คือว่าผมจะฝึกกษิณไฟ แต่ว่า....

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย surer, 1 พฤศจิกายน 2011.

  1. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    แต่ว่าผมไม่มีครูบาอาจารย์เลยครับ ใครก็ได้แนะนำที
    ผมอยู่ขอนแก่น เห็นเค้าบอกว่าถ้าอยากฝึกต้องมีการครอบครูหรือว่ามีบารมีครูบาอะครับ ใครก็ได้แนะนำทีครับ
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เตโชกสิน หรือ กสินไฟ

    โบราณจารย์ ส่วนอารมณ์ของฌาณ จะเป็นไปในขั้นตอนของ อานาปานสติ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ให้มีความรู้ใกล้เคียงกับการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ดังนี้

    @ เมื่อหายใจ เข้า ให้กำหนดคำภาวนาในกองกสิณ นั้นๆ เช่น....... “เตโช“
    @ เมื่อหายใจ ออก ให้กำหนดคำภาวนาในกองกสิณ นั้นๆ เช่น...... “กสิณัง“
    ....... การกำหนดภาพนิมิตของกสิณเบื้องต้น
    ............โบราณจารย์ ให้ดู เปลวไฟ ที่จุดไฟจากตะเกียง หรือเทียนไข ท่านหมายเอาส่วนกลางของเปลวไฟนั้น.... หากเป็นกองไฟควรที่จะคัดกระดาษให้เป็นช่องกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๓ นิ้ว วางไว้ระหว่าง ตากับ องค์กสิณไฟนั้น เป็นการกำหนดรูปทรงที่เหมาะกับ เพื่อง่ายกับความจำหรือสีที่มีความคล้ายคลึงกัน ตามแต่สถานกาล ที่ธุดงค์ไป เช่นดวงพระอาทิตย์ยามเช้า และพลบค่ำ ที่มีสีแดงเพลิง หรือดอกไม้ ใบไม้ หิน ที่มีสีแดงก็อนุโลมใช้แทนกันได้

    ............ให้ลืมตามองแล้วกำหนดจำภาพ กสิณไฟนั้น เมื่อมีความมั่นใจได้ก็ให้หลับตา กำหนดภาพให้ติดตาติดใจนั้นต่อไป ในระยะแรกๆภาพจะไม่ทรงตัว ภาพกสิณในใจนั้นหายไปให้ท่านลืมตามองในองค์กสิณนั้นใหม่ อีกครั้ง

    ............ปฏิภาคนิมิต ( หมายถึง กลับกัน ไป/มา ) ในระยะแรกๆนิมิตของกสิณไฟจะกลับกันไป/มา คือปรากฏแล้วหายไป แล้วปรากฏขึ้นมาใหม่
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ขณิกสมาธิ

    ............อุคคหนิมิต (หมายถึง ขั้นอุกฤต หรือมั่นคงแน่นอนนั้นเอง ) นิมิตของกสิณไฟจะมั่นคง

    ระหว่างทรงอารมณ์
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ อุปจารสมาธิ
    ............ภาพกสิณของกสิณไฟในนิมิต จะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับของฌาณไป
    ๑.เมื่อกำลังในทรงตัวในฌาณที่๑ ภาพกสิณไฟ ทรงตัวดีแล้วภาพกสินนั้นจะเปลี่ยนไป
    ............ฌาณที่ ๑ หยาบ ภาพกสิณไฟจากอาการเลื่อนไหว จนเห็นเป็น ไฟหนาทึบเป็นลูกกลมขนาดที่ เจาะรู
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๑ หยาบ
    ............ฌาณที่ ๑ กลาง ภาพกสิณไฟ จะเห็นเป็น ลูกกลมขนาดที่ เจาะรูสีขาวผิวนอกเงาวาวเริ่มโปร่งใสบ้าง
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๑ กลาง
    ............ฌาณที่ ๑ ละเอียด ภาพกสิณไฟ จะเห็นเป็น ลูกกลมขนาดที่ เจาะรู โปร่งใสคล้ายแก้วทึบ
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๑ ละเอียด
    ๒.เมื่อกำลังในทรงตัวในฌาณที่๒ภาพกสิณไฟ ทรงตัวดีแล้วภาพกสิณนั้นจะเปลี่ยนไป
    ............ฌาณที่ ๒ หยาบ ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วทึบ เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๒ ส่วนใน ๔ ส่วนผิวนอกเงาวาวเล็กน้อย
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๒ หยาบ
    ............ฌาณที่ ๒ กลาง ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วทึบเทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๒ ส่วนใน ๔ ส่วนผิวนอกเงาวาวมากขึ้น
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๒ กลาง
    ............ฌาณที่ ๒ ละเอียด ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วทึบเทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน ผิวนอกเงาวาวมากสุด
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๒ ละเอียด
    ๓.เมื่อกำลังในทรงตัวใน ฌาณที่ ๓ ภาพกสิณไฟ ทรงตัวดีแล้ว ภาพกสินนั้นจะเปลี่ยนไป
    ............ฌาณที่ ๓ หยาบ ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๓ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกเล็กน้อย หรือ ๑ ส่วนใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวเล็กน้อย
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๓ หยาบ
    ............ฌาณที่ ๓ กลาง ภาพกสิณไฟ จะเป็นแก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๓ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกปานกลางหรือ ๒ ส่วนใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวมากขึ้น
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๓ กลาง
    ............ฌาณที่ ๓ ละเอียด ภาพกสิณไฟ จะเป็นแก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๓ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกมากสุด หรือ ๓ ส่วนใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวมากสุด
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๓ ละเอียด

    ๔.เมื่อกำลังในทรงตัวใน ฌาณที่ ๔ ภาพกสิณไฟทรงตัวดีแล้ว ภาพกสินนั้นจะเปลี่ยนไป
    ............ฌาณที่ ๔ หยาบ ภาพกสิณไฟ จะเป็น แก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๔ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกทั้งองค์กสิณ มีการส่องสว่างจากจาภายในออกมาภายนอก ๑ ใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวเล็กน้อย
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๔หยาบ
    ............ฌาณที่ ๔ กลาง ภาพกสิณไฟ จะเป็นแก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๔ ส่วนใน ๔ ส่วน ภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกทั้งองค์กสิณ มีการส่องสว่างจากจาภายในออกมาภายนอก ๒ ใน ๓ ส่วน ผิวนอกเงาวาวมากขึ้น
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๔ กลาง
    ............ฌาณที่ ๔ ละเอียด ภาพกสิณไฟ จะเป็นแก้วโปร่งใสมาก เทียบกับการมองด้วยสายตาสามารถมองผ่านมีความใส ๔ ส่วนใน ๔ ส่วนภายในองค์กสิณไฟ ก็จะมีความเป็นประกายพรึกทั้งองค์กสิณ มีการส่องสว่างจากจาภายในออกมาภายนอก ๓ ใน ๓ ส่วนผิวนอกเงาวาวมาก
    ............ประดุจโหลแก้วผิวบางทรงกลม ใส่เพชรเจียรนัยแล้วเม็ดเล็ก เท่าเม็ดทราย ที่สามารถเรืองแสงสว่างใสได้ ใส่ไว้จนเต็มองค์กสิณนั้นเอง
    - อารมณ์ฌานในอานาปานสติ มักอยู่ที่ ฌาณที่ ๔ ละเอียด
    ............เมื่อท่านสามารถที่จะทรงอารมณ์ฌาณในอานาปานสติ + กสิณ ...จนมีความคล่องตัวตามลำดับฌาณ ลำดับกสิณแล้ว ควรที่จะเข้าสลับฌาณ สลับกสิณ จนคล่องตัว
    ............จากนั้นก็นำผลของฌาณในอนาปานสติ+กสิน มาเป็นกำลังในวิปัสสนาญาณ จนเกิดปัญญาว่า กสิณถึงจะเป็นสิ่งดีในฝ่ายกุศล แต่ก็หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ มีความเกิดในเบื้องต้น เปลี่ยนแปรงในทามกลาง ในที่สุดก็เสื่อมสลายไป เป็นธรรมดา
    ............กายสังขารของเราก็เช่นกันหาความเที่ยงแท้แน่นอนมิได้ ดังความเปลี่ยนแปรงของกสิน ก็ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นส่วนหนึ่งให้เราต้องเกิดทุกข์ได้แก่
    ๑) รูปราคา....เห็นรูป แล้วตั้งอุปทานว่า รูปนั้นเป็นของเรา มีในเรา จึงเป็นทุกข์
    ๒) อรูปราคา...ไม่มีของจริงให้เห็นรูป แต่ยึดติดในการปรุงแต่งว่าเป็นรูปในใจ หรือนิมิต แล้วตั้งอุปทานว่า อรูปนั้นเป็นของเรา มีในเรา จึงเป็นทุกข์
    ............ดังนี้หากเรายังคงยึดติดทั้ง รูป ทั้งอรูป ย่อมก่อให้เกิดภพชาติ ด้วยหวังต้องการใน ความเป็น รูป และ อรูปว่าเป็นของเรา
    ............เราย่อมเวียนตายเวียนเกินในภพภูมิทั้งสี่ ได้แก่ อบายภูมิ มนุษยโลก เทวะโลก พรหมโลก อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะขอเพียงเพื่อ อยู่เพื่อ อาศัยทั้งรูปทั้งอรูป ชั่วคราว เมื่อหมดหน้าที่ของการเป็นมนุษย์ในชาตินี้ เมื่อใดขอไป “ พระนิพพาน “ เมื่อนั้น

    ที่มา : เตโชกสิน หรือ กสินไฟ
     
  3. ddty2k

    ddty2k สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +5
    หายากนะกสินสมัยนี้ ผมก็รู้จักแค่หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป

    ก็อย่างว่าแหละครับ ไม่มีครูบาอาจารย์ละยาก
    ฝึกแล้วเห็นผลง่ายกว่าอย่างอื่น แต่หลงง่ายโคตร
    ไม่รู้จักครูบาอาจารย์ก็อย่าฝึกดีกว่า
    ของจริงมันไม่ใช่แค่ในหนังสือ
    คนบ้าจากฝึกกสินผมก็เห็นมาแล้วกับตา
    ยังไงก็ระวังๆนะครับอย่าไปหลงบ้าบออะไรมาก
    กับพวกอิทธิฤทธิ์อะไรพวกนี้ ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้นะของแบบนี้
    ให้คิดซะว่ามันเป็นแค่ทางผ่านไปนิพพานแค่นั้นก็พอ

    ในเวปนี้นี่ก็อย่าไปเชื่อมากเน้อ
    ไอ้พวกคนบ้ามันเยอะ พวกบ้ามันได้แต่สอนได้แต่พูด
    มันทำเองไม่ได้หรอก
     
  4. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    ไม่ต้องหรอกแค่นี้พอแล้ว ผมก็ไม่มีผมฟังพระแถวบ้านมาแล้วก็ฝึกเองเลย พอจับหลักได้แล้วก็เลิกครับ
     
  5. ddty2k

    ddty2k สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2011
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +5
    ป๊าด เจ้าคือโหดแท้ ฮ่าๆๆ บรรลุอรหันต์เมื่อไหร่มาโปรดทีนะ
     
  6. เฟลม

    เฟลม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +15
    ฝึกกสิณไปเพื่ออะไรครับ
    ลองตอบตัวเองก่อน ฝึกไปเพื่ออะไร
     
  7. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    ตอนแรก ผมก็อยากฝึกกษิณ เพราะ สามารถ ควบคุมไฟได้
    แต่ตอนนี้หลังจากที่ได้ลองเองรู้สึกว่าทำให้เกิดสมาธิมาก
    และตอนนี้ กล้าพุดหรือสาบานได้เลยว่า ความต้องการ
    ฤทเดช แทบจะไม่มีแล้วครับ
     
  8. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    แซวกันซะงั้นอ่ะครับ:cool:

    เริ่มฝึกใหม่ๆก็มีกิเลสกันหมดแต่พอฝึกไปได้ซักระยะจิตใจเริ่มสงบกิเลสเริ่มลดลงเป็นเรื่องปกติครับ พอผมรู้ว่าฝึกกสิณได้แคุ่จุดๆนึงเท่านั้นเลยหันมาเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นแทน ถ้าคุณใช้กสิณไฟไปเพ่งน้ำก็จะได้ไอน้ำร้อน ถ้าเพ่งดินก็กายเป็นลารา หรือ หิน กสิณพลิกแพงได้หลายอย่างครับเป็นแบบนานาจิตตังเลยครับ(พูดในแง่สำเร็จกสิณแล้วนะครับ)

    อยากมีครู สายตรงเกี่ยวกับไฟเลยหรือเปล่าอ่ะครับ
     
  9. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317

    ช่วยแนะนำทีครับ ตอนนี้ผม อยากฝึกอยู่ 2 อย่างคือ กษิณ นำ กับ ไฟ
    แต่ยังไม่รู้จะเริ่มอันไหนก่อน
     
  10. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    ให้คุณไล่ฝึกกสิณ แต่ไม่ต้องเพ่งอะไรทั้งงั้น ให้นั่งสมาธิธรรมดา กสิณไหนทำให้คุณ ใจสงบได้เร็วเหมือนนั่งหายเข้าภาวนาพุทหายใจออกโธ ให้ฝึกเอากสิณนั้นครับ

    แล้วค่อยมาถามเรื่องครูอีกทีครับ เพราะยังไม่รู้คุณถูกชตากับกสิณอะไร
     
  11. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    ผมลองมองไฟ แล้วเกิดความสงบมากครับ แต่พอมองนำรู้สึกธรรมดา ครับ
     
  12. surer

    surer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,508
    ค่าพลัง:
    +1,317
    แต่ที่อยากฝึกกษิณนำเพราะคิดว่าจะทำให้ใจเย็น แล้วอันตราย น้อยกว่า กษิณ ไฟ
     
  13. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    นั่นคุณอุปทานไปเองครับ

    คุณฝึกสมาธิแต่คุณอยากใส่คุณสมบัติของธาตุต่างๆ
    อันตรายมันจะเกิดตรงที่คุณฝึกควบคุมความสมดุลในตัวเองไม่ได้จึงเกิดอันตรายตามมา
    ไม่ว่าจะกสิณอะไรมันก็ร้อนได้ร้อนที่ใจเย็นก็ที่ใจ ต้องแก้ด้วยตนเอง ไม่ใช่รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

    แล้วจะอ้างว่าฝึกสกิณไฟแล้วร้อน อ้าวก็แน่นอนไฟมันก็ต้องร้อนก็เมื่อจะเข้าถึงไฟก็ต้องรู้จักไฟและต้องผ่านตรงงี้ไปให้ได้ถ้าไม่ได้ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นแน่นอนมันต้องเปลี่นไปเลื่อยๆสุดท้ายไ่ม่ได้อะไร



    ปล.อย่าเชื่อผมมากนะครับส่วนมากความคิดผมเอามาจากการ์ตูน:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...