พระนิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง จิตนี้รักพระนิพพานเป็นอารมณ์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา, 30 กันยายน 2011.

  1. คนหลงเงา

    คนหลงเงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +541
    พระนิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง จิตนี้รักพระนิพพานเป็นอารมณ์

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม
    <O:p</O:p
    ...............................
    <O:p</O:p
    ข้อมูลจาก<O:p</O:p
    หนังสือธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๔เดือนกรกฎาคม พศ ๒๕๔๔ตอนหนึ่ง<O:p</O:p
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ<O:p</O:p
    ...................................<O:p</O:p

    <O:p</O:p



    <O:p</O:p
    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้
    <O:p</O:p
    ในเดือนนั้นทรงเน้นอุบายในการตัดขันธ์ ๕ ว่ามันไม่ใช่เราเราคือจิต ไม่เคยตายเป็นอมตะ ให้เห็นทุกอย่างเป็นธรรมดา อย่ายุ่งกับกรรมของผู้อื่น อย่าหวั่นไหวไปกับโลกธรรม อย่ากังวลใดๆ ทั้งหมด ให้ยอมรับกฎธรรมดาของกาย อย่าทุกข์ตามกาย พูดน้อยผิดน้อยภัยก็น้อย พระนิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง อารมณ์อรหันต์ชั่วคราว เพียรมากพักน้อย ผลก็ได้เร็ว กายป่วยให้รักษาตามหน้าที่ อย่าโทษใคร อย่าแก้ใคร ให้โทษและแก้ที่ใจตนเอง และจงอย่าทิ้งการพิจารณาอารมณ์ เป็นต้น
    <O:p</O:p
    ๑. อย่าห่วงใยในงานที่ทำอยู่ ให้ทำจิตให้สบายอย่าอยากได้ความคล่องตัวในการทำงาน จิตเป็นทุกข์แล้ว ทำใจให้สบาย ทำงานให้จิตเป็นสุข อย่าได้มีความทุกข์ เพราะความปรารถนาไม่สมหวังในการทำงาน ให้ปล่อยวางมันเสีย
    <O:p</O:p
    ๒. จงรักษากำลังใจให้สงบ อย่าหงุดหงิดไปกับร่างกายอย่าถือเวลาเป็นสรณะ อย่าคิดว่าพักผ่อนน้อยจนเกินไป แม้จักพักผ่อนน้อยก็จริงอยู่ แต่ถ้าคิดด้วยความอึดอัดขัดข้องใจว่าพักผ่อนไม่พอ หงุดหงิดในอารมณ์เรียกว่าขาดทุนแก้ไขไม่ตรงจุด ถ้าจักให้ตรงก็ต้องพยายามหาทางพักผ่อนให้แก่ร่างกาย ไม่ใช่มาหงุดหงิดในอารมณ์ เป็นการไม่ถูก ธรรมปฏิบัติในขณะที่นอนหลับ อย่าปล่อยใจให้มากจนเกินไปหลับเพลินไป ไม่ทรงจิตอยู่ในความดี จงอย่าประมาทในชีวิตให้ระลึกไว้เสมอว่า แม้ในขณะหลับก็ตายได้ฝึกฝนตนเองเสียใหม่ จักได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานมากขึ้น
    <O:p</O:p
    ๓.ให้เห็นธรรมดาให้มากๆจุดนี้มีความสำคัญมาก เพราะต้องใช้ตั้งแต่พระอริยเจ้าเบื้องต้นไปจนถึงเบื้องปลายการเห็นธรรมดาจิตจักไม่เร่าร้อน เห็นสิ่งดีก็ไม่เร่าร้อน เพราะเห็นเป็นธรรมดา เห็นสิ่งไม่ดีก็ไม่เร่าร้อน เพราะเห็นเป็นธรรมดา จิตจักคลายจากความเกาะ ความติดในสิ่งที่มากระทบทั้งหมด แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ทำกำลังใจให้มั่นคงอยู่อย่างนั้นเป็นปกติ แล้วจักละทุกสิ่งทุกอย่างได้ในที่สุด
    <O:p</O:p
    ๔. การที่จักไปพระนิพพาน คือทำใจให้มีความสุข ร่างกายจักเป็นอย่างไรก็ช่างมันทำใจให้มีความสุข ด้วยการยอมรับนับถือกฎของธรรมดา จึงจักไปพระนิพพานได้
    <O:p</O:p
    ๕. อย่าไปกังวลกับเรื่องความประพฤติของบุคคลอื่นถ้าหากรู้ว่าคนๆ นี้เป็นเช่นนี้ ก็ให้เลี่ยงการคบค้าเสียจักเป็นดี และให้เห็นการถูกนินทา ปะสังสา เป็นเรื่องโลกธรรมดาวางมันทิ้งไป ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน ก็จงทำเพื่อปล่อยวาง อย่าทำเพื่อความเกาะยึด รักษากำลังใจเข้าไว้ อย่าท้อถอยด้วยกรณีใดๆ ทั้งปวง
    <O:p</O:p
    ๖. อย่างกังวลใจใดๆ ทั้งหมด ให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาเข้าไว้ร่างกายที่ทรงอยู่ก็เหมือนกับวัตถุ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เกิดขึ้นครั้งแรกก็เป็นความใหม่ ดูดี-สดใส ครั้นเวลาล่วงไปๆ ของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกก็ค่อยๆ เสื่อม ค่อยๆ เก่า แล้วในที่สุดก็พัง กฎธรรมดาของร่างกายมันเป็นอย่างนี้ ยอมรับนับถือตามความเป็นจริง แล้วจิตจักเป็นสุข อาทิ สุขภาพไม่ดี ก็ต้องระมัดระวังใจให้มาก ดูร่างกายไว้อย่าให้คลาดสายตา เพื่อความไม่ประมาท
    <O:p</O:p
    ๗. อากาศหนาวขึ้นให้ระวังสุขภาพเอาไว้ให้ดี จงอย่าประมาทในชีวิตการทรงอยู่ของร่างกายในวัยเสื่อม ย่อมเป็นไปด้วยความลำบากของขันธ์ ๕ ให้พยายามพิจารณายอมรับนับถือตามความเป็นจริงให้มากๆ แล้วจิตจักไม่เดือดร้อน ถ้าหากเข้าถึงอริยสัจอย่างจริงจัง อาทิ ร่างกายทรุดโทรมก็ให้หาเวลาพักผ่อนให้กับร่างกายด้วย ก่อนที่จักสายเกินไป อย่ามุ่งการทำงานให้มากจนเกินไป
    <O:p</O:p
    ๘. อาการเพลียคือ อาการพักผ่อนไม่พอของร่างกายให้หาทางพักผ่อนให้มาก ที่ร่างกายเครียด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่พักผ่อนไม่พอ จงอย่าทรมานร่างกาย หาความไม่เบียดเบียนเข้าไว้ ไม่ว่าทางกาย-วาจา-ใจ จึงจักเป็นการถูกต้องในการปฏิบัติ
    <O:p</O:p
    ๙. รักษากำลังใจให้เห็นปกติธรรมของร่างกาย ให้เห็นปกติธรรมของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกแล้วจิตจักเป็นสุข ไม่ดิ้นรนให้เดือดร้อนมากจนเกินไป รักษากำลังใจ พิจารณาอยู่อย่างนี้ให้เป็นปกติ จิตจักเข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย
    <O:p</O:p
    ๑๐. วิชชามโนมยิทธิ จงอย่าทิ้งพยายามทำให้ได้วันละ ๕-๖ ครั้งก็ดี ขอให้มีกำลังใจทำไป อย่าให้ขาดสายเพราะเป็นทางลัดที่จักนำจิตเข้าสู่พระนิพพานได้ง่ายๆรู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน เห็นธรรม-เห็นโทษ-เห็นทุกข์ของการเกิดมามีร่างกายแล้ว จงอย่าท้อใจ แต่ก็ไม่ใช่ฝืนใจ พยายามอย่าให้หนักใจ-ให้เบาใจ ตั้งใจเอาไว้คือสบายๆ จิตเป็นสุข อย่าให้มีความทุกข์เข้ามาเกาะใจแม้แต่นิดเดียว ร่างกายมันจักทุกข์ให้มันทุกข์ไป เวทนามันจักทุกข์ให้มันทุกข์ขันธ์ ๕ มันทุกข์ ให้มันทุกข์ แต่เราคือจิต จงอย่าไปทุกข์ ความรู้สึกย่อมมี-ย่อมรู้เพราะขันธ์ ๕ ยังไม่ตาย ก็สักแต่ว่ารู้-สักแต่ว่ามี แต่จิตจงอย่าไปยึดถือเอา เพียรปล่อยวางด้วยเห็นตามความเป็นจริงอยู่อย่างนี้
    <O:p</O:p
    ๑๑. เมื่อสุขภาพร่างกายดีขึ้น ก็เห็นอารมณ์จิตมันยินดีด้วยกับร่างกาย อารมณ์นี้ไม่ใช่อารมณ์พระอริยะเจ้าขั้นสูงจิตจึงมีอาการไหวขึ้น-ไหวลงยังไม่มีความก้าวหน้าของจิต การรักษาอารมณ์ให้อยู่ในความสุข-สงบ-ไม่หวั่นไหว ไม่ใช่เป็นอารมณ์บังคับ เป็นอารมณ์ปล่อยวางที่รู้เท่าทันขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
    <O:p</O:p
    ๑๒. ให้เห็นความเกิดและความตายของสัตว์เป็นธรรมดาเป็นครูสอนจิตของตน ให้เห็นธรรมดาของมันว่าเป็นอย่างนั้น ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงกฎของกรรมไปได้ จงใช้ปัญญาพิจารณาธรรมเหล่านี้ว่า เป็นธรรมดาของมันอยู่อย่างนั้นแหละ เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ แล้วน้อมเข้ามาสู่ร่างกายของตนเอง ก็ย่อมเป็นเช่นนั้นเหมือนกันจงทำจิตให้ยอมรับทุกอย่างตามความเป็นจริง อย่าเศร้าใจ-อย่าเสียใจ-อย่าหนักใจ-อย่ากังวลใจ ทำใจให้เบาสบายๆอย่าเอาจิตไปเกาะติดสมบัติของโลก
    <O:p</O:p
    ๑๓. อารมณ์รักพระนิพพานจริงๆ คือในขณะที่กำหนดภาพพระอยู่ ก็พิจารณาอารมณ์ของจิตไปด้วย ให้ลงตรงว่าสัพเพ ธัมมาอนันตตาติ พระนิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่งจิตนี้ต้องดูอารมณ์ให้ว่างจากกิเลส เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกพังหมด ขันธ์ ๕ ของเราก็พัง โลกนี้ทั้งโลกไม่มีอะไรเหลือ ชำระจิตให้อย่ายึดเกาะ ไม่ว่าขันธ์ ๕ หรืออายตนะสัมผัส โดยฝึกจิตให้ยอมรับสภาวะธรรมดาตามความเป็นจริง จนจิตโล่งโปร่งเบา ไม่มีอารมณ์กังวลใจใดๆ ทั้งหมดจิตตั้งอยู่ในธรรมว่างอย่างนี้ คือว่างจากกิเลสทั้งปวงเรียกว่าจิตนี้รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้จึงจักเป็นของจริงไม่ใช่กำหนดแต่รักภาพพระนิพพานเป็นอารมณ์แต่ในขณะเดียวกัน นิวรณ์เข้ามาเต็มอยู่ในอารมณ์เหมือนกัน อย่างนั้นใช้ไม่ได้หากทำได้ก็เป็นเอกัตคตารมณ์ ถ้าทรงได้ขณะจิตหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ชั่วคราวถ้าทรงได้ตลอดไปก็เป็นพระอรหันต์ตลอดชีวิต
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    .....................................<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่มาของข้อมูล<O:p</O:p
    หนังสือธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๔เดือนกรกฎาคม พศ ๒๕๔๔ตอนหนึ่ง<O:p</O:p
    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม<O:p</O:p
    หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......<O:p</O:p
    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html<O:p</O:p
    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อหรือพระอริยเจ้าทั้งหลายในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต<O:p</O:p
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ<O:p</O:p
    …………………………………
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤศจิกายน 2011
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  3. เวไนยสัตว์

    เวไนยสัตว์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +313
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง;aa19;aa19
     
  4. ชุ่มบุญ

    ชุ่มบุญ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอบพระคุณท่านเจ้าของกระทู้มากๆค่ะได้ความรู้อีกมากเลยค่ะสาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...