ศิลาจารึกโบราณอาณาจักรศรีวิชัย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย svt, 25 เมษายน 2007.

  1. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032
    ศิลาจารึกโบราณอาณาจักรศรีวิชัย ประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้

    ศิลาจารึกโบราณอาณาจักรศรีวิชัย

    ‘’’’’’’’’’’’ นายทหารอังกฤษชื่อ พันเอก เจมส์ โลว์ พบแผ่นอิฐจารึกที่เมืองสวินเสเลย์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ตอนกลางแผ่นจารึกมีรูปเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ มียอดเจ็ดชั้น จารึกตัวอักษรเป็นภาษาสันกฤต มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 มีข้อความว่า “มหานาวิกะนามพุทธคุปต์ ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ที่ภูมิรัตตะมฤตติกา ขอให้การเดินทางประสพความสำเร็จ"


    ‘’’’’’’’’’’’ นับเป็นจารึกภาษาสันกฤตที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยเดียวกับการเดินทางมาของภิกษุอี้จิง ที่เดินทาง มาแวะรอเรือเพื่อไปอินเดียที่เมืองท่าชีชา เมื่อ พ.ศ.1214 และขากลับจากอินเดีย เมื่อ พ.ศ.1228 ก่อนที่ภิกษุอี้จิง จะมารอเรือที่เมืองท่าชีชา ท่านได้แวะมาเรียนไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตที่ประเทศชิลิโฟชิ 6 เดือน จากนั้นได้เดินทางไปแวะพักที่ประเทศโมโลยู้เป็นเวลา 2 เดือน โมโลยู้ในขณะนั้ไม่ได้เป็นศรีวิชัย

    ‘’’’’’’’’’’’ แต่เมื่อภิกษุอี้จิงเดินทางกลับจากอินเดีย เมื่อ พ.ศ.1228 ประเทศโมโลยู้ได้กลายเป็นศรีวิชัยแล้ว จากจารึกนี้แสดงให้เห็นว่า คาบสมุทรมาเลย์ได้รับศิลปวัฒนธรรมจากอินเดีย มีทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และยอมรับเอาภาษาสันสกฤตมาใช้ในการสื่อสารบันทึกเหตุการณ์เรื่องราว ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น

    จารึกเกตุกัน บูกิต

    ‘’’’’’’’’’’’ ประเทศโมโลยู้ที่ภิกษุอี้จิง มาแวะพักทั้งขาไปและขากลับจากประเทศอินเดียราษฎรนับถือศาสนาพุทธมหายานเพียงส่วนน้อย แสดงเมืองนี้ราษฎร์ส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา เพราะประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้ ราษฎรนับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน คำว่าโมโลยู้ ปรากฏอยู่ในจารึกเกตุกัน บูกิต พ.ศ.1225 พบที่หมู่บ้านเชิงเขา บูกิต เชกุนตัง เมืองปาเลมบัง เมื่อ พ.ศ.2463 ภายหลังที่ศาสตร์จารย์เซเดล์ เขียนหนังสือเรื่องอาณาจักรศรีวิชัย 2 ปี มีข้อความดังนี้.-
    ‘’’’’’’’’’’’ "ความเจริญ โชคลาภ ในศก 604 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ.1225) ที่ล่วงไปแล้ว วันที่ 11 แห่งปักษ์อันสว่างของเดือนไวสาขะ (วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.1225) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์สมมติเทพของเรา) เสด็จทางเรือ เพื่อการยกทัพอันสำเร็จผลในวันที่ 7 แห่งปักษ์อันสว่างแห่งเดือนเจษฐ (วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.1225)
    ‘’’’’’’’’’’’ พระองค์เสด็จจากมินานตัมวัน ทรงนำทัพ (ชายฉกรรจ์) 20,000 ผู้ตามเสด็จ...นับจำนวนได้ 200 ไปโดยเรือและผู้ติดตามทางบกนับจำนวนได้ 1,312 มาถึงมาลายูด้วยใจปิติ วันที่ 5 แห่งปักษ์อันสว่างของเดือนอาษาฒ (วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.1225) ...การสิทธิยาตร เพื่อชัยชนะ ของศรีวิชัย ได้บรรลุความรุ่งโรจน์ ความปิติ และยังประเทศ....ให้เจริญ"

    ‘’’’’’’’’’’’ (นิรมล ศรีกิจการ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถอดคำและแปลตามต้นฉบับภาษาอังกฤษของ เค เอ.นิลกัณฐ์ ศาสตรี ซึ่งแปลมาจากภาคภาษาฝรั่งเศสของเซเดส์)
    ‘’’’’’’’’’’’ ศาสตราจารย์ ดี จี.อี.ฮอลล์ ยืนยันว่าประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้ซึ่งรวมอยู่ในอาณาจักรศรีวิชัย นับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน มีแต่โมโลยู้ประเทศเดียวที่ไม่รวมอยู่ในศรีวิชัยนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานเพียงส่วนน้อย จากหลักฐานที่ปรากฏในจารึก ประเทศโมโลยู้จึงถูกผนวกเข้ามาอยู่ในอาณาจักรศรีวิชัย เมื่อ พ.ศ.1225 และศรีวิชัยจะต้องผนวกเมืองปาเลมบังเข้าด้วยกัน ในปี พ.ศ.1225 นั่นเอง
    ‘’’’’’’’’’’’ วอน รองเกล ชาวฮอลันดา และโบคารี เป็นผู้แปลว่า "ปาเลมบังถูกพวกศรีวิชัยจากคาบสมุทรมาเลย์โจมตีและถูกยึดครอง" แต่ศาสตราจารย์เซเดส์ ผู้สถาปนา เมืองปาเลมบังเป็นนครหลวงศรีวิชัยไม่ยอมรับการแปลของบุคคลทั้งสอง มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า พวกศรีวิชัยโจมตีเกาะสุมาตราทำไม สาเหตุหนึ่ง คือ การเข้าควบคุมเศรษฐกิจการค้า การควบคุมช่องแคบซุนดา การขยายดินแดน และอีกประการหนึ่งการเผยแพร่พุทธศาสนา ไปสู่ดินแดนหมู่เกาะ

    จารึกตาลัง ตูโว

    ‘’’’’’’’’’’’ จาก พ.ศ. 1225 กองทัพศรีวิชัย เข้าครอบครองดินแดนปาเลมบังแล้ว ได้กล่าวถึงการสร้างสวนเกษตร เป็นอ่างเก็บน้ำ หรือสร้างที่พักของคนเดินทาง สามารถหาอาหารและเครื่องดื่มได้ จารึกไว้ในจารึก พ.ศ.1227 เรียกว่าจารึกตาลัง ตูโว จารึกหลักนี้ได้เผยแพร่พระรัตนตรัย มายังดินแดนแห่งนี้ด้วย มีข้อความดังนี้
    ‘’’’’’’’’’’’ "ความเจริญ โชคลาภ ในศก 606 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ.1227) ของปักษ์อันส่องสว่างของเดือนไวตระ สวนศรีเกษตรถูกสร้างภายใต้พระพรมราชโองการในพระราชา ศรีชยนาศะ และต่อไปนี้คือ คำอุทิศของพระองค์ท่าน
    ‘’’’’’’’’’’’ สิ่งที่พระองค์ทรงปลูกลงที่นี้ คือ มะพร้าว หมาก ตาล สาคูและต้นไม้อื่นอีกหลายชนิดที่มีผลรับประทานได้ รวมทั้งต้นไผ่ ฮาอูร์ วุลูห์และปัตตุม ฯลฯ รวมทั้งสวนแห่งอื่นพร้อมด้วยทำนบ อ่างเก็บน้ำและงานที่มีประโยชน์ทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้วเพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งสิ่งที่เคลื่อนที่ได้และเคลื่อนที่ไม่ได้ เพื่อเป็นหนทางอันดีที่สุดแก่พวกเขา ในอันที่จะได้ความสมบูรณ์พูนสุข หากเมืองใด พวกเขาหิวในขณะหยุดพักหรือระหว่างทางก็สามารถจะหาอาหารและน้ำดื่มได้ สวนที่ซึ่งหักร้างถางพงของพวกเขาก็จงเต็มไปด้วยพืชผล สัตว์เลี้ยงทุกชนิด รวมทั้งทาสในครอบครัวของพวกเขาจงเจริญพันธ์ พวกเขาจงไม่เป็นทุกข์เนื่องจากความหายนะใดๆ และไม่ทนทรมานด้วยหลับไม่ลง

    ‘’’’’’’’’’’’ ขอทุกอย่างที่พวกเขาให้กำเนิด จงมีดาวพระเคราะห์ กลุ่มดาวฤกษ์อันเป็นคุณแก่พวกเขา และพวกเขาจงเว้นจากความเจ็บป่วยและความชรา ระหว่างที่กำลังก่อเกิดผลอยู่นั้น ยิ่งกว่านั้นข้าทั้งหมดของพวกเขาจงซื่อสัตย์และอุทิศตนเพื่อพวกเขาและเช่นกันที่มิตรสหายของพวกเขาจงไม่ทรยศ และผู้หญิงของพวกเขาจงเป็นคู่ครองที่จงรักภักดี และเหนือกว่าสิ่งอื่นใด ประเทศใดอันพวกเขาตั้งอยู่ จงปราศจากขโมยตนสารเลว ฆาตกรและคนผิดประเวณี ยิ่งกว่านั้นพวกเขาจงมีมิตรให้คำปรึกษาที่ดี

    ‘’’’’’’’’’’’ ขอคติแห่งโพธิและกรุณาธิคุณแห่งพระรัตนตรัย จงบังเกิดในหมู่พวกเขาและพวกเขาจงไม่พรากจากพระรัตนตรัย อีกทั้ง (สิ่งที่พวกเขาปฏิบัติ) อย่างสม่ำเสมอ คือความโอบอ้อมอารี การรักษาศีลและขันติ ขอให้พลังการใช้สติปัญญา และความรู้ในสิ่งนานา จงเจริญขึ้นในหมู่พวกเขา และพวกเขาจงมีจิตที่เป็นสมาธิเข้าถึงวิชชาสติปัญญายิ่งกว่านั้นพวกเขาจงมีความมั่นคงในทิฐิของตน มีกายเพชรแห่งพระมหา(โพธิ)สัตว์ มีอำนาจอันไม่อาจเทียบเทียมได้ มีชัยชนะและรำลึกถึงอดีตชาติได้ มีสติอันไม่บกพร่องอันบริบูรณ์ มีโชคดี มีใบหน้าแช่มชื่น มีเป็นผู้มีความเป็นอยู่เอง(สวยัมภู) พวกเขาจงเป็นผู้รับแก้วจินดามณีเป็นนายของชาติกรรม กิเลส และพวกเขาจงบรรลุถึงความสว่างที่สูงสุด" (นิรมล ศรีกิจการ แปล พิมพ์ลงในหนังสืออาณาจักรศรีวิชัย ที่ไชยา ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี 25539.70-71 จารึกตาลังตูโว เป็นจารึกที่ประกาศศาสนาพุทธลงเกาะสุมาตรา)

    s2.jpg
    พระเจดีย์บรมพุทโธ ที่ชวากลาง

    ‘’’’’’’’’’’’ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการประกาศเผยแพร่ศาสนาพุทธในดินแดนเกาะสุมาตราราษฎร์ก็ไม่อาจเปลี่ยนความเชื่อ เปลี่ยนความคิดให้มานับถือศาสนาพุทธ ตามพวกศรีวิชัยได้ จึงทำจารึกสาปแช่งพวกที่ไม่นับถือศาสนาพุทธ และไม่ชื่อตรงและจงรักภักดี ต่อศรีวิชัยไว้ มีจำนวนถึง 4 หลักข้อความตรงกันคำต่อคำ ได้แก่ จารึกโกตากาปูร์ที่เกาะบังกา จารึกการังบราหิ ที่เมืองจัมบิ จารึกปาลาส ปาเซมา ที่ลำพุงใต้และจารึกเตลา บาตู แต่จารึกนี้มีรายละเอียดมากกว่าและมีคำสาปร้ายแรงกว่าอีก 3 หลัก
    ‘’’’’’’’’’’’ จารึกที่เมืองการับบราหิ เมืองจัมบิ ที่ลงความเห็นกันว่าเป็นเมืองโมโลยู้ซึ่งภิกษุอี้จิงมาแวะพัก ที่เมืองนี้นับถือศาสนามหายานเพียงส่วนน้อย ราษฎรน่าจะไม่ให้ความร่วมมือเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อ ยอมรับนับถือพระรัตนตรัยมากนัก เพราะพวกศรีวิชัยต้องทำจารึกสาปแช่งไว้ โดยให้ตันตระเข้ามาช่วยราษฎรให้เปลี่ยนความเชื่อมานับถือพุทธตันตระด้วย
    ‘’’’’’’’’’’’ จารึกคำสาปแช่งนี้ ต้องปักไว้ในดินแดนที่ถูกครอบครองทั้งนั้น ดังเช่น จารึกหลักที่ 24 เมื่อพระเจ้าจันทรภาณุ ขึ้นครองราชย์ ที่กรุงตามพรลิงค์ จึงเปลี่ยนวงศ์จากราชวงศ์ไศเลนทร เป็นวงศ์ปทุม เมืองไชยาน่าจะถูกครอบครองเป็นเมืองขึ้นแล้วจึงถูกจารึก จันทร์ภาณุแห่งนครศรีธรรมราช สาปแช่งไว้เช่นกัน หากปาเลมบังเป็นนครหลวงแห่งศรีวิชัย จารึกหลักที่มีคำสาปแช่งนี้ต้องไปปักไว้ที่ไชยา หรือนครศรีธรรมราช โดยเปลี่ยนจากภาษาสันสกฤต เป็นภาษายาวีโบราณ

    s1.jpg
    จารึกหลักที่ 23 ด้านที่ 1 เป็นภาษาสันสกฤต

    คำแปลจารึกพระเจ้าจันทรภาณุ ดังนี้
    ‘’’’’’’’’’’’ สวัสดี พระผู้เป็นอิศวรในกรุงตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) ทรงประพฤติเกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนา เสมือนพระอินทร์ ทรงพระราชสมภพมา ในปทุมวงศ์ เพื่อยังประชาชนที่ถูกชนชาติต่ำช้า กดขี่ ปกครองมาช้านานแล้ว ให้สว่างรุ่งเรือง มีรูปงามเหมือนพระกามะอันมีรูปงามราวกับพระจันทร์ ทรงพระปรีชาในราชนิติ เทียบเท่ากับพระเจ้าธรรมาโศกเป็นอธิบดีแห่ง ปัญจาณวงศ์
    ‘’’’’’’’’’’’ ศรี สวัสดี พระองค์ผู้เข้มแข็ง ผู้เป็นอิศวรในกรุงตามพรลิงค์ ทรงอุปถัมภ์ ปทุมวงศ์ ได้รับขนานนามว่า ภืมเสน เสด็จมา เป็นบุญตัวของมนุษย์ที่ได้มีพระราชาองค์นี้ เสด็จมาปกครอง พระองค์ ทรงไว้ซึ่งพระเกียรติแผ่ไปทั่วโลก เพียงดั่ง อานุภาพของพระอินทร์พระอาทิตย์ทรงพระนามว่า จันทรภาณุ ศรีธรรมราช ขออำนวยพร อันเป็นอมตะ ด้วยความภักดี ซึ่งเสมือนดังสลักไว้ในแผ่นหิน เมื่อปีกลียุคล่วงแล้วได้ 4332

    ‘’’’’’’’’’’’ กองทัพศรีวิชัย เข้ายึดครองเกาะสุมาตรา ตั้งแต่ พ.ศ.1225 จนถึง พ.ศ.1229 ในจารึกโกตา การ์ปูร์ ตอนท้าย มีข้อความว่า “ศก 608 มหาศักราช ตรงกับ พ.ศ.1229 วันแรกแห่งปักษ์อันส่องสว่างของเดือนไวศาข เป็นเวลาที่คำสาปแช่งได้ประกาศและได้จารึกลงไว้ ขณะเมื่อกองทัพศรีวิชัย กำลังเริ่มต้นออกเดินทางไปตีดินแดนชวา ซึ่งยังไม่ยอมจำนนต่อศรีวิชัย (นิรมล ศรีกิจการ แปล อ้างแล้ว เรื่องเดิม 72-73)

    ‘’’’’’’’’’’’ จารึกหลักนี้แสดงว่ากองทัพศรีวิชัย เมื่อเข้ายึดครองเกาะสุมาตราแล้วก็เคลื่อนขบวนทัพเข้ายึดชวาด้วย ที่เกาะชวากลาง มีจารึกหลักหนึ่ง คือ จารึกปรามบานัน ที่ 1 กล่าวถึงกษัตริย์ ภาณุ ราชวงศ์ไศเลนทร ปกครองชวา แต่จารึกชำรุดมากอ่านไม่ได้ใจความ นอกจากมีคำว่า"บำรุงพุทธศาสนา" การเข้ายึดครองชวานี้ ดี จี อี ฮอลล์ ผู้เขียน ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม 1 หน้า 56 ว่า พระเจ้าศรีชัยนาศ ผู้พิชิต รัฐมลายู (ในจารึกสิทธิยาตรา) และอาจจะพิชิตรัฐทาลุมาด้วย พระองค์เป็นผู้ริเริ่มนโยบายทำให้อาณาจักรศรีวิชัย เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ์หมู่เกาะที่เรืองอำนาจอยู่จนถึงคริสต์ศตวรรษที่สิบสาม

    ‘’’’’’’’’’’’ ที่เกาะชวามีจารึกหลักหนึ่งเรียกว่า จารึกพระเจ้าสัญชัย พ.ศ.1275 มีใจความว่า...
    ‘’’’’’’’’’’’ “พระศิวะผู้เป็นเจ้านั้น (พระองค์) มีดวงจันทร์เป็นปิ่นปักษ์ไว้ที่มวยผม ซึ่งย้อมด้วยคลื่นอันสูงแห่งแม่น้ำคงคา มีพระวรกายปรากฏเป็นครองรัศมี งามสง่าด้วยพวงมาลัยพระยานาคอันรุ่งเรือง มีเทพยดาประนมกรอัญชลีสรรเสริญ ของพระองค์ซึ่งเป็นดั่งดวงอาทิตย์ จงได้ประทานความประเสริฐอันไม่เคยมี ให้แก่ท่านทั้งหลาย
    ‘’’’’’’’’’’’ ดอกบัวทั้งคู่อันหาที่ติไม่ได้ คือพระบาทของพระตรีเนตรซึ่งจอมปราชญ์บูชาแล้ว ด้วยความภักดีและคำสรรเสริญ มีกลีบสีแดงคือนิ้วพระบาท มีเกสรอันบานกระจาย มีละอองอันส่องแสงติดที่ปลายคือเล็บ มีแมลงผึ้ง คือ เทพยดาและองค์อินทร์ เป็นต้น น้อมมกุฎลงจุมพิต (พระบาท) เป็นเนืองนิตย์ เพราะต้องการสวรรค์และนิพพาน ขอ (ดอกบัวทั้งคู่) จงประทานความสุขความเจริญให้แก่ท่านทั้งหลายชั่วนิรันดร
    ‘’’’’’’’’’’’ พระตรีเนตร ผู้เป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง มีมวยผมประดับด้วยดวงจันทร์ ซึ่งเป็นที่เก็บความแปลกประหลาดอันยิ่งใหญ่ เพราะเป็นแดนเกิดของปวงความประเสริฐเลิศแห่งอำนาจสูงสุดทรงยินดีในการบริจาคถ่ายเดียว แผ่ไปสู่ความพิศวงของโยคีทั้งหลาย เนืองนิตย์ ทรงบำรุงเลี้ยงโลกด้วยพระกายแปดประการ เนื่องจากความกรุณาไม่ใช่ด้วยความเห็นแก่ตัว ขอจงได้ทรงอภิบาลรักษาทั้งหลาย

    ‘’’’’’’’’’’’ พระสยมภู (พระพรหม) ผู้เป็นครูที่เคารพของโลก มีเทพอำนาจควรแก่การนับถือ มีพระกายเป็นสีทองคำ มีมวยผมอันโชติช่วงประหนึ่งว่า เปลวเพลิงแผดเผาโทษของตนเองมีศาสนาของโลก อันพระองค์ผูกติดแนบแน่นกับเสา คือ พระเวท เป็นแดนเกิดแห่งธรรมศาสตร์ อรรถศาสตร์ และกามศาสตร์ทั้งหลายมีคู่แห่งดอกบัวคือ พระบาท อันเทพยดาทั้งหลายกราบไว้เป็นเจ้าแห่งโยคะของหมู่โยคีทั้งหลาย ขอจงประทานความสำเร็จที่มุ่งหวัง ให้แก่ท่านทั้งหลาย

    s3.jpg
    เจดีย์กาลาสัน ที่ชวากลาง (ประเทศอินโดนีเชีย) รูปทรงองค์เจดีย์ เหมือนกัน เจดีย์วัดแก้วไชยา(จ.สุราษฏร์ธานี)

    ‘’’’’’’’’’’’ พระศรีบดี (พระนารายณ์) ซึ่งมีพระเนตรเหมือนกลีบอุบล แดงก่ำด้วยโยคะทรงไสยาสน์บนแท่นบรรทมคือน้ำ มีเทพยดาสดุดีสรรเสริญ เพื่อประสงค์ได้ทรงคุ้งครองป้องกัน มีพระลักษมีมองดูมาจากที่ไกล (พระลักษมี) ซึ่งมีพระขนงขมวดและพระเนตรอันจ้องแพ่งด้วยความโกรธ เพราะเห็นพระฉายาของพระนางเองอันทรงโฉมติดอยู่ที่ผนังแก้ว คือ ที่พังพานของพระยานาค ขอจงประทานความมั่งคั่งสมบูรณ์ให้แก่ท่านทั้งหลาย

    ‘’’’’’’’’’’’ มีทวีปอันประเสริฐ หาที่เปรียบไม่ได้ทวีปหนึ่ง ชื่อยวาทวีป อุดมด้วยพืชมีข้าวเป็นต้น สมบูรณ์ด้วยเหมือนทองคำ (จารึกชำรุดท่อนบรรทัด) .. เป็นแหล่งค้าประจำวันของสินค้าเนื่องด้วยพืชและเหมืองนั้น มิรู้วาย เป็นที่ตั้งสถานที่แห่งสิ่งสูงสุด คือ พระผู้เป็นเจ้า (พระศิวะ) แวดล้อมด้วยแม่คงคา และสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สระสนานอันเป็นทิพย์อย่างยิ่ง เพื่อนรชนมีความสุข ความเจริญ อันตั้งอยู่กุญชรประเทศซึ่งมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยช้างรูปงาม

    ‘’’’’’’’’’’’ บนทวีปอันมีชื่อว่า ยวา อันเป็นทีมีโชคใหญ่ของคนที่มีชื่อเสียง พระราชาทรงพระนามว่าสันนา มีกำเนิดอันเลิศในตระกูลสูง มีพระยศยิ่งใหญ่ไพศาล ทรงปกครองประชาชนทั้งปวงโดยชอบ ด้วยพระวาจาอ่อนโยน และด้วยทรงให้ท่านแก่ประชาชน ตั้งแต่ประชาชนแรกเกิดมาประหนึ่งบิดาปกครองบุตร ตั้งแต่บุตรแรกเกิดมา ทรงเป็นผู้อ่อนโยน ทรงปกครองแผ่นดินโดยชอบธรรมเป็นเวลานาน เหมือนกับพระมนู

    ‘’’’’’’’’’’’ เมื่อได้ครองราชย์สมบัติอันมีโชคลาภโดยยุติธรรมเป็นเวลานานแล้ว พระราชาผู้ทรงพระนามสันนาก็เสด็จไปรับผลอันเป็นความสุขในสวรรค์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสะสมได้ โลกเหมือนหนึ่งถูกทำลายเสียแล้ว โลกหมุนไปสู่ความอนาถา เพราะอำนาจแห่งความโศก
    ‘’’’’’’’’’’’ ต่อมา มีพระราชาองค์หนึ่งทรงอุบัติขึ้น พระองค์ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติเหมือนภูเขาพระสุเมรุ พระองค์มีพระฉวีวรรณบริสุทธิ์ เหมือนทองคำละลายคว้างอยู่ในไฟอันรุ่งโรจน์ พระพาหา และพระโสณี (ตะโพก) ใหญ่ มีจอมนูนขึ้น คือ กระหม่อมสูง มีพระบาทสูงเหนือภูเขา อันตั้งอยู่บนผืนแผ่นดิน คือ ราชตระกูล พระราชาองค์นี้ ทรงพระนามว่า ศรีสัญชัย เป็นโอรสของพระสัสสุระ (พ่อตา) ของพระเจ้าสันนา ทรงครองราชย์สมบัติด้วยระเบียบแบบแผน ทรงมีชื่อเสียงปวงปราชญ์สรรเสริญพระองค์ ทรงรอบรู้อรรถอันสุขุมในศาสตร์ทั้งหลาย ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติมีความกล้าหาญ เป็นต้น ทรงมีอำนาจชนะสามันตราช ดั่งพระเจ้าราฆุ มีพระยศรุ่งเรือง

    ‘’’’’’’’’’’’ พระองค์ปกครองแผ่นดิน ซึ่งมีทะเลอันมีละลอกล้อมเหมือนเข็มขัด มีภูเขาเหมือนนม (ทรวงอกนูน) ประชาชนนอนหลับในท้องถนนหลวง ได้โดยปราศจากโจรภัย และภัยอื่นใด ประชาชนที่มีชื่อเสียง ล้วนสร้างสมธรรมะ อรรถะ และกามะอย่างมั่นคง ทำเอาเจ้าแม่กาลีถึงกับได้แต่ร้องให้หนัก เพราะไม่ได้รับเครื่องเซ่นสังเวย (แปลโดย ร.ต.ท.แสง มนวิทูร หัวหน้าแผนกหอวชิรญาณ กองวรรณคดี และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร)

    ‘’’’’’’’’’’’ พระเจ้าสัญชัยในจารึกนี้ เป็นต้นวงศ์สัญชัย พระองค์นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวเวท พระองค์เป็นน้องมเหสีของพระเจ้าสันนา (เป็นโอรสของพระสัสสุระ-แปลว่า เป็นพ่อตาของพระเจ้าสันนา) พระเจ้าสัญชัยเป็นแม่ทัพเรือฝีมือเก่งกล้าในการรบมากตำนานชวา กล่าวขวัญถึงว่า พระองค์เป็นผู้พิชิต บาหลี สุมาตรา จึงได้รับบำเหน็จความชอบให้ครองเมืองเกดะห์ เพื่อควบคุมช่องแคบมะละกา

    ‘’’’’’’’’’’’ จารึกพระเจ้าสัญชัย พบที่ตำบลซังคัล บนภูเขากุวีร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์บรมพุทโธ ตามตำนานยกย่องว่า พระองค์ทรงเป็นแม่ทัพเรือศรีวิชัย นำทัพเข้ารบพุ่งกับกองทัพเขมรอย่างกล้าหาญ จนได้รับชัยชนะ ต่อมาพระองค์ได้รับการแต่งตั้งจากศรีวิชัยให้ไปปกครองมะตะราม ดินแดนทางทิศตะวันออกของชวากลางแต่พระองค์นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ดังปรากฏหลักฐานการสร้างเทวาลัย ซังคับ ประดิษฐานศิวลึงค์ ที่ตำบลซังคัล

    ‘’’’’’’’’’’’ ดี จี อี ฮอลล์ เขียนไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน้า 63 ว่า กษัตริย์วงศ์สัญชัย อยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ไศเลนทร์ จนถึง พ.ศ. 1375 พระเจ้าวิษณุ ทรงมอบการปกครองให้พระเจ้าสัญชัย เป็นอิสระจากศรีวิชัย

    ‘’’’’’’’’’’’ หม่อมเจ้า จันทร์จิรายุ รัชนี ชี้ว่า เมืองเซโพของจีนก็คือ เมืองไชยา หรือเมืองชวาโบราณ ตรงกับชวากะ หรือซาบากในบันทึกของอาหรับ ดังนั้น คำว่ายวาทวีปในจารึก ก็คือที่ตั้งเมืองชวา เมืองหลวงศรีวิชัย นั่นเอง เจ้าชายชวากะ ก็คือ เจ้าชายชวา ในคัมภีร์จุลวงศ์ของลังกา บันทึกไว้ว่า ในปีที่ 11 ของรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุ ที่ 2 (พ.ศ.1779) ขวกราชา พระนาม จันทรภาณ์ ยกกองทัพมาขึ้นบกที่กักขลา

    เนื้อหาเพิ่มเติมที่: - ตามพรลิงค์ ศรีวิชัย อาณาจักรที่ถูกลืม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2015
  2. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 เมษายน 2007
  3. toottoo

    toottoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +3,254
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
    น่าสนใจมาก ๆ
     
  4. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032
    [​IMG]
    พระโพธิสัตว์อวโลกิตเตศวรวัชระปาณี เนื้อสำริด ศิลปศรีวิชัย

    ภิกษุอี้จิง ผู้ชี้ที่ตั้งนครหลวงศรีวิชัย

     
  5. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032
    [​IMG]
    เจดีย์บรมพุทโธ ชวากลาง(ประเทศอินโดนิเซีย)

    เจ้าแห่งทะเล

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2015
  6. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032
    เจ้าแห่งศิลปะ ศูนย์รวมพุทธศาสนา

    [​IMG]
    พระพุทธรูปปางสมาธิประทับนั่งบนฐานปัทมะ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-12
    พบที่วัดบรมธาตุไชยา ราชวรวิหาร อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี


     
  7. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032
    จารึกบันทึกประวัติการสร้างเจเดีย์บรมพุทโธ

     
  8. vision

    vision สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +8
    ได้ความรู้ดีครับ...
     
  9. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032
    [​IMG]

    นครตามพรลิงค์ นครเซี้ยะโท้ว

    ‘’’’’’’’’’’’ การชี้ที่ตั้งนครหลวงศรีวิชัยไม่ยากเลย เพราะนักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ รับกันว่าเมืองตั้งมาลิง หรือต้าหม่าลิง ตามบันทึกจีน คือ เมืองตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช เมื่อรู้ตำแหน่งที่ตั้งนครศรีธรรมราชแล้ว ก็สามารถชี้ตำแหน่งที่ตั้งนครหลวงศรีวิชัยได้ และบันทึกของภิกษุอี้จิง อีกเช่นกันที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ ใช้เป็นแผนที่นำทางไปสู่ตำแหน่งที่ตั้งนครหลวงศรีวิชัย ภิกษุอี้จิง เรียกเมืองตั้งมาลิง ตามภาษาสันสกฤตว่า โพลิง ภิกษุอี้จิงบันทึกไว้ว่า ได้รับการบอกเล่าจากภิกษุฮวยนิงว่า เมื่อ พ.ศ.1207-1208 เคยไปเมืองโพลิง เพื่อขอให้ภิกษุญาณภัทร ช่วยแปลและตีความ พระคัมภีร์สันสกฤตของศาสนาพุทธนิกายหินยาน เป็นภาษาจีน ภิกษุฮวยนิง กล่าวไว้ว่า เมืองโพลิงอยู่ไม่ไกลจากเมืองโฟชิ เพราะว่าการเดินทางจากเมืองโฟชิไปยังเมืองโพลิง ต้องแล่นเรือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลา 4 วัน

    ‘’’’’’’’’’’’ เส้นทางการเดินทางไปเมืองโฟลิงตามบันทึกของภิกษุอี้จิง หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุรัชนี ทรงให้คำอธิบายว่า การเดินทางจากเมืองไชยา ตัดอ่าวบ้านดอน ต้องแล่นเรือไปทางทิศตะวันออก ก่อนที่จะอ้อมชายฝั่งทะเลไปเมือนครศรีธรรมราช ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เวลาเดินทาง 4 วัน หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี จึงชี้ว่า เมืองโฟลิงก็คือ นครศรีธรรมราช หาใช่ตั้งอยู่บนเกาะชวา ตามที่ศาสตราจารย์เซเดส์ เคยเสนอไว้แต่เดิม(1)
    (1)ตามพรลิงค์ ศรีวิชัย อาณาจักรที่ถูกลืม โดย พลตำรวจตรี สรรเพชร ธรรมาธิกุล สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2538 หน้า 98


    [​IMG]
    วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช


    ‘’’’’’’’’’’’ สถานที่ตั้งนครหลวงศรีวิชัย ภิกษุอี้จิง ชี้ไว้ชัดว่า เป็นนครชายทะเล หาใช้ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 100 กิโลเมตร ดังเช่น นครปาเลมบังซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมูลิไม่ในช่วงเวลาที่ภิกษุอี้จิงเขียนบันทึกอยู่ที่นครหลวงศรีวิชัย วันหนึ่งมีความจำเป็นจะต้องเดินทางไปกวางตุ้ง ในขณะที่พูดติดต่อกับนายเรือผู้ควบคุม เรือกำปั่นมีกระแสลมพัดจัด ภิกษุอี้จิง จึงออกเดินทางไปกับเรือกำปั่นเดินทางไปกวางตุ้ง เพื่อแปลพระธรรมวินัยเป็นภาษาจีน นครปาเลมบังตั้งอยู่ริมแม่น้ำลึกเข้าไปในแผ่นดิน

    ‘’’’’’’’’’’’ หากเดินทางจากปาเลมบังมาตามแม่น้ำมูลิ เมื่อมาถึงฝั่งทะเล ก็ต้องเดินเรือตัดชายทะเลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นคนละทิศทางที่ภิกษุอี้จิง บันทึกไว้ว่า จากโฟชิ ต้องแล่นเรือไปทางะวันออกเฉียงใต้ จึงถึงโพลิง เส้นทางการเดินทางไปเมืองโพลิง จากบันทึกของภิกษุอี้จิง คือการเดินทางทางเรือ แล่นจากเมืองไชยา บริเวณรอบอ่าวบ้านดอน ไปนครศรีธรรมราช

    ‘’’’’’’’’’’’ นักเดินเรือชาวอาหรับชื่อ สุไลมาน เคยเดินทางจากอินเดียไปจีน เมื่อ พ.ศ.1394 จนบันทึกไว้ว่า “เมืองซาบากตั้งอยู่บนฝั่งทะเลหันหน้าปางประเทศจีน ระยะทางจากที่นี้ไปยังดินแดนจีนเป็นเวลาเดือนหนึ่งในทะเล แต่ถ้าลมดีก็อาจไปถึงได้เร็วกว่านั้น เจ้าผู้ครองเมืองนี้ เรียกกันว่า มหาราช ท่านเป็นเจ้าของหมู่เกาะเป็นจำนวนมาก” บันทึกอาหรับเรียกศรีวิชัยว่า เมืองซาบากหรือซาบาคะตรงกับจารึกลังกาเรียกว่า ชาวกะ ตำนานไทยเรียกพระราชาว่า พระเจ้าชีวก

    ‘’’’’’’’’’’’ เมื่อศาสตราจารย์ เซเดส์ ชี้ตำแหน่งที่ตั้ง เมืองตั้งมาลิง หรือ ตามพรลิงค์ อยู่ที่ตานามลายู บนเกาะสุมาตรา จึงเป็นการชี้ที่ตั้งเมืองที่ผิดพลาด นักประวัติศาสตร์ที่เชื่อตามศาสตราจารย์เซเดส์ บางคนก็ชี้ว่าเมือโฮลิง เป็นนครหลวงของเมืองมะตะรามซึ่งอยู่ทางขวาตะวันออก จึงทำให้ศาตราจารย์ เซเดส์ชี้ที่ตั้งนครหลวงศรีวิชัยว่าอยู่ที่เมืองปาเลมบัง ผิดพลาดด้วย
    ‘’’’’’’’’’’’ แท้จริงแล้ว ศรีวิชัย เป็นแว่นแคว้นอิสระแว่นแคว้นหนึ่งของชนชาติสยายชี้ให้เห็นว่าก่อนที่ขาวสยามจะตั้งรัฐรวมศูนย์การปกครองที่สุโขทัย หลังจากศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง นครศรีธรรมราช เป็นแว่นแคว้นอิสระแว่นแคว้นหนึ่ง อยู่ทางคาบสมุทรมลายา ก่อนที่จะถูกรวมเป็นอาณาจักรสุโขทัย

    ‘’’’’’’’’’’’ นครศรีธรรมราช เป็นประวัติศาสตร์อันยาวนานเคียงคู่กับไชยา นครตามพรลิงค์ปรากฏชื่อในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ราวพุทธศตวรรษที่ 7 กล่าวถึงรายชื่อเมืองท่าเรือใหญ่มีชื่ออยู่ในดินแดนแหลมทอง เป็นต้นว่า เมืองตะโกลา หรือตะกั่วป่า ,เมืองตมะลี คือ เมืองตามพรลิงค์ ,เมืองขวา คือ เมืองไชยาโบราณ ,เมืองสุวรรณภูมิ ยังค้นหากันอยู่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน มีแต่ข้อความในจดหมายเหตุจีนสมัยพุทธศตวรรษที่ 5 ตรงกับราชวงศ์ฮั่น กล่าวถึงการติดต่อทางการฑูตและการค้าขายกับประเทศกิมหลิน แปลว่าแผ่นดินทอง ตรงกับชื่อสุวรรณทวีป ต่อมาประเทศกิมหลิน ทำสงครามรบพุ่งกับอาณาจักรฟูนัน หลังจากนั้งชื่อของกิมหลินก็หายไป ปรากฏชื่อประเทศพัน พาน ประเทศคันโทลิ ประเทศหลั่งยะสิ่ว ติดต่อทางการโตกับราชสำนักจีน สมัยราชวงศ์เหลียงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 8- ที่ 10

    ‘’’’’’’’’’’’ จากจารึกเมืองไทรบุรี มีความว่า “ พุทธคุปมหานาวิก มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศรักตมฤติกา”

    คำว่ารักตมฤติกา แปลว่าประเทศดินแดง คำว่าเซี้ยะโท้ว แปลว่าดินแดง เช่นเดียวกันกับรักตมฤติกาซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต

    เป็นประเพณีของประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้ เมื่อนครใดได้รับการยกย่องให้เป็นนครหลวงจะส่งราชฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักจีน เพื่อประกาศเป็นนครหลวง ให้ราชสำนักจีนยอมรับนครเซี้ยะโท้วก็เช่นเดียวกัน ได้ประกาศเป็นนครหลวง ราชสำนักจีน จึงส่งราชทูตเชียงจุ่น เดินทางมาประเทศเซี้ยะโท้ว ยอมรับว่านครเซี้ยะโท้วเป็นนครหลวงของดินแดนประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้ จดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ในสมัยราชวงศ์เซ้ง แต่บันทึกเท้าความถึงเหตุการณ์สมัยราชวงศ์ซุย หรือราชวงศ์สุย ซึ่งเกิดก่อนราชวงศ์ถัง บันทึกถึงประเทศเซี้ยะโท้ว ไว้ว่า
    ‘’’’’’’’’’’’ “เชี้ยะโท้ว เป็นประเทศที่มีชาวเมืองเชื้อชาติเดียวกับประเทศฟูนัน (พนม) ตั้งอยู่ทางทะเลใต้เดินทางเรือกว่า 100 วันก็ถึง พื้นดินของเมืองหลวงเกือบเป็นสีแดงจึงได้ชื่ออย่างนั้น อาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อแควนโปโลลา (เมืองปะระวันที่ยะลา) ทางทิศตะวันตกติดต่อแคว้นโปโลโส (ประกาไสยที่กระบี่) ทิศใต้ลงมาจดแคว้นโฮโลตัน (กลันตัน) ทิศเหนือจดทะเลหลวง (ประเทศเซี้ยโท้ว) มีพื้นที่กว้างขวางหลายพันลี้ พระเจ้าแผ่นดินมีพระนามโดยแซ่ว่า คุยถ่าย (โคตรมะ) และมีพระนามโดยรัชกาลว่า หลีบู้ตอชัย (ศรีธรรมมาโศก) ประทับอยู่ที่นครเซ่งจี่

    ‘’’’’’’’’’’’ ราชทูตเชียงจุ่น ตำแหน่งผู้รักษาราชทรัพย์ฝ่ายทหารเป็นหัวหน้าคณะทูต และขุนนางผู้รักษาทรัยากรธรรมชาติชื่อ เฮ่งกุนเจ่ง เป็นอุปทูตอัญเชิญพระราชสาส์น เครื่องราชบรรณาการจากพระเจ้าสุยเฮี่ยงเต้ เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศเซี้ยะโท้ว

    ‘’’’’’’’’’’’ คณะราชทูตเดินทางจากเมืองท่าน่ำไฮ่ (ในกวางตุ้ง ) เดือนที่ 10 ใน พ.ศ. 1150 เดินทางช่วงระยะเวลาลมดีมา 20 วัน 20 คืน ถึงภูเขาเจียวเจี๊ยะ ผ่านเลยไปทานตะวันออกเฉียงใต้ หยุดทอดสมอที่เกาะเล่งเจียบัวะป๋อกโตจิว (เกาะลิงคบรรพต) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแคว้นจามปา จากนั้นผ่านไปตามเกาะอีก 2-3 วัน ต่อมาแลเห็นทิวเขาของแคว้นหลั่งยะสิ่ว อยู่ทางทิศตะวันตก (ทิวเขาสามร้อยยอด) จากนั้นแล่นไปทางทิศใต้ผ่านเกาะเลยลั่งเต้า คือ เกาะรังไก่ – รังนก อยู่ที่หน้าตำบลปะทิว จังหวัดชุมพระแล้วก็ถึงเขตแดนแคว้นเซี้ยะโท้ว

    ‘’’’’’’’’’’’ ระยะเวลาการเดินทางของคณะราชทูตเชียงจุ่นใช้เวลา 20 วัน ก็มาทอดสมอที่เกาะลิงคบรรพตแคว้นจามปา จากนั้นเดินทางอีก 2-3 วัน ก็เข้ามาถึงแว่นแคว้นหลั่งยะสิ่ว จึงเดินทางผ่านเกาะรังนก รังไก่ ถึงเขตแดนแคว้นเซี้ยะโท้ว หรือ ประเทศดินแดง คือเข้าเขตชายทะเลเกาะพงัน เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมระยะเวลาเดินทางของคณะทูตเชียงจุ่นประมาณ 25-30 วัน เปรียบเทียบกับการเดินทางของภิกษุอี้จิง เมื่อ พ.ศ.1214 ภิกษุอี้จิงใช้เส้นทางนี้เช่นเดียวกันใช้เวลาประมาณ 20 วัน ถ้าพิจารณาถึงสภาพภูมิศาสตร์และสถานที่ซึ่งเป็นภูเขา หมู่เกาะ ชายทะเล ตามบันทึกจีน เป็นเส้นทางการเดินทางผ่านอ่าวไทย จนถึงอ่าวบ้านดอน เมืองโฟชิ ของภิกษุอี้จิง จึงตั้งอยู่ที่บริเวณรอบอ่าวบ้านดอน นั่นเอง

    ‘’’’’’’’’’’’ นายธรรมทาส พานิช เขียนไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย บทที่ 2 ตอน 2 เรื่องกรุงเซี้ยะโท้ว-ดินแดง หรือ ลิงค์แดง คือธรรมราชปุระ ตามตำนานลังกา ในสมัยนั้นเวียงสระ หรือพัน พาน หรือ ผั่น ผั่น เป็นรัฐอิสระมีราษฎรอยู่หนาแน่น พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเมืองนี้มาก พระเจ้ากรุงเซี้ยะโท้วส่งราชบุตรพร้อมด้วยเรือใหญ่ออกทะเลจำนวน 30 ลำ ออกมาต้อนรับคณะทูตคณะราษฎรที่ออกมาต้อนรับได้เป่าสังข์ ตีกลองแสดงความยินดี ต้อนรับคณะทูตแห่งราชสำนักสุย แล้วใช้โซ่ทองเหลืองผูกเรือ ลากจูงเรือพระราชสาส์นแห่แหนเข้าไปในลำน้ำหลวง หรือแม่น้ำตาปีในปัจจุบัน ใช้เวลาหนึ่งเดือนจึงถึงกรุงเซี้ยะโท้ว

    ‘’’’’’’’’’’’ การเดินทางไปกรุงเซี้ยะโท้วในช่วงระยะเวลานั้นเป็นฤดูน้ำหลาก เพราะเป็นช่วงฤดูฝน ย่างเข้าเดือน 11 น้ำนอง เดือน 12 น้ำท่วม แต่เส้นทางนี้ผ่านวิหารเขาศรีวิชัย ซึ่งมีพระนารายณ์เขาศรีวิชัยยืนประทับอยู่ ขบวนต้อนรับคณะทูตผ่านเข้าปากพันคูหา ซึ่งเป็นเส้นทางที่ราษฎร เรียกว่าเส้นทางไปสู่เมืองพัน พาน แม่น้ำหลวงไหลผ่านควนท่าข้าม ที่อำเภอพุนพิน ซึ่งมีวิหารของพระอวโลกิเตศวร ประทับอยู่ที่เวียงสระมีพระนารายณ์ สวมหมวกทรงกระบอกอีกองค์หนึ่งประทับอยู่ในวิหาร

    ‘’’’’’’’’’’’ จดหมายเหตุราชวงศ์เซ็งบันทึกไว้อีกว่า”เสียมหลอก๊ก” มีภูเขาใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงหัวนอน หรือเฉียงใต้ น้ำในเสียมหลอก๊กไหลออกมาจากภูเขาฝ่ายทิศหัวนอน หรือ ทิศใต้ไหลมาออกทะเล

    ‘’’’’’’’’’’’ ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ให้ความเห็นไว้ในหนังสือสุวรรณภูมิอยู่ที่ไหนหน้า 75 ว่า ข้อความนี้ เป็นหลักฐานทางภูมิศาสตร์ ภูเขา และแม่น้ำ เป็นสิ่งเกิดโดยธรรมชาติ ยากที่มนุษย์จะโยกย้ายเปลี่ยนแปรทิศทางที่อยู่ของมันได้ แม่น้ำหลวงเกิดจาร สันเขาหลวงในอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน มีความยาวประมาณ 380 กิโลเมตร
    ‘’’’’’’’’’’’ ศาสตราจารย์ มานิต วัลลิโภดม นี้เอง ได้ให้ความเห็นไว้ว่า “อย่างไรก็ดีขอระบุเสียเลยว่าแคว้นรักตมฤตติกา หรือเซี๊ยะโท้ว ใน พ.ศ.1150 นี้ ต่อมาอีก 70 ปีเศษได้เปลี่ยนแปลงเรียกแคว้นชวกะหรือ ศรีวิชัย

    ‘’’’’’’’’’’’ อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม มีความเห็นแตกต่างเรื่องเส้นทางการเดินทางไปเมืองเซี๊ยะโท้วโดยมีความเห็นว่า แคว้นดินแดงหรือแคว้นรักตมฤตติกา ใช้เรือพายขนาดใหญ่หลายลำเข้าเทียบจับเชือกพายลากจูง ตรงเข้าเส้นทางคลองปากพนัง ไปเข้าทะเลหลวงด้านใน อาณาเขตแคว้นเซี๊ยะโท้วทิศใต้จดโฮโลตัน ทิศเหนือจดทะเลหลวง ศาสตราจารย์มานิต ให้ความเห็นว่า แคว้นโฮโลตันที่อยู่ทางทิศใต้นั้น นักโบราณวิทยาลงความเห็นว่า เป็นรัฐกลันตัน ในประเทศมาเลเซีย

    ‘’’’’’’’’’’’ ฉะนั้นพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือขึ้นมาจนจดทะเลหลวงปัจจุบัน เป็นนราธิวาส ปัตตานี สงขลา ควรเป็นแว่นแคว้นเซี๊ยะโท้ว และมีแผ่นดินผืนหนึ่ง เรียกว่าแผ่นดินบก เป็นแหล่งพบโบราณวัตถุ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ขึ้นไปถึงสมัยหินใหม่ จึงเป็นฐานที่ตั้งนครหลวงที่เรียกว่า นครเจงจี่ หรือ ไซจือเจ็ง เทียบได้กับนครสิงหปุระ หรือสงขลา ตั้งอยู่บริเวณเขาแดง เป็นความแตกต่างทางความคิด แต่ยอมรับว่าแคว้นเซี๊ยะโท้ว ก็คือ นครศรีธรรมราช

    ‘’’’’’’’’’’’ ข้าพเจ้า ผู้เขียนมีความเห็นว่า ประเทศเซี๊ยะโท้ว ทิศเหนือจดทะเลหลวง ก็คือ ชายทะเลอ่าวบ้านดอน เส้นทางการเดินทางของคณะทูตน่าจะเดินทางไปเมือง พัน พาน หรือผั่น ตามสำเนียงจีนซึ่งเป็นนครหลวงเก่า เพราะได้ส่งราชทูตไปราชสำนักจีน เมื่อ พ.ศ.1000 แล่นเรือผ่านปากพันคูหา แปลว่าปากทางเข้าเมืองพัน พาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำ มีเขาศรีวิชัยซึ่งมีพระวิหารพระนารายณ์ 4 กร ประทับอยู่ทรงผ้านุ่งยาว โดยขมวดเป็นปมไว้ข้างหน้า คาดทับด้วยรัดประคดที่พระโสณี มีผ้าคาดเฉียงผูกโบว์อยู่เหนือพระอุรุขวา (โคนขาขวา) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 เรือถูกลากฝ่านควนท่าข้าม มีวิหารของพระโพธิสัตว์ ประทับอยู่ เมื่อ พ.ศ.2508 กรมศิลปากรทำการขุดค้นวิหารเก่าบริเวณนั้น พบพระโพธิสัตว์สำริด 2-3 องค์ กับพระพิมพ์ดินดิบแบบต่างๆ ทำด้วยดินดิบเนื้อสีแดงเป็นจำนวนมาก พบเศียรพระพุทธรูป สำริดมีขนาดสูง 10.5 เซนติเมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 เศียรของพระพุทธรูปมีเม็ดพระศกเป็นขมวดก้นหอยขนาดใหญ่ อุษณียะ (มงกุฎ)นูนต่ำ พระศอเป็นลอนครองจีวรเป็นริ้ว พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะใกล้เคียงกับพระพุทธรูปในอินเดียแบบอมราวดีตอนปลาย

    ‘’’’’’’’’’’’ แม่น้ำหลวงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำคีรีรัฐ ที่ตอนใต้บ้านท่าข้าม เรือราชทูตถูกลากจูงไปตามแม่น้ำหลวงไปถึง เมืองพัน พาน หรือเวียงสระที่เมืองนี้เอง ดร.ควอริทช์ เวลล์ ขุดพบพระพุทธรูปหินทรายสีเทาอมเหลืองสลักนูนสูง ประทับยืนตริภังค์ ศิปคุปตะ สกุลช่างสารนาท ราวพุทธศตวรรษที่ 11 พบพระนารายณ์ก่อนขอม ที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า พระนารายณ์สวมหมวกทรงกระบอกมี 4 กร เช่นเดียวกับพระนารายณ์เขาศรีวิชัย สลักด้วยศิลา ทั้งองค์ สูง 148 เซนติเมตร พระหัตถ์ขวาทรงถือธรณี (ก้อนดิน) พระหัตถ์หลังทั้งสองชำรุด น่าจะทรงจักรและสังข์ ประติมากรรมชิ้นนี้ น่าจะมีการเขียนสีและใช้เครื่องประดับเพชร พลอย ของแท้ถวายให้ทรง เป็นผลงานที่แสดงกายวิภาคที่ละเอียดอ่อนใกล้เคียงกับธรรมชาติ สลักด้วยความประณีตยิ่ง พระพักตร์มีลักษณ์เหมือนจริง พระเนตรเปิดกว้าง พระโอษฐ์อมยิ้มอย่างอ่อนโยน ลมหายใจเข้าออกแสดงให้เห็นได้ โดยพระนาภีที่แอ่นขึ้นและพระปฤษฎางค์ที่เว้าเข้า พระวิษณุองค์นี้จัดได้ว่า เป็นผลงานสร้างสรรค์ศิลปะภาคใต้ที่ได้รับความสำเร็จสูงสุดชิ้นหนึ่ง เพราะสามารถแสดงให้เห็นถึงการรวมกันได้อย่างดีระหว่าง มโนภาพในอุดมคติของเทพเจ้ากับลักษณะมนุษย์ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11

    ‘’’’’’’’’’’’ จากเวียงสระ สามารถเดินทางไปอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชได้เพราะแม่น้ำหลวงเกิดจากเทือกเขาหลวงในอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในอำเภอฉวางมีเมืองโบราณขนาดใหญ่เรียกว่า “กรุงหยัง” พบกลองมโหรทึกชำรุดที่บริเวณนี้ แม่น้ำหลวงมีคลองอีก ๒ สาย ไหลมารวมตัว คือ คลองสินปุนมาจากทิศใต้ ใกล้แดนอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง กับ คลองอีปันมาจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ใกล้เขาพนมเบญจา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ทั้งคลองสินปุนและคลองอีปันไหลผ่านอำเภอพระแสง ห่างจากเวียงสระประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
    ‘’’’’’’’’’’’ จากคลองสินปุน สามารถเดินทางไปหมู่บ้าน (ทะ)เลในอำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราชได้ นอกจากนั้นการเดินทางโดยทางบกผ่าน ทุ่งสง-ร่อนพิบูลย์ ไปยังฝั่งปริเมาลา เส้นทางนี้เรียกว่า “เส้นทางเจ้าพระยานครค้าช้าง” ชี้ให้เห็นว่าเมืองเวียงสระเคยเป็นศูนย์กลางความเจริญทางการค้าพาณิชย์ ต่อมาการค้าพัฒนาขึ้นเป็นการค้าขายทางทะเล จึงย้ายนครหลวงไปตั้งที่ชายทะเล ดังเช่น การเดินทางของคณะทูตเชียงจุ่น ที่ต้องใช้เวลาเดินทางถึงหนึ่งเดือนจึงถึงนครหลวงซึ่งอาจตั้งอยู่ที่เขาแดงจังหวัดสงขลาที่จีนบันทึกไว้ว่า พระราชาประทับอยู่ที่นครหลวงเจงจี่ หรือไซจือเจ็งก็ได้ จะเห็นได้ว่าพระราชาของศรีวิชัยอาจประทับอยู่ที่นครหลวงซึ่งประเทศ ต่างๆ ในความปกครองของพระราชาเลือกให้เป็นนครหลวง แต่แว่นแคว้นเซี๊ยะโท้ว คือนครศรีธรรมราช

    ‘’’’’’’’’’’’ จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชในหนังสืองานประจำปีนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๔๗๗ มีความว่า"พระเจ้าศรีธรรมาโศก น้องชายชื่อ ธรนนท์ พาญาติวงศ์ และไพร่พลสามหมื่นคนกับพระพุทธคัมภีร์ พระพุทธสาคร ผู้เป็นอาจารย์ เดินทางอพยพมาจากหงสาวดีเดือนเศษ ถึงเขาชวาปราบ(ในจังหวัดกระบี่) ก็ให้ตั้งอยู่ที่นั้นแล้วสร้างวัดเวียงสระ ถวายแก่พระอาจารย์ มีพรานสุรีย์เที่ยวตามเนื้อมาพบพระเจดีย์ที่ฝั่งพระบรมธาตุ จึงไปทูลพระเจ้าศรีธรรมาโศกทรงทราบ พระเจ้าศรีธรรมาโศกอพยพไพร่พลมาตั้ง ทำไร่ ทำนา ที่หาดทรายแก้วชเลรอบ ปี พ.ศ. ๑๐๙๘ พระเจ้าศรีธรรมาโศกจึงตั้งพิธีสร้างเมืองที่หาดทรายแก้ว เป็นเมืองนครศรีธรรมราช เจ็ดปีต่อมา คือ พ.ศ. ๑๑๐๕ จึงขุดเอาพระบรมธาตุได้ แล้วสร้างพระบรมธาตุประจำนครไว้"

    ‘’’’’’’’’’’’ บันทึกจีนเปลี่ยนชื่อนครตามพรลิงค์ เป็นสันโฟชิ เมื่อพ.ศ. ๑๔๔๗ ประกาศ เป็นนครหลวงอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังที่ราชวงศ์ไศเลนทรพ่ายแพ้ ราชวงศ์สัญชัยซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ที่ชวากลาง พระราชาของศรีวิชัยน่าจะประทับอยู่ที่บริเวณบรมพุทธโธ ตามตำนานลังกาบันทึกว่าพระวิษณุ ประมุขราชวงศ์ไศเลนทรทรงเป็นผู้วางรากฐานในการสร้างเจดีย์บรมพุทธโธ ซึ่งแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อรบพ่ายแพ้ราชวงศ์สัญชัย พระเจ้าพลบุตร แห่งราชวงศ์ไศเลนทรจึงมาพึ่งพวกศรีวิชัย ที่สันโฟชิ และพระองค์รับแต่งตั้งให้ปกครองนครไทรบุรี หรือกตาห

    ‘’’’’’’’’’’’ ชื่อสันโฟชิ หรือสัมฮุดชี ปรากฏอยู่ในหนังสือของ เจาจูกัว นายด่านศุลกากร เมืองชวนโจ มณฑลฟูเกี๋ยน ได้เขียนหนังสือ ชื่อ จูฟานฉี เมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๘ ว่านครหลวงของสันโฟชิ ปกครองประเทศต่าง ๆ ๑๕ ประเทศ ในสมัยภิกษุอี้จิงบันทึกไว้ว่า นครชิลิโฟชิ ปกครองแห่งทะเลใต้ ๑๐ ประเทศ

    ‘’’’’’’’’’’’ อย่างไรก็ตามการย้ายนครหลวงระหว่างกรุงตามพรลิงค์และไชยา เกิดขึ้นบ่อยครั้งตามมติเห็นชอบของประเทศภายใต้การปกครอง ที่ลงมติให้เลือกพระราชาเป็นประมุข นครหลวงศรีวิชัยจึงย้ายไปยังประเทศที่พระราชาประทับอยู่ ใน พ.ศ. ๑๕๔๖ บันทึกจีนกล่าวว่า พระเจ้าเซลิจูโลวูนิมาเตียวหัว หรือ พระเจ้าจุฬามณีวรวิหาร ส่งคณะฑูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการแด่พระจักรพรรดิจีนราชทูตกราบทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างวัดในพระพุทธศาสนาขึ้น จึงขอพระราชทานนาม จักรพรรดิจีน พระราชทานนามว่า "เฉงเทียนวันชู" แปลว่า สวรรค์ประทานหนึ่งหมื่นปี และพระราชทานระฆังแก่วัดด้วย วัดที่มีระฆังอักษรจีน เขียนสลักไว้อยู่ในเนื้อเหล็กถึง 3 ใบ ที่ไชยา คือ พบที่วัดพระบรมธาตุไชยาวรวิหาร วัดประสบและวัดชมภูพนัส นครหลวงศรีวิชัยจึงย้ายมาอยู่ที่ไชยาอีก

    ‘’’’’’’’’’’’ ต่อมาจารึกตันโจว์ พ.ศ.1573 ของพระเจ้าราเชนทร์ โจฬะ แห่งอินเดียใต้ยกกองทัพเรือมาโจมตี อาณาจักรศรีวิชัย ในจารึกบันทึกว่า ยึดได้ 14 นครรวมทั้งนครตามพรลิงค์ และนครหลวงไชยาด้วย

    ‘’’’’’’’’’’’ พ.ศ.1773 มีจารึกนครศรีธรรมราชว่า พระเจ้าจันทรภาณุ ได้ประกาศให้กรุงตามพรลิงค์เป็นนครหลวง จนกระทั่งถึง พ.ศ.1916 กรุงสัมโพธิ ปกครองโดยพระเจ้าธรรมาโศกมหาราช เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์ อาณาจักรศรีวิชัยก็เกิดแต่แยก จีนบันทึกว่า ประเทศสัมโฟซิ แบ่งออกเป็น 3 รัฐ มีพระราชาปกครองคือ พระเจ้าธรรมาโศก ครองกรุงสัมโพธิ พระเจ้าปรราชเศขร ครองปาเลมบังและพระเจ้าศรราชเสขร ครองกรุงลังกา ต่อมาแว่นแคว้นนครศรีธรรมราชถูกผนวกรวมกับแคว้นสุโขทัย

    ความสัมพันธ์ระหว่างลังกา กับ กรุงตามพรลิงค์
    ‘’’’’’’’’’’’ ความสัมพันธ์ระหว่างลังกา กับ กรุงตามพรลิงค์มีติดต่อกันตลอดมานับตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 2 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ปกครองลังกา พระองค์ส่งเจ้าชายสุมิตร แต่งเมารยวงศ์ เจ้าชายแห่งนครปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย เสด็จมาเผยแพร่พุทธศาสนาที่ดินแดน สุวรรณปุระ และธรรมราชปุระเพราะทั้งสองรัฐนี้สืบทอดศิลปวัฒนธรรม ศาสนา อารยะธรรมให้แก่กันและกัน ดังเช่นสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา นครศรีธรรมราชก็ได้รับถ่ายทอดมาจากลังกา เป็นเจดีย์ทรงลังกา
    ‘’’’’’’’’’’’ ทางด้านปกครองพระเจ้ามาฆะ พระราชบิดา ของพระเจ้าจันทรภาณุ ทรงไปครองราชย์ที่นครโปโลนนรุวะ นครหลวงลังกาต่อมาเกิดสงครามแย่งราชบัลลังก์ที่ลังกาเพราะพระเจ้ามาฆะเชื้อพระวงศ์ศรีวิชัย ราชวงศ์ลังกาไม่พอใจจึงเสด็จกลับมาครองราชย์ที่นครตามพรลิงค์อีก ทำให้พระเจ้าจันทรภาณุต้องยกกองทัพไปโจมตีลังกาถึง 2 ครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างลังกา กับนครตามพรลิงค์ เป็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง จนตำนานเรียกนครตามพรลิงค์ว่า ลังกาทวีป เพราะเป็นลังกาที่ตั้งอยู่ในทวีป ส่วนลังกาตั้งอยู่บนเกาะ

    _________________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2015
  10. midias

    midias เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +2,191
    :cool: :cool: :cool:
     
  11. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,032
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...