อานิสงส์แห่งศีล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สะพาน, 2 ตุลาคม 2012.

  1. สะพาน

    สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +104
    อานิสงส์แห่งศีล


    สีเลนะ โภคะสัมปะทา โภคทรัพย์รักษา

    ด้วยศีลไม่ประมาทอาจหาญ

    มีศีลไม่เสียทรัพย์ผลาญ สำรวมสมาทาน

    งดเว้นสิ่งเป็นโทษทุกข์

    มีศีลเกียรติศักดิ์สนองสุข ประโยชน์ประยุกต์

    ขจรขจายขยายผล

    มีศีลสมาคมนิยมชน อาจหาญการกุศล

    ไม้เก้อไม่เขินสะเทิ้นอาย

    มีศีลศีลคุ้มจนตาย ไม่หลงกาลกลาย

    ย่อมตายสงบจบงาม

    มีศีลสิ้นใจศีลตาม ส่งถึงสวรรค์ยาม

    ดับขันธ์สุคติส่งเสริม

    กาพย์ฉบัง๑๖ ท้าวร่าย ได้ดี
    เพลินอ่านใจสุขี สุขล้น
    ศีลรักสัตย์ซื่อมี กำหนด
    ยามดับสิ้นชีพพ้น อวดยิ้ม เทวา


    โดย: เมธาพร 19 ม.ค. 49 - 23:21
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  2. สะพาน

    สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +104
    ปฏิจจสมุปบาท คือ อะไร ?
    เพื่อประโยชน์แก่การเข้าใจ ขอนำบทกลอนของท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลษ์ กวีรัตนโกสินทร์ ที่แต่งไว้อย่างไพเราะ มาประดับกระทู้นี้.

    @ เกลียวปัจจยาการ @

    ๑. อวิชชา
    ไม่รู้สิ่งอันไม่อาจรู้
    ไม่อยู่ในสภาพพึงรู้ได้
    ไม่รู้ธรรมดาอันเป็นไป
    ไม่รู้ว่าอยู่ในความไม่รู้

    ๒. สังขาร
    ปรุงแต่งเป็นรูปเป็นเรือนร่าง
    แตกต่างไปตามความเป็นอยู่
    ตามเหตุปัจจัยได้เชิดชู
    เป็นผู้เป็นคนตามครรลอง

    ๓. วิญญาณ
    ธาตุรู้จึงนำกำหนดรู้
    รู้สรรพสิ่งสู่รู้เกี่ยวข้อง
    รู้สึกนึกคิดเป็นจิตครอง
    รู้ตรองรู้ตรึกรู้ลึกซึ้ง

    ๔. นามรูป
    คือจิตคือกายเป็นไปตาม
    เป็นนามเป็นรูปรวมเป็นหนึ่ง
    เป็นองค์เอกภาพอันพร้อมพรึง
    เป็นครึ่งต่อครึ่งกลึงเกลียวกลม

    ๕. สฬายตนะ
    ตาหูจมูกลิ้นและกายใจ
    รูปเสียงกลิ่นได้สัมผัสสม
    รสชาติผัสสะธรรมารมณ์
    คือองค์อันอุดมได้เอื้ออิง

    ๖. ผัสสะ
    สัมผัสพบพ้องทั้งสองฝ่าย
    ฝ่ายกายใจกับสรรพสิ่ง
    เป็นประตูรับสรรพเท็จจริง
    วนวิ่งกับทวารกาลเวลา

    ๗. เวทนา
    จิตแล่นเร็วไวไปรับรู้
    ตาหูจมูกลิ้นสัมผัสสา
    กายใจไปรู้ไปรับมา
    ปรุงเป็นนานาสารพัน

    ๘. ตัณหา
    ปรุงเป็นความอยากอันหลากหลาย
    อยากกลายเป็นนี่และเป็นนั่น
    อยากเป็นอยากไม่เป็นอยากเช่นกัน
    ความอยากเท่านั้นที่นำทาง

    ๙. อุปาทาน
    ยึดมั่นถือมั่นสำคัญหมาย
    ยึดความว่างวายว่าไม่ว่าง
    ยึดตัวคนไว้ไม่ละวาง
    ยึดสร้างสมมติมายาการ

    ๑๐. ภพ
    มีตนจากการสำคัญตน
    มีต้นมีปลายให้สืบสาน
    มีความพร้อมเพรียงให้พ้องพาน
    มีฐานที่ตั้งแห่งตัวตน

    ๑๑. ชาติ
    ตัวตนเกิดแล้วทุกข์เกิดแล้ว
    ทิวแถวแห่งทุกข์ในทุกหน
    ทุกขณะแห่งจิตจักบันดล
    ความทุกข์เป็นผลในทุกภาย

    ๑๒. ชรา
    ทุกข์เกิดตั้งอยู่แล้วดับไป
    สิ้นสุดแต่ไม่เคยสิ้นสาย
    อาการแห่งทุกข์รุกรอยราย
    ทั้งกายทั้งใจถูกจองจำ

    เป็นเกลียวแห่งปัจจยาการ
    เป็นทวารไปสู่ความสูงต่ำ
    เป็นขณะแห่งจิตจักน้อมนำ
    เป็นปริศนาธรรมให้ทบทวน.

    เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  3. สะพาน

    สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +104
    [​IMG]


    -: คนฉลาดย่อมไม่กลืนกินอารมณ์<WBR>ชั่ว-:

    คนที่จิตยังไม่สูงเต็มที่ เมื่อใครเขาด่าว่าอะไรก็มัก<WBR>เก็บไปคิด
    คนเราโดยมากสำคัญตนว่าเป็นค<WBR>นฉลาด แต่ชอบกลืนกินอารมณ์ที่ชั่ว

    ...อารมณ์ชั่วเปรียบเหมือนกับเ<WBR>ศษอาหารที่เขาคายออกแล้ว
    ถ้าเป็นคนอดอยากยากจนจริงๆ จำเป็นจะต้องขอเขากิน
    ก็ควรกลืนกินแต่อารมณ์ที่ดี<WBR> เปรียบเหมือนอาหารที่ไม่เป็<WBR>นเศษของใคร

    แต่ถึงกระนั้นก็ยังอยู่ในลั<WBR>กษณะที่ยากจน
    นี่เป็นลักษณะของคนโง่ ไม่ใช่คนฉลาด
    เพราะความดีอยู่กับตัวเองแท้<WBR>ๆ
    แต่ไพล่ไปเก็บเอาความชั่วที่<WBR>คนอื่นเขามา เช่นนี้ก็ย่อมเป็นการผิดทาง

    ที่ถูกนั้น...ใครจะว่าอะไรก็<WBR>ช่างเขา ต้องคิดว่านั่นเป็นสมบัติ
    ขอ<WBR>งเขา ไม่ใช่ของเรา ส่วนความดีที่เราทำก็ย่อมอยู่<WBR>ที่ตัวเรา

    ให้คิดเหมือนมะม่วงที่เป็นห<WBR>นอน คนฉลาดเขาก็เลือกกินแต่ตรง
    เ<WBR>นื้อที่ดีๆ
    ส่วนที่เน่าที่เสียก็ปล่อยใ<WBR>ห้บุ้งหนอนมันกินของมันไป
    เพราะเป็นวิสัยของมัน ส่วนเราก็อย่าไปอยู่จำพวกบุ้<WBR>งหนอนด้วย

    อย่างนี้เรียกว่า ผู้นั้นเป็น “มนุสฺโส” คือ มีใจสูงขึ้น..

    เหมือนกับเราอยู่บนศาลาก็ย่<WBR>อมพ้นจากสัตว์เดรัจฉาน
    เช่น แมว สุนัข ที่จะมารบกวน มันจะกระโดดขึ้นมาตะครุบเรา<WBR>ก็ไม่ได้
    ถ้าเราอยู่บนพื้นดินเราก็จะ<WBR>ต้องถูกแดดบ้าง ฝนบ้าง และอันตรายต่างๆ
    ก็มารบกวนได้ คือ ยังปนเปกับคนพาลบ้าง บัณฑิตบ้าง ฉันใดก็ดี
    การประพฤติปฏิบัติธรรมของนั<WBR>กปราชญ์
    ท่านจึงต้องรู้จักเลือกเฟ้น<WBR>แต่สิ่งที่ดี
    ท่านไม่ยอมเก็บของเสียมาบริ<WBR>โภค
    เพราะของเสียนั้นเมื่อบริโภ<WBR>คเข้าไปแล้ว
    ก็เกิดพิษเน่าบูดให้โทษแก่ร่<WBR>างกาย

    ส่วนของดีเมื่อบริโภคเข้าไป<WBR>แล้ว ไม่มีโทษ
    มีแต่จะเกิดประโยชน์แก่ร่าง<WBR>กายอย่างเดียว


    โดย ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
     
  4. สะพาน

    สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +104
    ๑.จะแก้ทุกข์ แก้อย่างไร ที่ไหนดี
    วานท่านชี้ บอกวิธี ช่วยแก้ไข
    ๒.ไหนลองบอก ทุกข์ที่มี มีอย่างไร
    เกิดที่ไหน เกิดตอนใด ให้บอกมา

    ๑.ทุกข์ที่เกิด เกิดขึ้นใน ใจทุกครั้ง
    เวลาอยาก ใจแทบพัง ทุกครั้งหนา
    ๒.อ๋อทุกข์นั้น เกิดขึ้นใน ใจอุรา
    ตอนเวลา ที่ใจนั้น มันมีอยาก

    ๑.เมื่ออยากแล้ว ใจผมนั้น ทนไม่ไหว
    เหมือนมีใคร มายื้อยุด ฉุดกระชาก
    ๒.ถ้าอย่างนั้น ต้องให้ใจ ไม่มีอยาก
    คงต้องถาก อยากทิ้งไป อย่าให้เหลือ

    ๑.แล้วจะถาก ทิ้งอย่างไร กันเล่าหนา
    โปรดเมตตา แนะนำด้วย ช่วยเอื้อเฟื้อ
    ๒ต้องสร้างเหตุ สร้างปัจจัย มาจุนเจือ
    ให้ใจเบื่อ มองเห็นอยาก ไม่ใช่เรา

    ๑.เหตุปัจจัย ที่ท่านว่า มันอย่างไร
    มีเท่าใด ทำอย่างไง เชิญท่านเล่า
    ๒.มรรคแปดอย่าง ปัจจัยสร้าง ทางบรรเทา
    อยากที่ใจ จะทุเลา เบาบางไป

    ๑.มันจะหาย ไปได้ อย่างไรกัน
    เมื่ออยากนั้น มันเป็นผม ที่อยากได้
    ๒.มรรคถูกต้อง รับรอง มันต้องคลาย
    มรรคถูกใจ ทำให้ตาย ไม่ได้ผล

    ๑.ถูกต้อง กับถูกใจ อย่างไรหรือ
    มรรคแท้คือ อย่างไร ชักสับสน
    ๒.ถ้ามรรคถูก มันก็หาย ใจทุกข์ทน
    ถ้าไม่ถูก ความทุกข์ทน ยังคงมี

    ๑.ต้องเห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ก่อนใช่ไหม
    จึงเข้าใจ มรรคสัมมา อย่างถูกที่
    ๒.ใช่แล้วครับ สัมมามรรค ถูกวิธี
    อริยสัจจ์สี่ ต้องเริ่มที่ เห็นทุกข์ก่อน

    ๑.ตัวทุกข์นั้น ผมนั้น พอเข้าใจ
    ตัวสมุทัย คงต้องวาน ท่านช่วยสอน
    ๒.ตัวความอยาก เกิดจากใจ ไม่สังวร
    เที่ยวเพลินว่อน ในนิวรณ์ ไม่สร่างซ่า

    ๑.เป็นเพราะเพลิน พอใจ นี้นี่เอง
    อยากจึงเปล่ง เร่งรุด ผลุดออกหน้า
    ๒.เพลินไม่มี อยากก็หยุด สร้างอัตตา
    นิโรธา มาให้เห็น เป็นจริงได้

    ๑.จะขอลอง ไปทำ ธรรมที่ว่า
    นิโรธา คงไม่ช้า เร็วเกินไป
    ๒.เร็ว7วัน กลาง7เดือน 7ปีหมาย
    ทกุข์ละลาย คลายทุกข์โศก ทุกโลกเอย...


    โดยคุณ Takorn
     
  5. kimberly

    kimberly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,627
    ค่าพลัง:
    +5,233
    คนฉลาด.. ย่อมไม่กลืนกินอารมณ์ชั่ว..ชอบวลีนี้มากๆจร๊า โมทนาๆ. (เด๊ยวนี้หนู้รู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยจะโง่เหมือนตะก่อน อิอิ)

    ปล. ส่วนใครจะมองยังไง เป็นสิทธิส่วนบุคคลจร๊าาาาา..ห้ามกันบ่ได้เน้อออ. ปัจจัตตังๆ.. (ชอบธรรมะ ชอบคุยกับคนมีธรรมแท้ ธรรมแท้อยู่ที่ไหนหนอ? อยู่ที่ใจเรานั่นเอง (ยิ้ม)
     
  6. สะพาน

    สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +104

    อยู่ที่ใจเรานั้นเอง อยู่ที่ใจเรานั้นเอง.... ^_^
     
  7. สะพาน

    สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +104
    "เจ้ากรรมนายเวรอันดับหนึ่งมัก<WBR>มา
    ในรูปของคนรัก,สามี,ภรรยา,เพื่<WBR>อนรัก,ลูกรัก..

    จริงไหม พึงพิจารณา"

    -+-วิวาทะไร้นาม-+-
     
  8. สะพาน

    สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +104
    สืบเนื่องจาก..อยู่ที่ใจเราเอง ^_^

    มีเรื่องมากมายในชีวิตที่ผ่านเข้ามาแวะในใจของเรา
    แต่..ก็ยังมีเรื่องที่มาจอดแช่นิ่งในใจของเราไม่น้อยเลย
    ซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องที่ไม่สบอารมณ์เราทั้งนั้น และมีอิทธิพลจนทุกข์ใจเสมอ
    ความยึดถือ..จะมากหรือน้อยก็ก่อความรู้สึกทุกข์ใจให้เราได้เสมอ
    และค
    วามยึดถือนี้ก็มีอยู่คู่กับชีวิตของคนธรรมดาอย่างเราๆ
    เพียงแต่..ใครรู้ทันได้ก่อน ระดับของความทุกข์ก็จะลดลงได้เร็วกว่าคนที่รู้ช้า
    สิ่งที่ทำได้ง่ายในคราวที่ครุ่นคิดตัดไม่ขาดก็คือ บอกกับตนเองว่า ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่ดับลงไป
    เพียงแต่..เราอย่าไปผูกติดคิดทบทวนย้ำไปมา ใจก็จะสบายขึ้นได้มาก.....


    โดย ท่านขิปฺปสิทฺโธภิกฺขุ เชียงใหม่-:
     
  9. ศิษย์ธรรมเทพ

    ศิษย์ธรรมเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +786
    ศีล ธรรมเครื่องแบ่งแยกสัตว์

    <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1"> <ins style="display:inline-table;border:none;height:280px;margin:0;padding:0;position:relative;visibility:visible;width:336px"><ins id="aswift_0_anchor" style="display:block;border:none;height:280px;margin:0;padding:0;position:relative;visibility:visible;width:336px"></ins></ins>
    ศีล แปลว่า ปกติ การที่มนุษย์และเทวดา ถือศีล 5 ผู้ปฏิบัติธรม ถือศีล 8 สามเณร ถือศีล 10 และภิกษุ ถือศีล 227 ข้อนั้น เป็นการมีข้อวัตรปฏิบัติ หรือ มีปกติที่ไม่เหมือนกัน เป็นการแบ่งแยกลำดับขั้นของการสังวร กาย วาจา ใจ ตามระดับและสภาวะของธรรม จะเห็นได้ว่าศีลนั้นเป็นข้อวัตรปฏิบัติเป็นข้อกำนดของสัตว์โลกตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไป

    ความ สำคัญของศีลนั้นมีมากมายมีอุปการะมาก หากจะอุปมาให้เห็นได้ชัดเจนว่าศีลนั้นมีอุปการะอย่างไร พึงพิจารณาถึงภาชนะสักชนิดหนึ่งที่บรรจุน้ำอยู่ภายใน อุปมากาย ดั่งภาชนะ และอุปมาจิต ดั่งน้ำที่อยู่ภายใน ดัง นี้ จะเห็นได้ว่าน้ำหรือของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในนั้นไม่สามารถจะนิ่งได้เลยหาก ภาชนะที่บรรจุนั้นยังสั่นไหว หรือ ขยับเขยื้อนอยู่ตลอดเวลา การที่มีศีล หรือ ข้อกำหนดกฏเกณฑ์อันเป็นไปเพื่อให้เกิดการสงบระงับความเป็นปกติของ กาย วาจา ใจ ย่อมยังให้น้ำหรือของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะนั้นๆ สงบนิ่งได้มากที่สุด กล่าวคือเมื่อ ภาชนะ คือ กาย สงบ น้ำที่บรรจุอยู่ในภาชนะ หรือ จิต สงบ ฝุ่นตะกอนทั้งหลาย หรือ กิเลส อวิชชา ทั้งหลายย่อมนอนก้น เมื่อนั้นแล พึงใช้วิปัสสนา หรือ ปัญญา กรองหรือช้อน ตะกอนที่นอนก้นออก ดังนี้จึงเห็นได้ว่าศีลนั้น เป็น เครื่องอุปการะที่ส่งเสริมการก้าวย่างข้ามพ้นจากโลกธรรมไปสู่โลกุตรธรรม คือ การหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงได้ ดังนี้แลศีลจึงมีความสำคัญมาก จะเห็นได้ว่าเมื่อเราไปทำบุญเมื่อไหร่พระท่านมักให้รับศีลก่อนเสมอๆ เพราะหากไม่มีศีล คือไม่สังวร กาย วาจา ใจ แล้วย่อมทำให้เกิดความสงบไม่ได้เลย กล่าวคือ เมื่อกายยังไม่สงบ ใจ หรือจิตนั้นย่อมหาความสงบไม่เจอ

    การถือศีลนั้นทุกศาสดาทรงบัญญัติให้เป็นพื้นฐานของทุกศาสนาเพราะศีลนั้นเป็นเบื้องต้นของการที่จะประพฤติปฏิบัติหลักธรรมทั้งหลาย

    http://palungjit.org/threads/ศีล-ธรรมเครื่องแบ่งแยกสัตว์.313725/
     

แชร์หน้านี้

Loading...