สอบถามเรื่องการนอนภาวนาครับ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย kirakungzz, 4 เมษายน 2012.

  1. kirakungzz

    kirakungzz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +145
    คือว่าปกติก่อนนอนผมมักจะทำตามคำแนะนำของหลวงพ่อเสมอ
    โดยจะพยายามพิจารณาว่าชีวิตเป็นของไม่เที่ยงแต่ความตายเป็นของเที่ยง
    ชีวิตนี้มีแต่ทุกข์ ถ้าตายไปจะไม่เอาโลกมนุษย์อีก เทวโลก พรหมโลกก็ไม่เอา
    ขอไปพระนิพพานซึ่งมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและหลวงพ่อฤๅษีอยู่ที่เดียว
    แล้วก็ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆครับ ซึ่งบางครั้งภาวนาจนเหมือนจะหลับไปแล้ว
    แต่อยู่ดีๆจิตก็ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเหมือนว่าจะหลุดออกจากร่างตัวเองครับ
    ร้สึกว่าตัวเองลอยขึ้นไปเรื่อยๆ ใหม่ๆก็ตกใจมากและกลัวว่าจะหลุดออกไปจากร่างจริงๆ
    แต่หลังๆก็พยายามตั้งสติและเอาจิตจับพระ โดยคิดว่าถ้าไปตอนนี้ก็ขอไปพระนิพพานเท่านั้นครับ
    จนกระทั่งวันนี้ตอนนอนตอนเย็นๆก็เกิดอาการแบบนี้อีก แต่คราวนี้รู้สึกว่าคุมสติได้ดี
    ตอนรู้สึกว่ากำลังลอยขึ้นไปเรื่อยๆก็รีบจับภาพพระทันที ต่อมาปรากฏภาพพระพุทธรูปขึ้นมา ผมก็รีบกราบ แล้วก็ไม่รู้สึกตัวอีกเลยครับ
    อยากทราบว่าอาการแบบนี้คืออะไรเหรอครับ หรือว่าเป็นอุปาทานของผมไปเอง
    และถ้าเป็นอุปาทานเราควรจัดการกับมันอย่างไรครับ

    ขอบพระคุณที่กรุณาตอบคำถามครับ
     
  2. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    476
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,858
    เอาจิตจับภาพพระ ก็ถูกต้องแล้วครับ เคยได้ฝึกมโนฯมาบ้างหรือเปล่าครับ ลักษณะที่ว่า อาจจะเกิดจาก กายทิพย์ออกจากร่างน่ะครับ ถ้าเคยไปฝึกมโนฯก็ขอบารมีพระพุทธองค์ึยกจิตขึ้นไปกราบพระบนนิพพานเลยครับ เพราะถ้าอยู่บนนิพพาน อารมณ์ รักโลภ โกรธหลง จะเบาบาง

    หลวงพ่อเล็กท่านบอกว่า พยายามทรงอารมณ์ให้จิตรักพระนิพพานเข้าไว้ โดยหากว่างก็ยกจิตไปกราบพระบนนิพพานเลยครับ โดยส่วนตัวผมว่าไมใช่อุปาทานนะครับ ผมมองว่าเป็นพุทธานุสติมากกว่า เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผมก็ทรงอารมณ์แบบนี้เกือบทั้งวัน ส่วนมากถ้าว่างก็จับภาพพระ จับลมหายใจบ้าง ท่องคาถาเงินล้านบ้าง แต่จะพยายามไม่ให้จิตว่าง วอกแวกไปที่อื่น คือหากเราทำงานไปด้วยก็แบ่งอารมณ์ัซัก ๒๐ เปอร์เซ็นต์เอาไว้ทำกรรมฐานโดยอาจจะจับภาพพระ หรือจับลมหายใจก็ตามอัธยาศัยครับ
    ปล. จับภาพพระเป็นพุทธนุสติ หากพระเป็นสีเหลืองก็เป็นกสิณ จับลมเป็นอานาปานสติ ได้กรรมฐานหลายกองดี ครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  3. kirakungzz

    kirakungzz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +145
    ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำครับ
    เมื่อประมาณปีที่แล้วเคยไปฝึกมโนมยิทธิที่บ้านสายลมครับ
    ส่วนภาพพระผมจับเป็นพระใสครับ เวลาที่นึกขึ้นได้ก็จะจับภาพพระลอยอยู่เหนือศีรษะครับ
     
  4. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    476
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,858
    ถ้าเคยฝึกมโนฯก็น้อมจิตเข้าสู่นิพพานเลยครับ เพราะจุดมุ่งหมายที่สุดของเราอยู่ที่นั่น เวลาหลับก็จะหลับสบายๆ ผมขออนุญาต นำธรรมมะหลวงพ่อมาโพสเพื่อประกอบความเข้าใจของการเข้าฌานเวลานอนนะครับ



    ฌานหลับ
    "............... ความจริงถ้าเราสามรถทำจิตเข้าถึงฌานได้ทุกวัน ถ้าทำเข้าถึงฌานได้ทุกวันนี่ การตายของเราทั้งหมด แม้แต่ไอ้เรื่องนรก เลิกกลัวได้ใช่ไหม นี่วิธีเข้าฌานแบบง่ายๆ ก็นอนหลับเข้าฌาน ฌานหลับ อันนี้มันเป็นฌานจริงๆ คือ ว่าเวลานอนลงไปเราจะภาวนาอย่างไรก็ได้ที่เป็นกุศล แต่ว่าจะพิจารณาลมหายใจเข้าออกเฉยๆก็ได้ หรือว่าจะพิจารณาขันธ์ ๕ ก็ได้ ถ้าจิตอยู่ในอารมณ์ทั้ง ๓ ประการนี้ก็หลับไป จงทราบว่า ถ้าจิตเราไม่เข้าถึงปฐมฌานเพียงใด มันจะไม่ยอมหลับ

    ที นี้ถ้าเราภาวนาอยู่หรือพิจารณาอยู่ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ แล้วก็หลับไป ขณะหลับตอนนั้นจิตเข้าถึงปฐมฌานแล้วจึงหลับ ในขณะที่หลับอยู่ท่านถือว่าหลับทรงอยู่ในฌาน ถ้าตายเวลานั้นเป็นพรหม นี่หากว่าบรรดาญาติโยทพุทธบริษัทสามารถทำได้อย่างนี้ทุกวันนะ เวลานอนลงไปภาวนาหรือพิจารณาหรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก็จงอย่าบังคับ ถ้ามันจะหลับก็อย่าบังคับให้มันทรงตัวอยู่ ปล่อยให้หลับไปเลย เมื่อเริ่มลงนอนภาวนาว่า พุท ไม่ทัน โธ หลับ ยิ่งดีใหญ่ เพราะฌานนี่เราต้องการเข้าเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ ไม่ใช่มานั่งโคลงกันใช่ไหม การเข้าฌานนี่นะเขาต้องการเร็วมาก หมายความว่าอย่างเรานอนหลับๆพอพ้นจากฐานสุขปุ๊บ รู้สึกตัวเข้าฌานได้ทันที อันนี้เขาต้องการ วิธีที่เข้าฌานเขาต้องการให้เร็วที่สุดที่จะเร็วได้ ไม่ใช่ว่านั่งภาวนาได้นานๆจิตถึงเข้าฌาน นี่ไม่ทันกิน ไม่ทัน ดีไม่ดีเดินๆไปเจอมดตัวเล็กๆเห็นหน้าแล้วเราชอบใจ หัวเราะก๊ากๆตกใจตาย เลยเข้าฌานไม่ทันเลย


    นี่การเข้าฌานถือว่าให้เร็ว ที่สุด เพราะว่าการภาวนาเป็นการทรงจิตให้อยู่ในสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นการทรงจิตให้อยู่ในสมาธิ แต่ว่าสมาธิที่เราจะพึงได้เราต้องการเร็วที่สุดใช่ไหม นี่มันถึงจะทัน เพราะว่าเวลาเราจะตายเรานึกไม่ได้เลย นึกไม่ได้ว่าขณะที่เราจะตายโดยฉับพลันหรือค่อยๆตาย เราก็ค่อยๆคุมใจได้ แต่ถ้ามันตายในฉับพลันเราก็ไม่ทัน ทั้งนี้ก็เป็นการว่าเราจะตายเมื่อไรเราก็ไม่รู้ ตอนก่อนจะหลับ นอนภาวนาให้หลับไป ให้จิตเป็นทิพย์ ถ้านอนภาวนาหลับไปนี่มันจะหลับเร็วขึ้นทุกวันเลย หนักๆเข้าพอนึกปั๊บเดี๋ยวมันก็หลับ


    พอ หลับแล้ว บางทีเราเคยนอน ๘ ชั่วโมง สบายเลย ถ้าเราหลับด้วยการภาวนาหลับ ความจริงแค่ ๒-๓ ชั่วโมง ตื่นมาจะมีกำลังทันทีเพราะจิตมันทรงตัว จิตไม่เหนื่อย


    และก็เพื่อเป็นการป้องกัน ไอ้การที่เราตื่นขึ้นมาใหม่ๆนี่มันเป็นวันใหม่ จิตเราอาจจะไม่ทรงอยู่ในคุณความดีตามสมควร ถ้าตายแล้วอาจจะพลาดเป็นอกุศล นี่ตอนเช้ามืดเรานอนอยู่แบบนั้น ไม่ต้องลุกขึ้นมานั่งก็ได้ พอตื่นขึ้นมาแล้ว แล้วเราก็ภาวนาให้สบาย
    พอใจสบายแล้วลุกไปทำงาน ถ้าเวลาไม่กระชั้น ถ้าคนนอนตื่นสายไม่ได้แน่(หัวเราะ) กินข้าวไม่ทันใช่ไหม นี่ถ้าตื่นเช้ามืดก็จับคำภาวนาตามจุดสัก ๕ นาที ๑๐ นาทีตามเวลา ให้จิตสบาย ถ้าจิตสบายเช้ามืดอยู่ในระดับฌานไหนก็ตาม วันนั้นทั้งวันเขาจะถือว่าจิตทรงอยู่ในฌาน แล้วบังเอิญไปตายด้วยกรณีใดๆก็ตาม อย่างเลวที่สุดก็ไปสวรรค์ ถ้าอย่างดีก็ไปพรหม อย่าลืมนะ นี่เป็นการเอาทุนไว้ตั้งแต่เช้ามืดใช่ไหม

    อัน นี้เป็นเรื่องสำคัญมากรู้หรือเปล่า โดยเฉพาะพระธุดงค์ เขาจะต้องฝึกจิตแบบนี้เป็นปกติ ธุดงค์นะ ไม่ใช่ธุบ้าน ปักกลดข้างเสาบ้านนั้นไม่ใช่ธุดงค์แล้ว ธุบ้านไม่เกี่ยวนะ ธุนี่ไม่จำเป็น เพราะธุดงค์ป่าลึกนี่เขาต้องคิดอยู่เสมอว่าอาจจะเสือกัดตายก็ได้ ช้างกระทืบตายเมื่อไรก็ได้ ดีไม่ดีนกกระจอกพูดไปพูดมาเป็นลมตาย ฟังเสียงนกกระจอกนะ เราต้องถือ มรณานุสสติกรรมฐาน เป็น อารมณ์ แล้วก็ต้องคิดว่าถ้าตายขณะใดเราจะไปไหน ไอ้คำว่าเราจะไปไหนนี่ ก็มีอยู่ว่าถ้าเราต้องการเป็นเทวดา วันนั้นทั้งวันก็ต้องตั้งจิตทรงอยู่ในอุปจารสมาธิ ถึงเวลาตายไปเป็นเทวดาบนสวรรค์ได้


    แต่ถ้าเขาคิดว่า เขาต้องการจะเป็นพรหม วันนั้นทั้งวันจะต้องตั้งจิตขณะที่นั่งคุยกันไป เดินกันไป อันนี้จิตเขาจะต้องทรงอยู่ในขั้นปฐมฌานและทุติยฌาน คือฌานที่ ๑ แล้วก็ฌานที่ ๒ ถ้าหากว่าเขาตั้งใจว่าเขาจะไปนิพพาน ตอนเช้ามืดเขาจะทำจิตให้เป็นฌานถึงที่สุด แล้วก็ถอยหลังอารมณ์ฌานมาพิจารณาสังโยชน์ สังโยชน์ ๑๐ นี่ก็ตัดสักกายทิฏฐิตัวเดียว แล้วก็เมื่อตัดสักกายทิฏฐิตัวเดียวแล้ว ก็เอาอารมณ์จับพระนิพพานเป็นสำคัญ แล้วก็วันนั้นทั้งวันเขาจะใช้ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ประจำ ใจ คือปรารภพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้ถ้าตายเมื่อไรเขาไปนิพพานเมื่อนั้น นี่พระธุดงค์ในแดนลึกเขาก็พร้อมที่จะตายอยู่ทุกวัน ที่เรียกกันว่า มรณานุสสติกรรมฐาน นี่เวลาหมดแล้วล่ะนะ เกิดความเข้าใจกันนะ สวัสดี.........."

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง

     
  5. ผาแดง

    ผาแดง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,640
    ค่าพลัง:
    +10,719
    ขอโมทนาในธรรมทานกับคุณโมกขทรัพย์ด้วยครับได้ความรู้ดีมาก ขอบคุณครับ
     
  6. kirakungzz

    kirakungzz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +145
    อนุโมทนาในธรรมทานครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากๆเลยครับ
     
  7. พิชญากร

    พิชญากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    909
    ค่าพลัง:
    +5,260
    โมทนาด้วยค่ะ เพราะนอนภาวนาทีไร ไม่เคยเป็นเหมือนเจ้าของกระทู้เลยค่ะ มันตัดหลับไปตอนไหนไม่รู้สิคะ
     
  8. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    476
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,858
    ฌานแปลว่า ความเคยชินครับ ทำบ่อยๆ ทำให้ชิน เดี๋ยวก็๋ดีเองครับ หากเราทำกิจกรรมใดอยู่เราก็แบ่งอารมณ์มาอยู่กับภาพพระ อยู่กับลมหายใจซัก ยี่สิบเปอร์เซ็นก็พอ เอาแค่อุปจารสมาธิ พอสำหรับทำงานอื่นไปด้วยครับ

    หลังจากนั้นหากเรามีเวลาว่าง เวลาเรานั่งภาวนา หรือต้องการอารมณ์สมาธิแบบแนบแน่น ถึงฌาน๔ นั้น ด้วยอารมณ์ที่เราเข้าออกสมาธิมาทั้งวัน จะทำให้จิตรวมได้ดีขึ้นครับ

    ของผมนี่เวลาทำงาน ผมเล่นคาถาเงินล้านทั้งวัน ท่องไปเรื่อยครับ จับภาพพระไปด้วย จับอานาปานสติไปด้วย เล่นกรรมฐานหลายๆกองสนุกดีครับ ทำสลับกันไป เอาจนกว่าจะแจ่มใส อย่างจับลมนี่ บางทีเผลอไป เ้ข้าไปฌาน ๓ ฌาน ๔ นี่ ก็ทำเอายุ่งเหมือนกันครับ เพราะหากทำงานที่ไปด้วย อานาปานสติ อารมณ์จะดิ่งเร็ว ทำให้ไม่สนใจรอบข้างเอาง่ายๆ

    หากเป็นงานที่ต้องเดิน หรือ ขยับอริยาบถใดๆ ก็กำหนดรู้อริยาบถนั้นก็ได้ครับ เพราะกรรมฐาน ต้องทำให้ได้ทั้ง ๔ อริยาบถ

    อนุโมทนา ครับ
     
  9. spyjung

    spyjung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +366
    อนุโมทนาด้วยค่ะ สาธุ!!!
     
  10. bhothisata

    bhothisata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +5,182
    ผมเชื่อว่าที่คุณออกไปเป็นการออกไปแบบมโนฯนั่นแหละครับ เพราะแบบเต็มกำลังที่เขาฝึกกัน เวลาไปมักจะไม่รู้ตัว แต่ถ้าเป็นครึ่งกำลังจะรู้สึกตัว การฝึกมโนฯก็คือการจับภาพพระ แล้วตัดขันธ์ห้าแบบที่คุณทำนั่นแหละครับ พิจารณาวิปัสสนาญาณเห็นความเบื่อหน่ายของร่างกาย แล้วลอยไปกับพระ คุณไปแบบนี้ได้ก็ใช้วิธีนี้ไปเถอะครับ คนที่กลัวหรือไม่เคยฝึกเอง หรือไม่มีความรู้ทางกรรมฐานมากพอจะไม่เข้าใจบางเรื่องครับ บางครั้งของเก่าที่คุณเคยได้คืนกลับมาเอง ถ้าอารมณ์จิตสบายแบบไหน ใช้แบบนั้นครับ อย่าไปฝืนทำแบบอื่น จะเสียเวลา จำอารมณ์แบบนั้น ทำอารมณ์แบบนั้นให้ได้ทุกๆวัน บ่อยๆ พอคล่องแล้วต่อไปไม่ต้องนอนก็ทำได้ครับ คุณไปถูกทางแล้วครับไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น ตราบใดที่คุณลอยไปกับพระ เจริญในธรรมครับ
     
  11. bhothisata

    bhothisata เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +5,182
    ขอเพิ่มเติมเรื่องการหลับในฌานครับ จำได้ว่าหลวงพ่อเคยบอกว่า ถ้าก่อนคุณหลับ จิตทรงตัวในฌานใด คุณจะทรงอยู่ในฌานนั้น จนกว่าคุณจะตื่นครับ แล้วสังเกตตัวเองว่า ตื่นแล้วคุณจะมีอารมณ์แช่มชื่นแจ่มใส จนกว่าจิตคุณจะถูกกวนให้ขุ่น เหมือนตื่นนอนตอนเช้าสมัยเป็นเด็กๆอย่างไรอย่างนั้นครับ บางครั้งจะสดชื่นกว่าและหลับเต็มอิ่ม ถ้าปฏิบัติจนทรงตัวแล้วพักผ่อนน้อย ร่างกายจะแค่ง่วงๆเพราะทรมานสังขารเกินไปแต่ใจจะสดชื่น ส่วนจะเลือกปฏิบัติแบบเบาหรือหนักนั้น ตามอัธยาศัยครับ ชอบแบบใดทำแบบนั้น แต่อย่าทำจนปวดหัวและเครียด ถ้าอาการแบบนี้เกิดให้หยุดสักระยะแล้วจับวิปัสสนาแทน ทิ้งสมถะสักพัก ทำจิตให้ผ่อนคลายตามโลกและพิจารณาโลกตามความเป็นจริง ตามหลักไตรลักษณ์ โลกไม่เที่ยง ชีวิตไม่เที่ยง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง เกิด ดับ ตั้งอยู่แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด หากยึดติดจะก่อให้เกิดทุกข์ เขียนง่ายบอกกันง่ายดีนะครับ แต่ทำกันได้ยากเหลือเกิน ถ้าคิดตามนี้บ่อยๆ ไม่นานจิตจะเข้าถึงการเบื่อหน่ายในการเกิดไปเอง แต่ควรเข้าใจด้วยว่า ถึงจะเบื่อก็ต้องดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่ต้องกระทบกับอารมณ์ทุกๆวัน ต้องเข้ากับสังคมและเพื่อนร่วมงานให้ได้ด้วย เพื่อประคองตัวเองในสังคมเพราะหากยังต้องใช้ชีวิตกับคนทั่วไป ไม่สามารถหลีกหนีไปบวชได้ แม้ไปบวชก็ต้องอยู่กับนักบวช ก็ต้องวางอารมณ์ให้เป็น สิ่งเหล่านี้ใช้ได้กับเพื่อนนักบวชด้วยครับ ไม่ล้าสมัยเพราะเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า และที่ต้องระวังคือ ไม่ควรติดดีจนคิดว่าหรือตำหนิท่านอื่น เราทำของเราไปอย่าไปว่าหรือสนใจใคร แล้วเราจะอยู่ในสังคมได้อย่างผู้ที่มีจิตที่เยือกเย็น ไม่เป็นศัตรูกับใคร ไปไหนก็ไม่มีใครเกลียด แต่บังเอิญเขาเกลียดก็ถอยมาดูว่าเขาเกลียดเพราะอะไร แล้วใช้ปัญญาเข้าแก้ไข สาธยายมากไปหน่อย ขออภัยด้วยครับ ขอทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...