การให้ คือ ความสุข (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย หัว-หอม, 5 สิงหาคม 2012.

  1. หัว-หอม

    หัว-หอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +1,547
    [​IMG]




    การให้สุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ความสุขของผู้รับคือ ความยินดีที่ได้รับสิ่งที่มอบให้ ในขณะที่ผู้ให้นั้น สุขใจที่ได้ช่วยเหลือและแบ่งเบาความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การให้ที่ปราศจากเงื่อนไข เป็นการให้ที่ทำให้ ทั้งผู้ให้และผู้รับมีความสุขให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ให้ด้วยความเต็มใจ และเปี่ยมไปด้วยเมตตาจิต ไม่รู้สึกเสียดายหรืออาลัยอาวรณ์ในสิ่งที่ให้นั้น และการได้รับสิ่งตอบแทนกลับคืนมานั้น เป็นเพียงผลพลอยได้จากการให้ เช่น การให้ของขวัญวันปีใหม่ ซึ่งเรามักจะได้รับของขวัญกลับคืนมาด้วยเช่นกัน



    การให้ของพระพุทธเจ้า


    พระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างที่ประเสริฐที่สุด ในเรื่องของการเสียสละประโยชน์ความสุขส่วนตัว เพื่อไปแสวงหาความจริง สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นความสุขแก่ผู้อื่น การออกบวชของพระพุทธเจ้า เป็นการเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์(การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) พระองค์ทรงศึกษาและบำเพ็ญความเพียร ด้วยความยากลำบากแสนสาหัส จนกระทั่งตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และได้แสดงธรรมนั้นแก่หมู่เทวดา มนุษย์ และสัตว์ ทรงสั่งสอนพระสาวกทั้งหลาย ให้เผยแผ่ธรรมแก่ชาวโลก เพื่อให้พ้นจากความมืดบอด พ้นจากความหลงผิด และชี้ทางที่ถูกที่ชอบ ให้พวกเราได้เดินตาม

    ในวันเพ็ญ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนแปด พระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวกว่า ;


    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แม้เราก็จักกระทำ"


    แม้พระพุทธเจ้าเองก็ยังตรัสว่า "เราเองก็จะไปเหมือนกัน" จะเห็นว่าทรงอุทิศตนเพื่อทำประโยชน์ เพื่อความสุขของผู้อื่นตลอดเวลา


    งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำคัญ ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายของการปฏิบัติธรรมคือ เพื่อทำลายความเห็นแก่ตัว อัตตา ตัวตน เมื่อจิตใจบริสุทธิ์แล้ว ธรรมชาติของจิตที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็จะปรากฏขึ้น สำหรับพระอรหันต์เมื่อหมดกิเลส มีจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว หน้าที่ในชีวิตทั้งหมด ก็เพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชน การประกาศพระพุทธศาสนาจึงแสดงถึง หน้าที่ในชีวิต





    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=q5N1l-iO9lQ&feature=player_embedded"]???????????????? (??????? - ???) - YouTube[/ame]​





    "ให้" อะไรได้บ้าง


    ดังที่กล่าวแล้วว่า เราทุกคนให้ได้โดยไม่จำกัด แต่จะต้องตั้งอยู่บนฐานของศีลธรรม ให้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และทำให้ผู้อื่นมีความสุขเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินเงินทองมากมายถึงจะให้ผู้อื่นได้ เพียงแค่มีเจตนาที่ดีและบริสุทธิ์ใจ ที่จะให้ตามกำลังของเรา ทุกคนก็สามารถเป็นผู้ให้ได้ ประเภทของทานที่ควรให้ ในทางพุทธศาสนา มีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน

    ๑.อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ข้าว(อาหาร) และน้ำเป็นทรัพย์โดยปรมัตถ์ สิ่งอื่นเป็นทรัพย์โดยบัญญัติ" เพราะเกิดจากการสมมุติของคน ที่ทำให้เกิดความจำเป็น เช่น เงินทอง เพชรพลอย กินไม่ได้และไม่มีประโยชน์

    ๒.อภัยทาน คือ การยกโทษ ด้วยการไม่พยาบาทจองเวร เป็นทานที่ให้ได้ยากที่สุด โดยเฉพาะการให้อภัยศัตรู หรือผู้ที่ทำร้ายตนอย่างสาหัส

    ๓.วิทยาทาน คือ การให้ความรู้ทางโลก

    ๔. ธรรมทาน คือ การให้ความรู้ทางธรรม โดยเฉพาะความรู้ทางพุทธศาสนา ได้ชื่อว่า ให้ทุกอย่าง

    จะเห็นว่ามีถึง ๓ ใน ๔ ประเภทของทาน ที่เราสามารถทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินทอง แต่ใช้จิตใจที่ดี ไม่มีพยาบาทในการทำ นั่นคือ อภัยทาน วิทยาทาน ธรรมทาน จริงๆแล้ว ทุกประเภทของทานนั้น มีประโยชน์ และช่วยค้ำจุนชีวิตคน ช่วยให้เขามีที่พึ่งอาศัยในชาตินี้ แต่ธรรมทานนั้นเป็นเลิศที่สุด เพราะช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไป ทั้งชาตินี้และชาติหน้าด้วย ส่วนอภัยทานนั้นทำได้ยากที่สุด

    ในการทำทานให้เกิดผลบุญสูงสุดนั้น ตัวผู้ให้ต้องมีเจตนาที่จะให้ ด้วยความบริสุทธิ์ ซึ่งเจตนานั้น ต้องมีพร้อมทั้งสามระยะ นั่นคือ

    ๑.ระยะก่อนการให้ทาน

    ๒.ระยะที่กำลังให้ทาน

    ๓.ระยะหลังการให้ทาน

    ทั้งสามระยะเวลานี้ จำเป็นต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์ ร่าเริง และยินดีในทานที่ให้ไป โดยคิดว่าตัวผู้รับเองจะมีความสุขจากทานที่ตนเองได้สละให้ไป






    [​IMG]




    ทานจักร 10 ประการ หรือ การบำเพ็ญทาน 10 ประการ ได้แก่

    1. ให้ทานด้วยทรัพย์สินเงินทอง

    2.ให้ทานด้วยสายตาที่เมตตาปรานี

    3.ให้ทานด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส

    4.ให้ทานด้วยวาจาที่ไพเราะน่าฟัง

    5.ให้ทานด้วยแรงงานช่วยเหลือผู้อื่น

    6.ให้ทานด้วยการอนุโมทนายินดีเมื่อผู้อื่นทำดี

    7.ให้ทานด้วยการให้อาสนะ (ที่นั่ง)

    8.ให้ทานด้วยการให้ที่พักอันสะดวกสบาย

    9.ให้ทานด้วยการให้อภัย

    10.ให้ทานด้วยการให้ธรรมะ



    เมื่อมีศีล 5 เป็นพื้นฐาน และวงล้อแห่งทานนี้หมุนไปที่แห่งใด จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม จะเกิดพลังแห่งการสร้างสรรค์ พลังที่จะร่วมกันผลักดันสังคมที่ดีงามให้เกิดขึ้น และนำความสุขสู่เพื่อนมนุษย์ในสังคมวงกว้าง ยังความสันติสุขให้เกิดขึ้นในโลก




    [​IMG]



    ที่มา : หนังสือ "ธรรมให้สุขใจ" ของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2012
  2. kimberly

    kimberly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,627
    ค่าพลัง:
    +5,233
    จงทำให้ได้.. ให้โดยไม่มีเงื่อนไข. ให้ ให้ ให้ไปจะได้มา ได้ความสุข..
     
  3. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ..
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
     
  4. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]
     
  5. จิตินันท์

    จิตินันท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +130
    ยิ่งให้ ยิ่งได้ ยิ่งหวง ยิ่งอด

    ----------------------------------
    บุญกุศลใดๆที่เกิดขึ้นกับลูก ลูกขอให้บิดามารดา เทวดาผู้รักษา และเจ้ากรรมนายเวรมีส่วนได้รับเสมอ
     
  6. ละโลก

    ละโลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +654
    ทำไมพยายาม "ทำความดี" "ทำบุญ ให้ทาน" แต่ยังไม่เห็นผล?<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "ca-pub-2576485761337625";/* 336x280 */google_ad_slot = "0551074580";google_ad_width = 336;google_ad_height = 280;//--> </SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"> </SCRIPT><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 336px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 280px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 336px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 280px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px" id=aswift_0_anchor><IFRAME style="POSITION: absolute; TOP: 0px; LEFT: 0px" id=aswift_0 onload="var i=this.id,s=window.google_iframe_oncopy,H=s&&s.handlers,h=H&&H,w=this.contentWindow,d;try{d=w.document}catch(e){}if(h&&d&&(!d.body||!d.body.firstChild)){if(h.call){i+='.call';setTimeout(h,0)}else if(h.match){i+='.nav';w.location.replace(h)}s.log&&s.log.push(i)}" height=280 marginHeight=0 frameBorder=0 width=336 allowTransparency name=aswift_0 marginWidth=0 scrolling=no></IFRAME></INS></INS>
    [​IMG]

    โชคดีที่ได้รู้

    ภาค 1 : รู้ทันกรรม

    ถาม : ทำไมพยายามทำความดีทำบุญให้ทานในปัจจุบันแต่ยังไม่เห็นผล

    ...
    ตอบ : การทำความดีต้องทำให้ถึงใจ ให้ใจดีมีเมตตากรุณาจึงจะเป็นการทำบุญ เป็นการทำความดีอย่างแท้จริง การไปวัดทำบุญ การบวชเข้าพิธีอุปสมบทถือเป็นเรื่องภายนอก ที่สำคัญกว่าคือภายในจิตใจต้องเป็นบุญเป็นกุศล มีเมตตากรุณาจึงจะเป็นการทำความดีด้วยใจที่ดี เมื่อทำความดีด้วยใจที่ดีแล้วอานิสงส์ก็เห็นได้ในปัจจุบันคือความสุขใจ สบายใจ อย่างน้อยก็ไม่เกิดลังเลสงสัย เกิดคำถามว่า "ทำไมพยายามทำความดี ทำบุญทำทานในปัจจุบันแต่ยังไม่เห็นผล" แบบนี้

    อย่างไรก็ตาม การที่คนจำนวนมากรู้สึกว่าทำความดีแต่ยังไม่เห็นผลนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกำลังประสบกับวิบากกรรมจากกรรมเก่าในอดีตหรือในชาติก่อน ๆ ซึ่งเป็นธรรมดาของวัฏสงสาร อย่าว่าแต่คนธรรมดาสามัญเลย แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเสื่อมลาภเสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เช่นกัน แต่พระองค์ทรงตั้งมั่นอยู่ในความดี ใจดีมีเมตตาตลอด ได้ลาภ-เสื่อมลาภ ได้ยศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์ เป็นโลกธรรม 8 ที่ไม่แน่นอน ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญกว่าสำหรับคุณภาพชีวิตก็คือ "ทำใจได้" และ "มีกำลังใจ" เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมว่าทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว และหมั่นทำความดีต่อไป

    เราอาจมีสงสัยว่าทำไมบางคนทำชั่วแต่ได้ดี เช่น คนปล้นธนาคารหรือนักการเมืองที่ทุจริตในหน้าที่ทำไมรวยล้นฟ้า สามารถเสวยสุขได้ในปัจจุบัน ขอให้เข้าใจว่ากรรมชั่วนั้นยังไม่แสดงผลในทันทีก็ได้ ส่วนที่เขาร่ำรวยอยู่นี้เป็นผลของกรรมดีในอดีตมากกว่า อย่างไรก็ดี เชื่อได้ว่าชีวิตบั้นปลายของเขาอาจจะไม่เป็นอย่างนี้ก็ได้ เมื่อกรรมชั่วออกผลแล้วไม่มีใครช่วยได้

    ยกตัวอย่างกรณีของพระโมคคัลลานะที่ถูกโจร 500 คนลอบฆ่า เมื่อเห็นโจรมาก็อธิษฐานหายตัวบ้าง แปลงกายเป็นแมลงวันบ้าง เป็นอย่างนี้อยู่หลายครั้งจนเกิดความสงสัยว่าเหตุใดโจรเหล่านี้จึงคิดปองร้ายตน เมื่อพิจารณาดูพบว่าท่านมีวิบากกรรมที่ในอดีตชาติหนึ่งเคยฆ่าพ่อแม่ ซึ่งกรรมดังกล่าวได้ตามมาเห็นในชาตินี้

    นอกจากเรื่องกรรมเก่ากรรมใหม่แล้วเราต้องรู้จักปล่อยวางในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต้องคิดให้ได้ว่ามีลาภก็มีเสื่อมลาภ เมื่อมียศก็มีเสื่อมยศ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา เมื่อมีสุขก็ต้องมีทุกข์ ของพวกนี้ไม่แน่นอน ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นไม่ให้ใส่ใจ ของพวกนี้ก็เหมือนกับลมฟ้าอากาศ ไป ๆ มา ๆ ของมันอยู่อย่างนั้น ให้พิจารณาอยู่อย่างนั้น

    ให้พิจารณาดูตัวเองทั้งความคิด คำพูด การกระทำ ให้เป็นศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ยินดียินร้าย ยกจิตให้อยู่เหนือปัญหา หมั่นสร้างกรรมดี หมั่นสร้างบารมี

    ถ้ายังมีทุกข์อยู่ก็ต้องตั้งใจปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ถ้าเราทำสิ่งที่ถูกต้องเราก็ไม่ต้องกลัวอะไร ให้เชื่อมั่นว่าเราจะมีชีวิตที่ดีขึ้น

    นอกจากนี้ให้ฝึกสร้าง "กำลังใจ" ให้ตัวเองโดยให้เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" แต่ทำอย่างไรจึงจะสร้างกำลังใจเพื่อสร้างกรรมที่ดี เหตุที่ดีได้

    แนวทางในการสร้างกำลังใจคือ

    1. แสวงหากัลยาณมิตร ได้แก่ ครูบาอาจารย์ เพื่อน หนังสือธรรมะ เช่น "ทุกข์เพราะคิดผิด" ให้ลองอ่านดู มีโยมท่านหนึ่งอ่านหนังสือเล่มดังกล่าวทุกวัน แต่ไม่ใช่อ่านเฉย ๆ ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาคิดตามไปด้วย


    2. พิจารณา "โยนิโสมนสิการ" คือการคิด คิด คิด คิด คิดให้ดี คิดให้ถูก เพื่อสร้างศรัทธา (ความเชื่อมั่น) วิริยะ (ความขยันหมั่นเพียร) สติ (การระลึกได้) สมาธิ (การตั่งจิตให้มั่น) ปัญญา (ความรอบรู้)

    ...

    คัดจากหนังสือ "โชคดีที่ได้รู้" โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    https://www.facebook.com/aj.mitsuo

    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...