ผู้ที่เห็นรูปหล่อ ปูนปั้นเป็นพระพุทธเจ้าย่อมตกนรก

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 12 พฤษภาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=_khJ2fmDI4w]ผู้ที่เห็นรูปหล่อ ปูนปั้นเป็นพระพุทธเจ้าย่อมตกนรก - YouTube[/ame]
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฏก ภาษาไทย(มหามกุฏ) เล่มที่ ๓๒ หน้า ๒๑๔/๒๑๕
    บทว่า อสหาโย ความว่า ชื่อว่าไม่มีสหาย เพราะท่านไม่มี
    สหายผู้เช่นกับด้วยอัตภาพ หรือด้วยธรรมที่ทรงแทงตลอดแล้ว.
    ก็พระเสขะและพระอเสขะ ชื่อว่า เป็นสหายขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    โดยปริยายนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้เสกขปฎิปทา และ
    อเสกขปฏิปทาเป็นสหายแล.

    บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพเรียกว่า
    รูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพ
    ของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใด
    ล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า
    ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของ
    พระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย
    ประการทั้งปวง. บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า
    ไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต
    นั้นไม่มี.

    บทว่า อปฺปฏิภาโค (ไม่มีผู้เทียม) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียม
    เพราะธรรมเหล่าใดอันพระตถาคตทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า
    สติปัฏฐานมี ๔ ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะทำเทียมในธรรมเหล่านั้น
    โดยนัยมีอาทิว่า น จตฺตาโร สติปฏฺานา ตโย วา ปญฺจ วา (สติปัฏฐาน
    ไม่ใช่ ๔ สติปัฏฐานมี ๓ หรือ ๕.) บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล (ไม่มีบุคคล
    ผู้แข็ง) ความว่า ชื่อว่าไม่มีบุคคลผู้แข่ง เพราะไม่มีบุคคลอื่นไร ๆ
    ชื่อว่าสามารถเพื่อให้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.
    บทว่า อสโม (ไม่มีผู้เสมอ) ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เสมอด้วย
    สัตว์ทั้งปวง เพราะไม่มีบุคคลเทียมนั่นเอง. บทว่า อสมสโม (ผู้เสมอ
    กันบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ) ความว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ที่เป็นอดีตและอนาคต ท่านเรียกว่า ไม่มีผู้เสมอ ผู้เสมอด้วยพระ
    สัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใคร ๆ เสมอเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ผู้เสมอกับบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ.
    บทว่า ทฺวิปทานํ อคฺโค ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น
    ยอดของเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก สัตว์ผู้มีรูป
    ไม่มีรูป ผู้มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของเหล่าสัตว์ ๒ เท้า ?
    เพราะเนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่ ธรรมดาว่า
    ท่านผู้ประเสริฐ เมื่อจะอุบัติในโลกนี้ หาอุบัติในสัตว์ไม่มีเท้า มี ๔ เท้า
    และมีเท้ามากไม่ ย่อมอุบัติเฉพาะในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น. ในสัตว์ ๒ เท้า
    ชนิดไหน ? ในมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย. ก็เมื่อเสด็จอุบัติในหมู่
    มนุษย์ ย่อมอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถเพื่อทำสามพันโลกธาตุ
    และหลายพันโลกธาตุ ให้อยู่ในอำนาจได้. เมื่ออุบัติในหมู่เทวดา
    ย่อมอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ทำหมื่นโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้
    ท้าวมหาพรหมนั้น พร้อมที่จะเป็นกัปปิยการก หรือเป็นอารามิก
    ของพระองค์ ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นยอดของสัตว์ ๒ เท้า ด้วย
    อำนาจเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวดาแม้นั้นทีเดียว.
     
  3. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    รีบโพสเข้าใกล้เวลาเลิกงานแล้วเดี๋ยวไม่ได้เป้า(kiss)
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ข้อความทั้งหมดมาจาก พระไตรปิฏก ภาษาไทย(มหามกุฏ) เล่มที่ ๓๒ หน้า ๒๑๔/๒๑๕ และเว็บไซต์ Youtube ไม่ใช่ความคิดเห็นของผมครับ
     
  5. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    จำทางไปห้องพระไตรปิฎกไม่ได้หรอครับท่าน

    หรือว่าอยากจะโพสห้องนี้มากกว่าเลย เบี่ยงๆ เลี่ยงๆเอา
     
  6. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    ทำรูปเปรียบพระองค์ท่านไม่ได้
    แต่พระพุทธรูป เป็นเจดีย์ ที่เรียกว่า อุทิสสกเจดีย์ ในพระบาลีว่า ไม่มีวัตถุปรากฏ ไม่ใช่หมายความว่าให้สร้าง แต่หมายความว่า ไม่มีวัตถุปรากฏแน่ชัด
    อ่านใน อุทานของพระอรหันต์หลายท่าน ยังมีปรากฏว่า ท่านเจอทราบขาวสะอาดในป่า ตั้งใจกอบมาทำเป็นเจดีย์บูชาพระพุทธเจ้า แล้วท่านก็นำ ดอกไม้ป่าแถวนั้น มา บูชาเจดีย์ที่พึ่งทำเสร็จ มีอานิสงค์ ให้เป็นอรหันต์

    นี่แค่ทรายธรรมดานะครับ

    แต่รูปพระปฏิมา คือการเลียนแบบเจดีย์นั้นแหละ เพียงแต่ ทำให้เป็นรูปมนุษย์ และทำให้พิเศษกว่ามนุษย์เป็นปริศนาธรรมและแตกต่างจากมนุษย์ทั่วไปเช่น พระเกตุแหลม

    ยกมามั้ง ให้คิดกัน

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก


    ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗
    ว่าด้วยผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย
    [๗๗] เราเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ ที่จงกรมของเรา
    เป็นที่อันอมนุษย์ เนรมิตให้ ณ ภูเขานั้น ครั้งนั้นเรามุ่นมวยผม
    สะพายคนโทน้ำ เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกจากป่า
    ใหญ่ไป ครั้งนั้น ศิษย์ ๘,๔๐๐๐ คน อุปัฏฐากเรา เขาทั้งหลาย
    ขวนขวายเฉพาะกรรมของตนอยู่ในป่าใหญ่ เราออกจากอาศรมก่อ
    พระเจดีย์ทรายแล้วรวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้น
    เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์นั้นแล้ว เข้าไปสู่อาศรม พวกศิษย์
    ได้มาประชุมพร้อมกันทุกคนแล้ว ถามถึงความข้อนี้ว่า ข้าแต่
    ท่านผู้ประเสริฐ สถูปที่ท่านนมัสการก่อด้วยทราย แม้ข้าพเจ้า
    ทั้งหลายก็อยากจะรู้ ท่านอันข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้วขอจงบอกแก่
    ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
    เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุ มียศใหญ่ ท่านทั้งหลาย
    ได้พบแล้วในบทมนต์ของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้
    ประเสริฐสุดมียศใหญ่เหล่านั้น.
    ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่รู้
    ไญยธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็น
    อย่างไร มีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่เหล่านั้นเป็น
    ดังฤา.
    เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระมหาปุริสลักษณะ
    ๓๒ ประการ มีพระทนต์ครบ ๔๐ ทัศ มีดวงพระเนตรดังตาแห่ง
    โคและเหมือนผลมะกล่ำ อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อเสด็จดำเนิน
    ไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก พระชานุของพระองค์ไม่
    ลั่น ใครๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย เมื่อ
    เสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อนเสด็จดำเนินไป ทรงก้าวพระบาท
    เบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และ
    พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวาดกลัว เปรียบเหมือน
    ไกรสรมฤคราช ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์
    และไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย ทรงหลุดพ้นจากการถือตัว และดู
    หมิ่น ท่านเป็นผู้มีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง พระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้า
    ทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จอุบัติขึ้นพระองค์
    ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประกาศวิการ ๖ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น
    ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้
    ตก นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มหานาค
    เหล่านั้น เป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น ไม่มีใคร
    เทียมเท่า พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ใครๆ
    ไม่เกินพระองค์ไปโดยเกียรติคุณ.
    ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติ
    เช่นนั้น ตามสติกำลัง พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตน
    เชื่อฟังถ้อยคำของเรา มีฉันทะอัธยาศัยน้อมไปในความเป็น
    พระพุทธเจ้า พากันบูชาพระเจดีย์ทราย ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มียศ
    ใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่น
    โลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่ไกลอาศรม ศิษย์ทุกคน
    ได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่น
    ดุจโคอุสภะ คำรนดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร.
    เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้
    พระสถูปคือกองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็น
    ศาสดา พระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว.
    เราแสดงธรรมกถาแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนี
    ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ ก็เราเป็นผู้สิ้นกำลังหนอ
    เจ็บหนัก ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทำกาลกิริยา ณ
    ที่นั้นเอง ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิงตะกอนแล้ว ยกซาก
    ศพของเราขึ้นเชิงตะกอน พวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลี
    เหนือเศียร อันลูกศรคือ ความโศกครอบงำ ชวนกันมาคร่ำครวญ
    เมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่ เราได้ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอน
    พวกเขาว่า เราคืออาจารย์ของท่าน แน่ะท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศกเลย ท่านทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่
    เกียจคร้าน พยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและกลางวัน
    ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ เราพร่ำ
    สอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง
    ๑๘ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เสวยราช
    สมบัติในเทวโลกเกินร้อยครั้ง ในกัปที่เหลือ เราได้ท่องเที่ยวไป
    อย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย
    ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้เป็นอันมากต่างก็ออกดอกบานฉันใด
    เราก็เป็นผู้อันพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วในสมัย
    ฉันนั้นเหมือนกัน ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำเอา
    ธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมา เราตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัด
    เชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้
    สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
    นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธ-
    ศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
    ทราบว่า ท่านพระปุฬินุปปาทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
    จบ ปุฬินุปปาทกเถราปทาน.




    คนจิตใจหยาบไปเห็นแค่ปูน แค่ทราย คนจิตใจดี ท่านเห็นเป็นพระพุทธเจ้า
    ลิ้งค์อ้างอิง

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=1687&Z=1761


    ยกมาให้คิดแบบปัจจุบัน คือ นึกถึงพระพุทธเจ้า เลยทำอนุสาวรีย์ ไว้ บูชาแทนท่าน นึกถึงแทนท่านนั้นแหละ
    สมัยก่อนยัไม่สร้างมา สร้างแต่รอยพระบาท บ้าง มีตราสวัสติกะแทนท่านบ้าง สมัยหลัๆสร้างกันไป เพิ่มขึ้น สามร้อยปีต่อมาพระอรหันต์คงเยอะ อยู่ ถ้าไม่ดีจริง ขัดพระธรรมจริง พระอรหันตน์ท่านคงยับยั้ง พระราชาสมัยนั้นแล้ว ไม่ปล่อยให้เยอะ สร้างมากขึ้น จนมาถึงสมัยนี้ หรอกครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2012
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๙๕/๒๖๑
    ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา
    สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ
    ๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระ
    ตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
    ๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
    พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
    ๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
    พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
    ๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
    พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้
    แลเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ
    ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า พระตถาคต
    ประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ก็ดี พระตถาคตทรงยัง
    อนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    ในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง
    ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

    ----
    บูชาเจดีย์มีอานิสงค์ไปได้แค่สวรรค์ครับ
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=wkGJ3e40ZXA]หลวงตามหาบัวเยี่ยมวัดป่าหลวงตาบัว1 - YouTube[/ame]
     
  9. haha4959

    haha4959 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    388
    ค่าพลัง:
    +85
    ที่ ท่าน กำ ลัง คิด กำ ลัง ทำ อยู่ นี้
    มัน อาจ จะ ส่ง ผล ที่ ตัว ท่าน ลืม นึก ลืม คิด ไป นะ จ๊ะ
    คน ที่ เฉย ๆ ก็ จะ พาล เอา ตัว เอา ใจ ออก ห่าง และ ไม่ ให้ ความ สำคัญ หรือ มา สน ใจ ส่วน ที่ ควร สน ใจ
    แต่
    กลับ จะ ตั้ง ป้อม สร้าง กำ แพง ปิด กั้น สิ่ง ที่ ควร น้อม นำ เข้า สู่ ตัว เข้า สู่ ใจ
    แต่ จิต ใจ ของ ใคร บาง คน ที่ ไม่ ได้ ศึกษา ลึก ซึ้ง จริง จัง อาจ จะ มอง แต่ เฉพาะ ใน อีก ด้าน ที่ ไม่ ใช่ คำ สอน แล้ว ตี ความ เอา เป็น อคติ
    เสีย ประโยชน์ อัน พึง ได้ รับ ได้ นะ ครับ

    ท่าน ลอง ตรอง ดู คิด ดู ว่า ที่ ท่าน ทำ มัน เสีย มาก กว่า ได้ หรือ ได้ มาก กว่า เสีย
    ควร ชี้ เฉพาะ จุด ที่ เสีย
    หรือ ควร ชี้ แต่ ตรง ที่ บุคคล อื่น ซึ่ง บังเอิญ ผ่าน มา อ่าน แล้ว อาจ จะ เกิด ประโยชน์ กับ ตน ได้ บ้าง ไม่ มาก ก็น้อย
    น่า จะ ดี กว่า นะ ท่าน นะ
    โปรดพิจารณา
    เพราะที่ท่านทำ เปรียบได้กับ การประกาศให้คนออกห่างศาสนา โดยทีตัวท่านเองอาจลืมนึกในแง่นี้ไป แต่ท่านได้ทำไปแล้ว กรรมเกิดขึ้นแล้ว
     
  10. คนยอง

    คนยอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +242
    พ่อกับแม่ผมตายไปนานแล้วครับ ผมเหลือแต่รูปถ่ายท่านทั้งสองไว้แทนให้ระลึกถึงท่าน ผมอุทิศบุญให้กับท่านทั้งสองทุกวันไม่เคยขาด ผมกราบไหว้รูปถ่ายท่านทั้งสอง ผมพยายามทำตามคำสั่งสอนของพ่อแม่..ผมทำผิดหรือเปล่าครับ ผมกราบไหว้รูปถ่ายซึ่งก็คือกระดาษสองแผ่น ไม่ใช่พ่อกับแม่ผมแน่นอน ผมผิดใช่ใหมครับ ผมจะตกนรกใช่ใหมครับ ใครรู้(จริง)ตอบผมหน่อยครับ......................
    เช่นเดียวกันนะครับ ผมเกิดมาไม่ทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผมเคารพรักในพระบรมศาสดา ผม(พยายาม)ทำตามคำสั่งและคำสอนของพระพุทธองค์ ผมไม่เห็นองค์จริง ๆ ของท่านแต่มีบรรพชนผุ้นับถือพระพุทธศาสนาได้สร้างองค์แทนของพระองค์ท่านขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่กราบไหว้ ระลึกถึง ถ้าผมจะกราบไหว้พระพุทธรูปซึ่งเป็นเหมือนองค์แทนพระบรมศาสดา ผมจะต้องตกนรกใช่ใหมครับ?
    รูปถ่ายของพ่อกับแม่ซึ่งเป็นกระดาษสองแผ่นถ้าตกลงพื้นคุณจะกล้าเหยียบใหมครับ........ผมไม่กล้าครับ รูปถ่ายของพ่อกับแม่ คุณจะกล้าชี้หน้า(รูปถ่าย)แล้วบอกว่า อย่าไปกราบไหว้ (ขอโทษนะครับ) ไอ้ อีหัวหงอกนี้นะ มันไม่ใช่พ่อแม่ มันเป็นแค่เศษกระดาษ คุณกล้าใหมครับ....ผมไม่กล้าครับ
    ถ้าผมจะตกนรกเพราะกราบไหว้เศษกระดาษซึ่งเป็นรูปถ่ายแทนพ่อแม่ ผมยอมตกนรกครับ
    ถ้าผมจะตกนรกเพราะกราบไหว้พระพุทธรูปซึ่งเป็นเสมือนองค์แทนพระศาสดา ผมยอมตกนรกครับ...........
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๙๕/๒๖๑
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์
    บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี
    ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ
    ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๓๔/๔๑๘
    ๓. สังฆาฏิสูตร
    [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ
    เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปรกติ มีความกำหนัดแรงกล้า
    ในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้ง
    มั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่
    ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อม
    ชื่อว่าไม่เห็นเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐โยชน์ไซร้ แต่
    ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มี
    ความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัวมีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์
    โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะภิกษุนั้นย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา ฯ
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อ
    ว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท
     
  14. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑/๓๐๔
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
    ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "ความเชื่อที่งมงาย" โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

    ตีพิมพ์ในวารสารธรรมจักษุ ปีที่ ๗๙ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๓๘
    ปุถุชนเราตั้งแต่เกิดมา ย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องที่ก่อความใคร่ (กาม) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๑ แล้วยึดมั่นถือมั่นในความคิดความเชื่อของตัวเอง (ทิฏฐิ) เป็นสมบัติชิ้นที่ ๒ ส่วนสมบัติชิ้นที่ ๓ ก็คือ “ความงมงาย” (สีลัพพตปรามาส) ผู้ใดมัวแต่หอบหิ้วสมบัติชิ้นใหญ่ ๆ เหล่านี้อยู่ ย่อมไม่สามารถละจากความเป็นปุถุชน เพื่อไปสู่ความเป็นอารยชนหรือพระอริยเจ้าได้

    ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ปุถุชน (คนที่มีผ้าปิดบังดวงตาหนาทึบ กล่าวคือ คนโง่ คนเขลา คนหลง) จะต้องรู้ความผิดพลาดหรือเหตุที่ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะการหอบหิ้วทรัพย์สมบัติอย่างนี้อยู่ หลักพระพุทธศาสนาในส่วนปริยัติและการปฏิบัตินั้น ได้แก่ความรู้และการปฏิบัติ เพื่อถอนความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ไม่ฝังตัวเข้าไปในสิ่งทั้งหลายด้วยความยึดมั่นถือมั่น ในหลักศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ดังที่ท่านได้ตรัสยืนยันของท่านเอง สรุปแล้วก็คือ ”สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”

    แต่ปุถุชนไม่สามารถจะทำลายความยึดมั่นถือมั่น หรือไม่สามารถจะปล่อยวางสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นได้ ก็เพราะมีของน่ารักน่าใคร่เป็นเครื่องล่อ แล้วมีทิฏฐิความเห็นผิดของตนนานาชนิดเป็นเหมือนบ่วงหรือเบ็ด ทีนี้ยังเหลืออยู่แต่ว่า คนทั้งหลายจะโง่งมงายเข้าไปกินเหยื่อติดบ่วงติดเบ็ดนี้หรือไม่เท่านั้น ถ้าหากว่าไม่งมงาย เหยื่อกับบ่วงนั้นก็เป็นหมันไป เหยื่อกับบ่วงกลายเป็นสิ่งอันตรายขึ้นมา ก็เพราะความโง่เขลางมงายของตนเองมากกว่า ถ้าหากว่า คนเราปราศจากความงมงายแล้ว เหยื่อกับบ่วงก็ไม่อาจทำอันตรายแก่เราได้ ฉะนั้นเราจึงควรศึกษาเรื่องความงมงาย ที่อาตมาเรียกว่าเป็นสมบัติชิ้นที่ ๓ ที่ปุถุชนหอบหิ้วมาอย่างรุงรังนุงนังไปหมด ตั้งแต่สมัยป่าเถื่อนที่สุด จนกระมั่งถึงปัจจุบันนี้ ถ้าคนใดยังมัวแต่หอบหิ้วสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่างนี้อยู่แล้ว ก็ไม่สามารถเข้าไปในเขตของพระอริยเจ้า เราจะต้องสลัดทิ้งสิ่งที่เป็นข้าศึกเหล่านี้ออกให้หมด จึงจะเข้าถึงฝ่ายอันเป็นพระอริยเจ้าได้

    นี่ไม่ใช่เป็นการกล่าวอย่างอวดดีหรือยกย่องตัวเอง หรือชักชวนท่านทั้งหลายให้มักใหญ่ใฝ่สูง แต่เป็นการแสดงให้ทราบว่าเมื่อปุถุชนต้องการจะให้พ้นจากความทุกข์ก็ต้อง ปฏิบัติตามร่องรอยของหลักธรรมที่ท่านวางเอาไว้จึงจะละความเป็นปุถุชน คือคนหนาไปด้วยฝ้าในดวงตาให้มาสู่ความเป็นอริยเจ้า มีสติปัญญารู้แจ้งสิ่งทั้งปวงตามที่มันเป็นจริง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ปุถุชนย่อมไม่เห็นความจริงข้อนี้ จึงมีความยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแน่นเพราะไฝฝ้าที่บังดวงตากล่าวคือ ความเขลา ความโง่ ความหลงงมงาย มีหนามากมนดาวงตามันหุ้มห่อปัญญามากจนปัญญาไม่สามารถทำหน้าที่ของปัญญาได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้องขูดเกลาสิ่งเหล่านี้ออก เมื่อดวงตาสามารถมองเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงได้ ก็เรียกว่าเริ่มละจากความเป็นปุถุชนเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้า ซึ่งมีความหมายแต่เพียงว่าเป็นผู้เอาชนะหรือเริ่มเอาชนะความทุกข์ได้ดังนี้เป็นต้น

    ความงมงายนี้มีมาตั้งแต่เดิมยากที่จะถอนได้ แล้วยังทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของดีของถูก พลอยเป็นของไม่ดีไม่ถูกไปเสียด้วย พระอริยเจ้าจำพวกแรกที่สุดกล่าวคือ “พระโสดาบัน” ผู้ที่เข้าถึงกระแสของพระนิพพานนั้นจะต้องละได้ ๓ อย่าง คือ “สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา” และ “สีลัพพตปรามาส” อันสุดท้ายนี้แหละคือความงมงาย อนึ่ง มีสิ่งที่ควรกำหนดรู้ด้วยว่า ถ้าสติปัญญามีมากพอที่จะละความงมงายได้แล้วย่อมละ “สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา” สองข้อแรกนั้นได้อยู่ในตัว

    สิ่งที่เรียกว่า “สีลัพพตปรามาส” นี้มีผู้เข้าใจผิด เพราะเหตุที่ไม่มีคำอธิบายอย่างชัดแจ้งอยู่ในพระบาลีเลย มีกล่าวถึง “สีลัพพตปรามาส” แต่เพียงชื่อ จึงต้องอาศัยอรรถกถา คือคำอธิบายที่เขียนขึ้น ทำไมพระบาลีจึงไม่มีคำอธิบายในเรื่องนี้ อาตมาเชื่อแน่ว่าเพราะเป็นคำธรรมดาที่ใคร ๆ ในสมัยนั้นเข้าใจได้ทันทีว่าหมายถึงอะไร ในบาลีจึงไม่มีคำอธิบาย ต่อมาจึงไม่รู้ว่าคืออะไรแน่ ที่มีอธิบายไว้ก็กระท่อนกระแท่นเต็มที ซึ่งทำให้เห็นว่า แม้ในสมัยของอรรถกถา ซึ่งเขียนกันประมาณพันปีเศษ หลังจากปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ได้มีปัญหาในคำนี้มาแล้วเลยเขียนไว้สั้น ๆ ว่า ได้แก่การประพฤติอย่างใด อย่างสุนัข เช่น ทรมานตนอย่างใด กินหญ้าอย่างใด ทำลายความผาสุกทางกาย เป็นการทรมานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเขาหวังว่ากิเลสจะเบาบางไปเพราะเหตุนั้น ประพฤติอย่างสุนัขก็เช่นเดียวกัน เช่นถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ กินอาหารอย่างสุนัข นอนอย่างสุนัข ซึ่งเป็นของพวกมิจฉาทิฏฐิ นอกพุทธศาสนา และมีมาก่อนพุทธศาสนา แล้วมีอยู่เรื่อย ๆ มา เป็นเพียงวัตรปฏิบัติของนิกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่มีชื่อเสียงโด่งดังอะไร การที่อรรถกถาอธิบายเช่นนี้ก็เพราะผู้อธิบายไม่รู้ไม่เข้าใจคำว่า “สีลัพพตปรามาส” นั่นเอง

    ถ้าหาก คำนี้หมายความถึงความประพฤติอย่างสุนัขหรืออย่างโคแล้วก็เห็นได้ว่าในพวกเราเวลานี้ไม่มีใครประพฤติอย่างสุนัขและโค ซึ่งหมายความว่าพวกเราละความงมงายกันได้แล้วทุกคน แม้ในสมัยพุทธกาลหรือในสมัยต่อ ๆ มา ก็ปรากฏว่าไม่มีพุทธบริษัทประพฤติตัวอย่างโคหรืออย่างสุนัข ซึ่งก็แปลว่าเขาไม่มีความงมงายอยู่เป็นปกติแล้ว จะต้องกล่าวทำไมอีกถึงเรื่องนี้ นี่เป็นข้อที่ขัดแย้งในตัวเอง ฉะนั้น คำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ไร้สาระที่สุด

    ทีนี้เราก็จะต้องวินิจฉัยเอาเองว่า ความงมงายที่แท้จริงจะต้องละนั้นคืออะไร เมื่อได้พิจารณาโดยทางตัวหนังสือของคำนี้แต่ละคำ หรือทางความหมายก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า ได้แก่ความงมงายทุกชนิดที่เป็นสมบัติประจำตัวปุถุชน ความงมงายของคนเราที่มีอยู่เป็นอย่างไร เราต้องรู้สึกนึกถึงสมัยที่ยังป่าเถื่อน คือตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ในโลก เมื่อยังเป็นคนป่า เมื่อยังกลัวฟ้ากลัวฝน กลัวธรรมชาติที่เข้าใจไม่ได้ จนกระทั่งค่อย ๆ เปลี่ยนมากลัวผีสางนางไม้ หรือเทวดาที่ตนเชื่อว่าสิงประจำอยู่ในธรรมชาติเหล่านี้ แล้วก็มีการมอบกายถวายชีวิตแด่นางไม้ เทวดา หรือพระเป็นเจ้า มีพิธีบูชาขอร้องต่าง ๆ นานา ซึ่งก็ได้รับการปรับปรุงแก้ไขเรื่อย ๆ มาจนกระทั่งบัดนี้ แม้ในทุก ๆ วันนี้ก็ได้มีระเบียบวิธีสำหรับการบูชาที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิกันโดยวิธีแยบคายที่สุด กล่าวคือเพื่อจูงคนให้เลื่อมใสคล้อยตามไปได้มากที่สุด นี่คือสายหรือแนวแห่งความงมงายที่ตั้งต้นขึ้นมาตั้งแต่สมัยป่าเถื่อน แล้วก็มีการปรับปรุงขยับขยายให้จับอกจับใจขึ้นทุกที ๆ จนกระทั่งถึงบัดนี้ก็ยังละความงมงายกันไม่ได้ บางคนยังสะดุ้งกลัวต่อสิ่งที่คนเรียกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยังหวาดเสียวต่อสิ่งที่นาเองมองไม่เห็นตัวหรือเข้าใจไม่ได้ และยังมีความเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นมีอิทธิพลอยู่เหนือคน บังคับบัญชาคนอยู่ แม้จะได้เป็นนักศึกษาผ่ารนมหาวิทยาลัยมาแล้วก็ยังรู้สึกขนพองสยองเกล้าต่อสิ่งที่คนเข้าใจไม่ได้เหล่านั้นอยู่ คือ “ความงมงาย”

    ทำไมเราจึงเรียกความงมงายว่า สีลัพพตปรามาส ทั้งนี้เป็นด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความงมงายต่อสิ่งเหล่านี้มันทำให้บุคคลบัญญัติศีล และข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ขึ้นตามความงมงายของตนอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งนั้นคือ บุคคลที่กำลังประพฤติสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้วนั่นแหละ เช่นให้ทาน รักษาศีล หรือทำสมาธิด้วยความงมงาย ด้วยความเข้าใจผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง หวังผลผิด ใช้เหตุผลผิด หรือไม่ประกอบด้วยเหตุผลเสียเลย ทำเอาข้อปฏิบัติที่ถูกต้องหรือบริสุทธิ์สะอาดกลายเป็นข้อปฏิบัติทีสกปรก หม่นหมองไปเพราะความงมงายของผู้ปฏิบัติเอง สรุปความสั้น ๆ ก็คือ ความงมงายทำให้คนบัญญัติการปฏิบัติขึ้นมาอย่างงมงาย จนแทบจะมองดูไม่ได้ แล้วความงมงายของคนยังทำให้ ข้อวัตรปฏิบัติของพระพุทธเจ้าที่บริสุทธิ์ดีนั้น ให้กลายเป็นของมัวหมองไปเสียอีก สองอย่างนี้เรียกว่า “สีลัพพตปรามาส”

    ถ้าคนใดยังละความงมงาย ๒ ประการนี้ไม่ได้ ก็แปลว่า ยังไม่ถึงพระพุทธศาสนา แม้จะเรียกตัวเองว่าเป็นพุทธบริษัท ก็ยังไม่ใช่พุทธบริษัทที่แท้ และจะไม่สามารถละจากโคตรเดิม กล่าวคือโคตรปุถุชนเข้ามาสู่โคตรใหม่ คือโคตรของพระอริยเจ้าได้ ต้องเป็นปุถุชนหนาไปตามเดิม ไม่มีทางที่ใครจะช่วยได้ ฉะนั้น จึงต้องสนใจเรื่องความงมงายนี้กันเป็นพิเศษ ถ้าเราอยากจะมีความพ้นทุกข์ หรือดับทุกข์ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถึงขนาดจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ปลอดภัย คือเข้ามาถึงกระแสแห่งพระนิพพาน ซึ่งมีหวังแน่นอนว่า ต่อไปข้างหน้าผู้นั้นจะบรรลุถึงพระนิพพานในโอกาสใดโอกาสหนึ่งโดยไม่ต้องสงสัย

    เดี๋ยวนี้มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนส่วนมากยังไม่สามารถละความงมงายดังกล่าวนั้นได้ ยังติดแน่นหรือติดตังอยู่ที่ความงมงาย ถึงจะรักษาศีลมาเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้สึกว่ามีศีลบริสุทธิ์ หรือศีลช่วยอะไรไม่ได้ ประพฤติวัตรปฏิบัติมานมนานเท่าใด ก็ไม่เคยเห็นผล ฉะนั้น มันต้องทีอะไรผิดอยู่สักอย่างหนึ่งในการประพฤติธรรม อาตมาถึงขอร้องย้ำแล้วย้ำอีกว่า จงดูให้ดี ๆ แม้ว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกา ภิกษุสามเณร หรือพระเถระก็ตาม สิ่งที่เรียกว่าความงมงายนี้ อาจจะมีอยู่ได้ในข้อปฏิบัติของคนเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น พระภิกษุบางองค์ถือว่าพอได้ลงปาฏิโมกข์แล้วก็สะอาดหมดบาปหมดกรรม หมดเวรกันไปเสียที มีความรู้เพียงเท่านี้ มีความเชื่ออย่างนี้ แล้วก็ไปลงปาฏิโมกข์ในวันอุโบสถ นั่งฟังอยู่อย่างนกแก้วนกขุนทอง จบแล้วก็โล่งใจว่าบริสุทธิ์กันเสียที เหมือนกับสะบัดขี้ฝุ่นออกจากตัวอย่างนั้น ลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็นความงมงายอย่างยิ่ง เป็นความงมงายไร้เหตุผล ทำลายความมุ่งหมายเดิมของการลงอุโบสถหรือปาฏิโมกข์นั้นให้หายไปหรือเปลี่ยนไป หรือให้กลายเป็นสิ่งที่น่าหัวเราะเยาะไป แม้แต่ในเรื่องของภิกษุที่ถือกันว่าคงแก่เรียนนั้น ความงมงายก็ยังมีอยู่ได้ถึงเพียงนี้ การประพฤติปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความงมงายไม่ชอบด้วยเหตุผล เช่นว่ารักษาศีลหรือปฏิบัติธุดงค์ หรือว่าสมาทานวัตรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเชื่อว่าจะกลายเป็นผู้มีอะไรพิเศษขึ้นมา เกิดอำนาจขลังศักดิ์สิทธิ์อะไรขึ้นมา หรือแม้ที่สุด ไปคิดเสียว่ามันจะทำให้โชคดี มีโอกาสร่ำรวยได้โดยง่าย หรือจะฟลุกถูกรางวัลนั่นนี่ได้โดยง่าย หรือแม้ที่สุดว่าทำเพื่อหวังไปเกิดในสวรรค์ในวิมาน ซึ่งมีความหมายเป็นกามคุณอย่างยิ่งเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นความงมงายทั้งนั้น เพราะเหตุว่าศีลและวัตรต่าง ๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตั้งไว้เพื่อความมุ่งหมายดังกล่าว ท่านบัญญัติไว้เพื่อขูดเกลาความเห็นแก่ตัวหรือขูดเกลากิเลสให้เบาบาง ให้ยึดมั่นถือมั่นน้อยลงต่างหาก เมื่อไปเปลี่ยนความมุ่งหมายเดิมจนกลายมาเป็นเรื่องจะพอกพูนความเห็นแก่ตัวจัด เอาอะไรเป็นของตัวตามอำนาจของกิเลสตัณหาหรือทิฏฐิเหล่านี้แล้ว มันก็เท่ากับมีมืออันสกปรกมาลูบคลำศีลและวัตรที่บริสุทธิ์สะอาดให้กลายเป็นสิ่งที่สกปรกไป จึงกล่าวได้ว่าเป็นความงมงาย กลายเป็นเรื่องนอกลูนอกทาง นอกรีตนอกรอยและนอกพระพุทธศาสนาไป เราจะต้องระมัดระวังกันเป็นพิเศษอย่าให้เสียเกียรติของพุทธบริษัทเป็นอันขาด พุทธบริษัท แปลว่า กลุ่มของบุคคลผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สมกับที่เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมแห่งคน รู้คนตื่น คนเบิกบาน จะมีเรื่องงมงายก็กำลังมีอยู่ในที่ทั้งปวง มีอยู่ในวัตรปฏิบัติของพุทธบริษัททุกแขนง และทุกระดับไม่ว่าที่ไหน และเมื่อใด

    ส่วนมากของความงมงาย ก็ได้แก่ความเข้าใจผิดในทางขลังทางศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันเป็นมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์โน้น สมัยที่ยังเป็นคนป่าคนดง เป็นคนที่ยังไม่มีการศึกษาอะไรเลย ครึ่งคน ครึ่งสัตว์ กลัวต่อสิ่งที่ตนไม่อาจเข้าใจได้ เรียกว่ากลัวต่อสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ความรู้สึกว่าศักดิ์สิทธิ์หรือขลังนั้นยังไม่ได้สูญหายไป ยังคงมีสืบมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ แม้ในหมู่คนที่มีการศึกษาดี ๆ แม้เป็นภิกษุสามเณรก็ยังรู้สึกว่ามีอำนาจอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์นอกเหนือไปกว่าธรรมดา ยังหวาดสะดุ้งต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนมองไม่เห็นตัว แล้วมีความเชื่อว่ามันมีอยู่จริงจึงเกิดการปฏิบัติต่าง ๆ ที่กระทำไปเพื่อปลดเปลื้องความกลัวนี้ เช่นการเสกเป่าบนบานอ้อนวอนบูชา ฯลฯ กระทำกันอยู่ในหมู่ภิกษุหรือแม้ในหมู่พระเถระอย่างงมงาย ไม่ต้องตามหลักของพระพุทธศาสนาหรือของพระพุทธเจ้า ทำไปโดยอำนาจของความเขลาในของศักดิ์สิทธิ์ เชื่อในของขลังของศักดิ์สิทธิ์ บางทีตัวเองก็อาจจะรู้เหมือนกันว่า ไม่ใช่เรื่องของพุทธศาสนา แต่เมื่อไม่อาจจะละได้ ก็เลยถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ฝากไว้ ในฐานะเป็นของผนวกเข้ากับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็เกี่ยวกับเรื่องผีสางเทวดาเป็นส่วนมาก ถ้าใครยังสะดุ้งกลัวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจอุปาทาน หรือ สีลัพพตปรามาสอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้มั่นใจเถอะว่าคนนั้นยังมีความงมงาย ไม่ว่าจะเป็นคนชนิดไหนหรืออยู่ในเพศใด

    อำนาจของความกลัวและความงมงายทำให้คนต้องกันเข้าหาที่พึ่งภายนอก คือแทนที่จะพึ่งความดีที่ตนเองกระทำ กลับไปพึ่งที่พึงภายนอก แล้วแต่เขาจะมีความงมงายไปทางไหน อาจจะถือที่พึ่งเป็นผีสางเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก หรือแม้ที่สุดการคิดพึ่งผู้อื่นอะไรก็ให้คนอื่นเขาช่วยเสียเรื่อยไป ถ้าไม่มีใครช่วยก็ถือว่าไม่ยุติธรรม อย่างนี้ก็ควรถือว่าเป็นการถือที่พึ่งภายนอกด้วยเหมือนกัน มีใครสักกี่คนที่มีความแน่ใจในการพึ่งการกระทำของตนเอง คือพึ่งความดี พึ่งการกระทำที่ถูกต้องของตนเอง แทบจะกล่าวได้ว่า คนที่มีจิตใจแน่วแน่กล้าหาญเฉียบขาดอย่างนี้หาได้ยากที่สุด มีแต่คนที่จะคิดพึ่งผู้อื่นแล้วยิ่งได้รับการสอนการอบรมมาผิด ๆ ก็ยิ่งคิดจะพึ่งผีสางนางไม้ พึ่งอะไรที่มองไม่เห็นตัวเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น วัดความงมงายของคนได้ด้วยเหตุที่มีศาลพระภูมิมากขึ้น มีการดูฤกษ์ยามมากขึ้น ถ้ามีศาลพระภูมิ หรือมีหมอสะเดาะเคราะห์มากขึ้น ก็เป็นเครื่องแสดงที่แน่ชัดที่สุดว่า คนเราหวังที่พึ่งภายนอกมากขึ้น ๆ แทนการหวังที่พึงภายในคือการกระทำอันถูกต้องคลองธรรมด้วยสติปัญญาที่รุ่งเรืองตามองค์พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ที่แท้จริง ซึ่งได้แก่การกระทำที่ถูกต้อง จนเกิดความสะอาด สว่าง สงบขึ้นในใจ

    ยังมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า การถือที่พึ่งภายนอกมีมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเชื่อได้ว่า ความงมงายไม่อยู่ในอำนาจแห่งเหตุผล ยิ่งหนาแน่นมากขึ้นเท่านั้น หุ้มห่อคนโง่เหล่านั้นให้มืดมิด ให้ตกจมไปในห้วงแห่งความงมงายมากขึ้น แล้วผลที่จะตามมาข้างหน้าต่อไปนั้น ก็จะต้องเป็นความสับสนยุ่งยากอลเวงมากขึ้นทุกที ๆ ตามสัดส่วนของความงมงาย จนกระทั่งเหลือวิสัยที่พวกเราจะปัดเป่าความยุ่งยากโกลาหลนี้ให้หมดสิ้นไปได้ เพราะว่าเราได้เพิ่มเติมความงมงายขึ้นในพวกของเรากันเองนี้อยู่เรื่อย ๆ ให้มันมากขึ้น ๆ เท่า ๆ กับที่การศึกษาในทางโลก ๆ ได้เจริญมากขึ้น พิสูจน์กันได้ง่าย ๆ โดยข้อเท็จจริงที่ว่าเครื่องหมายของการถือปัจจัยภายนอก เช่นการหวังพึ่งเทวดา หรือศาลพระภูมิ การดูฤกษ์ยาม หรือการอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก มันมีมากขึ้น หนาขึ้น มันไม่น้อยลง ผู้ที่มีความเข้าใจถูกต้องในพระพุทธศาสนา จะไม่อ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกมาเป็นเครื่องบันดาล มันเพิ่งเกิดมีขึ้นใหม่ไม่นานมานี้เอง เราจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยเรานี้ ยิ่งมีความงมงายหนาแน่นยิ่งขึ้นกว่ายุคก่อน ๆ เป็นอันว่า เราไม่ควรจะนอนใจว่า ความงมงายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าหวาดเสียว ไม่สำคัญสำหรับเรา “สีลัพพตปรามาส” ไม่ใช่ข้อปฏิบัติอย่างสุนัข อย่างโค แต่ร้ายไปยิ่งกว่าการปฏิบัติอย่างสุนัข อย่างโคเสียอีก ทำไมจึงว่าอย่างนี้ ถ้าเราจะพิจารณาดู ก็จะเห็นว่าสุนัขหรือโคที่เขาอ้างถึงในอรรถกถา มันไม่ได้กลัวผีกลัวเทวดา มันไม่ได้อ้อนวอนพระภูมิเหมือนกับพวกมนุษย์ มันไม่ได้หมอบกราบสิ่งที่มันไม่รู้จักตัวเหมือนกับพวกมนุษย์ ใครเคยเห็นสุนัขหรือโคกลัวผีกลัวเทวดา หรือทำพิธีบวงสรวงอ้อนวอน เราจะเห็นว่าไม่มีเลย แต่แล้วทำไมมนุษย์ที่เจริญด้วยการศึกษากลับมาหมอบราคาบแก้วหัวจรดดินไหว้ผีไหว้สาง บวงสรวงบุชาเทวดา อันไหนมันจะร้ายกว่ากัน ไม่ต้องสงสัยละ ความงมงายของคนที่เป็นถึงขนาดนี้ มันย่อมร้ายกาจยิ่งไปกว่าศีลและวัตรของสุนัขหรือโคแน่ ๆ

    อาตมาอยากจะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ อีกสักเรื่องหนึ่งว่า ถ้าใครเรียนวิชาความรู้โดยผิดความมุ่งหมายของวิชานั้นก็ถือว่าเป็น “สีลัพพตปรามาส” เหมือนกัน เช่นภิกษุเรียนธรรมวินัยด้วยความมุ่งหมายผิดไปจากธรรมวินัยแล้ว ต้องถือว่าการกระทำนั้นเป็นความงมงาย อีกอย่างหนึ่งมีพระบาลีพุทธภาษิตว่า “พวกโมฆบุรุษนี้เรียนปริยัติ เพราะปรารภเสียงสรรเสริญของปริยัติ และเพื่อจะใช้เป็นเครื่องอ้างเพิ่มน้ำหนักให้เป็นคำพูดของตนเอง” ลองฟังดูให้ดี ๆ ถ้าใครก็ตามเรียนปริยัติ เรียนธรรมะและวินัย เพราะความปรารถนาสรรเสริญของโลก หรือว่าเรียนให้รู้แตกฉาน เพื่อจะได้เอามาประกอบคำพูดของตัวให้มีน้ำหนักก็ดี อย่างนี้ท่านเรียกว่า “โมฆบุรุษ” คือเป็นคนไม่ได้รับประโยชน์จากธรรมวินัย ความมุ่งหมายของการเรียนธรรมวินัยก็คือ เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ และปฏิบัติอย่างไรจึงจะเกิดทุกข์ อย่างนี้เท่านั้น ใครเรียนเพื่อลาภ ยศ สักการะ เสียงสรรเสริญ ฯลฯ ไม่ได้เรียนสำหรับนำไปปฏิบัติเพื่อดับทุกข์โดยตรงแล้ว ท่านเรียกว่าเป็น “โมฆบุรุษ” ซึ่งถือว่าเป็นคำด่าอย่างแรงที่สุดในพุทธศาสนา

    ฉะนั้นเรื่องสีลัพพตปรามาสนี้ เราจะต้องพิจารณากันเสียใหม่ อย่าได้ปล่อยไว้ในฐานะเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่ได้นำมากล่าวอย่างซ้ำซาก และยกตัวอย่างไว้อย่างกว้างขวางเช่นนี้ ก็เพราะอาตมามีความสลดใจ หรือมีความเป็นห่วงเป็นทุกข์แทนพวกเราทุกคน ในการมี่ไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่าความงมงาย พวกเราได้ปล่อยให้สิ่งนี้ขยายตัวกว้างออกครอบคลุมพวกเรามากขึ้น ๆ คล้ายกับว่า เราได้เผลอปล่อยให้สิ่งที่น่าสะดุ้งน่าหวาดเสียวนี้ครอบงำพวกเรามากขึ้นทุกที ความงมงายเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว ถ้ารู้สึกตัวเสียแล้วก็ไม่ใช่ความงมงาย ถ้าเรายิ่งเผลอ หรือยิ่งทำเล่น ๆ กับมันมากเพียงใด ความงมงายก็ยิ่งขยายตัวขึ้นมากเพียงนั้น ฉะนั้น หวังว่าคนทุกคนคงจะได้สอบสวนพิจารณาตัวเองให้รู้จักสิ่งที่ควร เรียกว่า “ความงมงาย” นี้ให้มากเป็นพิเศษกว่าที่แล้ว ๆ มา ขอให้เข้าใจว่า ความงมงายคือเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจของเหตุผลทุกชนิด เป็นสมบัติชิ้นที่ ๓ ของปุถุชนที่ได้อุตส่าห์หอบหิ้วแบกหามกันมานานหนักหนาแล้วนับตั้งหมื่นปี แสนปี มาจนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่ยอมปล่อย ฉะนั้นปุถุชนเหล่านี้จึงเข้าไปในเขตของพระอริยเจ้าไม่ได้ เพราะมัวคิดหรือมัวแต่แบกหามหอบหิ้วสมบัติชิ้นที่ ๓ นี้กันอย่างไม่หยุดหย่อน จึงนับว่าเป็นสิ่งที่น่าสะดุ้งหวาดเสียวที่สุด เพราะว่าตั้งหลายหมื่นหลายแสนปีแล้วที่ได้หอบหิ้วกันมา และเป็นเครื่องกักขังตัวเองไว้ในกรงของปุถุชนคนหนา อย่างที่ไม่มีวันที่จะหลุดออกได้ เราต้องอาศัยหลักพระพุทธศาสนามาเป็นเครื่องมือสำหรับถอนความงมงายข้อนี้ แล้วเราจึงจะเข้าถึงตัวพระพุทธศาสนาที่แท้จริง

    ทีนี้จะกล่าวถึงหลักพระพุทธศาสนาที่เป็นเครื่องขจัดหรือถ่ายถอนความงมงายหลักนี้เราเรียกว่า “กาลามสูตร” หรือ เกสปุตติยสูตร เป็นพุทะภาษิตจัดไว้สำหรับแก้ไขความงมงาย เฉพาะเรื่องเดิมมีอยู่ว่า คนกลุ่มหนึ่งได้ทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงข้อที่เขากำลังงงกันไปหมดโดยไม่อาจทราบได้ว่า ข้อปฏิบัติอย่างใดจะดับทุกข์ได้โดยตรง ครูบาอาจารย์พวกนี้ก็มาสอนอย่างหนึ่ง พวกโน้นก็มาสอนอีกอย่างหนึ่ง มากมายหลายพวกด้วยกัน จนไม่รู้ว่าอันไหนเป็นที่เชื่อถือได้ ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้แก่เขา

    ลักษณะเช่นนี้ เราน่าจะนำมาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในยุคของพวกเราทุกวันนี้บ้างเหมือนกัน เพราะว่าในปัจจุบันนี้ ก็มีหลักปฏิบัติพุทธศาสนาในพระไตรปิฎกบ้าง นอกพระไตรปิฎกบ้าง ครึ่ง ๆ กลาง ๆ บ้าง ของไทยบ้าง ของต่างประเทศบ้าง ดูจะสับสนวุ่นวายกันพอใช้ จนประชาชนที่สนใจเกิดงงงันกันไป แล้วเราจะทำอย่างไร ฉะนั้นน่าจะอาศัยการแก้ปัญหาข้อนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่นเดียวกัน คือพระองค์ได้ตรัสสอนคนเหล่านั้นว่า

    ๑. อย่าได้ถือโดยเหตุสักว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่บอกต่อ ๆ กันมา

    ๒. อย่าเชื่อโดยเหตุสักว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เขาได้ทำตาม ๆ กันมา

    ๓. อย่าได้เชื่อโดยเหตุสักว่า มันเล่าลือกันกระฉ่อนไปหมดแล้ว ว่าเป็นความจริง

    ๔. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า มันมีอ้างอยู่ในคัมภีร์หรือปิฎก (ตำรับตำรา)

    ๕. อย่าได้เชื่อถือโดยการเดาของตัวเอง

    ๖. อย่าได้เชื่อถือโดยการคาดคะเนของตัวเอง

    ๗. อย่าได้เชื่อถือโดยการตรึกตรองตามเหตุผลส่วนตัว

    ๘. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า มันเข้ากันได้กับลัทธิความเชื่อถือที่ตนกำลังถืออยู่เป็นประจำ

    ๙. อย่าได้เชื่อถือโดยเหตุสักว่า ผู้พูดหรือผู้สอนนั้นเป็นครูบาอาจารย์ของเรา

    ในข้อสุดท้ายนี้ ขอให้เข้าใจไว้ด้วยว่า คำว่า “ครูบาอาจารย์” นั้น หมายถึงพระพุทธเจ้าท่านเองด้วย เพราะว่าในบาลีแห่งอื่นได้กล่าวไว้ชัดเจน พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธว่า “อย่าเชื่อโดยเหตุว่าตถาคตกล่าว” หรือ “อย่าเชื่อคำของตถาคต โดยไม่พิจารณาให้เห็นแจ้งเห็นจริง” นี่เราจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าท่านได้มีพุทธประสงค์จะให้เราหลุดพ้นจากการเป็นทาสของความงมงายเพียงไร ท่านให้อิสรภาพอย่างไร ท่านให้เราเป็นผู้กล้าหาญในการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ท่านทรงมุ่งหมายให้เราหลุดจากความเป็นคนงมงายโดยเด็ดขาด เพราะความงมงายนี้ ย่อมเป็นอุปสรรคอันดับแรกของการที่จะดำเนินไปสู่เขตแดนของพระอริยเจ้า

    ข้อแรกที่ว่า อย่าเชื่อเพราะเหตุสักแต่ว่าคนเขาบอกต่อ ๆ กันมา นี่ก็หมายถึงสิ่งที่เขาสอน ๆ กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงคนชั้นนี้ เราจะถือว่าถูกต้องตามไปด้วยนั้นยังไม่ได้ เราจะต้องใช้ปัญญาของเราพิจารณาด้วย

    ข้อ ๒. ที่ว่า อย่าเชื่อเพราะเขาทำตาม ๆ กันมา ก็ด้วยการทำด้วยกายให้เป็นตัวอย่าง เช่น พ่อแม่ตื่นนอนขึ้น ก็เสกคาถาอย่างนั้นอย่างนี้ ลุกหลานเห็นเข้าก็เสกคาถาตาม การไหว้ทิศ ไหว้พระอาทิตย์ หรือไหว้ของศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน พอลูกหลานเห็นบิดามารดาทำ ก็ทำตามไปด้วย พ่อแม่คนใดออกไปนอกพระพุทธศาสนา เด็ก ๆ ก้ออกไปตามโดยไม่รู้สึกตัว นี่เป็นการสอนเด็กของเราให้หันเหออกไปนอกพระพุทธศาสนา ไปรับเอาลัทธิที่งมงายเป็นภัยเป็นอันตรายแก่เด็กเองมากยิ่งขึ้นทุกที ๆ และพวกเด็กไม่มีเหตุผลของตนเองว่าทำไปแล้วมันจะเกิดทุกข์เกิดโทษอย่างไร เมื่อมีการสอนด้วยวาจา หรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เด็กก็ตะครุบเอาทันที เป็นอันว่า การใช้สติปัญญาพิจารณาโดยเหตุผล ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้เลย ฉะนั้น การบอกต่อ ๆ กันมาหรือการทำตาม ๆ กันมา การอ้างประเพณีนั้นประเพณีนี้ จึงเป็นทางทำให้เกิดความงมงายขึ้นเท่านั้น แม้ในเรื่องการวิปัสสนาหรือกรรมฐาน คนเราก็กลับนิยมสิ่งที่บอกต่อ ๆ กันมา หรือทำตาม ๆ กันมา หรือเชื่อข่าวเล่าลือมากกว่าที่จะยึดเอาตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในตำราเสียอีก คิดดูให้ดี ๆ เพียงแต่ว่ามีอยู่ในตำรา พระพุทธเจ้าท่านก็ยังห้ามไม่ให้ยึดถือทันที แต่แล้วพวกเราก็ยังยึดถือสิ่งที่อยู่นอกตำรับตำราทันที

    วิปัสสนากรรมฐานเรื่องอานาปานสติ มีอยู่อย่างสมบูรณ์ในตัวพระไตรปิฎกเอง โดยเฉพาะที่เป็นหัวข้อแท้ ๆ มีอยู่ในมัชฌิมนิกาย การทำอานาปานสติอย่างไรตั้งแต่ต้นถึงที่สุดก็มีอยู่ยืดยาวสมบูรณ์ที่สุด ถูกต้องที่สุดตามหลักของพระพุทธศาสนา แต่แล้วก็ไม่มีใครสนใจเลย สู้เอาตามที่เขาบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากไม่ได้ สู้เอาที่เขาทำตามกันมาอย่างปรัมปราไม่ได้ หรือสู้แบบที่เขาเล่าลือแตกตื่นสรรเสริญกันฟุ้งไปหมดว่าที่นั่นวิเศษ ว่าที่นี่วิเศษไม่ได้ อันนี้เองจึงเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาอย่างงมงายกันขึ้น เพราะโทษที่ไม่ถือตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงกำชับไว้ อาตมาไม่ได้ตั้งใจกระทบกระเทียบกระแนะกระแหนผู้ใด หรือหมู่คณะใด ประสงค์จะยกตัวอย่างเรื่องจริง ๆมาปรับทุกข์กันมากกว่า ว่าการตื่นข่าวเล่าลือหรือว่าความเชื่ออย่างงมงายที่บอกต่อ ๆ กันมาตามข้อ ๓ นี้นั้น มันทำให้เกิดความงมงายขึ้นในวงการชั้นสูงของพระพุทธศาสนา กล่าวคือวงการของวิปัสสนาอันเป็นขั้นที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่แล้วก็ถูกความงมงายครอบงำทับไปหมด สูญสิ้นไปหมด เกิดวิปัสสนากรรมฐานชนิดที่นอกตำรับตำราขึ้นมาแทน นี่แหละเป็นที่น่าสลดสังเวชใจและน่าห่วงสักเพียงใด ขอให้เราลองใช้ปัญญาคิดกันดู

    ข้อที่ ๔. พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า พวกเธออย่าเชื่อโดยเหตุสักว่า สิ่งนี้มีอ้างอยู่ในตำรับตำรา แต่การที่อาตมาชักชวนท่านทั้งหลายให้ถืออานาปานสติกรรมฐาน โดยอ้างว่ามีอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น ที่แท้แล้วอาตมาไม่ต้องการให้ท่านทั้งหลายยึดถือเอาข้อปฏิบัติเหล่านี้ โดยเหตุแต่เพียงว่า มันมีอยู่ในตำรา แต่ได้ชี้ให้เห็นว่า มันมีอย่างสมบูรณ์ในพระไตรปิฎก ซึ่งเราจะต้องพิจารณาศึกษาให้ละเอียดให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยสติปัญญาของตัวเอง ว่าถ้าเราทำไปอย่างนี้แล้ว ในระดับนี้ จิตจะสงบเป็นสมาธิได้จริง ในระดับนี้จิตจะยกเอาความสุขที่เกิดจากสมาธินั้น มาเป็นอารมณ์ของการพิจารณาให้เห็นว่า ความสุขอย่างนี้มันก็ไม่เที่ยง ไม่น่ายึดถือ และในขั้นสุดท้ายก็จะต้องปล่อยทั้งหมด นับว่าเป็นการพิจารณาโดยสติปัญญาของตนเอง แล้วก็เห็นสมจริงตามข้อความที่ท่านกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก มันเกิดผลขึ้นมาจริงอย่างไรนั้นเป็นลำดับ ๆ ไป การแน่ใจอย่างนี้ไม่ใช่ความงมงาย เพราะได้พิจารณาโดยเหตุผลแล้วยังได้ปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนตลอด และรู้จักสิ่งเหล่นั้นด้วยการที่ได้ผ่านไปจริง ๆ กลายเป็นความรุ้แจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาหยั่งรู้หยั่งเห็น ส่วนความงมงายนั้นมันไม่ประกอบด้วยเหตุผลเสียเลย มันจึงเป็นสิ่งที่ท่านสมเพชเวทนาอย่างยิ่ง

    ข้อที่ ๕ – ๖ – ๗ เกี่ยวกับ การเดาเอาเอง คาดคะเนเอาเอง และตรึกตรองตามเหตุผลส่วนตัว หรือสิ่งแวดล้อมเฉพาะตัว ๓ ข้อนี้เป็นความงมงายอย่างหนัก จริงอยู่ที่คนพวกนี้เขาไม่เชื่อตำรา ไม่ตื่นข่าวเล่าลือที่บอกกันต่อ ๆ มา หรือทำสืบ ๆ กันมา แต่กลับเดาเอาเอง ใช้เหตุผลในเรื่องของตัวเอง อย่าได้ถือว่าการใช้สติปัญญาของตนเองแล้วจะไม่เป็นการงมงายเสมอไป มันอาจเป็นความงมงายที่ซ้อนความงมงาย คือตัวนึกว่าตัวมีปัญญาของตัวเองจนไม่เชื่อคำของคนอื่น แต่ที่ถูกนั้นเราจะต้องอาศัยเหตุผลอย่างอื่น ๆ เข้ามาประกอบการนึกคิดของเราด้วย แม้สิ่งที่คนบอกเล่ากันมาก็เอามาประกอบเป็นเหตุผล ถ้าทำอย่างนี้การคาดคะเนจะผิดน้อยลง อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าท่านว่ายังไม่พอ ท่านต้องลองให้ปฏิบัติดูจนเกิดผลปรากฏขึ้นมาจริง ๆ แล้ว ข้อที่ ๕ – ๖ – ๗ นี้จึงจะปลอดภัย

    ข้อที่ ๘. ที่ว่า อย่าเชื่อเพราะมันตรงกับลัทธิของตน นั้น หมายความว่า ตามธรรมดา คนเราทุกคนย่อมมีทิฏฐิหรือความเชื่อ ความคิด ความเห็น ความเข้าใจอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นของประจำตัวอยู่เสมอ นี่เรียกว่าลัทธิของตัว เป็นลัทธิความเชื่อที่สร้างขึ้นเอง ยึดมั่นถือมั่นเองอย่างเหนียวแน่น และยกขึ้นเป็นสัจจธรรมของตัวเอง ตามธรรมชาติของคนทั้งหลายเขาจะไม่เชื่อสิ่งต่าง ๆ นอกเหนือไปกว่าที่เขากำลังเข้าใจอยู่ในขณะนั้น ถ้าเขามีความรู้เท่าใด เคยเชื่ออย่างไรและสันดานอย่างไร เขาจะยึดเอาเพียงแค่นั้นว่าเป็นความจริงถูกต้องของเขา จนกว่าเขาจะได้รับการศึกษาเพิ่มเติมขึ้นอีก หรือปฏิบัติเพิ่มเติมก้าวหน้าต่อไปอีก ความจริงหรือความเชื่อของเขาจึงจะก้าวหน้าต่อไปได้ สัจจธรรมของบางคนก็อยู่ในระดับต่ำมาก เช่นความเชื่อของเด็ก ๆ หรือของคนเกเรอันธพาล แต่เขาก็ถือว่าของเขาถูก ถึงหากบางทีเขาไม่กล้าค้านความเห็นของบุคคลอื่นเพราะจำนนต่อเหตุผล เขาอาจจะยอมรับเอออวยไปด้วย ซึ่งก็เป็นแต่ปากเท่านั้น ส่วนใจจริงของเขายังถือตามความเชื่อเดิมของตน ลัทธิเดิมจึงเป็นสิ่งครอบงำคนนั้นอย่างเหนียวแน่นควบคุมหรือป้องกันคนคนนั้นไม่ให้หลุดไปจากความงมงายได้ ขอเราทุกคนอย่าได้ตกอยู่ในลักษณะอย่างนี้ จงค่อย ๆ ถอนตัวออกมาจากความเชื่อเดิม ๆ มาสู่สัจธรรมที่เป็นของจริงของแท้ของพระพุทธเจ้า มิฉะนั้นแล้วคนนั้นจะต้องตกอยู่ในความเชื่อของตัวตลอดไป และจะถูกล่อลวงเมื่อไรก็ได้ ถ้าคนหลอกลวงเหล่านั้นเขามีอะไรมาให้ ชนิดจะเข้ากันได้กับความเชื่อเดิม ๆ ของตน ความงมงายนั้นก็จะทำให้ผู้นั้นรับเอาทันทีอย่างไม่ลืมหูลืมตา ถูกล่อลวงโดยไม่รู้ตัวว่าถูกล่อลวง เพราะมันตรงกับความเชื่อของตนอยู่ดั้งเดิม และผู้พูดก็อยู่ในฐานะที่พอจะเชื่อได้เสียด้วย เช่น พวกนักบวชเป็นต้น

    ข้อที่ ๙. ที่ว่า อย่าเชื่อเพราะผู้พูดอยู่ในฐานะที่พอจะเชื่อได้ นี้ ขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับอาตมาเอง คือมีคนชอบอ้างว่า “ถ้าไม่เชื่อก็ให้ถามท่านดูซิ” นี่แสดงว่า เขาจะให้คนอื่นเชื่ออาตมา เพราะอาตมาอยู่ในฐานะที่พอจะเชื่อได้ อย่างนี้แล้ว ถ้าอาตมาร่วมมือก็รู้สึกว่าเป็นการร่วมกันกบฏต่อพระพุทธศาสนา และล้มล้างระเบียบของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น ยอมไม่ได้ เราต้องตักเตือนเขาให้พิจารณาดูด้วยสติปัญญาของตัวเอง ให้เข้าใจคำพูดหรือตัวหนังสือทุก ๆ ประโยค แล้วให้เขาไปสอดส่องจนเกิดความเห็นแจ้งขึ้นมาเอง ฉะนั้นเราควรเลิกอ้างบุคคล เชื่อถือคำพูดของบุคคล เชื่อความคิดของใคร ๆ แต่เราจะรับฟังไว้ในฐานะว่า ท่านพอจะเชื่อได้บ้าง แต่ท่านก็อาจจะเข้าใจเรื่องผิด ฟังผิด สำคัญผิด วินิจฉัยผิดไปได้เหมือนกัน เราจะรับคำของท่านไปพิจารณาดูเท่านั้น เราจะไม่ถือเอาคำพูดของท่านเป็นคำพิพากษาเด็ดขาด

    ข้อที่ ๑๐. อันเป็นข้อสุดท้ายว่า อย่าเชื่อเพราะเหตุที่เป็นครูบาอาจารย์ของเรา ทำไมพระพุทธเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ คล้ายกับว่า จะไม่ให้เราเชื่อบิดามารดาครูบาอาจารย์ เดี๋ยวนี้เรามีปัญหาเฉพาะหน้าที่ทำความยุ่งยากมากอยู่แล้ว คือเด็ก ๆ ไม่ค่อยเชื่อบิดามารดาครูบาอาจารย์ แต่แล้วทำไมพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนเช่นนั้น เรื่องนี้ต้องวินิจฉัยกันให้มากสักหน่อย มิฉะนั้นแล้วจะเข้าใจความหมายข้อนี้ผิด คือเราต้องแบ่งคนตามขั้นของจิตใจ เมื่อใครไม่อยู่ในวิสัยที่จะคิดนึกได้ด้วยตนเอง ผู้นั้นก็ต้องอยู่ในกรอบของระเบียบประเพณีไปก่อน นี่หมายความว่า เมื่อใครยังไม่มีเหตุผลพอที่จะลบล้างขนบธรรมเนียมประเพณี ก็จำต้องเชื่อไปก่อน เหมือนเด็กจะต้องเชื่อบิดามารดาครูบาอาจารย์ไว้ก่อน เมื่อโตขึ้น ค่อยศึกษา ค่อยวินิจฉัยวิพากษ์วิจารณ์สิ่งเหล่านั้นในภายหลัง จนกระทั่งรู้ว่า ตัวเองผิดอย่างไร ถูกอย่างไรได้ด้วยตนเอง ยิ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์วินิจฉัยมากขึ้นเท่าใด คำแนะนำสั่งสอนก็พิสูจน์ตัวเอง ว่า ถูกหรือผิดมากขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นการที่เด็ก ๆ จะต้องเชื่อฟังบิคามารดาครูบาอาจารย์ในที่นี้จึงไม่ขัดกับ “กาลามสูตร” แต่ส่วนมากก็คือว่า เด็กไม่ยอมเชื่อ เพราะมันไม่ตรงกับความต้องการของตัวเอง หรือด้วยความสำคัญผิด ฉะนั้นจึงต้องทำความเข้าใจในข้อ ๑๐ นี้ให้ดี ๆ มิฉะนั้นจะไปลบหลู่บิดามารดาครูบาอาจารย์เข้าก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยสอนอะไรผิด แต่เราไม่ได้เชื่อตามท่านทันที

    ในบรรดาความงมงายทั้งสิบประการนี้ ขอให้พวกเราสำรวจตัวเองดูว่า มันมีอยู่ในตัวเราข้อใดบ้าง และมากน้อยเพียงใด พระพุทธเจ้าท่านถือว่า ความงมงายนี้เป็นเหตุอันหนึ่งซึ่งจะนำคนไปสู่ความพินาศตามความต้องการของพญามาร คือ กิเลสตัณหา ที่ทำให้เกิดความทุกข์ ชนิดที่เรียกว่า ตกนรกทั้งเป็น การตกบ่อ บ่อที่มีหอกแหลนหลาวนั้นเป็นการเจ็บเพียงแต่กาย ไม่ได้ทำให้คนเสียมนุษยธรรมหรืออะไรดี ๆ ของมนุษย์เลย แต่ถ้าเราตกบ่อความงมงายเหล่านี้ มันจะสูญเสียความเป็นมนุษย์ เสียคุณธรรมที่ดีหมด จึงถือได้ว่าน่ากลัว น่าหวาดเสียว ยิ่งกว่าความตายทางกาย ความตายทางจิตใจนี้ คือตายหรือตกจมอยู่ในความมืดของความโง่ หลง แต่พวกเรากลับไม่กลัวกันเลย ไปกลัวความเจ็บไข้ความตายทางกาย กลัวอด กลัวไม่ได้อะไรมาบำรุงร่างกาย จึงได้กล้าทำสิ่งต่าง ๆ ที่ผิดศีลธรรม เมื่อผิดศีลธรรมแล้วก็ไม่ต้องสงสัย มันย่อมขัดขวางความบรรลุมรรคผลนิพพาน จึงหวังว่าท่านทั้งหลายคงจะได้พิจารณากันดูให้รู้จักสมบัติชิ้นที่ ๓ ของปุถุชนที่อุตส่าห์หอบหิ้วกันมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์โน้น คือสมัยที่ยังเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ มาจนกระทั่งทุกวันนี้โดยไม่เสื่อมสิ้นไปได้ เพราะอำนาจของอะไร เพราะอำนาจของสีลัพพตปรามาสนั่นเอง ถ้าความเชื่อความงมงายนี้ยังไม่ถูกละออกจากตัวใครแล้ว คนนั้นก็ไม่มีหวังจะเข้าไปถึงเขตของพระอริยเจ้า ทั้ง ๆ ที่ตนจะทำวิปัสสนาชนิดไหนมากเท่าใด และประพฤติปฏิบัติกันอย่างไร การปฏิบัติธรรมของผู้นั้น จะถูกลูบคลำให้เศร้าหมองไปด้วยความงมงายโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น ควรถือว่า ความงมงาย หรือที่เรียกว่า ความไม่อยู่ในอำนาจของเหตุผลนั้น เป็นปัญหาที่จะต้องสนใจอย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยปละละเลยต่อไปอีก
     
  16. pgame

    pgame เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +184
    พระพุทธรูป ไม่ใช่ พระพุทธเจ้า
    แต่ พระพุทธรูป คือเครื่องอุบายให้ระลึกถึง คุณของพระพุทธเจ้า
    แค่นี้ชัดไหม

    อย่ายึดติดในสมมุติให้มากนักเลยนะท่าน กำลังใจแต่ละคนไม่เท่ากัน
    อุบายก็เลยเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้เข้าถึงธรรม
    อุปมาเหมือนการข้ามแม่น้ำ หากมีเรือ จะข้ามแม่น้ำได้ดีกว่า ว่ายน้ำข้ามด้วยตนเอง จริงไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2012
  17. starcom1

    starcom1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +726
    ในบทสวดทำวัตรเช้า ก็มีสวด
    สัพเพสังขารา อะนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
    สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช้ตัวตน ดังนี้

    บทสวดต่อ เพราะมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีทุกข์โศก รออยู่ ขอให้มีปัญญาเห็นแจ้ง เข้าถึงนิพาน เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วย

    ให้ทิ้งทุกข์อย่างตอนนิพาน ไม่ใช้เดินยังไม่ได้ก็ไม่เอาปูน ไม่เอากระดาษ ก็ทำที่สุดแห่งกองทุกข์นี้ไม่ได้ เพราะคนที่ทำได้มีพระพุทธเจ้าเท่านั้น สาธุ (ไม่เข้าใจแน่ๆ ตรัสรู้เองไง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 พฤษภาคม 2012
  18. pgame

    pgame เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +184
    ผมเข้าใจนะท่าน
    ขอบคุณท่าน ที่ช่วยขยายความข้างบนให้อีกแบบ
     
  19. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    จะต่อว่าคนอื่นก็ต้องเอาพระธรรม พระสงฆ์ มาแปดเปื้อน

    แบบนี้ก็เสื่อมนะท่าน อุรุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2012
  20. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    เหตุผลของ คุณเกษม วัดสามแยกที่ทำลายพระพุทธรูป

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ An Arpa [​IMG]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=L8cGrFqgQWE&feature=g-all-f&context=G2c00ebdFAAAAAAAABAA"]สอนวิธีดับจิตให้สูญสลาย - YouTube[/ame]


    เข้าไปเล่น youtube เลยเจอคลิปนี้ ...เพียงเพื่อนำมาให้ฟังดู เท่านั้น...
    ขออโหสิกรรมต่อทุกท่านด้วยนะ...
    -------------------------------

    หลวงพ่อเกษม วัดสามแยก จังหวัดเพชรบูรณ์ สอนวิธีดับจิตให้สูญสลาย

    ถ้าดู VDO แล้วสังเกตุให้ดี วิธีการปฏิบัติของ คุณเกษม วัดสามแยก จะเข้าใจได้ทันทีว่า คำอธิบายดังกล่าวนี้ ไม่ใช่ วิธีการปฏิบัติ เพื่อดับจิต ตามหัวข้อกระทู้

    ถ้าสังเกตุให้ดีจริงๆ กำลังอธิบายผลของการดับ โดยไม่มีเหตุแห่งการดับ ซึ่งผลของการดับ คุณเกษม วัดสามแยก จึงเกิดจากอุปทาน ความนึกคิด ของตนเอง ทั้งสิ้น

    พุทธศาสนานั้น มีเหตุมีผลของการเข้าถึง ถ้าอ้างว่าเข้าถึงแต่ไม่สามารถอธิบายวิธีการเข้าถึงได้ ผู้นั้นเข้าถึงซึ่งอุปทาน ความนึกคิด ของตนเอง ทั้งสิ้น

    เมื่อย้อนกลับไปอ่านสิ่งที่ คุณเกษม วัดสามแยก สมาธิทั้งหมดตั้งแต่แรก วิธีการปฏิบัติสมาธิของ คุณเกษม วัดสามแยก เป็นวิธีการเดียวกับ คนบ้า คือ

    คุณ เกษม วัดสามแยก ไม่สามารถทำจิตให้สงบได้ เมื่อมีจิตฟุ่งซ่าน จึงไปกำหนดไปเพ่งที่ความฟุ่งซ่าน เมื่อเพ่งที่ความฟุ่งซ่าน สติก็แตก เมื่อสติแตกก็ปรากฎความบ้าๆ บอๆหลงว่าบรรลุธรรม แบบนี้

    ผู้ บรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาในโลกนี้ ไม่มีผู้ที่บรรลุธรรมท่านใดบรรลุธรรมโดยการเพ่งไปที่ความฟุ่งซ่าน แบบนี้ ผู้ที่เพ่งไปที่ความฟุ่งซ่าน ไปคิดแข่งกับความฟุ่งซ่านก็มีเฉพาะคนบ้าเท่านั้น

    คุณเกษม วัดสามแยก ไปคิดแข่งกับความฟุ่งซ่าน ก็เลยบ้าๆบอๆแบบนี้ ลองไปอ่านดูว่าจริงหรือไม่

    เมื่อคุณเกษม วัดสามแยก สติแตกบ้าๆบอๆ ความฟุ่งซ่าน และกำลังอวิชา จึงเข้าแทรกอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง

    เมื่อกำลังอวิชา จึงเข้าแทรกอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง ก็มีสิ่งที่เกิดขึ้น กับ คุณเกษม คือ คุณเกษม เห็น สิ่งที่ปุถุชนทั่วไปยากที่จะเห็นได้
    สิ่งที่คุณเกษม เห็นจึงเป็นพวกปีศาจ พวกมาร ทั้งสิ้น

    เรื่อง จริงมีอยู่ว่า วันหนึ่ง เด็กวัดสามแยก รดน้ำต้นไม้ โดยมือถือพระเครื่องอยู่ น้ำที่รดน้ำต้นไม้ จึงผ่านพระเครื่องทั้งหมด ที่นี่ พวกปีศาจ พวกมาร ที่อยู่ในวัด มันเรียก คุณเกษม วัดสามแยก ว่า "พ่อ"พวกปีศาจ พวกมาร ที่ถูกรดน้ำในวันนั้น ตัวขาดและตายไปเป็นจำนวนมาก มันก็ไปฟ้อง พ่อมัน คือ คุณเกษม วัดสามแยก

    คุณเกษม วัดสามแยก จึงให้ทำลายพระเครื่อง หรือที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธรูปทั้งหมดในวัด เรื่องนี้นานมาแล้ว และเคยถูกอัด VDO ลงใน youtube และเป็นสาเหตุให้ คุณเกษม วัดสามแยก ทำลายพระพุทธรูปในปัจจุบันโดยพยายามเอาพระไตรปิกฎมาเป็นข้ออ้าง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...