ทำไมต้องอ้างว่าตัวเองเป็นอรหัต หรื่อได้อะรัยบ้างอย่าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เชอะกราว, 7 กันยายน 2011.

  1. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ที่คุณ กล่าว คุณ ตีความเองทั้งนั้น
    ขอยกพระสูตร เรื่องนี้มาเลยนะครับ


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑
    ขัณฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ
    [๒๗๑] ๑ ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ดังนี้ แต่กล่าว
    เท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้วด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ...
    ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว
    ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพราง
    ความจริง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
    อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๓ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๔ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๕ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๖ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๗ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๘ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
    อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๙ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๐ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๑ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๒ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๓ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้อง
    อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๔ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๕ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๖ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอิทธิบาท ๔ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๗ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๘ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๑๙ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๐ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ... เมื่อคนอื่น
    เข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๑ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๒ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๓ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอนาคามิผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๔ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าอรหัตตผลแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๕ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า ราคะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว
    สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
    ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๖ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โทสะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว
    ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
    ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๗ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า โมหะข้าพเจ้าสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว
    ละแล้ว สลัดแล้ว เพิกแล้ว ถอนแล้ว ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
    ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๘ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากราคะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๒๙ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโทสะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
    ๓๐ ภิกษุรู้อยู่ ... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของข้าพเจ้าเปิดจากโมหะ ... เมื่อคนอื่นเข้าใจ
    ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.


    ______________________________

    มีข้อความไหนบ้างครับ ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าได้เป็นจริงแล้วพูดไม่ได้
    มีแต่ท่านบอกว่า กล่าวเท็จ ถึงผิด

    อย่ากล่าว อ้างใจผู้ใด หากท่านยังไม่ได้ศึกษาให้ถึงแก่น
     
  2. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ยกตัวอย่างให้เห็นๆเลยนะครับ
    ประวัติพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ
    เอตทัคคมหาสาวกผู้บันลือสีหนาท​

    ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

    ได้ยินมาว่า ในวันที่ท่านพระ บิณโฑลภารทวาชเถระบรรลุพระอรหัต ท่านถือเอาผ้ารองนั่งออกจากวิหารนี้ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณ นี้ไปบริเวณโน้น เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใด มีความสงสัย ในมรรคหรือผล ท่านผู้นั้นจงถามเราดังนี้ แม้ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า ท่านก็บันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจที่ควรกระทำในศาสนานี้ถึงที่สุดแล้ว
    เมื่อครั้งที่เศรษฐีในกรุงราชคฤห์เอาไม้ไผ่ต่อ ๆ กันขึ้นไป แขวนบาตรไม้แก่นจันทร์แดงไว้ปลายยอดไม้ไผ่นั้น ท่านเหาะไปถือเอาบาตรนั้นด้วยฤทธิ์ เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงตำหนิโดยปริยายเป็นอันมากแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุแสดงอุตตริมนุสสธรรมแก่พวกคฤหัสถ์ ตามเรื่องที่กล่าวไว้ตอนต้น
    ในครั้งนั้นก็
    เกิดพูดกันในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า พระเถระ ที่บันลือสีหนาทในวันที่ตนบรรลุพระอรหัต ประกาศท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ผู้นั้นจงถามเรา ดังนี้
    หรือแม้ ในที่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า โดยความที่ตนชอบนั่นเอง ก็บันลือสีหนาทถึงการบรรลุพระอรหัตของตน พระสาวกเหล่าอื่นก็นิ่ง

    หรือแม้จะทำมหาชนให้เกิดความเลื่อมใสเหาะไปรับบาตรไม้แก่นจันทร์ ที่แขวนไว้ปลายยอดไม้ไผ่
    ภิกษุเหล่านั้นกระทำเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นอันเดียวกัน กราบทูล แก่พระศาสดาแล้ว
    ก็ธรรมดาว่า
    พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรง ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ย่อมทรงสรรเสริญ ผู้ที่ควรสรรเสริญ ใน ฐานะนี้ พระศาสดาทรงถือว่า ความเป็นยอดของพระเถระที่สมควรสรรเสริญนั้นแหละ แล้วสรรเสริญพระเถระว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๓ นั่นแล เธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ภารทวาชภิกษุได้พยากรณ์พระอรหัตแลว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเราทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อินทรีย์ ๓ เป็นไฉน คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๓ เหล่านี้แล เธอเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภารทวาชภิกษุ พยากรณ์แล้วซึ่งพระอรหัตตผล ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ดังนี้ จึงทรงสถาปนา ไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุบันลือสีหนาท
    ___________________________________
    ถ้าได้จริง พูดไม่ได้ไม่ผิด เลย
    สอนแบบห้ามพูด เพราะไรรู้ไหม ใจคนเหล่านั้นมี วิจิกิจฉา ในพระธรรม
    มรรคผลนิพพาน อภิญญา 6 มีอยู่จริง
    ไม่ใช่ อ้อมๆแอ้มๆ ไม่กล้าพูด

    ถ้าเราไม่ได้ ของเหล่านี้ พระพุทธเจ้า ห้ามไม่ให้เราพูดว่าเราได้
    แต่ เราสามารถพูดได้ ว่า มรรคผลเหล่านี้มีอยู่จริง
    ส่วนพระอริยะ ที่ท่านถึงมรรคผลแล้ว ท่านก็สามารถพูดได้ ว่าท่านได้จริง

    มิฉะนั้นแล้ว เหตุใดพระพุทธเจ้า ถึงยก พระปิณโฑลภารทวาชะเถระ เป็นเอตทัคคมหาสาวกผู้บันลือสีหนาท

    เท่านี้แหละครับ
    ขอสาธุการแด่ พระอริยะทั้งหลาย พระปิณโฑลภารทวาชะเถระ ผู้เจริญ ด้วยเถิดสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  3. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    การอวดอ้างมรรคผล

    อุ. การอวดอ้างมรรคผล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?

    พ. ดูกรอุบาลี การอวดอ้างมรรคผลนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่าง อะไรบ้าง? คือ:-

    ๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผล เพราะความรู้น้อย เพราะความงมงาย

    ๒. ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอวดอ้างมรรคผล

    ๓. อวดอ้างมรรคผล เพราะวิกลจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน

    ๔. อวดอ้างมรรคผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ

    ๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง.

    ดูกรอุบาลี การอวดอ้างมรรคผล ๕ อย่าง นี้แล.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๑๑๔๕ - ๑๑๑๕๓. หน้าที่ ๔๒๗ - ๔๒๘.
     
  4. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84


    ถูกต้องครับ คือ ถ้าไม่ได้จริง หลงในญาณ คิดว่าตนเองบรรลุ อะผิด
    เกิดสัญญาวิปลาศ แล้วคิดว่า ตนเองบรรลุ อะผิด

    แต่ถ้า ท่านได้ถึงมรรคผลจริงๆ เป็นพระอริยะ จะพูดว่าตนเองได้อะไม่ผิดครับ ดังตัวอย่างที่ผมยกมา
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ส่วนตัว ไม่คิดว่าผู้บรรลุธรรมเป็นอรหันต์แล้ว

    ต้องออกซีดี ประกาศต่อสาธารณะ หรือออกพ๊อกเก็ตบุ๊ค

    "ชาติหน้าไม่ได้เกิดแล้วนะจ๊ะ" อะไรทำนองนี้ ไม่จำเป็น!

    หากแต่จะพูดแต่ในธรรม ที่ออกจากกามล้วนๆ

    กล่าวซ้ำๆย้ำๆอยู่อย่างนั้น เพราะประจักษ์แล้ว

    เห็นประโยคของอนุสาสนีปฏิหาริย์ ให้ปุถุชนตื่นกันตรงนั้นเลย
     
  6. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ที่ชัด ก็มีในกรณีพระอานนท์นะครับ

    ตอนบรรลุธรรม แสดงฤิทธิ์โผล่กลางวงสังฆคยนาพระเถระ ให้ถามข้อสงสัย

    เป็นอันทราบกันถึงคุณธรรมในหมู่สงฆ์ โดยไม่ต้องป่าวประกาศ

    และยอมให้ปรับอาบัติทุกกฏ แสดงถึงความเคารพพระวินัย
     
  7. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    แต่ก็มี พระปิณโฑลภารทวาชะเถระ
    ถึงขนาด เหาะ ต่อหน้า ประชาชน
    รวมไปถึง ประกาศท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ผู้นั้นจงถามเรา

    พระพุทธะเจ้าเองก็ยอมรับ และยกย่องให้เป็นเอตทัคคมหาสาวกผู้บันลือสีหนาท

    ดังนั้นเวลา เจอใครพูดว่าได้อย่างนั้นอย่างนี้
    ไม่ใช่เชื่อ เลย แบบนั้นก็เรียกว่า โง่
    และ ก็ไม่ใช่ ไม่เชื่อเลย แบบนั้นก็เรียกว่า ตั้งแง่ ตั้งอคติ
    ต้องดู พฤติกรรม ว่าเป็นจริงตามนั้นไหม

    จะเชื่อ ก็ต่อเมื่อปฎิบัติตามแล้วเห็นว่าจริงแล้วค่อยเชื่อ
    ส่วนตัวผม จะไม่ไป ตีโพยตีพาย ทั้งวาจา และใจ ว่าท่านเหล่านั้น ไม่จริง
    เพราะ ถ้าท่านได้จริง เท่ากับ ก่ออกุศล โดยไม่จำเป็น
    สู้วางอุเบกขา ดีกว่า
     
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    คำว่า อวดอุตรินี่

    เรื่องเหาะ แสดงฤิทธิ์มีอยู่ พวกได้ฤิทธิ์ ไม่ได้มรรคก็มีอยู่

    อวดในที่นี้เป็นทางวินัย หมายไม่ให้เพื่อเรียกศรัทรา ย้อมใจให้หลง อวดตน

    หรือเพื่อให้ได้ทรัพย์ เพื่อคุณเข้าตน เพื่อชื่อเสียง ไม่จำเป็นเลยในสังคมสมัยนี้

    ถ้าต้องการให้คนเข้าถึงธรรมจริงๆ

    ต้องดูข้อนี้ประกอบไปด้วยนะครับ


    ไม่อย่างนั้น ที่ไหนมีเกจิออกมาบอกเราไม่กินดื่มหลายวัน นั่งนานไม่เป็นตะคริว

    เราเหาะได้ เรารู้ เราเห็น เราเป็น เราอยู่ เราท่องนรก

    เราไปคุยกับอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ มีวิมารในนิพานเป็นที่พักผ่อนแล้ว

    เธอจงเร่งทำบุญกับเราเถิด เอานี่ไปคล้องคอ เอาโน่นไปเจิมหน้าบ้าน เอาน้ำนี่ไปดื่มเสีย

    อย่างนี้ก็ อรหันต์กันทั้งเมืองแล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กันยายน 2011
  9. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ของจริงมันก็มี ของไม่จริงก็เยอะ
    ส่วนเรื่องเงินทอง ประเด็นนี้ก็ยาว บ้างก็เอาเพื่อตนเอง แต่บางคนก็เพื่อสร้างสาธารณะประโยชน์

    เรื่อง อภิญญา ถามว่าท้าทำได้แล้ว ผิดไหม
    ต้องเปลี่ยนใหม่ว่า มันเกี่ยวไงกับ มรรคผล

    ย้อนกลับไปดู พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
    มหาวิภังค์ ภาค ๑
    ขัณฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ
    ที่ผมยกมานะครับ ตามลิ้งค์ นี่ก็ได้ครับ
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=9841&Z=9908&pagebreak=0

    มีข้อความไหนบ้างที่ พระพุทธเจ้า บอกว่า คนที่ได้ แล้ว ห้ามพูด
    ท่านมีบอกแต่ กล่าวเท็จ ถึงผิด

    อย่าไปตั้งอคติ สาย เจโตวิมุตติเลยครับ
    ไม่เห็นว่า การตั้ง อคติ เหล่านี้จะไปถึงมรรคผลได้อย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  10. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อภิญญานั้น ถ้ามุ่งเข้าหาตน เป็นเรื่องดีครับ

    หาก อภิญญานั้น มุ่งออกนอกตน มันก็สวนทางมรรค

    คงไม่ได้อคติอะไร เข้าใจคนละประเด็นแล้ว ^^

    ผู้กล่าวมุ่งไปที่ อวดอุตริอย่างเดียว ไม่เกิดประโยชน์

    ไม่ทำให้ผู้เห็นการแสดงฤทธิ์นั้น จะเข้าถึงธรรมได้
     
  11. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ

    อภิญญามีไว้แสดงเพื่อสั่งสอน ไม่ได้มีไว้แสดงเพื่ออวดอ้างว่าตนอยู่เหนือโลก

    การบอกกล่าวแก่ศิษย์ เพื่อเป็นไปด้วยการสั่งสอน เพื่อแสดงว่ามีอยู่จริง

    แต่หากมาแสดงต่อหน้าสาธารณะชน เพื่ออวดอ้างโดยมุ่งหวังผลประโยชน์

    ไม่ว่าในทางดี หรือ ทางร้าย ถือเป็นการอวดอุตริทั้งสิ้น ไม่มียกเว้น ซึ่งผิดวินัย
     
  12. เช ลี ยง

    เช ลี ยง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +8
    เสี่ยงเกินไปนะครับที่จะไปวิจารณ์พระท่าน เพราะตราบใดที่เรายังไม่บรรลุอรหันต์ เราก็คงจะดูว่าใครบรรลุอรหันต์ได้ยาก เพราะพระอรหันต์ดูที่จริยาพิสูจน์ได้ยาก ต้องดูที่ใจแล้วคนส่วนใหญ่ก็ดูใจไม่เป็น ฉะนั้น หากไม่นับถือท่านก็ให้เฉยๆเสีย เพราะแม้หากท่านยังไม่บรรลุอรหันต์จริงแต่หากบรรลุโสดาบันแล้ว แค่นั้นก็รับกรรม อานแล้วครับ เชื่อผมเถอะ
     
  13. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    เห็นด้วยครับ :cool:
     
  14. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ใช่แล้วครับ ที่ผมเป็นห่วงคือตรงนี้
    ไม่ใช่ว่า จะเอาชนะอะไร แต่มันเสี่ยงอย่างที่คุณว่านะแหละครับ

    ผมจึงวางอุเบกขาทุกครั้ง เวลาเจอคนพูดแบบนี้
     
  15. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    (คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับหลวง บาลี-สยามรัฐ อักษรไทย)
    ---------------------------------------------

    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    จุลวรรค ภาค ๒

    หน้าที่ ๑๐

    เรื่องบาตรปุ่มไม้จันทน์
    [๒๙] สมัยต่อมา ปุ่มไม้แก่จันทน์มีราคามาก ได้บังเกิดแก่เศรษฐี ชาวเมืองราชคฤห์
    จึงราชคหเศรษฐีได้คิดว่า ถ้ากระไรเราจะให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้ แก่จันทน์นี้ ส่วนที่กลึงเหลือเรา
    จักเก็บไว้ใช้ และเราจักให้บาตรเป็นทาน หลัง จากนั้น ท่านราชคหเศรษฐีให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้
    แก่นจันทน์นั้น แล้วใส่สาแหลก แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ผูกต่อๆ กันขึ้นไป แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
    สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใด เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จงปลดบาตรที่เราให้แล้วไปเถิด ฯ

    [๓๐] ขณะนั้น ปูรณะกัสสปเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้ว กล่าวว่า ท่านคหบดี
    อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ขอท่านจงให้บาตรแก่ อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า
    ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์และ มีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด
    ต่อมา ท่านมักขลิโคสาล ท่านอชิตเกสกัมพล ท่านปกุธกัจจายนะท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร
    ท่านนิครนถ์นาฏบุตร ได้เข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐี แล้วกล่าวว่า ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็น
    พระอรหันต์ และมีฤทธิ์ ขอท่าน จงให้บาตรแก่อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณ
    เจ้าเป็นพระ อรหันต์และมีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด ฯ

    เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
    [๓๑] สมัยต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภาร ทวาชะ ครองอันตร
    วาสกในเวลาเช้าแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในเมือง ราชคฤห์ อันที่แท้ ท่านพระปิณโฑล
    ภารทวาชะ เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์
    จึงท่านพระปิณโฑลภาร ทวาชะ ได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ไปเถิด ท่านโมคคัลลานะ
    จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน แม้ท่านพระโมคคัลลานะก็กล่าวกะท่านพระปิณโฑลภาร
    ทวาชะว่า ไปเถิด ท่านภารทวาชะ จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน จึงท่านพระปิณโฑล
    ภารทวาชะเหาะขึ้นสู่เวหาส ถือบาตรนั้นเวียนไป รอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ ฯ

    [๓๒] ครั้งนั้น ท่านราชคหเศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยา ยืนอยู่ในเรือน ของตน ประคอง
    อัญชลีนมัสการ กล่าวนิมนต์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าภารทวาชะ จงประดิษฐานในเรือนของ
    ข้าพเจ้านี้เถิด จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ประดิษฐานในเรือนของท่านราชคหเศรษฐี ขณะนั้น
    ท่านราชคหเศรษฐีรับบาตรจากมือของท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ แล้วได้จัดของเคี้ยวมีค่ามาก
    ถวายท่าน พระปิณโฑลภารทวาชะ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้รับบาตรนั้นไปสู่พระอาราม
    ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของราชคหเศรษฐี ไปแล้วและชาว
    บ้านเหล่านั้นมีเสียงอึกทึกเกรียวกราว ติดตามพระปิณโฑลภารทวาชะไปข้างหลังๆ พระผู้มีพระภาค
    ได้ทรงสดับเสียงอึกทึกเกรียวกราว ครั้นแล้ว ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียงอึกทึก
    เกรียวกราว เรื่องอะไรกันท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
    ปลดบาตร ของท่านราชคหเศรษฐีลงแล้ว พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
    ปลดบาตรของท่านราชคหเศรษฐีลง จึงพากันติดตามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะมา ข้างหลังๆ
    อย่างอึกทึกเกรียวกราว พระพุทธเจ้าข้า เสียงอึกทึกเกรียวกราวนี้ คือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    [๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น
    ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระปิณโฑลภาร ทวาชะว่า ภารทวาชะ ข่าวว่า
    เธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง จริงหรือ

    ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม
    ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรม
    อันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคาม
    แสดงของลับ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดง
    อิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตร ไม้ซึ่งเป็น
    ดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้ว
    ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่ง
    เป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั่น บดให้ละเอียด ใช้เป็นยาหยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึง
    ใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


    นี่งัยครับ เอามาให้อ่านกัน พระพุทธเจ้าทรงตำหนิและพรรณาโทษของการอวดอรุตริ ฯ มากมาย โดยเอนกปริยาย....<!--MsgEdited=0-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  16. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    หน้าที่ 11-12 ครับ ไม่ใช่หน้าที่ 10

    ยกมาผิดหน้าแล้วครับ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_page/

    พระไตรปิฏก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

    [๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระปิณโฑลภาร- *ทวาชะว่า ภารทวาชะ ข่าวว่า เธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง จริงหรือ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ เพราะ เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิ- *ปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตร ไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่ พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั่น บดให้ละเอียด ใช้เป็นยา หยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

    _________________________

    ส่วนการติเตียนนั้น พระัพุทธเจ้า ติเตียน เรื่อง บาตร เรื่องวัสดุ ที่นำมาใช้ทำบาตร
    อ่านให้ดีๆ ไม่ใช่หยิบมา นิดๆหน่อยๆ แล้วคิดว่า ทิฐิ ตนเองถูก

    และถึงแม้ ท่านจะอาบัติ ทุกกฎ ท่าน ก็ได้รับการยกย่องเป็น เอตทัคคมหาสาวกผู้บันลือสีหนาท

    ส่วน ปุถุชน อย่างไร ไปติเตียน ดูหมิ่น พระอริยะ นั่นอะ มหาอกุศล เลยนะครับ
    สำหรับ พระอริยะแล้ว การแสดงปาฎิหาร เต็มที่ท่านก็ผิดปาจิตีย์
    แต่ ปุถุชน ที่ไปดูหมิ่น พระอริยะเหล่านั้น จะรับผลกรรมเช่นไร

    สำหรับผมแล้ว ผมหมดวิจิกิจฉา พระอริยะทั้งหลาย
    หากคุณยังสงสัยอยู่ นั่นก็เรื่องของ คุณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  17. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    คุณ crossis ต่างหากครับที่เข้าใจผิดหมดมาโดยตลอด อ่านแล้วพิจารณาให้ดีนะครับ พระพุทธเจ้าท่านตำหนิตรงๆ ในเรื่อง การแสดงปาฏิหาริย์ต่อหน้าประชาชน ท่านไม่ได้ตำหนิ เรื่องวัสดุ ในการทำบาตร...
     
  18. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    แล้วแต่ครับ คุณจะติเตียน อะไร พระอริยะท่่านก็เรื่องของคุณ

    พระพุทธเจ้า ท่านติเตียน พระสาวกได้ครับ

    แต่ถ้าคุณ ติเตียน กรรมที่เกิดขึ้น คุณ ก็รับไปคนเดียว
    ไม่เกี่ยวอะไรกับผม
    เพราะผม ไม่สงสัยอะไรในพระสงฆ์ ครับ
    กิจของสงฆ์ ไม่ใช่เรื่องของ ฆารวาท
     
  19. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    อย่าเถียงข้างๆคูๆ เลยครับมันไม่งาม ผิดก็ต้องยอมรับผิด ผิดทุกกฏ ก็ผิดอยู่ดี
    ท่านห้ามไว้แล้วครับ หรือคิดว่าเป็นแค่อาบัติเล็กน้อย ปลงอาบัติก้ตก อย่าปลง
    ใจเช่นนั้นเลยครับ ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะอ้างทั้งสิ้น พระธรรมวินัยทรงบัญญัติ
    ไว้ดีแล้วนะครับ อย่าพยามไปฝืน หรือแก้ไข เลยนะครับ ....
     
  20. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    ขอให้เจริญๆ นะครับ
    ยังไม่รู้ตัวเลยว่า พระปิณโฑลภารทวาชะเถระ ท่านเป็น พระอะไร
    ผมไม่ได้เถียงอะไรเลย ก็อย่างที่บอก
    เต็มที่ พระิอริยะ ก็ผิด ปาจิตีย์

    แต่ผมเตือน อะไร เตือน คุณไง
    ว่า คุณเป็นใครไป ติเตียน พระอริยะ คุณใช่พระพุทธเจ้าหรือ
    กรรมที่เกิดขึ้น ผมถึงบอกไง คุณอะรับไป คนเดียว

    หัดรู้จักวางอุเบกขาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...