆนั้นเป็นอย่างไร

    ใน9พระสูตรแรกมีใจความคล้ายกัน คือสมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่พระนครสาวัตถี ณ พระวิหารเชตวัน ในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้เข้าไปพักผ่อนในป่าอันธวัน นั่งพักผ่อนที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าสู่พระวิหารเชตวัน ท่านพระอานนท์แลเห็นพระมหาเถระแล้ว กล่าวปฏิสันถารว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใส สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร

    ครั้งหนึ่งท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส เราเข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แต่เราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเรากำลังเข้าปฐมฌานแล้ว หรือกำลังเข้าปฐมฌาน หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว ความจริงแล้วท่านพระสารีบุตรละอหังการ มมังการและมานานุสัยได้เสียนานแล้ว ท่านจึงไม่คิดว่าเราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือกำลังเข้าปฐมฌาน หรือออกจากปฐมฌานแล้ว

    อีกครั้งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส เราเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน ไม่มีวิตก วิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แต่เราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเรากำลังเข้าทุติยฌานแล้ว หรือกำลังเข้าทุติยฌาน หรือว่าออกจากทุติยฌานแล้ว ความจริงแล้วท่านพระสารีบุตรละอหังการ มมังการและมานานุสัยได้เสียนานแล้ว ท่านจึงไม่คิดว่าเราเข้าทุติยฌานอยู่ หรือกำลังเข้าทุติยฌาน หรือออกจากทุติยฌานแล้ว

    ฯลฯ

    พระสูตร9พระสูตรก็กล่าวถึงรูปฌาน4 อรูปฌาน4 และมาถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งหมายถึงว่าท่านพระสารีบุตรนี้สามารถเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธในขณะที่ท่านกำลังเดินและเอ่ยปากสนทนาปราศรัยได้ สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นพระอรหันต์โดยทั่วไปนั้นโดยการนั่งสมาธิไม่ขยับกายเป็นเวลา7วัน แม้ลมหายใจเข้าออกก็สงบลง ท่านอธิบายว่าเพราะว่าท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าท่านเข้าสมาธิแล้ว หรือกำลังเข้าสมาธิ หรือว่าออกจากสมาธิแล้ว และท่านถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยได้แล้ว

    พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม9 สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค สารีปุตตสังยุต ครับ

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ********************************************************************

    ๗. สารีปุตตสังยุต


    ๑. วิเวกสูตร

    ว่าด้วยปฐมฌาน


    [๕๐๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
    *บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร
    และจีวร เข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว
    กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่ง
    พักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว
    เข้าไปยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระ
    สารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้
    ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. อาวุโส เรานั้นไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เรา
    เข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว
    . แท้จริง
    ท่านพระสารีบุตรถอนทิฏฐิคืออหังการ ตัณหาคือมมังการ และอนุสัยคือมานะออกได้นานแล้ว
    ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว
    หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว.


    จบ สูตรที่ ๑.


    ๒. อวิตักกสูตร

    ว่าด้วยทุติยฌาน


    [๕๐๙] พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าวกะ
    ท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส
    วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง
    จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข
    เกิดแต่สมาธิอยู่. อาวุโส เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าทุติยฌานอยู่ หรือว่าเข้าทุติยฌานแล้ว
    หรือว่าออกจากทุติยฌานแล้ว ฯลฯ


    จบ สูตรที่ ๒.


    ๓. ปีติสูตร

    ว่าด้วยตติยฌาน


    [๕๑๐] พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าว
    กะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด
    ผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโสดังเราจะบอก เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
    ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็น
    ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่. อาวุโส เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าตติยฌานอยู่
    หรือว่าเข้าตติยฌานแล้ว หรือว่าออกจากตติยฌานแล้ว ฯลฯ


    จบ สูตรที่ ๓.


    ๔. อุเปกขาสูตร

    ว่าด้วยจตุตถฌาน


    [๕๑๑] พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าว
    กะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส
    วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
    เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. อาวุโส
    เรามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือว่าเข้าจตุตถฌานแล้ว หรือว่าออกจากจตุตถฌานแล้ว ฯลฯ

    จบ สูตรที่ ๔.


    ๕. อากาสสูตร

    ว่าด้วยอากาสานัญจายตนฌาน


    [๕๑๒] พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าว
    กะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด
    ผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย
    คำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่
    กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้า
    อากาสานัญจายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าอากาสานัญจายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ฯลฯ


    จบ สูตรที่ ๕.


    ๖. วิญญาณสูตร

    ว่าด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน


    [๕๑๓] พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึง
    กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด
    ผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึง
    ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส
    เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ฯลฯ

    จบ สูตรที่ ๖.


    ๗. อากิญจัญญายตนสูตร

    ว่าด้วยอากิญจัญญายตนฌาน

    [๕๑๔] พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าว
    กะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส
    วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า
    ว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่.
    อาวุโส เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าอากิญจัญญายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าอากิญจัญญายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ฯลฯ

    จบ สูตรที่ ๗.


    ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร

    ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน


    [๕๑๕] พระนครสาวัตถี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล จึงกล่าว
    กะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่าน ผ่องใส
    วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า
    เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ฯลฯ

    จบ สูตรที่ ๘.


    ๙. นิโรธสูตร

    ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ


    [๕๑๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิก-
    *เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
    เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาต
    ภายหลังภัต เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้
    แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปยังพระวิหาร
    เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมาแต่ไกล
    จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมด
    จด ผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ
    ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวงอยู่. อาวุโส เรามิได้คิดอย่างนี้ว่า เรา
    เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว.
    แท้จริง ท่านพระสารีบุตร ถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้นานแล้ว ฉะนั้นท่านพระสารีบุตรจึงมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว.


    จบ สูตรที่ ๙.


    ๑๐. สูจิมุขีสูตร

    ว่าด้วยความแตกต่างการเลี้ยงชีวิตของสมณพราหมณ์


    [๕๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้
    พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป
    บิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกในพระนครราชคฤห์แล้ว อาศัยเชิง
    ฝาแห่งหนึ่งฉันบิณฑบาตนั้น. ครั้งนั้น นางปริพาชิกาชื่อสูจิมุขี เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่
    อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสมณะ ท่านก้มหน้าฉันหรือ? ท่านพระสารี-
    *บุตรตอบว่า ดูกรน้องหญิง เรามิได้ก้มหน้าฉัน.

    สู. ถ้าอย่างนั้น ท่านแหงนหน้าฉันหรือสมณะ?

    สา. เรามิได้แหงนหน้าฉันหรอกน้องหญิง.

    สู. ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือสมณะ?

    สา. เรามิได้มองดูทิศใหญ่ฉันหรอกน้องหญิง.

    สู. ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศน้อยฉันหรือสมณะ?

    สา. เรามิได้มองดูทิศน้อยฉันหรอกน้องหญิง.

    สู. ดิฉันถามว่า ดูกรสมณะ ท่านก้มหน้าฉันหรือ ท่านก็ตอบว่า เรามิได้ก้มหน้าฉัน
    หรอกน้องหญิง ดิฉันถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านแหงนหน้าฉันหรือสมณะ ท่านก็ตอบว่า เรามิได้
    แหงนหน้าฉันหรอกน้องหญิง ดิฉันถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือสมณะ
    ท่านก็ตอบว่า เรามิได้มองดูทิศใหญ่ฉันหรอกน้องหญิง ดิฉันถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดู
    ทิศน้อยฉันหรือสมณะ ท่านก็ตอบว่า เรามิได้มองดูทิศน้อยฉันหรอกน้องหญิง ก็บัดนี้ ท่านฉัน
    อย่างไรเล่าสมณะ?

    สา. ดูกรน้องหญิง ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุ
    ดิรัจฉานวิชา คือ วิชาดูพื้นที่ สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า ก้มหน้าฉัน. ดูกรน้องหญิง สมณ
    พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาดูดาวนักษัตร
    สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า แหงนหน้าฉัน. ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยง
    ชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุประกอบการรับส่งข่าวสาส์น สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า มองดูทิศใหญ่
    ฉัน. ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา
    คือ วิชาทายองค์อวัยวะ สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า มองดูทิศน้อยฉัน. ดูกรน้องหญิง ส่วน
    เรานั้นมิได้เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาตรวจพื้นที่ มิได้เลี้ยงชีพด้วย
    มิจฉาชีพเหตุดิรัจฉานวิชา คือวิชาดูดาวนักษัตร มิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุประกอบการ
    รับส่งข่าวสาส์น มิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาทายองค์อวัยวะ (แต่)
    เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม ครั้นแล้วจึงฉัน.

    ครั้งนั้น นางสูจิมุขีปริพาชิกาเข้าไปในนครราชคฤห์ จากถนนหนึ่งไปอีกถนนหนึ่ง จาก
    ตรอกหนึ่งไปอีกตรอกหนึ่งแล้ว ประกาศอย่างนี้ว่า ท่านสมณศากยบุตรทั้งหลายย่อมฉันอาหาร
    อันประกอบด้วยธรรม สมณศากยบุตรทั้งหลายย่อมฉันอาหารอันหาโทษมิได้. ขอเชิญท่านทั้งหลาย
    ถวายบิณฑบาตแก่สมณศากยบุตรทั้งหลายเถิด.

    จบ สูตรที่ ๑๐.


    จบ สารีปุตตสังยุต.


    ที่มา การเข้าฌานในระดับผู้เชี่ยวชาญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ตุลาคม 2012
  2. คนชอบอ่าน

    คนชอบอ่าน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +65
    เพิ่งหยิบหนังสือเรื่องนี้มาอ่าน "หลวงปู่หา" หรือที่ใครๆต่างตั้งสมญานามท่านว่า "หลวงปู่ไดโนเสาร์"

    ท่านเล่าเรื่องที่ครั้งหนึ่ง
    ท่านอธิฐานจิต จะนั่งกรรมฐานบนยอดภูกุ่มข้าว 7 วัน 7 คืนโดยไม่ฉันท์อะไรเลย
    แล้วจู่ๆหลายครั้งในตอนกลางคืน "สัมพเวสีในร่างไดโนเสาร์" ก็จะมาคุ้ยหาเศษบุญในกลดของท่าน

    >>> ญานย้อนอดีตถึงกว่า 150 ล้านปี ทำให้ท่านกลับไปพบฝูงไดโนเสาร์ <<<

    เพราะญานของท่านแท้ๆ ทำให้ประเทศไทยค้นพบซากโดโนเสาร์ ในจุดที่ท่านเห็นในฌานครั้งใหญ่มากที่สุดในโลก จนเกิดพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งภูกุ้มข้าว กาฬสินธิ์ มาจนทุกวันนี้

    ลองหาอ่านดูนะ สำหรับคนที่ยังไม่เชื่อเรื่องของ "ฌาน"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2012
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อนุโมทนา สาธุ
     
  4. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ขอบคุณคะ โมทนาทุกบุญกุศล ที่ท่านทำคะ
    สาธุ สาธุ สาุธุ คะ
     
  5. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    นานๆเจอกระทู้น่าสนใจ อดเข้ามาตอบไม่ได้ มองเห็นไหม เข้าใจไหม ?

    ขออนุญาตครับ

    บทสรุปของธรรมข้อนี้คือ

    รู้อะไร ลืมให้หมด
    เห็นอะไร ละให้หมด

    จิตอยู่กับ ลมหายใจเพียงอย่างเดียว
    เพิ่มกำลัง สติ
    เพิ่มกำลัง สมาธิ
    สองอย่างเท่านั้น

    เมื่อกำลังสติ เมื่อ กำลังสมาธิ เต็มเปี่ยม
    ก็จะรู้ธรรม เห็นธรรม ได้เอง

    เมื่อ มรรค ๘ รวมลงเป็นหนึ่ง ธรรม ก็จะเกิดขึ้น

    เมื่อไปถึงจุดหมาย ก็จะรู้ว่าถึงจุดหมาย
    โดยไม่มีความจำเป็นว่า
    "ต้องไปสนใจจดจำเส้นทางที่ดำเนินมา แต่อย่างใด"

    เหมือนคนที่ขับรถจากกรุงเทพฯ ไป เชียงใหม่
    เมื่อไปถึงเชียงใหม่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นว่า

    ที่ขับรถจาก กรุงเทพฯ ไปถึง เชียงใหม่ นั้น
    ขับไปเส้นทางไหน
    ผ่านอะไรมาบ้าง
    ใกล้ ไกล ขนาดไหน
    ไม่จำเป็นต้องไปเมื่อย ไปจดจำ

    นี่เป็นเหตุว่า ทำไม พ่อแม่ครูบาอาจารย์จึงสอนว่า

    "รู้อะไรมาลืมให้หมด"
    ก็เพราะว่า เมื่อ รู้อะไร เห็นอะไร จิต ก็มักจะนำมาเปรียบเทียบว่า
    "ถึงไหนแล้วๆ"

    ทำให้ท่านที่ไม่รู้อะไรเลย กลับสามารถ ปฏิบัติ ธรรม ไปได้เร็ว

    เพราะ ไม่ต้อง เสียเวลาไป คิด ไปเปรียบเทียบกับอะไร

    ก็เลยกลายเป็น


    ท่านจึงไม่คิดว่าเราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือกำลังเข้าปฐมฌาน หรือออกจากปฐมฌานแล้ว

    แต่เราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเรากำลังเข้าทุติยฌานแล้ว หรือกำลังเข้าทุติยฌาน หรือว่าออกจากทุติยฌานแล้ว

    เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าตติยฌานอยู่
    หรือว่าเข้าตติยฌานแล้ว หรือว่าออกจากตติยฌานแล้ว ฯลฯ


    เรามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือว่าเข้าจตุตถฌานแล้ว หรือว่าออกจากจตุตถฌานแล้ว ฯลฯ

    เรามิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้า
    อากาสานัญจายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าอากาสานัญจายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ฯลฯ


    เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ฯลฯ

    เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าอากิญจัญญายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าอากิญจัญญายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ฯลฯ

    เรานั้นมิได้คิดอย่างนี้ว่า
    เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ หรือว่าเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว หรือว่าออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ฯลฯ


    ฉะนั้นท่านพระสารีบุตรจึงมิได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว.

    ท่านอธิบายว่าเพราะว่าท่านไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าท่านเข้าสมาธิแล้ว หรือกำลังเข้าสมาธิ หรือว่าออกจากสมาธิแล้ว

    สรุป
    ท่านที่รู้มาก ท่านที่สนใจมาก ท่านที่เจี้ยยแจ้ว ทั้งหลาย
    กลับเป็นตุ้มลูกใหญ่ถ่วงความเจริญก้าวหน้าของตนเอง

    ท่านที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่สนใจอะไรเลย
    เพียรปฏิบัติไปๆ กลับเจริญ ก้าวหน้าในธรรม

    เมื่อรู้แล้ว ก็ปล่อยวาง
    สู้ไม่รู้อะไรเลย ยิ่งดีกว่า จะได้ ไม่ต้องปล่อย ไม่ต้องวาง

    ผู้รู้มาก กลายเป็น ปฏิบัติได้ยาก
    ผู้รู้น้อย กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ ปฏิบัติไปได้เร็วซะนี่

    ดีไม่ดี ในบางท่าน ปฏิบัติไปๆ โดยไม่รู้อะไรเลย
    พอพบพอเจอ ครูบาอาจารย์ ถึงกับงง


    "ปฏิบัติมาได้อย่างไร ไม่มีครู ไม่มีอาจารย์"
    "แล้วมันมาถึงนี่ได้อย่างไร"
    "ปฏิบัติมาโดยไม่รู้อะไรเลย"
    "แล้วมันมาถึง อภิญญาญาณ ได้อย่างไร"

    ธรรม มันอยู่ในจิต ไม่ว่าจิตจะรู้หรือไม่

    เมื่อนำธรรมนั้นๆมาพิจารนา จึงได้รู้ว่า
    เราก็รู้ เราก็เข้าใจในธรรมนั้น

    นี่ล่ะคือ สุดยอดแห่ง ปัญญา

    เปรียบเหมือน ดาบที่อยู่ในฝัก
    มันก็อยู่ของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อจะใช้มัน ก็ ชักมันออกมา จึงจะใช้มันได้
    เมื่อใช้มันแล้ว ก็เก็บมันเข้าฝักๆเอาไว้ตามเดิม


    ขอโมทนาบุญร่วมกับท่านเจ้าของกระทู้ ที่นำธรรมดีๆ มาถึงกับ ทำให้ผม อดตอบให้ไม่ได้

    ทั้งๆที่ผม ทิ้งห้องนี้ไปตั้งนานแล้ว

    ขออนุโมทนา

    ลุงมหา

    ถ้าท่านผู้ใดว่าง และ มีเวลาพอ ก็ลองไล่อ่าน
    คำตอบเดิมที่ผมเคยตอบเอาไว้ที่ เว็บลิ้งค์ข้างล่าง ดูนะครับ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=8JYO_pXRPrw&feature=relmfu"]???????????????? ??????? 55 ????????? 61 ????? ??????? ??? ? ?????? ????????? 16 ? ? 55 FHD 1920 X 1080 - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=_ixynWpXFxE&feature=plcp"]????????????????????? ??????????????? ??????? ??????? 1 5 ?????? 2552 ?????? 2 3 - YouTube[/ame]

    http://palungjit.org/posts/3684636

    http://palungjit.org/search.php?searchid=2394064

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012
  6. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ไม่ใช่สิคร้าบ ท่านลุงมหาใหญ่ อาโรโย อาโรโย นิ้วชี้ฟ้า หน้าก้มกิน

    "สัญญาขันธ์ไม่เที่ยง" ต่างหากที่ ข้อธรรมที่ว่าด้วยทุกข์ เป็นเรื่องชี้ทุกข์ เห็นทุกข์
    ที่บุคคลผู้ ทำอานาปานสติกรรมฐาน จะพึงอาศัยระลึกไว้ในใจ อย่างแยบคาย

    ไม่ใช่ไปตั้งเจตนาว่า "รู้อะไร ลืมให้หมด" เพราะ "รู้อะไร มันก็ไม่เที่ยง" ซึ่งจะต่าง
    กันมาก กับ รู้อะไรลืมให้หมด รู้อะไร แล้วตามเห็นว่ามันไม่เที่ยง ตรงนี้จะทำให้รู้
    ได้อย่างมากมาย รู้และ ระลึกได้แม่นยำด้วย

    เช่น กรณีที่พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญพระสารีบุตรว่า เป็นผู้เดียวที่นับ เม็ดทรายใน
    มหาสมุทรได้ครบถ้วน ไม่ตกหล่น ไม่มีเออะอะ หลงลืม นี่ก็เพราะว่า นับแล้วก็ไม่ใช่
    ลืมให้หมด นับหนึงลืมหนึง นับสองลืมสอง แล้วมันจะขึ้น สาม สี่ ได้ไหม มันก็วน
    มานับหนึ่ง นับสองใหม่ ...... แต่ถ้า รู้อะไรแล้วระลึกเอาว่ามันก็ไม่เที่ยง แบบนี้
    จิตก็จะแคล้วคล่อง นับไปถึง สี่หมื่นสามพันห้าร้อยล้านแสนยี่สิบสี่เมล็ด ก็จะไม่ยึด
    ติด นับแล้วเหมือนเข็มสละด้ายนับเป็น สี่หมื่นสามพันห้าร้อยล้านแสนยี่สิบห้าเมล็ดต่อ
    ไปได้เลย ไม่ติดไม่ข้อง

    ส่วนเรื่อง "มานะ" นั้น อันนี้ก็ต้องชี้กันว่าเป็น อาสวะเฉพาะพระสารีบุตร ที่ท่านภาวนา
    ชนมาตลอด แต่มันละเอียดมาก แม้จะบรรลุโสดาบันแล้ว ก็ยังเพ่งเล็งเห็นความปราณีต
    ของมานะไม่ได้ มาเห็นได้ก็ตอนที่ พระเจ้ามหานามมาบ่นกระปอดกระแปดกับพระ
    พุทธองค์ ว่า "ข้าพเจ้าไม่พอใจ ข้าเจ้าไม่พอใจทั้งหมด" ระหว่างที่พระสารีบุตรพัดวีให้
    กับพระพุทธองค์ พอเห็น มานะ สั่นไหวขึ้นมาเท่านั้น ก็ระลึกได้ แล้วประหานเสียจนสิ้น
    อาสวะสำเร็จเป็นอรหันต์.....

    ในบทจึงมีการกล่าวว่า พระสารีบุตร ท่านละมานะมานานแล้ว คือ ละมาตั้งแต่ยังเป็นปุถุชน
    นู้นแหละ ท่านภาวนาดูมานะมาตลอด มาอย่างยาวนาน และได้ดีก็เพราะ บริหารมานะเอา
    ไว้ได้อยู่หมัด ตอนเจอพระอัสสชิ จึงเกิดความเลื่อมใสได้ไม่ยาก พอฟังธรรมอีกนิด ก็
    บรรลุโสดาบัน

    แล้ว นี่มีใครสัญญาไม่เที่ยงกันบ้างว่า

    พระโมคคัลลานะ พระที่เป็นผู้เลิศด้านฤทธิ์เนี่ยะ ใครสอนธรรมท่านให้ บรรลุโสดาบัน

    ก็เป็น พระสารีบุตร ผู้ไม่มีฤทธิ์ ผู้ถูก สาวกชั้นหลังค่อนแคะว่าเป็น สุขวิปัสสโก สอน
    อัชฌาศัยผู้มีอัชฌาศัยทางฤทธ์ไม่ได้ นู้นว่าไปนู้น ก็เห็นกันอยู่ เด็กอนุบาลเขา
    ก้ฟังแล้วเขาใจว่า พระสารีบุตรผู้ไม่มีฤทธิ์นี่แหละสอนพระโมคคัลลานะให้สำเร็จ
    โสดาบันได้

    ใครก็ตามที่ ไปจำคำสอนแปลกๆมาว่า คนที่ไม่มีอัชฌาศัยทางฤทธิ์สอนคนที่มี
    อัชฌาสัยให้บรรลุธรรมไม่ได้ ก็พิจารณากันเสียหน่อยนะ อย่าได้ ถือ อะไรที่จะ
    ทำให้เป็นการ ขุดตัวเอง เสียเปล่าๆปลี้ๆ เพราะ ค่อนแคะเอาที่ ธรรมมหาเสนาบดี
    โดยไม่รู้ตัว..........(หากอยากจะถือ เพราะว่า เป็นคำของครูตน ก็ให้ เงียบๆ
    เก็บไว้ ไม่เอามากล่าวเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตาม ก็ไม่เสียหายอะไร ไม่ว่ากัน)

    ทั้งนี้เพราะ

    การสอนธรรมะ นั้น เป็น เรื่องการสอนที่มุ่งทำให้บุคคลสิ้นกิเลสตัณหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2012
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เนื่องจาก มีสมาชิกบางท่าน พยายามเน้นข้อความตรงท่อน " แท้จริง....... "
    เพื่อเหมือนให้เข้าใจว่า พระสารีบุตร เข้ากรรมฐานเช่นนี้ได้ ก็เพราะว่า สำเร็จ
    อรหันต์ได้นานแล้ว จึงได้เข้ามี วิหารธรรม ตามที่ปรากฏได้

    อันนี้ ขอพาเพื่อนๆ กลับมาดู บทบาลี กันสักหน่อย แล้ว ลองพิจารณาก่อน

    [​IMG]

    จากบทบาลี จะขอ ชี้ไปที่คำว่า "ตถา หิ" ซึ่งในบทแปล ที่ถูกเน้น ไปแปลเป็น
    คำว่า "แท้จริงแล้ว...." แต่ คำว่า "ตถา หิ" นั้น จริงๆแปลว่า "ฉันนั้นแล, เพราะเหตุ นั้น, จริงอย่างนั้น."

    ดังนั้น การไปแปลว่า "แท้จริงแล้ว..........." ก็เหมือนจะแปลผิดกระแสความ

    เพราะหากใช้คำว่า "เพราะเหตุนั้น....." ก็จะยังทำให้ กระแสความที่กล่าวมาข้าง
    ต้นทั้งหมด คือ "ส่วนเหตุ"

    ถ้าไปแปลเอาตามำว่า "แท้จริงแล้ว.........." ส่วนเหตุ ก็จะผลิก กลายเป็นว่า
    เอา ประโยคต่อมามาเป็นส่วนเหตุ ซึ่ง ทำให้ เข้าใจผิดได้อย่างมาก

    เช่น

    ผมกล่าวว่า "ผมนั้นนั่งทำสมาธิมีในวิหารธรรมอย่างนี้เป็นจำนวนมาก" เพราะเหตุนั้น
    "อนุสัยสันดานจึงถูกซักฟอกอยู่อย่างยาวนานตามไปด้วย" เพราะฉะนั้น(ตสฺมา) เรา
    จึงเข้าวิหารธรรมเช่นนั้นได้

    ซึ่งจะคนละเรื่องกัย

    แท้จริง "อนุสัยของผมถูกซักฟอกมานานแล้ว" กระผมจึง "อยู่ในวิหารธรรมดังกล่าวได้
    จำนวนมาก" เพราะฉะนั้น(ตสมา) เราจึงเข้าวิหารธรรมเช่นนั้นได้

    ****************************

    ก็ขอให้พิจารณาดีๆ อะไรเป็น ประโยคแทนกริยา คือ การมีวิหารธรรม หรือ การละ
    มานานุสัยได้นานแล้ว

    ถ้าคุณอ่านเห็น ประโยคที่เป็น กริยา อันเป็น เหตุได้ถูก ก็จะเข้าใจว่า อะไรคือเหตุของ
    อินทรีย์ผ่องใส

    โดยปรกติ คนทั่วๆไป เขาก็เข้าใจกันว่า เพราะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธน อินทรียจึงผ่องใส

    แต่ถ้า ใครจะบ้าจี้ ไปตามที่เขาเน้นว่า เพราะละมานานุสัยได้นานแล้วตะหาก เว้ยเฮ้ย อินทรีย์
    จึงผ่องใส ก็ว่ากันไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Untitled.jpg
      Untitled.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.8 KB
      เปิดดู:
      784
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2012
  8. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273
    เอาว่าเข้าใจแล้ว ๆ ๆ คำอธิบายชอบแล้วทุก ๆ ท่าน .... และคงบาลีไว้ เพื่อประโยชน์ในภายภาคหน้าสืบไป สาธุ ..
     
  9. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    "ปฏิบัติมาได้อย่างไร ไม่มีครู ไม่มีอาจารย์"
    "แล้วมันมาถึงนี่ได้อย่างไร"
    "ปฏิบัติมาโดยไม่รู้อะไรเลย"
    "แล้วมันมาถึง อภิญญาญาณ ได้อย่างไร"

    ธรรม มันอยู่ในจิต ไม่ว่าจิตจะรู้หรือไม่

    เมื่อนำธรรมนั้นๆมาพิจารนา จึงได้รู้ว่า
    เราก็รู้ เราก็เข้าใจในธรรมนั้น

    นี่ล่ะคือ สุดยอดแห่ง ปัญญา

    เปรียบเหมือน ดาบที่อยู่ในฝัก
    มันก็อยู่ของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อจะใช้มัน ก็ ชักมันออกมา จึงจะใช้มันได้
    เมื่อใช้มันแล้ว ก็เก็บมันเข้าฝักๆเอาไว้ตามเดิม

    กด LIKE เลยเจ้าคะ นาน นาน เจอคำที่ใช่ เจ้าคะ
     
  10. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    "ปฏิบัติมาได้อย่างไร ไม่มีครู ไม่มีอาจารย์"
    "แล้วมันมาถึงนี่ได้อย่างไร"
    "ปฏิบัติมาโดยไม่รู้อะไรเลย"
    "แล้วมันมาถึง อภิญญาญาณ ได้อย่างไร"

    ธรรม มันอยู่ในจิต ไม่ว่าจิตจะรู้หรือไม่

    เมื่อนำธรรมนั้นๆมาพิจารนา จึงได้รู้ว่า
    เราก็รู้ เราก็เข้าใจในธรรมนั้น

    นี่ล่ะคือ สุดยอดแห่ง ปัญญา

    เปรียบเหมือน ดาบที่อยู่ในฝัก
    มันก็อยู่ของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อจะใช้มัน ก็ ชักมันออกมา จึงจะใช้มันได้
    เมื่อใช้มันแล้ว ก็เก็บมันเข้าฝักๆเอาไว้ตามเดิม

    กด LIKE เลยเจ้าคะ นาน นาน เจอคำที่ใช่ เจ้าคะ

    ขออภัย กดทีเดียว มาสอง ไม่มีลบข้อความด้วย มีแต่แก้ใข ขออภัยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2012
  11. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ผู้ไม่เข้า ไม่ออก แต่เป็นผู้อาศัยอยู่สถานะเดียวคืออาศัยอยู่ในวิหารธรรม
    ผู้นั้นย่อมเป็นสุข โดยธรรม มีความสุขเบื้องต้น และมีนิพพานเป็นเบื้องปลาย
    เพราะให้ลองมองเข้าไปให้ลึกในสุดของวิหารธรรม เราก็จะพบแดนนิพพานอันเป็นที่สุดครับ
     
  12. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    ธรรมปฏิบัติ ปัญญา ความเข้าใจในธรรม

    ขออนุญาตครับ

    นานๆจะเจอคนที่เข้าใจ ในธรรมที่ผมบอกเล่าที
    ดีใจครับ ที่ยังมีคนเข้าใจ
    เวลาตอบปัญหาธรรมนั้น
    ส่วนมาก ผมจะตอบตามประสบการณ์ ธรรมปฏิบัติของตนเอง เป็นหลัก
    รองลงไปก็ตอบตาม ภูมิรู้ ภูมิธรรม ที่พอแม่ครูบาอาจารย์ได้สอนไว้
    ในส่วนที่ผม มีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในธรรมนั้น

    ถ้าท่านผู้ใดว่าง และ มีเวลาพอ ก็ลองไล่อ่าน
    คำตอบเดิมที่ผมเคยตอบเอาไว้ที่ เว็บลิ้งค์ข้างล่าง ดูนะครับ

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=8JYO_pXRPrw&feature=relmfu"]???????????????? ??????? 55 ????????? 61 ????? ??????? ??? ? ?????? ????????? 16 ? ? 55 FHD 1920 X 1080 - YouTube[/ame]

    การไปเขาคิชกูฐ เมื่ิอ เดือน กุมพาพันธ์ 2552 เทวดา ได้มากระซิบที่ข้างหูของผมว่า​

    "ให้ฝากตัวเป็นศิษย์ขององค์พระอัครสาวกทั้งสองท่านด้วย"​

    และผมก็ได้พระธาตุของครูบาอาจารย์ทั้งสองมากราบไหว้บูชาแล้ว​


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=_ixynWpXFxE&feature=plcp"]????????????????????? ??????????????? ??????? ??????? 1 5 ?????? 2552 ?????? 2 3 - YouTube[/ame]

    http://palungjit.org/posts/3684636

    http://palungjit.org/search.php?searchid=2394064

    ขออนุโมทนาบุญในธรรมของท่านด้วยนะครับ
    ลุงมหา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...