ถามปัญหาครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฟางว่าน, 31 สิงหาคม 2011.

  1. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    1.ธรรมารมณ์ ผมเข้าใจว่า เกิดจากผัสสะ แต่ที่สงสัยคือ ผัสสะอะไร เช่น เราเดินผ่านบ้านที่กำลังเปิดเพลง ROCK สมมุติว่าเราไม่ชอบเพลง ROCK เราชอบเพลงลูกทุ่ง เราไม่พอใจ อันความไม่พอใจนี้รู้ว่าเป็นธรรมารมณ์ เกิดที่ใจใช่ไหม แต่ทีนี้สงสัยดังนี้นะครับ ตัวธรรมารมณ์นั้นๆน่ะ เกิดตอนไหน และเกิดจากอะไร?
    2.เวลาที่เกิดธรรมารมณ์ เวทนากับวิญญาณอะไรเกิดก่อนกัน (สำหรับท่านที่จะตอบโดยอ้างหลักปฏิจจสมุปปบาท และที่ไม่ได้อ้าง ช่วยอธิบายด้วยนะครับ)?
    3.ถ้าเป็นธรรมารมณ์ที่เราไม่ชอบ เราจะดับอย่างไร?
     
  2. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    อายตนะภายนอก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์(คิด)....กรณีที่ถามมาเป็น เสียงครับ+หูอายตนะภายใน+วิญญานรู้แจ้งทางหู เกิด ผัสสะ เกิดทุกข์เวทนา(ไม่พอใจ) เกิดตัณหา(วิภวตัณหาอยากไปให้พ้นจากเสียงนั้น).......................จะดับอย่างไร สติระลึกรู้ ปรมัตถ์ธรรม ของเสียงที่ได้ยิน ว่าเป็นเสียง(รูป)ทางอายตนะ แค่สติระลึกรู้สภาพธรรมว่ามีรูป(เสียง)ปรากฎเท่านั้น ไม่ใช่เราเป็นเจ้าของใดใด........ก็เหมือนสภาพธรรมอื่นอื่น เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง สี เกิด จากเหตุปัจจัยทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น(อายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาน ผัสสะ)...ถ้าระลึกไม่ทันเกิด โทสะแล้ว ก็รู้ว่ามีโทสะ...สติจะระลึกว่าเป็นเพียงธาตุเป็นเพียงปัจจัยที่มาจากอายตนะ สติ ที่เกิดระลึก จะ ขับไล่อกุศลไปครับ..........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    โมทนาสาธุค่ะ คุณ oatthidet

    (smile)
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ธัมมารมณ์ คือ อารมณ์ในใจ เป็นอารมณ์ชั้นใน เกิดจากอดีตอารมณ์คือสัญญา(เราไม่ชอบเพลง ROCK เราชอบเพลงลูกทุ่ง)


    อารมณ์ คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ คือ รูป ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์
    แบ่งเป็น ๒ ชั้น
    -อารมณ์ชั้นนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส
    -อารมณ์ชั้นใน คือ ธัมมารมณ์

    จิต เข้ามาอาศัยใน รูปร่างกาย (รูปขันธ์)

    รูปขันธ์ มีช่องทางรับอารมณ์ ๕ ช่อง คือตา หู จมูก ลิ้น กาย
    รับอารมณ์ชั้นนอกรูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส เป็นคู่เรียงตามลำดับ
    ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ขึ้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    และเกิดอารมณ์ชั้นใน (ธัมมารมณ์) จากอดีตอารมณ์ คือ สัญญา-ความจำได้หมายรู้
    ซึ่งก็ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เช่นกัน
    ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นที่จิตตลอดเวลาทีละอารมณ์ ตลอดชีวิต

    เวทนาขันธ์ พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ ต่ออารมณ์
    สัญญาขันธ์ จดจำอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    สังขารขันธ์ นึกคิดถึงอารมณ์ คิดดี คิดไม่ดี คิดไม่ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว
    วิญญาณขันธ์ การรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    วิญญาณขันธ์ แบ่งเป็น ๖ ชนิด ตามช่องทางที่อารมณ์เข้ามา คือ
    วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก
    วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ

    วิญญาณขันธ์ แบ่งเป็น ๒ ชนิด อาศัยกับไม่อาศัยทวารทั้ง ๕ คือ
    -สสังขาริกวิญญาณ การรับรู้อารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส) ของจิต
    โดยอาศัยทวารทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ได้แก่ วิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
    -อสังขาริกวิญญาณ การรับรู้อารมณ์ (ธัมมารมณ์) ของจิต
    โดยมิต้องอาศัยทวารทั้ง ๕ (ใจ) ได้แก่ วิญญาณทางใจ

    สรุปลงเป็น ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ (รูป) นามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    หรือเรียกว่า อารมณ์ และ อาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
    เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน

    เหตุเพราะจิตมีธรรมชาติตกไปในอารมณ์ และปรุงแต่งไปตามอารมณ์ดังกล่าวข้างต้น
    ทำให้เกิด ขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิต เกิดๆ ดับๆ ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดชีวิต

    พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘
    ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง(สติปัฏฐาน ๔)

    อารมณ์ใดๆ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์)
    ก็จะไม่สามารถแทรกเข้ามาที่จิตได้

    เมื่ออารมณ์แทรกเข้ามาไม่ได้
    ก็ไม่เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ตามมา

    จิตก็อยู่ส่วนจิต อารมณ์ก็อยู่ส่วนอารมณ์
    ถึงอารมณ์ใดๆ จะไม่เที่ยง จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป
    อารมณ์นั้นก็สักแต่เป็นอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิตดวงนี้ของผู้ปฏิบัติ

    ขออนุโมทนากับผู้ปฏิบัติธรรมทุกๆท่านค่ะ

    ธรรมะสวนัง

    (smile)
     
  6. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    1.ธรรมารมณ์ ผมเข้าใจว่า เกิดจากผัสสะ แต่ที่สงสัยคือ ผัสสะอะไร เช่น เราเดินผ่านบ้านที่กำลังเปิดเพลง ROCK สมมุติว่าเราไม่ชอบเพลง ROCK เราชอบเพลงลูกทุ่ง เราไม่พอใจ อันความไม่พอใจนี้รู้ว่าเป็นธรรมารมณ์ เกิดที่ใจใช่ไหม แต่ทีนี้สงสัยดังนี้นะครับ ตัวธรรมารมณ์นั้นๆน่ะ เกิดตอนไหน และเกิดจากอะไร?


    วิสัชชนา. ธรรมารมณ์เป็นอารมณ์ทางใจ (หทยวัตถุ+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ)สามสิ่งนี้มาประชุมพร้อมกันเรียกว่าผัสสะ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นเวทนาก็เกิดขึ้นเพื่อเสวยอารมณ์ต่อจากผัสสะ ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง เฉยๆบ้าง

    ที่สงสัยธรรมารมณ์นั้นเกิดตั้งแต่เมื่อไหร่นั้น ตอบว่าตั้งแต่ผัสสะเกิดครับ และเกิดจากอะไร ตอบว่า เกิดจากการอายตนะของๆสามสิ่ง คือ หทยวัตถุ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ

    2.เวลาที่เกิดธรรมารมณ์ เวทนากับวิญญาณอะไรเกิดก่อนกัน (สำหรับท่านที่จะตอบโดยอ้างหลักปฏิจจสมุปปบาท และที่ไม่ได้อ้าง ช่วยอธิบายด้วยนะครับ)?

    วิสัชชนา. วิญญาณเป็นปัจจัยให้นามรูป นามรูป เป็นปัจจัยให้สฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้ผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เวทนา (ตามหลักปฏิจจสมุปบาทครับ)

    3.ถ้าเป็นธรรมารมณ์ที่เราไม่ชอบ เราจะดับอย่างไร?


    วิสัชชนา. ตามธรรมดาต้องดับเวทนา คือ ทั้งชอบใจ ไม่ชอบใจ และเฉยๆครับ
    เวทนาที่ชอบใจนั้นจะมี กามราคานุนุสัยตามนอนเนื่องมาด้วย
    เวทนาที่ไม่ชอบใจจะมี ปฏิฆานุสัยตามนอนเนื่องมาด้วย
    เวทนาที่เฉยๆก็จะมี อวิชชานุสัยตามนอนเนื่องมาด้วย

    การดับที่เวทนาเท่ากับการดับอนุสัยกิเลสด้วย เพราะอนุสัยกิเลสเป็นอาหารของอวิชชา เท่ากับการดับอวิชชา อันเป็นหัวกระบวนของปฏิจจสมุปบาทคือการเกิดขึ้นสังขารร่างกายขันธ์ 5 นั้นเอง

    ถ้าจะดับต้องดับที่ อวิชชา และ ตัณหา เพราะทั้งสองนี้เป็นหัวกระบวนของการเกิด (ตามหลักปฏิจจสมุปบาท)
    เมื่อหัวกระบวนเสียแล้วหางกระบวนก็ต้องเสียไปด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    :cool:

    มาดูอีก ตัวอย่าง

    คือ การรู้สึกสำคัญใน เพศ ผิดไปจาก เพศ ที่กำลังเป็นอยู่ แบบนี้แหละ ธรรมารมณ์

    เช่น เราเป็น เพศฆารวาสอยู่ แต่ เราไปสำคัญผิดว่า เป็น เพศนักบวช

    พอเรา รู้สึกว่า เราเป็น เพศนักบวชปั๊ป ก็เกิด ผัสสะ ขึ้นที่ ใจ

    จากนั้น ก็เกิดความ พอใจ สำคัญไปว่า เราเป็น เพศนักบวชจริงๆ เข้า ( ลืม
    เพศฆารวาสไปสนิทใจทันที) แล้วหลังจากนั้น วิญญาณก็จะ ร่ายชื่อ อากัป
    กริยา อาการ สงบเสงี่ยม เรียบร้อย รักศีล รักสมาธิ รักวิเวก ขึ้นมาให้ เราแสดง
    อาการ ผิดเพศ ไปตามแต่ วิญญาณจะแล่นไป เราจะวางมาด วาจา และมโน
    กรรมอื่นๆ ตามสัญญาที่หมายรู้ผิดๆ ไปอีก ก็อาจจะมีการ ไปหาเสื้อหาผ้ามาสวม
    ใส่ให้เข้ากัน

    แล้วจะแก้อย่างไร

    ก็ไม่ต้องทำอะไร ให้พิจารณา เวลา เกิดสำคัญผิดในเพศ เกิดขึ้น เราก็ไม่ต้อง
    ไปคล้อยตามมัน แลอยู่ แต่ไม่เอา ไม่ใช่ ยกจิตดีดสดิ้งออกจากอารมณ์นะ
    มันจะผิดเพศไปอีกแบบคือไปเป็นเพศ(พระพรหม ใหญ่กว่าพระ) ตัณหาจะซ้อน
    ตัณหา จะยิ่งยุ่ง

    พอเรา แลการไปการมาของการ สำคัญผิดในเพศ เราไม่คว้ามัน ไม่กระโจนลง
    ไป ปักกับ ผัสสะ เวทนามันก็ไม่เกิด วิญญาณก็ไม่แล่นไป ความเห็นผิดหมายผิด
    ก็ไม่ก่อ พฤติกรรมก็ปรกติ ทรงตัว นี่เลย พ้นเพศทั้งหมด ไม่สำคัญตนในเพศ
    ไหนๆเลย มันก็พ้นเพศทั้งหมด เป็น อุเบกขา สติบริสุทธิ์อยู่(มีฌาณจิตสัมปยุติ แต่
    ไม่ยึดจับ -- บาลีเขาเรียก ลักขณูปณิชฌาณ ฌาณของอริยเจ้า) จะเพศฆารวาส เพศ
    สมณะ เพศพรหม ก็หลอกอะไรเราไม่ได้ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น แค่นี้ ก็พ้น
    ธรรมารมณ์แล้ว โดยการก้าวข้าม คลองทิฏฐิ ทั้งหลายไป

    ทำเนืองๆ ก็จะเห็นตามความเป็นจริง ก็จะคลายจากการสำคัญในเพศ รู้ว่าพ้น มาก
    น้อยแค่ไหน ก็ว่ากันไป ฝึกฝนกันไป จนกว่าจะมั่นใจว่า ไม่ต้องทำสิกขาเรื่องเพศอีก

    แล้ว ฐานที่สมควร คือ ธรรม ก็จะมารับรองการปฏิบัติของคนๆ นั้น ให้รู้เอง เห็นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2011
  8. meng2010

    meng2010 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +35
    ขอตอบข้อนี้แล้วกันครับ ข้ออื่นไม่รู้ 555 3.ถ้าเป็นธรรมารมณ์ที่เราไม่ชอบ เราจะดับอย่างไร
    เราก็อย่าให้มันเกิดสิครับ ถ้ามันไม่เกิดมันก็ไม่ต้องดับ 555 มันเป็นธรรมดาของจิตมั้งชอบคิดไปเรื่อยครับถ้าไม่อยากให้มันคิดไปเรื่อยก็ต้องหาเรื่องให้มันจดจ่ออยู่ตลอดมันจะได้ไม่ว่าง เช่นจับลมหายใจไปตลอดเวลาครับ
     
  9. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    958
    ค่าพลัง:
    +3,168
    1.ธรรมารมณ์ ผมเข้าใจว่า เกิดจากผัสสะ แต่ที่สงสัยคือ ผัสสะอะไร เช่น เราเดินผ่านบ้านที่กำลังเปิดเพลง ROCK สมมุติว่าเราไม่ชอบเพลง ROCK เราชอบเพลงลูกทุ่ง เราไม่พอใจ อันความไม่พอใจนี้รู้ว่าเป็นธรรมารมณ์ เกิดที่ใจใช่ไหม แต่ทีนี้สงสัยดังนี้นะครับ ตัวธรรมารมณ์นั้นๆน่ะ เกิดตอนไหน และเกิดจากอะไร?
    ที่ปรุงแต่งยึดไว้หมายมั่น ว่าเรา ชอบเพลงลูกทุ่ง พอใจเพลงลูกทุ่ง เมื่อไม่ใช่เพลงลูกทุ่ง อย่างที่เราปรุงแต่งหมายมั่นเอาไว้ว่าคือที่ชอบ ที่เราพอใจ
    ที่ไม่ใช่ เราก็ไม่พอใจได้
    เมื่อมีข้างหนึ่ง มันจึงมีอีกข้างหนึ่ง

    2.เวลาที่เกิดธรรมารมณ์ เวทนากับวิญญาณอะไรเกิดก่อนกัน (สำหรับท่านที่จะตอบโดยอ้างหลักปฏิจจสมุปปบาท และที่ไม่ได้อ้าง ช่วยอธิบายด้วยนะครับ)?
    รับรู้ถึงสิ่งนั้นได้แล้ว จึงพอใจไม่พอใจสิ่งนั้น ตามที่ท่าน กล่าวไว้แล้ว
    3.ถ้าเป็นธรรมารมณ์ที่เราไม่ชอบ เราจะดับอย่างไร?

    ทุกสิ่ง ทนอยู่ไม่ได้
    ทุกสิ่ง เปลี่ยนแปลง
    ทุกสิ่ง ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    เป็นธรรมดา
     
  10. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ขอบพระคุณครับสำหรับทุกคำตอบ

    ขอบคุณครับ ผมพอจะสรุปได้ว่า ธรรมมารมณ์เกิดจากผัสสะ เกิดที่ใจ วิญญาณเกิดก่อน แล้วจึงเกิดนามรูป เกิดอายตนะ เกิดผัสสะ แล้วเกิดเวทนา ส่วนคำถามข้อสุดท้ายก็ต้องดับอย่างคุณรู้ๆไป คือ อารมณ์นั้นๆ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่เรา เราจึงไม่ยึด เราละออก ดับด้วย 1.ใจ 2.ภาวนา...
     

แชร์หน้านี้

Loading...