กิจสำคัญกึ่งกลางพุทธกาลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธะทั้งสามพระองค์เป็นอย่างไร?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย anakarik, 23 ธันวาคม 2011.

  1. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746

    พระพุทธศาสนา คือ ศาสนาแห่งพุทธะ
    มีพุทธะได้ไม่มีประมาณ เป็น "หมื่นพุทธะ"
    แต่มีพระพุทธเจ้าเพียง 1 องค์เดียวกันใน 1
    ยุคนั้น ข้าพเจ้าใช้สมมุติบัญญัติว่าพระพุทธ
    เจ้ากับพระสมณโคดมเท่านั้น สำหรับพระจี้กง
    และพระตั๊กม้อ ข้าพเจ้าใช้สมมุติบัญญัติเพียง
    ว่า"พุทธะ" เท่านั้น มิใช่พระพุทธเจ้า


    ไม่ทราบว่าท่านพอเข้าใจความหมายที่ต่าง
    กันเพียงน้อยในธรรมอันละเอียดของสมมุติ
    บัญญัติทั้งสองนี้เท่าใด ระหว่าง "พุทธะ"
    และ "พระพุทธเจ้า" ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 ธันวาคม 2011
  2. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746

    โมทนา สำหรับบางข้อความข้าพเจ้าจะยังไม่ตอบ
    ดอกบัวยังต้องใช้เวลากว่าจะบาน บุรุษก็ฉันนั้นเหมือนกัน
     
  3. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    อัตตาในธรรม


    เมื่อบุคคลมีอัตตาเกิดขึ้นในธรรมแล้ว
    บุคคลย่อมระลึกอย่างนี้ว่า "นี่คือธรรม"
    และ "นี่ไม่ใช่ธรรม" หรือ "เรามีธรรม"
    และ "เขาไม่มีธรรม" หรือ "นี่เรียกธรรม"
    และ "นี่ไม่เรียกว่าธรรม" หรือ "นี่ตรงธรรม"
    และ "นี่ไม่ตรงธรรม" สองสิ่งเกิดขึ้นหลังจาก
    อุปทานจากอัตตาในธรรมนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว


    ทั้งที่สรรพสิ่งนั้น ก็เป็นเช่นนั้นเอง
    ธรรมเป็นธรรมเช่นนั้นเอง
    เรามิใช่หรือที่แบ่งธรรมนั้น?
     
  4. ผ่านมาจริงๆ

    ผ่านมาจริงๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +635


    "เรา" ผู้มีความรู้ยังไม่แจ้ง " เรา"นี้กลับอาจหาญไปแบ่งธรรม

    แต่ "เรา" ขอพิจารณาไปอย่างอ่อนน้อม ต่อธรรมทั้งหลาย

    สาธุค่ะ
     
  5. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +215
    เอาให้ชัดๆซิครับ..............................
     
  6. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +215
    อ้าววววววววววววว ยังไงแน่ ตกลงตั้งใจจะสื่อสารให้สับสนหรือพิมพ์ผิดครับ
     
  7. ultimatetruth

    ultimatetruth สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนาครับ ผมยังอาจจะมีตัวพุ่งในการโปรดสัตว์อยู่บ้าง จึงยังมีความดิ้นรนอยู่ ขอคารวะที่ท่านช่วยชี้แนะ
     
  8. ultimatetruth

    ultimatetruth สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนาครับ อย่างนี้เรียกว่า หลงไปแบ่งแยก ทั้งๆที่ธรรมทั้งหลายมันก็โดยธรรมอยู่แล้วตลอด พอแจ้งแล้วมันก็จะไม่หลงไปขัดแย้งกับสรรพสิ่งทั้งปวงไปเอง สาธุๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2011
  9. Indesol

    Indesol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2011
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +30

    สู้สู้
    Merry Christmas ค่ะทุกคน
    ♥♥♥
     
  10. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    ปวดหัว...กะคนแบบนี้จัง มั่วได้ใจมากๆ ไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งไม่รู้ หา....
    ตั้กม้อ จี้กง เป็นพระสาวก หรือ พุทธะสาวก หรือ สาวกของพระพุทธเจ้า
    ไม่ใช่พุทธะเฉยๆ อันที่คุณพยายามกล่าวมาน่ะเป็นความคิดทางมหายาน
    เค้าว่าสรรพสัตว์มีจิตธาตุเดิมแท้เป็นพุทธจิต คือ ทุกชีวิตมีสิทธิ์การรู้แจ้ง

    แล้วงัย ตอนนี้เป็นช่วงเวลาศาสนาของ พระศากยะมุนีสัมมาสัมพุทธะเจ้า
    เลิกพูดถึงพระอื่นๆเถอะ มองมุมกลับนะ

    ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ไม่ประกาศพระศาสนา ก็ไม่มีพระโพธิสัตว์มากมาย
    ปรากฏมาโลดแล่น อามิตตาภะพุทธะ กวนอิม ตั้กม้อ จี้กง... ฯลฯ มากมายล้านแปด
    ล้วนติดค้างหนี้บุญคุณของ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน...ใช่หรือไม่

    แล้วมากล่าวแบบนี้...ผิดหลักความจริงไปนิดส์ อยู่กับปัจจจุบันธรรมดีกว่า อย่าปรุงแต่ง
    ปรับปรุงให้มากเลย คิดว่าตัวเองแน่จะแช่อยู่นาน..

    ยกตัวอย่างเรื่องภิกษุชาวโกสัมพี เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าดีกว่า....

    ๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕
    เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
    [๙๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ-
    บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุ
    ผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.
    ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคในพระวิหารนี้เลย
    นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียวโดยแท้. ถึงอย่างนั้น สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี
    ก็ยังตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่
    ตลอดไตรมาส ใครๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
    ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์.
    [๙๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ. ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
    พุทธประเพณี
    อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนี้ นั่น
    เป็นพุทธประเพณี.
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรอุปเสน พวกเธอ
    พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? พวกเธอเดินทางมาโดยได้รับความลำบากน้อยหรือ?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้า-
    ข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยได้รับความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า.
    ก็แลขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งเฝ้าอยู่ไม่ห่างพระผู้มี
    พระภาค จึงพระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ผ้าบังสุกุลเป็นที่พอใจของเธอหรือ?
    ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ผ้าบังสุกุล มิได้เป็นที่พอใจของข้าพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ก็ทำไมเธอจึงได้ทรงผ้าบังสุกุลเล่า ภิกษุ?.
    ภิ. พระอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้าทรงผ้าบังสุกุล, ข้าพระพุทธเจ้าจึงต้องทรงผ้าบังสุกุล
    อย่างนั้นบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรอุปเสน บริษัท
    ของเธอนี้น่าเลื่อมใสนัก, เธอแนะนำบริษัทอย่างไร?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ผู้ใดขออุปสมบทต่อข้าพระ-
    พุทธเจ้า, ข้าพระพุทธเจ้าบอกกะเขาอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาต
    เป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า
    บังสุกุลเป็นวัตรบ้าง, ฉันก็จักให้ท่านอุปสมบทตามประสงค์ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ
    จึงให้เขาอุปสมบท, ถ้าเขาไม่รับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ ก็ไม่ให้เขาอุปสมบท. ภิกษุใดขอนิสัย
    ต่อข้าพระพุทธเจ้าๆ บอกกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาต
    เป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า
    บังสุกุลเป็นวัตรบ้างได้, เราก็จักให้นิสัยแก่ท่านตามความประสงค์ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระ-
    พุทธเจ้าๆ จึงจะให้นิสัย, ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้นิสัย,
    ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัทอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, เธอแนะนำบริษัทได้ดีจริงๆ เออก็เธอรู้กติกาของสงฆ์
    ในเขตพระนครสาวัตถีไหม อุปเสน?.
    อุ. ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า.
    ภ. ดูกรอุปเสน สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ตั้งกติกากันไว้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มี-
    พระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์
    นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว, ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติ
    ปาจิตตีย์.
    อ. พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี จักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระ-
    พุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ
    ไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.
    ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้บัญญัติ หรือไม่ควร
    เพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบท ตามที่เราได้บัญญัติไว้. เรา
    อนุญาตให้พวกภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าหา
    เราได้ตามสะดวก.
    เวลานั้น ภิกษุหลายรูปกำลังรออยู่ที่นอกซุ้มประตูพระวิหาร ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักให้
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์. ครั้นท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัท
    ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว, จึงภิกษุเหล่านั้นได้ถามท่าน
    พระอุปเสนวังคันตบุตรดังนี้ว่า อาวุโส อุปเสน ท่านทราบกติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี
    ไหม?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย แม้พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งถาม
    กระผมอย่างนี้ว่า ดูกรอุปเสน เธอทราบกติกาของสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถีไหม? กระผม
    กราบทูลว่า ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์รับสั่งต่อไปว่า ดูกรอุปเสน สงฆ์ในพระนคร
    สาวัตถีได้ตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้น
    อยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว.
    ภิกษุใดเข้าเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์. กระผมกราบทูลว่า พระสงฆ์ในเขตพระนคร
    สาวัตถีจักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้
    ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่
    ทรงบัญญัติไว้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเลยทรงอนุญาตให้บรรดาภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือ
    บิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก ดังนี้.
    ภิกษุเหล่านั้นเห็นจริงด้วยในทันใดนั้นว่า ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร พูดถูกต้องจริง
    แท้, พระสงฆ์ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่ยังมิได้ทรงบัญญัติ หรือไม่ควรเพิกถอนสิกขาบทที่ทรง
    บัญญัติไว้, ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.
    [๙๓] ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
    เป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก. ภิกษุเหล่านั้น
    ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ต่างละทิ้งสันถัต พากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ บิณฑปาติก-
    ธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์.
    หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวประพาสตามเสนา-
    สนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นสันถัตซึ่งทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถัตเหล่านี้ของใคร ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้นๆ ?
    จึงภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว.


    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า....อย่าแสดงตนอวดเก่ง ประมาทล่วงเกินคำสอนพระศาสดา
    พระสาวกในสมัยพุทธะกาลท่านเคารพพระพุทธเจ้ามาก ไม่กล้าฝ่าฝืนพระบัญญัติ
    ตั้กม้อ จี้กง เป็นพระสาวก ชั้นหลังๆๆๆๆๆ จำไว้......
    คุณ วัชรธร ก็ด้วย สาวกชั้นปลายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แถว....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2011
  11. Daradai

    Daradai สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +2
    ^ ^


    :cool:อนุโมทนาค่ะ
     
  12. beibei

    beibei Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +26
    ขอบคุณคะ คุณวัชรธร สำหรับคำแนะนำดีๆ ^_^
     
  13. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    มันจริงหรอครับ ผมศึกษาพระพุทธเจ้า ก็เห็นมีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว พาไปนิพพานช่วยเหลือแสดงธรรมไม่ให้ไปหลงไหลในกามคุณ ผมไม่เคยเห็นแบ่งงานแบบนี้เลยงิ หรือว่าจริงๆเค้าแบ่งงาน
     
  14. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746

    ศาสนาแห่งพุทธะ มีพุทธะนับไม่ถ้วน
    ในบรรดาพุทธะเหล่านั้น มีผู้ตรัสรู้องค์
    แรก และเป็นดั่ง "เจ้า" ผู้ปกครองพุทธะ
    ทั้งมวล เรียกว่า "พระพุทธเจ้า" ซึ่งมีเพียง
    หนึ่งพระองค์ในหนึ่งพุทธกาล เท่านั้น
     
  15. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    พุทธะ ผู้ตรัสรู้ตามมาภายหลังพระพุทธเจ้า
    จะดำรงในฐานะ "สาวก" หรือ "พุทธสาวก"
    ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อละสังขาร
    แล้ว บางพระองค์หมดกิจ นิพพานไป


    บางพระองค์ยังมีกิจต่อ เช่น ได้อธิษฐานจิต
    ดูแลพระพุทธศาสนาต่อไปอีกจนถึงห้าพันปี
    ก็จะนิพพานเพียงขันธ์ห้า แต่ยังเหลือมโนธาตุ
    เรียกว่า "ดับรอบ" หรือ "ขันธปรินิพพาน" มิได้
    ดับมโนธาตุนิพพานหมดด้วย เมื่อสิ้นห้าพันปี
    แล้ว บางพระองค์จะทรง "ประกอบธาตุที่เหลือ"
    ขึ้นใหม่ แสดงปาฏิหาริย์ครั้งสุดท้าย แล้วจึงจะ
    กระทำการณ์ "ธาตุนิพพาน" แล้วนิพพานพร้อม
    กันทั้งพุทศาสนานั้นๆ


    พุทธะบางพระองค์ยังตั้งจิตอธิษฐานไปอีกว่าจะ
    ดูแลพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆ
    ไป เมื่อ "ขันธปริพพาน" แล้ว จิตยังไม่นิพพาน
    (นิพพานเฉพาะขันธ์) จิตจุติ (จุติจิต) ยังสุขาวดี
    แล้วจิตนั้นปฏิสนธิเกิดใหม่ในภพนั้นได้อีกเกิดเป็น
    "พระพุทธเจ้า" อีกพระองค์หนึ่งในภพนั้นๆ พร้อม
    เหล่าบริวารคือพระโพธิสัตว์ตามไปช่วยกิจอีกมาก
    เช่น พระอามิตาภะพุทธเจ้า ก็ทรงยังดำรงอยู่เพื่อ
    ช่วยพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ทั้งหลายทั้งปวงนั้น
     
  16. din555

    din555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2010
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +544
    พึงพิจารณาตามสภาวะแห่งธรรม ไม่มีอำนาจใดยิ่งใหญ๋ไปกว่าพระธรรม่ พุทธเจ้าทั้งหลาย ยังตรัสกล่าวสรรเสริญธรรม ธรรมเป็นของสากล เป็นของไม่มาไม่ไป เป็นของดำรงอยู๋อย่างนั้น ผู้ใด เห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต เป็นจริงดังพุทธองค์ตรัสไว้
     
  17. Indesol

    Indesol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2011
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +30
    สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...