เกร็ดประวัติศาสตร์ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ทางสายธาตุ, 3 ตุลาคม 2010.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,814
    ค่าพลัง:
    +6,434
    หนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง (หมิง ฉือ) บันทึกเหตุการณ์เดียวกันนี้ว่า

    ในปี ค.ศ. 1592 ญี่ปุ่นรุกรานเกาหลี ไทยเสนอที่จะส่งกองทัพลอบเข้าโจมตีญี่ปุ่นทางด้านหลัง

    ในระยะแรก ฉือ สิง (Shih Hsing) เสนาบดีกลาโหมสนับสนุนข้อเสนอนี้อย่างกระตือรือร้นมาก แต่เสียว-เอี้ยน คัดค้านข้อเสนอนี้ด้วยเหตุว่า เขาเคลือบแคลงต่อจุดมุ่งหมายของไทยและมีความสงสัยในข้อเสนอของแผนการนี้อยู่มาก ในท้ายที่สุด หลังจากมีการประชุมปรึกษาหารือกันแล้วก็ลงมติไม่รับข้อเสนอของไทย

    กระนั้นก็ดี ข้อเสนอของสมเด็จพระนเรศวรก็ไม่ควรถูกพิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเป็นไปได้ หรือไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้จริง

    มีหลักฐานอีกมากมายที่เชื่อได้ว่า สมเด็จพระนเรศวรพระมหากษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงขจรขจายในด้านความกล้าหาญ และ การตัดสินพระทัยเฉียบขาด ทรงมีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือจักรพรรดิจีนอย่างแท้จริง และทรงมั่นพระทัยในประสิทธิภาพของกองทัพเรือของพระองค์

    ความปรารถนาอย่างจริงใจของพระองค์แสดงออกมาอย่างแจ้งชัดจากความขุ่นเคืองของคณะทูตไทยเมื่อข้อเสนอนั้นได้รับการปฎิเสธ สมเด็จพระนเรศวรทรงเสียพระทัยเช่นเดียวกัน และหลังจากที่จีนไม่ยอมรับข้อเสนอแล้ว พระองค์ก็มิได้ทรงส่งคณะทูตไทยไปจีนอีกเลย จนกระทั่งปี ค.ศ. 1604

    สำหรับเรื่องประสิทธิภาพของกองทัพเรือไทยนั้น เราจะต้องนำมาพิจารณาด้วยเช่นกันว่า กองทัพเรือญี่ปุ่นก็ใช่ว่าจะเข้มแข็งกว่ากองทัพเรือไทย ที่จริงจุดอ่อนที่สำคัญของญี่ปุ่นในการโจมตีเกาหลีอยู่ที่ว่า กองทัพเรือประสบความยากลำบากจนกระทั่งทำให้การเสริมกำลังทางทหารของญี่ปุ่นในเกาหลีเป็นไปอย่างล่าช้า และไร้ผล

    สมเด็จพระนเรศวรทรงมีทหารรับจ้างชาวญี่ปุ่นหลายร้อยคนในกองทัพของพระองค์ ฉะนั้นพระองค์จึงทรงทราบถึงความอ่อนแอด้านนี้ของญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้น เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรดีขึ้นในสมัยต่อมา และโชกุนขอปืนใหญ่จากไทย ก็แสดงให้เห็นว่า กองทัพเรือของทั้งสองประเทศอย่างน้อยก็อยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน ถ้าหากสมเด็จพระนเรศวรทรงนำกองทัพเรือของพระองค์โจมตีกองทัพเรือญี่ปุ่น การกระทำของพระองค์อาจทำให้การโจมตีเกาหลีของ ฮิเดะโยชิ ต้องประสบกับความยุ่งยากมากขึ้นก็ได้<!-- google_ad_section_end -->

    คัดมาจากหนังสือความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย<!-- google_ad_section_end -->
     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,814
    ค่าพลัง:
    +6,434
    สำหรับเรื่องเงื่อนไขต่างๆที่มีอิทธพลต่อพระราชวินิจฉัยของสมเด็จพระนเรศวรดังกล่าวนั้น เหตุผลของ โอ ดับเบิ้ลยู วอลเตอร์ส ดูจะน่าเชื่อมากที่สุด

    เขาอธิบายว่า ฮิเดะโยชิมีความทะเยอทะยานที่จะพิชิตประเทศต่างๆในเอเซียทั้งหมด ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงตระหนักถึงภัยรุกรานจากญี่ปุ่นในอนาคตอันใกล้ ข่าวแผนการของ ฮิเดะโยชิที่จะบุกเกาหลีแพร่มาสู่อยุธยาซึ่งอยู่ในเส้นทางการค้า เสริมความเชื่อของพระองค์ว่าอาจได้รับภัยจากการรุกรานของญี่ปุ่นมากขึ้น

    โอ ดับเบิ้ลยู วอลเตอร์ส อธิบายต่อไปว่า สัมพันธภาพอันดีระหว่างไทยกับจีนในทางการเมือง และในทางเศรษฐกิจนับศตวรรษๆนั้น ก็มีส่วนสนับสนุนให้สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือจีน<!-- google_ad_section_end -->


    [​IMG]

    รูปปั้นของ ฮิเดโยชิ ในเมืองนาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น
     
  3. สิงหนวัติ

    สิงหนวัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    788
    ค่าพลัง:
    +2,107
    ไทย และไทใหญ่ วันหนึ่งจักกลับมารวมกัน หากแต่มีอิสระแก่กัน
     
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,814
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เปิดโฉมธนบัตร 50 บาทแบบใหม่ รู้จักความหมายที่มากกว่าราคาบนแบงค์

    [COLOR=##005800]พร้อมสังเกต 4 จุด ตรวจแบงค์ 50 ปลอม[/COLOR]


    [​IMG]
    ธนบัตรราคา 50 บาทรูปแบบใหม่

    หลังจากที่พอจะทราบข่าวมาได้ระยะหนึ่งว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมจัดพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา 50 บาท รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทนของเก่าที่อาจได้รับความนิยมน้อยกว่า ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท และ 100 บาท ขณะนี้ได้ฤกษ์ที่ ธปท.เปิดโฉมธนบัตร 50 บาท รูปแบบใหม่ออกมาในที่สุด ซึ่งได้ปรับปรุงรูปแบบให้ดูทันสมัย เหมาะสมกับการใช้งาน และธนบัตรโฉมใหม่นี้จะมีความทนทานทำให้มีอายุการใช้งานนานขึ้นด้วย

    [​IMG]
    ด้านหน้า-หลังธนบัตร

    อีกเหตุผลหนึ่งนอกจากเรื่องความนิยมการใช้แบงค์50บาทที่มีน้อยแล้วจุดสำคัญคือ เมื่อธนบัตรรูปแบบเก่าใช้มานานระยะหนึ่ง การเสี่ยงต่อการถูกปลอมแปลงก็มีตามกันเป็นเงาคู่ขนาน การเปลี่ยนรูปแบบใหม่จึงมีเหตุผลเรื่อง "ความปลอดภัย" เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงธนบัตรในทุกราคาที่มีใช้ในตลาดเวลานี้ โดยทั้งหมด ธปท.ได้ใช้วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงบัตรเพิ่มให้มากขึ้นด้วยในการปรับปรุงหนนี้

    ฉะนั้นโฉมแรกของธนบัตรปรับปรุงใหม่ที่เปิดตัวออกมาให้ได้ยลกันก่อนคือแบงค์50บาท ที่มีกำหนดนำออกใช้ก่อนชนิดอื่น ในวันที่ 18 มกราคมนี้

    "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบายให้ฟังว่า ธปท. ได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบของธนบัตรใหม่ ให้สอดคล้องกับการออกแบบเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยต่างๆ พร้อมนำ เทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงแบบใหม่มาใช้ เพื่อให้มีความสะดวกในการใช้งาน และสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้นทั้งผ่านทางเครื่องนับคัดธนบัตร และตรวจสอบได้เองโดยประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้พิการทางสายตา

    ผู้ว่าการธปท. กล่าวด้วยว่า จะได้นำธนบัตรใบละ 50 บาท รูปแบบใหม่มาใช้ก่อน จากนั้นจึงจะทยอยนำออกใช้อีก 4 ชนิดราคา ได้แก่ 20 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1000 บาท ซึ่งยังคงมีขนาดและสีเช่นเดียวกับธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบัน

    [​IMG]
    ประสาร ไตรรัตน์วรกุล

    ที่น่าสนใจคือการปรับเปลี่ยนธนบัตรรูปแบบใหม่ ที่เพิ่มดีกรีการปลอมแบงค์ได้ยากขึ้นนั้น ทำให้มิจฉาชีพลงมือกันได้ยากขนาดไหน "ประชาชาติธุรกิจ" ขอพาไปดูจุดสำคัญ 4 จุด ที่สามารถตรวจสอบและสังเกตแบงค์ 50 บาทแบบใหม่กันว่าปลอมได้ยากแค่ไหน


    1. ลายน้ำ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและลายน้ำตัวเลขไทย“๕๐” ที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อส่องดูกับแสงสว่าง

    2. แถบสีน้ำเงินที่ปรากฏด้านหลังธนบัตร เป็นแถบพลาสติกเคลือบสีน้ำเงินที่ฝังไว้ในเนื้อกระดาษธนบัตรตามแนวยืน โดยเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงเมื่อเปลี่ยนมุมมอง

    3. ภาพซ้อนทับ ตัวเลข 50 พิมพ์แยกไว้บนด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นตัวเลข 50 ที่สมบูรณ์

    4. ลายพิมพ์นูน นอกจากที่ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งราคาแล้ว ยังมีสัญลักษณ์สำหรับผู้พิการทางสายตาเป็นรูปดอกไม้สีน้ำเงินเข้มในแนวเฉียง 2 ดอก มาจากตัวเลข “5” ในอักษรเบรล์ล

    ทั้งนี้ ธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบันรวมทั้งแบบที่ใช้ก่อนหน้านี้ ยังคงชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

    รู้จัก 4 จุด ที่ทำให้การปลอมแปลงแบงค์ 50 บาท ทำได้ยากมากขึ้นแล้ว ลองมาดูรายละเอียดที่มาที่ไปของภาพประกอบบนแบงค์ 50 บาท กันบ้าง ว่าการออกแบบธนบัตรฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยสมัยต่างๆนั้น

    สำหรับแบงค์ 50 บาทนั้นสื่อความหมายอย่างไร?



    [​IMG]
    ภาพประธานด้านหลังธนบัตร


    -พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อแสดงถึงเหตุการณ์สาคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่ทรงหลั่งทักษิโณทกเพื่อประกาศอิสรภาพ ณ เมือง แครง เมื่อพุทธศักราช 2127


    ขณะเดียวกันจะมีภาพประกอบ 3 ส่วนที่น่าสนใจ...

    [​IMG]
    -สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงคาบพระแสงดาบนาทหารเข้าตีค่ายพม่าเป็น ภาพจากจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดารารามจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อแสดงถึง พระวีรกรรมอันกล้าหาญเมื่อครั้งที่ทรงนาทหารเข้าตีค่ายทัพหลวงหงสาวดี ซึ่งมาตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ โดยทรงคาบพระแสงดาบนาทหารขึ้นปีนระเนียดจะเข้าตีค่ายพระเจ้าหงสาวดี แต่พวกพม่าต่อสู้ป้องกันไว้จึงชิงค่ายไม่สาเร็จ ต้องเสด็จกลับเข้าพระนคร พระวีรกรรมนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและความเป็นผู้นา แล้ว ยังเป็นที่ครั่นคร้ามยาเกรงของข้าศึก

    ถึงขนาดที่พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงตรัสให้ทหารพม่าจับเป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาให้จงได้ เพื่อเรียกขวัญของไพร่พลกลับคืนมา อนึ่ง พระแสงดาบที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงในวันนั้น ได้ปรากฏนามว่า “พระแสงดาบคาบค่าย”มาจนตราบเท่าทุกวันนี้


    [​IMG]

    -พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทายุทธหัตถีประดิษฐานณ อนุสรณ์ ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อแสดงถึงพระวีรกรรมอันกล้าหาญเมื่อครั้งที่ทรงกระทายุทธหัตถีชนะ พระมหาอุปราชาในพุทธศักราช 2135 ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งสาคัญและยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากมีคติแต่โบราณว่า การรบบนหลังช้างเป็นยอดแห่งความสามารถของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้กันตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความสามารถ พระมหากษัตริย์ที่ทรงกระทายุทธหัตถีจึงถือเป็นพระเกียรติยศสูงสุด ผลจาก พระวีรกรรมในครั้งนั้นทาให้หมู่ข้าศึกนานาประเทศไม่กล้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นเวลานาน ทาให้บ้านเมืองและพสกนิกรมีความร่มเย็นเป็นสุข


    - พระเจดีย์ชัยมงคล ประดิษฐาน ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    [​IMG]
    1. เป็นพระเจดีย์ที่โปรดให้สร้างขึ้นตามคำกราบบังคมทูลแนะนาของสมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว เพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในการทายุทธหัตถีมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แห่งพม่า เมื่อพุทธศักราช 2135

    2. เป็นพระเจดีย์ที่เป็นนิมิตหมายของเอกราชเตือนใจให้ระลึกถึงความกล้าหาญและความเสียสละของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและวีรชนไทย

    และนี่คือความเป็นมาเป็นไปของธนบัตรราคา50 บาทโฉมใหม่...สิ่งที่ถืออยู่ในมือจึงไม่ใช่แค่ราคาค่างวดใช้แลกเปลี่ยนสินค้า แต่เพราะเงินที่อยู่ในมือ 50 บาทนั้น ล้วนมีความหมายทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าในมือของเรา



    รายงานโดย อนัญญา มูลเพ็ญ ผู้สื่อข่าวนสพ.ประชาชาติธุรกิจ

    เปิดโฉมธนบัตร 50 บาทแบบใหม่ รู้จักความหมายที่มากกว่าราคาบนแบงค์ : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
     

แชร์หน้านี้

Loading...