หลวงปู่เทพโลกอุดรสอนว่า " จงดูจิตเคลื่อนไหวเหมือนเราดูละคร "

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ปาปิปผลิ, 29 สิงหาคม 2012.

  1. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    หลวงปู่เทพโลกอุดรสอนว่า " จงดูจิตเคลื่อนไหวเหมือนเราดูละคร "
    การปฎิบัติธรรมทางด้านจิต

    จงเป็นผู้มีสติปัญญารู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของจิตทุกลมหายใจเข้าออก
    และทุกอิริยบท
    เว้นเสียแต่หลับ เมื่อรู้ทันจิตแล้ว ต้องรู้จักรักษาจิต คุ้มครองจิต
    จงดูจิตเคลื่อนไหวเหมือนเราดูลิเกหรือละคร เราอย่าเข้าไปเล่นลิเกหรือละคร
    ด้วย เราเป็นเพียงผู้นั่งดู อย่าหวั่นไหวไปตามจิต


    จงดูจิตพฤติการณ์ของจิตเฉย ๆ ด้วยอุเบกขา จิตไม่มีตัวตน
    แต่สามารถกลิ้งกลอกล้อหรือยั่วเย้าให้เราหวั่นไหวดีใจและเสียใจได้
    ฉะนั้นต้องนึกเสมอว่าจิตไม่มีตัวตน อย่ากลัวจิต อย่ากลัวอารมณ์
    เราหรือสติสัมปชัญญะต้องเก่งกว่าจิต


    ความนึกคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต
    แต่เราเข้าใจว่าเป็นตัวจิตธรรมชาติคือผู้รู้อารมณ์
    คิดปรุงแต่งแยกแยะไปตามเรื่องของมัน แต่แล้วมันต้องดับไปเข้าหลักเกิดขึ้น
    ตั้งอยู่ ดับไป คือไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนทนได้ยากเป็นทุกข์
    และสลายไปไม่ใช่ตัวตน มันจะเกิดดับ ๆ อยู่ตามธรรมชาติ
    เมื่อเรารู้ความจริงของจิตเช่นนี้ เราก็จะสงบไม่วุ่นวาย
    เราในที่นี้หมายถึงสติปัญญา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรม (สิ่งทั้งปวง )
    เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน


    นิมิตที่เกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิมีอยู่ ๒ ประการ คือ


    ๑ . เกิดขึ้นเพราะเทพบันดาล คือเทวดาหรือพรหมแสดงภาพนิมิตและเสียงให้รู้เห็น

    ๒. นิมิตเกิดขึ้นเพราะอำนาจสมาธิเอง


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2012
  2. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    นิมิตจะเป็นประเภทใดก็ตาม
    ขอให้ผู้เจริญกรรมฐานจงเป็นผู้ใช้สติปัญญา
    ให้รู้เท่าทันนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นด้วยปัญญา

    อย่าเพิ่งหลงเเชื่อทันทีจะเป็นความงมงาย
    ให้ปล่อยวางนิมิตนั้นไปเสียอย่าไปสนใจให้เอาจิต
    ทำความจดจ่ออยู่เฉพาะจิต



    เมื่อจิตสงบรวมตัว จิตถอนตัวออกมารับรู้นิมิตนั้นอีก
    หากปรากฎนิมิตอย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ
    หลายครั้งแสดงว่านิมิตนั้นเป็นของจริงเชื่อถือได้
    แต่อย่างไรก็ตามนิมิตที่มาปรากฏนี้อยู่ในขั้นโลกียสมาธิ
    นิมิตต่าง ๆ
    จึงเป็นความจริงน้อย แต่ไม่จริงเสียมาก
    จงมุ่งหน้าทำจิตให้สงบเป็นอัปนาสมาธิ อย่าสนใจนิมิต
    หากทำได้อย่างนี้



    จิตจะสงบตั้งมั่น เข้าถึงระดับฌานจะเกิดผลคือสมาบัติสูงขึ้นตามลำดับ
    จิตจะมีพลังอำนาจอันมหาศาล ฤทธิ์เดชจะตามมาเองด้วยอำนาจของฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2012
  3. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    ขออนุโมทนา ในดวงจิตที่ผ่องใส นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโตสัมมาสัมพุทธสะ ฯ ผู้ที่ทำจิต คนที่ทำจิตให้สงบ ได้ย่อมจะรู้จักรสของพระนิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานนัง ปรมัง สุขขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง หรือว่าสุขอย่างยอดยิ่ง นี้ืคือยอดยิ่งกว่าสุขทั้งหลาย สุขมีกี่ประการ สุขมีกี่อย่าง สุขท่านตรัสไว้ ๓ อย่าง คือสุขอันเป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย อย่างหนึ่ง เรียกว่ามนุษย์สมบัติ สุขหนือกว่ามนุษย์สมบัติ คือเป็นสุขแดนสวรรค์ หรือเมืองสวรรค์เรียกว่าสวรรค์สมบัติ สุขอย่างยอดเยี่ยม คือพระนิพพานสมบัติ จึงเป็นสุขเหนือกว่าสุขดังที่กล่าวมานี้ ในเมืองมนุษย์ ในเมืองสวรรค์ จะมีสุขสักเพียงใดก็หา เท่าเทียม หรือจะเปรียบเทียบสุข ในเมืองพระนิพพานได้ การทำจิตให้สงบ หรือเรียกพื้นๆว่าการทำใจให้สงบ ผู้ที่ทำใจให้สงบ ด้วยอำนาจสมาธิภาวนา ก็จะำได้รับรสของความสุข ที่เรียกว่าสุึขอย่างยอด หรือสุขคือพระนิพพาน สุขอย่างยอดหรือสุขในพระนิพพาน ปุถุชนทั้่งหลายหรือสามัญสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้พบเห็น คือไม่รู้จักทุกข์ รู้จักแต่สุขอันอาศัยรูป อาศัยเพียงกลิ่น อาศัียรส อาศัยสัมผัส ที่เกิดทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางการสัมผัสในใจ เรียกอีีกอย่างหนึ่ง ว่าเป็นกามสุข คือสุขของโลก สุขของโลกคือเป็นสุขทั่วไป คือไม่ใช่สุขพระนิพพาน การได้อะไรๆในโลกนี้อันเป็นที่ความสมปราถนา การได้สิ่งนั้นๆ หรือการได้ถึงสิ่งนั้นๆ เป็นความสุขในโลก แต่การถึงสุขในพระนิพพาน พูดได้ยาก ก็ต้องทำจิต ทำใจให้สงบ ด้วยอำนาจสมาธิภานา แล้วก็ย่อมจะรู้รสสุขของพระนิพพาน ก็หมายความว่าผู้ใด ทำจิตให้สงบได้ ด้วยอำนาจสมาธิภาวนาผู้นั้นก็ถึงพระนิพพานนั้นเอง ดูเหมือนกับว่าการถึงพระนิพพพานนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ยาก เหมือนกับว่าไม่ยาก แต่จะว่าง่ายมันก็ไม่ใช่ของง่าย ถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่ง ดูเหมือนกับว่าไกลยิ่งกว่า ๘๔๐๐๐ โยชน์ที่จะถึงได้ แต่จะพูดอีกอย่างนัยหนึ่งก็คือว่าไม่ไกลกว่ามือเอื้อม ไม่ไกลกว่ายี่นมือเิอื้อม คือหมายความว่า ยื่นมือเอื้อมยังใกลกว่าเสียอีก ก็เพราะฉนั้นจึงพูดยาก จะว่าไกลก็เหมือนใก้ล ที่ว่าใกล้ ก็ดูเหมือนว่าหายากที่จะพบได้ เพราะฉนั้นสุขชนิดนี้ จึงต้องทำเอง ให้มันเกิดขึ้นเอง จะถามเขาก็ไม่รู้ได้ จะเอามาตอบกัน ก็ตอบไม่ถูกเหมือนกับ
     
  4. neungnarak

    neungnarak สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2011
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +8
    อนุโมทนาสาธุค่ะ อ่านแล้วรู้สึกปิติหลวงปู่ท่านสอนเจ้าของกระทู้หรือค่ะ ขออภัยด้วยที่ถามพอดีไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...