ขอความกรุณาจากผู้รู้ค่ะ ว่า..ดิฉันมาถูกทางแล้วหรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บุญน้อมนำ, 7 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    เป็นข้อข้องใจมานาน..ไม่เคยได้คำตอบเลย
    เริ่มจากเมื่อ4-5ปีก่อนค่ะเริ่มสวดมนต์แล้วก็นั่งสมาธิที่หน้าหิ้งพระที่บ้านค่ะ ตอนนั้น บริกรรมพุทธโธค่ะ ตอนแรกขณะนั่งหายใจไม่ค่อยสะดวก ไม่ทั่วท้อง และก้ไม่สนใจเสียงรอบข้างเลยค่ะ พอผ่านไปสักระยะ ประมาณ20นาทีได้ก็รู้สึกหายใจช้าและละเอียดลง บรรยากาศที่หายใจเข้าไปมันช่างสดชื่น สะอาดเหมือนในชีวิตไม่เคยได้เจอบรรยากาศแบบนี้มาก่อน เหมือนเห็นเงาใบไม้ปลิวลมรางๆค่ะ แล้วสักพักดิฉันก็ออกจากสมาธิค่ะ
    ครั้งต่อมาก็นั่งที่บ้านที่เดิมค่ะทำแบบเดิม ขณะจิตนิ่งหายใจเบาก็ไม่ติดขัดค่ะ ในขณะนั่งหลับตาอยู่ก็ก้มมองร่างกายตัวเองเห็นตัวเองนั่งสมาธิค่ะแต่เหมือนเป็นเนื้อแดงๆสลับเหมือนไขมันน่ะค่ะเหมือนคนไม่มีหนังค่ะ ตกใจค่ะก็เลยออกและลืมตาค่ะ(เห็นครั้งเดียวและก็ไม่เห็นอีกเลย)
    นั่งครั้งต่อมา ก็ทำเหมือนเดิมค่ะตามลมหายใจเข้า-ออกค่ะ พอผ่านไประยะหนึ่ง ลมหายใจมันกลายเป็นก้อนเหมือนลูกไฟสีเขียวปนเหลืองๆใหญ่กว่าลูกปิงปองนิดนึงค่ะ พอหายใจเข้าก็เข้าไปในจมูก พอหายใจออกก็ออกมาค่ะ ตกใจอีกแล้วค่ะ เพราไม่รู้ต้องทำไงต่อ เลยออกจากสมาธิค่ะ
    หลังจากนั้นก็ไปเข้าคอรส์วิปัสสนาที่วัดปัญญา คลอง6 ค่ะใกล้บ้าน แต่ก็ไม่ได้เล่าหรือสอบถามพระอาจารย์ค่ะ
    ต่อมาก็ได้มีโอกาสไปนั่งที่สวนป่าหิมวัลย์ จ.เลย 7วัน ของวัด...พี่คนนึงชวนไปค่ะ กำหนดลูกแก้วหรือพระแก้วใสๆไว้ที่ท้องเหนือสะดือ2นิ้วมือค่ะ ก้ทำตามค่ะพอนั่งไประยะเวลานึงเหมือนคนสัปหงกค่ะพอเงยขึ้นตั้งตัวตรงทุกอย่างก็นิ่งเหมือนจิตนิ่งทันทีบรรยากาศเบาสบาย หูอือเล็กน้อย เหมือนตัวยืดขึ้นลอยๆๆค่ะจนศรีษะจะชนกับเพดานห้องค่ะเลยก้มหัวหลบค่ะ สุดท้ายตกใจออกจากสมาธิเหมือนเดิมค่ะ
    อีกครั้งนึงที่สวนป่าหิมวัลย์ค่ะ ก็นั่งกำหนดอย่างที่ท่านสอนเหมือนเดิม แต่ตอนนี้ดิฉันนึกพระแก้วใสๆไว้ที่จุดกึ่งกลางท้องเหนือสะดือ 2นิ้วค่ะ เหมือนเดิมอีกค่ะเหมือนง่วงแต่ไม่ไช่ง่วงค่ะพอยึดตัวตั้งตรงก้มมองที่ขาตนเอง(ขณะหลับตาเห็นตัวเองท่านั่งสมาธิอยู่)ขาของดิฉันเริ่มเปลี่ยนไปเป็นแก้วใสๆมองทะลุได้ ไล่ขึ้นมาเกือบถึงเอวค่ะ ก็ออกจากสมาธิอีก
    คือตกใจด้วยและไม่รู้ว่าจะทำไงต่อไปค่ะ หรือดิฉันบ้าไปแล้วคะ
    แล้วทุกวันนี้ก็ไม่ได้ไปนั่งที่นี้อีกเลย แต่ไปวัดอัมพวันครั้งนึง และวัดปัญญาค่ะและก็วัดป่าที่ต่างจังหวัด ถ้ามีโอกาส ส่วนมากทุกวันนี้นั่งที่บ้านในห้องค่ะ
    ปัจจุบันก็นั่ง กำหนดพองหนอ-ยุบหนอค่ะ และกำหนดรู้ปัจจุบัน แต่ยังไม่ค่อยถึงไหนเลยค่ะ กรุณาช่วยแนะนำหน่อยค่ะ..ดิฉันโง่เขลาเบาปัญญานัก ขอบคุณอย่างสูงค่ะ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ปัญหาของคุณคือบางครั้งสนใจกับสถาวะภายนอกมากไปครับ...เช่น ปิติ นิมิต เป็นต้น...ไม่ต้องสนใจให้ทรงอยู่ในกรรมฐานที่คุณได้ทรงปฏิบัติอยู่....อีกอย่างที่จะแนะนำคือ เป็นไปได้คุณลองหาวิธีการฝึกแบบใดแบบหนึ่งที่คุณฝึกแล้วรู้สึกดี รู้สึกสบายใจ..ให้ยึดเอาอันนั้นเป็นแบบไปเลยครับ...แล้วทำให้ถึงที่สุด....คือจุดประสงค์แห่งการปฏิบัตินั้น ในแต่ละสายการปฏิบัติย่อมไม่แตกต่างกัน ต่างกันแต่วิธีการเท่านั้นหละครับ....นอกนั้นในเรื่องของแบบสอบสภาวะสมาธิที่คุณเคยปฏิบัติอยู่เดี๋ยวจะเอามาขึ้นให้ อย่างไรตรวจสอบสภาวะเอาเองนะครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    <O:p</O:p

    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 45%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" cellPadding=0 width="45%" border=1><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f0f0f0; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f0f0f0">
    อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <O:p</O:p
    อาการของอุปจารสมาธิคือปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์
    จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมไม่เคยพบความสุข
    อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิตตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข
    ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ
    ทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ
    ๑.อาการขนลุกซู่ซ่าเมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์
    ใจเป็นสุขขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจเมื่อสมาธิ
    สูงขึ้นหรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเองอาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร
    ภูมิใจว่าเราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย
    ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ได้แก่อาการน้ำตาไหล
    ๓.อาการของปีติขั้นที่ ๓คือร่างกายโยกโคลงโยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
    บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น
    ๔.อาการของปีติขั้นที่ ๔ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศแต่ผลของการปฏิบัติ
    ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศเมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ
    คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง(อย่าตกใจ)
    ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕คือมีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก
    ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้นหน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกายในที่สุด
    ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว
    อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้นนักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ
    เป็นสำคัญอย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นพอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว
    ไปเองปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุขคือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็
    เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน


    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" cellPadding=0 width="26%" border=1><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="PADDING-RIGHT: 0.75pt; PADDING-LEFT: 0.75pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f0f0f0; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-TOP-COLOR: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f0f0f0">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O:p</O


    **************************************************<O:p</O:p


    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .............. ถ้าเป็นผมนะ ผมจะรู้ว่า สิ่งที่เกิดมาแล้วดับไป นะ ไม่ใช่เรา เป็นแค่ปรากฎการณ์ สภาพธรรมเท่านั้น...:cool:
     
  5. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ปัญหาหลักของคุณ คือ ความกลัวครับ เมื่อจิตเริ่มนิ่ง ความกลัวที่มีก็เริ่มปรุงแต่ง

    จนเห็นนั่น เห็นนี่ จึงทำให้คุณต้องออกจากการปฎิบัติสมาธิครับ

    คุณเคยพิจารณาความตายไหมครับ ที่ผมบอกกล่าวเช่นนี้ เพราะคุณกลัวความตายที่จะเกิดขึ้น

    และ กลัวว่าตนเองจะบ้า อย่างที่เคยได้ยิน ได้ฟังมา คุณต้องยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วยใจจริงครับ

    คุณจึงจะผ่านไปได้ครับ และ ที่คุณบอกนั้น เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นครับ

    การปฎิบัติธรรม ปฎิบัติกรรมฐาน ขอให้คุณเชื่อมั่นในพระศาสดาครับ สาธุครับ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถามว่า มาถูกทางหรือไม่
    ตอบ ไม่ผิดหรอกครับ แต่ก็สภาวะเกิดวน...ไม่ไปต่อ

    มาถูกทางแล้วหรือไม่

    และคุณไม่ได้บ้าแต่อย่างใด
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ฝึกรู้ตัว ให้ทุกเวลา ไม่ใช่ฝึกรู้แต่ตอน ยุบหนอ พองหนอ แต่ในชีวิตประจำวันเช่น นึกคิดอะไรไปล่องลอย ก็ต้องหมั่นรู้ตัว จะเดินไปไหนมาไหน จะพูดจะทำอะไรให้รู้ตัวว่า กำลังทำอะไร คิดอะไรพูดอะไร

    เมื่อรู้ตัวแล้วว่าทำอะไร ก็คอยเตือนตนเองว่า อะไรดีหรือไม่ดี กำกับ การกระทำ คำพูด ความคิดนั้น
    เช่น คิดไปถึงเรื่องราวในอนาคตต่างๆนาๆ ก็ให้เตือนตนว่า คิดมากไป ไม่เกิดประโยชน์ แบบนี้เป็นต้น
     
  8. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความกระจ่าง สาธุค่ะ
     
  9. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ยังไม่เคยพิจารณาความตายเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ และตั้งใจจะเรียนรู้และฝึกปฏิบัติต่อไปค่ะ..สาธุค่ะ
     
  10. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    หากพิจารณาให้เห็นโทษ และสละออก ในความไม่เที่ยงแปรปรวน เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
    สิ่งนี้คือพุทธศาสตร์ คือเพ่งมาที่ตน

    แต่เมื่อใดพิจารณาอยู่ในอารมณ์ภายนอก โดยไม่เข้ามาเพ่งภายใน นั่นคือ ตกหลุมวิทยาศาสตร์

    เอามาเป็นหลักพิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  11. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    โอ้ว..ขอบคุณค่ะถูกแล้วใช่ไหมค่ะ..สาธุค่ะ
     
  12. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    ขอบคุณที่ชี้แนวทางสว่างให้นะคะ ช่วงนี้ก็กำลังทำอยู่ค่ะคือเวลาโกรธก็ให้มีสติรู้ว่าโกรธหนอๆๆแล้วก็ละออกค่ะ เวลาเดินก็เดินหนอๆๆ จับหนอๆๆ แต่ยังไม่ละเอียดเท่าไหร่ค่ะมีลืมบ้างหลุดบ้าง แต่จะตั้งใจปฏิบัติต่อไป ไม่ย่อท้อค่ะ ..สาธุค่ะ
     
  13. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -ท่านขันธ์ หากเขาสร้าง สติ มากๆโดยกำหนดรู้ตามเป็นจริง ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแค่มายาของจิต หากเขามั่นสร้างให้ สติ มากๆผมว่าเขาไปไกลแน่ๆ หากเขาจำวิธีเข้าสมาธิ และทำให้ชำนาญ ผมว่าเขาน่าจะมี อภิญญา นะ แต่อาจจะไม่ใช่เหาะเหินเดินไฟ แต่อาจจะเป็น ทักทายใจคนได้ รู้ในธรรมะทั้ง 84000
     
  14. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    คือตนเองฝึกปฏิบัติ เกิดการไปต่อไม่ถูก ไม่รู้จะถามใครค่ะ ก็อ่านจากหนังสือบ้าง และก็หาข้อมูลในเวปนี้อ่ะค่ะ แล้วก็นำไปปฏิบัติค่ะ เวลานั่งก็ตามดูลมหายใจเข้า-ออก กระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบเหนือสะดือ สั้น-ยาว แรง-เบา พอขาชาก็ชาหนอๆๆและก็รู้หนอๆๆแล้วก็หายชาค่ะ กลายเป็นขาหายไปเลยค่ะ แล้วพอจิตสงบ ลมหายใจเริ่มคงที่ ก็พิจารณาว่าร่างกายเป็นของไม่เที่ยง มีเจ็บมีปวด มีไม่สบายกาย เป็นสิ่งสกปรกอยู่ภายใน อย่างนี้อ่ะ.. ได้ไหมค่ะ ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ
     
  15. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ลองพิจารณาดูนะครับ หากมีประโยชน์บ้างก็เลือกเอา.......
    ฯลฯ
    ๔.วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอกทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านไม่ปรารถนาที่จะพบเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์ นรกหรือเทวดาอินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงย่อมจะไม่มีสิ่งเหล่านั้น


    ๕.ขณะเริ่มทำสมาธินั้น โดยปกติแล้วให้หลับตาพอสบาย สำรวมจิตเข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้า และหายใจออกโดยอาจจะนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับ ๑ หายใจออกนับ ๒อย่างนี้เรื่อยไป ทีแรกนับช้า ๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้ว มันจะหยุดนับเอง
    <O:p</O:p

    ๖.หรือบางทีอาจจะกำหนดพุทโธก็ได้ หายใจเข้ากำหนดว่า พุท หายใจออกกำหนดว่า โธ อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้มันเป็นเพียงอุบายอย่างหนึ่งที่จะทำให้จิต หยุดคิด นึก ปรุงแต่งเท่านั้น<O:p</O:p

    ๗.แต่ในการฝึกแรก ๆ นั้น ท่านจะยังนับ หรือกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอหรืออย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมีความคิดต่าง ๆ แทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรก ๆ มันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่าจะทำสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะทำสัก ๑๕ นาทีอย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับหรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมันให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้เอง<O:p</O:p
    ๘.การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวัน วันละ ๒-๓ ครั้ง ครั้งแรกให้ทำครั้งละ ๑๕ นาที แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลามากขึ้น ๆ จนถึงครั้งละ ๑ ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นตามที่ปรารถนา
    <O:p</O:p
    ๙.ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านจะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบ เย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับไหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละ คือสัญญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิตแล้ว
    <O:p</O:p
    ๑๐.เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อจะพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิตหรือปัญหาใด ๆ ที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมเข้าไปคิดนึก พิจารณาปัญหาด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ
    <O:p</O:p
    ๑๑.จงยกเอาปัญหานั้นขึ้นมาพิจารณาว่า ปัญหานั้นมันมาจากไหน? มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ? เพราะอะไร ท่านจึงหนักใจกับมัน ? ทำอย่างไรท่านจะสามารถแก้ไขทันได้ ? ทำอย่างไร ? ท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน ?
    <O:p</O:p
    ๑๒.การพิจารณาอยู่ด้วยจิตอันสงบอย่างนี้ การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของท่านจะค่อย ๆ รู้เห็น และเกิดความคิดนึกรู้สึกอันฉลาดขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุของปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายามพิจารณาปัญหาต่าง ๆ อย่างนี้เรื่อยไป หลังจากที่จิตสงบแล้ว
    <O:p</O:p
    ๑๓.ในกรณีที่ยังไม่มีปัญหาความทุกข์เกิดขึ้นหลังจากที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาข้อธรรมะหัวข้อใด หัวข้อหนึ่งมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตัวเองมาพิจารณาว่า มันมีความมั่นคงจีรังยั่งยืนอะไรเพียงไหน ? เมื่อท่านตาย ท่านจะได้อะไร ? ให้พยายามถามตัวเองเช่นนี้อยู่เสมอ
    <O:p</O:p
    ๑๔.หรือท่านอาจจะน้อมจิตไปสำรวจการกระทำของตัวเองที่ผ่านมา พิจารณาดูว่า ท่านได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ส่วนรวมหรือไม่ ? ท่านได้ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง? และตั้งใจว่า ต่อไปนี้ท่านจะไม่ทำสิ่งทีผิด จะไม่พูดสิ่งที่ไม่ดีที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ ท่านจะพูด จะทำแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ของชีวิตของท่านเอง
    <O:p</O:p
    ๑๕.จงเข้าใจว่า เป้าหมายที่ถูกต้องของการฝึกสมาธินั้น คือ การฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลังและมั่นคง สภาวะจิตเช่นนั้นเองที่มันจะมีความพร้อมในการที่จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่าง ๆ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ได้อย่างถูกต้อง ตามความเป็นจริง
    <O:p</O:p
    ๑๖.สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไปพัฒนาความคิดนึก หรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ “ปัญญา” นั้นเอง
    <O:p</O:p
    ๑๗.จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้นจะไม่หมดไปได้เพราะการไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทัน ตามความเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น
    <O:p</O:p
    ๑๘.ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง ท่านจึงต้องกำหนดจิตให้สงบเสียก่อน จากนั้นจึงเอาจิตที่สงบนั้นมาพิจารณาทบทวนปัญหาที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์<O:p</O:p
    ฯลฯ
    จากหนังสือ คู่มือดับทุกข์ พร้อมคติธรรม โดย อิสระ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  16. บุญน้อมนำ

    บุญน้อมนำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +101
    โอ้..ขอบคุณมากๆเลยค่ะ จะนำไปปฏิบัติค่ะ สาธุ..ค่ะ
     
  17. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574

    -ปฎิบัติตรงแล้วครับ แต่หากจิตไปเห็นอะไรในสมาธิอีก แน่นอนครับทุกคนต้องกลัว และ ไม่กลัว เป็นพื้นฐานของจิต หากคนที่ไม่เจอจะดีมาก ดังนั้นจึงต้องสร้างฐานให้ดีคือ สติ สติจะรับมือใด้ทุกอย่าง

    -คำที่เขียนเส้นใต้ สามารถตัดภพชาติได้เลยนะครับ เป็นการเจริญสติ หากทำมากๆก็จะเป็น สติ 4 คือยอดของกรรมฐานเลย ศีล สมาธิ ปัญญา เกิด ตรงนั้น

    -หากจิตเริ่มสงบขอให้มันสงบมากๆก่อนก็ดีนะครับ แล้วค่อยใช้จิตพิจารณาธรรม เพราะมันจะมีกำลังมาก

    -หากไม่ค่อยสงบก็ใช้ ปัญญาอบรม สมาธิ บ้าง
     
  18. inbhf123

    inbhf123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +35
    เริ่มถูกทาง แต่ยังอยู่แค่ปากทาง นั่นเป็นเพียง ผลของสมถะ
    ผลของการปฏิบัติ อยู่ทีวิปัสสนา ตามที่เล่า คุณยังไม่ได้ ก้าวสู่ วิปัสสนา เลย
     
  19. naron

    naron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2,515
    ค่าพลัง:
    +3,573
    อ่านแล้วๆๆชอบๆๆเลย

    มาถูกทางแล้วครับ ตอบก่อน อิอิอออิ

    ต่อไปก็ฝึกแบบนี้แหล่ะ ดูไปเรื่อยๆๆนะครับ อย่าตกใจ

    นานๆไปคุณจะเฉยๆและเก่งขึ้น ฉลาดขึ้นครับ

    อย่างอื่น เป็น อย่างั้น อย่างี้ ก็อย่าพึ่งสนใจครับ เด๊่ยวจะ งง เปล่า อิอิออิอิอิ

    ให้ตามดู อย่างเดียว
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    แนะนำแล้วที่

    มาถูกทางแล้วหรือไม่
     

แชร์หน้านี้

Loading...