อยากรู้วิธีการ "ฝึกดูจิต" อะ ต้องทำไงบ้าง สอนหน่อยนะ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chayus, 20 พฤศจิกายน 2006.

  1. chayus

    chayus สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +7
    อยากรู้วิธีการ "ฝึกดูจิต" ไครรู้สอนหน่อยนะครับ ทำมะเป็น

    เห็นเพื่อนผมอะ ตอนแรกๆมันก็โง่ แล้วไปวัดIQ มาได้ไม่ถึง100 แต่เดือนถัดมา มันมาวัดIQไหม่ ได้ตั้ง 130-140 แหน่ะ เพื่อนบอกว่า ไปฝึกดูจิตมา

    และผมก็สรุปได้ว่า การฝึกดูจิต สามารถเพิ่มไอคิวได้ อาจเป็นเพราะจิตสงบมั้ง

    แต่ผมมะเข้าใจอะครับ

    ไครที่รู้ช่วยบอก วิธีปฎิบัติ ทีนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 พฤศจิกายน 2006
  2. Robert

    Robert เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2005
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +3,118
    ต้นฉบับการดูจิตต้องยกให้ "หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์" แต่ที่เป็นผู้เผยแพร่ให้กว้างขวางคือ ท่านปราโมช์ (อุบาสกนิรนาม หรือ สันตินันทอุบาสก) ครับ ลองไปดูที่ Link ลานธรรมนะครับ

    http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001773.htm
     
  3. Nefertity

    Nefertity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +634
    การฝึกดูจิตเป็นแบบแผนที่ต่างจากการทำสมาธิเพียงบางขั้นตอน เช่นการทำสมาธิอาจใช้คำบริกรรมภาวนากำกับจิตในระหว่างดำเนินการปฏิบัติสมาธิ (กรรมฐาน 40 กอง) ก็เปลี่ยนเป็นกำหนดรู้อิริยาบทต่างๆ,ความคิด และความรู้สึก อันเกิดจากการที่ อายตนะ (แดนรับรู้ทาง ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ) มีผัสสะ (รูป,เสียง,กลิ่น,รส และสัมผัส) มาก่อให้เกิด สาฬตนะ (มองเห็น,ได้ยิน,ได้กลิ่น,ได้รส และรู้สึกถึงสัมผัส) แล้วรู้เห็นอยู่อย่างนั้นอย่างเท่าทันภายใต้กฏไตรลักษณ์ จึงเห็นจิตตนเอง โลดแล่นหรือหยุดนิ่งติดตามกระแสความรู้สึกอันเกิดจากสิ่งกระทบเหล่านั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานโดยตลอดจึงกล่าวได้ว่าเสมือนทำสมาธิแต่ไม่ต้องควบคุมอิริยาบทให้เป็นแบบแผนในการปฏิบัติอย่างโดยทั่วไป และสามารถกำหนดรู้ได้ตลอดเวลา เพียงแค่ตามดูความคิด และความรู้สึกของตน ทุกครั้งที่มีสิ่งเร้าภายนอกต่างๆกระทบกายและใจเข้ามา
     
  4. ไทร

    ไทร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +771
    ดูรายละเอียดด้านล่างครับ


    และดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
    http://www.wimutti.net

    -----------------------------

    ความหมายของการดูจิต (โดย สันตินันท์)

    คำว่า ”การดูจิต” เป็นคำที่นักปฏิบัติกลุ่มหนึ่ง บัญญัติขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายกันเองภายในกลุ่ม หมายถึง การเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ทุกบรรพ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ทุกบรรพ) รวมถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (บางอย่างที่เป็นฝ่ายนามธรรม) กล่าวอย่างย่อ ก็คือการเจริญวิปัสสนาด้วยอารมณ์ฝ่ายนามธรรม ได้แก่การรู้จิตและเจตสิกนั่นเอง


    วิธีการเจริญวิปัสสนา(ดูจิต)

    การเจริญวิปัสสนาทุกประเภท รวมทั้งการดูจิต ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่ให้ผู้ปฏิบัติ "รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่เป็นกลางเท่านั้น" แต่จะรู้ได้ถูกต้อง ก็ต้อง

    (๑) มีจิตที่มีคุณภาพ และ
    (๒) มีอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง เท่านั้น


    ซึ่งจิตที่มีคุณภาพสำหรับการทำสติปัฏฐานหรือวิปัสสนา ได้แก่จิตที่มีสติ (สัมมาสติ) สัมปชัญญะ (สัมมาทิฏฐิ) และสัมมาสมาธิ ส่วนอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง คืออารมณ์ที่มีตัวจริงที่สามารถแสดงไตรลักษณ์ได้ หรือที่นักปฏิบัติมักจะเรียกว่าสภาวะ และนักปริยัติเรียกว่าอารมณ์ปรมัตถ์

    เมื่อจะลงมือปฏิบัติ ก็ให้

    (๑) มีสติเฝ้ารู้ให้ทัน (มีสัมมาสติ)
    (๒) ถึงอารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ (มีอารมณ์ปรมัตถ์)
    (๓) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น ไม่เผลอส่งส่ายไปที่อื่น และไม่เพ่งจ้องบังคับจิต (มีสัมมาสมาธิ) แล้ว
    (๔) จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง (มีสัมปชัญญะ/สัมมาทิฏฐิ)

    การมีสติเฝ้ารู้ให้ทัน หมายถึงสิ่งใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป ก็ให้รู้เท่าทัน เช่น ขณะนั้นรู้สึกมีความสุข ก็ให้รู้ว่ามีความสุข เมื่อความสุขดับไป ก็ให้รู้ว่าความสุขดับไป มีความโกรธก็รู้ว่ามีความโกรธ เมื่อความโกรธดับไปก็รู้ว่าความโกรธดับไป เมื่อจิตมีความทะยานอยากอันเป็นแรงผลักดัน ให้ออกยึดอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ให้รู้ว่ามีแรงทะยานอยาก เป็นต้น

    อารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ ต้องเป็นอารมณ์ของจริง ไม่ใช่ของสมมุติ โดยผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ออกว่า อันใดเป็นของจริง หรือปรมัตถธรรม อันใดเป็นของสมมุติ หรือบัญญัติธรรม

    เช่น เมื่อจิตมีความสุข ก็ต้องมีสติรู้ตรงเข้าไปที่ความรู้สึกสุขจริงๆ เมื่อจิตมีความโกรธ ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความโกรธจริงๆ เมื่อมีความลังเลสงสัย ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความลังเลสงสัยจริงๆ ฯลฯ และเมื่อหัดรู้มากเข้าจะพบว่า นามธรรมจำนวนมากผุดขึ้นที่อก หรือหทยวัตถุ แต่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องเที่ยวควานหาหทยวัตถุ หากกิเลสเกิดที่ไหน และดับลงที่ไหน ก็รู้ที่นั้นก็แล้วกันครับ ถ้าเอาสติไปตั้งจ่อดูผิดที่เกิด ก็จะไม่เห็นของจริง เช่น เอาสติไปจ่ออยู่เหนือสะดือสองนิ้ว จะไม่เห็นกิเลสอะไร นอกจากเห็นนิมิต เป็นต้น

    และการมีสติรู้ของจริง ก็ไม่ใช่การคิดถามตนเอง หรือคะเนเอาว่า ตอนนี้สุขหรือทุกข์ โกรธหรือไม่โกรธ สงสัยหรือไม่สงสัย อยากหรือไม่อยาก ตรงจุดนี้สำคัญมากนะครับ ที่จะต้องรู้สภาวธรรม หรือปรมัตถธรรมให้ได้ เพราะมันคือ พยานหรือแบบเรียนที่จิตจะได้เรียนรู้ถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของมันจริงๆ ไม่ใช่แค่คิดๆ เอาว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    เมื่อมีสติรู้สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตที่รู้ตัว ตั้งมั่น ไม่เผลอไปตามความคิดซึ่งจะเกิดตามหลังการรู้สภาวธรรม เช่น เมื่อเกิดสภาวะบางอย่างขึ้นในจิต อันนี้เป็น ปรมัตถธรรม ถัดจากนั้นก็จะเกิดสมมุติบัญญัติว่า นี้เรียกว่าราคะ สมมุติตรงนี้ห้ามไม่ได้ เพราะจิตเขามีธรรมชาติเป็นนักจำและนักคิด ผู้ปฏิบัติจึงไม่ต้องไปห้ามหรือปฏิเสธสมมุติบัญญัติ เพียงรู้ให้ทัน อย่าได้เผลอหรือหลงเพลินไปตามความคิดนึกปรุงแต่งนั้น หรือแม้แต่การหลงไปคิดนึกเรื่องอื่นๆ ด้วย แล้วให้เฝ้ารู้สภาวะ (ที่สมมุติเรียกว่าราคะนั้น) ต่อไป ในฐานะผู้สังเกตการณ์ จึงจะเห็นไตรลักษณ์ของสภาวะอันนั้นได้

    ในทางกลับกัน ผู้ปฏิบัติที่ไปรู้สภาวะที่กำลังปรากฏ จะต้องไม่เพ่งใส่สภาวะนั้นด้วย เพราะถ้าเพ่ง จิตจะกระด้างและเจริญปัญญาไม่ได้ แต่จิตจะ "จำและจับ" สภาวะอันนั้นมาเป็นอารมณ์นิ่งๆ แทนการรู้สภาวะจริงๆ พึงให้จิตเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ เหมือนคนดูละคร ที่ไม่โดดเข้าไปเล่นละครเสียเอง สภาพที่จิตทรงตัวตั้งมั่น นุ่มนวล อ่อนโยน ควรแก่การงาน โดยไม่เผลอและไม่เพ่งนี้แหละ คือสัมมาสมาธิ เป็นสภาพที่จิตพร้อมที่จะเจริญปัญญาอย่างแท้จริง

    คือเมื่อจิตมีสติ รู้อารมณ์ปรมัตถ์ ด้วยความตั้งมั่น ไม่เผลอและไม่เพ่ง จิตจะได้เรียนรู้ความจริงของปรมัตถธรรมอันนั้นๆ ๔ ประการ คือ

    (๑) รู้สภาวะของมันที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (รู้ตัวสภาวะ)
    (๒) รู้ว่าเมื่อสภาวะอันนั้นเกิดขึ้นแล้ว มันมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร (รู้บทบาทของสภาวะ)
    (๓) รู้ว่าถ้ามันแสดงบทบาทของมันแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น (รู้ผลของสภาวะ) และเมื่อชำนาญมากเข้า เห็นสภาวะอันนั้นบ่อยครั้งเข้า ก็จะ
    (๔) รู้ว่า เพราะสิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว จึงกระตุ้นให้สภาวะอันนั้นเกิดตามมา (รู้เหตุใกล้ของสภาวะ)

    การที่จิตเป็นผู้สังเกตการณ์และเรียนรู้ หรือวิจัยธรรม (ธรรมวิจัย) อันนี้เองคือการเจริญปัญญาของจิต หรือสัมปชัญญะ หรือสัมมาทิฏฐิ

    ตัวอย่างเช่น ในขณะที่มองไปเห็นภาพๆ หนึ่งปรากฏตรงหน้า จิตเกิดจำได้หมายรู้ว่า นั่นเป็นภาพสาวงาม แล้วสภาวธรรมบางอย่างก็เกิดขึ้นในจิต (ซึ่งเมื่อบัญญัติทีหลังก็เรียกว่า ราคะ) การรู้สภาวะที่แปลกปลอมขึ้นในจิตนั่นแหละคือการรู้ตัวสภาวะของมัน แล้วก็รู้ว่ามันมีบทบาทหรืออิทธิพลดึงดูด ให้จิตหลงเพลินพอใจไปกับภาพที่เห็นนั้น ผลก็คือ จิตถูกราคะครอบงำ ให้คิด ให้ทำ ให้อยาก ไปตามอำนาจบงการของราคะ และเมื่อรู้ทันราคะมากเข้า ก็จะรู้ว่า การเห็นภาพที่สวยงาม เป็นเหตุใกล้ให้เกิดราคะ จึงจำเป็นจะต้องคอยเฝ้าระวังสังเกต ขณะที่ตากระทบรูปให้มากขึ้น เป็นต้น

    ในส่วนตัวสภาวะของราคะเอง เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติรู้อยู่นั้น มันจะแสดงความไม่เที่ยงให้เห็นทันที คือระดับความเข้มของราคะจะไม่คงที่ มันตั้งอยู่ไม่นาน เมื่อหมดกำลังเพราะเราไม่ได้หาเหตุใหม่มาเพิ่มให้มัน (ย้อนไปมองสาว) มันก็ดับไป แสดงถึงความเป็นทุกข์ของมัน และมันจะเกิดขึ้นก็ตาม ตั้งอยู่ก็ตาม ดับไปก็ตาม ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยกำหนด ไม่ใช่ตามที่เราอยากจะให้เป็น นอกจากนี้ มันยังเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา เหล่านี้ล้วนแสดงความเป็นอนัตตาของสภาวะราคะทั้งสิ้น


    ผลของการดูจิต และข้อสรุป

    จิตที่อบรมปัญญามากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะรู้แจ้งเห็นจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจิต เจตสิก กระทั่งรูป ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งสิ้น ถ้าจิตเข้าไปอยาก เข้าไปยึด จิตจะต้องเป็นทุกข์ ปัญญาเช่นนี้แหละ จะทำให้จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูลง ความทุกข์ก็จะเบาบางลงจากจิต เพราะจิตฉลาด ไม่ไปส่ายแส่หาความทุกข์มาใส่ตัวเอง (แต่ลำพังคิดๆ เอา ในเรื่องความไม่มีตัวกูของกู ย่อมไม่สามารถดับ ความเห็นและความยึด ว่าจิตเป็นตัวกูของกูได้ จะทำได้ก็แค่ "กู ไม่ใช่ตัวกูของกู" คือจิตยังยึดอยู่ ส่วนการที่จะลดละได้จริง ต้องเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เท่านั้นครับ)

    สรุปแล้ว การดูจิตที่ชาวลานธรรมพูดถึงกันนั้น ไม่ใช่การดูจิตจริงๆ เพราะจิตนั้นแหละ คือผู้รู้ ผู้ดู ผู้ยึดถือ อารมณ์ แต่การดูจิต หมายถึงการเจริญวิปัสสนา โดยเริ่มต้นจากการรู้นามธรรม ซึ่งเมื่อชำนิชำนาญแล้ว ก็จะรู้ครบสติปัฏฐานทั้งสี่นั่นเอง ดังนั้น ถ้าไม่ชอบคำว่า ดูจิต ซึ่งนักปฏิบัติส่วนหนึ่งชอบใช้คำนี้เพราะรู้เรื่องกันเอง จะใช้คำว่า

    การเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    + การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    + การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ได้ครับ

    แต่การที่นักปฏิบัติบางส่วนชอบพูดถึงคำว่า "การดูจิต" ก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน คือเป็นการเน้นให้ทราบว่า จิตใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง และเป็นการกระตุ้นเตือนให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมของจิตเมื่อมันไปรู้อารมณ์เข้า เพราะถ้ารู้จิตชัด ก็จะรู้รูปชัด รู้เวทนาชัด รู้กิเลสตัณหาชัดไปด้วย เนื่องจากจิตจะตั้งมั่น และเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวง ในทางกลับกัน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือไม่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิ แม้จะพยายามไปรู้ปรมัตถ์ ก็ไม่สามารถจะรู้ปรมัตถ์ตัวจริงได้ นอกจากจะเป็นเพียงการคิดถึงปรมัตถ์เท่านั้น

    ถ้าเข้าใจจิตใจตนเองให้กระจ่างชัดแล้ว การเจริญสติปัฏฐานก็จะทำได้ง่าย ถ้าไม่เข้าใจจิตใจตนเอง ก็อาจจะเกิดความหลงผิดได้หลายอย่างในระหว่างการปฏิบัติ เช่น หลงเพ่ง โดยไม่รู้ว่าเพ่ง อันเป็นการหลงทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่ พอเกิดนิมิตต่างๆ ก็เลยหลงว่าเกิดวิปัสสนาญาณ หรือหลงเผลอไปตามอารมณ์ โดยไม่รู้ว่ากำลังเผลอ หรือหลงยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ หรือหลงคิดนึกปรุงแต่ง อันเป็นเรื่องสมมุติบัญญัติ แล้วคิดว่ากำลังรู้ปรมัตถ์หรือสภาวะที่กำลังปรากฏ เป็นต้น ถ้าเข้าใจจิตตนเองได้ดีพอประมาณ ก็จะไม่เกิดความหลงผิดเหล่านี้ขึ้น

    ข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการดูจิตก็คือ การดูจิตเป็นวิปัสสนาชนิดเดียวที่ทำได้ทั้ง ๓ โลก คือในกาม (สุคติ) ภูมิ รูปภูมิ (ส่วนมาก) และอรูปภูมิ แม้แต่ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ อันเป็นภวัคคภูมิหรือสุดยอดภูมิของอรูปภูมิ พระอริยบุคคลที่ไปเกิดในภูมินี้ก็ต้องอาศัยการดูจิตนี้เอง เป็นเครื่องเจริญวิปัสสนาต่อไปได้จนถึงนิพพาน

    อันที่จริงสิ่งที่เรียกว่าการดูจิตนั้น แม้จะเริ่มจากการรู้นามธรรมก็จริง แต่เมื่อลงมือทำไปสักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ อย่าง โดยจิตจะมีสติสัมปชัญญะต่อเนื่องอยู่ในชีวิตประจำวันนี่เอง เพียงก้าวเดินก้าวเดียว ก็เกิดการเจริญสติปัฏฐานได้ตั้งหลายอย่างแล้ว

    คือเมื่อเท้ากระทบพื้น ก็จะรู้รูป ได้แก่ ธาตุดินคือความแข็งภายในกาย (รูปภายใน) และธาตุดินคือความแข็งของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป (รูปภายนอก) อันนี้ก็คือการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว และรู้ถึงความเย็น ความร้อนคือธาตุไฟของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป เป็นต้น

    ขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าสติรู้เข้าไปที่ความรู้สึกอันเกิดจากการที่เท้ากระทบพื้น เช่น ความเจ็บเท้า ความสบายเท้า ก็คือการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว

    ขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าพื้นขรุขระ เจ็บเท้า ก็สังเกตเห็นความขัดใจ ไม่ชอบใจ หรือถ้าเหยียบไปบนพรมนุ่มๆ สบายๆ เท้า ก็สังเกตเห็นความพอใจ อันนี้ก็เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาสติ ปัฏฐานแล้ว

    ขณะที่เหยียบนั้น ถ้ารู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ก็จะเห็นกายเป็นส่วนหนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นแต่ละส่วนๆ หรือรู้ถึงความทะยานอยากของจิตที่ส่งหลงเข้าไปที่เท้า หรือรู้อาการส่งส่ายของจิต ตามแรงผลักของตัณหาคือความอยาก แล้วหนีไปเที่ยวทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือรู้ถึงความเป็นตัวกูของกูที่เกิดขึ้นในจิต หรือรู้ถึงนิวรณ์ที่กำลังปรากฏขึ้น แต่ยังไม่พัฒนาไปเป็นกิเลสเข้ามาครอบงำจิต หรือรู้ชัดถึงความมีสติ มีสัมปชัญญะ มีความเพียร มีปีติ มีความสงบระงับ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งสิ้น

    ที่เล่ามายืดยาวนี้ เพื่อนใหม่ที่ไม่เคยลงมือเจริญสติ สัมปชัญญะจริงๆ มาก่อน อาจจะเข้าใจยากสักหน่อยครับ ดังนั้น ถ้าอ่านแล้วเกิดความสงสัยมากขึ้น ก็ลองย้อนมารู้เข้าไปที่ ความรู้สึกสงสัยในจิต เลยทีเดียว ก็จะทราบได้ว่า ความสงสัยมันมีสภาวะของมันอยู่ (ไม่ใช่ไปรู้เรื่องที่สงสัยนะครับ แต่ให้รู้สภาวะหรือปรมัตถธรรมของความสงสัย) เมื่อรู้แล้วก็จะเห็นว่า เมื่อความสงสัยเกิดขึ้น มันจะยั่วจิตให้คิดหาคำตอบ แล้วลืมที่จะรู้เข้าไปที่สภาวะความสงสัยนั้น เอาแต่หลงคิดหาเหตุหาผลฟุ้งซ่านไปเลย พอรู้ทันมากเข้าๆ ก็จะเข้าใจได้ว่า ความสงสัยนั้นมันตามหลังความคิดมา เป็นการรู้เท่าทันถึงเหตุใกล้ หรือสาเหตุที่ยั่วยุให้เกิดความสงสัยนั่นเอง

    เมื่อรู้ที่สภาวะของความสงสัย ก็จะเห็นสภาวะนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันเกิดขึ้นเพราะความคิด พอรู้โดยไม่คิด มันก็ดับไปเอง

    หัดรู้อยู่ในจิตใจตนเองอย่างนี้ก็ได้ครับ แล้วต่อไปก็จะทำสติปัฏฐาน ๔ ได้ในที่สุด เพราะจะสามารถจำแนกได้ชัดว่า อะไรเป็นจิต อะไรเป็นอารมณ์ อะไรเป็นอารมณ์ของจริง และอะไรเป็นเพียงความคิดนึกปรุงแต่งหรือสมมุติบัญญัติที่แปลกปลอมเข้ามา รวมทั้งจำแนกได้ด้วยว่า อันใดเป็นรูป อันใดเป็นจิต อันใดเป็นเจตสิก

    ขอย้ำแถมท้ายอีกนิดหนึ่งนะครับว่า การดูจิต ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะในความเป็นจริง ไม่มีวิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดในโลก มีแต่ “วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด เฉพาะของแต่ละบุคคล” เท่านั้น ดังนั้น ถ้าถนัดจะเจริญสติปัฏฐาน อย่างใดก่อน ก็ทำไปเถิดครับ ถ้าทำถูกแล้ว ในที่สุดก็จะทำสติปัฏฐานหมวดอื่นๆ ได้ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2006
  5. ไทร

    ไทร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +771
    อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นพระอนาคามี

    ๗ ปียกไว้ ผู้ใดก็ตามเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี ๗ เดือน ... ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน ... ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นพระอนาคามี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔


    อานิสงส์อันเป็นผลข้างเคียงจากการเจริญสติปัฏฐาน

    รวบรวมคำยืนยันของผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แล้วเกิดความรู้เห็นอันยิ่ง หรืออภิญญาประการต่างๆดังนี้ (รวบรวมจากพระไตรปิฎก)

    วิปากสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้วิบากของการกระทำกรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    อิทธิสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    ทิพโสตสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    เจโตปริจจสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น เพราะได้เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    ฐานาฐานสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้ฐานะโดยความเป็นฐานะ และอฐานะโดยความเป็นอฐานะ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้จักปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวงตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    นานาธาตุสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้ธาตุเป็นอเนกและโลกธาตุต่างๆ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    อธิมุตติสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้อัธยาศัยอันเป็นต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    อินทรียสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    สังกิเลสสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    วิชชาสูตรที่ ๑

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง นับร้อยนับพัน และนับกัปนับกัลป์บ้าง เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งเหตุการณ์ ความเป็นไป ชื่อสกุลบุคคลต่างๆ ฯลฯ ด้วยประการฉะนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    วิชชาสูตรที่ ๒

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    วิชชาสูตรที่ ๓

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันทำลายอาสวะ (กิเลสหมักดองในขันธสันดาน) เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    จาก : http://dungtrin.com/7months/mahasati.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2006
  6. babae

    babae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +470
    สาธูติ ครับ
     
  7. อิ๊ด

    อิ๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +551
    ดูจิต อันนี้ผมเองก็ไม่ได้ฝึกอะนะ แต่ว่า IQ Test แต่ละครั้งบางทีก็ไม่เท่ากัน ถ้าเคยหัดฝึกทำแบบฝึกหัด อันนี้ IQ น่าจะสูงขึ้นได้ น่าจะเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และอื่นๆนะ ไม่น่าเกี่ยวกับการฝึกจิต หรือดูจิต
     
  8. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,944
    ค่าพลัง:
    +3,294
    สมาธิ ทำให้การทำงานของสมองทุกส่วนทุกข้างสมดุลย์เป็นระบบระเบียบ ทำมากก็มีผลมาก ทำน้อยก็มีผลน้อย

    ถ้ากระบวนการดูจิต เกิดสมาธิขึ้น ย่อมมีผลกับการทำงานของสมองที่ดีขึ้นแน่นอน
    แต่ก็ต้องใช้งาน ต้องฝึกฝน ต้องบริหารการใช้งานให้เหมาะสมด้วย ถึงจะส่งผลได้สมบูรณ์แบบ

    การทำงานของสมองฝั่งซ้าย ประเมินเป็นหน่วย IQ ... คุณสมบัติด้านความจำ คำนวณ วิเคราะห์ แข่งขัน เปรียบเทียบ ตัดสิน ฯ
    การทำงานของสมองฝั่งขวา ประเมินเป็นหน่วย EQ ... คุณสมบัติด้านอารมณ์ หยั่งรู้ ความสงบสุข กว้างขวาง สะดวกสบาย ฯ


    ควรศึกษาเรื่องการทำงานของสมองให้เข้าใจ เพื่อจะได้ใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
     
  9. แวน

    แวน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +47
    ฝึกฐานกายให้แน่นก่อน จงกลม อยากพึ่งข้ามไปดูจิต ไอคิวไม่น่าจะเกี่ยวกับการปฏิบัติครับ
     
  10. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    sun dog ไม่รู้เหมือนกันว่าฝึกยังไง
    แต่มีประสบการณ์ มาแลกเปลี่ยน

    chayus22 ชอบเขียนหนังสือไหม
    แบบว่า ใช้มือจับปากกา หรือดินสอ แล้วก็ค่อยๆเขียน ลงไปในกระดาษอ่ะ

    sun dog ใช้มือเขียนหนังสือน้อยมาก ปกติพิมพ์คอมฯเอา
    เวลาไปกินข้าว สั่งก๋วยเตี๋ยว แล้วเขาให้เขียนรายการสั่งลงไปนี่ sun dog เขียนไม่ทันใจเลย ตัวหนังสือที่เขียนก็หยักๆ ดูห่วยมาก เหมือนคนเขียนหนังสือไม่เป็น ความจดจ่อก็น้อย ในใจเขียนจบแล้วมือยังไม่เสร็จ ต้องตั้งสติ ตั้งใจจดจ่อ ยอมรับความเชื่องช้าของมือ และให้อภัยความรู้สึกที่ว่าตนเองช่างเซ่อซ่าเชื่องช้าเสียจริง กว่าจะเสร็จคำว่า "ก๋วยจั๊บ" นี่ ได้เจริญทั้งสติ วิริยะ ขันติ เจริญมากกว่าพิมพ์ข้อความโดยใช้คอมฯเยอะเลย

    sun dog รู้สึกว่า การใช้มือค่อยๆเขียนตัวหนังสือนี่ มันใช้ความจดจ่อ ในระดับที่เหมาะสม สำหรับฝึกตนดีนะ เขียนตัวหนังสือ เรื่องอะไรก็ได้ ที่อยู่ในใจเรา ออกมาได้ถูกต้อง ชัดเจน จบประโยค อ่านรู้เรื่อง แสดงว่าเราได้ใช้สติ ปัญญา สะสางความคิด ให้ชัดเจน การใช้มือ เขียนสิ่งที่อยู่ในใจ ให้ตรง หมายถึงเราได้ผสานกายกับใจ ให้ตรงกันด้วยนะ น่าจะเป็นประโยชน์กับการฝึกจิต

    คงขึ้นอยู่กับจริตและวิบากของแต่ละคนเหมือนกัน
    สำหรับคนที่มีเหตุปัจจัยพร้อม ในการขีดเขียน
    หากเราสามารถเอาความในใจตน ถ่ายทอด สะสาง ออกมาเป็นตัวหนังสือได้ ละเอียด ชัดเจน เราน่าจะสามารถวิเคราะห์ สิ่งที่เกิดในใจตนเองได้ ละเอียด ชัดเจน
     
  11. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    ลองดูไหม ?
    เอาตอนนี้เลย

    สมมุติว่าเราจะเขียนข้อความ แนะนำหนังหรือตัวละครที่เราชอบ
    โดยไม่เปิดเน็ตดูโฆษณา
    ไม่ต้องไปหาหนังสืออะไรที่เขาวิจารณ์อยู่แล้วมาดู

    1. ใช้มือจับดินสอเขียนตอนนี้เลย

    sun dog พบว่า นานมาก เขียนไม่ออก มีเสียงกระซิบลอยมาจากภายนอกที่เรารู้สึกเฉยกับมันมาก จะเขียนตามนั้นก็กระไรอยู่ มันไม่ได้มาจากความรู้สึก "ชอบ" ภายในใจเราเอง เราชอบตัวละครนี้จริงหรือ หนังเรื่องนี้ชื่ออะไรหว่า เห็นภาพลางเลือน สรุปว่าเขียนไม่ออกเลยจ้า

    2. เข้าเน็ตไปดูโฆษณาหนัง
    มีเรื่องมากมายให้เลือก แป๊ปเดียวแปะได้เต็มหน้า มีรูปสวยๆด้วย รู้สึกเหมือนเราทำงานชิ้นใหญ่เสร็จสิ้นลง ทั้งๆที่เราไม่ได้ทำอะไรสักเท่าไหร่ แค่ไปเลือกๆของผู้อื่นเอามาแปะเท่านั้น

    ถ้าเราทำแต่ข้อ 2 เราจะรู้สึกว่าตนเองมีหนังที่ชอบมากมาย บรรยายได้หลายสิบหน้ากระดาษ สรรพคุณและเหตุผลที่ชอบก็ตามคำวิจารณ์หรือคำโฆษณาของผู้อื่น

    ถ้าเราลองทำข้อ 1 บ้าง เราจะรู้สึกว่าตนเองยังไม่มีหนังในดวงใจอย่างแท้จริง ที่จะเขียนบรรยายถึงอย่างซาบซึ้งด้วยถ้อยคำของตนเองถึง 1 หน้ากระดาษ เราจะพบสิ่งที่อยู่ในใจเราจริงๆจ้า
     
  12. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    สมมุติว่าเรา คิดว่าตนเอง รักใครสักคน
    แล้วไม่สามารถเอามือจับดินสอ เขียนบรรยายความรัก ที่ตนมีในใจ ออกมาเป็นตัวหนังสือในกระดาษได้ เขียนได้อย่างมากก็ไม่กี่ประโยค แสดงว่าความรักที่เรามียังไม่มากพอให้เกิดวิริยะในการเขียน แล้วเราคิดว่าความรักที่เรามีแบบนี้ มากพอให้เกิดวิริยะในการทำความรักให้เป็นรูปธรรมหรือไม่ หากเป็นอย่างนี้เราจะยังยืนยันอยู่ไหม ว่าตนเองรักเขาจริงๆ

    สมมุติว่าเรา คิดว่าตนเอง เกลียดหรือโกรธใครสักคน
    แล้วไม่สามารถเอามือจับดินสอ เขียนบรรยายความโกรธ เกลียด ที่ตนมีในใจ ออกมาเป็นตัวหนังสือได้ แสดงว่าความเกลียดโกรธที่เรามี ยังไม่มากพอให้เกิดวิริยะในการเขียน แล้วเราคิดว่าความเกลียดโกรธที่เรามีแบบนี้ มากพอให้เกิดวิริยะในการจองเวรเขาอย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ หากเป็นอย่างนี้เราจะยังยืนยันอยู่ไหม ว่าตนเองเกลียดโกรธเขาจริงๆ
     
  13. อร่อยดี

    อร่อยดี สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +2
    พระท่านนี้เน้นสอนการดูจิต
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=p4CeIZTGAdc]มรณานุสตินุสรณ์_หลวงพ่อปราโมทย์ - YouTube[/ame]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1hNuPG0cjZA&feature=related]การฝึกดูจิตในชีวิตประจำวัน - YouTube[/ame]

    ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว

    อนุโมทนานะคะคุณ chayus22
     
  14. ต้นมะขาม

    ต้นมะขาม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +3
    พี่ ซันด๊อก คือมะขามคิดว่า เราไม่ได้โกรธหรือเกลียดเขาจริงๆ แต่เราไม่รู้ว่า จะโกรธหรือเกลียด เขาที่ตรงไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร เพราะบางที เพราะบางที เรื่องที่เราทำกับเขา มันเกิดขึ้นรวดเร็วซะจนเราไม่ทันสังเกต แล้วอารมณ์ที่เรา รัก โกรธ หรือเกลียด มันเกิดขึ้นมาผสมปนเปกันจนไม่อาจจะแยกแยะได้ว่า เรามีอารมณ์ไหนกันแ่น่
     
  15. ผ่านมาจริงๆ

    ผ่านมาจริงๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +635
    แชร์ประสบการณ์ ต้องมีกำลังสมถะเป็นฐานพอสมควร ไม่งั้นดูไม่ขาด
    ดูแล้วฟุ้งซ่านค่ะ สมาธิ(สมถะกรรมฐาน) เป็นกำลังแก่การฝึกอย่างอื่น
    บางคนที่ไม่เน้นสมถะสมาธิ อาจเพราะเขาเคยทำมาเพียงพอแล้วค่ะ

    ทำสมาธิอย่างน้อย 10 นาที - 30 นาทีทุกวัน เกิดความสุขอ่อนๆ
    หรือกำลังอ่อนๆ ส่งกำลังให้การดูจิตก้าวหน้า
     
  16. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    มะขามที่รัก

    หัวใจที่เขียนว่า "ไม่ได้โกรธเกลียดเขาจริงๆ"
    กับหัวใจที่เขียนว่า "แต่เราไม่รู้จะโกรธเกลียดเขาตรงไหน"
    นี้เป็นหัวใจเดียวกันที่แกว่งไปมานะจ๊ะ

    เราคงกระทำอะไรต่อเขาลงไปแล้ว
    และตอนนั้น เราก็นึกว่า เป็นเพราะเราโกรธเกลียดเขา
    แต่หลังจากนั้น มาคิดดู จึงพบว่า เราไม่ได้โกรธเกลียดเขานี่หว่า
    sun dog ก็เคยเป็นแบบนี้
    sun dog ว่านี่เป็นการเริ่มต้นที่จริงใจทีเดียว มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
    สังเกตว่ามะขาม ใช้สติ ย้อนกลับไปจับความรู้สึก ที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้น ได้ดีทีเดียว น่าจะเป็นผู้มีประสบการณ์ในการภาวนามาไม่น้อย

    เรามักอาละวาดใครๆ ทั้งๆที่จริงๆในขณะอาละวาด เราเองก็ไม่รู้ ว่าเราโกรธเกลียดเขาตรงไหน อารมณ์ต่างๆ ทั้งความหวังและความผิดหวัง มันผสมปนเปกันอย่างนั้นจริงๆ เรามักจะมาเชื่อมโยงการอาละวาดให้ดูสมเหตุสมผล หลังจากตนกระทำเสร็จแล้ว เราจึงบันทึกลงไปว่า "เราโกรธเกลียดเขาเพราะเขา....." ทั้งๆที่หลักการนี้เกิดหลังอาละวาดแล้วแท้ๆ

    เมื่อเราทำแบบนี้บ่อยๆ เราจึงงงตนเอง ว่าตกลงรักหรือเกลียดเขากันแน่
    หนักๆเข้า เราจึงนึกว่าเราเกลียดคนที่เรารักและตั้งความหวังไว้

    ทีนี้ มะขามลองพยายาม จับความรู้สึกตอนที่กำลังจะอาละวาดให้ได้ แล้วถามตนเองก่อนลงมือลุย ว่า "ตอนนี้ฉันรู้สึกอย่างไร ? ฉันโกรธเกลียดเขาตรงไหน ?" นะจ๊ะ
     
  17. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    sun dog ไม่ได้ฝึกดูจิต เพราะตนไม่ทราบว่าจิตคืออะไร
    เวลาพูดถึงจิต sun dog ต้องยืมคำจำกัดความผู้อื่นมาพูด
    ตนใช้วิธี "ดูทุกข์" แทนจ้า
     
  18. ต้นมะขาม

    ต้นมะขาม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +3
    เค้าชอบจับยัดให้เราทำนู่นทำนี่ โดยที่ไม่บอกเราก่อน แต่ปัญหาคือ อาจารย์ของเราโหดมาก ชอบให้ทำอะไรโดยไม่ให้เวลาพักเลย พ่อแม่ของเราก็เห็นดีเห็ฯงามไปด้วย เหมือนกับว่าเราวิ่งมาทั้งวัน พอกลับมาถึงบ้าน ก็ให้ทำนู่นทำนี่อีก พอเราไม่ได้พักผ่อน เราก็อาละวาด ปัญหาคือ เราอยากพักผ่อน I need some rest. มันก็แค่นั้นแหละ
     
  19. Humra

    Humra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +5
    เอาง่ายๆไปก่อนคือการพูกจิต ทำยังไงล่ะ ก็เอาคำบริกรรมอะไรก็ได้ที่จำง่ายสุด เช่น
    พุทโธ ส้มมาอะระหัง นะมะพะทะ หรืออย่างอื่นก็ได้ ( ลองหลายๆ อย่างเอาอย่างที่จำได้ดีที่สุด) จากนั้นก็นึกบริกรรมคำนั้นทุกอริยาบท แม้ตอนแรกมันจะได้บ้างลืมบ้าง ก็อย่าท้อทอย ทำมันทุกวัน แล้วจิตเราก็จะคุ้นเคยไปเอง นี้เป็นขั้นต้น..........:cool:
     
  20. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    อนุโมทนาในธรรมทาน
    sun dog มองข้ามจุดนี้ไป
    ขอบพระคุณที่แนะนำค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...