ความน่ากลัวของคำนี้ "ไม่ยินดี ยินร้าย"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย cp95, 23 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. cp95

    cp95 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +0
    ทุกครั้งที่เราได้ฟังและอ่านธัมมะจากสื่อชนิดต่างๆ อารมณ์ก็แล่นไปในท่ามกลางสัจจะนั้น วิตก วิจารณ์ก็บังเกิดขึ้น พละ 5อันมีศัทธาเป็นปฐมเริ่มก่อตัว แต่แล้วทุกอย่างก็ต้องสดุดลงเมื่อคำ "ไม่ยินดี ยินร้าย" ปรากฎขึ้นในการแสดงธรรมนั้นๆ ต้องพยายามข่มจิตอยู่พักใหญ่ กำหนดนาม-รูป แล้วให้เข้าใจว่า น่าจะหมายถึง โสมนัส โทมนัส ตามเจตนาที่แท้ของการแสดงธรรม
    ก็อันใดเล่า ในขณะจิตที่ต้อง(สัมผัส)ธรรมทั้งหลายอยู่ลำดับเข้าเป็นอารมณ์ มีความยินดีนี้แลเป็นปัจจัยอยู่โดยรอบความเพียร ยับยั้งเสียซึ่งความไม่สบายกาย ใจทั้งปวง เข้าไปหนุนจิตตะบ้าง วิมังสาบ้าง ในอิทธิบาทนี้ มีความยินดีเป็นพี่เลี้ยงดูแลอยู่ พระอรหันเจ้าในทั้งสองเหล่าทั้งที่ได้ญาณและไม่มีญาณ ต่างใช้ความยินดีนี้ประครองสังขารให้ได้ไปตลอดลอดฝั่ง และตัวยินดีนี้แลที่ส่งเสริมให้เหล่าเสขะเจ้าทั้งหลายสำเร็จอะเสขะ ปถุชนเข้าถึงมรรคผล บุคคลเข้าสู่ความสำเร็จ
    จะชั่วก็ยินดี จะเลวก็ยินดี จะหนักจะเบาก็ยินดี กระทั่งได้อารมณ์อันสม่ำเสมอ(อุปเบกขา)เป็นที่สุด....
     
  2. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    รบกวนท่านเจ้าของกระทู้ขยายความสักนิดครับท่าน
     
  3. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    น่ากลัวตรงไหนหรือครับ กรุณาแสดงสัญลักษณ์เน้นให้เห็นความน่ากลัวของทั้งสองคำนั้น บ้างเถิดครับผม จะได้เข้าใจ เผื่อผู้รู้ท่านมีทางช่วยได้บ้าง ฯ

    (มีความยินดีนี้แลเป็นปัจจัยอยู่โดย รอบความเพียร ยับยั้งเสียซึ่งความไม่สบายกาย ใจทั้งปวง เข้าไปหนุนจิตตะบ้าง วิมังสาบ้าง ในอิทธิบาทนี้ มีความยินดีเป็นพี่เลี้ยงดูแลอยู่ พระอรหันเจ้าในทั้งสองเหล่าทั้งที่ได้ญาณและไม่มีญาณ ต่างใช้ความยินดีนี้ประครองสังขารให้ได้ไปตลอดลอดฝั่ง และตัวยินดีนี้แลที่ส่งเสริมให้เหล่าเสขะเจ้าทั้งหลายสำเร็จอะเสขะ ปุถุชนเข้าถึงมรรคผล บุคคลเข้าสู่ความสำเร็จ)
    ในที่นี้ท่านกล่าวถึง อิทธิบาทธรรม 4 ประการคือ ฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา,
    คำว่ายินดี แปลมาจากคำว่า ฉันทะ ๆ นี้เดิมทีแปลว่า ความพอใจ, แต่จะกำหนดตายตัวไม่ได้หรอกว่า ต้องแปลได้อย่างเดียวเสมอไป เพราะเห็นท่านกล่าว เทศน์ ตรัส ตามสถานการณ์ ตามประเภทบุคคล ด้วย เช่นในพระไตรปิฎก เล่มที่ 14 ฉบับมหาจุฬาฯ เฉลิมพระเกียรติ ฯ ปี 2539 หน้า 97 ที่ว่าด้วยเรื่องมูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ 5 มีคำว่าฉันทราคะ ท่านแปลคำว่าฉันทะ ว่า อยาก ก็มี ..ฉันทะ ในที่นี้ท่านหมายถึงมีตัณหา เป็นตัวทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ 5 ฯ
    ภิกษุ ทูลถามว่า ก็ฉันทะราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์5 ประการ จะพึงมีได้หรือ ?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า " ภิกษุ...มีได้ ภิกษุ! ดังนี้แล้วตรัสต่อไปว่า ภิกษุ! บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า 'ในอนาคต เราพึงมี รูป เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อย่างนี้' ภิกษุ! ฉันทะราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ 5 ประการ พึงมีได้ด้วยอาการอย่างนี้"

    คำว่าไม่ยินดี ยินร้าย ในที่นี้ ท่านคงแปลมาจากคำว่า อุเบกขา ที่เดิมนั้นแปลว่า วางเฉย คือไม่ยินดี และไม่รังเกียจ ในเรื่องนั้น ๆ โดยวางใจเป็นกลางได้ กระมังครับ ฯ
    เราต้องอ่านพระไตรปิฎก และคำอธิบายของแต่ละคำ ที่ท่านทำfootnote ไว้นั้นแล้วจะเข้าใจ ว่าท่านหมายถึงอะไร ฯ

    ศัพท์หนึ่งแปลได้เป็นร้อย ผู้รู้น้อยก็ย่อมฉงน ปนเปกันบ้างก็เป็นธรรมดา ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  4. cp95

    cp95 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +0
    มีอีกคำที่ต่างกันแต่ให้ผลเหมือนกัน คือคำ "ไม่มีตัวตน" ถ้าเป็นคนสมัยก่อนต้องคุยกันเป็นเดือน แต่คนรุ่นเราอาจใช้สัก 3วัน เอาเป็นว่ายกตัวอย่างดีกว่าจะได้สั้นลงไปอีก
    มีคนโทรศัพท์เข้ามา เบอร์ก็แปลกๆไอ้เราเจ้าหนี้ก็เยอะ งานก็พัวพันอยู่ พอกดรับสาย อ้าวกลายเป็นพนักงานประกันชีวิตโทรมาขอข้อมูลเพื่อชักนำให้ซื้อประกัน งานก็ยุ่งอยู่ ลูกค้าก็รอ ฉันทะมี 2อย่างคือพอใจและยินดี กับยินดีเพื่อยังความเพียรให้เกิดเป็นลำดับ ไม่ยากจะคุยแต่ด้วยเห็นประโยชน์ในงานเขา(ความสำเร็จ) ก็ฟังและให้ข้อมูลไปจนจบการสนทนา เลยต้องคุยกับลูกค้าไปด้วย คุยกับพนักงานบริษัทไปด้วยอือ
    ในสมัยนั้นพระโมคคัลลาเจ้า ถูกโจรทุบกระทั่งร่างกายแหลก กรรมเหล่านั้นแม้มิต้องรับจะเป็นไร แต่ด้วยจบพรหมจรรย์แล้วจึ่งสงเคราะห์ด้วยเจ้ากรรมนายเวร(ทั้งที่มิใช้มารดาตนที่ได้เคยทำร้ายไว้ในชาติก่อน(หาได้น้อยนะคนที่ไม่เคยทะเลาะกับพ่อแม่ตนเองนะ)) ไม่พอใจแต่ยินดีที่จะรับทรมารนั้น ครั่นจะปลงสังขารลงณ.ที่ตรงนั้นก็ไม่แปลก แต่ด้วยยังมิได้กราบลาองค์ตถาคตเจ้าที่เฝ้าอุปถากอยู่ ถึงไม่ไปพระพุทธองค์ย่อมรู้ด้วยญาณทัศนะ การปล่อยให้เขากระทำกระทั่งกายละเอียดด้วยของแข็งนับว่าเป็นเรื่องยากแล้วสำหรับผู้ที่มีฤทธิ แต่การรวบรวมสังขารกลับมาใหม่ดังเดิมกับลำบากกว่า แล้วต้องถ่อสังขารอันประคลองไว้ด้วยจิตเพื่อให้สำเร็จเจตนาดันด้นไป ลองนึกถึงสภาพของหุ่นกระบอก ที่เชือกร้อยหรือมุดชำรุดเสียสิ้นแล้ว ต้องใช้ใจนี้ร้อยแทนแล้วดำเนินไปแล้วกัน เหล่านี้คือความยินดีทั้งสิ้นที่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิต ถ้าไม่ยินดี ยินร้ายก็แค่เดินผ่านไปเฉยๆ ง่าย
    เมื่อเราสำเร็จอรูปฌาญ หากยังมีสัญญาว่า ไม่มีตัวตน หนึ่ง ไม่ยินดียินร้ายหนึ่ง พรหมลูกฟักแหละจะเป็นจุติต่อไป นี้คือสิ่งที่กล่าวถึง อีกประการเราจะไม่สามารถเข้าถึงอารมณ์อุเบกขาที่เป็นทางสายกลางได้ จะเป็นอุเบกขาแบบไม่รับรู้อะไรเลยเป็นแค่ อสุข อทุกข์เวทนา เฉยเฉย ที่ยังเป็นกิเลสพื้นๆเช่นคนทั้งหลายที่เป็นกัน
    คำว่าไม่มีตัวตนเดี๋ยวนี้ดีไม่ค่อยเจอแล้ว มักได้ยินคำว่า ไม่ใช้ตัวตนซึ่งถูกต้องและเป็นสัจจะ หาคำอื่นมาใช้เถิดถ้าจะแสดงธัม เช่นไม่รู้ ไม่ชี้ก็ได้นะอือ เปล่าหรอกเธอ อย่าใช้อีกเลยเลี่ยงที่จะพูดเสียก็ได้ ยอมเสียเวลาอธิบายอีกสักประโยค 2ประโยคจะได้ประโยชน์เพิ่มพูลขึ้นนะอือ
    ที่แสดงมานี้เป็นความหมายของภาษาไทยล้วนๆ หากเป็นบาลีก็ไม่ต้องอธิบายแล้ว ข้อแรกเราไม่เป็นบาลี อีกข้อบาลีมีการบังคับและความหมายแสดงอารมณ์ที่แน่นอนสมบรูณ์ในตัวเอง
     
  5. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    อ้อ เข้าใจแล้ว จขกท. ต้องการให้พูด ให้อธิบายเป็นภาษาไทยให้ชัดเจน แบบฟังแล้วเข้าใจได้ง่าย ๆ เลย ไม่ต้องมีเงื่อนงำ หรืออย่าทำให้มีความหมายไม่ชัดเจน ฯ

    อ้อ....ถึงบ้างอ้อแล้ว เข้าใจแล้ว
    ดีครับละเอียดดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2012
  6. cp95

    cp95 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +0
    เราท่านทั้งหลายมิใช่จิตกรผู้ชำนาญ เห็นสีก็รู้แค่แตกต่างที่อ่อนแลแก่ สำหรับจิตกรผู้ชำนาญ จำเพาะดวงตาของภาพที่ท่านวาด หากใช้วิทยาศาสตร์มาจับต้องก็เป็นร้อยเชตสีแล้ว ภาษาเป็นเช่นนั้น นามรูปเป็นเช่นนั้น หากไม่เลือกให้เหมาะในสมเทสะ(สะกดถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ ตั้งใจจะเขียนว่าเทศะ)แล้ว ยังจะเรียกว่าศิลปินก็คงจะไม่ได้
    ได้เจริญสติ ระยะ 1 เห็นว่า ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน น่าสนใจอยู่นะอือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2012
  7. cp95

    cp95 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +0
    หากไม่มีการเกิด(แรงกระเพื่อม(ของน้ำ)) บัวไหนเลยจักพุดขึ้นมาได้(ชีวิตและปํญญา)
    กิร อัญญาโกณทัญญะเล๊ย...
    ดัวยเหตุแห่งการเข้าใจในสัจจะข้อนี้(ธรรม(ความเป็นไป ต่าง.. นา..ฯลฯ))
    เธอจักมีสาวกที่ยิ่งด้วยปัญญา เสมอด้วยองค์ตถาคต
    (กลับเป็นลูกศิษขององค์อัสสะชิ ไหงเป็นงั๊นไป)
     
  8. cp95

    cp95 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +0
    แสดงความขอบคุณ

    ในส่วนตัวอย่างของการอธิบาย ธรรมอิทธิบาท4 เป็นการยกหัวข้อที่เหมาะสมมาก จนแทบไม่น่าเชื่อ ผมเองก็จะจำไว้ไปใช้อธิบายในส่วนของฉันทะต่อไป
    Rgds.
     

แชร์หน้านี้

Loading...