ต้องรู้อารมณ์ในขณะทำงานด้วย นั่นแหละจึงจักเป็นของจริง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา, 15 กันยายน 2011.

  1. คนหลงเงา

    คนหลงเงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +541
    ต้องรู้อารมณ์ในขณะทำงานด้วย นั่นแหละจึงจักเป็นของจริง
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม<O:p</O:p
    .........................<O:p</O:p
    พระธรรมชุด ต้องรู้อารมณ์ในขณะทำงานด้วย นั่นแหละจึงจักเป็นของจริงนี้ เป็นพระพุทธธรรมที่พระพุทธองค์องค์ปฐม ทรงพระเมตตาแสดงธรรมที่มีค่าอย่างมากอีกชุดหนึ่ง ช่วงแรกของชุดนี้พระพุทธองค์ทรงเน้นการปฏิบัติธรรมคู่กับการทำงาน,ตัวอย่างของการสังเกตจิต, ศึกษาธรรมที่เป็นคุณดีกว่าศึกษาธรรมที่เป็นโทษ, จิตเขาเจริญในธรรมระดับไหน ย่อมรู้และเข้าใจในธรรมได้แค่ระดับนั้นเป็นธรรมดา,การติดตามขุดคุ้ยความชั่วของผู้อื่นเป็นการต่อกรรม,กรรมในกรรม หรือ กฎของกรรมนั้นลึกซึ้งยิ่งนัก,อภัยทาน,เป็นต้น และ ต่อมา หลวงปู่วัย จัตตาลโย ท่านเมตตาสอนไว้อีกว่าการอยู่วัดก็คือการอยู่ปากเหวนรกนั่นเองรายละเอียดเป็นเช่นไรลองติดตามอ่านและศีกษาพิจารณาดูนะครับ ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ พระธรรมชุดนี้ผมนำมาจากหนังสือธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗มิถุนายนตอน ๒ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน <O:p</O:p<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ...............................
    <O:p</O:p

    อารมณ์ไม่เกาะงาน<O:p</O:p


    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape id=_x0000_i1025 style="WIDTH: 307.5pt; HEIGHT: 45pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\Admin\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.jpg" o:href="http://www.tangnipparn.com/line1.jpg"></v:imagedata></v:shape><O:p</O:p


    <O:p</O:p

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. ให้สังเกตอารมณ์จริงๆ ในขณะที่ทำงานอยู่ คือ จิตกระทบกับงาน
    <O:p</O:p
    ๒. จุดนี้แหละจักรู้ว่าเกาะหรือไม่เกาะ
    <O:p</O:p
    ๓. ทุกอย่างทำไปตามหน้าที่ รับผิดชอบกับผลของงาน แต่ต้องไม่หงุดหงิด หรืออารมณ์เสียเพราะงาน
    <O:p</O:p
    ๔. หรือให้ละเอียดลงไป คือ ไม่ติดความสวยงามของงาน คือ ไม่มีโทสะด้วย ก็จักต้องไม่มีราคะด้วย (หมายถึงไม่มีอารมณ์ ๒ พอใจกับไม่พอใจ)
    <O:p</O:p
    ๕. สังเกตอารมณ์ตรงนี้ให้ดีๆ จึงจักรู้ว่าจิตเกาะงานหรือไม่ไม่ใช่สังเกตแต่เพียงว่าเลิกทำงานแล้วหรือยังไม่ทำงาน แต่คิดเรื่องงานไปแล้วล่วงหน้า หรือคิดต่อท้ายไม่ยอมหยุด ต้องรู้อารมณ์ในขณะทำงานด้วย นั่นแหละจึงจักเป็นของจริง
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p



    ธัมมวิจัย
    <O:p</O:p

    ๑. ทรงให้ดูอารมณ์จริงๆ ในขณะจิตที่กระทบงาน หากมันหวั่นไหวไปกับงานนั้น โดยที่ยังไม่ได้ทำงาน นั่นคือจิตเกาะงาน เอางานมาเป็นนายของเรา (ของจิต) แทนที่เรา (จิต) จะเป็นนายของงาน เริ่มต้นก็ผิดแล้ว ถ้าจิตแบกงาน
    <O:p</O:p
    ๒. จิตเราต้องรู้ความจริงว่า งานทุกอย่างในโลก เป็นไตรลักษณ์ จึงไม่มีใครทำงานของโลกได้เสร็จจริงๆ
    <O:p</O:p
    ๓. คนทุกคนเกิดมา ก็ต้องมีงานหนัก งานหลักอยู่แล้วทุกคน คือ งานที่จะต้องเลี้ยงดูขันธ์ ๕ หรือร่างกายซึ่งไม่เที่ยง สกปรก มันหิวทั้งวัน มันเสื่อมตลอดเวลา คือ มีเวทนาตลอดเวลา เดี๋ยวปวดท้องขี้ ปวดท้องเยี่ยว หิวเดี๋ยวปวดเมื่อยตรงโน้นตรงนี้ ทำความไม่สบายกายให้เกิด มีผลทำให้ใจไม่สบายไปด้วยตลอดเวลา คือ สร้างความทุกข์ให้กับใจตลอดเวลา
    <O:p</O:p
    ๔. หากจิตโง่ รู้ไม่เท่าทันเรื่องของกาย (กายสังขาร)ว่าปกติธรรมดาของกายทุกกายที่เกิดมาในโลก มันก็เป็นอย่างนี้เอง ไม่มีใครจะไปห้ามมันได้คือ ทุกขสัจ เป็นทุกข์ของกาย ห้ามฝืน ยิ่งฝืนยิ่งทุกข์ เพราะธรรมดาของมันก็เป็นของมันอย่างนั้นเอง
    <O:p</O:p
    ๕. ผู้ฉลาดย่อมเอาจิตเป็นนาย เอากายเป็นบ่าวหรือเอาจิตคุมกาย ไม่ใช่เอากายคุมจิต
    <O:p</O:p
    ๖. การทำงานในโลกซึ่งเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง ใครยึดเข้าก็เป็นทุกข์ทันทีที่ยึดผู้ฉลาดจึงรู้ว่าจิตต้องอาศัยกายเป็นผู้ทำงาน แต่ทำอย่างผู้มีปัญญา คือ ทำตามหน้าที่ ทำให้ดีที่สุด ไม่เบี้ยวงาน รับผิดขอบงานที่ตนทำ แต่จิตไม่เกาะติดทุกข์ ทำดีที่สุด ได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น จิตไม่ทุกข์ไม่สุขไปกับงาน เพราะรู้ว่าสุขทุกข์ล้วนไม่เที่ยง จะเอาแต่สุขอย่างเดียวย่อมไม่ได้ ยิ่งเกาะสุขเท่าใด ทุกข์ก็เกิดตามมาเท่านั้น
    <O:p</O:p
    ๗. ผู้มีปัญญาจึงเอางานที่ตนทำนั้นมาเป็นกรรมฐานได้อย่างดีเพราะพระธรรมท่านแสดงธรรมเรื่องไม่เที่ยงหรือแสดงพระไตรลักษณ์ให้เห็นอยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิต ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่เห็นได้
    <O:p</O:p
    ๘. ผู้มีปัญญาท่านเอาอายตนะ ๑๒ มาเป็นพระธรรมสอนใจท่าน คือ อายตนะภายใน ๖ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับอายตนะภายนอก ๖ มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ซึ่งโดยปกติเขาก็กระทบกันอยู่แล้วเป็นคู่ ๆ เรียกว่า อายตนะสัมผัส ท่านเข้าใจจุดนี้ด้วยปัญญาว่าเมื่ออายตนะในกับอายตนะนอกกระทบกัน ย่อมทำให้เกิดอารมณ์ ๓ ได้ คือ ความโลภ โกรธ หลง หรือเกิดเป็นธรรมได้ ๓ อย่างเช่นกัน คือ ธรรมที่เป็นกุศล (บุญ) ธรรมที่เป็นอกุศล (บาป)และธรรมที่เป็นกลาง ๆ ไม่เป็นทั้งบุญและบาป จุดนี้ละเอียดมากขอเขียนไว้แค่หลักเท่านั้น
    <O:p</O:p
    ผมก็ขอเขียนเป็นแค่ตัวอย่างไว้เท่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่า การใคร่ครวญพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อยู่เสมอ ๆ หรือ ธัมมวิจัย ย่อมทำให้เกิดปัญญาที่นำไปสู่ความหลุดพ้น หรือพ้นทุกข์ได้ตามลำดับ ใครทำใครได้ ขอทุกท่านจงอย่าทิ้งความเพียรเสียอย่างเดียวในการหมั่นใคร่ครวญพระธรรมอยู่เสมอ พระธรรมเป็นตัวกลาง จิตของท่านจะอยู่กับจิตพระพุทธเจ้าตลอดเวลา พุทโธอัปปมาโณ เกิดที่จุดนี้ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็ย่อมไม่ทราบได้ เพราะของจริงต้องเกิดกับจิตของเราก่อนเสมอ ผู้อื่นจะมาบอกให้เรารู้ ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ก็สู้เรารู้ด้วยจิตของตนเองครั้งเดียวไม่ได้ ก็ต้องขอจบไว้ก่อนแต่เพียงเท่านี้
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p


    กิจภายนอกกับกิจภายใน
    <O:p</O:p

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. สำหรับการสังเกตอารมณ์ที่กระทบงาน พึงแยกงานออกเป็น ๒ ประเภท คือ
    <O:p</O:p
    ก) กิจภายนอก อันเป็นหน้าที่ของงานภายนอก<O:p</O:p
    ข) กิจภายในคือ งานอันเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องบริหารเพื่อขันธ์ ๕ คือ งานที่จำเป็นต้องทำให้แก่ร่างกาย (ภาราหะเวปัญจักขันธา)เช่น ตื่นมาต้องอาบน้ำ แปรงฟัน บริโภคอาหาร ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น
    <O:p</O:p
    ๒. ดูงานกระทบจิตเหล่านี้ด้วยคือ ดูทั้งงานทางโลกและ ขันธ โลกด้วยว่า อารมณ์ในขณะนั้นเป็นอย่างไรเรียกว่าตรวจสอบอารมณ์จิตอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่ายามหลับ ยามตื่น ยืนอยู่ ทำภารกิจใด ๆ อยู่ รู้ให้ตลอดเวลาเป็น อกาลิโกในการรู้อารมณ์ แล้วจักแก้ไขอารมณ์ได้ง่ายในวาระต่อๆ ไป
    <O:p</O:p
    ๓. จุดนี้บอกให้พวกเจ้าทำกันไปก่อนอย่าคิดว่าง่ายนะ และอย่าคิดว่ายากด้วย ให้ถือว่าเป็นคำสั่งที่ต้องทำให้ได้ด้วย
    <O:p</O:p
    ๔. (ขณะที่เพื่อนของผมกำลังถ่ายหนักอยู่) ทรงตรัสว่า งานทางกาย (กิจภายใน หรือโลกภายใน หรือ ขันธโลก) ให้สังเกตอารมณ์กระทบ อย่างกำลังถ่ายอยู่นี่ก็สังเกตอารมณ์จิตว่าเกาะทุกขเวทนาของร่างกายหรือเปล่า หรือสักแต่ว่าดูร่างกายถ่ายของทิ้งตามธรรมชาติ หรือดังกับกำลังกินอาหารอยู่ ลิ้นทำหน้าที่ตามธรรมชาติ บ่งบอกรสอาหาร ก็ดูอารมณ์ของจิตไปเกาะอยู่กับรสของอาหารหรือไม่มีอารมณ์ชอบใจหรือไม่ชอบใจหรือไม่หรืองานนั้นเป็นหน้าที่ของร่างกาย จิตไปเกาะติดงานนั้นหรือไม่ นี่คือตัวอย่างของการสังเกตจิตเกาะงานภายใน คือ หน้าที่อันเป็นภาระของร่างกาย
    <O:p</O:p
    ขอสรุปว่า พระองค์ตรัสสอนเรื่องนี้ก็คือ อินทรีย์สังวรหรือการสำรวมอายตนะ ๖ นั่นเองและให้ทำอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นจริยาของพระอริยเจ้าขั้นสูงท่านปฏิบัติอยู่เป็นปกติ เป็น ๑ ในจรณะ ๑๕ ที่ท่านทำอยู่เป็นจริยาวัตรของท่าน คือ
    <O:p</O:p
    ก) ศีลสังวร, อินทรีย์สังวร, โภชเนมัตตัญญุตา, ชาคริยานุโยค (๔ หมวด)<O:p</O:p
    ข) ศรัทธา, หิริ, โอตตัปปะ, พาหุสัจจะ, วิริยะ,สติ, ปัญญา (๗ หมวด)<O:p</O:p
    ค) ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน, จตุตถฌาน (คือฌานที่ ๑-๔) (๔ หมวด)<O:p</O:p

    <O:p</O:p



    การอยู่วัดได้ทำบุญ การอยู่บ้านได้บาปนั้นจริงหรือ
    <O:p</O:p

    เรื่องนี้ หลวงปู่วัย จัตตาลโย ท่านเมตตาสอนไว้มีความสำคัญดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. มีหญิงผู้หนึ่งอยู่กับท่าน คุยกับเพื่อนผมว่า เขาอยากเป็นผู้ชาย จะได้ไปนวดหลวงปู่ได้ เพื่อนผมก็บอกว่าทำไมไม่เอากายใน (อาทิสมานกาย) ไปนวดเล่า หลวงปู่ท่านก็สอนว่ากายในมันปวดเมื่อยได้หรือเปล่าก็ตอบว่าเปล่า
    <O:p</O:p
    ๒. นั่นซิ แล้วจะมานวดมันทำไม อย่าไปแนะนำใครเขาให้ทำอย่างนั้นนะ มันไม่ถูกกายในไม่ปวดเมื่อย ไม่ป่วย ไม่ตาย จึงไม่จำเป็นต้องปฐมพยาบาลมันอีก ใครทำอย่างนี้ หลวงปู่ไม่ชอบสู้เอาจิตถึงจิตมาศึกษาธรรมปฏิบัติดีกว่า พ้นทุกข์ได้ดี ถ้ายังเกาะร่างกายอยู่ก็ไม่พ้นทุกข์
    <O:p</O:p
    ๓. บางคนคิดว่าอยู่วัดได้บุญ อยู่บ้านได้บาป ซึ่งความจริงก็ไม่ใช่ เพราะบุญอยู่ที่ใจ ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ธรรมทั้งหลายสำเร็จที่ใจ ธรรมจึงไม่ขึ้นอยู่ที่สถานที่ บุคคล เวลา เพศ วัย
    <O:p</O:p
    ๔. คนบางคนอยู่วัดได้บุญเหมือนกัน แต่นิดเดียว แต่ได้บาปมากมาย เพราะมาทำบาปในเขตพระพุทธศาสนา เช่น เด็ดดอกไม้ เก็บผลไม้ เก็บของสงฆ์ไปใช้ส่วนตัว คิดว่าเป็นของเล็กๆ น้อยๆ
    <O:p</O:p
    ๕. บางคนทำของสงฆ์เสียหาย แล้วไม่แก้ไขหรือชดใช้ของสงฆ์
    <O:p</O:p
    ๖. บางคนมานอนวัด แต่ไม่ยอมปฏิบัติธรรมนอนตื่นสาย เป็นการปรามาสพระรัตนตรัย ยิ่งพวกปากมาก ปากมอม ปากไม่มีหูรูด ขาดกรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ ด้วยก็อาจลงอเวจีมหานรกไปเลย
    <O:p</O:p
    ๗. ดังนั้น พวกมาอยู่วัดนานๆ อยู่วัดบ่อย ๆ แต่ไม่ยอมละความชั่วที่ตนเอง ไม่ยอมทำความดี และไม่ทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ การอยู่วัดก็คือการอยู่ปากเหวนรกนั่นเอง
    <O:p</O:p
    ๘. บางคนแม้เทปธรรมะของหลวงพ่อท่านออกอากาศก็ไม่สนใจฟังจัดว่าเป็นผู้ประมาทในธรรม ประมาทในความตาย จึงเท่ากับประมาทในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จึงเท่ากับอยู่วัดเพื่อจองนรก กลัวนรกจะไม่มีที่ว่างนั่นเอง<O:p</O:p

    <O:p</O:p



    ศึกษาธรรมที่เป็นคุณ ดีกว่าศึกษาธรรมที่เป็นโทษ<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้
    <O:p</O:p
    ๑. ศึกษาธรรมที่เป็นคุณดีกว่าศึกษาธรรมที่เป็นโทษ อย่าคิดค้นหาความชั่วที่คนอื่น ให้คิดค้นหาความชั่วที่จิตตนเอง ละวางเสียที สำหรับบทความที่เป็นโทษ อันเป็นบาปกรรมที่ผู้ใดทำไว้ ผู้นั้นย่อมได้รับผลตอบสนองอย่างแน่นอน
    <O:p</O:p
    ๒. พวกเจ้าใฝ่ดีต้องการจักไปพระนิพพาน จักมานั่งค้นหาธรรมอันเป็นอกุศลนั้นอยู่ทำไมขณะที่พบบทความชั่วนั้นจิตก็จดจ่ออยู่กับความชั่วนั้น เกิดตายตอนนั้นขึ้นมา จักไปพระนิพพานได้หรือ
    <O:p</O:p
    ๓. จงอย่าค้นหาความชั่วที่ผู้อื่น ให้ศึกษาแต่ความดีตามพุทธบัญญัติเท่านั้นจักดีเสียกว่า แล้วเพียรค้นหาความชั่วที่จิตตนเองให้สิ้นซากไปเสียยังจักดีกว่า มัวแต่ไปค้นหาความชั่วของบุคคลอื่น ก็ได้ชื่อว่าจิตของพวกเจ้าไปติดความชั่วของบุคคลอื่น จึงเท่ากับนำเอาความชั่วของบุคคลอื่นมาใส่ใจตนแล้วนะ
    <O:p</O:p
    ๔. ให้ตัดกรรม การติดตามขุดคุ้ยความชั่วของผู้อื่นเป็นการต่อกรรม และจงอย่าไปคิดตำหนิจริยาของผู้อื่น เพราะจิตเขาเจริญในธรรมระดับไหน ย่อมรู้และเข้าใจในธรรมได้แค่ระดับนั้นเป็นธรรมดาเอาเขาเป็นครูทดสอบจิตของเราดีกว่า เวลานี้พวกเจ้าก็สอบตกทั้งสองคน
    <O:p</O:p
    ๕. ให้รู้จักคำว่าอภัยทาน คำว่าอภัย คือ ไม่เอากรรมชั่วของเขามาเก็บไว้ในใจของเรา ปล่อยวางกรรมของเขาไปเสียจากอารมณ์ของเรา
    <O:p</O:p
    ๖. คำว่าอภัยทาน มิใช่จักต้องเข้าไปนอบน้อม พูดดี ทำดีกับเขา เพียงแต่ปล่อยวางกรรมชั่วของเขาให้หลุดออกไปจากใจ อุเบกขาหรือวางเฉยในกรรมชั่วของเขา เพราะกฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย
    <O:p</O:p
    ๗. พวกเจ้าพึงมีจิตอ่อนโยน มีมุติตาไม่ไปซ้ำเติม คือ ไม่ไปสืบเสาะความชั่วของเขา แล้วนำมาเป็นการทำร้ายซ้ำเติมเขาอีก จงมีความเมตตากรุณาเข้าไว้ สงสารเขา เพราะที่เขาสร้างกรรมขึ้นมาทำร้ายตนเอง ให้ต้องรับทุกข์ทรมานต่อไปในภายหน้านานนับอเนกชาติ
    <O:p</O:p
    ๘. ให้พวกเจ้ารู้จักใคร่ครวญถึงพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ให้เข้าใจ จะได้วางเฉยหรืออุเบกขา ไม่ไปเดือดร้อนกับกรรมของใครให้ศึกษาจุดนี้เข้าไว้ จะได้เคารพกฎของกรรม จักคิด จักพูด จักทำอะไร ให้ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเพราะกรรมในกรรม หรือ กฎของกรรมนั้นลึกซึ้งยิ่งนัก
    <O:p</O:p
    ๙. เรื่องของสงฆ์จงอย่าไปยุ่งสงฆ์ย่อมระบุอาบัติของสงฆ์ให้คณะสงฆ์กรรมการสงฆ์ทราบได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ....................................<O:p</O:p
    ที่มาของข้อมูล<O:p</O:p
    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ มิถุนายนตอน ๒ <O:p</O:p
    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม<O:p</O:p
    หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......<O:p</O:p
    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html<O:p></O:p>
    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต<O:p</O:p
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ<O:p</O:p
    …………………………………
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2011
  2. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    อนุโมทนาบุญเป็นอย่างสูงค่ะ
    กำลังต้องการทราบเรื่องการวางอารมณ์ในการทำงานค่ะ
    เพราะมีหลายครั้งที่ตัวเองรู้สึกขัดแย้งว่าถ้าจะทำงานทาง
    โลกก็จะต้องทิ้งทางธรรม ซึ่งเราก็ต้องเลือกสักทาง
    แต่ตอนนี้ก็มีความหวังขึ้นมาว่าเราสามารถทำงานทางโลก
    พร้อมกับงานทางธรรมได้ ขอบคุณมากค่ะ
     
  3. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260

    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  4. มาลาภรณ์

    มาลาภรณ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2011
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +22
    ขอบคุณเจ้าของกระทู้ ที่นำความรู้ดีๆมาให้ศึกษาค่ะ ขออนุโมทนา สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...