ใครปฏิบัติธรรมด้วยวิธีสุกขวิปัสสโกบ้างครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย romanof3, 23 มีนาคม 2012.

  1. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    มาโพสต์ต่อ นึกอะไรขึ้นได้

    คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 84,000 พระธรรมขันธ์ ย่อเหลือหลักปฏิบัติสั้นๆสามอย่างคือ

    ศีล สมาธิ ปัญญา

    จะเห็นว่าต้องมีเรื่องสมาธิเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ หากปฏิบัติแบบไม่มีกำลังของสมาธิ ก็เหมือนกับเราจะออกไปสู้กับศัตรู โดยที่กำลังไม่เข้มแข็ง ไม่มีความชำนาญในการรบ ไม่ได้ฝึกซ้อมมาดี สู้ๆไปก็แพ้กิเลส หรือหนักยิ่งกว่านั้น ถูกกิเลสละเอียดครอบงำ ให้นึกว่ากำลังจะชนะมันแล้ว และจะเอาชนะมันได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในที่สุด ผลสุดท้ายกว่าจะรู้ว่าถูกหลอก ก็พ่ายแพ้อย่างหมดรูปเสียแล้ว

    และถ้าหากว่าเราไปยึดติดกับสมาธิ โดยไม่พัฒนาให้เป็นอาวุธในการไปประหัตประหารกิเลส ก็เหมือนกับเราเพาะกายให้มีกล้าม ฝึกปรือวิชาอาวุธอยู่แต่ในบ้าน แต่ไม่ได้ออกไปฟาดฟันศัตรู ก็แล้วจะเอาชนะศัตรูได้อย่างไร

    เพราะฉะนั้น สายวิปัสสโกที่แท้จริง ไม่ได้สอนให้ละทิ้งสมาธิ เพียงแต่ว่าให้สามารถพิจารณาสิ่งรอบข้างอย่างมีสติ อย่างมีปัญญา ทั้งตอนที่อยู่ในสมาธิ และอยู่นอกสมาธินั่นเอง

    ความเจริญทางวัตถุทำให้คนอ่อนแอลง ขี้เกียจมากขึ้น หลงยึดติดกับความสะดวกสบาย เมื่อความเจริญทางด้านวัตถุทำให้คนเหนื่อยน้อยลง ทำอะไรได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น ก็พลอยทำให้คนหลายคนเข้าใจไปว่า การปฏิบัติธรรม ทำแบบง่ายๆ ทำแบบไม่ต้องเหนื่อย ทำแบบฟาสต์ฟู๊ด ก็ได้ผล หารู้ไม่ว่าครูบาอาจารย์แต่ละรูปที่ท่านได้มรรคผลนิพพานนั้น ท่านปฏิบัติหนักขนาดไหน....

    คำว่า "นิพพาน" นั้นเป็นของสูงและมีค่ายิ่ง ไม่ใช่ว่าใครก็ได้เข้าถึงพระนิพพานโดยง่าย ไม่งั้นชาตินี้คนไทย 60 ,70 ล้านก็คงเข้าถึงพระนิพพานในชาตินี้เสียครึ่งค่อนประเทศแล้ว

    เมื่อนิพพานเป็นของสูง ก็ต้องเพียรปฏิบัติในแนวทางที่ถูกที่ควร ปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง เมื่อการปฏิบัตินั้นปฏิบัติๆไป ได้จังหวะที่เหมาะสม ก็จะพบทางหลุดพ้นเอง แต่หากการปฏิบัตินั้น เป็นการปฏิบัติแบบผิดๆ ปฏิบัติแบบไม่เข้าใจ ยิ่งปฏิบัติก็อาจจะยิ่งหลงทาง
     
  2. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    ไม่ต้องกลัวหรอกครับว่าผมจะซวย ใครจะซวยหรือไม่ กรรมเป็นตัวกำหนด เพราะผมเห็นว่าคุณกำลังเข้าใจผิด สายวิปัสสโกก็ยังต้องเน้นสมาธิ นี่แหละตรงนี้แหละที่คุณกำลังเข้าใจผิด

    และต้องแย้งไว้ เพื่อให้เป็นข้อมูลของคนอื่นด้วย ส่วนใครจะเชื่ออย่างไร ก็แล้วแต่วาสนาบารมีแล้วกันครับ
     
  3. romanof3

    romanof3 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +68
    ขอบคุณครับที่เป็นห่วงผม
    ที่คุณkhomerayaพิมพ์ว่า
    " คำว่า "นิพพาน" นั้นเป็นของสูงและมีค่ายิ่ง ไม่ใช่ว่าใครก็ได้เข้าถึงพระนิพพานโดยง่าย ไม่งั้นชาตินี้คนไทย 60 ,70 ล้านก็คงเข้าถึงพระนิพพานในชาตินี้เสียครึ่งค่อนประเทศแล้ว "

    อันนี้น่าเสียดายมากในข้อความนี้ ในความคิดขอกระผมไม่ทราบว่าคนปฏิบัติจะได้พระนิพพานกี่คนผมไม่สน แต่ที่คุณพิมพ์มานั้นแสดงถึงกำลังใจของคุณซึ่งมีต่อปฏิบัติเพื่อมรรค ผล นิพพาน น้อยมาก แต่ผมก็ขอกล่าวอย่างซื่ออย่างตรงนะครับว่า นอกจากกำลังใจของคุณที่บอกว่าเป็นของยากแล้ว กรุณาอย่าเอากำลังใจอันน้อยของคุณตรงนี้ มาแสดงให้คนที่เขาปฏิบัติมุ่งตรงต่อพระนิพพานเห็นเป็น ตัวอย่างและไปบันทอนกำลังใจผู้อื่น อันนี้ผมเห็นว่าใช้ไม่ได้ แนวทางที่ผมตั้งกระทู้ไว้สำหรับคนที่ตั้งใจจริงๆ ซึ่งผมก็คิดว่ามีอยู่มากมายในที่แห่งนี้เช่นกัน สำหรับคนปฏิบัติแล้วจริงๆ ไม่มีท้อหรอกว่าจะถึงไม่ถึง แต่การแสดงคำพูดของคุณบ่งบอกว่าคุณ ยังไม่เชื่อมั่นว่าคุณจะถึงในภพชาตินี้เลยครับ แสดงว่ากำลังใจตั้งมั่นในการปฏิบัติจริงจัง นั้นไม่มี ถ้าคุณปฏิบัติแนวทางสายอื่นผมไม่ทราบแต่แนวทางมุ่งตรงต่อพระนิพพานคุณไม่มี ดังนั้นกรุณาอย่าแสดงความเห็นทำลายกำลังใจแบบนี้ มันจะเป็นโทษครับ ด้วยความปรารถนาดีครับ
     
  4. xsarun

    xsarun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +137
    เคยอ่าน มาเหมือนกันครับ ว่า ด้านสุขวิปัสโก อย่างน้อยๆ ต้องอาศัย สมาธิ + วิปัสนา พิจารณาสังโยชน์ 10 ประการ เพื่อตัดสังโยชน์ โดยอารมณ์ ปฐมฌาณ ครับ รอผู้รู้มาตอบอีกที ถ้าผิดพลาดขออภัย ครับ
     
  5. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    สิ่งที่ผมพูด ผมไม่ได้เจตนาทำลายกำลังใจใคร แต่เอาความจริงมาพูด สิ่งที่ผมพูดมันไม่เกินจริงเลย คนในปัจจุบันทั้งความเพียร ทั้งปัญญาบารมี มันเทียบไม่ได้กับคนรุ่นเก่า

    และใครที่เค้าปฏิบัติได้จริง บารมีถึง เค้าก็ไม่เดือดร้อนกับคำพูดของผม เพราะจะสนใจอะไรกับคำพูดของคน ถ้าเราดีจริง ....

    และที่ต้องแย้งในหลายๆกระทู้ ไม่ใช่ในเฉพาะในกระทู้ของคุณ รู้ทั้งรู้ว่าต้องขัดใจเจ้าของกระทู้แน่ แต่เห็นว่าข้อความที่โพสต์นั้นมันส่งผลถึงคนหมู่มาก จะทำให้คนอื่นเข้าใจผิดไปด้วย ก็ต้องแย้งไว้เป็นธรรมดา ส่วนเจ้าของกระทู้นั้นๆหากจะขัดใจ ก็เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ จะหมั่นไส้ผม จะโกรธ จะเกลียดผม ก็แล้วแต่ใจของเจ้าของกระทู้นั้น ๆ แต่ที่ทำไป ก็ด้วยเจตนาจะแก้ความเข้าใจผิด ทั้งในส่วนเจ้าของกระทู้นั้น และป้องกันคนอื่นเข้าใจผิดด้วย อย่างน้อยคนอ่านคนอื่นจะได้ฉุกใจคิด

    ถ้าผู้มีปัญญา ผู้ที่เข้าใจถูกต้อง ก็ย่อมสามารถใช้วิจารณญาณแยกแยะได้ว่า ข้อความตรงไหนเป็นสิ่งที่ถูกที่ควร

    อยากจะบอกว่า ใครจะปฏิบัติจริงหรือไม่ยังไม่เพียงพอ มันต้องปฏิบัติถูกด้วย จะปฏิบัติถูกก็ต้องเข้าใจถูกด้วย

    และสำหรับผม เมื่อแย้งไว้พอสมควรแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องใช้พรหมวิหาร 4 ที่ขึ้นชื่อว่า "อุเบกขา"

    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
     
  6. romanof3

    romanof3 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +68
    ก็ถูกต้องครับที่คุณกล่าวมา

    ปฏิบัติถูก ต้องเข้าใจถูกต้องด้วย ผมก็ยืนยันไงว่า ผลที่ได้มันถูกเพราะมันมีผลออกมาแล้ว
    ที่ได้เปิดจากกระทู้เดิมข้างต้นไว้ คือ แนวทางสุกขวิปัสสโก แนวทางอื่น หรือศาสนาอื่น ผมคุยไม่รู้เรื่อง ที่ผมปฏิบัติแล้ว เกิดผลแล้วจึงเอามาบอกกล่าว ที่คุณ khomeraya มาอ้างเรื่องสมาธิ ผมไม่ได้กล่าวว่าไม่มี แต่ไม่เน้น ลองย้อนกลับไปผมกล่าวเรื่องศีล และสมาธิจากศีลอัตโนมัติ เป็นพื้นฐานของแนวทางสุกขวิปัสสโกนี้ ซึ่งถ้าคุณอ่านจิงจัง ก็จะรู้ว่าผมพิมพ์ไว้เรียบร้อยแล้ว และเทียบเคียง เอกคัตตารมณ์ ในศีล ว่าผลจากการรักษาศีลจนเป็นเอกคัตตารม เทียบเคียงคือ อารมณ์ฌาณ นั่นเอง ถ้าอ่านละเอียดจะมาแย้งผมไม่ได้ หรอกที่สำคัญ ถ้าคุณปฏิบัติแนวทางนี้จิงจังๆ คุณไม่แย้งผมแน่นอน ผมมั่นใจแนวทางที่ผมพิมพ์ไปถูกต้อง และมีผลเกิดจริงจึงนำมาบอกกล่าว สมาชิกท่านใดอยากปฏิบัติด้วยแนวทางแบบผมนี้ จนผลสุดถึงพระนิพพาน และยังอยู่กับโลกสังคมแบบปกติสุข ไม่ต้องฝึกฝนให้ยากให้เหนื่อยแบบวิธีอื่นๆ อาศัยความเข้าใจและกำลังใจในการปฏิบัติเท่านั้น สามารถพิมพ์คุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผมได้ครับ
     
  7. wechza

    wechza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +246
    ส่วนตัวผมนั้นนั่งภาวนาได้น้อยมากเน้นตอนนอนเป็นหลัก
    แต่ไม่ว่าที่ทำงานหรือที่บ้านไม่ว่าที่ใหนๆจะดูอารมณ์ตามอารมณ์ของตัวเองและดูมันโกรธโมโหสุขวิปัสโกท่านก็สามารถเข้าถึงฌานได้เช่นกันแต่ท่านไม่สนใจในเรื่องฤทธ์ก็แค่นั้นเองตัวผมนั้นเป็นบ่อยนั่งนึกพิจรณาไปไม่ได้นั่งหลับตานะพอเห็นอะไรแล้วน้อมนำเข้ามาพิจรณาตามความเปลี่ยนแปลงเกินความสุขใจปิติเหมือนว่าอยู่ก้สุขขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุเหมือนตอนนั่งภาวนาแต่เราไม่ได้นั่ง การภาวนาคือการทำให้ใจสงบ เช่นกันไม่ว่าจะยืนเดินนั่งหรือนอนถ้าเรารู้เท่าทันจิตใจของเราแล้วก็ไม่ต่างจากการภาวนาเพราะการภาวนาคือการเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญาเมื่อเกิดปัญญาแล้วเราก็จะรู้เท่าทันจิตเมื่อรู้เท่าทันจิตแล้วเราก็รู้เท่าทันอารมณ์ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์เราก็รู้มัน เอาเท่านี้ก่อนเยอะไปเดียวจะขี้เกียจอ่านกัน
    พูดได้เท่าที่รู้พูดมากกว่ารู้ดูโอ้อวดปีนเกลียวตัวเองอิอิ
     
  8. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    การขึ้นยอดภูเขานั้น ขึ้นได้รอบทิศทาง ขึ้นได้หลายแบบ ไม่ว่ากันครับ
    เราขึ้นอยู่หรือเราลง เราต้องรู้ตัวเอง ถ้าสิ่งใหนทำแล้วกุศลเพิ่มขึ้น อกุศล ลดลงก็ทำสิ่งนั้น ถ้าทำแล้วอกุศลเพิ่มขึ้น กุศล ลดลงก็เลิกทำสิ่งนั้น
    (ผิดพลาดอย่างไร ขออภัยไว้ก่อน นะครับ ความรู้น้อยจริงๆ)
     
  9. wechza

    wechza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +246
    เอาง่ายๆเลยนะครับ ฌานสำหรับสุขวิปัสโกก็เหมือนหมากฟหรั่งนั้นละครับท่านเคียวๆพอรู้รสก็คายทิ้งคือท่านไม่ติดในฌานนั่นเองจะได้อีกใหมรือมันจะหายไปไหมท่านไม่ได้สนใจเพียงแต่ท่านได้รู้แล้วว่าอารมณ์ฌานนั้นเป็นอย่างไรก็แค่นั้นเอง เพราะท่านไม่เน้นอภิญญาแต่ท่านเน้นการเจริญปัญญาเจริญสติไม่ว่ายืนเดินนั่นอนสุขวิปัสโกท่านเน้นภาวนา1ส่วนที่เหลือลงปัญญาล้วนๆหวังว่าคงไม่เถียงกันเรื่องสุขวิปัสโกอีกนะครับขอให้แลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจของสุขวิปัสโกกันต่อไปนะครับกระทู้นี้จากใจจริงอยากให้กระทู้นี้ตอบและคุยแลกเปลี่ยนความรู้และความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันครับ
     
  10. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    อ๋อ...พอจะเข้าใจบ้างแล้ว ก็เคยนั่งสมาธิอยู่บ้างเหมือนกันแต่นั่งได้ไม่นาน ก็ไม่รู้เขานั่งกันเพื่อต้องการอะไรกัน บางคนนั่งนานมาก บางคนนั่งไม่ได้เลย ก็ไม่รู้ว่าแบบไหนดีหรือไม่ดี ใครพอมีความรู้เกี่ยวกับผลของการนั่งสมาธิช่วยอธิบายหน่อยครับ ขออนุโมทนา
     
  11. romanof3

    romanof3 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +68
    ขอบคุณเพื่อนๆ ที่เข้ามาอธิบายเพิ่มเติมครับ คุณ wechza อธิบายได้ถูกต้องแล้วครับ ถ้ามีประสบการณ์หรือลองดูใจตัวเอง ในการปฏิบัติก็จะรู้จะเข้าใจ เหมือนที่คุณ wechza ใช้ในชีวิตประจำวันนั้นละ อันนี้คือคนที่ตามดูอารมณ์ ดูตัวเองจริงๆ ถึงเอาผลที่เกิดมากล่าวมาอ้างเปนพยานได้ ต่างกับคนที่ไม่ลองปฏิบัติแล้วไม่เกิดผลนะ อ้างผลจากตำรา อ้างผลจากคำอาจารย์ มาเป็นเหตุ ขอบคุณ คุณ wechza ครับ
     
  12. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    เริ่มต้นจะเรียกแบบไหนก็ได้นะผมว่า แต่พอตอนปลาย ก็จะกลายเป็น
    -สุขวิปัสสโก
    -วิชาสาม
    -อภิญญา6
    -ปฏิสัมภิทาญาน

    เพราะผมเคยเห็นพี่ผู้หญิงคนหนึ่ง ฝึกเจริญสติตามแนวทางหลวงพ่อเทียน
    ทำไปทำไมได้ญานไปเลย ทั้งๆที่ไม่ได้อยากได้ มันได้มาเอง
    ถ้าได้ญาน มันก็ต้องได้ณานก่อนนะ
     
  13. wechza

    wechza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +246
    การทำสมาธินั้นไม่ขึ้นอยู่กับเวลาครับแต่ขึ้นอยู่ที่ผลของการนั่งบางท่านนั่งแปปๆจิตก็เป็นสมาธิบางท่านนั่งทั้งวันก็ไม่เป็นสมาธิแต่สรุปแล้วการนั่งสมาธิไม่ว่าจะนานหรือแปปๆก็เป็นสิ่งที่ควรแล้วแก่การปฎิบัติ
    ผลของการทำสมาธิคือ ทำให้เราเห็นความฟุ้งซ่านของเราจิตของเรานี้มันโลดโผนมากมายอุปมาเหมือนลิงที่กระโดดเกาะต้นไม้โน้นต้นไม้นี้เมื่อเราเห็นจิตว๊อกแวกไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ถ้าเราเอาใจไปจดจ่อกับมันมันก็เป็นทุกข์หากแต่ว่าเมื่อเราเห็นจิตของเราแล้วรู้ว่ามันทุกข์รู้ว่ามันสุขเราก็ปล่อยมันไปมันฟุ้งซ่านก็ให้รู้ว่ามันฟุ้งซ่านให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของจิตว่ามันไม่จีรังยั่งยืนไม่ว่าสุขหรือทุกข์เมื่อเกิดขึ้นมันก็ต้องดับไปเหมือนกับเรายืนอยู่ใต้ต้นไม้มองดูลิงกระโดดไปมาไม่ว่ามันจะตกต้นไม้หรือกินผลไม้ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของมันไป การภาวนานั้นคือการบริกรรมคำภาวนาไม่ว่าจะเป็นพุทธโธ ยุบหนอพองหนอ หรืออะไรก็ตามที่ครูบาอาจารย์ของแต่ละบุคลได้บอกกล่าวมาให้บริกรรม ผลคือการบังคับจิตให้ติดอยู่กับคำบริกรรมเพื่อให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วเราก็จะกลายเป็นไม่รู้ไม่ติดกับอะไรเมื่อไม่รู้ไม่ติดอะไรจิตใจเบิกบานแล้วจึงเกิดปัญญาเมื่อปัญญาเกิดแล้วเราก็พิจรณาตามจริงในสิ่งทั้งปวงไม่มีเขาไม่มีเราไม่มีสัตว์ไม่มีบุคล ทุกสิ่งล้วนเป็นของไม่เที่ยง พิจรณาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หรือจะพิจรณาสังขารก็แล้วแต่ตัวบุคคลจะชอบและถนัด
    ส่วนทางอภิญญาคือเมื่อมีสมาธิก็เกิดอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ ฌาน ตามลำดับ
    เมื่อถึงฌานแล้ว ตัวรู้ก็จะเกิด ก็ให้พิจรณาไปตามรู้ เป็นลำดับลำดาไป นอกเหนือจากนี้ผมยังไม่รู้เพราะยังไม่มีความสามรถมากพอเอาแค่นี้ก่อนละกันนะครับ
     
  14. wechza

    wechza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +246
    จริงครับมันแล้วแต่ว่าของเก่าของใครของมันเนอะมีก็ดีไม่มีก็ด้ายจริงไหมครับ
     
  15. wechza

    wechza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +246
    ยินดีครับ
     
  16. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (ก๊อปมาให้อ่านครับ)หลวงพ่อปราโมทย์ : พอจิตเริ่มรวมจิตเริ่มสงบนะ หายใจจะตื้นขึ้นมา จะสั้น สั้น สั้น ขึ้นมา เหมือนมาอยู่ที่จมูกนั่นเอง พอลมหายใจขึ้นมาสูงขึ้นมา จิตมันจะสว่างขึ้นเรื่อยๆนะ จะสว่าง เนี่ยอย่างเรากำหนดอย่างนี้นะ เนี่ยสว่างขึ้นมาแล้ว ตรงที่จิตสว่างขึ้นมาแล้วเนี่ย มีทางแยก…

    พวกหนึ่งนะ อยากรู้อยากเห็นอะไรเนี่ย ส่งแสงสว่างไป คล้ายๆฉายสปอร์ตไลท์ไป ฉายไปที่ไหนนะ จิตก็ตามไปดู เนี่ยจิตออกนอกตัวจริง ไปเทวโลกก็ได้ ไปพรหมโลกก็ได้ ไปบาดาลก็ได้ การที่เรารู้ลมจนกระทั่งกลายเป็นแสงสว่างเนี่ย มันกลายเป็นกสิณแสง กสินแสงเนี่ยมันทำให้ได้ทิพยจักษุ จากกสิณแสงเนี่ยนะ ส่งไปที่ไหน ตาก็มองเห็นตามไปได้ ใจมันเห็นตามไป ไปเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นอะไร เห็นก็ดีเหมือนกัน ในแง่ที่จะกลัวบาป อยากทำบุญไม่กล้าทำบาป มีศีล นี่เห็นอย่างนี้มีศีล อีกพวกหนึ่งเห็นแล้วลำพอง กูเก่งๆ พวกนี้เห็นแล้วยิ่งแย่ใหญ่ เกิดกิเลส นี่ไม่ดี ถ้าเห็นแล้วมีศีลมีธรรมก็ดี ถ้าไม่เห็นก็ไม่เป็นไร อย่าไปตามมันไป

    ให้จิตเป็นคนดูแสงไว้ จิตอย่าถลำเข้าไปในแสง พอจิตเป็นคนดูแสงเนี่ยนะ จิตมันชำนิชำนาญขึ้นมา สติระลึกรู้ที่แสงสว่างนั้น เรียกว่ามี “วิตก” วิตกก็คือการที่จิตเนี่ยไปตรึกอยู่ในแสงสว่าง วิจารเนี่ยคือจิตมันเคล้าเคลียอยู่กับแสงสว่าง ได้ยินคำว่า วิตก วิจาร ใช่มั้ย เราชอบไปคิดว่าวิตกคือคิดๆไปเรื่อยๆ วิจารก็คือวิพากษ์วิจารณ์ อันนั้นคนไทยเอามาใช้หรอก

    วิตกก็คือ การที่จิตมันตรึกในอารมณ์ มันจับเข้าไปที่ตัวอารมณ์นะ วิจารณ์มันเคล้าเคลียอยู่กับตัวอารมณ์ พอจิตมีวิตกมีวิจารอยู่นะ ปีติมันเกิดนะ ก็ตรงนี้มันชำนาญ ก่อนจะมีปีติมีอะไรขึ้นมาได้นะ จิตมันชำนาญในสมาธิขึ้นมาแล้ว แสงสว่างเนี้ยให้มันใหญ่ก็ได้ ให้มันเล็กก็ได้ ให้เต็มโลกก็ได้ ทำตัวกระทั่งเราเหมือนพระอาทิตย์พระจันทร์เลยก็ได้ ให้เล็กๆเหมือนปลายธูปเลยก็ได้นะ คล้ายจิตมันเล่น มีของเล่น จิตมันสนุก มีปีติขึ้นมา มีความสุขนะ

    พอจิตมีปีติ มีความสุขขึ้นมาแล้วนะ สติระลึกลงไปอีก มีปีติแล้วไม่ต้องไปสนใจดวงสว่างนั้นอีกต่อไปแล้ว เสียเวลา ทิ้งวิตกทิ้งวิจารไป สติระลึกรู้ปีติ ปีติมันโลดโผน ในขณะที่มีปีติในความจริงก็มีความสุขด้วยนะ แต่ว่าปีติมันฉูดฉาด สติจะไปเห็นปีติก่อน พอสติระลึกรู้ปีติ ปีติจะดับนะ ความสุขก็เด่นขึ้นมานะ ความสุขมันเด่น มันคล้ายๆนะ ปีติมันหยาบกว่ามันชวนให้ดู เหมือนเราไปซื้อเสื้อมาตัวหนึ่งนะ เราก็เลือกมาอย่างดีแล้ว พอซื้อมาเราพบว่า กลับมาบ้านแล้วพบว่ามันมีรูอยู่นิดนึง มันไปเกี่ยวอะไรขาดอยู่นิดนึง เราไม่ดูเสื้อทั้งตัวแล้ว เราจะเวียนดูไอ้รูที่ขาด นึกออกมั้ย เพราะมันเร้าใจกว่า เวลาปีติเกิดก็แบบเดียวกันนะ ไปดูปีติไม่อยากดูความสุขน่ะ ความสุขก็มีอยู่ในขณะที่มีปีติแต่ไม่ดู

    พอปีติดับไป มันเห็นนะ ปีติเป็นของหวือหวา ปีติดับไปนะจิตก็มีความสุขขึ้นมา ความสุขก็เด่นขึ้นมา ดูลงไปที่ความสุข ความสุขก็เป็นของหวือหวาอีก มันก็เป็นอุเบกขา จิตเป็นอุเบกขา ตรงที่วิตกวิจารดับไปนะ จิตจะเป็นผู้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นในฌานที่สอง จิตจะเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานขึ้นมาแล้ว ตรงนี้ถ้าทำอานาปานสติจนได้ฌานนะ เนี่ยได้ตัวผู้รู้ขึ้นมา ตั้งแต่ฌานที่ ๒ ๓ ๔ มีตัวผู้รู้ขึ้นมา แล้วถ้าดูจิตต่อไปเรื่อยก็จะเข้าอรูป(ฌาน)ไป และไม่จัดเป็นอานาปานสติแล้ว ก็เข้าอรูปต่อ อันนี้เป็นวิธีใช้อานาปานสติทำให้เกิดฌาน ในฌานนั้นเกิดจิตผู้รู้ขึ้นมา คนที่ได้จิตผู้รู้จากสมาธิเนี่ย เมื่อออกจากสมาธิแล้วตัวรู้จะเด่นดวงอยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าสมาธิหนักแน่นพอนะ เด่นอยู่ได้หลายวันเลย แต่ไม่เกิน ๗ วันก็จะเสื่อม พอมีตัวรู้นี้เอาไว้ใช้เดินปัญญา

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
    ศรีราชา ชลบุรี

    แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
    วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

    CD: 42
    File: 541106A.mp3
    ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๑ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๓๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2012
  17. อนัตตาติ

    อนัตตาติ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +5
    ถึงท่านเจ้าของกระทู้
    ผมปฏิบัติแบบสุขวิปัสสโก คิดว่าเป็นแนวทางเดียวกับ ปัญญาอบรมสมาธิ ของหลวงตามหาบัวสอนไว้นะครับ เป็นแนวทางของคนที่ทำสมาธิแล้วไม่ได้ถึงขั้นฌาณอะไรมากนัก แต่ถนัดทางด้านปัญญามากกว่า เวลาให้กำหนดคำบริกรรมจิตสงบได้ไม่มาก แต่ถ้าให้พิจารณาด้านปัญญาเลยปรากฏว่าจิตเป็นสมาธิพิจารณาอยู่ในเรื่องที่กำหนดได้อย่างไม่ฟ้งซ่าน(ในขณะพิจารณาอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่คิดเรื่องอื่นที่ไม่ได้กำหนดก็เป็นสมาธิไปในตัวเช่นกัน)เมื่อพิจารณาอยู่ทั้งวันทั้งคืนก็เป็นสมาธิอยู่ตลอดเฝ้าดูรูปดูนามเกิดดับให้เห็นกับจิตตนเองอย่างนั้นก็ถอดถอนอุปาทานได้เช่นกัน หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านบอกว่าใช้แค่อุปจารสมาธิในการพิจารณาก็บรรลุธรรมได้ครับ แต่ก็ต้องมีกำลังของฌาณ 1 ก่อน แต่ผมคิดว่าหากไม่ได้ฌาณ1 ก็เอาแบบหลวงตามหาบัวเลยครับใช้ปัญญาอบรมสมาธิไปเลยได้ทั้งปัญญาและสมาธิไปในตัว (เราไม่รู้ว่าจะตายวันไหนหากมุ่งจะเอาแต่ฌาณไม่รู้ว่าทั้งชีวิตจะได้ถึงฌาณ4รึเปล่า ถ้าเราตายก่อนหละเสียดายชาติเกิดเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนาแย่เลย)
    **พระอาจารย์ที่สอนตรงทางไม่เสียเวลาที่แนะนำนะครับ พระอาจารย์ชานนท์ วัดป่าเจริญธรรม จ.ชลบุรี
    http://www.watpachareongtham-chonburi.com/index.php
     
  18. อนัตตาติ

    อนัตตาติ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +5
    **มาต่อครับคอเดียวกัน
    วิธีของผมเริ่มจากไม่รู้ว่าตัวเองเป็นแนวสุขวิปัสสโก จึงภาวนามุ่งเอาฌาณอย่างเดียวแต่ปรากฎว่าคืนวันหนึ่งผมนั่งไปแล้วเกิดปวดขาแต่มากแต่ทนนั่งเพื่อให้ครบ 3 ชม.ตามที่ได้อธิษฐานไว้ ปรากฏว่ามันปวดมากแล้วเอาจิตไปกำหนดดูความปวดมันก็ยิ่งปวดมากจนมันไม่มีทางออกจะลุกก็ไม่ได้เพราะอธิษฐานไว้หากผิดสัจจะถึงตายครับ จิตมันจึงถามตัวเองว่าความปวดคือไร แล้วใครปวดกันแน่ เท่านั้นหละครับได้เรื่องเลย กาย เวทนา จิต แยกกันอยู่เลยครับ(เคยโม้ไว้ในกระทู้อื่นแล้ว)จากวันนั้นจึงหันมาพิจารณารูปนาม ธาตุ 4 ขันธ์ 5 อย่างจริงจังโดยมีพระอาจารย์คอยแนะนำให้ครับ(ตอนนั้นบวชอยู่วัดป่า)
    จากวันนั้นผมนั่งกำหนดคำบริกรรมไม่สงบเหมือนเมื่อก่อนเลยครับจิตเอาแต่จะพิจารณาขันธ์ห้าอย่างเดียวทั้งวันทั้งคืนไม่มีหยุดเลยมันเป็นมันเองจนกว่ามันจะเข้าใจ ถึงตรงนี้ถ้าได้ฌาณก็คงดีแหละเพราะมันหมุนไปเองหากไม่เข้าใจมันไม่หยุดมันล้าหมดเลย ถ้ามีฌาณคงได้มาพักจิตในฌาณเอากำลังก่อน แต่ผมอาศัยพักการพิจารณาโดยการไปสวดมนต์บ้าง เขียนบทสวดมนต์ในสมุดบ้างพอให้จิตพักการพิจารณาให้หายล้าก่อน เพราะจิตช่วงนี้ว่างไม่ได้ออกพิจารณาอย่างเดียว หากได้รู้แล้วเรื่องหนึ่งก็มีธรรมอีกเรื่องหนึ่งมาให้พิจารณาอีกประมาณ 3-4 รอบจนกว่าจะไม่เหลือความเป็นตัวตนของทุกสิ่งทุกอย่างครับ พูดไปมันยาวเกินขอให้ตั้งใจไปศึกษาเทศนาของพระอาจารย์ชานนท์นะครับผมว่าตรงกับที่ผมได้ประสบการณ์มา แล้วมีบางอย่างก็มาศึกษาต่อจากของท่านครับ

    การปฏิบัติธรรมต้องไม่เอาอะไรเลย" แม้แต่ธรรม"
     
  19. romanof3

    romanof3 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +68
    โมทนาสาธุครับ อนัตตาติ

    สิ่งที่ท่านเข้าใจและปฏิบัติมา เปนแนวทางสุขวิปัสสโกเลยครับ สังเกตุที่ท่านกล่าวว่า " พิจารณาโดยการไปสวดมนต์บ้าง เขียนบทสวดมนต์ในสมุดบ้าง " ก็คือการฝึกสมาธินั่นเอง แต่เปนสมาธิ แบบเคลื่อนไหว และเมื่อปฎิบัติแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะกลายเปนสมาธิในชีวิตประจำวันเรานั้นเอง ท่านฝึกสมาธิจากการเขียน และสวดมนต์ ส่วนผมสมาธิเกิดจากการรักษาศีล ครับ แต่โดยภาครวมแล้ว ท่านกับผม เรามีความเข้าใจที่เกิดจากการปฏิบัติตรงกัน และ มีเป้าหมายกำลังใจไปทางตรงที่เดียวกันครับคือ พระนิพพาน
    ( ไม่ใช่อ้างนู้นนั่น แต่ไม่เคยปฏิบัติ ) โมทนาสาธุครับผมก็มี เพื่อนร่วมแนวทางเพิ่มแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2012
  20. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด
    หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงที่เราบอกว่าเราฟังธรรมเข้าใจเนี่ย ความจริงไม่ได้เข้าใจด้วยการฟัง แต่เข้าใจด้วยการคิดเอาเอง การคิดเอาเองของเราเนี่ย คิดถูกก็ได้ คิดผิดก็ได้ งั้นธรรมที่ฟัง ๆ เอานะยังใช้ไม่ได้ ฟังเอาพอเป็นแนว เพื่อจะมารู้กาย รู้ใจ ศัตรูของการรู้กาย รู้ใจ เบอร์หนึ่งเลยคือการที่เราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกาย ลืมใจที่เป็นปัจจุบัน รู้สึกไหม ขณะที่เราคิดไปเนี่ย เรานั่งอยู่เราก็ลืมไป จิตใจเราเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล เราก็ไม่รู้ นึกออกไหม เนี่ยอย่างขณะนี้ลืมกาย ลืมใจแล้ว ตรงที่ไหลแว๊บไป

    เพราะฉะนั้นตราบใดที่คุณยังคิดไม่เลิกนะ คุณไม่ได้ทำวิปัสสนาแน่นอน แล้วมันเป็นศัตรูด้วย หลวงพ่อเลยไม่ส่งเสริมให้มานั่งคิดนั่งถามนะ ที่สงสัยได้เพราะคิดมาก คิดมากก็สงสัยมาก สงสัยแล้วอยากถาม ถามไปแล้วก็จำเอาไว้แล้วหรือเอาไปคิดต่อ นะ มันจะเวียนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ วิปัสสนาจริง ๆ ไม่ใช่การคิด วิปัสสนาจริงๆ ในอภิธรรมสอนนะเริ่มจากตัวอุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณเนี่ยมันเห็นความเกิดดับของรูปนามนะ แล้วระบุไว้ด้วยว่า ต้องพ้นจากความคิดด้วย ถ้ายังเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเอา เช่นคิดเอาว่าจิตตะกี้กับจิตเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน เนี่ยแสดงว่าเป็นไตรลักษณ์ นี่ได้แค่สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นยังตราบใดที่ยังคิดอยู่ไม่ใช่วิปัสสนา

    หลวงพ่อพุธเคยสอนนะบอกว่า “สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด” ความคิดเนี่ยคือศัตรูเบอร์หนึ่งเลย มันทำให้เราลืมกายลืมใจตัวเอง ส่วนศัตรูเบอร์สองคือการที่บังคับกาย บังคับใจ นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยคือนักบังคับกาย บังคับใจ เพ่งเอา ๆ นะ กำหนดเอา ๆ กายก็ทื่อ ๆ ใจก็ทื่อ ๆ ถ้าเราบังคับกาย บังคับใจ จนมันทื่อ ๆ ไปแล้วไตรลักษณ์มันจะไปอยู่ที่ไหน มันไม่แสดงตัวขึ้นมา

    ศัตรูของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันแรก หลงไป เผลอไป ขาดสติ ลืมเนื้อ ลืมตัว ตามใจกิเลสไปนี้เรียกว่า อกุศลาภิสังขารมั่ง อปุญญาภิสังขารมั่ง เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยคบ้าง มีหลายชื่อ

    ศัตรูหมายเลขสองคือการเพ่งกาย เพ่งใจ บังคับกาย บังคับใจ กำหนดกาย กำหนดใจ ควบคุมไว้ ทำกายทำใจให้ลำบากอันนี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ความปรุงแต่งฝ่ายที่เป็นบุญ เรียกว่า กุศลาภิสังขาร ความปรุงแต่งที่เป็นกุศลเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค การบังคับตัวเอง

    เนี่ยสองทางนี้แหละเป็นทางสุดโต่งสองด้านที่พระพุทธเจ้าห้าม ถ้าเรายังไปทำส่วนใหญ่ไปทำอย่างนั้นเองคือไปเพ่งเอา กำหนดเอา ใจแข็ง ทื่อ ๆ จ้องเอาไว้ ๆ นั่นไม่ใช่การเจริญสติ

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
    บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
    แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
    เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

    CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
    Track: ๖
    File: 491106.mp3
    ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๘
     

แชร์หน้านี้

Loading...