จะสร้างเขื่อนหรือจะย้ายเมืองหลวงดีป้องกันน้ำท่วมกทม อีก10 ปีข้างหน้า

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 18 พฤศจิกายน 2011.

  1. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ป้องกันน้ำท่วม กทม 10 ปี ข้างหน้า


    จะสร้างเขื่อนหรือจะย้ายเมืองหลวงดี





    [​IMG]


    หากให้กล่าวถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาของ ประเทศไทยมากที่สุดคนหนึ่ง เป็นที่ยอมรับในความสามารถว่าหาตัวจับได้ยากยิ่ง ทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า จะต้องมีรายชื่อของบุคคลท่านนี้มาอยู่ในความคิดลำดับต้นๆ ของคนไทยอย่างแน่นอน และนั่นก็คือ "ดร.สมิทธ ธรรมสโรช" ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำ กยน. ​




    นาย สมิทธ ได้กล่าวกับทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า ไม่ได้เป็นห่วงกรณีที่ปริมาณฝนในประเทศไทย จะตกในปริมาณเพิ่มมากขึ้นในปีหน้าและปีต่อๆ ไป ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนในตอนนี้ ตามแนวโน้มภาวะโลกร้อนขึ้นสักเท่าไร แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดในตอนนี้กลับเป็นภาวะน้ำทะเลหนุนสูงขึ้น เพราะน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ละลายตามภาวะโลกร้อน ฉะนั้น ปริมาณน้ำในพื้นที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ก็จะสูงตามไปด้วยน้ำ และจะรุกลึกเข้ามาในผืนดิน ทำให้การระบายน้ำตามธรรมชาติก็ยากมากขึ้นไปด้วย ​

    ดร.สมิทธ ยอมรับว่า ตอนนี้ประเทศไทยก็กำลังประสบอยู่ แต่ไทยก็ยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เต็มที่ มีแต่การคำนวณปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เพียงพอ ความจริงแล้วนักวิชาการด้านน้ำจากต่างประเทศ ทั้งเนเธอร์แลนด์ หรือสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิเคราะห์ถึงเรื่องลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เวลามันพัดผ่านอ่าวไทย ทำให้เกิดคลื่นกระทบยังปากแม่น้ำบริเวณอ่าวไทย ทำให้น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การระบายน้ำตามธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน และบางปะกง ตามจังหวะน้ำขึ้น น้ำลง ทำได้ยากขึ้น ​

    ข้อมูลนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระบายน้ำของไทย ไม่เคยนำไปใช้เป็นข้อมูลใหม่ เพราะปัจจุบันภูมิอากาศโลกมีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลก็ไม่เคยหยิบนำไปใช้คำนวณ หากรัฐบาลหรือกรมชลประทานนำไปใช้ร่วมด้วย ก็จะมีความแม่นยำมากขึ้น จะคำนวณน้ำขึ้นน้ำลงจากดวงจันทร์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องทราบข้อมูลผลกระทบกรณีที่มีลมมรสุมพัดผ่านอ่าวไทยไปคำนวณร่วมด้วย ยิ่งปัจจุบันก็ปรากฏชัดว่า มีพายุหรือมรสุมพัดเข้ามาอ่าวไทยถี่มากขึ้น ซึ่งทำให้การระบายน้ำลงทะเลทำได้ยาก และช้ามากกว่าเดิม ซึ่งข้อมูลอย่างนี้เราต้องเอาไปใช้ จึงจะสามารถทราบว่าน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นเท่าใด เพราะนั่นเป็นสิ่งทำให้เกิดปัญหาระบายน้ำลงสู่ทะเลไม่มีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ทราบว่า เมื่อเสนอข้อมูลนี้ไปแล้ว รัฐบาลจะฟังหรือเปล่า
    ดร.สมิ ทธ ย้ำว่า ต้องนำไปใช้ด้วย ไม่ใช่ฟังแต่น้ำขึ้นน้ำลงอย่างเดียว ซึ่งมันโบราณแล้ว สมัยใหม่สามารถคำนวณได้มากกว่านั้น อย่างเช่น ลมพัดผ่านอ่าวไทยทำให้เกิดคลื่นเข้าไปปะทะบริเวณปากแม่น้ำอย่างไร ทำให้เกิดเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำลงสู่ทะเลตามธรรมชาติก็ช้าลง อันนี้ต้องเอาข้อมูลไปใช้ อันนี้มันมีผลกระทบจริงๆ อีกอันที่ต้องยอมรับ คือมีคนกล่าวหาว่าผมชอบไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล มันไม่ใช่รัฐบาลนี้รัฐบาลเดียว แต่เพราะรัฐบาลก่อนๆ มา การปล่อยน้ำมาเป็นจังหวะๆ มันยังน้อย แต่รัฐบาลนี้ตอนเปลี่ยนรัฐบาลมีการปล่อยน้ำลงมาเยอะพร้อมๆ กัน 3 เขื่อนใหญ่ ทำให้ปริมาณน้ำมันก็มาก ที่ราบลุ่มภาคกลางก็ไม่สามารถรับน้ำได้มากเพียงพอ ​

    "แล้วต่อไปยอมรับว่า แนวโน้มปริมาณฝนจะตกมากขึ้น แต่ปี 2553 ความจริงเราเก็บน้ำในเขื่อนปริมาณน้อยไป พอหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำใช้ทำการเกษตร หรือปล่อยน้ำไปไล่น้ำทะเลปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา คือน้ำในเขื่อน จะต้องเก็บพอดี มากไปก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ดี ต้องเก็บไว้พอดีๆ ปลายฤดูฝนเก็บน้ำไว้มากไม่เป็นไร แต่ถ้าเก็บไว้มากตั้งแต่ต้นฤดูฝน พอฝนตกลงมา กลางฤดูจนถึงปลายฤดูเราก็ไม่มีที่เก็บน้ำในเขื่อนแล้ว มันจึงเกิดปัญหา ดังนั้นขั้นตอนการเก็บน้ำที่ผ่านมามันเก็บไม่ถูกจังหวะ ประกอบกับคนที่สั่งเก็บกับสั่งปล่อยคนละงานกัน พอปล่อยมาแล้ว คนที่จะมาระบายก็คนละคนกันอีก ปล่อยน้ำมาแล้ว กทม.ก็ไม่ยอมให้น้ำเข้ามา น้ำเลยไม่รู้จะไปไหน เพราะระบบระบายน้ำ กทม.ดีที่สุดในประเทศ ถ้าปล่อยน้ำมาตั้งแต่ต้นฤดูฝน กทม.ก็สามารถระบายออกได้ไม่มีปัญหา น้ำก็จะไม่ขังอยู่เหนือ กทม.มาก แต่พอปล่อยน้ำออกมาปริมาณมากพร้อมๆ กัน ก็เลยไม่ยอมเปิดประตูระบายน้ำ เพราะเกรงว่าจะรับไว้ไม่อยู่น้ำจึงท่วมขังมาก" ดร.สมิทธ กล่าว.​

    ประธาน มูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังยืนยันอีกว่า อนาคตปริมาณน้ำทั่วโลกจะมากขึ้น เกิดจากภาวะโลกร้อน เพราะน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นอย่างแน่นอน ในเวลาประมาณอีกไม่เกิน 10-11 ปี จากนี้ไปถึงแม้ไม่มีฝนตกลงมาแต่น้ำก็จะท่วม อันนี้เราต้องหาทางแก้ไข จะแก้ยังไง แก้ปํญหาเหมือนกับประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างเขื่อนปิดกั้นปากแม่น้ำหรือไม่ หรือจะย้ายเมืองหลวงอย่างที่หลายฝ่ายออกมาพูดกัน ในตอนนี้ก็ต้องเลือกเอา แต่ความเห็นส่วนตัวย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปที่อื่น ถือเป็นเรื่องใหญ่ คนตั้ง 10 ล้านคนจะหาที่อยู่ที่ไหน แล้วหากจะย้ายเมืองหลวงจริง มันไม่ใช่ย้ายแค่ 1-2 ปี แต่ต้องเป็น 10 ปี อย่างพม่าย้ายเมืองหลวงตั้ง 40 ปี ก็ยังย้ายไม่เสร็จ ของไทยพูดได้แต่ทำยาก ทางแก้ต้องสร้างเขื่อนในอ่าวไทย อย่างที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ทำ หรืออย่างนักวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอไว้ ผมก็เห็นด้วยในการสร้างเขื่อนบริเวณอ่าวไทย เพื่อป้องกันน้ำท่วมจากกรณีน้ำทะเลสูงขึ้น ป้องกันน้ำท่วม กทม.ความจริงส่วนตัวศึกษามานานแล้ว เวลาไปบรรยายหนุนให้ประเทศไทยสร้างเขื่อนในอ่าวไทยป้องกันน้ำท่วมทีไรก็ถูก ต่อว่าทุกครั้ง
    ดังนั้นส่วนตัวยอมรับว่าเห็นด้วยในการสร้างเขื่อน บริเวณปากแม่น้ำอ่าวไทย เพราะสร้างแล้วในฤดูแล้งตรงนั้นก็เป็นน้ำจืดสามารถเก็บน้ำไว้ใช้งานได้ ส่วนหน้าน้ำก็จะกลายเป็นแก้มลิง มีประตูปิด-เปิด ระบายน้ำออกสู่ทะเล จัดระบบให้ดี​

    ส่วนกรณีที่มีหลายคนสงสัยว่า ถ้าสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำบริเวณอ่าวไทย ก็เหมือนเป็นการปิดกั้นน้ำไหลลงสู่ทะเล ซึ่งตอนนี้ก็เห็นอยู่แล้วว่าระบายน้ำออกไม่ทัน แล้วจะไม่แย่หรือ? ดร.สมิทธ ระบุว่า ต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่สร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำที่จะไหลลงสู่ทะเล แต่สร้างเขื่อนลงไปในทะเลแล้วให้น้ำจืดในแม่น้ำไหลลงมาให้สุดในพื้นที่ที่ เตรียมไว้ก่อน แล้วจึงเปิดประตูระบายน้ำออกสู่ทะเลเวลาน้ำทะเลลง ถ้าน้ำทะเลขึ้นก็ปิด ไม่ให้น้ำทะเลหนุน ซึ่งจะสามารถควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลได้ด้วยไม่ให้มากเกินไป เพราะอาจทำให้้สัตว์น้ำในทะเลตาย แล้วระบบการระบายน้ำของเราก็จะมีประสิทธิภาพมาก ทั้งนี้ไม่ใช่การสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำทันทีอย่างที่เข้าใจกัน หากสร้างลักษณะนั้น น้ำในแม่น้ำก็จะเอ่อออกมาท่วมข้างๆ ได้​

    ดร.สมิทธ กล่าวยืนยันแนวคิด ต้องสร้างเขื่อนปิดตั้งแต่ บริเวณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ไปจนถึงบริเวณ ปากแม่น้ำบางปะกง ใน จ.ฉะเชิงเทรา รวมระยะทางประมาณ 90 กม. จึงจะแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างได้ผล แต่ทั้งหมดต้องเป็นนโยบายระดับชาติเป็นผู้ดำเนินการจึงจะมีโอกาสสำเร็จ ความจริงผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้เคยมาศึกษาไว้ให้แล้ว ขณะที่ประเทศเวียดนามเพื่อนบ้านเราก็สร้างเขื่อนยาว ถึง 33 กิโลเมตร ป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปท่วมประเทศเสร็จแล้วเช่นกัน และยังส่งรูปมาให้ผมดูด้วย ​

    ดร.สมิทธ กล่าวอีกว่า "ยืนยันไม่มีหนทางอื่นในการแก้ปัญหาอย่างได้ผลอีกแล้ว หากไม่สร้างเขื่อนก็ต้องย้ายเมืองหลวง ทำอะไรอย่างอื่นไม่ได้แล้ว เพราะต้องยอมรับ กทม. เป็นหนึ่งในเมืองหลวงของโลกที่จะถูกน้ำท่วมในอนาคต หากไม่มีการแก้ไข แต่มันก็ไม่ใช่ไทยประเทศเดียว สิงคโปร์ก็โดน สิงคโปร์กำลังพิจารณาสร้างเขื่อนรอบๆ เกาะป้องกันน้ำท่วม กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หรือจะเป็นเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ก็เช่นกัน ญี่ปุ่นก็คงโดนหลายเกาะ
    หากรัฐบาลตัดสินใจดำเนินการจริงๆ ก็จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งที่ท่วมจากน้ำทะเลหนุนสูง หรือจากปริมาณน้ำเหนือในอนาคตได้ รวมทั้งยังได้ผลพลอยได้ คือได้ถนนบนสันเขื่อน 4 เลนขนาดใหญ่ และสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 7 เมตร ซึ่งสามารถเดินทางจากกรุงเทพลงไปภาคใต้ หรือจากภาคใต้ตรงไปภาคตะวันออกเลยทีเดียว แต่ต้องเข้าใจว่า ไม่เหมือนโครงการถนนในทะเลของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยเสนอจะสร้างจนเป็นที่เกรียวกราวมาแล้ว เพราะนั่นอาจใช้ประโยชน์ได้เพียงด้านเดียวคือเป็นถนน ไม่คุ้มค่า แต่นี่จะใช้เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมด้วย พร้อมกับได้แลนด์บริดจ์น้ำจืดด้านหนึ่ง อีกด้านเป็นน้ำทะเล สามารถเก็บน้ำจืดไว้ใช้ประโยชน์ได้ในยามหน้าแล้ง ส่วนหน้าน้ำก็ใช้เป็นแก้มลิงระบายน้ำลงทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
    "หาก ดำเนินการได้ตามนี้ เชื่อว่าประเทศไทยจะพ้นจากปัญหาน้ำท่วมขังทั้งจากน้ำทะเลหนุนสูง และปัญหาน้ำเหนือหลากลงมาระบายลงทะเลไม่ทัน ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยใหญ่อย่างที่เป็นอยู่ได้ ทำให้เกิดแนวคิดเสนอให้มีการย้ายเมืองหลวงจาก กทม.ไปอยู่ที่อื่นไม่ว่า จะเป็นที่ จ.เพชรบุรี นครนายก หรือเพชรบูรณ์อาจหมดไป และจะป้องกันน้ำท่วมกทม.เมืองหลวงของประเทศไทยไปในอนาคตอย่างน้อยอีก 30-40 ปี ข้างหน้า เลยทีเดียว แต่คงไม่ใช่ชั่วกัลปาวสานอย่างที่เป็นข่าวกัน ก็อยู่ที่ว่ารัฐบาลชุดนี้และชุดต่อๆ ไป จะกล้าตัดสินใจหรือไม่?" ดร.สมิทธ กล่าว​



    (จะสร้างเขื่อน หรือจะย้ายเหมืองหลวงก็ดี ที่ลืมไม่ได้คือแนวพระราชดำริของในหลวงที่ได้ทรงพระเมตตาให้แนวทางในการปฏิบัติไว้ การลงทุนอาจใช้งบประมาณสูง แต่ทำดีเดียวคุ้มกว่าที่รัฐจะต้องมาเสียเวลาและเสียงบประมาณมากมายซ้ำแล้วซ้ำอีก ถ้ารัฐ นักการเมือง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็คงต้องมีผู้คนที่มองเห็นภาพการณ์ไกลว่าคงต้องพากันเตรียมอพยพอยู่ที่เหมาะ สมกันเอง เพราะไม่ใช่แต่ภัยธรรมชาติอย่างเดียว แต่จะเป็นภัยจากคนไทยทะเลาะกันเองด้วย)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2011
  2. thepeng

    thepeng Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2011
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +48
    สร้างเขื่อน แล้วถ้ามึคนไปพังเขื่อนล่ะครับ
    จริงๆปัญหามันเกิดจากคนน๊าา
    จะย้ายเมือง จะสร้างเขื่อน ก็ ไม่จบอ่ะครับคนสมัยนี้จิตใจไปถึงไหนแล้วก็รู้ๆอยู่
     
  3. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,860
    จะสร้างหรือจะย้าย.....

    อยู่ที่ว่าผู้มีอำนาจจะเชื่อใครมากกว่ากัน

    แต่ไม่ต้องรอถึง 10 ปี หรอก.......โยม
    เดี๋ยวเค้าก็มาไล่แล้ว.....5555555
     
  4. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ปีหน้า ตัวอย่างจังหวัดที่ถูกท่วมหนักๆ ไปแล้วปีนี้ อย่าง นครสวรรค์ อยุธยา (ไม่รู้ สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง จะเอาด้วยไหม) ก็จะสร้างเขื่อนให้สูงใหญ่กว่าเก่า

    คาดว่า ถ้าต่างคนต่างกั้น ประสิทธิภาพเขื่อนของเขา จะช่วยไล่น้ำเหนือ ให้ไปทางอื่น ก็ไม่ใช่ที่ไหน จังหวัดที่จะรับน้ำ ก็คือ กทม. อีกแล้วคับทั่น

    ว่าแต่เขื่อน กทม. จะสร้างทัน ได้รับมือน้ำระลอกใหม่ไหม เพราะถ้าเจออย่างปีนี้อีก หลังน้ำลด สตางค์ในคลังหลวง ต้องเอามากระจาย จ่ายค่าความเสียหายจิปาถะ กันไม่หวาดไม่ไหว เข้าทำนอง เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย แล้วถ้าปีต่อๆ ไป มาตรการป้องกันไม่ได้เรื่องอีก ก็เสียหายซ้ำซาก เข้าอีหรอบเก่า

    ส่วนเรื่องย้ายเมือง จ่ายหนักที่เดียวจบ และก็เป็นธรรมดา ทำอะไรที่ริเริ่มใหม่ เป็นไปไม่ได้ จะไม่มีเสียงคัดค้าน ก็เลือกเอา

    ถ้าไม่อยากมีภาระผูกพัน กับการซ่อมเมือง จากภัยธรรมชาติกันอยู่เรื่อยๆ ก็ย้ายดีกว่า ในลักษณะของการกระจายความเจริญ ไปที่เมืองอื่นๆ ไม่ใช่เอามารวมศูนย์อำนาจ แบบที่กรุงเทพฯ เป็นอยู่

    เลือกดีๆ ทำเลใหม่ อาจจะให้ปากช่องเป็นศูนย์กลางราชการ สระบุรีเป็นเมืองธุรกิจ นครนายกเป็นเมืองการศึกษา คือ สร้างระบบเมืองกลุ่มขึ้นมา ดีกว่าทู่ซี้อยู่ไป ทั้งที่มีงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ออกมาเตือนแล้วเตือนเล่า ว่ากรุงเทพฯ แผ่นดินทรุด ต่อไปจะจมน้ำ

    ปี 2554 แค่หนังตัวอย่าง ฉายจริง ปีหน้า 2555
     
  5. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ที่ราบสูงโคราช ปากช่อง เป็นคำตอบของเมืองใหม่
     
  6. P a ii P a ii z

    P a ii P a ii z สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +12
    .. เห็นด้วยค่ะ กลัวอะไรกับการเปลี่ยนแปลง .. [​IMG]
     
  7. phank

    phank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2008
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +1,278
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ^^
     
  8. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ปีหน้า ถ้าต่างฝ่ายต่างทำเขื่อนสูงๆ กั้นไม่ให้น้ำเข้าจังหวัดตัวอง เพราะไม่อยากเอาน้ำเน่ามาแช่เมืองไว้นานๆ

    มวลน้ำก็จะไหลหาจังหวัดท้ายน้ำ หาทางลงทะเลตามธรรมชาติของมัน แต่คนจังหวัดท้ายน้ำ จะโวยคนจังหวัดข้างบน ทะเลาะกันใหญ่โต ยิ่งกว่าเรื่องรื้อบิ๊กแบ๊ก

    แต่กลัวมันจะไม่ใช่แค่น้ำ กลัวมันจะพ่วงเรื่องดินมาด้วย อันนั้นล่ะหนักกว่าเก่า
     
  9. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    ย้ายๆ ไปก็ดีค่ะ กรุงเทพจะได้โล่งๆ เหมือนวันหยุดยาวต่างๆ (แฮ่ๆ แอบดีใจ)
    ก็ใครๆ ก็เข้ามาหาอะไรๆ ในกรุงเทพ แล้วก็ว่ากรุงเทพโน้นนี้นั้น
    ทุกท่านต่างก็มา ต่างก็ไป ต่างก็ฝากไว้ ต่างก็ร่วมกันใช้ ต่างก็ร่วมรับผลอันเกิดจากเหตุ
    อยู่ที่ไหนอยู่ได้อยู่ดีอยู่ดีมีสุขก็น่าไปอยู่เนอะ
    เมื่อถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม...เมืองหลวงแห่งใหม่...ก็คงปรากฏในสักวัน
     
  10. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ตอนนี้ไม่มีอะไรดีกว่า ให้คอยดูกันไป ไม่ต้องไปเครียดเกินเหตุ ของอย่างนี้ มันเป็นธรรมดา ของการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

    แล้วก็จะมาเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ระดับเตือนก่อน ซึ่งก็เตือนมาแล้ว ตั้งแต่ 2 - 3 ปีก่อน คนไม่ช่างสังเกตก็ไม่รู้ว่าเตือน

    แต่ที่แน่ๆ หลายอย่าง มันจะชัดขึ้นเรื่อยๆ แหละ
     
  11. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    [​IMG]

    สถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา สร้างความตึงเครียดให้กับผู้ที่ประสบปัญหา ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกเมืองต่าง ก็ต้องกังวลถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น กับทรัพย์สินและชีวิต

    ปกติแล้ว ประชาชนหรือผู้รับผิดชอบในการป้องกันน้ำท่วม มักจะคิดถึงปัญหาน้ำท่วมเฉพาะช่วงฤดูน้ำหรือฤดูฝนเท่านั้น ทั้งที่จริงๆ แล้วปัญหาที่เกิดจากน้ำนั้น มีมากมาย ไม่ว่าปัญหาน้ำมาก น้ำน้อยและน้ำเสีย

    ซึ่งทุกปัญหา ยังไม่มีหนทางที่จะแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือในภาพรวมก็คือ ยังไม่มีใครแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง ที่แก้ไขได้ส่วนใหญ่ ก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือเฉพาะพื้นที่เท่านั้น

    คำถามที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำท่วมคือ

    ในระยะยาว ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จะบรรเทาได้มากน้อยเพียงใด ?

    ใคร หรือองค์กรใด ที่ควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ?

    เพราะตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา จะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน และเป็นปัญหาที่ประสบกันมาตลอดคือ แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วม

    ต่างดำเนินการ โดยแทบจะไม่มีการร่วมมือ หรือความเห็นชอบ จากหน่วยงานอื่น ที่อาจได้รับผลกระทบ จากโครงการ เสมือนต่างคนต่างทำ

    หรือบางหน่วยงาน ก็สร้างโครงการ โดยไม่ได้พิจารณาถึงการกีดขวางทางน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วม และเป็นผลเสียหายต่อประชาชน

    ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ ที่รัฐจะต้องพิจารณาอย่างแท้จริง ว่า แผนการแก้ไขปัญหาต่างๆ จะต้องเป็นแผน ที่พิจารณาองค์ประกอบทุกด้าน อย่างบูรณาการ ไม่ใช่เฉพาะ ด้านใดด้านหนึ่ง

    การป้องกันน้ำท่วม และบรรเทาอุทกภัยนั้น สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้สิ่งก่อสร้าง เช่น

    เขื่อน

    คันกั้นน้ำ

    สถานีสูบน้ำ

    ขุดคลองเพิ่ม เป็นต้น

    แต่สิ่งที่หน่วยงานของรัฐ แทบจะไม่ได้พิจารณากันเลย คือ มาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง เช่น

    การกำหนดการใช้ที่ดินริมน้ำ

    การใช้ที่ดินในทางน้ำท่วม

    การเตือนภัย

    การประกันทรัพย์สิน

    และอื่นๆ อีกหลายมาตรการ

    โดยรัฐบาล จะต้องมีองค์กรที่รับผิดชอบ ในการดำเนินการโดยตรง และชัดเจน ไม่ใช่ให้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะจะไม่มีประโยชน์อันใด ในระยะยาวเลย

    เคยมีการเสนอให้มีการจัดการทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรน้ำ ในระดับลุ่มน้ำ ซึ่งประเทศไทยมีลุ่มน้ำขนาดต่างๆ มากมาย ที่ขึ้นทะเบียนเป็นลุ่มน้ำหลัก มี 25 ลุ่มน้ำทั้งประเทศ

    แต่สำหรับลุ่มน้ำขนาดกลาง และขนาดเล็ก ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างแท้จริง ทั้งที่มีประชาชน อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำเหล่านั้น อีกมาก

    โดยลุ่มน้ำขนาดกลาง บางลุ่มน้ำ ก็ก่อให้เกิดความเสียหาย จากการเกิดน้ำท่วมอย่างมากมาย

    เช่น ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ซึ่งไหลผ่านเทศบาลนครหาดใหญ่ เนื้อที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,400 ตารางกิโลเมตร ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา หรือลุ่มน้ำชี แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม ในปี 2543 นั้น มากกว่า 10,000 ล้านบาทและมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

    ในกรณีลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา เมื่อมีการวิเคราะห์ การบริหารจัดการน้ำ เพื่อบรรเทาอุทกภัย ได้มีการนำมาตรการ ต่างๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ ทั้งมาตรการใช้ และไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง

    สำหรับการใช้สิ่งก่อสร้าง มีทั้งการสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ ปรับปรุงคลองธรรมชาติ และสร้างคลองใหม่

    แต่เมื่อวิเคราะห์ทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถรองรับน้ำท่วมได้ เท่ากับที่เคย เกิดในปี 2543 ปรากฏว่า

    การสร้างทางระบายน้ำเลี่ยงพื้นที่ชุมชน (เทศบาลนครหาดใหญ่) การสร้างคันกั้นน้ำ (polder) สำหรับแต่ละชุมชน ที่คลองอู่ตะเภาไหลผ่าน ก็ยังไม่สามารถ ที่จะช่วยในการระบายน้ำได้อย่างสมบูรณ์

    จำเป็นต้องใช้มาตรการชะลอน้ำ และหาพื้นที่ให้น้ำ ที่เกินความสามารถของทางระบายน้ำเลี่ยงจากพื้นที่ชุมชน

    โดยใช้พื้นที่ต่ำ และเป็นพื้นที่น้ำท่วมในอดีต (flood-plain area) เป็นพื้นที่ควบคุมน้ำส่วนที่เกินจาก ขีดความสามารถรองรับได้ ของคลองระบายน้ำ

    ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เมือง และอยู่เหนือพื้นที่ชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ จะรู้จักพื้นที่เหล่านี้ว่า พื้นที่สีเขียว

    จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปัญหาน้ำท่วม ที่เกิดในพื้นที่ต่างๆ เกิดจากปริมาณน้ำ ที่มากเกินความสามารถ ในการรองรับของคลองธรรมชาติ

    หน่วยงานที่รับผิดชอบ ต่างมองหามาตรการ ที่สะดวกและง่าย ต่อการดำเนินโครงการ

    ต่อไปในอนาคต การสร้างเขื่อน เป็นมาตรการลดปริมาณน้ำ ที่จะไหลผ่านพื้นที่ป้องกัน เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะเข้ามาดำเนินการ เปิด - ปิด ประตูน้ำ

    ถ้าน้ำน้อย ก็จะเก็บน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป แต่ถ้าน้ำมากเกินไป ก็จะปล่อยน้ำออกมา เพื่อความปลอดภัยของเขื่อน

    บางครั้ง ความที่ประชาชนต่างคิดว่า มีเขื่อนแล้ว จะสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ อย่างสมบูรณ์

    โดยส่วนใหญ่ แทบจะไม่เคยคิดว่า การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จะต้องมีการคำนวณว่า จะสามารถรองรับน้ำ ที่จะไหลเข้าเขื่อนได้ ในปริมาตรเท่าใด

    ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อน ถ้ามากกว่าที่ได้ออกแบบไว้ เขื่อนก็ไม่สามารถรองรับได้ น้ำส่วนเกิน ก็จะต้องถูกปล่อยจากเขื่อน

    ดังนั้น การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จะต้องสร้างในพื้นที่ ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้อย่างพอเพียง มีพื้นที่เพียงพอ ต่อการเก็บน้ำ ที่สามารถให้ความปลอดภัยกับประชาชนท้ายน้ำ

    ซึ่งถ้าสามารถดำเนินการได้ ตามที่กำหนด ก็จะปลอดภัยต่อการป้องกันน้ำท่วม

    แต่ปัญหาที่ตามมา และเป็นปัญหาที่เกิดในปัจจุบัน คือ สถานที่ตั้งเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ
    ส่ วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่ภูเขา และต้องมีพื้นที่น้ำท่วม ตามปริมาณความต้องการเก็บกัก ปกติจะต้องกว้างพอ ที่จะรองรับปริมาณน้ำ ที่ได้ออกแบบไว้

    ซึ่งจะมีผลกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้และสัตว์ป่า รวมถึง ประชาชนที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่อ่างเก็บน้ำ และที่สำคัญ การก่อสร้างเขื่อน ที่มีขนาดใหญ่มากเท่าใด ค่าก่อสร้าง ก็จะมากตามไปด้วย

    รวมถึง ค่าชดเชยให้กับประชาชน ที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ ที่ทำมาหากินอีกด้วย

    เมื่อเปรียบเทียบกับ การให้มีพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่ชะลอน้ำนั้น มีความแตกต่างกันมาก ถ้ามีการศึกษาในรายละเอียด และมีมาตรการควบคุม การใช้ที่ดินที่ดี และมีประสิทธิภาพ จะสามารถลดปัญหา การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อย่างถาวรได้

    ประชาชนไม่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ทำมาหากิน

    มีการช่วยเหลือด้านการเกษตรกรรม

    มีการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม

    ซึ่งถ้ามีการจัดการที่ดี ก็คงจะไม่ต้องมีการชดเชยกันทุกปี

    สิ่งที่ยากต่อการปฏิบัติคือ การควบคุมการใช้ที่ดิน และการให้ประชาชนยอมรับให้น้ำท่วมพื้นที่ทำมาหากิน จึงควรมีการพิจารณาว่า ถ้ามีการควบคุมการใช้ที่ดิน ที่ชัดเจนและถูกต้อง พื้นที่ ที่อาจถูกน้ำท่วม จะเกิดความเสียหายมากน้อยเพียงใด

    ระยะเวลา และระดับน้ำที่ท่วมในพื้นที่ จะเป็นเท่าใด ใคร ควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ ในการจ่ายหรือชดเชยความเสียหาย ที่เกิดขึ้น

    และที่สำคัญ ใคร ควรจะเป็นผู้ที่เข้ามาจัดการ เพื่อให้เกิดเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับความเสียหาย

    การบริหารและจัดการ เพื่อการอนุรักษ์ในพื้นที่ จะมีการดำเนินการเช่นใด

    การบรรเทาอุทกภัยโดยการสร้างเขื่อนนั้น เป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวก สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบ แต่เมื่อพิจารณาผลดีและผลเสีย

    โดยการนำมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างเข้ามาร่วมพิจารณาเปรียบเทียบ ผลลัพธ์ส่วนใหญ่ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เขื่อน อาจจะไม่มีความจำเป็น ในการบรรเทาน้ำท่วมเลย

    ถ้าไม่นับผลพลอยได้อื่นๆ เช่น การเก็บกักน้ำ สำหรับเป็นน้ำใช้ เพื่อการประมงและอื่นๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์อีกหลายด้าน

    การนำมาตรการอื่นมาใช้ นอกเหนือจากเขื่อน อาจจะมีผลดีมากกว่า แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังมีปัญหาอีกหลายด้าน ที่จะต้องพิจารณา เช่น

    กฎหมายในการควบคุมการใช้ที่ดิน ที่มีประสิทธิภาพ

    การยอมรับค่าชดเชย จากความเสียหายที่เกิดขึ้น

    และการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการดำเนินโครงการ หรือการบริหารจัดการ การบรรเทาอุทกภัย

    http://www.seub.or.th/index.php?opt...libery&catid=60:2009-11-12-08-41-01&Itemid=75

    หมายเหตุ

    บทความชิ้นนี้เรียบเรียงจากบทความเรื่อง “จำเป็นแค่ไหน ในการใช้เขื่อนเพื่อการบรรเทาอุทกภัย” เขียนโดย ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

    [​IMG]
     
  12. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]


    แก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ตามรอยพระราชดำริในหลวง


    ภายใต้เป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ของคณะกรรมการ 2 ชุด ที่ประกอบไปด้วย คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ หรือ กยอ. (Strategic Committee for Re-construction and Future Develop-ment : SCRF)

    และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. (Strategic Committee for Water Resources Management : SCWRM) ซึ่ง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการ กยอ. ประกาศว่า “จะต้องไม่เกิดน้ำท่วมหนักแบบปีนี้อีก...ชั่วกัลปาวสาน” นั้น

    สิ่ง แรกที่คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด ซึ่งขึ้นตรงต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะต้องทำเพื่อให้สัญญาประชาคมข้างต้นสัมฤทธิผลโดยเร็ว

    ก็ คือ ดำเนินการตามทฤษฎีแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภายใต้แนวทางการบริหารจัดการน้ำท่วมล้น (Flood Management) ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานไว้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ มูลนิธิชัยพัฒนา ได้นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไปทางอินเตอร์เน็ต

    ทั้งนี้ จากการที่ทรงห่วงใยปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาคอยู่เสมอมา นับตั้งแต่ปี 2526, 2538, 2539, 2543, 2551, 2553 กระทั่งถึงปี 2554 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ ของพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมทรงคำนึงถึงการเลือกใช้วิธีการต่างๆที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และสมรรถนะของกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ จนถึงงบประ-มาณรายจ่ายไว้ครบถ้วน ก่อนพระราชทานเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

    1.ก่อสร้างคันกั้น น้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้ง โบราณในขนาดที่เหมาะสม ขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่างๆด้านใน เช่น คันกั้นน้ำโครงการมูโนะ และโครงการปิเหล็งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

    2.ก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นให้ออกไป การก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่นี้ จะเชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม โดยให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุด ขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเลตามความเหมาะสม ซึ่งการดำเนินการสนองพระราชดำริวิธีนี้จะดำเนินการโดยกรมชลประทานเพื่อแก้ไข ปัญหาน้ำท่วม เช่นที่เกิดขึ้นจากแม่น้ำโก–ลก เข้ามาท่วมไร่นาของราษฎรเสียหายหลายหมื่นไร่ทุกปี การขุดคลองมูโนะได้ช่วยบรรเทาลงได้เป็นอย่างดี เป็นต้น

    3.ปรับปรุง และตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไป ตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้ โดยใช้วิธีการขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น, ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ, กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้น

    ส่วนลำน้ำที่คดโค้งมาก ก็ให้หาทางขุดคลองใหม่เป็น “ลำน้ำสายตรง” ให้น้ำไหลสะดวก

    การ ก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเป็นมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่สำคัญประการหนึ่งใน การกักเก็บน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก โดยเก็บไว้ทางด้านเหนือเขื่อนในลักษณะอ่างเก็บน้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการตามแนวพระราชดำริไว้หลายแห่ง และการป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในระดับประเทศก็ประสบความสำเร็จ ไปแล้วหลายจุด เช่น โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก, โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน

    สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริที่ให้มีการสร้าง “แก้มลิง” นั้น ก็ได้ทรง พระราชอรรถาธิบายไว้ว่า

    สภาพธรรมชาติดั้งเดิม ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีลักษณะลุ่มต่ำนั้น ทำให้การระบายน้ำยามเกิดภาวะน้ำท่วมออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อย ทั้งยังมีหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขิน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมขังยาวนาน จึงทรงมีพระราชดำริว่า

    “ลิง” โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว จากนั้นจะเอาไปเก็บไว้ที่ “แก้ม” ถ้าให้ทั้งหวี “กระพุ้งแก้ม” ลิงก็ สามารถเก็บได้เกือบทั้งหวี เก็บไว้ที่แก้มแล้ว จึงนำมาเคี้ยวกลืนเพื่อบริโภคภายหลัง...เปรียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วม ก็ขุดคลองต่างๆเพื่อชักน้ำให้มารวมกัน แล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ อันเปรียบได้กับ “แก้มลิง” แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง

    ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิงที่พระราชทานไว้ก็คือ 1.เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่หรือแก้มลิงต่อไป 2.เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองออกทางประตูระบายน้ำ ตามทฤษฎีแรงโน้มถ่วง (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ

    3.สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิงให้ระบาย ออกในระดับต่ำที่สุด ออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆไหลมาเองตลอดเวลา จะส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง และ...4.เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการ ปิดประตูระบายน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)

    การที่โครงการแก้มลิงจะมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จ ตามแนวพระราชดำริได้ จะต้อง 1.พิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่ บ่อพักน้ำ 2.เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ และ 3.การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

    จากหลักการข้างต้น ทรงแบ่งรูปแบบโครงการแก้มลิงเป็น 2 ส่วน ดังนี้คือ 1.โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำการรับน้ำฝั่งตะวันออก ตั้งแต่สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ มาตามคลองสายต่างๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ โดยพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสม เป็นบ่อพักน้ำเพิ่มเติมโดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือ-ใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยานุชิต คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้าและออกจากบ่อพักน้ำ

    2.โครงการแก้ม ลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปคลองมหาชัย-สนามชัย และแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

    นอกจากสภาพพื้นที่แถบนั้น ยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยา และคัน กั้นน้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้น เมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหนุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหลออกทะเล ได้ช้ามาก ก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวัน

    เพื่อให้ การระบายน้ำท่วมออกสู่ทะเลเร็วขึ้น ทรงชี้แนะให้ดำเนินการ โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง โดยใช้หลักการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน ด้วยการเปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้น ไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำที่ไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำ เมื่อน้ำทะเลมีระดับสูง

    โครงการ นี้จัดเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคต ที่นอกจากจะช่วยบรรเทาอุทกภัยให้พื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังช่วยป้องกันน้ำเค็มรุกเข้าไปในแม่น้ำท่าจีน ในฤดูแล้ง (ม.ค.-พ.ค.) ขณะที่สามารถนำน้ำไปใช้ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคได้อีกด้วย

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระ ราชทานวิธีการก่อสร้างโครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไว้อย่างละเอียด เพื่อให้ปวงชนชาวไทยรอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญจากมหา อุทกภัยมาสู่ชีวิตที่เคยอบอุ่นปลอดภัย

    ถ้าเพียงแต่รัฐบาลและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้อง ก็จะสามารถช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่างๆไม่ให้ต้องประสบภัยอย่างที่เป็นมา หรือที่กำลังเป็นอยู่ และเป็นอยู่มานานกว่า 1-2 เดือนเช่นในปัจจุบัน.

    ที่มา:แก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ตามรอยพระราชดำริในหลวง - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  13. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    การออกแบบแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน


    สภาวะ ที่ถือว่าเป็นวิกฤติชาติในขณะนี้ คือปัญหาน้ำท่วม ที่นับปีจะทวีความรุนแรงมากขึ้น อันเกิดจากสภาวะโลกร้อน ธรรมชาติปรับสมดุล การปรับเปลี่ยนฤดูกาลจากธรรมชาติ ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมือง โดยไม่ได้รับการวางแผนอย่างรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วนในทุกแง่มุม การสร้างโครงการหมู่บ้านโดยไม่ทำการวิจัย หรือ รีเสิร์ช อย่างรอบคอบ ถมดินทับแหล่งน้ำแหล่งระบายน้ำเดิมที่มีมาแต่โบราณ การสร้างโครงการต่างๆ แต่มีทางระบายน้ำขนาดเล็กเกินไป การวางผังถนน ผังเมืองคดเคี้ยว การทับถมของตะกอนดิน อันเกิดจากการพังทลายของตลิ่ง และไม่มีที่ดูดซับน้ำคือต้นไม้ ซึ่งนับวันยิ่งร่อยหรอลง

    พฤติกรรมการทิ้งขยะก่อเกิดการอุดตันของท่อระบายน้ำ ไปจนถึงแม่น้ำลำคลองที่สกปรก พฤติกรรมการสร้างบ้านรุกล้ำแม่น้ำลำคลอง ทับถมลำธารประจำหมู่บ้าน ในขณะที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครนั้นตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ลุ่ม โดยเจตนาในการสร้างเมื่อครั้งโบราณคือการทำนารอบเมืองและการป้องกันศัตรู (ข้าศึกยกทัพมาแล้วติดหล่มหนองน้ำ) ให้ยากต่อการยกทัพมาต่อตี แนวโน้มในอนาคต สภาวะน้ำท่วมจะต้องลุกลามรุนแรงมากขึ้นไปอีก กรุงเทพฯ และปริมณฑลอาจจะต้องรับมือน้ำท่วมอย่างไม่เคยมีมาก่อนและมากขึ้นทุกปีทั่ว ประเทศ ทุกเมืองที่ขยายเติบโต อย่างไร้ทิศทาง ขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ก็อาจเจอปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีกแน่นอน แนวคิดในการจัดการเมือง ด้วยการออกแบบโดยทีมงาน "อยู่สบาย" ได้วิเคราะห์ในรายการโทรทัศน์ "ดีไซน์นิวส์" ทางสถานีเนชั่นแชนแนล ไททีวี 1 ไปแล้วนั้น มีข้อสรุปดังนี้ครับ

    1.สร้างทางด่วนน้ำ (บายพาส) จากปัญหาการระบายน้ำที่เป็นอุปสรรค เสนอแนะให้มีการขุดคลองในแนวตรงตามตำแหน่งช่วงต่างๆ ของแม่น้ำหลักของเมือง พุ่งสู่ทะเลโดยสามารถสร้างแนวกันดินและสาธารณูปโภค เช่น ถนน ทางด่วน คร่อมน้ำ โดยเป็นได้ทั้งอุโมงค์น้ำ หรือทางน้ำเปิดโล่ง ซึ่งระหว่างการระบายน้ำอาจมีการสร้างเขื่อน ประตูเปิดปิดตามจังหวะ ที่เหมาะสมเพื่อรองรับน้ำช่วงอุทกภัยและสามารถแจกจ่ายน้ำในฤดูแล้งได้ สาเหตุของน้ำท่วม ส่วนหนึ่งมาจากความคดเคี้ยวของคูคลองทำให้การระบายน้ำของเมืองเป็นไปได้ช้า และใช้เวลายาวนานในการระบายออก ก่อให้เกิดน้ำขัง น้ำนิ่ง น้ำเสีย ตามลำดับ การสร้างทางด่วนน้ำจึงสามารถลดปริมาณน้ำได้อย่างแน่นอน

    2. สร้างแหล่งน้ำ บึง หนอง ประจำหมู่บ้าน (แก้มลิง) สาเหตุที่เกิดจากการสร้างหมู่บ้านทับ ขวางทางน้ำ หรือ ถม หนองน้ำโบราณเป็นต้นเหตุของการลดทอนการระบายน้ำช่วงหน้าฝนเสนอแนะให้สร้าง ข้อกำหนดของทุกหมู่บ้านตามจำนวนหลังคาเรือนที่เหมาะสมซึ่งสามารถระบายน้ำ ช่วงน้ำหลากของหมู่บ้านได้ มีประตูเปิดปิดน้ำ ประจำท้องถิ่นเพื่อระบายน้ำออกเข้าสู่ทางด่วนน้ำสายรองและสายหลักต่อไป บึงประจำหมู่บ้านนั้นสามารถเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนได้อีกทั้งสามารถ ปรับสโลปดินให้ลึกได้มากเพื่อกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด

    3.การขุดลอกคูคลองครั้งยิ่งใหญ่และการสร้างกำแพงกันดิน แม่น้ำบางสายตื้นเขินมากขึ้นอันเกิดจากการทิ้งขยะของชุมชน การทับถมของตะกอนดิน ทราย เป็นเหตุทำให้แม่น้ำลำคลอง ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างเต็มที่อีกทั้งแม่น้ำบางสายกัดเซาะตลิ่งเพราะไม่ ได้ออกแบบกำแพงกันดินเอาไว้ก็ยิ่งสะสมตะกอนดินทรายมากเข้าไปอีก การขุดลอกคลองควรมีการทำอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ และสามารถขุดให้ลึกเพื่อรองรับกับปริมาณน้ำมากที่สุด โดยสร้างกำแพงกันดินตามตำแหน่งน้ำที่ปะทะตลิ่งหนักๆ หรือตลอดแนวแม่น้ำลำคลองที่เจออุทกภัยเป็นประจำทุกปี ซึ่งต้องอาศัยงบประมาณมากพอสมควรแต่คุ้มค่าถ้าเทียบกับความสูญเสียจากน้ำ ท่วมในแต่ละปี

    4.ปรับสมดุลการอยู่อาศัย ในการให้การศึกษาปลูกฝังทัศนคติให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างเมืองแบบ ยั่งยืนวางแผนไม่ให้ชุมชนสร้างบ้านรุกล้ำ คูคลองสาธารณะ การสร้างความเท่าเทียมของบ้านและชุมชนต่อการอยู่อาศัยร่วมกันปัญหาการถมที่ สูงของคนรวยล้อมที่คนจนอย่างเห็นแก่ตัวควรมีช่องระบายน้ำร่วมใต้ดินซึ่งไม่ ก่อให้เกิดแอ่งกระทะหลังน้ำหลาก โดยนำหลักคิดของความร่วมทุกข์ ร่วมสุข ฉะนั้นจึงขอเสนอแนะให้มีการยกเครื่องเมืองทั้งระบบตั้งแต่กฎหมายผังเมือง กฎหมายอื่นๆ ในความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และสันติสุข

    5.ปลูกต้นไม้ปลูกป่า เพิ่มปริมาณต้นไม้ บริเวณต้นน้ำของตอนเหนือเพื่อดูดซับน้ำลดทอนกำลังน้ำจากภูเขาสูงปรับสมดุล ของสภาพแวดล้อมโดยบรรจุอยู่ในระบบการศึกษา เพื่อปลูกฝังทัศนคติให้ประชาชนมีส่วนร่วม ทุกข์และสุข พร้อมเพรียงกัน เล็งเห็นถึงปัญหาระดับชาติ ร่วมกันออกกฎหมาย บังคับใช้สำหรับเมืองชุมชน หมู่บ้าน เช่น เพิ่มเติมสัดส่วนของสวนและต้นไม้ในเปอร์เซ็นต์ที่มากขึ้นมีระบบการให้รางวัล อินเซ็นทีฟ เพื่อสร้างแรงจูงใจบวกของทุกชุมชน เช่น รางวัลชุมชนดีเด่นด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดระบบน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้งบประมาณในสัดส่วนที่เหมาะสมยุติธรรม ในขณะที่มีการปรับโทษ ชุมชน เสื่อมโทรม น้ำเสีย น้ำเน่า ด้วยเช่นกัน ทั้งภาครัฐและเอกชน ลดความคิด ต่างคนต่างอยู่ เติมแนวคิดการอยู่ร่วมกันแบกปัญหา ร่วมกันของชุมชนใส่ทัศนคติ "ความรับผิดชอบร่วม"

    6.วางแผนผังเมืองใหม่เพื่ออนาคต การออกแบบผังเมืองต้องมองทุกมิติ แล้วสร้างสรรค์โครงการวางแผนให้ไกลที่สุด แล้วทยอยสร้างทีละเฟส มีการวางผังเมืองในระยะลึก ระยะกว้าง ระยะไกล ทั้งศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ การจราจร สภาพอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของโลกและเปลือกโลก เศรษฐกิจ การศึกษาสังคม ฯลฯ แล้วรวบรวมเป็นโมเดลเมืองในฝัน โดยมอง การสร้างระยะใกล้ กลาง ไกล อย่างมีทิศทาง และเปิดโอกาส ให้คนรักบ้านรักเมืองแสดงความคิดประชาพิจารณ์เป็นระยะๆ ระดมสมองคิดจากนักสร้างเมืองมืออาชีพและนักออกแบบของประเทศ อยากเห็นการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบไม่ปะติดปะต่อ ตามความไม่แน่นอนของรัฐบาลไทยอย่าให้ระบบการเมืองที่ขึ้นๆ ลงๆ ทำให้ระบบการสร้างเมืองผิดทิศทางไร้ระบบ กระจัดกระจายไม่เป็นเอกภาพ อันแสดงถึงความล่มสลายของสังคม สะท้อนออกมาที่เมืองไร้ระบบ ให้ลูกหลานทรมานกับความไม่แข็งแกร่งของรุ่นเรา แก้ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาอื่นๆ ด้วยแนวความคิดสร้างสรรค์มองโลกในแง่บวกและความรักที่ทำร่วมกันทั้งประเทศ ไทย


    ที่มา:����͡Ẻ��ѭ�ҹ�ӷ������ҧ����׹
     
  14. สักการะ

    สักการะ ชิวิตดั่งอาทิตย์อัศดง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,921
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สิ่งที่ในหลวง ท่านพูด ไม่มีใครเชื่อท่าน ไม่มีใครทำ
    วันๆ ดีแต่ แย่งกันสูบเงินงบประมาณ เพื่อเอามาเข้ากระเป๋า ตัวเอง
     
  15. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ไอพีซีซี. เตือนโลก เตรียมรับสภาพอากาศวิปริต

    หลังจากประชุมหารือกันที่แอฟริกานักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศระดับหัวกะทิจากทั่วโลกของไอพีซี ได้เตือนให้เตรียมรับสภาพอากาศวิปริตที่กำลังเป็นภัยคุกคาม


    ซึ่งตอนนี้เราให้ไดเห็นแล้วว่า เกิดทั้งอุบัติภัยในเมืองไทย ภัยแล้งในเท็กซัส ไปจนถึงคลื่นความร้อนที่สร้างความเสียหายให้แก่รัสเซีย และในอนาคตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    จะเจอน้ำท่วมหนัก มากกว่าเดิม 4 เท่า

    คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือไอพีซีซี. (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ได้เตือนให้โลก เตรียมรับมือกับสภาพอากาศวิปริต


    ที่อันตราย และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเป็นจากภาวะโลกร้อน

    โดยระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านภูมิอากาศระดับหัวกะทิของโลก เกรงว่า หากไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือแล้ว สภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้วนั้น อาจจะทำลายบางท้องถิ่น


    และทำให้บางพื้นที่ ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้

    ทั้งนี้ ไอพีซีซี. องค์กรซึ่งได้รับรางวัลโนเบลาขาสันติภาพ ได้หยิบยกรายงานพิเศษ ว่าด้วยเรื่องภาวะโลกร้อน และสภาพอากาศวิปริต หลังร่วมประชุมที่เมืองกัมปาลา ประเทศอูกานดา ซึ่ง
    เป็นครั้งแรก

    ที่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ ได้ให้พุ่งเป้าไปที่อันตรายของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว

    ย่างเรื่อง คลื่นความร้อน น้ำท่วม ภัยแล้งและพายุ โดนภัยพิบัติเหล่านี้ เป็นอันตรายยิ่งกว่าอุณหภูมิโลกเฉลี่ยที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเสียอีก และผู้นำของโลก ต้องเตรียมรับมือ

    สภาพอากาศสุดขั้วให้ดีกว่านี้

    ตัวอย่างภัยคุกคามจากสภาพอากาศสุดขั้วนั้น รายงานพิเศษได้ทำนายว่า คลื่นความร้อนซึ่งเกิดขึ้น 1 ครั้งในชั่วอายุคน จะร้อนขึ้นและเกิดขึ้นทุกๆ 5 ปี เมื่อถึงกลางศตวรรษนี้ และเมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้


    จะเกิดถี่ขึ้นเป็นปีละครั้ง และในบางพื้นที่ ได้แก่ ส่วนใหญ่ ของละตินอเมริกา แอฟริกาและเอเชีย จะกลายเป็นพื้นที่ร้อนสูง เหมือนเตาอบทุกปี

    ส่วนพายุฝนหนักๆ ที่ปกติจะเกิดขึ้นทุก 20 ปีนั้น ในรายงานก็ระบุว่าจะเกิดถี่ขึ้นอีก โดยในสหรัฐฯ และแคนาดานั้น จะเกิดบ่อยขึ้น 3 เท่าก่อนเปลี่ยนศตวรรษ หากว่าการใช้พลังงานฟอสซิลยังคงที่


    ในอัตราปัจจุบันนี้อยู่ ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น รายงานทำนายว่าจะเกิดมหาอุทกภัยบ่อยขึ้น กว่าที่เกิดในปัจจุบัน 4 เท่า

    “ผมคิดว่านี่เป็นสัญญาณเตือน” เดวิด อีสเตอร์ลิง หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมเขียนรายงานดังกล่าวและเป็นผู้อำนวยการส่วนการประยุกต์ด้านภูมิอากาศโลกขององค์การมหาสมุทร


    และบรรยากาศสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA)

    โดยเขาบอกว่าเหตุการณ์อย่างภัยแล้งและอุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียสที่เกิดขึ้นหลายๆ วันในเท็กซัสและโอกลาโฮมา สหรัฐฯ จนกลายเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดหน้าร้อนนั้นจะรุนแรงขึ้นในอนาคต

    “เราจำเป็นต้องวิตก และการตั้งรับของเราจำเป็นต้องเตรียมป้องกันหายนะและลดความเสี่ยงก่อนที่เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้น มากกว่าที่จะรอจนกระทั่งเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว


    และตามเก็บกวาดภายหลัง ความเสี่ยงนั้นได้เพิ่มขึ้นมโหฬารแล้ว” มาเต็น ฟาน อาลสท์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิอากาศกาชาดสากล (International Red Cross/Red Crescent Climate Centre)

    และหนึ่งในทีมเขียนรายงานของไอพีซีซีกล่าว

    ทางด้าน คริส ฟิล์ด จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ ซึ่งเป็นอีกผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมเขียนรายงานของไอพีซีซีกล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์เองยังไม่แน่ใจนักว่าอับัติภัยจากสภาพอากาศแบบไหนที่จะ


    คุกคามรุนแรงที่สุด

    เพราะสภาพอากาศที่ทารุณนั้นเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและแหล่งที่ผู้คนอาศัยอยู่ด้วย และความไม่มั่นคงทางสังคมต่อหายนะทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากภูมิอากาศก็เพิ่มขึ้นด้วย

    “ชัดเจนว่าการสูญเสียจากหายนะกำลังเพิ่มขึ้น และในแง่การสูญเสียชีวิตนับจากช่วงทศวรรษ 1970 ถึงปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนามากกว่า 95%” ฟิล์ดกล่าว โดย


    ไมเคิล ออพเพนไฮเมอร์ จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ผู้ร่วมเขียนรายงานระบุว่า การสูญเสียนี้มีมูลค่าสูงถึงปีละ 6 ล้านล้านบาทแล้ว

    ด้าน โทมัส สต็อคเกอร์ มหาวิทยาลัยเบิร์น กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ เชื่อมโยงการเพิ่มขึ้น ของเหตุการณ์สภาพอากาศอันเลวร้าย เข้ากับภาวะโลกร้อน ได้อย่างมั่นใจ


    โดยพวกเขาสามารถประเมินความหายนะ จากภูมิอากาศและคลื่นความร้อน ในอนาคตได้แน่นอนขึ้น

    ในรายงานระบุว่า คลื่นความร้อนนั้นกำลังเลวร้ายขึ้น ทั้งร้อนขึ้นและกินเวลายาวนานขึ้น และมีโอกาส 2 ใน 3 ที่ฝนตกหนักจะเพิ่มขึ้น ทั้งบริเวณเส้นศูนย์สูตรและซีกโลกเหนือ รวมถึงฝนจากพายุหมุนเขตร้อน


    และรายงานสรุป ไอพีซีซี. ยังระบุอีกว่า ความรุนแรงของสภาพอากาศนั้น จะเลวร้ายมาก ถึงขั้นที่บางพื้นที่ ต้องจัดให้เป็นพื้นที่ห้ามอาศัย


    สำหรับพื้นที่ต้องห้ามนั้น ฟาน อาลสต์ระบุว่า มีแนวโน้มเป็นพื้นในประเทศยากจน หรือแม้กระทั่ง บางพื้นที่ของประเทศพัฒนาแล้วอย่าง แคนาดา รัสเซีย และกรีนแลนด์นั้น อาจ
    ต้องย้ายเมือง


    เพราะผลกระทบจากสภาพอากาศอันเลวร้าย และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น รวมถึงเนเธอร์แลนด์ ก็ต้องเรียนรู้ ในการรับมือกับปัญหาสภาพอากาศใหม่ๆ อย่างคลื่นความร้อนด้วย
     
  16. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    30หน่วยงานรัฐ'อุปสรรคแก้ปัญหาน้ำ

    มหาอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่กำลังสร้างวิกฤติให้ประเทศไทยครั้งนี้ ทำให้หลายหน่วยงานตั้งคณะกรรมการและกลุ่มนักวิชาการขึ้นมาหลายชุด เพื่อศึกษาวิธีรับมืออย่างจริงจังทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หนึ่งในนั้นคือการระดมสมองผู้เชี่ยวชาญปัญหาน้ำท่วมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการขอความร่วมมือจากเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่เคยประสบภัยน้ำท่วมจน ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเกือบ 2,000 คน เมื่อ พ.ศ.2499 พื้นที่เนเธอร์แลนด์เกือบร้อยละ 30 อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ทำให้มีการคิดค้นระบบระบายน้ำและเทคโนโลยีป้องกันน้ำท่วมหลากหลายรูปแบบ เช่น เขื่อน คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ กังหันระบายน้ำ ฯลฯ

    ดร.จอร์จ ฟาน แดร์ เมอเลน (Dr.George G. van der Meulen) ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองและการจัดการน้ำ จาก สถาบันซีเคไอ (Compuplan Knowledge Institute of Applied geo-Informatics : CKI)หนึ่งในทีมงานจากเนเธอร์แลนด์ ที่เข้ามาศึกษาปัญหาน้ำท่วมในเมืองไทยกว่า 30 ปี เปิดใจให้สัมภาษณ์แก่ “คม ชัด ลึก” ถึงปัญหาน้ำท่วมในเมืองไทย พร้อมตอบคำถามสำคัญที่คนไทยทั่วประเทศอยากรู้ว่า สถานการณ์เลวร้ายที่สุดผ่านพ้นไปหรือยัง ? ระบบป้องกันน้ำท่วมแบบใดที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของไทย ? และคนไทยควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดมหันตภัยน้ำท่วมขึ้นอีกในอนาคต ?

    หลังเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2553 ที่หาดใหญ่กับนครราชสีมา รัฐบาลไทยได้เชิญ "ดร.จอร์จ" และผู้เชี่ยวชาญจากเนเธอร์แลนด์เข้าร่วมวางแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมและ ภัยพิบัติโดยท้องถิ่น ในชื่อ “โครงการวางแผนจัดการที่ดินและน้ำเพื่อเมืองอย่างบูรณาการ” โดยเลือกพื้นที่นำร่อง 4 แห่งคือ อ.ท่าขาม จ.สุราษฎร์ธานี, อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช, อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.เมืองน่าน ขณะกำลังสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกิดภัยน้ำท่วมใหญ่ขึ้นเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ทีมงาน 8 คนจาก 5 องค์กรถูกเรียกตัวให้มาระดมสมองหาวิธีแก้ไขน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน

    ดร.จอร์จ ยอมรับว่าการแก้ปัญหาในช่วงแรกทำได้ช้าเพราะมีหน่วยงานรัฐเกี่ยวข้องหลาย ส่วน แต่ไม่มีเจ้าภาพในการตัดสินใจ ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ น้ำจึงทะลักเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพ ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมครั้ง นี้ผ่านช่วงเลวร้ายที่สุดหรือยังนั้น จากการวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้เชี่ยวชาญทั้งคนไทยและต่างชาติ ทำให้พบ 3 คำตอบที่แตกต่างกัน

    "กลุ่มแรกเชื่อว่ามันผ่านไปแล้วตั้งแต่น้ำท่วมทะลัก เข้าพื้นที่กรุงเทพฯ แม้ว่าจะยังไม่ถึงชั้นในสุดย่านธุรกิจสำคัญก็ตาม ช่วงนี้ปัญหาเริ่มผ่อนคลายจากการระบายน้ำที่ได้ผล ส่วนกลุ่มที่ 2 เชื่อว่ายังสถานการณ์เลวร้ายยังไม่ผ่านพ้นไป แต่เป็นช่วงเริ่มต้น เพราะคนภาคกลางต้องจมน้ำต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 9 เดือน เนื่องจากพื้นดินอุ้มน้ำไว้เต็มที่แล้ว แต่น้ำยังล้นเขื่อน น้ำเต็มแม่น้ำลำคลองและน้ำเต็มท้องทุ่ง ดังนั้นน้ำยังท่วมต่อเนื่องอีกหลายเดือน ส่วนกลุ่มที่ 3 วิเคราะห์ว่าสถานการณ์ยังต้องลุ้นอีก เพราะแนวป้องกันน้ำท่วมริม แม่น้ำเจ้าพระยา หรือเขื่อนยาวกว่า 77 กม.ที่ยาวต่อเนื่องตั้งแต่ฝั่งธนบุรีจนถึงฝั่งพระนครนั้นอยู่ในภาวะเสี่ยง ต่อการพังทลายมาก มันอ่อนแอจากการถูกคลื่นซัดต่อเนื่องมานานหลายเดือน วันไหนเขื่อนริมเจ้าพระยาแตก วันนั้นถึงจะเรียกว่าสถานการณ์เลวร้ายสุด” ดร.จอร์จ วิเคราะห์

    สำหรับวิธีป้องกันปัญหาน้ำท่วมในอนาคตนั้น ดร.จอร์จวิเคราะห์ว่า จากประสบการณ์กว่า 30 ปีที่เขาวนเวียนเข้าออกประเทศไทยเพื่อศึกษาเรื่องน้ำท่วมนั้น พบว่าเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เกิดขึ้นทุกปีแต่เปลี่ยนพื้นที่ไปเรื่อยๆ เช่น ที่โคราช หาดใหญ่ ภาคเหนือ ฯลฯ แต่ไม่เคยหนักเท่าปีนี้มาก่อน ดังนั้นการสร้างแนวป้องกันน้ำต้องทำพร้อมกัน ตั้งแต่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ริมฝั่งทะเลและแม่น้ำสายสำคัญๆ ในภูมิภาคต่างๆ ควรสร้างแนวกั้นน้ำหรือ เส้นทางระบายน้ำที่เรียกว่า ฟลัดเวย์ (Floodway) รูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องให้เหมาะสมกับภูมิประเทศบริเวณนั้น อาจมีความจำเป็นต้องย้ายชุมชนบางแห่งริมแม่น้ำออกไป เพื่อนำพื้นที่มาเป็นสร้างแนวกั้นน้ำ ดังนั้นควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย

    ส่วนการป้องกันมหันตภัยน้ำท่วมในอนาคต ดร.จอร์จ ยอมรับว่าทำยากที่สุด เนื่องจากประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมมากถึง 30 องค์กร การทำงานแยกส่วนไม่ได้คิดและตัดสินใจร่วมกัน หากจะแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ ให้วิกฤติเหมือนที่เกิดขึ้นครั้งนี้ สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ตั้งหน่วยงานหลักขึ้นมาดูแล จะเป็นกระทรวงหรือหน่วยงานรัฐแบบใดก็ได้ เช่นที่เนเธอร์แลนด์เรียกว่า Ministry of Infrastructure and the Environment เป็นหน่วยงานเฉพาะที่ดูแลและตัดสินใจแก้ไขภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้น

    "ที่สำคัญต้องวางแผนระยะสั้นและระยะยาวต่อเนื่อง มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน เช่น แผนระยะยาว 50 ปี หรือ 100 ปี จะสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมอย่าง ไร ส่วนระยะสั้น 2 ปี 5 ปี 10 ปี ต้องสร้างให้สอดคล้องกับแผนระยะยาว

    วันนี้รัฐบาลไทยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุดแล้ว เน้นการฟื้นฟู แต่ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าทำไมน้ำท่วมหนัก ปีนี้ มีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้าง หลักการวิจัยต้องหาต้นเหตุก่อน แล้วค่อยคิดหาวิธีป้องกัน จากนี้ไปคงต้องติดตามว่ารัฐบาลมีแผนดำเนินการอย่างไร ผมหวังว่าแม้พรรคการเมืองเปลี่ยน แต่แผนน้ำท่วมที่จัดทำขึ้นต้องไม่เปลี่ยนตาม” ดร.จอร์จ กล่าวแนะนำทิ้งท้าย

    ทีมา:30˹��§ҹ�Ѱ�ػ��ä��ѭ�ҹ�� ��Ѵ�֡ : �Ҫ�ҡ��� : ���Ƿ����
     

แชร์หน้านี้

Loading...