นักวิปัสสนา เปรียบเสมือน นักรบ ลงสนามแล้วต้องสู้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย adieu, 23 มิถุนายน 2011.

  1. adieu

    adieu Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +29
    ธรรมะจากศาลาใหญ่ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี

    พระอาจารย์ประทีป เพชรเจียระไนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ท่านเป็นพระอาจารย์กรรมฐานผู้มีรูปร่างค่อนข้างบาง ประจำอยู่ศาลาใหญ่ (ศาลาสุธรรมภาวนา) ถ้าใครได้เคยเข้าปฏิบัติที่วัดอัมพวัน คงต้องได้เคยรับธรรมะจากท่านแน่

    ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติ ท่านก็จะตอบคำถามญาติโยมนักปฏิบัติผู้มีข้อสงสัย ชี้แนะแนวทางปฏิบัติ เป็นการให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติ ทั้งๆ ที่ก็เป็นความรู้เดิมๆ แต่ท่านคงหารู้ไม่ว่า คำชี้แนะเดิมๆ ของครูบาอาจารย์นี้ มันมีกำลังใจมหาศาลเหลือเกิน ในการทำฝึกวิปัสสนา ถ้าไม่มีกำลังใจดีจริงๆ มันจะท้อและกลัวเป็นที่สุด (ดังข้าพเจ้าเองนี่แล) กลัวอะไร กลัวเวทนา !

    พระอาจารย์ท่านว่า นักวิปัสสนา ก็เปรียบได้กับ นักรบ ลงสนามแล้วต้องสู้ เจอศัตรูต้องเอาก่อน เราจะเก่งหรือไม่เก่งก็ต้องสู้ สารพัดอาวุธศาตราที่จะเข้ามาถึงตัวเรา จะมามัวยืนทื่อ หันซ้ายหันขวาอยู่คงมิได้ ศัตรูคือใคร ศัตรูก็คือสิ่งกระทบทั้งหลาย ถ้าเสียงมา ก็ต้อง เสียงหนอกลับไป คันมา ก็คันหนอกลับไป ง่วงมา ก็ ง่วงหนอกลับ ดังนั้นขึ้นชื่อว่า นักรบ เพลงดาบ เพลงทวน ต้องเรียนรู้ทั้งหมด เมื่อยามว่างศึกสงคราม ก็คือเมื่อมีอารมณ์ปกติ ก็จงอย่าได้นิ่งนอนใจอยู่เฉย ท่านว่า จงหมั่นฝึกม้าให้ชำนาญ ม้านั้นก็คือ พองหนอ ยุบหนอ ฝึกให้ชำนาญ ศัตรูมาเมื่อไหร่ ก็ใส่กันอีก เมื่อฝ่าด่านทหารพวกนี้ไปสักพัก เราจะไปเจอกับนายใหญ่ จอมทัพของข้าศึก นั่นคือ เวทนา ท่านว่าถ้ามาถึงนี่แล้ว ชัยชนะมันอยู่แค่เอื้อม อย่าได้กลัว อย่าได้ถอย อย่าได้หนี สู้อย่างเดียว คือ ให้กำหนด ปวดหนอ ลงไป เขาจะเอาเราสะบักสะบอมขนาดไหน ถ้ายังไม่ตาย จงอย่าถอย

    ท่านว่า ถ้าหัวหน้าใหญ่ของมันเริ่มอ่อนแรง เราพึงสังเกตได้จาก มันจะปล่อยทหารลูกน้องรุมเรา : โอ๊ย ทำไมปวดขนาดนี้ ขาจะหักมั้ยหนอ เขาว่านั่งนานๆ มันจะเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ศัตรูปล่อยของแล้ว ถ้าตอนนั้นเกิดกลัว เราก็กำหนดลงไป กลัวหนอ แต่ถ้าคิดเฉยๆ ก็ คิดหนอ ยังไม่พอ โอ๊ย ปวดจะตายอยู่แล้ว เมื่อไหร่จะหมดเวลาเสียที ทำไมมันนานอย่างนี้ ก็ตั้งสติแล้วกำหนดลงไป ฟุ้งซ่านหนอ อย่างนี้เป็นต้น

    เสียงนาฬิกาบอกหมดเวลาเมื่อไหร่ แม้เรายังไม่ชนะ เราก็ได้ชื่อว่า สู้อย่างสมศักดิ์ศรีชายชาตินักรบ แต่ศึกมันยังไม่จบ รอบหน้ายังมี... สู้กันต่อไป


    ขอทุกท่านจงเจริญในธรรม

    อนุโมทนาสาธุ

    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2011
  2. adieu

    adieu Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +29
    ผู้ปฏิบัติถ้าหากพิจารณาต้นตอของทุกข์แล้ว เห็นชัดตามเป็นจริง คือว่าทุกข์อยู่ในขันธ์ ถ้าหากมีขันธ์อยู่ตราบใดทุกข์มันก็ติดอยู่ในขันธ์นั้น เมื่อเราเห็นชัดว่าขันธ์เป็นก้อนทุกข์ ทำอย่างไรมันจึงทิ้งก้อนทุกข์นี้ได้ เราแยกขันธ์ออกมาเป็นธาตุ อายตนะ อินทรีย์ แยกออกเป็นส่วนๆ ขันธ์เลยไม่มี เห็นแต่สภาวธรรมอันหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อุปาทานความถือขันธ์มันก็เลยหายไป ใจที่ถือว่าขันธ์เป็นตัวเป็นตนมันก็หายไป พร้อมกันนั้นความสงบก็เกิดขึ้น ใจก็ไปอีกส่วนหนึ่งต่างหากนอกจากขันธ์ คือว่า มันไปมองเห็นขันธ์ มันไม่ได้ไปอยู่ในขันธ์ แต่หากขันธ์เจือกันอยู่กับจิต จิตไปเห็นขันธ์ แต่ว่าจิตนั้นไม่ได้เข้าไปอยู่ในขันธ์ เห็นเป็นสภาวธรรมเกิดขึ้นดับไป ในขณะที่จิตมันสงบลงไป ความทุกข์ที่เราถือว่าเป็นทุกข์มาแต่เบื้องต้นมันก็หายไป<O:p
     
  3. adieu

    adieu Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +29
    เราพิจารณาทางวิปัสสนา มันต้องเป็นอย่างนั้น ต้องยกขันธ์ขึ้น คือยกกองทุกข์ขึ้น อันของไม่มีนั้นไม่ใช่วิปัสสนา เงียบสงบไปหมดเลย ว่างเปล่าสูญหมด (แล้วจะ)เอาอะไรมาพิจารณา ไม่มีเรื่องพิจารณา พิจารณาสูญก็เลยสูญไปหมด สูญไม่ทราบอะไรต่ออะไร ว่างก็เลยว่างหมด ไม่ทราบอะไรต่ออะไร เงียบไปหมดไม่มีอะไร แล้วจะเอาอะไรมาพิจารณา เมื่อไม่มีเรื่องพิจารณา ปัญญามันก็ไม่เกิด มันก็ไปสงบอยู่เฉยๆ ความสงบนี้ไม่ใช่มันอยู่ไปตลอดชีวิต ไปสักครู่สักพัก สักชั่วโมงสองชั่วโมงอย่างดีที่สุด กลับออกมาก็ของเก่า ทุกข์ทั้งหลายมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่เท่าเก่า ถ้าหากไม่ใช้ปัญญาพิจารณาอย่างว่านี้แล้ว ไม่เข้าถึงสัจจะของจริง ไม่เห็นของจริง อย่างดีที่สุดเมื่อทุกข์มากๆ ก็เข้าไปสงบหลบหลีกทุกข์เสีย ท่านพูดไว้อีกนัยหนึ่ง ผู้ชอบความสงบคือหลบทุกข์ ไม่ใช่นักสู้นักรบ ผู้ที่ต่อสู้คือวิปัสสนาค้นคว้าอย่างอธิบายมาแล้ว นั่นเป็นนักสู้นักรบ สู้รบมันต้องประจัญหน้ากันกับข้าศึก แพ้ชนะมันจึงค่อยเห็น

    หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี
     
  4. adieu

    adieu Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +29
    ทุกข์มันมีอยู่ตลอดเวลา ทุกข์เพราะหิวกระหาย ทุกข์เพราะเจ็บป่วยทุกข์เพราะความทะเยอทะยานดิ้นรน อยากได้นั่นอยากได้นี่ทุกข์เพราะความกังวลเกี่ยวข้องพัวพัน กลุ้มอกกลุ้มใจ ทุกข์ที่เป็นนามธรรม ทุกข์ที่เป็นรูป ก็ทุกข์เพราะหิวกระหาย กระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง ทุกอย่างที่มากระทบ เพราะสัมผัสมันมีอยู่ ประสาทมันยังไม่ทันดับยังไม่ทันตายสิ่งทั้งหลายจะต้องมากระทบอยู่ตลอดเวลา จะหนีทุกข์พ้นที่ไหนได้ ไปไม่พ้นหรอกจึงว่าใครจะทิ้งทุกข์ก็ทิ้งไม่ได้มีชีวิตอยู่ตราบใดก็ยังมีทุกข์อยู่ตราบนั้นพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน พระอริยสงฆ์สาวกก็เหมือนกันถึงแม้ท่านจะพิจารณาเห็นทุกข์แล้ว ทุกข์ก็ยังอยู่เหมือนเดิมท่านก็ไม่ได้ทิ้งไปไหน แต่ว่าทุกข์มาแล้วไม่สามารถมารบกวนท่านได้ด้วยเหตุที่ท่านเห็นชัดตามเป็นจริงดังอธิบายมานั้น

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
     
  5. TreepIntra-ayotya

    TreepIntra-ayotya สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +0
    สาธุค่ะ เราก็เคารพหลวงพ่อจรัญฐิตธัมโมอย่างยิ่ง เพิ่งกลับมาจากปฎิบัติธรรมที่วัดช่วงปีใหม่นี้ ขออนุโมทนาบุญกับธรรมะที่จขกท.นำมาเผยแพร่ด้วย(ปฎิบัติเองเห็นเองแล้วยิ่งซึ้งใจ) สาธุๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...