นักธรณีมหิดลชี้เราต้องอยู่กับ “แผ่นดินไหว” ให้ได้

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 12 เมษายน 2012.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>นักธรณีมหิดลชี้เราต้องอยู่กับ “แผ่นดินไหว” ให้ได้</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>12 เมษายน 2555 16:39 น.</TD><TD vAlign=center align=left><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; HEIGHT: 35px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrshort.aspx?NewsID=9550000046190&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD height=1 vAlign=bottom width=1 align=right>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=bottom background=/images/linedot_hori.gif align=middle>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=bottom width=1 align=left>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center background=/images/linedot_vert.gif width=1 align=middle>[​IMG]</TD><TD><TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center background=/images/linedot_vert.gif width=1 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=1 vAlign=top width=1 align=right>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=top background=/images/linedot_hori.gif align=middle>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=top width=1 align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>ดร.วีระชัยชี้จุดเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 เม.ย.55 (ภาพอ้างอิงจากวิชาการธรณีไทย)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=12 vAlign=bottom align=left>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160 align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>พลังงานจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมามากเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่เมื่อคำนวณแล้วการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไปได้มากกว่า</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>กราฟคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งนำมาแปรผลหาความรุนแรง ตำแหน่งและรูปแบบการเกิดแผ่นดินไหวได้ (ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่มีนักแผ่นดินไหวโดยตรง)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ต้องใช้ข้อมูลสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวตั้งแต่ 3 สถานีขึ้นไปเพื่อหาจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ลักษณะแผ่นดินไหวจากการเลื่อน 3 แบบ (บน) การเลื่อนแบบปกติ (กลาง) การเลื่อนแบบย้อน (ล่าง) การเลื่อนตามแนวระดับ ซึ่งเป็นลักษณะของแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 เม.ย.55</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=1 vAlign=center width=165 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=/images/linedot_vert3.gif width=4>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=7 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เป็นอีกครั้งที่เหตุแผ่นดินไหว ได้รับความสนใจ เนื่องจากจุดเกิดเหตุอยู่ใกล้เคียงบริเวณที่ทำให้เกิดสึนามิคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 140,000 คน เมื่อปี ’47 แต่โชคดีว่าเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมาไม่ก่อให้เกิดเหตุการณ์วิปโยคอีกครั้ง แต่ท่ามกลางข่าวสารมากมายที่กระเพื่อมมาตามแรงไหวของพสุธา นักธรณีวิทยาจากมหิดลได้เผยข้อมูลวิชาการเพื่อทำความเข้าใจกันชัดๆ

    รศ.ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ นักธรณีฟิสิกส์และหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 เม.ย.55 ที่ผ่านมาว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 8.6 ริกเตอร์ และ 8.2 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวแบบเลื่อนตามแนวระนาบ ต่างจากแผน่ดินไหวเมื่อปี 2547 ที่เป็นการเลื่อนแบบย้อนขึ้น และจุดเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้อยู่คนละจุดกับครั้งก่อน

    ดร.วีระชัยกล่าวว่าทั่วโลกให้ความสำคัญต่อเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 เม.ย.รวมถึงมีการแจ้งเตือนเนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในตำแหน่งใกล้เคียงที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อปี 2547 และยังมีความรุนแรงเกิน 8 ริกเตอร์ ซึ่งโดยปกติเมื่อแผ่นดินไหวเกินกว่า 7 ริกเตอร์ในทะเล ก็จะมีการแจ้งเตือนและเฝ้าระวังสึนามิอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าจะส่งผลกระทบทันทีใน 1-2 วัน โดยต้องจับตาดูเรื่อยๆ ว่าครั้งนี้จะส่งผลกระทบให้เกิดการเลื่อนครั้งใหญ่ที่อื่นหรือไม่

    สำหรับแผ่นดินไหวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติเนื่องจากเปลือกโลกมีการเลื่อนอยู่ตลอดเวลา เช่น เฉลี่ยปีละ 2 มิลลิเมตร หรือปีละ 2 เซนติเมตร เป็นต้น ซึ่งหากมีการเลื่อนอยู่เรื่อยๆ ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเมื่อไรที่มีการกักเก็บพลังงานแล้วเลื่อนฉับพลันจะเกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของ “คลื่อนแผ่นดินไหว” ที่ปลดปล่อยออกมาในทุกทิศทาง ซึ่งเราก็เครื่องและสถานีตรวจวัดคลื่นเหล่านี้อยู่ทั่วโลก

    จากเหตุแผ่นดินไหวที่ผ่านองค์การสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (US Geological Survey) หรือยูเอสจีเอส (USGS) สามารถแจ้งเตือนทั่วโลกได้ภายในไม่กี่นาที ซึ่ง ดร.วีระชัยอธิบายว่า เพราะในเวลาเพียง 1-5 วินาทีคลื่นแผ่นดินไหวสามารถเดินทางไปทั่วโลก และยูเอสจีเอสก็มีสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวอยู่ทั่วโลก ซึ่งภายในเวลาไม่เกิน 10 นาทีก็สามารถประมวลผลได้ว่าเกิดแผ่นดินไหวที่จุดใด ความรุนแรงเท่าไร และเป็นแผ่นดินไหวจากการเลื่อนแบบใดของเปลือกโลก โดยอาศัยการวิเคราะห์กราฟแสดงคลื่นแผ่นดินไหว

    คลื่นแผ่นดินไหวนั้นมี 2 ชนิดคือ คลื่นภายในและคลื่นพื้นผิว สำหรับคลื่นภายในนั้นจะเคลื่อนที่เฉพาะภายในโลก และทุกส่วนของโลกนั้นถึงกันหมด จึงเป็นเหตุผลว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้ว สหรัฐฯ ญี่ปุ่นหรือพื้นที่ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวจึงทราบได้ โดยคลื่นชนิดนี้จะใช้เวลาเดินทางไม่กี่วินาที และเมื่อเกิดแล้วก็สามารถรายงานได้ทันที ส่วนใหญ่ไม่อันตราย และคลื่นภายในยังแบ่งเป็น 2 แบบคือ คลื่นปฐมภูมิ (Primary Wave) ที่เคลื่อนตัวแบบอัด-ขยาย หรือคลื่น P และคลื่นทุติยภูมิ (Secondary Wave) หรือคลื่น ซึ่งทำให้ตัวกลางเคลื่อนตัวในแนวตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น

    สำหรับคลื่นที่สร้างความเสียหายคือคลื่นพื้นผิว ซึ่งจะทำลายสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ไม่แข็งแรงเพียงพอ และใช้เวลาในการเคลื่อนที่นานกว่า โดยปกติคลื่นแบบนี้จะค่อยๆ ลดความรุนแรงไปตามเวลา แต่ในบางครั้งสภาพทางธรณีก็ขยายความรุนแรงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังศึกษากันอยู่ และคลื่นแบบนี้เองทำให้ตึกสูงต่างๆ รู้สึกสั่นไหวไปด้วย แต่จะเกิดขึ้นเฉพาะบางตึกที่มีความสูงพอเหมาะกับความถี่ของคลื่นเท่านั้น และคลื่นพื้นผิวนี้ก็มีขนาดหลายร้อยเมตรจึงสามารถทำลายสิ่งก่อสร้างใต้ดินที่ไม่แข็งแรงได้

    ดร.วีระชัยอธิบายว่าโดยธรรมชาติแล้วสิ่งของต่างๆ หรือแม้แต่ตัวเรานั้นล้วนมี “ความถี่ธรรมชาติ” เป็นค่าเฉพาะตัวค่าหนึ่ง และเมื่อมีความถี่ค่าเดียวกันมากระทบจะทำให้เกิดการขยายความถี่และเกิดการสั่นที่รุนแรง เรียกว่าเป็นสั่นพ้องหรือการกำทอน โดยในกรณีแผ่นดินไหวนั้นหากความถี่ของคลื่นแผ่นดินไหวตรงกับความถี่ธรรมชาติของตึกหรืออาคารใดก็จะทำเกิดการสั่นที่รุนแรง ซึ่งจากศึกษาของต่างประเทศพบว่าอาคารในพื้นที่ศึกษานั้นที่มีคามสุงระหว่าง 16-40 ชั้นมีความถี่ธรรมชาติตรงกับความถี่ของคลื่นแผ่นดินไหว หากแต่ในเมืองไทยหรือกรุงเทพฯ นั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเพราะสภาพพื้นดินไม่เหมือนกับพื้นที่ศึกษาของต่างประเทศ

    การเกิดแผ่นดินไหวนั้นจะเป็นแนวไม่ใช่เกิดแค่จุดใดจุดหนึ่ง แต่ ดร.วีระชัยกล่าวว่าตามรายงานมักแสดงการเกิดแผ่นดินไหวเป็นจุด เนื่องจากเป็นจุดที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุด โดยแผ่นดินไหวนั้นจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ (Main Shock) ที่รุนแรงที่สุด จากนั้นจะเกิดการปรับตัวเข้าสู่สมดุลที่เรียกกันว่าอาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) โดยเกิดการสั่นไหว ณ จุดเดิม ซึ่งอาจเกิดความรุนแรงมากกว่าแผ่นดินไหวใหญ่ก็ได้ แต่ยังไม่พบว่ามีครั้งไหนที่อาฟเตอร์ช็อกรุนแรงกว่าแผ่นดินไหวใหญ่

    ไม่มีใครทราบว่าจะเกิดอาฟเตอร์ช็อกไปอีกนานแค่ไหน โดยเหตุการณ์เมื่อปี 2547 ก็ยังคงตรวจพบอาฟเตอร์ช็อกมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นก่อนเมนช็อกโดยเกิดแผ่นดินไหวเล็กๆ หลายครั้งก่อนแผ่นดินไหวใหญ่ เรียกว่า ฟอร์ช็อก (Foreshock) แต่เกิดขึ้นน้อย ส่วนมากจะ “ตูม!” ไหวครั้งใหญ่เลย” ดร.วีระชัยกล่าว

    ปัจจุบันเครื่องวัดแผ่นดินไหวเป็นแบบดิจิทัลที่ฝังลงดิน โดยมีอุปกรณ์จีพีเอสระบุพิกัด มีแบตเตอรี เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอุปกรณ์เหล่านี้จะส่งสัญญาณออกไป ซึ่ง ดร.วีระชัยแจงว่านักแผ่นดินไหวจะวิเคราะห์ได้ว่ากราฟข้อมูลแผ่นดินไหวที่ได้รับนั้นเป็นลักษณะของแผ่นดินไหวที่รุนแรงแค่ไหน เกิดขึ้นจากการเลื่อนแบบใด และเกิดขึ้นที่จุดใด ซึ่งการระบุตำแหน่งนั้นต้องอาศัยข้อมูลจากสถานีวัดตั้งแต่ 3 สถานีขึ้นไป แต่ทางยูเอสจีเอสจะใช้ข้อมุลจากสถานีวัดแผ่นดินไหวทั่วโลกเพื่อวิเคราะห์แผ่นดินไหวให้แม่นยำที่สุด

    การเตือนแผ่นดินไหวนั้นต้องอาศัยเครือข่ายและความร่วมมือทั่วโลก เพราะแม้ไทยจะติดตั้งอุปกรณ์วัดแผ่นดินไหวทั่วประเทศก็ไม่ช่วยอะไรนัก แต่ทั้งนี้ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหิดลได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว 2 แห่งที่ อ.ทองผาภูมิ และ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เพื่อการศึกษาทางด้านธรณีฟิสิกส์ ศึกษาโครงสร้างของแผ่นเปลือกโลก รวมถึงศึกษาแผ่นดินไหวในระดับท้องถิ่น

    สำหรับเมืองไทยยังไม่มีนักแผ่นดินไหวจริงๆ ที่มีอยู่ก็ใกล้เคียง ซึ่งข้อมูลที่ผมนำมาถ่ายทอดนี้ก็เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานที่นักธรณีวิทยาทั่วไปทราบอยู่แล้ว ประเทศไทยนั้นโชคดีที่ไม่มีแผ่นดินไหวใหญ่ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ อาจจะ 1 ใน 1,000 หรือ 1 ใน 10,000 แต่ก็เกิดขึ้นได้ ไม่มีใครตอบได้ว่าจะเกิดเมื่อไร และในมีร่องรอยที่บอกว่าในอดีตเมืองไทยเคยแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 8 ริกเตอร์” ดร.วีระชัยกล่าว

    จากการเปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแผ่นดินไหวของ ดร.วีระชัยได้ชี้ว่าเราไม่อาจหนีเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ เพราะเราอาศัยอยู่บนแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา เหมือนเราอยู่บนตัวต่อจิ๊กซอว์ เมื่อแผ่นหนึ่งขยับย่อมไปชนเข้ากับแผ่นอื่นๆ แต่เราต้องอยู่กับแผ่นดินไหวให้ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เราทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นแน่ และสิ่งที่คร่าชีวิตผู้คนไม่ใช่แผ่นดินไหวโดยตรง หากแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นที่คร่าชีวิตเรา โดยประเทศไทยนั้นมีโอกาสได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 8 ริกเตอร์ได้จากแนวรอยเลื่อนสะแกงในพม่า รวมถึงรอยเลื่อด่านเจดีย์สามองค์ และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์




    <CENTER>แผ่นที่แสดงการเกิดแผ่นดินไหวตามจุดต่างๆ ทั่วโลก เมื่อวันที่ 12 เม.ย.55 จากเว็บไซต์องค์การสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (USGS) </CENTER>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ถ้าธรรมชาติจัดมา ก็ต้องอยู่กันไปแหละ แต่จะเปลี่ยนสภาพจากเดิน เป็นคลาน
     
  3. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    เราต้องอยู่กับแผ่นดินไหวให้ได้

    ก็ไม่ทราบกระบวนทัศน์ทางความคิดของบรรดาเหล่าด็อกๆ ทั้งหลายเหมือนกัน
    รู้ว่าเขตไหนมีอันตราย หลีกเลี่ยงได้ แต่ไม่หลีก แล้วยังบอกให้อยู่ด้วยกันให้ได้

    ผู้คนเหล่านี้ยึดติดตำราทางวิทยาศาสตร์ที่ร่ำเรียนมา
    แต่ไม่ยอมคิดนอกกรอบหาหนทางที่เป็นไปได้อย่างมีนัยยะแห่งหนทางรอด

    ใครจะอยู่ร่วมกับแผ่นดินไหวภัยพิบัติ ก็ตามสะดวกแล้วกัน นะครับ
     
  4. komsant

    komsant เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +262
    ท่านอาจารย์คงอยู่เหนือภาวะวิสัย ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่สำหรับเราเรา ท่านท่าน ขอมีชีวิตอยู่เท่าที่บุญจะนำพา เพื่อประกอบความดีในช่วงชีวิตหนึ่ง ไม่นั่งทอดอาลัย ไม่ตื่นตะหนก ใช้ความรู้เท่าที่มี เพื่อนำมาตัวเองและครอบครัวไปอยู่ในจุดที่มีพุทธบารมี ฉัพพรณรังสี คุ้มครองเหล่าเวไนยสัตย์ เพื่อประกอบกรรมดี กุศลดี ต่อไป. แต่หากไปไม่ถึงฝั่งก็คงน้อมรับชะตากรรม อย่างน้อยก็ได้พยายามแล้ว
     
  5. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    :cool: ดีครับ ผมนับถือความศรัทธาในความดีของคุณ Komsant ผมอยู่กรุงเทพ ก็ไม่ไปไหนเหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  6. Prophecy

    Prophecy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,221
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +7,605
    พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้กลัวตาย แต่ให้ระลึกถึงความตายอยู่ตลอด ที่ผมทำๆ มาในชาตินี้ หากผมต้องตายตอนนี้ผมไม่เสียดายแล้ว ใครจะว่าผมโง่ก็เอาเหอะ คนฉลาดพอมีเงินก็หนีไปอยู่ยอดเขาได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...