จะเริ่มฝึกวิปัสสนากรรมฐานอย่างไรดีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xiaobao, 22 มกราคม 2012.

  1. Xiaobao

    Xiaobao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +472

    พอดีได้อ่านจากกระทู้นี้
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2.72108/
    แล้วมีข้อสงสัยอ่ะครับ
    คือจากที่เคยได้อ่านๆมาการนั่งทำสมาธิแบ่งออกเป็น2อย่างใช่มั้ยครับ
    1.สมถะกรรมฐาน ที่แบบนั่งแบบสงบ เงียบ จิตนิ่ง
    2.วิปัสนากรรมฐาน นั่งสมาธิแบบในใจคิดตามพิจารณาข้อธรรมต่างๆ

    แล้วได้ยินมาว่าถ้าจะให้ถูกหลักของวิปัสสนานั่นก็คือในขณะที่นั่งสมาธิแล้ว แล้วเราต้องยกภูมิแห่งวิปัสสนามาคิดพิจารณาด้วยใช่มั้ยครับ

    นั่นก็เท่ากับว่า เราต้องจำเป็นที่จะต้องท่องจำข้อธรรมที่อยู่ในภูมิแห่งวิปัสสนา คือ ในเรื่องของ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาทธรรม และอริยสัจ ๔ ว่ามีอะไรบ้าง(คล้ายๆกับจำข้อสอบให้ขึ้นใจ ท่องให้ขึ้นใจ) ก่อนใช่มั้ยครับ แล้วเวลานั่งสมาธิเราจึงถึงคิดพิจารณสิ่งเหล่านี้ หรอครับ อย่างเช่น
    ปฏิจจสมุปบาทธรรม คือเราก็ท่องว่าอย่างนี้เกิด อย่างนี้จึงเกิด ฯลฯ เสร็จแล้ว เราก็เอามาพิจารณาตอนนั่งสมาธิหรอครับ

    แล้วถ้าจะให้ดีควรฝึกด้วยตนเอง หรือไปฝึกกับสถานที่ที่มีครูชี้แนะอ่ะครับ ใจจริงอยากฝึกกับครูชี้แนะจัง แต่ไม่รู้จะไปฝึกด้วยที่ไหนดี

    รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แจงแถลงไขทีนะครับ ขอบคุณครับ
     
  2. boatsa2538

    boatsa2538 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +90
    คือจากที่เคยได้อ่านๆมาการนั่งทำสมาธิแบ่งออกเป็น2อย่างใช่มั้ยครับ
    1.สมถะกรรมฐาน ที่แบบนั่งแบบสงบ เงียบ จิตนิ่ง
    2.วิปัสนากรรมฐาน นั่งสมาธิแบบในใจคิดตามพิจารณาข้อธรรมต่างๆ

    ...ตอบนะครับ มันมีอยู่อย่างเดียวคือฝึกจิตเรานี่แหละ วิธิฝึกก็มีหลายแบบ เรียกว่ากรรมฐาน

    แล้วได้ยินมาว่าถ้าจะให้ถูกหลักของวิปัสสนานั่นก็คือในขณะที่นั่งสมาธิแล้ว แล้วเราต้องยกภูมิแห่งวิปัสสนามาคิดพิจารณาด้วยใช่มั้ยครับ
    ...ตอบว่าถูก แต่เราทำไม่ได้หรอก เพราะพื้นฐานใจเรามันหยาบ ตัวขัดขวางก็เยอะ เหมือนเรามีดาบน่ะ จะไปรบ แต่ไม่ฝึกวิธีการรบเลย มันจะสู้เขาได้เหรอ เขาจึงให้ภาวนาไปก่อน พอจิตมีกำลัง คือสมาธิแล้ว มันจะมีพลัง มันจะพิจารณาได้ถูกทาง .
    นั่นก็เท่ากับว่า เราต้องจำเป็นที่จะต้องท่องจำข้อธรรมที่อยู่ในภูมิแห่งวิปัสสนา คือ ในเรื่องของ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาทธรรม และอริยสัจ ๔ ว่ามีอะไรบ้าง(คล้ายๆกับจำข้อสอบให้ขึ้นใจ ท่องให้ขึ้นใจ) ก่อนใช่มั้ยครับ แล้วเวลานั่งสมาธิเราจึงถึงคิดพิจารณสิ่งเหล่านี้ หรอครับ อย่างเช่น ปฏิจจสมุปบาทธรรม คือเราก็ท่องว่าอย่างนี้เกิด อย่างนี้จึงเกิด ฯลฯ เสร็จแล้ว เราก็เอามาพิจารณาตอนนั่งสมาธิหรอครับ

    ...ไม่ต้องจำ แต่บางอย่างก็ควรจะทราบ เช่นเรื่องขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ไตรลักษณ์ ให้เรายึดสายทางปฏิบัติเราไป ไม่ต้องไปนึกถึงพวกนี้ก่อน ถึงเวลาพวกนี้มันจะมาหนุนกันเอง .
    แล้วถ้าจะให้ดีควรฝึกด้วยตนเอง หรือไปฝึกกับสถานที่ที่มีครูชี้แนะอ่ะครับ ใจจริงอยากฝึกกับครูชี้แนะจัง แต่ไม่รู้จะไปฝึกด้วยที่ไหนดี
    ...ตามที่กล่าวกรรมฐานมีทั้งหมด ๔๐ แบบหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ดีทั้งนั้น

    ถ้าเราจะลองฝึกกสิน หรือมโนมยิทธิ ก็ควรจะมีครู ถ้าจะฝึกอานาปานสติ ก็ลองศึกษาดู มีอยู่หลายสาย ยุบหนอพองหนอ พุทโธ แล้วแต่จริตของเรา ลองหาสิ่งที่เหมาะกับเรา แล้วก็ศึกษาไปเรื่อยๆ .
     
  3. somkun62

    somkun62 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +763
    ขออนุญาตนำธรรมมะมาฝากครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคุณบ้างไม่มากก็น้อยyimm
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=YFUztvh6bPs"]การปฏิบัติธรรมของอาตมา บรรยาย พระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล - YouTube[/ame]
     
  4. ddty2k

    ddty2k สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +5
    นั่งสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย ดูลมหายใจเข้าออก ไม่ก็พุทโธไป แค่ีนี้ก็พอครับ
    พยายามให้ตัวเองมีสมาธิมากที่สุด เผลอคิดออกไปเรื่องอื่นก็ดึงกลับมาอยู่ที่
    ลมหายใจ หรือ พุทโธ ก็พอ ไม่ต้องไม่ติดศัพท์ติดแสงอะไรหรอกครับ
    เริ่มภาวนา สติยังไม่แข็งพอ มันจะถามตอบ(พิจารณา)ใจเจ้าของไม่ได้...มันไม่ทัน
    ต้องมีพุทโธก่อนนะ ถ้าสติมันได้รอบของมัน เดี๋ยวมันจะทันของมันเอง
    เหมือนมีด ถ้าไม่รับก็ไม่คม ถ้ารับไม่ดีก็ไม่คม จะเอามีดทื่อๆไปตัดอะไรไปทำอะไรได้
    สติก็เหมือนมีด เพราะงั้นลับให้ดีๆนะครับ สู้ๆครับ
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    มาทำความเข้าใจจากพระอีกทีนะ

    (ช่วงที่ ๖)


    อีกปัญหาหนึ่ง มีท่านกล่าวไว้ ว่า


    ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้ซะก่อนแล้วจึงค่อยเจริญวิปัสนากรรมฐาน


    เอ ..อันนี้ถ้าสมมุติว่า ใครไม่สามารถ ทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี๊ยะ
    จะไปรอจนกระทั่ง จิตมันสงบเป็นสมาธิขั้นสมถะเป็นอัปนาสมาธิ
    เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะมันจะไม่ตายก่อนหรือ
    เพราะฉะนั้นจึงขอทำความเข้าใจกับท่านนักปฏิบัติทั้งหลายไว้ว่า


    คำว่า สมถะกรรมฐานก็ดี
    วิปัสนากรรมฐานก็ดี
    ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจว่า
    เป็นชื่อของวิธีการ
    การบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    หรือการบริกรรมภาวนาอย่างอื่น
    หรือการปฏิบัติด้วยการเพ่งกสิณ อันนั่น ปฏิบัติตามของ สมถะ


    แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิด
    หรือกำหนดจิตรู้ตามความคิด ของตัวเอง
    หรือจะหาเรื่องราวอันใดเช่น เรื่องของธาตุขันธ์อายตนะ
    มาพิจารณา
    เช่น พิจารณา ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี่
    อันนี้ การพิจารณาน้อมจิต น้อมใจ น้อมภูมิความรู้ เข้าไปสู่กฎแห่งพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ท่านเรียกว่า
    ปฏิบัติ ตามวิธีการแห่ง วิปัสนา


    แต่ทั้งสองอย่างนี้เราจะปฏิบัติ ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็ได้


    ถ้าท่านผู้ ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบ เป็นสมาธิ ซักที


    จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักทีก็มาพิจารณาซิ
    ยกเรื่องอะไรยกขึ้นมาพิจารณาก็ได้ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ


    พิจารณาไป จนกระทั่ง จิตมันเกิดความคล่องตัว


    พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    อันนั้นก็ไม่เที่ยงอันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
    คิดเอา ตามสติปัญญา ที่เราจะคิดได้


    คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น


    คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว


    จนกระทั่ง
    เราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง


    ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้



    เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับบริกรรมภาวนา



    ถ้าจิตมันคิดของมันเองสติรู้พร้อมอยู่เอง


    มันก็ได้ วิตก วิจาร


    ในเมื่อจิต มี วิตกวิจารเพราะความคิดอ่านอันนี้
    มันก็เกิด มีปีติ มีความสุข มีเอกคัคตา
    มันจะสงบลงไปเป็น อุปจาระสมาธิ อัปนาสมาธิ


    หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปนาสมาธิ



    พอถึงอุปจาระสมาธิ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัตตา
    มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสนาของมันอยู่ตลอดวันย่างค่ำตลอดคืนย่างรุ่ง



    เพราะฉนั้น อย่าไปติดวิธีการ


    ถ้าใครไม่เหมาะกับการ บริกรรมภาวนา


    ก็อย่าก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา


    ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่


    โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตา


    คอยจ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น


    อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ รู้ รู้ เอาตัวรู้อย่างเดียว


    หรือ


    บางทีบางท่าน อาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด


    หรือบางท่าน อาจจะฝึกหัดสมาธิ
    โดยวิธีการ
    ทำสติตามรู้ การ ยืนเดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด


    ทุกลมหายใจก็สามารถที่จะทำจิตเป็น สมาธิได้เหมือนกัน


    เพราะฉะนั้น


    ถ้าเราจะเป็น นักปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง เห็นจริง กันจริงๆแล้ว


    อย่าไปติดวิธีการ ให้กำหนดหมาย ว่า



    สมถะก็ดี


    วิปัสนาก็ดี


    เป็น วิธีการปฏิบัติ


    ถ้าบริกรรมภาวนา หรือเพ่งกสิณ เป็นวิธีปฏิบัติ ตามวิธีของ สมถะ


    ถ้าปฏิบัติ ตามแบบที่ใช้ความคิดพิจารณาเรื่อยไป


    หรือกำหนดทำสติตามรู้ความคิดเรื่อยไป



    เป็นการปฏิบัติ ตามแบบ ของวิปัสนากรรมฐาน


    ทั้งสองอย่าง


    เพื่อมุ่งประสงค์ให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ



    ประกอบด้วยองค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคัคตาด้วยกัน เหมือนกัน


    เพราะฉะนั้น


    อย่าไปสงสัยข้องใจใครถนัดในทางไหน ปฏิบัติลงไป


    และ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


    วิธีการปฏิบัติมันมีหลายแบบ หลายอย่าง อย่าไปติดวิธีการ


    ยุบหนอ พองหนอ ก็ปฏิบัติ แบบสมถะ


    สัมมาอะระหังก็ แบบสมถะ


    หรือการใช้พิจารณาอะไรต่างๆ ก็เพื่อสมถะ
    เพื่อความสงบจิตนั่นเอง
    เมื่อจิตไม่มีความสงบ สมาธิก็ไม่มี สมาธิไม่มี ฌานไม่มี
    ในเมื่อไม่มีฌานก็ไม่มีญาณ
    ไม่มีญาณก็ไม่มีปัญญา
    ไม่มีปัญญาก็ไม่มีวิชชา


    นี่ กฎธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้



    ( ช่วงที่๗ )


    และอีกอย่างหนึ่ง
    เราไปเทศน์ ฟังเทศน์กันที่ไหน ก็ได้ยินพระท่านเทศน์ว่า


    โยม พากันละ โลภ โกรธ หลง ให้มากๆหน่อย
    บางที อาตะมา มาพิจารณาดูแล้ว
    กิเลส โลภ โกรธ หลง เนี่ยะ


    มันเป็นของคู่ใจมาตั้งแต่หลายภพหลายชาติแล้ว
    ที่นี้
    มาพิจารณาดูกันให้ซึ้ง
    ไอ้ความรู้สึก โลภ โกรธ หลงเนี๊ยะ เราจะละ ไม่ได้


    เอ้า..ใครไม่เชื่อก็ลองพิจารณาดูเอาเอง
    ในเมื่อโลภ เกิดขึ้นมาแล้ว เราละไม่ได้
    หลงเกิดขึ้นมา แล้วเราละไม่ได้
    โกรธเกิดขึ้นมา เราละไม่ได้
    มันจะต้องไปจนสุดช่วงมัน ถ้างั้นเราจะทำอย่างไร


    วิธีปฏิบัติ ก็คือว่า
    โลภ โกรธ หลง มันเป็นกิเลสที่คอยกระตุ้นเตือนจิตใจของเรา
    ให้เกิดมีความกระตือรือร้น มีความทะเยอทะยาน


    พระเจ้าพระสงฆ์ท่านมาประชุม
    มาตรวจข้อสอบ นักธรรม ก็เพื่อจะมาตัดสินวุฒิความรู้ของผู้มีความโลภ
    คือ อยากได้นักธรรมตรี
    เรียนแทบเป็นแทบตายแล้วก็มาสอบ
    ก็เพราะความโลภ ความอยากได้นั้น มากระตุ้นเตือน


    เพราะฉะนั้น
    โลภ โกรธ หลงนี่ เราเอาไว้สำหรับกระตุ้นเตือนจิตใจ
    ให้มีความทะเยอทะยาน


    ให้มีความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ...
    โลภ โกรธ หลง เปรียบเหมือนไฟ
    ไฟย่อมมีโทษ มหันต์ มีคุณก็อนันต์


    ใครใช้ไฟไม่เป็นก็ไปเผาบ้านเผาเรือน ให้วอดวายไปหมด
    ผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีปัญญาดี
    เอาไปสร้างเป็นพลังงานเหาะขึ้นไปลงดวงจันทร์ก็มี


    นี่.. เพราะฉะนั้น
    กิเลส โลภ โกรธ หลงนี่ ก็เหมือนกัน
    มันเป็นสิ่งที่มีทั้งคุณ มีทั้งโทษ


    ถ้าเราใช้ไม่เป็น มันก็เกิดโทษ
    ถ้าใช้เป็นมันก็เกิดคุณ
    เอาไว้เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนจิตใจให้มีความทะเยอทะยานในทางดี
    เพราะฉะนั้น
    เพราะโลภ โกรธ หลง มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
    กระตุ้นเตือนจิตใจของเรา
    ให้อยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น


    พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติศีล ๕ เอาไว้
    สำหรับเป็นขอบเขตของการใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์


    ถ้ามันโกรธจัด นึกถึงศีลข้อปาณาติบาต เราจะไม่ฆ่า ไม่ด่า ไม่ตี มันก็สิ้นเรื่อง


    ถ้ามันโลภจัด นึกถึงศีลข้ออทินนาทาน เราไม่ลัก ไ่ม่ขโมย ไม่ฉ้อ ไม่โกง มันก็สิ้นเรื่อง


    ถ้ามันโลเลไม่ รู้จักประมาณ ในเรื่องของโลกีย์วิสัย ก็นึกถึงศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร


    ถ้ามันนึกอยากจะโกหกพกลมใคร หลอกลวงใคร นึกถึงศีลข้อมุสาวาท


    ถ้ามันมัวเมาใน สิ่งใดจนกินไป มันจะทำให้เสียผู้ เสียคน ควรจะได้นึกศีลข้อสุรา


    ศีล5ข้อนี่ เป็นขอบเขตของการใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์


    ท่านผู้ใด
    มีกิเลส โลภ โกรธ หลง


    แต่ใช้ลงไปไม่ให้มันผิดศีล ๕ ข้อ ข้อใดข้อหนึ่ง


    เชิญ ใช้ไปเถิด พระพุทธเจ้าท่านไม่ดุแน่
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อันนี้ อ่านพลางๆ เวลา ว่างๆ หลวงปู่พุธ ฐานิโยท่านแนะนำไว้


    การภาวนา หรือการทำจิตทำใจนั้น เราคือ อ่า..
    เราจะสรุปขั้นตอนได้เป็น สามขั้นตอน

    ๑.ขั้นบริกรรมภาวนา
    ๒.ขั้นฝึกหัดจิตให้รู้จักพิจารณา
    ๓.ขั้นตามรู้

    ขั้น บริกรรมภาวนาก็มีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว มีการบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ เป็นต้น
    จนกว่าจิตบริกรรมภาวนาเองโดยอัตโนมัติ แล้วยังจิตให้สงบเป็นสมาธิ ตามขั้นตอน


    ขั้นแห่งการพิจารณา เป็นการฝึกหัดให้จิตก้าวเดิน ฝึกหัดให้จิตเกิดสติปัญญา
    ฝึกหัดให้จิตมีสติปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์


    ขั้นตามกำหนดรู้ หมายถึง ตั้งใจกำหนดรู้ความรู้สึกนึกคิดของเรา
    ความรู้สึกนึกคิดของเรานั้น เป็นเสิ่งรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ
    เป็นสภาวะธรรม เมื่อจิตมีสภาวะธรรมเป็นเครื่องรู้
    สติมีสภาวะธรรมเป็นเครื่องระลึก
    ย่อมสามารถที่จะสร้างสติตัวนี้ให้กลายเป็นมหาสติไปได้ด้วยประการะฉะนี้




    ๑.ขั้นบริกรรมภาวนา


    การที่จะทำสมาธิในเบื้องต้น ถ้าหากว่าจะทำเป็นกิจจะลักษณะหรือ
    ตามแบบฉบับของการทำสมาธิ
    โบราณาจารย์ ท่านสอนให้ไหว้พระ สวดมนต์แล้วก็แผ่เมตตา
    คือเจริญพรหมวิหารเท่านั้นเอง อันนี้ท่านทั้งหลายก็คงจะเข้าใจ


    ทีนี้ ..ในเมื่อท่านทำวัตรสวดมนต์แผ่เมตตาเสร็จแล้ว
    นั่งขัดสมาธิตามแบบฉบับที่พระพุทธ อ่า..ตามแบบที่เหมือนๆกับพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ
    เอามือขวาวาง อ่า เอามือซ้ายวางลงบนตักเอามือขวาวางทับลงไป


    กำหนดในจิตใจของเราว่า


    พระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ใจ


    พระธรรมก็อยู่ที่ใจ


    พระอริยะสงฆ์ก็อยู่ที่ใจ


    พระพุทธเจ้าไม่มีตัวไม่มีตน


    พระธรรมก็ไม่มีตัวไม่มีตน


    พระสงฆ์ก็ไม่มีตัวไม่มีตน


    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นคุณธรรม
    ซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ปฏิบัติ


    แม้ท่านชายสิทธัตถะที่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า
    ก็เพราะมีคุณธรรมความเป็นพุทธะ
    และมีธรรมมะอยู่ในจิตในใจ
    และมีกิริยาการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ในจิตในใจ
    ท่านจึงได้เป็นทั้งพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์ รวมอยู่ในจุดเดียวกัน



    ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำความเข้าใจว่า


    พระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ใจ
    พระธรรมก็อยู่ที่ใจ
    พระอริยะสงฆ์ก็อยู่ที่ใจ


    แล้วจงกำหนดใจลงในระหว่างกลางๆ


    คือกลางในระหว่างความยินดี ระหว่างความยินร้าย ทำใจให้เป็นกลาง
    นึกในใจว่า
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ


    แล้วก็กำหนดลงที่จิต นึก พุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่อย่างนั้น
    นึกพุทโธเฉยๆ นึกด้วยความเบาใจ อย่าไปกดไปข่มประสาทส่วนใดส่วนหนึ่ง
    หรืออย่าไปบังคับจิตให้เกิดความสงบ


    หน้าที่เพียงแค่นึกพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ เฉยๆ
    อย่าไปนึกว่าเมื่อไรจิตจะสงบ เมื่อไรจะสว่าง เมื่อไรจะรู้ เมื่อไรจะเห็น
    เมื่อไรจะเกิดอะไรขึ้นมา อย่าไปคิดทั้งนั้น


    หน้าที่เพียงแค่นึก พุทโธ พุทโธ อย่างเดียว นึกพุทโธอยู่อย่างนั้น
    จิตสงบก็ตามไม่สงบก็ตาม ไม่ต้องไปกังวล เอาแต่ว่าเราได้นึกพุทโธให้มากที่สุด


    นึกจนกระทั่งพุทโธกับจิตของเราเนี๊ยะติดกันเหนียวแน่น ไม่พรากจากกัน
    จนกระทั่งความตั้งใจที่จะนึกพุทโธหายขาดไป
    แล้วจิตของเรายังนึกพุทโธโดยอ่า.. เอง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
    แล้วก็นึกอยู่อย่างนั้น ในเมื่อจิตมาติดกับพุทโธ และนึกพุทโธโดยไม่ได้ตั้งใจ
    ก็แสดงว่า จิตของเราเริ่มจะมีความสงบลงไปแล้ว


    เมื่อจิตนึก พุทโธ พุทโธ อยู่อย่างนั้นก็ปล่อยให้จิตนึก พุทโธ พุทโธ อยู่อย่างนั้น
    ครั้นนึกไปนึกมา พุทโธหายไป จิตไปนิ่งอยู่เฉยๆ ก็ให้กำหนดรู้ลงที่จิต ที่นิ่งอยู่เฉยๆ


    ในช่วงนี้อะไรจะเกิดขึ้นก็ตามให้กำหนดรู้ลงอยู่ที่จิต รู้อยู่ที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น
    อย่าไปเอะใจหรืออย่าไปตื่นตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นๆ


    ในช่วงนี้ บางครั้ง ผู้ภาวนาอาจจะเกิดมี อาการสั่นนิดหน่อย หรือมีอาการขนลุกขนพอง
    มีอาการคล้ายๆกับว่าตัวเบาจะลอยขึ้นบนอากาศ
    มีอาการคล้ายๆกับว่าตัวใหญ่โตสูงขึ้น
    มีอะไรเกิดขึ้นก็กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว นี่คือหลักการภาวนาในเบื้องต้น


    ทีนี้ ในเมื่อผู้ภาวนากำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียว
    สิ่งที่จะพึงเกิดขึ้นที่ทำให้เรารู้สึกแปลกใจที่สุดก็คือ ความมีปีติ
    ในตอนนี้ปีติบังเกิดขึ้น ในเมื่อปีติบังเกิดขึ้นความรู้สึกภายในจิตจะรู้สึกสว่างไสว
    แล้วความสุขอันเป็นผลพลอยได้ก็ย่อมยังเกิดขึ้น


    เมื่อจิตสงบละเอียดยิ่งลงไป คำบริกรรมภาวนาหายไป
    แล้วจิตก็สงบลงไปเรื่อยๆ
    เกิดปีติ เกิดความสุข ในตอนนี้ จิตของผู้ภาวนารู้สึกว่ามีความสุข อย่างยิ่ง
    ในเมื่อมีความสุขแล้ว นิวรณ์ ๕ คือ
    กามฉันทะ พยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
    ความลังเล สงสัย ในการภาวนาก็หายสิ้นไป
    มีแต่ความอ่า สะบายปลอดโปร่งภายในจิต


    ผู้ภาวนาก็ควรจะกำหนดรู้จิตไปเรื่อยๆ
    จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป
    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปอย่างจริงจังแล้ว
    ความรู้สึกว่ามีกายก็จะหาย ความรู้สึกว่ามีลมหายใจก็จะหายไป
    จิตของผู้ภาวนาจะไปสงบนิ่ง นิ่งสว่างอยู่
    มีสภาวะรู้อยู่ทีจิตอย่างเดียวเท่านั้น กายหายไปหมดแล้ว
    ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เห็น ไม่มีปรากฎ
    มีแต่จิตดวงเดียว สว่างไสวอยู่เท่านั้น


    อันนี้คือการภาวนาซึ่งสำเร็จด้วยการบริกรรมภาวนา
    เป็นการภาวนาในขั้นต้น
    อันนี้เรียกว่าขั้นแห่งภาวนา อะอืม ขั้นแห่งบริกรรมภาวนา


    ทีนี้ถ้าหากว่า ผู้ภาวนานั้น ทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิแบบดังที่กล่าวนี้บ่อยๆ


    ถ้าจิตมันไปติดอยู่ที่สมาธิขั้นนี้ ความรู้ความฉลาดไม่เกิดขึ้น


    ให้ผู้ภาวนาฝึกหัดพิจารณา
    ฝึกหัดพิจารณา
    ควรจะน้อมเอาเรื่อง ของกายคตาสติ
    อันเป็นแผนการปฏิบัติตามหลักของมหาสติปัฏฐาน



    ๒.ขั้นฝึกหัดจิตให้รู้จักพิจารณา

    การฝึกหัดพิจารณา ควรจะน้อมเอา เรื่องของ กายคตาสติ อันเป็นแผนการปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐาน
    คือ กายานุปัสนา สติปัฏฐาน

    สติกำหนดตามรู้กาย

    สติกำหนดตามรู้กายนี่มีอยู่ สองอย่าง

    อย่างหนึ่ง กำหนดตามรู้กายภายนอก
    อีกอย่างหนึ่งกำหนดตามรู้กายภายใน

    กำหนดรู้ตามกายภายนอกคือ หมายถึง ว่าทำสติรู้ ในเวลาที่เราเปลี่ยนอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด
    ทำสติอย่างเดียว

    เดินรู้ว่าเราเดิน

    ยืนรู้ว่าเรายืน

    นั่งรู้ว่าเรานั่ง

    นอนรู้ว่าเรานอน

    กิน ดื่ม ทำ พูด คิด รู้ว่าเราคิด ทำสติรู้อย่างเดียว

    อันนี้เป็นการกำหนด กายคตาสติในภายนอก

    ส่วนการกำหนดกายคตาสติภายในนั้น
    หมายถึงการกำหนด อาการ ๓๒ คือพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น
    ให้น้อมจิต น้อมใจ ไปในแง่ แห่งความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก

    คือ พิจารณาว่า

    ผมก็ไม่งาม
    ขนก็ไม่งาม
    เล็บก็ไม่งาม
    ฟันก็ไม่งาม
    หนังก็ไม่งาม เพราะเป็นสิ่ง ปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก

    หลักฐานที่เราจะพึงหยิบยกมาพิจารณา
    ถ้าหากว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ของเรา เป็นสิ่งที่สวยงามแล้ว
    เราจะอาบน้ำทำไม จะฟอกสบู่ทำไม จะตกแต่งทำไม

    ที่เราทำเช่นนั้นก็เพราะเหตุว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นสิ่งที่ไม่สวยไม่งามนั่นเอง

    ในขณะที่ยังมีชีวิตไปได้ เดินได้ กิน ดื่ม ทำ พูดได้ ก็ยังเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกถึงขนาดนี้

    ถ้าหากสมมุติว่ากายนี้ตายลงไปแล้ว ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เกิดเน่าเปลื่อยผุพังไป
    ความปฏิกูล น่าเกลียดโสโครกจะปรากฎมากน้อยเพียงใด
    อันนี้เราหมั่นพิจารณากันกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น
    พิจารณาจนกระทั่งจิตของเรามันชำนิ..อ่า ชำนาญในการพิจารณา คล่องต่อการพิจารณา

    ในตอนต้นๆ เราก็ตั้งใจนึกคิดเอาว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น
    เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกไม่สวยไม่งาม นึกกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น
    ในที่สุด เมื่อจิตของเราเริ่มจะมีความสงบลงไป พอสงบลงไปได้นิดหน่อย เพราะอาศัยการฝึก การอบรม การปรับปรุงปฏิปทา
    การตกแต่งในการพิจารณานั้นๆ แล้วจิตของเราก็จะปฏิวัติตัวไปสู่การพิจารณาได้เองโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

    ทีนี้ถ้าเผื่อว่า เราทำได้ถึงขนาดที่ว่า
    จิตของเราปฏิวัติไปสู่การพิจารณาเองโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือเรียกว่า พิจารณาเองโดยอัตโนมัติ
    หนักๆเข้า จิตก็จะสงบลงไป เริ่มแต่อุปจาระสมาธิถึง อัปปนาสมาธิ ถ้าจิตสงบลงไปถึงขั้น อัปปนาสมาธิ

    ถ้าจิตนั้นจะมีสติปัญญา

    ย่อมจะปรากฎ นิมิตรขึ้นมาให้มองเห็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น เป็นสิ่งที่ปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก
    โดยภาพนิมิตรที่ปรากฎขึ้นในจิตในใจ แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าจะเป็นได้อย่างนั้นทุก.. อ่า. . ทุกท่านทุกคน
    บางท่านก็สักแต่ว่า มีความรู้ซึ้ง ถึงจิตถึงใจว่า สิ่งดังกล่าวเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก
    แล้วก็จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นของปฏิกูล

    การพิจารณาอสุภะกรรมฐาน หรือพิจารณา ผม ขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็นกระดูก ให้เห็นเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดนั้น
    เป็นอุบายที่จะ ถ่ายถอนราคะ ความกำหนัดยินดี มิให้เกิดขึ้นกุ้มรุมจิตใจ
    จะได้มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมในขณะนั้นอย่างสะดวกคล่องแคล่วโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ อันนี้คือขั้นแห่งการ ..อ่า.. การพิจารณา


    ๓.ขั้นตามรู้

    ทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดไม่ทำดังที่กล่าวมา
    เมื่อทำจิตให้เป็นสมาธิดีพอสมควรแล้ว
    ยกตัวอย่างเช่น
    ท่านอาจจะบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    เช่น พุทโธ พุทโธ เป็นต้น
    เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ก็ไปนิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ
    ทำทีไรก็นิ่ง สว่างอยู่เฉยๆไม่เกิดความรู้ขึ้นมาได้
    ผลของการบริกรรมภาวนาจะยังจิตให้สงบลงไปแล้ว
    ถึงขั้น อัปนาสมาธิแล้ว ก็จะไปนิ่งสว่างอยู่เฉยๆ
    ในขณะนั้นจิตจะไม่เกิดความรู้เพราะจิต เป็นจิตดวงเดียวล้วนๆ

    ในเมื่อจิตเป็นจิตดวงเดียวล้วนๆ

    ไม่มีการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก
    ย่อมปราศจากความรู้ เพราะฉะนั้น จิตจึงไปนิ่งอยู่
    ในท่าทีที่สงบสว่างอยู่อย่างเดียว

    เมื่อเป็นเช่นนั้น
    คอยสังเกตุดูเวลาเมื่อจิตถอนออกจากความนิ่ง
    คือออกจากสมาธิในขั้นนี้

    เมื่อถอนออกมาถึงระดับอุปาจารสมาธิ
    จิตย่อมเกิดมีความคิด
    ในเมื่อจิตมีความคิด
    ให้ท่านผู้ภาวนาจงกำหนดทำสติตามรู้ความคิดนั้นไปเรื่อยๆ
    จิตคิดอะไรขึ้นมาก็รู้
    คิดอะไรขึ้นมาก็รู้

    เพียงแต่สักว่า รู้เฉยๆ

    อย่าไปช่วย วิพาก วิจารย์ หรือค้นคิดด้วยความตั้งใจ

    เป็นแต่เพียงกำหนด จดจ้องอยู่ที่จิต
    คอยจ้องดูว่า อะไรจะเกิดขึ้น
    ในเมื่ออะไรเกิดขึ้นมาแล้วกำหนดรู้
    อะไรเกิดขึ้นมาแล้วกำหนดรู้
    รู้ไปเฉยๆ
    เพราะความคิดนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ
    เป็นอุบายที่ทำสติสัมปชัญญะ ให้มีพลังดีขึ้น
    ในเมื่อสติมีกำลังดีเรียกว่า สติพละ
    สติพละสามารถทรง อ่า ..ตัว ..
    สติพละสามารถทำให้สติทรงตัวอยู่ได้ในท่าที ที่สงบนิ่ง
    และกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับตลอดเวลา

    แต่ยังไม่สามารถที่จะปฏิวัติจิตให้เกิดภูมิรู้ภูมิธรรมขึ้นมาได้
    ด้วยอาศัยจิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก ย่อมทำให้สติมีกำลังขึ้น
    ในเมื่อ สติมีกำลังขึ้น สติตัวนี้กลายเป็น สตินทรี คือเป็นใหญ่ ในธรรมทั้งปวง
    สามารถที่จะปฏิวัติจิต ให้ก้าวไปสู่ภูมิความรู้ไปสู่ภูมิธรรมได้เองโดยอัตโนมัติ อันนี้คือผลแห่งภารภาวนาในขั้นต้น

    **********************
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คุณ จขกท คงไปสะดุด เอาตรงข้อความนี้

    ตรงจ้อ 1 กับ 2 ก็ไม่มีอะไรมาก ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจ แต่ตรง ขอ 3 นี่สิ

    อันนี้ คุณต้องนึกถึง ตอนเราลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ ลงมือท่อง จริงๆ

    เคยได้ยินไหมครับ คนบางคนในโลกนี่ ท่องตัวหนังสือ จนสามารถ ยกนิมิต เป็น
    ตัวอักขระวิธี ผุดขึ้นกลางอากาส

    คนบางคนนี่ ค่อยๆเขียนด้วย แบบว่า คล้ายมีลำแสงเป็นปลายปากกา วาดกลางอากาศ
    ให้เห็นใน "มโนจิต" ได้

    คนบางคน ไม่เสียเวลาวาด นึกมันทั้งเล่มเลย เห็นเป็นหน้าๆ เลย ตัวอักษรหน้าไหน
    มีอะไรบาง จะพึงทราบด้วยจิตว่า จำได้หมด ( ตรงนี้ หากเคยเ็น พวกฟรั่งที่สอน
    เทคนิคการอ่านเร็ว เปิดหน้าพรึบ บอกจำได้หมดแล้ว ก็จะพอนึกออกว่า คนบางคน
    มันทำได้อย่างนั้น )

    กว่านั้นมีอีก คนบางจำพวก สามารถนึกคาถาเป็นจำนวน หลายบท แต่ละบทจะวาง
    ไว้ในตำแหน่งไม่เหมือนกัน บางวางเป็นดั่งกำแพงแก้ว 3 ชั้น บ้างวางปิดไว้ข้างบน
    บ้างก็ปิดไว้ข้างล่าง ชัยมังคลา กันไปตามเรื่องตามราว แต่ จริงๆ ก็คือ

    ฝึกกสิณ ธรรมดาๆ นี่แหละ

    ดังนั้น เวลาเราเห็นคนท่องหนังสือ อย่าไปโง่ ไปตำหนิเขาว่า เขาเอาความจำ
    วางไว้ข้างหน้า แล้วยึดสัญญาความจำที่ไม่เที่ยงนั้นไว้

    เพราะ เราเป็นชาวพุทธ เราย่อมทราบกันทัั่วไปว่า สัญญา ไม่เที่ยง เราจึง
    ต้องแยบคาย ไม่ประมาทในธรรม ไม่ดูเบา หรือ พิจารณาอะไรสั้นๆ

    มันต้องมีอะไรลึกซึ้ง สำหรับ พวกนักท่องตำรา

    ความลึกซึ้งนั้น ส่วนใหญ่ ก็คือ เป็นการฝึกกสิณอย่างหนึ่ง ฝึกการ
    นึกให้สำเร็จด้วยใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง

    พูดง่ายๆ มันต้อง มีสมาธิเจือแน่ๆ ไม่เช่นนั้น คนเรามันจะจำแม่นได้อย่างไร

    * * * *

    คนบางจำพวก จะทำสิ่งที่ เรียบง่ายกว่านั้น แต่ยากมากในการฝึกให้สำเร็จ

    คือ อานาปานสติ รู้แต่ลมหายใจเข้าออกเนี่ยะแหละ ทำจิตให้ใกล้ฌาณ ไม่
    เหินห่างจากฌาณเอาไว้ ด้วยการรู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องน้อมไปกสิณตัว
    ไหนเลย รู้แต่ลมหายใจเท่านั้น เพราะว่า จิตจะไม่เหินห่างจากฌาณ

    เมื่อจิตไม่เหินห่างจากฌาณ จิตก็จะ พร้อมรับ เหมือน ถ้วยนำชา ที่ว่างเสมอ

    ดังนั้น อานาปานสติ จึงมีอานิสงค์ข้อหนึ่งคือ ทำให้เรียนรู้อะไรได้ไว ได้ง่าย
    และ ได้นาน ไม่ลืมเลือน

    ตัวอย่างของบุคคลาธิษฐานคือ พระอานนท์

    ก็จะเห็นว่า เคสนี้ ท่องจำเหมือนกัน เอาแต่ฟังคนอื่นเหมือนกัน แต่เขาท่อง
    หรือจำในขณะที่จิตทรงฌาณตลอดเวลาไม่มีว่างเว้น เป็นความลึกซึ้งของภูมิ
    ธรรม ภูมิกรรมฐานที่มีสอนที่เดียวคือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอื่นไม่สามารถสอน
    อานาปานสติที่ถูกต้องได้
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ต้องเป็นผู้ต่อธรรม ตรงต่อปัจจุบันครับ

    เพราะถ้าไม่เข้าใจลักษณะธรรม อาจไปกำหนดผิด เป็นมิจฉาสติ มีแต่จะเจริญอกุศลก็ได้

    การเจริญอกุศล เจริญโมหะ เจริญโลภะเนืองๆ อาจไม่เป็นผลดีก็ได้


    ควรศึกษาความหมาย ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยะสัจ ปฏิจสมุปบาท

    แล้วสังเกตุลักษณะธรรมที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

    การรู้สึกตัวเฉยๆไม่ได้เรียกว่า ปัญญา

    จนกว่าสติระลึกได้ถึง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยะสัจ ปฏิจสมุปบาท ในวิปัสสนาภูมิ



    หากนั่งท่องจำ แต่ไม่เคยรู้ลักษณะต่างๆของธรรม มันก็ได้ แต่จำชื่อครับ
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การเจริญวิปัสสนา ขั้นแรกต้องทำสมาธิให้ได้ก่อน ฝึกแบบสมถะหรือกสิณก็ได้ เมื่อฝึกจนถึงเอกัคตาจิตแล้ว ให้ถอยออกมา เพราะถ้าจิตรวมเป็นหนึ่งแล้วมันจะนิ่งพิจารณาไม่ได้ ทีนี้

    การพิจารณาผัสสะที่มากระทบอายตนะ 6 ก็ต้องรู้จักขันธ์ 5 ก่อน ได้แก่
    1. รูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่าง ๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด

    2. เวทนา อารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ เมื่อรับรู้เกิดความพอใจ มนุษย์เรียกว่า สุข เมื่อรับรู้เกิดความไม่พอใจ มนุษย์เรียกว่า ทุกข์ เมื่อรับรู้แล้วไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า อุเบกขา

    3. สัญญา ความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้น ๆได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่น เสียงดัง รูปสวย กลิ่นหอม รสหวาน ร้อน และดีใจ

    4. สังขาร เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

    5. วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6

    การพิจารณาก็ให้พิจารณาสิ่งที่เิกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อะไรบ้างล่ะ ที่มันเกิดขึ้นเมื่อมีผัสสะมากระทบ อธิบายหลักการเบื้องต้นเท่านั้นนะ เพราะวิปัสสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องปฏิบัติเองจึงจะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง แนะนำให้ไปหาซื้อหนังสือเรื่อง "วิปัสสนาลัดสั้น" ของท่านพุทธทาส มาอ่านแล้วลองปฏิบัติดูนะ

    เมื่อสมาธิของเรามั่นคงดีแล้ว จะไม่พูดถึงฌานต่างๆ นะ เพราะสมาธิมั่นคงนั่นหมายถึงผ่านฌานต่างๆ แล้ว เข้า-ออก จนชำนาญแล้ว ก็ให้ขึ้นวิปัสสนาได้เลย ไม่จำเป็นต้องนั่งหลับตาทำสมาธิ สามารถปฏิบัติได้ในทุกๆ อิริยาบถ ด้วยการน้อมนึกพิจารณา ให้เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ฝึกให้สติมันทันอาการต่างๆ จนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยงของขันธ์ 5

    ยกตัวอย่าง : เมื่อเรานั่งหลับตาทำสมาธิ จนเห็นนิมิต หรือเข้าถึงฌาณต่างๆ การเห็น การรู้สึกนั้น ถามว่า รูปเกิดขึ้นมั้ย? สัญญาเกิดขึ้นมั้ย? เวทนาเกิดขึ้นมั้ย? สังขารเกิดขึ้นมั้ย วิญญาณเกิดขึ้นมั้ย ทุกอย่างเกิดทั้งหมด ค่อยๆ เห็นไป กำหนดรู้ไป เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่มั้ย? ดับมั้ย? เห็นความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 มั้ย? เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เห็นอนัตตามั้ย?


    ขอให้เจริญในธรรม สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2012
  11. boatsa2538

    boatsa2538 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +90
    พี่นิวรณ์ สอนได้ดี เรื่องยกนิมิตรหนังสือ นี่ผมก็ได้ยินมาบ้าง ลุงเล่าให้ฟัง อนุโมทนาครับ
    สาธุ .
     

แชร์หน้านี้

Loading...