ลักษณะ "ว่าง" เป็นหลักธรรมขั้นใดครับ

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย ฟางว่าน, 15 ตุลาคม 2012.

  1. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ว่าง ที่ ดีที่สุด ของนิยาม คำว่าว่าง ก็คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดเลย สิ่งใดที่พูดถึงนี้ รวมถึง ตัวตน ตัวเรา ที่เป็นเรา เชื้อ ตัวเอง ตัวรู้เอง จิตรู้เอง นะคะ
    ก็คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ต่อสิ่งใดใด อีกแล้ว เพราะ รู้ความจริง ของทุกสรพพสิ่ง ค่ะ

    พูดมาซะยืดยาว ว่าง คือ ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ต่อ ตนเอง ค่ะ (ผู้รู้ ไม่ได้หมายถึง กายนะคะ ไม่ได้หมายถึงความคิดนะคะ ไม่ได้หมายถึงใจนะคะ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ตุลาคม 2012
  2. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ตกลง ที่ฉัน พูดมานี้ มีท่านใด ไม่เห็นด้วย ไม่เข้าใจ หรือ คัดค้าน หรือ สงสัย หรือ อยากถาม อะไรบ้างมั้ยคะ เพราะ ฉันก็ รู้ของฉันมาแบบนี้

    ฉันเองก็อยากรู้เหมือนกันค่ะ ว่า ท่านอื่น มีใครรู้ แบบฉัน หรือ ไม่เหมือนกัน อย่างไรคะ คุยกันได้นะคะ
     
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เห็นยังไงเหรอครับ ถึงว่า ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ต่อ ตนเอง
     
  4. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เห็นเพราะ ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้วไงคะ
    จากที่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกาย เวทนากาย ไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อความคิด จิต ใจ
    แล้วก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น ใน รู้ ตัวรู้ ตามที่คุณก็เคย พูดถึง ตัวรู้ นี้อยู่ มิไช่หรือคะ ถ้าฉันจำไม่ผิด น่ะค่ะ

    อยากทำได้จริง ต้องคุยกันนะคะ
     
  5. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ต่อสิคะ รออยู่ค่ะ นะคะ นะคะ

    หรือ ฉัน จะ ขอถามคำถาม หน่อย ได้มั้ยคะ :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ตุลาคม 2012
  6. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ผมว่ามันมีพ่อแม่ของมันอยู่ ส่วนที่กล่าวมานี้ ยังไม่ใช่ตัวพ่อหรือตัวแม่อะไร เป็นแค่ลูกหลานของเขาเท่านั้นเอง
     
  7. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ทำไม ท่านไม่เฉลยออกมาล่ะคะ ว่าตัวไหน คือ ตัวบิดาตัวมารดา ที่ท่าน เข้าใจ นั่น น่ะค่ะ จะได้ คุยกันต่อ ได้ไงคะ
     
  8. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ขอถามเลยนะคะ

    การปฏิบัติ ที่คุณเรียกว่า สติชอบ ของคุณ ปฏิบัติสติแบบไหนคะ
    และการปฏิบัติที่เรียกว่า สมาธิชอบ ของคุณ ทำสมาธิชอบแบบไหนคะ
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    คุณใจดี ๆ ว่า ในบรรดาทั้งหมดที่คุณกล่าวมา ตัวไหนที่คุณคิดว่า มันเป็นตัวที่มีความสำคัญที่สุด ใหญ่สุดในนี้ล่ะครับ ตัวนั้นแหละคือ ตัวพ่อตัวแม่ของมันเลยทีเดียวไหม หรือคิดว่าพอๆ กันหมด
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ที่สำคัญที่สุดสำหรับฉัน คือ ตัวรู้ ที่ยังไม่รู้ความจริงค่ะ ที่ยังไม่รู้ว่า เหตุแห่งทุกข์ ที่แท้จริง คืออะไร น่ะค่ะ
    ตอบแบบนี้ พอจะ คุยกันต่อได้มั้ยคะ หรือ ไม่เข้าใจ คะ

    คุณเคยเห็นตัวรู้มั้ยคะ คุณคิดว่า ตัวรู้ มีจริงมั้ยคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ตุลาคม 2012
  11. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ความจริงแล้ว ควรต้องทำความเข้าใจในเรื่องของการปฏิบัติธรรม ว่ามีกี่อย่าง มีกี่แบบ จะได้เกิดความเข้าใจไม่สับสน
    ด้วยเหตุที่ในทุกสถานของวัดบ้าง สำนักสงฆ์บ้างที่เปิดสอนหรือเปิดให้ศรัทธา ไปประกอบกิจกรรมทางศาสนา เรียกการนั่งสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธิ ว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ทุกคนที่ไม่รู้ไม่เข้าใจก็มักจะเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมคือการนั่งสมาธิ เดินจงกรม แต่เพียงอย่างเดียว
    ความจริงแล้ว การปฏิบัติสมาธิ เดินจงกรม เพ่งกสิณ เป็นการ ฝึกตน จะเรียกว่าการปฏิบัติธรรม ก็ได้ แต่เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานของจิตใจและสมอง ในอันที่จะฝึกตนในชั้นต่อต่อไป
    ถ้าบุคคลใดก็ตาม ปฏิบัติสมาธิ เพ่งกสิณ จนใจมีสมาธิ คือ เอกัคคตา จะเรียกว่า "ว่าง" ก็ได้ เพราะไม่คิดอะไร ไม่ท่องบนอะไร ทั้งใจและสมอง ก็นับว่า สำเร็จธรรม ชั้นที่ ๔ (สี่) หรือชั้นที่๕(ห้า) จะเรียกว่าเป็นขั้นพื้นฐาน ก็ยังนับว่าสูงกว่า เพราะเมื่อใจเป็น เอกัคคตา หรือสิ่งที่คุณเรียกว่า "ว่าง" ก็แสดงว่า บุคคลนั้นๆ สามารถควบคุม สมอง จิตใจ ความคิด การระลึกนึกถึง ความรู้สึก อารมณ์ ได้ หากฝึกตนต่อไปอยู่เป็นนิจ ก็จะกลายเป็นกลไกอัตโนมัติ คือร่างกายจะทำงานเป็นอัตโนมัติ มีสติสัมปชัญญะที่ดียิ่ง ไม่โกรธง่าย ไม่หลงง่าย ไม่โลภง่าย สามารถบรรลุมรรคผล เข้าสู่ชั้น โสดาบันได้ แต่ต้องมีธรรมะประกอบ
    ซึ่งตัวธรรมะที่บุคคลจะต้องปฏิบัตินั้น ก็เรียกว่า การปฏิบัติธรรม อีกอย่างหนึ่ง เป็นการปฏิบัติธรรม ตามหลักธรรม ต่างจากการฝึกตน หรือฝึกสมาธิ หรืออื่นๆที่เกึ่ยวข้องกับสมาธิ
    ถ้าจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็หมายความว่า
    การปฏิบัติสมาธิหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ เป็นเพียงปัจจัยหรือเครื่องประกอบ ในการที่จะปฏิบัติธรรมตามข้อธรรมะต่างๆ เอาแค่นี้ก่อนนะขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2012
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ตอบแบบไหนก็คุยต่อได้ครับ
    ตัวรู้ก็มีอยู่ ก็สักแต่ว่ารู้ เพราะมันไม่เที่ยง รู้นั้นไม่เที่ยง แต่บางทีเราก็ยังเผลอจมแช่ไปกับมัน ทั้ง ๆ ที่ว่าไม่เที่ยงอยู่นั่นเอง
     
  13. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    สมาธิก็ไม่เที่ยง ผู้รู้ก็ไม่เที่ยง สติก็ไม่คงอยู่ ผสมกับกิเลสที่เป็นอนัตตา ไม่ต้องพูดเรื่องว่างเลยเดี๋ยวก็ไม่ว่าง

    เห็นทั้งหมดแล้วมองด้วยความเป็นกลาง ถึงจะคลายความยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์5เป็นตัวตนได้
     
  14. caonimabijiba

    caonimabijiba สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    เอาเป็นว่าตามดูตามรู้ได้เท่านั้นแหละขอรับ
    มากไปเอามาวางข้างถนน
    ของสูงค่า
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อธิบายแบบนี้ ก็ชัดเจนขึ้นมาหน่อย

    ถ้า "ว่าง" แล้วปรารภ สัมมาสติ กับ สัมมาสมาธิ เราจะ เกิด "กังขา"

    กังขา ตัวนี้ไม่ใช่ ตัวนิวรณ์ ที่เป็น ลังเลสงสัย เพราะ ลังเลสงสัยนั้น
    ต้อง ขวางกั้นไม่ให้เราลงมือปฏิบัติ

    สังเกตนะว่า กังขา ตัวนี้ จะมี รสผลักดันให้งานเดิน งานมันต้องเดิน แต่
    มันกังขาว่า เอ....ทำไมงานมันไม่เดิน มันเหมือนเรามา ถึงยอดเขาแต่
    ระลึกได้ว่า.....ขาดอะไรไปสักอย่างหนึ่ง...แต่ยังระลึกไม่ออกว่าขาดอะไร

    ทั้งนี้เพราะ............ตอนไปยืนยอดเขาเนี่ยะ จิตมันไปเชื่อว่า ได้มาถึงยอดเขาแล้ว

    จิตมันถลำไปเอาผลงาน มันไม่ใช่เรา เราอุตสาห์ภาวนาจะมี สัมมาสติ กับ
    มี จิตตั้งมั่น จิตที่ไมใช่เรามันกลับ ถลำไปเอา จิตตั้งแช่ ขึ้นมา

    วิธีการจะออกรู้ หรือ เดินปัญญา ก็ไม่มีอะไรมาก ก็ ปฏิบัติไปแบบนั้นแหละ

    แต่พอเจอความว่าง เราก็ปล่อยมัน จิตมันไม่ใช่เรา เราจะไปบังคับมันไม่ได้

    มันจะตั้งแช่ ก็ยังดีกว่า ไปวุ่นวายในเรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นิมิตใดๆ

    เราก็ปล่อยมัน นิ่งแบบนั้น แต่.......แค่ หันมาดู กังขา ตัวนี้แหละ เจ้าตัว
    ที่มัน เอะใจว่างานมันไม่เดิน หรือ งานมันขาด ไปนั่นแหละ แล้วพอระลึก
    รส กังขา ได้ชัดๆ ก็จะ กลายเป็น "กังขาวิตรณวิสุทธิ" ขึ้นมา

    พอเป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ ปั๊ป มันจะสะเทือนไปหมด มันจะรู้เลยว่า จิตตะกี้
    เป็นการ รีบร้อนเอาผลงานการอยู่บนยอดไม้ ปฏิบัติแล้ว รีบไปยืนสูงเด่น
    นิ่งสงบบนยอดไม้ เนี่ยะ การสะดุ้งเห็นการ ยืนบนยอดไม้ มันก็คือ งาน

    ทันไหม เราไปอยู่ใน "ว่าง" ก็เอา ว่าง นั่นแหละ เป็น ตัวบริกรรม เป็นสัญญา
    อย่างหนึ่งเกิดขึ้น

    พอเรา ฝึกยกพิจารณา กังขา แล้วมันผลิกเป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ อันเกิด
    จากเราอบรมจิตที่ไม่ใช่เรา ที่มันถลำไปอยู่ในความนิ่ง เอาความนิ่งบ่อยๆ
    ซ้ำๆ เขา จิตมันถูกอบรมด้วยปัญญาซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็ ทนการพิสูจน์ไม่ได้

    ความว่างนั้น ก็จะถูก ยกขึ้นเป็น ของถูกรู้ถูกดู

    นี่เท่ากับ เราได้ สองเด้ง คือ มีจิตที่ไม่วิตกไปทาง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    และ นิมิต ห่างจากข้าศึก แถม ตอนจิตถอยออกมา หรือ ก่อนเข้า หรือแม้
    ขณะเข้า เราก็เอาความ ว่าง นั่นแหละมาเป็น ของถูกรู้ถูกดู เห็นความเปลี่ยน
    แปลง เกิดดับ ความว่างเกิดขึ้น แล้ว ความว่างก็ดับไป ฝึกบ่อยๆ ก็ได้
    ไตรลักษณ์ญาณ จิตมันก็ปล่อย

    ไอ้ตอนปล่อยนี่ ไม่ได้แปลว่า เลิกปฏิบัติไม่อยู่ในวิหารธรรม บริกรรม(ว่างๆ)มันก็
    อยู่ของมันอย่างนั้น แต่ บริกรรมนั้นเป็น เจตสิก อีกตัวหนึ่ง (อุเบกขา ถูกแยกออก
    จาก เอกัคคตา เรียกตามตำราใหม่ว่า ปัญจมฌาณ) ที่เป็นอาการของจิต .....แล้ว
    อะไรเห็น อาการของจิต หละ .........

    อย่ารีบตอบนะ ตอบไม่ได้ ถ้า บัญญัติเรียกปั๊ป จะเห็นเลยว่า จิตผลิกไปตั้ง
    แช่อีกแล้ว แทนที่จะ ตั้งมั่นอยู่ในความสงบ

    พอเห็นแบบนี้ คราวนี้ "ว่าง" กับ "สงบ" หรือ "มีอามิส" กับ "ไม่มีอามิส"
    มันจะเข้าใจ พอเข้าใจ คราวนี้ ขึ้นโพฌงค์7ครบรอบ มรรค8 ก็จะก่อเกิด
    ได้โดยเราไม่ต้องเจตนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2012
  16. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อยากให้เล่าให้ฟัง สภาวะที่ คุณ ว่า ยังเผลอ น่ะค่ะ

    ที่คุณ เรียกว่า เผลอ นั่น เผลอได้ยังไง คะ เป็นยังไงคะ แล้วเวลาแช่ แช่แบบไหนคะ ขอฟังรายละเอียด หน่อยค่ะ :cool:
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เผลอ คือ ขาดสติ ลืม หลง ไม่ทัน ปรุงแต่ง ให้ค่า ตีราคาจริงจัง กับสภาวะ ปรากฏการณ์ ผัสสะที่เกิดขึ้นตรงหน้า ณ เวลานั้น ปรุงแต่งกับความคิดกับอารมณ์อันที่ลืมหลงนั้นไป เรียกว่าติดตาข่ายมาร
     
  18. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ไม่ไช่ให้ตอบแบบกำปั้นทุบน้ำนะคะ

    เอาสภาวะที่เผลอจริงๆ ประสบการณ์จริงที่คุณ พบเจอจริงน่ะค่ะ มาบอกเล่า
    แล้วแบบนี้ ใครเขาอยากจะคุยกับคุณล่ะค่ะ ถามอย่างหนึ่งตอบอย่างหนึ่ง
    ไม่มีมารยาท กับคู่เสวนาเลยนะคะ
     
  19. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    จุดเริ่มต้นของความว่างและจุดสุดท้ายของความว่างของกระผมคือ เราจะมีความว่างได้ก็อาศัย การวาง
    คือรู้จักวางให้เป็น เมื่อวางเป็นแล้วความว่างย่อมเกิดขึ้นในธรรมารมณ์

    ท้ายที่สุดจะก็จะเข้าสู่ความเป็นโลกุตระธรรมคือ ต้องวางแม้กระทั่งความว่าง เมื่อมีปัญญาวางได้ ย่อมเข้าถึงความว่างอย่างแท้จริงครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  20. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ไช่ค่ะ เห็นด้วยนะคะ

    ที่ว่า ต้อง วางเป็น ตั้งแต่ แรก มาก่อน วางได้มาตลอด จน มาถึง ส่วนที่ ละเอียด ส่วนที่เป็น ตนเอง ก็ จะวางได้เช่นกันค่ะ

    เพราะ ถ้าวาง ส่วนอื่นที่ไม่ไช่ตัวเรา ไม่ไช่ตัวเอง ยังไม่หมด

    ก็จะวาง ตนเอง จริงๆ ไม่ได้ เลยค่ะ

    :cool::cool::cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...